เชื่อว่าช่วงเวลาอากาศที่ผ่านมาเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวฝนตก ยิ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาอากาศยิ่งอึมครึมชุ่มฉ่ำกันถ้วนหน้า ยิ่งเชื่อว่าทำให้เราๆ ท่านๆ ต่างต้องประสบปัญหาใหญ่เดียวกัน (นอกจากการรับมือกับความเปียกปอน) นั่นก็คือเรื่อง "กลิ่นเท้า" ไม่พึงประสงค์ชนิดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และแถมยังติดทนชวนให้กลุ้มใจเพิ่มมาอีก
วันนี้เราจึงหยิบนำเอาวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณแก้ไข ก่อนจะขาดความมั่นใจในแต่ละก้าวเดินของชีวิต ซึ่งวิธีป้องกันที่แนะนำมีด้วยกัน 2 แบบ
1.แก้ที่เท้าของเรา เพราะถ้าเท้าของเราไม่สะอาด เวลาที่รองเท้าเราได้รับความชื้นทั้งจากน้ำฝนหรือเหงื่อ ความสกปรกเหล่านั้นก็หมักหมมตามพื้นรองเท้าและจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เท้าของเราที่ต้องสวมใส่ได้รับเชื้อโรคตามไปด้วยปริยาย ดังนั้น การตักน้ำราดแล้วใช้ฝ่าเท้าถูๆ กับสบู่อาจจะไม่เพียงพอ
แช่เท้าในน้ำอุ่นผสมเกลือกับน้ำมะนาว
ขึ้นชื่อว่ารักษายับยังฆ่าเชื้อโรคได้ชะงัด สำหรับ "เกลือ" ส่วน "มะนาว" ก็มีกรดช่วยในเรื่องขจัดแบคทีเรียไม่เป็นสองรองใครอย่างที่เรารู้ๆ กันดี ดังนั้นวิธีนี้จะใช้เกลืออย่างเดียวหรือผสมร่วมกับน้ำมะนาวก็ได้ แต่ที่สำคัญคือควรต้มน้ำให้เดือดและทิ้งไว้ให้พออุ่น จากนั้นค่อยใส่เกลือพอประมาณพร้อมกับน้ำมะนาว จากนั้นแช่เท้าทิ้งไว้ 15-20 นาที
สามารถทำติดต่อได้ทุกวันและร่วมกับใช้แปรงขัดทำความสะอาด กลิ่นก็จะค่อยๆ เลือนหายไป ภายในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน
ขัดเท้าด้วยสารส้มหรือเบกกิ้งโซดา
วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาต้องเร่งรีบ เพราะสามารถทำได้พร้อมๆ กับขณะอาบน้ำชำระล้างร่างกาย โดยหลังจากล้างด้วยสบู่เรียบร้อยแล้วให้เราเตรียมสารส้มสัก 1 ก้อนขนาดพอเหมาะมือ ถูทำความสะอาดทุกซอกมุมง่ามเท้า เล็บ อีกรอบหนึ่ง สรรพคุณของสารส้มที่เป็นยาระงับกลิ่นอยู่แล้วก็จะช่วยยับยั้งไม่เหลือหลอ
ส่วนเบกกิ้งโซดานำมาผสมน้ำให้พอข้นทาแล้วจับเป็นก้อน จากนั้นทาให้ทั่วเท้า ฝ่าเท้า ซอกเท้า แล้วใช้แปรงค่อยๆ ขัด 5-10 นาที เพื่อให้ฤทธิ์ของเบกกิ้งโซดาฆ่าเชื้อโรคแบคทีเรีย
ถุงชาเก่า
เพราะความเป็นกรดและด่างของถุงชาสามารถช่วยยับยั้งและกำจัดแบคทีเรียได้ แต่ต้องใช้ถุงชาประมาณ 5 ถุง แช่ในน้ำอุ่น ประมาณ 10-15 นาที ทำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เท้าของเราก็จะสะอาดและกลิ่นก็จะค่อยๆ หายไป
2.แก้ที่รองเท้า เมื่อเท้าเราสะอาดถ้ารองเท้าไม่สะอาดผลที่ได้รับก็เท่านั้น กลิ่นไม่พึงประสงค์ก็ยังเป็นวงจรวนเวียนไม่รู้จักจบสิ้น แต่ปัญหานั้นจะหมดไปง่ายๆ โดย
ใช้แผ่นรองเท้า
เพราะนอกจากประโยชน์ของแผ่นรองเท้าจะช่วยให้สวมใส่รองเท้าสบายและเสริมให้พอดีกับรูปทรงเท้าเรา แผ่นรองเท้ายังทำหน้าที่ป้องกันช่วยไม่ให้คราบเหงื่อจากเท้าไหลลงไปที่พื้นรองเท้าแล้วซึมติดรองเท้าก่อตัวเป็นแบคทีเรีย และที่สำคัญแผ่นรองเท้ายังสามารถหยิบเอามาทำความสะอาดง่าย แถมแห้งก็ง่ายชนิดไม่ต้องง้อแดดเกิน 15 นาที แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรจะมีสำรองสลับผลัดเปลี่ยนกันเพื่อความชัวร์
โรยแป้งให้เท้า
ด้วยสรรพคุณที่ช่วยให้แห้งและยับยั้งแบคทีเรีย แป้งฝุ่น จึงเป็นอีกสิ่งของง่ายๆ ใกล้ตัวที่ช่วยคุณในเรื่องนี้ได้ แต่ควรเลือกแป้งสำหรับทาเท้าโดยเฉพาะหรือแป้งที่ช่วยลดความอับชื้น อาการคัน จำพวกแป้งเด็ก โดยสามารถนำมาทาให้ทั่วเท้าก่อนที่จะใส่ถุงเท้า รองเท้า หรือจะนำไปโรยในรองเท้าให้ทั่วก่อนสวมใส่ก็ได้
กระดาษหนังสือพิมพ์ดูดกลิ่น
ไม่ใช่เฉพาะดันทรงให้รองเท้าของคุณได้รูปสวยอยู่ตลอดเวลา หนังสือพิมพ์ยังสามารถดูดกลิ่นไม่พึงประสงค์ของรองเท้าได้เพราะหมึกที่พิมพ์ นอกจากนี้ยังช่วยให้รองเท้าแห้งไว้ขึ้นอีกด้วย แค่เรานำหนังสือพิมพ์ขยำเป็นก้อนให้ได้รูปใส่ในรองเท้า ทำทุกวันต่อเนื่องกลิ่นก็จะค่อยๆ ทุเลาลง
ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่สำคัญอย่าลืม "ซักถุงเท้า" ให้สะอาดอยู่เสมอ โดยอาจจะแช่น้ำยาฆ่าเชื้อ แช่ทิ้งไว้ก่อนซักด้วยผงซักฟอก เพื่อลดแบคทีเรียที่ติดแน่นอยู่ในใยผ้า และควรเลือกใช้แบบที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ ผ้าฝ้าย เพราะจะช่วยระบายอากาศได้ดีกว่า หลีกเลี่ยงถุงเท้าที่หนาจนเกินไป ถุงเท้าที่ทำจากขนสัตว์ ถุงเท้าไนลอน เพราะไม่เหมาะกับเท้าที่มีเหงื่อออกมาก
วันนี้เราจึงหยิบนำเอาวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณแก้ไข ก่อนจะขาดความมั่นใจในแต่ละก้าวเดินของชีวิต ซึ่งวิธีป้องกันที่แนะนำมีด้วยกัน 2 แบบ
1.แก้ที่เท้าของเรา เพราะถ้าเท้าของเราไม่สะอาด เวลาที่รองเท้าเราได้รับความชื้นทั้งจากน้ำฝนหรือเหงื่อ ความสกปรกเหล่านั้นก็หมักหมมตามพื้นรองเท้าและจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เท้าของเราที่ต้องสวมใส่ได้รับเชื้อโรคตามไปด้วยปริยาย ดังนั้น การตักน้ำราดแล้วใช้ฝ่าเท้าถูๆ กับสบู่อาจจะไม่เพียงพอ
แช่เท้าในน้ำอุ่นผสมเกลือกับน้ำมะนาว
ขึ้นชื่อว่ารักษายับยังฆ่าเชื้อโรคได้ชะงัด สำหรับ "เกลือ" ส่วน "มะนาว" ก็มีกรดช่วยในเรื่องขจัดแบคทีเรียไม่เป็นสองรองใครอย่างที่เรารู้ๆ กันดี ดังนั้นวิธีนี้จะใช้เกลืออย่างเดียวหรือผสมร่วมกับน้ำมะนาวก็ได้ แต่ที่สำคัญคือควรต้มน้ำให้เดือดและทิ้งไว้ให้พออุ่น จากนั้นค่อยใส่เกลือพอประมาณพร้อมกับน้ำมะนาว จากนั้นแช่เท้าทิ้งไว้ 15-20 นาที
สามารถทำติดต่อได้ทุกวันและร่วมกับใช้แปรงขัดทำความสะอาด กลิ่นก็จะค่อยๆ เลือนหายไป ภายในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน
ขัดเท้าด้วยสารส้มหรือเบกกิ้งโซดา
วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาต้องเร่งรีบ เพราะสามารถทำได้พร้อมๆ กับขณะอาบน้ำชำระล้างร่างกาย โดยหลังจากล้างด้วยสบู่เรียบร้อยแล้วให้เราเตรียมสารส้มสัก 1 ก้อนขนาดพอเหมาะมือ ถูทำความสะอาดทุกซอกมุมง่ามเท้า เล็บ อีกรอบหนึ่ง สรรพคุณของสารส้มที่เป็นยาระงับกลิ่นอยู่แล้วก็จะช่วยยับยั้งไม่เหลือหลอ
ส่วนเบกกิ้งโซดานำมาผสมน้ำให้พอข้นทาแล้วจับเป็นก้อน จากนั้นทาให้ทั่วเท้า ฝ่าเท้า ซอกเท้า แล้วใช้แปรงค่อยๆ ขัด 5-10 นาที เพื่อให้ฤทธิ์ของเบกกิ้งโซดาฆ่าเชื้อโรคแบคทีเรีย
ถุงชาเก่า
เพราะความเป็นกรดและด่างของถุงชาสามารถช่วยยับยั้งและกำจัดแบคทีเรียได้ แต่ต้องใช้ถุงชาประมาณ 5 ถุง แช่ในน้ำอุ่น ประมาณ 10-15 นาที ทำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เท้าของเราก็จะสะอาดและกลิ่นก็จะค่อยๆ หายไป
2.แก้ที่รองเท้า เมื่อเท้าเราสะอาดถ้ารองเท้าไม่สะอาดผลที่ได้รับก็เท่านั้น กลิ่นไม่พึงประสงค์ก็ยังเป็นวงจรวนเวียนไม่รู้จักจบสิ้น แต่ปัญหานั้นจะหมดไปง่ายๆ โดย
ใช้แผ่นรองเท้า
เพราะนอกจากประโยชน์ของแผ่นรองเท้าจะช่วยให้สวมใส่รองเท้าสบายและเสริมให้พอดีกับรูปทรงเท้าเรา แผ่นรองเท้ายังทำหน้าที่ป้องกันช่วยไม่ให้คราบเหงื่อจากเท้าไหลลงไปที่พื้นรองเท้าแล้วซึมติดรองเท้าก่อตัวเป็นแบคทีเรีย และที่สำคัญแผ่นรองเท้ายังสามารถหยิบเอามาทำความสะอาดง่าย แถมแห้งก็ง่ายชนิดไม่ต้องง้อแดดเกิน 15 นาที แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรจะมีสำรองสลับผลัดเปลี่ยนกันเพื่อความชัวร์
โรยแป้งให้เท้า
ด้วยสรรพคุณที่ช่วยให้แห้งและยับยั้งแบคทีเรีย แป้งฝุ่น จึงเป็นอีกสิ่งของง่ายๆ ใกล้ตัวที่ช่วยคุณในเรื่องนี้ได้ แต่ควรเลือกแป้งสำหรับทาเท้าโดยเฉพาะหรือแป้งที่ช่วยลดความอับชื้น อาการคัน จำพวกแป้งเด็ก โดยสามารถนำมาทาให้ทั่วเท้าก่อนที่จะใส่ถุงเท้า รองเท้า หรือจะนำไปโรยในรองเท้าให้ทั่วก่อนสวมใส่ก็ได้
กระดาษหนังสือพิมพ์ดูดกลิ่น
ไม่ใช่เฉพาะดันทรงให้รองเท้าของคุณได้รูปสวยอยู่ตลอดเวลา หนังสือพิมพ์ยังสามารถดูดกลิ่นไม่พึงประสงค์ของรองเท้าได้เพราะหมึกที่พิมพ์ นอกจากนี้ยังช่วยให้รองเท้าแห้งไว้ขึ้นอีกด้วย แค่เรานำหนังสือพิมพ์ขยำเป็นก้อนให้ได้รูปใส่ในรองเท้า ทำทุกวันต่อเนื่องกลิ่นก็จะค่อยๆ ทุเลาลง
ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่สำคัญอย่าลืม "ซักถุงเท้า" ให้สะอาดอยู่เสมอ โดยอาจจะแช่น้ำยาฆ่าเชื้อ แช่ทิ้งไว้ก่อนซักด้วยผงซักฟอก เพื่อลดแบคทีเรียที่ติดแน่นอยู่ในใยผ้า และควรเลือกใช้แบบที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ ผ้าฝ้าย เพราะจะช่วยระบายอากาศได้ดีกว่า หลีกเลี่ยงถุงเท้าที่หนาจนเกินไป ถุงเท้าที่ทำจากขนสัตว์ ถุงเท้าไนลอน เพราะไม่เหมาะกับเท้าที่มีเหงื่อออกมาก