โดย : บอน บอระเพ็ด
“สรรเสริญพระบารมี”
เป็น 1 ใน 2 บทเพลงที่คนไทยร้องกันได้ตั้งแต่เด็ก(เช่นเดียวกับเพลงชาติไทย)
สำหรับประวัติย่อคร่าวๆของเพลงสรรเสริญพระบารมี สรุปได้ดังนี้(ประวัติเต็มของเพลงสรรเสริญพระบารมีสามารถหาอ่านได้ทั่วไปในอินเตอร์เน็ต)
“เพลงสรรเสริญพระบารมี” เป็นเพลงประจำสถาบันพระมหากษัตริย์ และถือเป็นเพลงสำคัญของแผ่นดินอีกเพลงหนึ่งร่วมกับ“เพลงชาติ
เพลงสรรเสริญพระบารมีสันนิษฐานว่ามีเค้าโครงมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
สำหรับเพลงสรรเสริญพระบารมีในท่วงทำนองอย่างปัจจุบัน ประพันธ์ทำนองโดย “พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางคกูร หรือครูมีแขก) แต่ก็มีบางส่วนเชื่อว่าทำนองเพลงสรรเสริญประพันธ์ขึ้นโดย ปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย โดยสันนิษฐานว่าเพลงสรรเสริญ(ทำนองปัจจุบัน)น่าจะออกบรรเลงเป็นครั้งแรกในงานพระราชพิธีลงสรงคราวสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ในปีพ.ศ.2429
ขณะที่เนื้อร้องของเพลงสรรเสริญพระบารมีดังในปัจจุบันนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงนำเนื้อร้องเดิมของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มาปรับปรุงแก้ไข ในปี พ.ศ. 2456 โดยทรงพระราชนิพนธ์ใหม่และเปลี่ยนจากคำว่า “ฉนี้” เป็น “ชโย”
เพลงสรรเสริญพระบารมี มีการบันทึกครั้งแรกในโลกที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อปี พ.ศ. 2443 เป็นการบันทึกลงบนบนกระบอกเสียงของเอดิสันชนิดไขขี้ผึ้งเปล่า (Edison brown blank wax cylinder) โดยมีคณะนายบุศย์มหินทร์ (Boosra Mahin) หรือเจ้าหมื่นไววรนาถเป็นผู้บรรเลง และบันทึกเสียงโดย ด๊อกเตอร์ คาร์ล สตุ๊ฟ (Dr. Carl Stumpf) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการศึกษาเรื่องของเสียงและการบันทึกเสียงในประเทศเยอรมนี
ปัจจุบันเพลงสรรเสริญพระบารมีที่เราร้องกันอยู่ทุกวันนี้มีอายุยืนยาวนานกว่า 100 ปีแล้ว
1...
หลังพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2559 มีคนนำเพลงสรรเสริญพระบารมี มาร้องใหม่ บรรเลงใหม่ ในแบบฉบับของตัวเอง ซึ่งก็ล้วนแต่ฟังแล้วสุดแสนเศร้า ไม่ว่าจะเป็น เพลงบรรเลงเปียโนของ “เสกข์ ทองสุวรรณ”, เพลงบรรเลงกีตาร์คลาสสิคของ “เบิร์ด-เอกชัย เจียรกุล”แชมป์กีตาร์คลาสสิกรายการระดับโลก, เพลงบรรเลง(โซโล)กีตาร์แนวบัลลาดร็อกของ“ต้น ดีเซมเบอร์”, เพลงบรรเลงกีต้าร์แนวฟิงเกอร์สไตล์ของ “วินัย ไตรนทีภักดี” และเพลงบรรเลงฟลุ้ตของ“สอ.กวินทร์ หลีสกุลวานิช” ที่เป่าฟลุ้ตเพลงสรรเสริญพระบารมีทั้งน้ำตา เป็นต้น
ส่วนเพลงสรรเสริญพระบารมีในเวอร์ชั่นร้องนั้น ที่โด่งดังกินใจและทำให้หลายๆคนร้องไห้ น้ำตาไหลคลอยามที่ชมเพลงนี้ นั่นก็คือ เพลงสรรเสริญพระบารมี จาก“เพจ เพลงคลาสสิก จีบ คนกรุงเทพ - jeebbangkok” ที่มีหญิงสาวสวย เสียงดี(มาก) มาขับร้องเพลงนี้ทั้งน้ำตา
นอกจากนี้ก็ยังมีเพลงสรรเสริญพระบารมีที่เป็นอีกหนึ่งบทบันทึกประวัติศาสตร์ของชาติไทย ซึ่งจัดขึ้นที่ท้องสนามหลวงในวันที่ 22 ต.ค. 59 เพื่อให้ประชาชนได้มารวมพลังแห่งความจงรักภักดี ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และแสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
การร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีวันที่ 22 ต.ค. 59 แบ่งเป็น 2 รอบ รอบแรกเวลา 13.00 น. และรอบสอง 22.00 น. โดยมีทีมงานของ “หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล” หรือ “ท่านมุ้ย” ยอดผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังของเมืองไทย โดยในรอบแรก(บ่ายโมง)เป็นการบันทึกเสียงประชาชนร่วมขับร้องกับวง สยาม ฟิลฮาร์โมนิค ออร์เคสตร้า พร้อมทีมคอรัส ภายใต้การอำนวยเพลงของ “อ.สมเถา สุจริตกุล”
ส่วนในรอบสอง(สี่ทุ่ม)เป็นการร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีของประชาชนแบบไม่มีวงออร์เคสตร้า แต่มีการให้ประชาชนจุดเทียน(สีขาว)แสดงความอาลัยไปพร้อมๆกับการร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี
2...
วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2559
ปกติวันหยุดงานผมจะนอนตื่นสายไปยันเที่ยง แต่วันนี้เป็นวันพิเศษ ที่ผมตั้งใจไปร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ท้องสนามหลวง ในฐานะประชาชนคนเล็กๆที่เกิดในรัชกาลที่ 9
วันนี้ผมจึงตื่นเช้าเป็นพิเศษ สวมชุดดำออกจากบ้านที่อยู่ทางฝั่งธน ซึ่งปกติจะใช้เวลาเดินทางจากบ้านมาสนามหลวงประมาณครึ่งชั่วโมง แต่เช้าวันนี้ผมเผื่อเวลาไปท้องสนามหลวงอย่างต่ำ 3 ชั่วโมงขึ้นไป เพราะมั่นใจว่ารถติดหนักหน่วงแน่นอน เนื่องจากถนนทุกสายต่างก็มุ่งสู่สนามหลวง
จากบ้าน ถ.จรัญสนิทวงศ์ ผมเลี่ยงใช้เส้นทางไปทางสะพานปิ่นเกล้าที่ใช้ไปสนามหลวงเป็นปกติ แต่หันมาใช้บริการ ขสมก. นั่งไปทางสะพานกรุงธน(ซังฮี้)แทน เพื่อจะไปทางถนนสามเสน-เทเวศร์-บางลำพู แล้วเดินเท้าเข้าสู่สนามหลวง
แต่ปรากฏว่ารถติดยาวตั้งแต่หน้าบ้าน กว่าจะไปถึงสะพานกรุงธนก็ใช้เวลาเป็นชั่วโมง พอรถลงสะพานกรุงธนจอดป้ายที่ข้างโรงพยาบาลวชิระ ผมจึงตัดสินใจลงเดินจากจุดนั้นสู่ท้องสนามหลวง ร่วมกับผู้คนมากมายที่พร้อมใจกันออกเดินเท้ามุ่งหน้าสู่ท้องสนามหลวง ซึ่งประกอบไปด้วยคนทุกเพศทุกวัย ทั้งผู้เฒ่าผู้แก่ที่ให้ลูกหลานค่อยๆจูงพาเดินไป บางคนเดินไม่ไหวก็นั่งรกเข็นไป เด็กน้อยไปกับพ่อแม่ เมื่อเหนื่อยเมื่อยก็หยุดพักบ้างก็ขึ้นขี่คอคุณพ่อไป
ขณะที่อีกหลายๆคนเดินเท้ามาไกลกว่าผมมาก หลายคนเดินทางมาจากต่างจังหวัดทุกทิศทั่วไทย ตั้งแต่ช่วงเย็นวันศุกร์(21 ต.ค.) หลายคนมาจากต่างจังหวัดถึงสนามหลวงตอนเช้าตรู่ แล้วก็ปักหลักท่ามกลางเฝ้ารอจากเช้าจนถึงบ่ายท่ามกลางแดดร้อนจ้า
ส่วนพวกที่อยู่ในกรุงเทพฯ ก็ทยอยกันมาเรื่อยตั้งแต่เช้ายันบ่าย หลายคนอดหลับอดนอน หลายคนเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า หลายคนเหงื่อไหลไคลย้อย แต่ก็ดูเหมือนทุกคนไม่มีใครบ่น ไม่มีใครย่อท้อ เพราะทุกคนมีหัวใจเดียวกัน
คือหัวใจที่ต้องการถวายความจงรักภักดีและแสดงความอาลัยต่อพ่อของแผ่นดิน
3...
