xs
xsm
sm
md
lg

ม.ขอนแก่นจับมือ ‘เดอะ เฮอร์เบิลแคร์’ วิจัยสายพันธุ์กัญชาเหมาะสมกับไทย จัดตั้งโรงเพาะปลูกในตู้คอนเทนเนอร์

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท เดอะ เฮอร์เบิลแคร์ (ไทยแลนด์) จำกัด เพื่อทำการวิจัย และจัดตั้งโรงเรือนเพาะปลูกกัญชา-กัญชง แบบระบบปิด (ในตู้คอนเทนเนอร์)

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัยและการใช้ประโยชน์กัญชา กัญชงในทางการแพทย์ ถือว่า เป็นผู้ดำเนินการวิจัยต้นน้ำ เพื่อส่งมอบผลผลิตให้กับนักวิจัยที่เกี่ยวข้องในส่วนอื่นทำการวิจัยในส่วนกลางน้ำและปลายน้ำต่อไป รวมทั้งต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ด้านอื่น ๆ ในอนาคต จึงได้ทำความตกลง (MOU) กับ บริษัท เดอะ เฮอร์เบิลแคร์ (ไทยแลนด์) จำกัด เพื่อทำการวิจัย กัญชา กัญชง จัดตั้งโรงเรือนเพาะปลูกในระบบปิด (ในตู้คอนเทนเนอร์)

ทั้งนี้ บริษัท เดอะ เฮอร์เบิลแคร์ (ไทยแลนด์) จำกัด กำลังดำเนินการขออนุมัตินำเข้าเมล็ดพันธุ์ สายพันธุ์กัญชาทางการแพทย์ จากประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเพาะปลูกในระบบปิด (ในตู้คอนเทนเนอร์ ) และวิจัย คิดค้นพัฒนาสายพันธุ์ ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกในประเทศไทย จากระบบการปลูกที่แตกต่างกันและ แบบไหนที่ให้สารออกฤทธิ์ได้ดีกว่า ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความหลากหลายทางการรักษาด้วยกัญชามากขึ้น และจะนำนำมาสกัดเป็นสารไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ และพัฒนาต่อยอดระบบ smart farm เพื่อการเกษตรยุคใหม่ ให้เกษตรกรไทย สามารถนำไปปลูกในฟาร์ม ของเกษตรกรเองได้


สำหรับโรงเรือนเพาะปลูกนั้น ได้ออกแบบเป็นระบบตู้คอนเทนเนอร์ ขนาด 40 ฟุต แบ่งเป็นสามเฟส เพื่อเป็นอาคารปลูกกัญชาทางการแพทย์ ติดตั้งระบบคอนโทรล ระบบน้ำหล่อเลี้ยงไฮโดรโปนิกส์ ระบบปลูกบนดินแบบออร์แกนิกส์ ระบบปลูกแบบไม่ใช้ดินแต่เป็นวัสดุอื่น ระบบกันความร้อน (Iso wall) ระบบปรับอากาศ (air condition) ระบบแสง LED spectrum สำหรับกัญชาทางการแพทย์ โดยเฉพาะ โดยใช้ระบบ smart farm ในการควบคุมการปลูกในตู้คอนเทนเนอร์

นางณัฏฐญา ชินวัตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะ เฮอร์เบิลแคร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ บริษัท มีความตั้งใจที่จะทำการวิจัยกัญชาทางการแพทย์ เพื่อให้โรงพยาบาลที่มีผู้ป่วย ต้องการใช้ยาจากสารสกัดกัญชาและผู้ป่วยที่เจ็บป่วยจากการรักษาโรคต่าง ๆ เนื่องจากการรักษาโดยกัญชานั้นได้ผลค่อนข้างดี ขณะเดียวกันทางบริษัทจะทำการวิจัย สายพันธุ์กัญชงไปด้วย เพราะกัญชงอยู่คู่กับวัฒนธรรมไทยมานานในการใช้ประโยชน์จากเส้นใย และกัญชงมีสาร CBD ซึ่งใช้ประโยชน์ได้ ทั้งด้านอาหาร ด้านอุตสาหกรรมเส้นในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง ด้านสุขภาพ ด้านอาหาร

สัตว์ อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และที่สำคัญด้านการรักษาโรคด้วย และกัญชงเป็นพืชที่มีสาร THC ต่ำ และจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงมากสำหรับ ประเทศไทยในอนาคตเช่นเดียวกับกัญชา”






กำลังโหลดความคิดเห็น