จากกรณีมีการโฆษณาชวนเชื่อบนสื่อออนไลน์โดยระบุว่าสมุนไพรพ่นจมูกและลำคอป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 โดยจุฬาเภสัช ทางคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า จุฬาเภสัช หรือ บริษัท จุฬา เอ็ม. ดี. จำกัด ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และสารสกัดลำไยไม่ได้ป้องกันเชื้อโควิด-19 แต่อย่างใด
วันนี้ (11 เม.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย Anti-Fake News Center Thailand เปิดเผยข้อมูลระบุว่า ตามที่มีข้อความแนะนำปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องสเปรย์ลำไยพ่นคอพ่นจมูกป้องกันการติดเชื้อ โดยจุฬาเภสัช ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีมีการโฆษณาชวนเชื่อบนสื่อออนไลน์โดยระบุว่าสมุนไพรพ่นจมูกและลำคอป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 เป็นการนำลำไยสกัดเข้มข้นมาพัฒนาเป็นสูตรตำรับสมุนไพรพ่นลำคอและจมูก สามารถลดการติดเชื้อที่โพรงจมูกและลำคอได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงมีการวิจัยจากภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ ทางคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่าจุฬาเภสัช หรือ บริษัท จุฬา เอ็ม. ดี. จำกัด ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ร้านขายยาของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเพียงร้านเดียวคือโอสถศาลาเท่านั้นและสารสกัดลำไยไม่ได้ป้องกันเชื้อโควิด 19 แต่อย่างใด
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางด้านสุขภาพ หรือหากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้เว็บไซต์ https://www.facebook.com/Pharmacy.CU/ และโทร 02 218 8257
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : จุฬาเภสัชไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ แต่เป็นการแอบอ้างใช้ชื่อและอ้างผลงานวิจัยของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และไม่มีผลการวิจัยว่าสารสกัดลำไยไม่ได้ช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด 19
หน่วยงานที่ตรวจสอบ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย