ปรับตัวจากการติดลบกลับมาเป็นบวกได้โดยเน้น 3 ธุรกิจหลักคือ คอนเทนต์, ออนไลน์และ การสื่อสารแบบบูรณาการ 360 ซึ่งล่าสุด 4 ผู้บริหารหลักที่นำทีมโดย คุณสุทธิพงษ์ธรรมวุฒิ ประธานบริษัท, คุณเลิศลักษณ์ ธรรมวุฒิรองประธานบริษัท, คุณชนวัฒน์ วาจานนท์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ คุณกฤษณพล พงศ์ธนาวรานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่การตลาด ได้ออกมาเผยผลประกอบการปี 2562ณ ห้อง State Room ชั้น 26 GaysornTower
คุณก้อง ชนวัฒน์ เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมาบริษัทสามารถทำยอดโตขึ้น 32% จากการที่ขยับปรับเปลี่ยนคอนเทนท์ต่างๆ และมุ่งเข้าสู่โลกออนไลน์มากขึ้นซึ่งในปี 2563 นี้ บริษัทปรับฐานจากธุรกิจมีเดีย สู่การเป็น contentprovider รับผลิตคอนเทนต์เล่าเรื่องให้กับหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมกับทำคอนเทนต์ไทยสู่ตลาดโลกซึ่งตอนนี้มีรายการแล้วที่ทำและไปออกอากาศในประเทศต่างๆ ทั้งประเทศบรูไน, อังกฤษ, อเมริกา, ยุโรป และนิวซีแลนด์
ในส่วนของรายการ คนค้นฅนที่ปัจจุบันนอกจากจะออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวีแล้วยังเพิ่มคอนเทนต์ทางออนไลน์มากขึ้น ล่าสุดมียอดเข้าชมแล้วกว่า 20 ล้านวิว ซึ่งปีนี้ยังคงเน้นกลยุทธ์ onlineonair และเน้นกิจกรรม onground เพิ่่มขึ้นเพื่อตอบสนองฐานแฟนคลับยุคดิจิตอล ส่วนรายการ กบนอกกะลา ก็แปลงเปลี่ยนเป็น KOBKnowledge Out of Box รายการคนมันส์พันธุ์อาสา, รายการคนบันดาลไฟ เวลา 13.00 น. และรายการใหม่ภารกิจพิชิตตะวัน ที่ออกอากาศทางช่องไทยรัฐทีวี ทุกวันอาทิตย์ เวลา 13.30-14.30น.
ซึ่งธุรกิจการสื่อสารแบบบูรณาการหลังจากมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเข้าสู่ปีที่3 ของการเป็นครีเอทีฟเอเจนซี่ให้กับ BMW Thailand ในการทำ content story และการสื่อสารแบบครบวงจรทั้งนี้การปรับเปลี่ยนทั้งหมดก็เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของธุรกิจอุตสาหกรรมนี้แต่ยังย้ำจุดยืนนักผลิตคอนเทนต์คุณภาพ สร้างแรงบันดาลใจ และรับผิดชอบต่อสังคมและเตรียมพบกับการเปลี่ยนแปลงก้าวสำคัญของ ทีวีบูรพา อีกครั้งในเดือนมีนาคมนี้
เช็ค สุทธิพงษ์ ในฐานะหัวเรือใหญ่ของทีวีบูรพาเผยว่าตั้งแต่ปรับโครงสร้างบริษัทมาตั้งแต่ปี 2016 ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
"ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทีวีบูรพาอาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว(หัวเราะ) ถ้าดูผลไม่ว่าจะในเชิงของธุรกิจเชิงตัวเลขหรือตัวโปรดักส์ของเราที่มีอยู่ในปัจจุบันมันก็สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทั้งนั้นเลย เพราะว่าทีวีบูรพาก็เริ่มมาจากคนทำคอนเท้นต์ผมก็เริ่มมาจากคนทำโปรดักชั่น แต่ตัวความสามารถในการทำธุรกิจเราไม่มีหรือว่ามีน้อยซึ่งในปีที่เริ่มรู้สึกว่ามันต้องเปลี่ยนแล้ว ถ้าไม่เปลี่ยนก็คือต้องเปลี่ยนสถานะ(หัวเราะ) นั่นก็คืออาจจะต้องแปลงตัวเองไปเป็นโปรดักชั่นเฮ้าส์"
โดยเฉพาะที่สำคัญที่สุดก็คือของเก่ามันก็ยังอยู่ ของเก่าที่มันมีคุณค่าบางอย่างแต่มันไม่ตอบโจทย์บางอย่าง ขณะที่เปลี่ยนมันก็ยังต้องกินต้องใช้ (หัวเราะ) พอคนใหม่เข้ามาคนเก่าก็ไม่ได้หมายความว่าจะปลื้มหรือว่ายอมรับทั้งหมด ก็ต้องพิสูจน์ใจพิสูจน์ความอดทน ความอึด พิสูจน์แนวคิดแนวทางความสามารถ และต้องทำงานร่วมกัน"
""การเปลี่ยนแปลงนี้ก็มีหลายมิติโดยเฉพาะความรู้ความสามารถที่มันเปลี่ยนไป พวกคนรุ่นเดิมรุ่นผมมันก็ทำแต่โปรดักชั่น มันก็ต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมอีกมากมายเพราะเมื่อก่อนตัวชี้วัดว่าอันไหนดี อันไหนไม่ดีมันก็แบบนึง จะขายอันไหนได้อันไหนไม่ได้มันก็แบบนึง การพรีเซ้นท์งานมันก็อีกแบบ ตอนนี้มันเปลี่ยนไปหมดพอเปลี่ยนมาเป็นการให้บริการลูกค้ามันก็ต้องมีการเชื่อมโยงค่อนข้างมาก"
"ผมคิดว่ามันเป็นโอกาสมากเลยผมเพิ่งพูดกับทีมงานเมื่อวานนี้ย้อนหลังไปไม่กี่ปีเราตื่นเต้นกันมากเลยเดี๋ยวนี้การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมันทำให้เราไม่ต้องมีออฟฟิศก็ได้มีโน้ตบุ๊คตัวเดียวไปนั่งทำงานตรงไหนในโลกนี้ก็ได้แต่พอถึงวันที่เราต้องทำเข้าจริง โอกาสแบบนี้มาถึงเราแล้ว แต่เรายังไม่ได้ขยับเลย เรายังอยู่กับเงื่อนไขแบบเดิมฉะนั้นนี่คือแรงผลักดันของเราไม่ใช่เหรอ ที่เราอยากจะทำงานที่มันไม่มีข้อจำกัดว่าต้องไปขอเวลาจากช่องนั้น ช่องนี้ กว่าจะได้เวลามาทำรายการสักรายการนึงอยากจะทำไอ้นั่นก็ไม่ได้ อยากจะทำไอ้นี่ก็พรีเซ็นไม่ผ่าน แต่ตอนนี้คุณมีช่องทางของตัวเองแล้วนี่คุณมีไฟอยากจะทำอะไร อยากจะโชว์อะไรก็โชว์สิ ฉะนั้นผมคิดว่าทีวีบูรพาเมื่อลงมาออนไลน์มันจะต้องเลิกเป็นคนทำสารคดีแบบเดิมๆและในเมื่อเทคโนโลยีมันเอื้อให้เราทำอะไรได้เยอะขนาดนี้ ก็ต้องทำเลย"
เผยมุมมองทีวีดิจตอลในปัจจุบันปัญหาหลักยังอยู่ที่การวัดเรตติ้ง
"ผมมองว่าปัญหาของทีวีดิจิตอลตอนนี้น่าจะอยู่ที่ระบบการวัดเรตติ้งเพราะโดยตัวช่องมันเหลือผู้เล่นที่ชัดเจนแล้ว แต่ละช่องมีทิศทาง มีลายมือของตัวเองและอัตลักษณ์ของตัวเองเริ่มชัดแล้ว และคอนเทนต์ที่มีคุณภาพก็โอเคแต่คิดว่าสิ่งที่สำคัญคือตัวเรตติ้งของรายการ ที่พอระบบการซื้อขายที่ราคามันขึ้นกับตัวเรตติ้ง ผมคิดว่าอันนี้ที่มีปัญหา เพราะพูดกันตามตรงก็คือผู้ที่ทำหน้าที่วัดเรตติ้งที่เชื่อถือได้ที่เราเชื่อกันผมว่ามันมีแต่นามเพราะฉะนั้นพอมันเป็นแบบนี้ตัวเรตติ้งมันก็ไม่มีหรอก หรือมีน้อยมากทำให้ตัวมูลค่าในการซื้อขายกันมันก็ต่ำเตี้ยเรี่ยดินมากถ้าเอาไปขายมีเดียแบบเมื่อกันคงเจ๊งระเนระนาดจนไม่เหลือความเป็นจริงคิดว่าไม่รู้จะทนทำต่อไปได้ยังไง เพราะฉะนั้นทั้งอุตสาหกรรมต้องหันมาคุยกัน"
"กับคำพูดที่ว่าทีวียังไม่ตายแต่ต้องมีการปรับตัว ผมคิดว่าตัวคอนเทนต์ กับการเสพคอนเทนต์ของคนมันยังเหมือนเดิมคือมันตอบสนองความบันเทิง ตอบสนองความอยากรู้ตอบสนองการเป็นเครื่องมือในการที่เราใช้คอนเทนต์ กับช่องทางของคอนเทนต์ช่องทางในการเผยแพร่คอนเทนต์เพื่อผลประโยชน์อะไรบางอย่างมันยังเหมือนเดิมแต่มันอาจจะเปลี่ยนตัวแพลตฟอร์ม เปลี่ยนวิธีการเสพไปเมื่อก่อนเราต้องกลับบ้านไปนั่งหน้าจอพร้อมๆ กันและไปนั่งแย่งกันดูทีวีเครื่องเดียว (หัวเราะ) แต่เดี๋ยวนี้จะดูตรงไหนยังไงก็ได้"
"ฉะนั้นมันก็แค่เปลี่ยนพฤติกรรมไปตามเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่มันเอื้ออำนวยให้เราได้เสพแบบไร้ข้อจำกัดหรือข้อจำกัดน้อยลง เพราะฉะนั้นในมุมของเราที่เป็นคนทำคอนเทนต์ผมคิดว่ามันก็มีทิศทางหรือมีโอกาส แต่เราอาจจะต้องเปลี่ยนความเคยชิน และปรับตัว"