เป็นประเด็นร้อนในช่วงวันสองวันมานี้จากกรณีที่เจ้าหน้าที่คณะวิจิตรศิลป์ได้เข้าไปเตรียมพื้นที่บริเวณหอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อเตรียมการจัดแสดงงานนิทรรศการศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาสาขาวิชาต่างๆ ทั้งของคณะและสถาบันการศึกษาอื่น ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม
ก่อนจะพบว่าในพื้นที่ดังกล่าวมีวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยบางชิ้นก็มีความสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นเรื่องผิดกฏหมายอยู่ ซึ่งเมื่อสอบถามไปก็ไม่มีใครแสดงความเป็นเจ้าของ ด้วยเหตุดังกล่าวทางเจ้าหน้าที่จึงได้นำอุปกรณ์ดังกล่าวบางส่วนออกไป
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกลับถูกปั่นให้เป็นกระแสว่าอาจารย์เข้าไปทำลายงานศิลปะของนักศึกษาเพียงเพราะต้องการรับใช้นักการเมือง จนเรื่องนี้กลายเป็นที่วิพากษ์ในวงกว้าง
โดยหนึ่งในคนที่จุดกระแสขึ้นมาก็คือ "ผศ.ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี" อาจารย์ประจำสาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ ที่ประดิษฐ์วาทกรรมเท่ๆ เกี่ยวกับคำว่าศิลปะออกมา จนหลายคนเอาไปแชร์ด้วยความรู้สึกโก้เก๋ทั้งที่รู้และไม่รู้ข้อเท็จจริง...
แต่ในขณะเดียวกัน ในเฟซบุ๊กของเจ้าตัวก็พบว่าได้มีการโพสต์ข้อความสุดหยาบด่าไปยัง "รศ.อัศวิณีย์ หวานจริง (นิรันต์)" คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ แถมยังพาดพิงไปยัง "อาจารย์พิชัย นิรันต์" ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเป็นบิดาของ รศ.อัศวิณีย์ ด้วย โดยระบุว่า...
"...ลูกสาวศิลปินแห่งชาติ หมาสลิ่มเฝ้าหอศิลป์ รวมทั้งไอ้กระจอกตั้งแต่เป็นเด็กศิลปะจนโตเป็นควายศิลปิน พาตำรวจเข้าไปเก็บงานศิลปะของนักศึกษา ไอ้พวกเหี้ยนี่สร้างภาพศิลปะจรรโลงจิตใจ แต่ต่ำทรามแบบหาชื่อเรียกยังไม่ได้..."
สำหรับอาจารย์พิชัย นิรันต์ ที่ถูกพาดพิงนั้น เจ้าตัวเกิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาที่ รร.สรรพาวุธวิทยา กรรมสรรพาวุธทหารเรือ บางนา, ระดับมัธยมศึกษาที่ รร.ไพศาลศิลป ยศเส รร.ศิลปศึกษา (ปัจจุบันคือวิทยาลัยช่างศิลป) กรมศิลปากร, จบอนุปริญญาศิลปบัณฑิต (จิตรกรรมและประติมากรรม) ม.ศิลปากร
จากนั้นเข้ารับราชการเป็นครูที่วิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร ก่อนย้ายมาทำงานที่กองหัตถศิลปจนได้ตำแหน่งสูงสุดในสายงานราชการ คือ นายช่างศิลปกรรม 8 ก่อนมาเป็นศิลปินอิสระ
ที่ผ่านมาอาจารย์พิชัยได้ชื่อว่าเป็นศิลปินที่มีลูกศิษย์หลายคนให้ความเคารพ และสร้างผลงานที่ทรงคุณค่าเอาไว้หลายชิ้น นอกจากนี้เจ้าตัวยังมีโอกาสทำงานศิลปกรรมเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่หลายต่อหลายครั้งด้วยเช่นกัน
อาทิ ได้รับเชิญเข้าร่วมแสดงงาน “ศิลปะภาพเหมือน” จากกรมศิลปากร เพื่อเทิดพระเกียรติเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า, เป็นผู้ออกแบบหุ่นจำลอง ช้างเผือก ลิงเผือก และกาเผือก ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติช้างต้น เพื่อร่วมฉลองวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระชนมายุครบ 60 พรรษา, ได้รับเชิญเป็นศิลปิน 1 ใน 8 ที่ร่วมเขียนภาพประกอบหนังสือ “พระมหาชนก” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ, เขียนภาพจิตรกรรมพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อติดตั้งที่พิพิธภัณฑสถาน ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ฯลฯ
ไม่เพียงเท่านั้นเจ้าตัวยังได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ หลายต่อหลายรางวัล ทั้ง รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง (ประเภทจิตรกรรม) จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 14, ได้รับพระราชทานเหรียญพระมหาชนกทองคำ พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ,ได้รับเกียรติเชิดชูเป็นนักศึกษาเก่าดีเด่น จากมหาวิทยาลัยศิลปากร รวมไปถึงการได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (วิจิตรศิลป์) จิตรกรรม ในปี พ.ศ.2546
ทั้งนี้ในขณะที่ผลงานศิลปะของอาจารย์พิชัยจะเน้นไปในเรื่องของพุทธศาสนาและแนวความคิดถึงความเป็นสัจธรรม เป็นที่น่าสังเกตว่างานของ ผศ.ดร.ทัศนัย ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่รับใช้อารมณ์ในมุมมองเกี่ยวกับการเมืองที่ตนเองเลือกที่จะตัดสินไปแล้วเสียมากกว่า
เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดที่อาจารย์ที่มีความคิดแนวไปทางเดียวกับม็อบสามนิ้วไม่เอาสถาบันพระมหากษัตริย์คนนี้จะออกมาพาลด่าพาดพิงไปถึงอาจารย์พิชัยผู้ซึ่งไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยกับกระแสที่หลายคนกำลังถกเถียงวิจารณ์ถึงเรื่องงานที่ควรถูกเรียกว่าเป็น "ศิลปะ" หรือ "ขยะ" อยูในตอนนี้
(ภาพและข้อมูลบางส่วนจาก : อาจารย์พิชัย นิรันต์ : ช่างเขียนของพระพุทธศาสนา)