ตายสี่ในสิบ คือจำนวนประชาชนที่เสียชีวิตเพราะโรคหลอดเลือดหัวใจ จนได้รับการขนานนามว่าเป็น "มัจจุราชเงียบ" เพราะมันจะคร่าชีวิตผู้คนโดยที่ไม่ทันตั้งตัว ซึ่งบางคนไม่เคยตรวจเช็คโรคหรือสุขภาพประจำปีเลย ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองเป็นโรคนี้แม้วินาทีสุดท้ายของลมหายใจ และที่สำคัญ "ความเครียด" อารมณ์ปกติของปุถุชนคือตัวการเร่งมรณะความตายให้มาเร็วไวยิ่งขึ้น
"จริงๆ แล้วภาวะความเครียด เป็นตัวก่อกำเนิดโรคทุกระบบในร่างกาย คือมันเป็นเหมือนวัฏจักรความเสื่อม พอเสื่อมทุกระบบแล้วมันโยงกันหมด" นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ ผู้อำนวยการศูนย์ธรรมชาติบำบัด เวลเนสแคร์ ชี้แจงรายละเอียดของความเครียดอันนำมาซึ่งโรคต่างๆ ขั้นธรรมดาอย่างท้องเสียท้องผูก ระบบย่อยไม่ดี โรคภูมิแพ้ หรือกระทั่งโรคร้ายมะเร็ง โรคแพ้ภูมิตัวเอง และโรคหลอดเลือดหัวใจเจ้าของฉายา "มัจจุราชเงียบ"
"อย่างที่เรารู้ๆ กันว่า โรคจากความเครียดนั้นก็จะมี เช่น ถ้าเครียดปุ๊บจะมีอาการท้องผูก ท้องเสียในบางคน เกิดระบบขับถ่ายระบบการย่อยไม่ดี ความดันโลหิตสูง หรือเกิดระบบเคมีในเลือดผิดปกติเมื่อความเครียดเกิดขึ้นปุ๊บ โรคเบาหวานกำเริบทันที กล่าวคือโดยสรุปแล้วความเครียดทำให้ร่างกายเราแปรปรวน"
"ตัวอย่างในโรคหลอดเลือดหัวใจเมื่อเราเครียด ระบบไขมันดี (HDL) ในเลือดต่ำ ไขมันร้าย (LDL) สูง เส้นเลือดจะหดตัวก็จะมีผลถึงเรื่องของไขมันในเลือดที่เปลี่ยนไป ทำให้โอกาสเกิดการอุดตันในเส้นเลือดเพิ่มมากขึ้น หรือพอเครียดแล้วน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นก็จะเป็นตัวกระตุ้นให้หลอดเลือดเสียเร็วขึ้นเหมือนกัน"
"ตัวอย่างอีกแบบหนึ่งก็คือเรื่องของการเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งหมายถึงการอักเสบ พออนุมูลอิสระเยอะ ก็เกิดการอักเสบถุงเนื้อเยื้อรวมทั้งเส้นเลือดด้วย เมื่อเส้นเลือดอักเสบก็เกิดผิวขรุขระ ทำให้ไขมันตัวร้ายไปก่อและอุดตัดขึ้นได้"
"เราเลยไม่รู้ถึงพิษภัยของมัน เพราะคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ ใครๆ ก็เครียดได้" นพ.บุญชัย เผยถึงสาเหตุที่ทำให้โรคหลอดเลือดหัวใจถูกขนานนามว่า "มัจจุราชเงียบ"
"แล้วมันก็จะเกิดสิ่งที่เขาเรียกกันว่าการสะสมความเสียหาย การสะสมความเสื่อม เพราะอันตรายของโรคนี้ก็คือ เมื่อรูเส้นเลือดตีบไม่ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ มันจะไม่แสดงอาการ เราก็เลยยังไม่สามารถรู้ว่าตัวเองเป็นโรคนี้อยู่ คือการจะแสดงอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจมันต้องเกิน 70 เปอร์เซ็นต์ จึงจะเริ่มมีอาการบ้าง
"ฉะนั้น รูที่มันเหลืออยู่เพียง 30 เปอร์เซ็นต์ จากเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ มันจึงมีโอกาสสูงมากที่จะเกิดการอุดตันจนน็อคเสียชีวิตโดยไม่รู้ตัว (หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน) ซึ่งเกิดจากการอาจจะมีไขมันจากส่วนอื่นของร่างกายหลุดมาติด หลุดมาอุดรูเส้นเลือด เพราะรูหลอดเลือดมันผิดขนาดไปเยอะ"
"โอกาสรอดก็มีน้อยมากในรายที่เกิดอาการอย่างนี้ เนื่องจากกว่าจะแก้ไขก็ต้องใช้เวลาในการช่วยเหลือ" นพ.บุญชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกล่าวยืนยัน
โดยอาการของผู้ที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันนั้น มักมีอาการแน่นหน้าอก เหมือนมีของหนักทับ อาจปวดร้าวไปที่แขนหรือลำคอด้านซ้าย เหงื่อแตก ใจสั่น โดยอาการจะกำเริบขณะออกแรง ซึ่งหากอาการหลอดเลือดตีบมากอาจมีอาการเกิดขึ้นขณะนั่งพักได้ ซึ่งหากได้รับการรักษาไม่ทันอาจเป็นลมวูบหมดสติและเสียชีวิตได้ ทั้งนี้หากมีอาการดังกล่าวข้างต้นควรรีบพบแพทย์โดยทันที
"คือเป็นการยากที่เราจะรู้สึกได้ว่าเราเป็นโรคนี้ ดังนั้น คำแนะนำในการป้องกันคือ อันดับแรกเราต้องสังเกต สองคือต้องตรวจร่างกายประจำปีทุกปี ดูส่วนของไขมันส่วนเกินที่จะส่งผลอันตราย แล้วถ้าพบว่ามีความเสี่ยงเราก็ควรจะตรวจลึกลงไปอีกเป็นลำดับๆ"
"เริ่มจากตรวจเช็คสภาวะไขมันในหลอดเลือดก่อน ถ้าค่าไขมัน LDL สูง กว่าค่าไขมัน HDL ก็ถือว่าไฮบริดคือมีความเสี่ยง แล้วก็อาจจะตรวจเช็คด้วยการวิ่งสายพาน เพื่อดูการทำงานของหัวใจมีภาวะขาดเลือดไหม หรือตรวจด้วยเครื่องมืออย่างการเอ็กโคหัวใจ อันนี้เป็นการตรวจแบบสกรีนพื้นฐาน"
"แต่ถ้าจะเจาะให้ลึกเลยก็ต้องใช้วิธีฉีดสี สีมันก็จะไหลไปในหลอดเลือดของหัวใจ ทำให้เราเห็นขนาดของหลอดเลือดได้ว่ามีขนาดปกติไหม มีตรงไหนมันคอด มันกิ่วไหม มันตันไหม จะได้แก้ไขฟื้นฟูได้ทันท่วงที"
จากสถิติโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นตัวการสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสียชีวิตทั้งในชายและหญิง สูงถึง 4 คน ต่อประชากร 10 คน ที่เป็นโรคหัวใจ เพราะด้วยสาเหตุของโรคที่มักไม่แสดงอาการ และการก่อเกิดโรคที่ส่งผลกระทบเชื่อมโยงกันทั้งระบบ แต่กระนั้น เราก็ยังมีวิธีการป้องกันลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจได้ด้วยตัวเราเองคือ
1.รู้จักตัวเอง คือตรวจสอบบุคคลในครอบครัวญาติพี่น้องว่ามีใครเป็นโรคนี้หรือไม่ (ซึ่งแม้จะไม่ใช่เรื่องที่เราควบคุมได้แต่ก็สามารถทำให้เรารู้เท่าทันและลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคนี้) จากนั้นสำรวจพฤติกรรมตัวเองหากสูบบุรี่ อ้วน น้ำหนักเกินสัดส่วน หรือมีความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลสูง ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจของคุณจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
และหากมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์มากกว่าผักผลไม้ กินไขมันจากของทอด ไขมันที่ผ่านความร้อนเยอะๆ หรือกินครีมเทียม รับประทานแป้งเยอะ น้ำตาลเยอะ แล้วไม่ออกกำลังกาย อันนี้ก็เข้าข่ายเช่นเดียวกัน
2.รู้จักผ่อนคลายความเครียด คือพยายามให้สุขภาพจิตดี เพราะความเครียดมีผลต่อความดันโลหิตและระดับฮอร์โมน ร่วมไปถึงระบบต่างๆ ของร่างกายที่อาจส่งผลต่อการกระตุ้นของโรคนี้และโรคอื่นๆ
3.รู้จักโรคที่ตัวเองเป็นอยู่ อาทิ โรคเบาหวาน ความดัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคหัวใจทั้งสิ้น
และแม้ว่าโอกาสการรอดชีวิตจากโรคนี้จะมีเปอร์เซ็นต์ต่ำที่จะสามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงทีหากอาการเกิดขึ้น กระนั้นก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเลย เพราะหากเราปฏิบัติตนตามข้อปฏิบัติที่ควรจะทำก็สามารถหายจากโรคหรือไม่เป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
"คือถ้าคนที่เข้าข่ายความเสี่ยงหลายๆ ข้อ ก็น่าจะตรวจให้ลึก คือเข้าตรวจเพื่อเช็คสภาพหัวใจ ไม่ว่าจะด้วยการวิ่งสายพาน ทำเอ็กโค ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างที่บอก หรือการตรวจหัวใจโดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 64 สไลด์ 100 สไลด์ ก็จะเห็นรูเส้นเลือดได้ว่าเป็นอย่างไร
"แต่สำหรับคนที่โรคก่อตัวในเส้นเลือดแล้วก็ต้องทำทั้ง 2ทาง คือทำในสิ่งที่ทำให้มันฟื้นตัวหมด ต้องไม่เครียด ต้องทำตรงกันข้ามกับที่จะทำให้เราเป็น โอกาสมันก็จะดีขึ้น และลดความเสี่ยงลด ร่างกายก็จะปรับปรุงสภาพ ทำให้หลอดเลือดที่มันเสียมันฟื้นตัว เป็นการซ่อมแซมตัวเอง และไขมันที่เกาะหลอดเลือดก็มีโอกาสจะละลายได้เหมือนกัน คือหลักๆ เลยอย่าเครียด" นพ.บุญชัย กล่าวทิ้งท้าย
"จริงๆ แล้วภาวะความเครียด เป็นตัวก่อกำเนิดโรคทุกระบบในร่างกาย คือมันเป็นเหมือนวัฏจักรความเสื่อม พอเสื่อมทุกระบบแล้วมันโยงกันหมด" นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ ผู้อำนวยการศูนย์ธรรมชาติบำบัด เวลเนสแคร์ ชี้แจงรายละเอียดของความเครียดอันนำมาซึ่งโรคต่างๆ ขั้นธรรมดาอย่างท้องเสียท้องผูก ระบบย่อยไม่ดี โรคภูมิแพ้ หรือกระทั่งโรคร้ายมะเร็ง โรคแพ้ภูมิตัวเอง และโรคหลอดเลือดหัวใจเจ้าของฉายา "มัจจุราชเงียบ"
"อย่างที่เรารู้ๆ กันว่า โรคจากความเครียดนั้นก็จะมี เช่น ถ้าเครียดปุ๊บจะมีอาการท้องผูก ท้องเสียในบางคน เกิดระบบขับถ่ายระบบการย่อยไม่ดี ความดันโลหิตสูง หรือเกิดระบบเคมีในเลือดผิดปกติเมื่อความเครียดเกิดขึ้นปุ๊บ โรคเบาหวานกำเริบทันที กล่าวคือโดยสรุปแล้วความเครียดทำให้ร่างกายเราแปรปรวน"
"ตัวอย่างในโรคหลอดเลือดหัวใจเมื่อเราเครียด ระบบไขมันดี (HDL) ในเลือดต่ำ ไขมันร้าย (LDL) สูง เส้นเลือดจะหดตัวก็จะมีผลถึงเรื่องของไขมันในเลือดที่เปลี่ยนไป ทำให้โอกาสเกิดการอุดตันในเส้นเลือดเพิ่มมากขึ้น หรือพอเครียดแล้วน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นก็จะเป็นตัวกระตุ้นให้หลอดเลือดเสียเร็วขึ้นเหมือนกัน"
