xs
xsm
sm
md
lg

พื้นที่สร้างสรรค์ ด้วยสายใยสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชน ปี 3

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

จากปีที่ 1 ในการดำเนินงานในพื้นที่ ม.14 บ้านคลองกระอาน ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง โดยมีการเชื่อมโยงกับศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านเกาะทัง เนื่องด้วยศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านเกาะทังมีบริบทชุมชนและรูปแบบการดำเนินงานในชุมชน มีความใกล้เคียงกับ บ้านคลองกระอาน ทำให้การขับเคลื่อนโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง รู้จักค้นหาปัญหาของตนเอง แก้ปัญหาเอง ทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความสุขและมีส่วนร่วมของคนทุกภาคส่วน

โดยนางเตือนใจ สิทธิบุรี ผู้ประสานงานโครงการพื้นที่สร้างสรรค์ ด้วยสายใยสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชน จ.พัทลุง ซึ่งสนับสนุนโครงการโดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. เล่าว่า ในปีที่ 1 ชาวชุมชนบ้านคลองกระอาน ม.14 ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง เป็นชุมชนขนาดกลางที่มีประชากรจำนวน 168 คลองเรือน นับถือศาสนาอิสลามมากถึง 98 % มีพื้นที่ติดกับทะเลสาบสงขลา ลักษณะที่ดินเป็นที่ดินปนทราย วิถีของชาวบ้านจึงประกอบอาชีพประมงขนาดเล็ก และปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น แตงโม และอาชีพรับจ้างตามโรงงานในตัวเมืองหาดใหญ่ จ.สงขลา สำหรับ ลักษณะบ้านเรือนจึงมีการก่อสร้างที่อยู่ติดหนาแน่นเป็นหย่อมๆ ชาวบ้านที่นี้รายได้หลักจึงเกิดอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ


“เมื่อผู้ปกครองต้องประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงปากท้องของสมาชิกในครอบครัวที่มีจำนวนลูกหลานคนในวิถีของมุสลิม การดูแลเอาใจใส่บุตรหลานจึงมีไม่ทั่วถึง เด็ก เยาวชนจำนวนมากที่ต้องออกจากสถานศึกษาก่อนเวลาอันควร การท้องอันไม่พึงประสงค์ในเด็กวัยรุ่น การติดโรคร้ายจากการมีเพศสัมพันธ์และจากการเสพยาเสพติด รวมทั้งการไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของเหล่าสมาชิกในชุมชน ประกอบกับที่ผ่านมาเกิดพายุฝนที่ตกอย่างหนักติดต่อกันหลายเดือน น้ำท่วมซ้ำซาก ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพประมงและปลูกผักได้ ความยากจนที่มีเป็นทุนเดิมอยู่แล้วยิ่งถาโถมเข้ามาอย่างหนัก ความทุกข์ยากของผู้คนในชุมชนจึงแผ่กระจายไปทั่วถึงทุกกลุ่มคน ทุกวัย..ความสุขหายไปไหน?..ทุกคนถามหา...”


การเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับเปลี่ยนการปรับทุกข์จากที่บ้าน จากร้านน้ำชา มาเป็นที่ศาลาหมู่บ้าน มาเป็นเวทีชุมชนเป็นเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนความทุกข์ยากร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ จึงเริ่มขึ้น การที่สมาชิกในชุมชนเห็นถึงสภาพปัญหาของชุมชนว่าต้องมีการร่วมมือเพื่อร่วมแก้ปัญหาร่วมกัน อาจจะต้องใช้เวลามากมายในการร่วมกันทำงานพลิกฟื้นความสุขที่เคยมี โดยอาศัยภูมิปัญญา สื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนที่เคยมีในอดีต เช่นการจัดสานเครื่องมือประมงขนาดเล็ก การทำลวดลายเรือ กาต่อเรือเพื่อลงเล มาเป็นเครื่องมือ โดยใช้เด็กเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้เด็ก เยาวชนของชุมชน ปลอดภัยจากภัยที่มองไม่เห็นจากรอบข้างที่จ้องทำร้ายเด็ก เยาวชนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ การให้เด็กรวมกลุ่มทำกิจกรรม สืบค้นเรื่องราวอันงดงามที่มีอยู่ในชุมชน ทั้งงานจัดสานเครื่องมือประมงที่ในปัจจุบันต้องหาซื้อจากที่อื่น ทั้งที่ในชุมชนยังมีผู้สูงอายุหลายคนยังจดจำ งานฝีมือในการจัดสานได้ งานลวดลายของเรือที่ออกไปประกอบอาชีพตามท้องทะเลหรือสื่อศิลปะแขนงต่างๆที่ซุกซ่อนอยู่กับความชราของผู้คนที่มีอยู่ในชุมชน


