“ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์” กรรมการบริหาร บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด ครูวิทยาศาสตร์ผู้ก่อตั้งคอมมูนิตี้เพจยอดนิยม https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th/ เพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์ตามหลักวิทยาศาสตร์สำหรับผู้มีบุตรยาก เปิดตัว “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เอ.โอ.เอส บายครูก้อย (Dietary Supplement Product A.O.S By Krukoy)” โดยได้รับเกียรติจาก คุณลิซ่า อาลิซาเบธ แซ๊ดเลอร์ ลีนานุไชย ร่วมพูดคุยถึงปัญหาของผู้มีบุตรยากอันเนื่องมาจากสาเหตุของอายุที่มากขึ้น มีสารต้านอนุมูลอิสระลดลง ทำให้แก่เร็ว และภาวะเจริญพันธุ์ถดถอย พร้อมให้ความรู้จากงานวิจัยเกี่ยวกับสารสกัดจากธรรมชาติที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระตัวร้ายที่ส่งผลต่อความเสื่อมของวัยและคุณภาพไข่ของฝ่ายหญิง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของผู้มีบุตรยาก
โดย “ครูก้อย นัชชา” ได้ไลฟ์ให้ความรู้เกี่ยวกับผู้มีบุตรยาก และเผยงานวิจัยเกี่ยวกับสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ที่ช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ พร้อมสัมภาษณ์ผู้มีบุตรยากที่ประสบความสำเร็จหลังจากปรับโภชนาการและพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เหมาะสมเพื่อเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ทั้งวิธีธรรมชาติ และเตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการแพทย์เพื่อให้การตั้งครรภ์นั้นสมบูรณ์แข็งแรงและมีคุณภาพมากที่สุด โดยมีผู้รับชมไลฟ์สดกว่า 5,000ราย
“ครูก้อย นัชชา” กล่าวว่า ในทางการแพทย์ผู้หญิงที่มีช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไป เป็นช่วงขาลงของวัยเจริญพันธุ์ เนื่องจากอายุที่มากขึ้นส่งผลให้จำนวนเซลล์ไข่ที่ลดลง คุณภาพของเซลล์ไข่ด้อยคุณภาพลง มีลักษณะเซลล์ไข่ที่ไม่มีคุณภาพและมีอนุมูลอิสระที่มากขึ้นส่งผลให้พลังงานในเซลล์ไข่ลดลง เมื่อไมโทคอนเดรีย (Mitochondrion) แหล่งสร้างพลังงานของเซลล์ไข่มีพลังงานไม่เพียงพอจะส่งผลต่อกระบวนการแบ่งตัวของตัวอ่อน โดยเฉพาะผู้ที่ทำอิ๊กซี่ หรือ เด็กหลอดแก้ว ไข่ที่มีอนุมูลอิสระสูง หรือ ขยะเซลล์มาก เมื่อทำการปฏิสนธินอกจากร่างกายจะไม่สามารถแบ่งเซลล์ไปถึงระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) ได้
ครูก้อย นัชชา กล่าวด้วยว่า อายุที่มากขึ้นอัตราความผิดปกติทางโครโมโซมของเซลล์ไข่สูงขึ้น โดยผู้ที่มีอายุ 35 ปี โครโมโซมผิดปกติ 50% อายุ 40 ปี โครโมโซมผิดปกติ 85-90% และมีโอกาสที่บุตรเสี่ยงเป็นดาวน์ซินโดรม และอายุที่มากขึ้นยังส่งผลต่อฮอร์โมนเพศที่ลดลง รังไข่เสื่อม ปัญหาเหล่านี้ ส่วนใหญ่แล้วมาจากอนุมูลอิสระ (free radicals) หรือ Reactive oxygen species (ROS) เป็นกระบวนการเกิดอนุมูลอิสระที่สร้างความเสียหายแก่เซลล์ ซึ่ง อนุมูลอิสระเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในกระบวนการเผาผลาญระดับเซลล์และอนุมูลอิสระที่มาจากปัจจัยภายนอกที่ได้รับมา เช่น มลภาวะ ความเครียด อาหาร นอนดึก เป็นต้น
ครูก้อย นัชชา ได้สรุปงานวิจัยเรื่อง Antioxidants Reduce Oxidative Stress in Follicular Fluid of Aged Women Undergoing IVF ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Reproductive Biology and Endocrinology ปี 2016 ที่ศึกษาเกี่ยวกับ "สารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดสภาวะความไม่สมดุลในการเกิดอนุมูลอิสระในของเหลวในถุงหุ้มไข่ ในผู้หญิงอายุมากที่เข้ากระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว" โดยได้ทำการเก็บตัวอย่าง Follicular Fluid (FF) จากสตรีมีบุตรยากที่อายุมากกว่า 39 ปี ที่เข้ากระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว โดยแต่ละคนจะถูกประเมินค่า Follicular Fluid ในช่วงกระตุ้นไข่ (ก่อนเก็บไข่) 2 รอบ โดยรอบแรกไม่ได้รับวิตามิน เพื่อเปรียบเทียบกับรอบที่สองที่ได้รับวิตามินล่วงหน้า 3 เดือน ผลปรากฏว่า รอบที่ได้รับวิตามินและแร่ธาตุ (Micronutrients) ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน ปริมาณอนุมูลอิสระใน Follicular Fluid ลดลงอย่างมาก ดังนั้น การได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระที่เพียงพอก่อนการเก็บไข่ จะช่วยสร้างสภาวะของของเหลวในถุงหุ้มไข่ให้ปกติ ส่งผลต่อความสมบูรณ์ของการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ เมื่อเก็บไข่จะได้ไข่ใบที่สุกพร้อมปฏิสนธิ
สารต้านอนุมูลอิสระมักจะพบในผักผลไม้ตระกูลเบอรี่ ส้ม มะนาว มะกรูด ผักใบเขียว ผักหลากสี และธัญพืชต่างๆ แต่ในชีวิตประจำวันกับวิถีชีวิตที่เร่งรีบ เราไม่ได้วัดชั่งตวงปริมาณอาหาร ที่เรารับประทาน และเราไม่สามารถรู้ได้ว่าเราได้รับสารอาหาร วิตามินแร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระเพียงพอหรือไม่
บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้คิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร A.O.S By Krukoy เพื่อมาตอบโจทย์ดังกล่าว โดยชื่อแบรนด์ A.O.S มาจาก Anti Oxidant Solutions ใน 1 แคปซูลประกอบด้วย สารต้านอนุมูลอิสระ 10 ชนิด โดยมีสารสกัดสำคัญได้แก่ แอสตาแซนทีน จากสาหร่ายฮีมาโตคอกคัส พลูวิเอลิส (Haematococcus pluvialis) ที่ให้แอสตาแซนธินและถูกขนานนามว่าเป็นราชินีแห่งสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีการรับรองจากสิทธิบัตร AstaZine® นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น
โดยมีงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเสริมแอสตาแซนธินในผู้ที่มีภาวะ PCOS หรือ ถุงน้ำในรังไข่ที่พบมากในผู้มีบุตรยาก พบว่าคุณภาพของเซลล์ไข่ดีขึ้น อ้างอิงงานวิจัยเรื่อง Astaxanthin Treatment Ameliorates ER Stress in Polycystic Ovary Syndrome Patients: A Randomized Clinical Trial ตีพิมพ์ในวารสาร Scientific reports ปี 2023 ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ ค่าความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระโดยรวม การปรับปรุงคุณภาพเซลล์ไข่ รวมไปถึงตัวอ่อน จากการเสริม แอสต้าแซนธิน (Astaxanthin) ในผู้ที่มีภาวะ PCOS ในปริมาณ 12 มก./วัน เป็นเวลา 60 วัน พบว่า ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระโดยรวมเพิ่มขึ้น คุณภาพของเซลล์ไข่ และตัวอ่อนดีขึ้นจากการเสริมแอสตาแซนธิน
นอกจากนี้ยังมี สารสกัดจากเมล่อน นิโคตินาไมด์ สารสกัดจากเปลือกองุ่น สารสกัดจากอาซาอิ สารสกัดจากมังคุด แอล-ซิสเทอีน สารสกัดจากเรดเคอแรนต์ สารสกัดจากแบล็กเคอแรนต์ สารสกัดจากเมล็ดองุ่น โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับสารสกัดต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระในร่างกายได้ที่ เว็บไซต์ https://www.BabyAndMom.co.th