ระหว่างทางสู่สนามหลวง ไปจนถึงบริเวณท้องสนามหลวง มีความประทับใจจากน้ำใจของคนไทยมากมายที่มา แจกอาหาร น้ำดื่ม ขนม ผ้าเย็น ลูกอม และอีกสารพัด ซึ่งส่วนใหญ่มาแจกด้วยใจ มาแจกด้วยจิตวิญญาณที่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและต้องการทำดีเพื่อพ่อหลวง ซึ่งหากใครที่มาร่วมร่องเพลงสรรเสริญพระบารมี หรือแสดงความอาลัย ถวายสักการะพระบรมศพ หากใครเกิดหิวขึ้นมา งานนี้ไม่มีอด มีแต่อิ่ม เพราะมีของกินให้กินกันมากมาย
นับเป็นอีกหนึ่งแง่งามของน้ำใจคนไทยที่หลายๆคนพร้อมใจกันทำดีเพื่อพ่อ โดยไม่ได้หวังสิ่งใดๆตอบแทน
เป็นดังพระราชดำรัสผู้ปิดทองหลังพระที่พ่อพร่ำสอนกับพวกเราอยู่เรื่อยมา
วันนั้นผมไปถึงสนามหลวงประมาณเที่ยงกว่าๆ ท้องสนามหลวงในช่วงเวลานั้นมีผู้คนมากมายนับแสนๆคน เรียกว่าเต็มจนล้นออกมา แต่ผมก็พยายามซอกแซกเบียดตัวเข้าไปยืนในช่วงกลางๆ
จากนั้นเมื่อถึงเวลาบ่ายโมงกว่าๆก็ได้เวลาที่ประชาชนนับแสนร่วมกันแสดงพลังร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี เพื่อบันทึกเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของชาติไทย
บ่ายวันนั้นพวกเราร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีกันราว 3 รอบ(รวมรอบซ้อมด้วย) ซึ่งในแต่ละรอบ หลายๆคนที่มาร้องเพลงต่างหลังน้ำตา ร่ำไห้ หลายคนร่ำไห้ในทุกๆรอบ เช่นเดียวกับผมที่น้ำตาไหลร่ำไห้ในทุกรอบแบบไม่อายใคร ขณะที่ช่วงสี่ทุ่มเราร้องกันสองรอบ ซึ่งผมก็น้ำตาร่วงเช่นกัน
เพราะเพลงสรรเสริญพระบารมีในช่วงบ่ายและช่วงกลางคืนของวันนี้ เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีที่เศร้าที่สุดในชีวิตที่ผมเคยร้องมา
แต่นี่ก็เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของผม และเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีที่จะดังกึกก้องไปสู่ฟากฟ้า เพื่อให้พ่อที่อยู่บนสรวงสวรรค์ได้รับรู้ว่า พสกนิกรชาวไทยใต้พระบารมีนั้นรักพ่อมากแค่ไหน และได้ให้โลกได้รับรู้ว่าพวกเราคนไทยรักในหลวงรัชกาลที่ 9 มากแค่ไหน
อย่างไรก็ดีหลังเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมีดังก้องฟ้าที่ท้องสนามหลวงทั้งในเวลาบ่ายโมงและสี่ทุ่ม สำหรับผมแล้วหลังการร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ภารกิจของคนไทยใต้พระบารมียังไม่จบ
เพราะคนไทยทุกคนยังมีภารกิจสำคัญหลังจากนี้ นั่นก็คือ"การทำดีตามรอยพ่อ" และ “การทำดีเพื่อพ่อ”
...ด้วยหัวใจที่ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป
“สรรเสริญพระบารมี”
เป็น 1 ใน 2 บทเพลงที่คนไทยร้องกันได้ตั้งแต่เด็ก(เช่นเดียวกับเพลงชาติไทย)
สำหรับประวัติย่อคร่าวๆของเพลงสรรเสริญพระบารมี สรุปได้ดังนี้(ประวัติเต็มของเพลงสรรเสริญพระบารมีสามารถหาอ่านได้ทั่วไปในอินเตอร์เน็ต)
“เพลงสรรเสริญพระบารมี” เป็นเพลงประจำสถาบันพระมหากษัตริย์ และถือเป็นเพลงสำคัญของแผ่นดินอีกเพลงหนึ่งร่วมกับ“เพลงชาติ
เพลงสรรเสริญพระบารมีสันนิษฐานว่ามีเค้าโครงมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
สำหรับเพลงสรรเสริญพระบารมีในท่วงทำนองอย่างปัจจุบัน ประพันธ์ทำนองโดย “พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางคกูร หรือครูมีแขก) แต่ก็มีบางส่วนเชื่อว่าทำนองเพลงสรรเสริญประพันธ์ขึ้นโดย ปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย โดยสันนิษฐานว่าเพลงสรรเสริญ(ทำนองปัจจุบัน)น่าจะออกบรรเลงเป็นครั้งแรกในงานพระราชพิธีลงสรงคราวสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ในปีพ.ศ.2429
ขณะที่เนื้อร้องของเพลงสรรเสริญพระบารมีดังในปัจจุบันนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงนำเนื้อร้องเดิมของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มาปรับปรุงแก้ไข ในปี พ.ศ. 2456 โดยทรงพระราชนิพนธ์ใหม่และเปลี่ยนจากคำว่า “ฉนี้” เป็น “ชโย”
เพลงสรรเสริญพระบารมี มีการบันทึกครั้งแรกในโลกที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อปี พ.ศ. 2443 เป็นการบันทึกลงบนบนกระบอกเสียงของเอดิสันชนิดไขขี้ผึ้งเปล่า (Edison brown blank wax cylinder) โดยมีคณะนายบุศย์มหินทร์ (Boosra Mahin) หรือเจ้าหมื่นไววรนาถเป็นผู้บรรเลง และบันทึกเสียงโดย ด๊อกเตอร์ คาร์ล สตุ๊ฟ (Dr. Carl Stumpf) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการศึกษาเรื่องของเสียงและการบันทึกเสียงในประเทศเยอรมนี
ปัจจุบันเพลงสรรเสริญพระบารมีที่เราร้องกันอยู่ทุกวันนี้มีอายุยืนยาวนานกว่า 100 ปีแล้ว
1...
หลังพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2559 มีคนนำเพลงสรรเสริญพระบารมี มาร้องใหม่ บรรเลงใหม่ ในแบบฉบับของตัวเอง ซึ่งก็ล้วนแต่ฟังแล้วสุดแสนเศร้า ไม่ว่าจะเป็น เพลงบรรเลงเปียโนของ “เสกข์ ทองสุวรรณ”, เพลงบรรเลงกีตาร์คลาสสิคของ “เบิร์ด-เอกชัย เจียรกุล”แชมป์กีตาร์คลาสสิกรายการระดับโลก, เพลงบรรเลง(โซโล)กีตาร์แนวบัลลาดร็อกของ“ต้น ดีเซมเบอร์”, เพลงบรรเลงกีต้าร์แนวฟิงเกอร์สไตล์ของ “วินัย ไตรนทีภักดี” และเพลงบรรเลงฟลุ้ตของ“สอ.กวินทร์ หลีสกุลวานิช” ที่เป่าฟลุ้ตเพลงสรรเสริญพระบารมีทั้งน้ำตา เป็นต้น
ส่วนเพลงสรรเสริญพระบารมีในเวอร์ชั่นร้องนั้น ที่โด่งดังกินใจและทำให้หลายๆคนร้องไห้ น้ำตาไหลคลอยามที่ชมเพลงนี้ นั่นก็คือ เพลงสรรเสริญพระบารมี จาก“เพจ เพลงคลาสสิก จีบ คนกรุงเทพ - jeebbangkok” ที่มีหญิงสาวสวย เสียงดี(มาก) มาขับร้องเพลงนี้ทั้งน้ำตา
นอกจากนี้ก็ยังมีเพลงสรรเสริญพระบารมีที่เป็นอีกหนึ่งบทบันทึกประวัติศาสตร์ของชาติไทย ซึ่งจัดขึ้นที่ท้องสนามหลวงในวันที่ 22 ต.ค. 59 เพื่อให้ประชาชนได้มารวมพลังแห่งความจงรักภักดี ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และแสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
การร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีวันที่ 22 ต.ค. 59 แบ่งเป็น 2 รอบ รอบแรกเวลา 13.00 น. และรอบสอง 22.00 น. โดยมีทีมงานของ “หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล” หรือ “ท่านมุ้ย” ยอดผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังของเมืองไทย โดยในรอบแรก(บ่ายโมง)เป็นการบันทึกเสียงประชาชนร่วมขับร้องกับวง สยาม ฟิลฮาร์โมนิค ออร์เคสตร้า พร้อมทีมคอรัส ภายใต้การอำนวยเพลงของ “อ.สมเถา สุจริตกุล”
ส่วนในรอบสอง(สี่ทุ่ม)เป็นการร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีของประชาชนแบบไม่มีวงออร์เคสตร้า แต่มีการให้ประชาชนจุดเทียน(สีขาว)แสดงความอาลัยไปพร้อมๆกับการร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี
2...
วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2559
ปกติวันหยุดงานผมจะนอนตื่นสายไปยันเที่ยง แต่วันนี้เป็นวันพิเศษ ที่ผมตั้งใจไปร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ท้องสนามหลวง ในฐานะประชาชนคนเล็กๆที่เกิดในรัชกาลที่ 9
วันนี้ผมจึงตื่นเช้าเป็นพิเศษ สวมชุดดำออกจากบ้านที่อยู่ทางฝั่งธน ซึ่งปกติจะใช้เวลาเดินทางจากบ้านมาสนามหลวงประมาณครึ่งชั่วโมง แต่เช้าวันนี้ผมเผื่อเวลาไปท้องสนามหลวงอย่างต่ำ 3 ชั่วโมงขึ้นไป เพราะมั่นใจว่ารถติดหนักหน่วงแน่นอน เนื่องจากถนนทุกสายต่างก็มุ่งสู่สนามหลวง
จากบ้าน ถ.จรัญสนิทวงศ์ ผมเลี่ยงใช้เส้นทางไปทางสะพานปิ่นเกล้าที่ใช้ไปสนามหลวงเป็นปกติ แต่หันมาใช้บริการ ขสมก. นั่งไปทางสะพานกรุงธน(ซังฮี้)แทน เพื่อจะไปทางถนนสามเสน-เทเวศร์-บางลำพู แล้วเดินเท้าเข้าสู่สนามหลวง
แต่ปรากฏว่ารถติดยาวตั้งแต่หน้าบ้าน กว่าจะไปถึงสะพานกรุงธนก็ใช้เวลาเป็นชั่วโมง พอรถลงสะพานกรุงธนจอดป้ายที่ข้างโรงพยาบาลวชิระ ผมจึงตัดสินใจลงเดินจากจุดนั้นสู่ท้องสนามหลวง ร่วมกับผู้คนมากมายที่พร้อมใจกันออกเดินเท้ามุ่งหน้าสู่ท้องสนามหลวง ซึ่งประกอบไปด้วยคนทุกเพศทุกวัย ทั้งผู้เฒ่าผู้แก่ที่ให้ลูกหลานค่อยๆจูงพาเดินไป บางคนเดินไม่ไหวก็นั่งรกเข็นไป เด็กน้อยไปกับพ่อแม่ เมื่อเหนื่อยเมื่อยก็หยุดพักบ้างก็ขึ้นขี่คอคุณพ่อไป
ขณะที่อีกหลายๆคนเดินเท้ามาไกลกว่าผมมาก หลายคนเดินทางมาจากต่างจังหวัดทุกทิศทั่วไทย ตั้งแต่ช่วงเย็นวันศุกร์(21 ต.ค.) หลายคนมาจากต่างจังหวัดถึงสนามหลวงตอนเช้าตรู่ แล้วก็ปักหลักท่ามกลางเฝ้ารอจากเช้าจนถึงบ่ายท่ามกลางแดดร้อนจ้า
ส่วนพวกที่อยู่ในกรุงเทพฯ ก็ทยอยกันมาเรื่อยตั้งแต่เช้ายันบ่าย หลายคนอดหลับอดนอน หลายคนเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า หลายคนเหงื่อไหลไคลย้อย แต่ก็ดูเหมือนทุกคนไม่มีใครบ่น ไม่มีใครย่อท้อ เพราะทุกคนมีหัวใจเดียวกัน
คือหัวใจที่ต้องการถวายความจงรักภักดีและแสดงความอาลัยต่อพ่อของแผ่นดิน
3...
ระหว่างทางสู่สนามหลวง ไปจนถึงบริเวณท้องสนามหลวง มีความประทับใจจากน้ำใจของคนไทยมากมายที่มา แจกอาหาร น้ำดื่ม ขนม ผ้าเย็น ลูกอม และอีกสารพัด ซึ่งส่วนใหญ่มาแจกด้วยใจ มาแจกด้วยจิตวิญญาณที่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและต้องการทำดีเพื่อพ่อหลวง ซึ่งหากใครที่มาร่วมร่องเพลงสรรเสริญพระบารมี หรือแสดงความอาลัย ถวายสักการะพระบรมศพ หากใครเกิดหิวขึ้นมา งานนี้ไม่มีอด มีแต่อิ่ม เพราะมีของกินให้กินกันมากมาย
นับเป็นอีกหนึ่งแง่งามของน้ำใจคนไทยที่หลายๆคนพร้อมใจกันทำดีเพื่อพ่อ โดยไม่ได้หวังสิ่งใดๆตอบแทน
เป็นดังพระราชดำรัสผู้ปิดทองหลังพระที่พ่อพร่ำสอนกับพวกเราอยู่เรื่อยมา
วันนั้นผมไปถึงสนามหลวงประมาณเที่ยงกว่าๆ ท้องสนามหลวงในช่วงเวลานั้นมีผู้คนมากมายนับแสนๆคน เรียกว่าเต็มจนล้นออกมา แต่ผมก็พยายามซอกแซกเบียดตัวเข้าไปยืนในช่วงกลางๆ
จากนั้นเมื่อถึงเวลาบ่ายโมงกว่าๆก็ได้เวลาที่ประชาชนนับแสนร่วมกันแสดงพลังร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี เพื่อบันทึกเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของชาติไทย
บ่ายวันนั้นพวกเราร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีกันราว 3 รอบ(รวมรอบซ้อมด้วย) ซึ่งในแต่ละรอบ หลายๆคนที่มาร้องเพลงต่างหลังน้ำตา ร่ำไห้ หลายคนร่ำไห้ในทุกๆรอบ เช่นเดียวกับผมที่น้ำตาไหลร่ำไห้ในทุกรอบแบบไม่อายใคร ขณะที่ช่วงสี่ทุ่มเราร้องกันสองรอบ ซึ่งผมก็น้ำตาร่วงเช่นกัน
เพราะเพลงสรรเสริญพระบารมีในช่วงบ่ายและช่วงกลางคืนของวันนี้ เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีที่เศร้าที่สุดในชีวิตที่ผมเคยร้องมา
แต่นี่ก็เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของผม และเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีที่จะดังกึกก้องไปสู่ฟากฟ้า เพื่อให้พ่อที่อยู่บนสรวงสวรรค์ได้รับรู้ว่า พสกนิกรชาวไทยใต้พระบารมีนั้นรักพ่อมากแค่ไหน และได้ให้โลกได้รับรู้ว่าพวกเราคนไทยรักในหลวงรัชกาลที่ 9 มากแค่ไหน
อย่างไรก็ดีหลังเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมีดังก้องฟ้าที่ท้องสนามหลวงทั้งในเวลาบ่ายโมงและสี่ทุ่ม สำหรับผมแล้วหลังการร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ภารกิจของคนไทยใต้พระบารมียังไม่จบ
เพราะคนไทยทุกคนยังมีภารกิจสำคัญหลังจากนี้ นั่นก็คือ"การทำดีตามรอยพ่อ" และ “การทำดีเพื่อพ่อ”
...ด้วยหัวใจที่ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป