จากกรณีที่มีการชวนเชื่อผลิตภัณฑ์ Oclarizin เพื่อแก้ปัญหาสายตา ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวและชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ข้อมูลการโฆษณาผลิตภัณฑ์ล้วนเป็นข้อมูลเท็จ ไม่มีผลิตภัณฑ์เสริมชนิดใดรักษาสายตาได้ ทั้งมีการนำรูปบุคคลจากอินเทอร์เน็ตมาแอบอ้าง ซึ่งไม่มีบุคคลดังกล่าวไม่ได้มีส่วนรู้เห็นด้วย
วันนี้ (11 เม.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย Anti-Fake News Center Thailand เปิดเผยข้อมูลระบุว่าตามที่มีการโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับในประเด็นเรื่องคณบดีศิริราชและผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก ขายผลิตภัณฑ์ Oclarizin เพื่อแก้ปัญหาสายตา ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่มีการชวนเชื่อผลิตภัณฑ์ Oclarizin เพื่อแก้ปัญหาสายตา ค้นพบวิธีฟื้นฟูสายตากลับมาเป็นปกติ วิธีการใหม่ที่จะแก้ปัญหาสายตาสำหรับผู้สูงวัยโดยไม่ต้องผ่าตัด จากคณบดีศิริราช และ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวและชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ข้อมูลการโฆษณาผลิตภัณฑ์ล้วนเป็นข้อมูลเท็จ ไม่มีผลิตภัณฑ์ชนิดใดรักษาสายตา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก ไม่มีส่วนรู้เห็นกับการขายผลิตภัณฑ์เป็นตามที่มีการกล่าวอ้าง ซึ่งได้มีการแอบอ้างใช้รูปภาพของ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา และ ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ไปตัดต่อเพื่อหลอกลวงประชาชน ขอโปรดอย่าหลงเชื่อ อย่างไรก็ตาม จะดำเนินการทางกฎหมายต่อไป
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.si.mahidol.ac.th/th/ หรือโทร. 02 419 7000
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ข้อมูลการโฆษณาผลิตภัณฑ์ล้วนเป็นข้อมูลเท็จ ไม่มีผลิตภัณฑ์เสริมชนิดใดรักษาสายตาได้ ทั้งมีการนำรูปบุคคลจากอินเทอร์เน็ตมาแอบอ้าง ซึ่งไม่มีบุคคลดังกล่าวไม่ได้มีส่วนรู้เห็นด้วย
หน่วยงานที่ตรวจสอบ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล