ใกล้จะถึงวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ วันแห่ง “ความรัก” เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะตระเตรียมดอกกุหลาบแดงช่อโตไว้คอยมอบแด่คนที่รักกันเป็นทิวแถว
แต่กระนั้นรู้หรือไม่ว่า นอกจาก “กุหลาบ” จะได้ชื่อว่าเป็นราชินีแห่งดอกไม้ทั้งปวงและเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนแสดงความรักที่นิยมใช้บอกความหมาย “รัก” ของคนทั้งโลกแล้ว ภายใต้กลีบและเกสรที่สวยสดหอมรัญจวน กุหลาบยังมีสรรพคุณทางการแพทย์อีกนานับประการ
ฉะนั้น ได้ยินอย่างนี้แล้ว...เรามาดูกันเลยว่า “กุหลาบ” ที่เรากำลังจะได้กันนั้น นอกจากสื่อรักแทบใจแล้ว ยังมีคุณประโยชน์อันใดแฝงกันอยู่บ้าง
กลิ่นระเหยคลายเครียด
เริ่มต้นที่ถัดลงมานอกจากความสวยที่เรามองเห็น “กลิ่น” คืออันดับแรกที่เราจะบรรจงหอมดอมเกสร ซึ่งหากนำกลีบมาสกัดเราก็จะได้ “น้ำมันหอมระเหย” ที่จะช่วยคลายเครียด ผ่อนคลาย ช่วยให้สมองในระบบจดจำทำงานได้ดีขึ้น นอนหลับง่ายขึ้น ระบบเลือดไหวเวียนสมบูรณ์ ระงับอาการประสาท ความเครียด เพิ่มความรู้สึกทางเพศ ลดอาการเจ็บแน่นหน้าอก ปวดศีรษะและอาการหวัดได้
ทั้งนอกจากนี้นอกจากนั้นบางตำราอย่างสมัยก่อนหรือในทางศาสตร์สุคนธบำบัดยังระบุไว้อีกว่า น้ำมันหอมระเหยจากกุหลาบ ยังช่วยทำให้ร่างกายทำงานอย่างสมดุล ปรับระบบต่างๆ อาทิระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร ปรับสมดุลฮอโมเพศหญิง ขับระดู ลดอาการปวดประจำเดือน คลายกล้ามเนื้อ ช่วยฆ่าเชื้อโรค ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สมานแผลทั้งภายนอกและภายใน
และจากสรรพคุณที่ว่านี้ เรายังสามารถดัดแปลงเป็น “สเปรย์ดอกกุหลาบ” ได้อีกด้วย โดยมีวิธีการทำคือ ใช้กลีบกุหลาบประมาณ 10กรัม เทใส่ภาชนะที่ต้องการ เสร็จแล้วเติมน้ำร้อนราดลงไป หลัวจากนั้นกรองเอาแต่น้ำมาใช้ บรรจุใส่ขวดสเปรย์แล้วฉีดพ่นบริเวณที่ต้องการ
กลีบกุหลาบขจัดไข้ คลายผิวให้สดใส
เพราะเนื่องดอกกลีบกุหลาบนั้นอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินเกลือแร่ต่างๆ ที่ร่างกายต้องการมากมาย อาทิ โพแทสเซียม (สารที่จำเป็นต่อระบบการทำงานของหัวใจ) แร่ธาตุทองแดง (ช่วยกระบวนการสร้างเม็ดเลือด) วิตามินซี วิตามินเค สารแคโรทีน ซึ่งทั้งหมดจะช่วยในเรื่องการบรรเทาอาการหวัด เจ็บคอ หลอดลมอักเสบ บำรุงร่างกายให้แข็งแรง รักษาแผลหรือการอักเสบในกระเพาะอาหาร ลดการอักเสบของผิวหนัง
ดังนั้นเมื่อเรานำมาทำเป็น “ชา” กุหลาบ เราก็จะได้คุณค่าจากกลีบเต็มๆ หรือจะนำกลีบกุหลาบแห้งมาบดให้ละเอียดเป็นผง เมื่อนำไปผสมกับน้ำผึ้งเราก็จะได้ยากุหลาบปราบแผลในช่องปากโดยไม่ต้องไปเข้าร้านยา ทั้งยังแก้ปัญหาเหงือกและฟัน การอักเสบได้อีกด้วย
ส่วนในกรณีที่ถ้าอยากจะสวยประดุจดั่งฉายาราชินีเราก็แค่นำดอกกุหลาบสดประมาณ 4-5 ดอก รินน้ำเดือนในปริมาณท่วมดอก ปิดฝาทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นเทเอาแต่น้ำ เราก็สามารถนำมาใช้ล้างหน้าแทน “โฟม”หรือ “สบู่” ได้สบายๆ
หรือจะ "อาบน้ำแช่ดอกกุหลาบ" ที่นอกจากจะได้ผิวพรรณที่สวยงาม สดชื่น ไม่ต่างจากการใช้แทนผลิตภัณฑ์ล้างหน้าข้างต้น เพียงนำผลบีทรูทมาคั้นผสมลงในน้ำ ยังสามารถช่วยคลายเครียด แก้ปวดกล้ามเนื้อต่างๆ ซึ่งสรรพคุณไม่ต่างจากที่รับจะไม่ต่างจากการแปรรูปเป็นประเภทกลิ่น และถ้าเราเพียงดัดแปลงอีกนิด โดยการนำกลีบกุหลาบแห้งมาเป็นเป็นผง เติมน้ำเล็กน้อย ผสมให้เข้ากัน นำมาทาทั่วใบหน้า 10-15 นาที แค่นี้เราก็ได้ “มาส์กกุหลาบ” ที่แก้ปัญหาหน้ามัน ปัญหาสิว กลับมามีผิวหน้าที่สดใส เปล่งปลั่งแลมีชีวิตชีวา
ท้ายที่สุดนอกจากที่กล่าวมานี้ เรายังจะสามารถเห็นการแปรรูปของสรรพคุณดอกกุหลาบในปัจจุบันได้อย่างหลากหลายประเภท อาทิเช่น ขี้ผึ้งดอกกุหลาบ สบู่ดอกกุหลาบ หรือ เยลลี่ดอกกุหลาบ ยำดอกกุหลาบ เป็นต้น
เรียกได้ว่าครบสำเร็จหลักสูตรทั้งความสวยความงามและสุขภาพแบบไม่มีพิษภัยสารตกค้างจริงๆ จึงไม่แปลกที่ “กุหลาบ” ไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคกี่สมัยใดก็ยังคงเป็นดอกไม้ตัวแทนความรักนัมเบอร์วันเสมอมาแม้จะกว่า 4,000 พันปีที่ถูกค้นพบแล้วก็ตาม...
แต่กระนั้นรู้หรือไม่ว่า นอกจาก “กุหลาบ” จะได้ชื่อว่าเป็นราชินีแห่งดอกไม้ทั้งปวงและเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนแสดงความรักที่นิยมใช้บอกความหมาย “รัก” ของคนทั้งโลกแล้ว ภายใต้กลีบและเกสรที่สวยสดหอมรัญจวน กุหลาบยังมีสรรพคุณทางการแพทย์อีกนานับประการ
ฉะนั้น ได้ยินอย่างนี้แล้ว...เรามาดูกันเลยว่า “กุหลาบ” ที่เรากำลังจะได้กันนั้น นอกจากสื่อรักแทบใจแล้ว ยังมีคุณประโยชน์อันใดแฝงกันอยู่บ้าง
กลิ่นระเหยคลายเครียด
เริ่มต้นที่ถัดลงมานอกจากความสวยที่เรามองเห็น “กลิ่น” คืออันดับแรกที่เราจะบรรจงหอมดอมเกสร ซึ่งหากนำกลีบมาสกัดเราก็จะได้ “น้ำมันหอมระเหย” ที่จะช่วยคลายเครียด ผ่อนคลาย ช่วยให้สมองในระบบจดจำทำงานได้ดีขึ้น นอนหลับง่ายขึ้น ระบบเลือดไหวเวียนสมบูรณ์ ระงับอาการประสาท ความเครียด เพิ่มความรู้สึกทางเพศ ลดอาการเจ็บแน่นหน้าอก ปวดศีรษะและอาการหวัดได้
ทั้งนอกจากนี้นอกจากนั้นบางตำราอย่างสมัยก่อนหรือในทางศาสตร์สุคนธบำบัดยังระบุไว้อีกว่า น้ำมันหอมระเหยจากกุหลาบ ยังช่วยทำให้ร่างกายทำงานอย่างสมดุล ปรับระบบต่างๆ อาทิระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร ปรับสมดุลฮอโมเพศหญิง ขับระดู ลดอาการปวดประจำเดือน คลายกล้ามเนื้อ ช่วยฆ่าเชื้อโรค ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สมานแผลทั้งภายนอกและภายใน