นางเตือนใจ สิทธิบุรี เล่าต่อว่า จากปีที่ผ่านมาการทบทวน เล่าเรื่อง การทดลอง สาธิต ในสื่อศิลปะที่มีอยู่ได้เป็นเครื่องมือให้เด็ก เยาวชน คนในชุมชน ผู้สูงอายุได้มีพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งเรื่องความทุกข์ ความสุข ทั้งเรื่องการประกอบอาชีพ เรื่องปฏิทินฤดูกาลซึ่งส่งผลต่อการประกอบอาชีพ การออกทะเล การปลูกพืชผักอย่างไรให้สอดคล้องกับหน้าฝนที่จะมาเยือน การเลี้ยงลูกให้แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน รวมทั้งพัฒนาอาชีพ โดยมีเวทีการจัดทำแผนแม่บทชุมชน มีสมาชิกในชุมชนเป็นผู้กำหนด ค้นหาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีการใช้กลไกจากเครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนพื้นที่ต่างที่มีอยู่ทั่ว มาช่วยเติม เติมในส่วนที่ชุมชนต้องการ (ตามรายงานการติดตามประเมินผล ปี 2555)


ปีที่ 2 เพื่อให้การดำเนินงานที่ต่อเนื่องจึงได้มีการต่อยอดตามที่ชุมชนต้องการ จากการที่ได้มีการค้นหาทุนในชุมชนจนพบ และได้มีการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนตนเอง โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นทุนเดิมของชุมชนให้เป็นทุนที่หนุนเสริมองค์กรชาวบ้านให้เข้มแข็ง รวมทั้งประเด็นเด็กเยาวชน ที่ต้องค้นหาเพิ่มศักยภาพและสร้างแกนนำรุ่น 2 ต่อไป สื่อศิลปวัฒนธรรมในชุมชนที่มีอยู่มากมายมาปีที่ 2 การผลิตสื่อเพื่อการเผยแพร่โดยมีแกนนำชุมชนและแกนนำเด็ก เยาวชนในชุมชนเป็นผู้ดำเนินการ การพัฒนากลุ่มองค์กรสู่การยั่งยืน มีการกำหนดวาระของชุมชนร่วมกันในการผลักดันให้มีเวลาที่ชัดเจนขอชุมชนร่วมกันของคนทั้ง 3 วัยเพื่อให้เกิดเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ 2 เดือน/1 ครั้ง จึงเป็นกิจกรรมทางเลือกที่ทุกคนในชุมชน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน



พอมาปีที่ 3 นั้นนางเตือนใจ สิทธิบุรี บอกว่า จากการดำเนินการมาตั้งแต่ ปีที่ 1-2 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในชุมชน พื้นที่ใกล้เคียงและพื้นที่เครือข่ายได้มีความต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงในชุมชนขยายไปสู่พื้นที่อื่นๆ โดยใช้พื้นที่คลองกระอาน ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง เป็นพื้นที่ต้นแบบที่สมาชิกในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ และท่าสำคัญเด็กเยาวชน ในชุมชนและเครือข่ายเยาวชน ที่ได้มีการเพิ่มศักยภาพในปีที่ 2 เป็นกลุ่มพลเมืองเพื่อการเปลี่ยนแปลง ที่สามารถลุกขึ้นมานำชุมชนตนเองได้ กำหนดทิศทางการพัฒนาหมู่บ้านตนได้ เป็นต้นแบบให้กับเด็ก เยาวชนที่มาจากชุมชนอื่นๆได้ โดยใช้สื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชน เป็นเครื่องมือ


ในปีที่ 3นี้ จึงได้ขยายแนวคิดโดยใช้ ปีที่1-2 เป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนชุมชนโดยใช้สื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเหมือนเดิมโดยใช้ 3 แผนบูรณการร่วมกัน 1+2+5 โดยได้มีการขยายพื้นที่เชื่อมโยงกับแผนศิลปวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาสร้างความฉลาดรู้ด้านสุขภาพ รณรงค์เรื่องงกเหล้า บุหรี่ และแผนงานศิลปวัฒนธรรมเพื่อพัฒนานโยบายและพื้นที่ต้นแบบ “ชุมชนเมือง 3 ดี วิถีสุข สื่อดี พื้นที่ดี ภูมีดี” ใน 3 ตำบล เพื่อเป็นตำบลนำร่อง 4 ตำบล คือ ตำบลนาท่อม ต.เขาเจียก ต.นาปะขอและต.นาโหนด โดยมีสื่อชุมชนเป็นของตนเอง รวมทั้งสร้างเครือข่ายเพิ่มกระจายในพื้นที่ จ.พัทลุง ซึ่งมีสื่อศิลปะทั้งทางด้าน สื่อพื้นบ้าน สื่อสมัยใหม่ นักคิด นักเขียน ดนตรี เพื่อทำสื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็ก เยาวชน กลุ่มคนสนใจทั่วไป โดยทั้งการร่วมฟื้นฟูสื่อพื้นบ้านในชุมชน การร่วมสืบค้นลายผ้าพื้นบ้าน และการใช้สื่อสมัยใหม่ที่นำชุมชนไปสู่การเปลี่ยนแปลง การร่วมกับเครือข่ายและบูรณการที่นำสื่อไปสู่การจัดการเมือง 3 ดี โดยใช้เด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เขาปลอดภัยจากภัยที่มองไม่เห็นรอบข้างที่จ้องทำร้ายเด็ก เยาวชนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ การให้เด็กรวมกลุ่มทำกิจกรรม สืบค้นเรื่องราวอันงดงามที่มีอยู่ในชุมชน ทั้งงานจัดสานเครื่องมือประมงที่ในปัจจุบันต้องหาซื้อจากที่อื่น ทั้งที่ในชุมชนยังมีผู้สูงอายุหลายคนยังจดจำ งานฝีมือในการจัดสานได้ งานลวดลายของเรือที่ออกไปประกอบอาชีพตามท้องทะเลหรือสื่อศิลปะแขนงต่างๆ ที่ซุกซ่อนอยู่กับความชราของผู้คนที่มีอยู่ในชุมชนจึงเกิดขึ้นในปี 3 นี้

แน่นอนว่าเมื่อกิจกรรมในปีที่ 3 นี้มีการขับเคลื่อนไปจนจบกิจกรรม นางเตือนใจ สิทธิบุรี บอกทิ้งท้ายไว้ว่า จะเกิดเครือข่ายพื้นที่นำร่อง ตำบล 3 ดี วิถีสุข: สื่อดี พื้นที่ดี ที่สามารถทำให้สมาชิกในชุมชนตระหนักถึงความสำคัญและเห็นคุณค่าของสื่อศิลปวัฒนธรรมที่มีมากขึ้น และในที่สุดเด็กและเยาวชนในชุมชนจะก้าวมาเป็นแกนนำเด็ก เยาวชน รุ่น 2 ต่อไปได้อย่างแน่นอน...


เพราะเราเชื่อว่า สายใยสื่อศิลปวัฒนธรรม ไม่มีวันจะสูญหายถ้าเราทุกคนรวมกันเป็นหนึ่งเดียว





สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ (ศสส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เลขที่ 128/409 ชั้น 37 อาคารพญาไท พลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 02-612-6997 www.artculture4health.comอีเมล์: artculture4health@gmail.com

กำลังโหลดความคิดเห็น