"ตัวอย่างอีกแบบหนึ่งก็คือเรื่องของการเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งหมายถึงการอักเสบ พออนุมูลอิสระเยอะ ก็เกิดการอักเสบถุงเนื้อเยื้อรวมทั้งเส้นเลือดด้วย เมื่อเส้นเลือดอักเสบก็เกิดผิวขรุขระ ทำให้ไขมันตัวร้ายไปก่อและอุดตัดขึ้นได้"
"เราเลยไม่รู้ถึงพิษภัยของมัน เพราะคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ ใครๆ ก็เครียดได้" นพ.บุญชัย เผยถึงสาเหตุที่ทำให้โรคหลอดเลือดหัวใจถูกขนานนามว่า "มัจจุราชเงียบ"
"แล้วมันก็จะเกิดสิ่งที่เขาเรียกกันว่าการสะสมความเสียหาย การสะสมความเสื่อม เพราะอันตรายของโรคนี้ก็คือ เมื่อรูเส้นเลือดตีบไม่ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ มันจะไม่แสดงอาการ เราก็เลยยังไม่สามารถรู้ว่าตัวเองเป็นโรคนี้อยู่ คือการจะแสดงอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจมันต้องเกิน 70 เปอร์เซ็นต์ จึงจะเริ่มมีอาการบ้าง
"ฉะนั้น รูที่มันเหลืออยู่เพียง 30 เปอร์เซ็นต์ จากเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ มันจึงมีโอกาสสูงมากที่จะเกิดการอุดตันจนน็อคเสียชีวิตโดยไม่รู้ตัว (หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน) ซึ่งเกิดจากการอาจจะมีไขมันจากส่วนอื่นของร่างกายหลุดมาติด หลุดมาอุดรูเส้นเลือด เพราะรูหลอดเลือดมันผิดขนาดไปเยอะ"
"โอกาสรอดก็มีน้อยมากในรายที่เกิดอาการอย่างนี้ เนื่องจากกว่าจะแก้ไขก็ต้องใช้เวลาในการช่วยเหลือ" นพ.บุญชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกล่าวยืนยัน
โดยอาการของผู้ที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันนั้น มักมีอาการแน่นหน้าอก เหมือนมีของหนักทับ อาจปวดร้าวไปที่แขนหรือลำคอด้านซ้าย เหงื่อแตก ใจสั่น โดยอาการจะกำเริบขณะออกแรง ซึ่งหากอาการหลอดเลือดตีบมากอาจมีอาการเกิดขึ้นขณะนั่งพักได้ ซึ่งหากได้รับการรักษาไม่ทันอาจเป็นลมวูบหมดสติและเสียชีวิตได้ ทั้งนี้หากมีอาการดังกล่าวข้างต้นควรรีบพบแพทย์โดยทันที
"คือเป็นการยากที่เราจะรู้สึกได้ว่าเราเป็นโรคนี้ ดังนั้น คำแนะนำในการป้องกันคือ อันดับแรกเราต้องสังเกต สองคือต้องตรวจร่างกายประจำปีทุกปี ดูส่วนของไขมันส่วนเกินที่จะส่งผลอันตราย แล้วถ้าพบว่ามีความเสี่ยงเราก็ควรจะตรวจลึกลงไปอีกเป็นลำดับๆ"
"เริ่มจากตรวจเช็คสภาวะไขมันในหลอดเลือดก่อน ถ้าค่าไขมัน LDL สูง กว่าค่าไขมัน HDL ก็ถือว่าไฮบริดคือมีความเสี่ยง แล้วก็อาจจะตรวจเช็คด้วยการวิ่งสายพาน เพื่อดูการทำงานของหัวใจมีภาวะขาดเลือดไหม หรือตรวจด้วยเครื่องมืออย่างการเอ็กโคหัวใจ อันนี้เป็นการตรวจแบบสกรีนพื้นฐาน"
"แต่ถ้าจะเจาะให้ลึกเลยก็ต้องใช้วิธีฉีดสี สีมันก็จะไหลไปในหลอดเลือดของหัวใจ ทำให้เราเห็นขนาดของหลอดเลือดได้ว่ามีขนาดปกติไหม มีตรงไหนมันคอด มันกิ่วไหม มันตันไหม จะได้แก้ไขฟื้นฟูได้ทันท่วงที"
จากสถิติโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นตัวการสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสียชีวิตทั้งในชายและหญิง สูงถึง 4 คน ต่อประชากร 10 คน ที่เป็นโรคหัวใจ เพราะด้วยสาเหตุของโรคที่มักไม่แสดงอาการ และการก่อเกิดโรคที่ส่งผลกระทบเชื่อมโยงกันทั้งระบบ แต่กระนั้น เราก็ยังมีวิธีการป้องกันลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจได้ด้วยตัวเราเองคือ
1.รู้จักตัวเอง คือตรวจสอบบุคคลในครอบครัวญาติพี่น้องว่ามีใครเป็นโรคนี้หรือไม่ (ซึ่งแม้จะไม่ใช่เรื่องที่เราควบคุมได้แต่ก็สามารถทำให้เรารู้เท่าทันและลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคนี้) จากนั้นสำรวจพฤติกรรมตัวเองหากสูบบุรี่ อ้วน น้ำหนักเกินสัดส่วน หรือมีความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลสูง ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจของคุณจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
และหากมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์มากกว่าผักผลไม้ กินไขมันจากของทอด ไขมันที่ผ่านความร้อนเยอะๆ หรือกินครีมเทียม รับประทานแป้งเยอะ น้ำตาลเยอะ แล้วไม่ออกกำลังกาย อันนี้ก็เข้าข่ายเช่นเดียวกัน
2.รู้จักผ่อนคลายความเครียด คือพยายามให้สุขภาพจิตดี เพราะความเครียดมีผลต่อความดันโลหิตและระดับฮอร์โมน ร่วมไปถึงระบบต่างๆ ของร่างกายที่อาจส่งผลต่อการกระตุ้นของโรคนี้และโรคอื่นๆ
3.รู้จักโรคที่ตัวเองเป็นอยู่ อาทิ โรคเบาหวาน ความดัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคหัวใจทั้งสิ้น
และแม้ว่าโอกาสการรอดชีวิตจากโรคนี้จะมีเปอร์เซ็นต์ต่ำที่จะสามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงทีหากอาการเกิดขึ้น กระนั้นก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเลย เพราะหากเราปฏิบัติตนตามข้อปฏิบัติที่ควรจะทำก็สามารถหายจากโรคหรือไม่เป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
"คือถ้าคนที่เข้าข่ายความเสี่ยงหลายๆ ข้อ ก็น่าจะตรวจให้ลึก คือเข้าตรวจเพื่อเช็คสภาพหัวใจ ไม่ว่าจะด้วยการวิ่งสายพาน ทำเอ็กโค ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างที่บอก หรือการตรวจหัวใจโดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 64 สไลด์ 100 สไลด์ ก็จะเห็นรูเส้นเลือดได้ว่าเป็นอย่างไร
"แต่สำหรับคนที่โรคก่อตัวในเส้นเลือดแล้วก็ต้องทำทั้ง 2ทาง คือทำในสิ่งที่ทำให้มันฟื้นตัวหมด ต้องไม่เครียด ต้องทำตรงกันข้ามกับที่จะทำให้เราเป็น โอกาสมันก็จะดีขึ้น และลดความเสี่ยงลด ร่างกายก็จะปรับปรุงสภาพ ทำให้หลอดเลือดที่มันเสียมันฟื้นตัว เป็นการซ่อมแซมตัวเอง และไขมันที่เกาะหลอดเลือดก็มีโอกาสจะละลายได้เหมือนกัน คือหลักๆ เลยอย่าเครียด" นพ.บุญชัย กล่าวทิ้งท้าย