xs
xsm
sm
md
lg

กองทุนพัฒนาสื่อฯ เสวนาเพื่อจัดทำคู่มือ “นวัตกรรม” หาแนวทางพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดงานเสวนาหัวข้อ “นวัตกรรม” เพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อจัดทำคู่มือเกี่ยวกับนวัตกรรม แนวทางเพื่อการพัฒนาทำสื่อต่อไป โดยมี คุณปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน พร้อมด้วย คุณวสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อ เข้าร่วม พร้อมด้วยเหล่าวิทยาการ คุณหนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์, คุณปฐม อินทโรดม, คุณสุวิตา จรัญวงศ์, ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต, คุณสุรเชษฐ์ อัศวเรืองอนันต์, ดร.อริสรา กำธรเจริญ (เมื่อวันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงภาพยนตร์ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต ชั้น 4 ศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์)\

คุณปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย คุณวสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เผยว่า ด้วยองค์ประกอบของระบบนิเวศสื่อในปัจจุบันมีความหลากหลายของเนื้อหาที่มาจากกลุ่มผู้ใช้สื่อทุกประเภท มีการใช้ช่องทางในการเผยแพร่ สื่อสารเนื้อหาหลาย ๆ แบบให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับตามพฤติกรรมการบริโภคเฉพาะบุคคล ภายใต้เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การสร้างองค์ความรู้ที่ร่วมสมัยภายใต้สภาพสังคมในยุคดิจิทัลที่ซับซ้อน จึงมีความสำคัญต่อทิศทางการพัฒนาและการสร้างสรรค์เนื้อหาสื่อในปัจจุบัน และเพื่อก้าวให้เท่าทันสื่อที่จะเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคต กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จึงได้ใช้โอกาสนี้ในการสร้างพื้นที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนิยาม ค้นหา และพัฒนาองค์ความรู้ โดยร่วมให้ความเห็นและร่วมแลกเปลี่ยนถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ เพื่อจัดทำคู่มือเกี่ยวกับ “นวัตกรรม” เพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

สรุปประเด็นสำคัญจากงานเสวนาเพื่อจัดทำคู่มือ “นวัตกรรม” เพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม


Digital Transformation โดย หนุ่ย-พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์
คุณหนุ่ยเริ่มต้นพูดถึงจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสื่อให้ทันสมัยและตอบโจทย์ของผู้ชมออนไลน์ โดยเน้นการเล่าเรื่องแบบ “Digital Story Telling” ซึ่งเป็นการหาวิธีการเล่าใหม่ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้สถานที่ที่มาฉากรายการ หรือกระบวนการรุงรังเฉกเช่นการผลิตรายการโทรทัศน์ในปัจจุบัน เพื่อทำให้คนดูได้รับอรรถรสในการรับชมเสมือนว่ากำลังอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริง ๆ และเน้นการทำสื่อให้ปลอดภัยโดยการงดการใช้คำหยาบคาย และเปลี่ยนไปใช้พาดหัวที่น่าสนใจแต่ไม่บิดเบือนความจริง รวมไปถึงการตั้งเงื่อนไขการโฆษณาที่เป็นมิตรกับผู้ชม กล่าวคือเป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงทั้งสองด้านนั่นเอง


Internet of Things (IOT) โดย คุณปฐม อินทโรดม
หลังจากนั้น คุณปฐมก็ได้ขึ้นมาพูดต่อเนื่องจากประเด็นก่อน โดยพูดถึงการมีอยู่ของ IoT ว่าในปัจจุบันเรามีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตมากกว่า 200 ล้านชิ้นทั่วโลก โดยคนเราเฉลี่ยมีอุปกรณ์คนละ 5 ชิ้น และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นไปเป็น 250 ล้านชิ้นทั่วโลกในอนาคตอันใกล้นี้ นอกจากนี้ในปัจจุบัน IoT จะทำให้เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ในระบบของการพัฒนา 5G IoT เนื่องมาจากนิยามของ IoT นั่นก็คืออุปกรณ์อัจฉริยะที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น จนกระทั่งพัฒนาเป็นระบบ Big Data ที่คอยจัดเก็บข้อมูลและส่งผลให้เกิด AI เพื่อที่จะมาช่วยเลือกใช้และวิเคราะห์ข้อมูลต่อนั่นเอง

นอกจากนั้น คุณปฐมยังกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ฉะนั้นการปรับตัวจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในยุคที่เกิด Digital Disruptive ในสังคมไทย โดยจำเป็นต้องประยุกต์คณะที่เรียนกับสิ่งที่ IoT มีอยู่ให้ผสมผสานและลบจุดด้อยลงได้ด้วยนั่นเอง


Media Innovation โดย คุณสุวิตา จรัญวงศ์
คุณสุวิตาได้ขึ้นมาพูดถึงเรื่องราวของแพลตฟอร์มในการพัฒนาสู่สื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยกล่าวว่าสื่อมีพลังที่มหาศาลและส่งผลต่อการชี้นำสังคมได้อยู่เสมอ โดยขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าอยากจะพัฒนาให้สื่อดีขึ้นหรือไม่? และในปัจจุบันสื่อก็ยังถูก Disruption ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นก็คือจำนวน Fake News ที่มากขึ้น จนอาจจะลุกลามเป็นปัญหาสังคมได้

นอกจากนั้นยังพูดถึงแพลตฟอร์มค้นหาอินฟูลเอนเซอร์ว่าในปัจจุบันสามารถพัฒนาเป็นสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้ โดยการร่วมมือทำโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับสังคม โดยในปัจจุบันร้อยละ 30 จากรายได้มาจากโครงการเพื่อสังคม และยังส่งผลให้เกิดการพูดคุยกันสูงกว่าโครงการที่เป็นเชิงพาณิชย์มากถึงร้อยละ 57 เลยทีเดียว นอกจากนั้นยังมีโครงการ G-Power สำหรับนักศึกษา นิสิตในคณะนิเทศศาสตร์ โดยในปีที่ผ่านมามีการดำเนินการ Workshop และค้นพบว่านักศึกษา นิสิตสนใจเรื่องราวของข่าวปลอมเป็นอันดับ 1 และรองลงมาคือเรื่องของการทุจริตเป็นอันดับที่ 2

แนวทางการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต – ประธานอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
อาจารย์วรัชญ์ได้ให้แนวทางในการนิยามคำว่า “นวัตกรรมสื่อ” ไว้ว่าเป็นสื่อที่เกิดจากการสร้างสรรคืขึ้นมาใหม่ หรือเกิดจากการต่อยอด ซึ่งต้องมีคุณค่า สร้างสังคมคุณภาพและเข้าถึงประชาชนได้ นอกจากนั้นยังกำหนดแนวทางในการสร้างกลุ่มนวัตกรรมสื่อว่าจำเป็นที่จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถส่งเสริมและขับเคลื่อนให้สามารถผลิตสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้ รวมไปถึงเข้าถึงประชาชนได้อย่างตรงเป้าหมาย

คณะอนุกรรมการฯ มีหน้าที่ในการส่งเสริมให้เกิดการผลิตนวัตกรรมสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมไปถึงให้กำลังใจด้วยการมอบรางวัลและสร้างกระบวนการความเข้าใจที่เกี่ยวเนื่องกับนวัตกรรมสื่อ ซึ่งในปีนี้มางานประกาศรางวัลที่มีรางวัลนวัตกรรมสื่อโดยคณะอุนกรรมการฯ ทั้งหมด 2 เวที ได้แก่โทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 34 และรางวัล National Innovation Award โดยได้ร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติในการร่วมให้รางวัลนี้

คุณสุรเชษฐ์ อัศวเรืองอนันต์ - รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายสื่อโฆษณา บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน)
คุณสุรเชษฐ์ได้พูดถึงสื่อในปัจจุบันว่า ทุกสื่อนอกจากที่จะต้องเน้นเทคโนโลยีแล้ว ที่สำคัญก็คือต้องติดตามผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคจะตอบโจทย์ว่าต้องการหรือเข้าได้กับเทคโนโลยีนั้น ๆ ได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งได้ยกตัวอย่างถึงอดีตที่มีหนังสือพิมพ์วางแผงทั่วไป ผู้บริโภคก็สามารถซื้อเพื่อมาอ่านได้ แต่หลังจากการมีรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ซึ่งใช้กลยุทธ์การเล่าข่าวจากหนังสือพิมพ์ ก็ส่งผลให้การรับสื่อเปลี่ยนแปลงไปเลย

เฉกเช่นเดียวกับโรงภาพยนตร์ที่ในอดีตจะเป็นลักษณะเพียงจอเดียว โรงภาพยนตร์ก็ขาดการดูแลรักษา แต่ปัจจุบันได้ปรับปรุงให้กลายเป็น Multiplex มีหลายจอและมีภาพยนตร์ที่หลากหลาย ซึ่งเชื่อมโยงกับสื่อในปัจจุบันด้วยว่านอกจากเนื้อหาที่น่าสนใจแล้ว ยังจำเป็นต้องทำให้เกิดแรงดึงดูดในการรับชมอีกด้วย
















กำลังโหลดความคิดเห็น