เป็นข่าวที่ถูกกล่าวถึงและให้กำลังใจอย่างล้นหลามสำหรับกรณีที่นักแสดงสาววัย 36 ปี “พิม-พิมพ์มาดา บริรักษ์ศุภกร” ที่ออกมาเปิดเผยว่าตนเองได้ป่วยด้วยโรคมะเร็งรังไข่และผ่านการทำคีโมมาแล้วถึง 5 ครั้ง ซึ่งการเปิดเผยครั้งนี้ก็ทำให้ทั้งแฟนคลับและคนทั่วไป ออกมาโพสต์และคอมเมนต์ให้กำลังกันคับคั่ง อย่างไรก็ดี ตรงพื้นที่นี้ เรามาทำความรู้จักกันหน่อยดีกว่าว่า มะเร็งรังไข่เป็นอะไรยังไง รวมถึงมีวิธีสังเกตอาการ ป้องกัน หรือรักษาอย่างไรหรือไม่
ตามข้อมูลในเว็บไซต์ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ระบุว่า มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่พบได้มาก เป็นอันดับ 2 ของมะเร็งระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี พบได้มากในช่วงอายุ 40-60 ปี ในเด็กก่อนหรือหลังวัย 10 ปีก็อาจพบได้
สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบเหตุส่งเสริมที่ทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ ดังนี้คือ
1.สภาพแวดล้อม เช่น สารเคมี อาหาร เนื่องจากพบว่าในประเทศอุตสาหกรรมมีผู้ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่มากกว่าประเทศเกษตรกรรม
2.สตรีที่ไม่มีบุตร หรือมีบุตรน้อย
3.ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งที่เต้านม มะเร็งมดลูก และมะเร็งระบบทางเดินอาหาร โอกาสเป็นมะเร็งรังไข่มีมากกว่าคนปกติ
อาการ
1.อาจไม่มีอาการ แพทย์ตรวจพบโดยบังเอิญ
2.มีอาการท้องอืดเป็นประจำ
3.มีก้อนในท้องน้อย
4.ปวด แน่นท้อง และถ้าก้อนมะเร็งโตมากจะกด กระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ส่วนปลาย ทำให้ ถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระลำบาก
5.ในระยะท้ายๆ อาจมีน้ำในช่องท้องทำให้ท้องโต ขึ้นกว่าเดิม เบื่ออาหาร ผอมแห้ง น้ำหนักลด
การรักษา
การผ่าตัดเป็นวิธีแรกที่แพทย์จะเลือกทำการรักษา ถ้าไม่สามารถตัดออกได้หมดเนื่องจากโรคกระจายออกไปมากแล้ว แพทย์จะพยายามตัดออกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วจะให้การรักษาต่อด้วยเคมีบำบัด หรือรังสีบำบัด
การป้องกัน
เนื่องจากมะเร็งรังไข่ในระยะแรกๆ มักจะไม่มีอาการ อีกทั้งยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง การป้องกันจึงทำได้ยาก ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือ รับการตรวจภายในหรือตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงโดยแพทย์ อย่างน้อยปีละครั้ง
ตามข้อมูลในเว็บไซต์ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ระบุว่า มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่พบได้มาก เป็นอันดับ 2 ของมะเร็งระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี พบได้มากในช่วงอายุ 40-60 ปี ในเด็กก่อนหรือหลังวัย 10 ปีก็อาจพบได้
สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบเหตุส่งเสริมที่ทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ ดังนี้คือ
1.สภาพแวดล้อม เช่น สารเคมี อาหาร เนื่องจากพบว่าในประเทศอุตสาหกรรมมีผู้ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่มากกว่าประเทศเกษตรกรรม
2.สตรีที่ไม่มีบุตร หรือมีบุตรน้อย
3.ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งที่เต้านม มะเร็งมดลูก และมะเร็งระบบทางเดินอาหาร โอกาสเป็นมะเร็งรังไข่มีมากกว่าคนปกติ
อาการ
1.อาจไม่มีอาการ แพทย์ตรวจพบโดยบังเอิญ
2.มีอาการท้องอืดเป็นประจำ
3.มีก้อนในท้องน้อย
4.ปวด แน่นท้อง และถ้าก้อนมะเร็งโตมากจะกด กระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ส่วนปลาย ทำให้ ถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระลำบาก
5.ในระยะท้ายๆ อาจมีน้ำในช่องท้องทำให้ท้องโต ขึ้นกว่าเดิม เบื่ออาหาร ผอมแห้ง น้ำหนักลด
การรักษา
การผ่าตัดเป็นวิธีแรกที่แพทย์จะเลือกทำการรักษา ถ้าไม่สามารถตัดออกได้หมดเนื่องจากโรคกระจายออกไปมากแล้ว แพทย์จะพยายามตัดออกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วจะให้การรักษาต่อด้วยเคมีบำบัด หรือรังสีบำบัด
การป้องกัน
เนื่องจากมะเร็งรังไข่ในระยะแรกๆ มักจะไม่มีอาการ อีกทั้งยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง การป้องกันจึงทำได้ยาก ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือ รับการตรวจภายในหรือตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงโดยแพทย์ อย่างน้อยปีละครั้ง