พูดถึงสภาพอากาศในตอนนี้ ต้องบอกกันตามตรงเลยว่า ร้อนแบบสุดๆ อารมณ์ประมาณอยากอาบน้ำวันละหลายๆ รอบ, อยากอยู่ในห้องแอร์ไปนานๆ หรือ อาจจะมีอาการหงุดหงิดง่ายเพราะภาวะแวดล้อม ฉะนั้นแล้ว ขอให้ท่านๆ ทั้งหลาย ใจร่มๆ เข้าไว้ และท่องไปว่า เดี๋ยวมันก็ผ่านๆไป และไปหาอาหารสดๆ มารับประทานให้ชื่นใจกันก่อนดีกว่า
และถ้าเอ่ยถึง “อาหารสด” แล้ว หลายๆ ท่าน คงจะนึกภาพถึง เนื้อสัตว์ พืชผักและผลไม้ที่มีสีสันสดใสเป็นที่ดึงดูดตายามแรกเห็น และดึงความเชื่อให้เราได้ไปเลือกซื้อกลับไปทำอาหารต่างๆ นาๆ ให้ตอบสนองในรสชาติอาหาร แต่หารู้ไม่ว่า ในอาหารสดนี่แหละ อาจจะมีเชื้อโรคตัวร้ายปะปนอยู่ และเป็นภัยเงียบที่คาดไม่ถึง นั่นคือ เชื้อวิบริโอ และ เชื้ออีโคไล นั่นเอง
ซึ่งทั้งสองเชื้อดังกล่าวนั้น หลายๆ คน อาจจะไม่ให้ความสำคัญอะไรมากนัก เพราะชะล่าใจว่า ‘มันไม่มีอะไรหรอก’ แต่ด้วยเหตุผลนี้แหละ ที่อาจทำให้ใครหลายคนต้องเจอพิษของมันอย่างคาดไม่ถึงมานักต่อนักแล้ว ดังนั้น เรามารู้จักถึง ที่มาที่ไปของโรค อาการ และวิธีการป้องกัน กันดีกว่า เพราะไม่ฉะนั้นแล้ว ภัยเงียบดังกล่าว อาจจะมาถึงตัวคุณไม่วันใดวันหนึ่งก็ได้....
อะไรคือ “สองเชื้ออันตราย”
เชื้อวิบริโอ (Vibrio) นั้น เกิดมาจากเชื้อ เช่น V.Harveyi, V. vulnificus เป็นต้น ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมลบ ซึ่งเชื้อพวกนี้พบได้ทั่วไปในน้ำทะเล ซึ่งพบได้ในสัตว์ในน้ำทะเล แถมเชื้อนี้มีการดื้อยาต้านจุลชีพได้ง่ายอีกด้วย
ขณะที่เชื้ออีโคไล (E.coli) อันที่จริงเป็นชื่อย่อของ Escherichia coli (เอสเชอริเชีย โคไล) เป็นแบคทีเรียชนิดนี้จะทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อย ๆ อุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ แต่จะมีอาการไม่รุนแรง เพราะคนเรามีภูมิต้านทานโรคอยู่บ้าง และปกติเราสามารถพบเชื้อดังกล่าวได้ในอุจจาระคนปกติทั่วไป
อาการผลข้างเคียงจากสองเชื้อนี้
เมื่อผู้ที่ได้รับเชื้อดังกล่าวเข้าไป จะมีลักษณะที่คล้ายกัน กล่าวคือ สำหรับผู้ที่ได้รับเชื้อทั้งสองชนิดนี้เข้าร่างกายจะมีระยะฟักตัวของโรคประมาณหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องเล็กน้อยถึงอย่างรุนแรง อาเจียน ท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระเหลวเป็นน้ำหรืออาจมีเลือดปน ปลายมือและเท้าเย็น ซีด ปวดหัว คอแห้งกระหายน้ำ มีไข้ บางรายหายใจลำบาก หนาวสั่น ปวดตามกล้ามเนื้อและข้อ ชีพจรลดต่ำรวดเร็ว อาจถึงตายได้
วิธีการดูแลตนเอง และ การรักษา
สำหรับวิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้เชื้อโรคทั้งสองเข้าสู่ร่างกาย เบื้องต้น ควรเก็บอาหารสดไว้ในอุณหภูมิต่ำ ส่วนผักสดนั้น ควรล้างน้ำให้สะอาด โดยปล่อยให้น้ำไหลผ่านผักประมาณ 2 นาที
จากนั้น หากมีการประกอบอาหาร ควรมีการปรุงสุกในระดับอุณหภูมิที่ 71 องศาเซลเซียสขึ้นไป เมื่อเข้าสู้การรับประทาน ควรยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง และ ล้างมือ” ให้ขึ้นใจ
และหากมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรงกำเริบ ไม่ควรทานยาระงับอุจจาระ เพราะจำเป็นอันตรายได้ แนะนำให้ไปพบแพทย์อย่างโดยด่วน
และถ้าเอ่ยถึง “อาหารสด” แล้ว หลายๆ ท่าน คงจะนึกภาพถึง เนื้อสัตว์ พืชผักและผลไม้ที่มีสีสันสดใสเป็นที่ดึงดูดตายามแรกเห็น และดึงความเชื่อให้เราได้ไปเลือกซื้อกลับไปทำอาหารต่างๆ นาๆ ให้ตอบสนองในรสชาติอาหาร แต่หารู้ไม่ว่า ในอาหารสดนี่แหละ อาจจะมีเชื้อโรคตัวร้ายปะปนอยู่ และเป็นภัยเงียบที่คาดไม่ถึง นั่นคือ เชื้อวิบริโอ และ เชื้ออีโคไล นั่นเอง
ซึ่งทั้งสองเชื้อดังกล่าวนั้น หลายๆ คน อาจจะไม่ให้ความสำคัญอะไรมากนัก เพราะชะล่าใจว่า ‘มันไม่มีอะไรหรอก’ แต่ด้วยเหตุผลนี้แหละ ที่อาจทำให้ใครหลายคนต้องเจอพิษของมันอย่างคาดไม่ถึงมานักต่อนักแล้ว ดังนั้น เรามารู้จักถึง ที่มาที่ไปของโรค อาการ และวิธีการป้องกัน กันดีกว่า เพราะไม่ฉะนั้นแล้ว ภัยเงียบดังกล่าว อาจจะมาถึงตัวคุณไม่วันใดวันหนึ่งก็ได้....
อะไรคือ “สองเชื้ออันตราย”
เชื้อวิบริโอ (Vibrio) นั้น เกิดมาจากเชื้อ เช่น V.Harveyi, V. vulnificus เป็นต้น ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมลบ ซึ่งเชื้อพวกนี้พบได้ทั่วไปในน้ำทะเล ซึ่งพบได้ในสัตว์ในน้ำทะเล แถมเชื้อนี้มีการดื้อยาต้านจุลชีพได้ง่ายอีกด้วย
ขณะที่เชื้ออีโคไล (E.coli) อันที่จริงเป็นชื่อย่อของ Escherichia coli (เอสเชอริเชีย โคไล) เป็นแบคทีเรียชนิดนี้จะทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อย ๆ อุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ แต่จะมีอาการไม่รุนแรง เพราะคนเรามีภูมิต้านทานโรคอยู่บ้าง และปกติเราสามารถพบเชื้อดังกล่าวได้ในอุจจาระคนปกติทั่วไป
อาการผลข้างเคียงจากสองเชื้อนี้
เมื่อผู้ที่ได้รับเชื้อดังกล่าวเข้าไป จะมีลักษณะที่คล้ายกัน กล่าวคือ สำหรับผู้ที่ได้รับเชื้อทั้งสองชนิดนี้เข้าร่างกายจะมีระยะฟักตัวของโรคประมาณหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องเล็กน้อยถึงอย่างรุนแรง อาเจียน ท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระเหลวเป็นน้ำหรืออาจมีเลือดปน ปลายมือและเท้าเย็น ซีด ปวดหัว คอแห้งกระหายน้ำ มีไข้ บางรายหายใจลำบาก หนาวสั่น ปวดตามกล้ามเนื้อและข้อ ชีพจรลดต่ำรวดเร็ว อาจถึงตายได้
วิธีการดูแลตนเอง และ การรักษา
สำหรับวิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้เชื้อโรคทั้งสองเข้าสู่ร่างกาย เบื้องต้น ควรเก็บอาหารสดไว้ในอุณหภูมิต่ำ ส่วนผักสดนั้น ควรล้างน้ำให้สะอาด โดยปล่อยให้น้ำไหลผ่านผักประมาณ 2 นาที
จากนั้น หากมีการประกอบอาหาร ควรมีการปรุงสุกในระดับอุณหภูมิที่ 71 องศาเซลเซียสขึ้นไป เมื่อเข้าสู้การรับประทาน ควรยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง และ ล้างมือ” ให้ขึ้นใจ
และหากมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรงกำเริบ ไม่ควรทานยาระงับอุจจาระ เพราะจำเป็นอันตรายได้ แนะนำให้ไปพบแพทย์อย่างโดยด่วน