และจากสรรพคุณที่ว่านี้ เรายังสามารถดัดแปลงเป็น “สเปรย์ดอกกุหลาบ” ได้อีกด้วย โดยมีวิธีการทำคือ ใช้กลีบกุหลาบประมาณ 10กรัม เทใส่ภาชนะที่ต้องการ เสร็จแล้วเติมน้ำร้อนราดลงไป หลัวจากนั้นกรองเอาแต่น้ำมาใช้ บรรจุใส่ขวดสเปรย์แล้วฉีดพ่นบริเวณที่ต้องการ
กลีบกุหลาบขจัดไข้ คลายผิวให้สดใส
เพราะเนื่องดอกกลีบกุหลาบนั้นอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินเกลือแร่ต่างๆ ที่ร่างกายต้องการมากมาย อาทิ โพแทสเซียม (สารที่จำเป็นต่อระบบการทำงานของหัวใจ) แร่ธาตุทองแดง (ช่วยกระบวนการสร้างเม็ดเลือด) วิตามินซี วิตามินเค สารแคโรทีน ซึ่งทั้งหมดจะช่วยในเรื่องการบรรเทาอาการหวัด เจ็บคอ หลอดลมอักเสบ บำรุงร่างกายให้แข็งแรง รักษาแผลหรือการอักเสบในกระเพาะอาหาร ลดการอักเสบของผิวหนัง
ดังนั้นเมื่อเรานำมาทำเป็น “ชา” กุหลาบ เราก็จะได้คุณค่าจากกลีบเต็มๆ หรือจะนำกลีบกุหลาบแห้งมาบดให้ละเอียดเป็นผง เมื่อนำไปผสมกับน้ำผึ้งเราก็จะได้ยากุหลาบปราบแผลในช่องปากโดยไม่ต้องไปเข้าร้านยา ทั้งยังแก้ปัญหาเหงือกและฟัน การอักเสบได้อีกด้วย
ส่วนในกรณีที่ถ้าอยากจะสวยประดุจดั่งฉายาราชินีเราก็แค่นำดอกกุหลาบสดประมาณ 4-5 ดอก รินน้ำเดือนในปริมาณท่วมดอก ปิดฝาทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นเทเอาแต่น้ำ เราก็สามารถนำมาใช้ล้างหน้าแทน “โฟม”หรือ “สบู่” ได้สบายๆ
หรือจะ "อาบน้ำแช่ดอกกุหลาบ" ที่นอกจากจะได้ผิวพรรณที่สวยงาม สดชื่น ไม่ต่างจากการใช้แทนผลิตภัณฑ์ล้างหน้าข้างต้น เพียงนำผลบีทรูทมาคั้นผสมลงในน้ำ ยังสามารถช่วยคลายเครียด แก้ปวดกล้ามเนื้อต่างๆ ซึ่งสรรพคุณไม่ต่างจากที่รับจะไม่ต่างจากการแปรรูปเป็นประเภทกลิ่น และถ้าเราเพียงดัดแปลงอีกนิด โดยการนำกลีบกุหลาบแห้งมาเป็นเป็นผง เติมน้ำเล็กน้อย ผสมให้เข้ากัน นำมาทาทั่วใบหน้า 10-15 นาที แค่นี้เราก็ได้ “มาส์กกุหลาบ” ที่แก้ปัญหาหน้ามัน ปัญหาสิว กลับมามีผิวหน้าที่สดใส เปล่งปลั่งแลมีชีวิตชีวา
ท้ายที่สุดนอกจากที่กล่าวมานี้ เรายังจะสามารถเห็นการแปรรูปของสรรพคุณดอกกุหลาบในปัจจุบันได้อย่างหลากหลายประเภท อาทิเช่น ขี้ผึ้งดอกกุหลาบ สบู่ดอกกุหลาบ หรือ เยลลี่ดอกกุหลาบ ยำดอกกุหลาบ เป็นต้น
เรียกได้ว่าครบสำเร็จหลักสูตรทั้งความสวยความงามและสุขภาพแบบไม่มีพิษภัยสารตกค้างจริงๆ จึงไม่แปลกที่ “กุหลาบ” ไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคกี่สมัยใดก็ยังคงเป็นดอกไม้ตัวแทนความรักนัมเบอร์วันเสมอมาแม้จะกว่า 4,000 พันปีที่ถูกค้นพบแล้วก็ตาม...