xs
xsm
sm
md
lg

เอาจริง! "เชอรี่" ร่วมทริปโครงการหลวงลุยผืนป่าน่าน เชื่อธรรมชาติฟื้นฟูได้ถ้าทุกคนลงไม้ลงมือ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ช่วงหลังคนบันเทิงหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติอย่างจริงจังกันหลายคนทีเดียว โดยหนึ่งในนั้นก็คือสาว "เชอรี่ เข็มอัปสร" ที่ล่าสุดเจ้าตัวได้มีการโพสต์ข้อความผ่านอินสตาแกรมส่วนตัว cherrykhemupsorn ว่าตนเองได้มีโอกาสไปเยือนผืนป่าแห่งหนึ่งของ จ.น่านที่เคยเป็นเขาหัวโล้นมาก่อนแต่ตอนนี้กลับกลายมามีสภาพสมบูรณ์อีกครั้ง พร้อมกันนี้เจ้าตัวก็แสดงความหวังว่าทุกคนจะหันมาช่วยกันคนละไม้ละมือเพื่อช่วยกันฟื้นฟูธรรมชาติแม้จะเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม










เราได้เดินทางมาน่านกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ครั้งนี้เราขอเรียกว่าทริปมาดูงานเรื่องการแก้ไขปัญหาป่าไม้อย่างจริงจังและเห็นผล เราจะขอยังไม่เล่ารายละเอียด เพราะเรื่องนี้มันยาวววว... จิมาเล่าให้ฟังอย่างละเอียดเลยยย สัญญา มันติดปัญหาตรงที่ว่า เรามาที่บ้านเปียงก่อและเดินทางนั่งรถไปมาอยู่ละแวกนี้ที่ฝั่งตรงข้ามภูเขาคือชายแดนของประเทศลาวแล้ว...สัญญาณโทรศัพท์ทั้งการโทรและอินเตอร์เน็ตของเราช่างแปรผกผันกับระดับความสูงที่เราอยู่มากกกกมายยยยชริงๆ... ไม่รวมกับปัญหาเมารถที่ไม่สามารถก้มลงมองโทรศัพท์ได้เลยยย ทำได้เพียงมองตรงไปข้างหน้าไกลๆและสูดดมยาดมฟืดดดฟาดด ฉะนั้น...ขอเกริ่นสั้นๆก่อนว่า ทริปครั้งนี้ทำให้เราได้รู้ข้อผิดพลาดของเราที่ผ่านๆมา ความตั้งใจดีของเราหลายๆครั้ง ไม่ได้วัดกันแค่ว่าเราได้คิดดีและทำดีเพื่อช่วยเหลือคนอื่นแล้วรึยัง? แต่กลับเป็นผลที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจดีเหล่านั้นต่างหาก เรากำลังพูดถึงเรื่องปัญหาป่าไม้ของประเทศไทย ใช่...เรื่องนี้มันยาววววว #นี่เอาบรรยากาศและคนตัดอ้อยมาฝากก่อน 😋😋😋✌🏻#เกิดอะไรขึ้นที่น่าน #คนยืนได้ไม้ยืนต้น #phenomeNAN #growingtogether #มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง #ปอลิงแอ่งน้ำเล็กๆนั่นเรียกตาน้ำนะเด็กๆ

วิดีโอที่โพสต์โดย @cherrykhemupsorn เมื่อ




มาตามสัญญา...อาจจะยาวหน่อยนะคะ แต่ขอให้ตั้งใจอ่านข้อความต่อไปนี้สักหน่อย อ่านด้วยใจที่เป็นกลาง อ่านด้วยใจที่อยากจะคิดหาทางออกของปัญหาป่าต้นน้ำ อ่านด้วยใจที่พร้อมจะลงมือทำอะไรซักอย่างเพื่อร่วมแก้ปัญหานี้ไปด้วยกัน ...น้ำจากแม่น้ำน่านคือ 45% ของน้ำที่ไหลมารวมเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของประเทศไทย ภาพเขาหัวโล้นที่เห็นตามข่าวเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ป่าสงวนหลายพื้นที่ได้กลายเป็นดินแห้งดำหลังจากถูกไฟเผาไหม้ ฉันจะไม่พูดถึงสาเหตุเบื้องลึกเบื้องหลัง แต่ฉันอยากบอกคุณทั้งหลายว่าถ้าเรามัวแต่โทษกันไปมาว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นความผิดของใคร ฉันคิดว่ามันคงจะสายเกินไป ถ้าเราไม่เริ่มลงมือแก้ปัญหากันอย่างจริงจังตั้งแต่ตอนนี้ และสิ่งสำคัญที่สุดที่ฉันอยากจะบอกคุณก็คือ การปลูกป่าไม่ได้แก้ปัญหาได้ (ทั้งหมด) งงใช่ไหมคะ? ฉันเองก็เช่นกัน สิ่งแรกที่เราควรจัดการอย่างเร่งด่วนที่สุดก็คือ "คน" คนในที่นี้คือ ชาวบ้านในพื้นที่ ควรเร่งให้ความรู้ วิธีการและโอกาส เพื่อทดแทนการเผาป่าสำหรับทำไร่ เคยได้ยินกันอยู่ใช่มั้ย "ปลูกป่า ปลูกคน" คนในพื้นที่เมื่อปากท้องเขาอิ่มและรู้ว่าป่าให้ประโยชน์ต่อเขาอย่างไรบ้าง เขาจะรักและหวงแหนป่า จะเกิดเป็นพลังที่ช่วยดูแลผืนป่าได้เป็นอย่างดี ลำดับต่อมาคือ "น้ำ" เราจะทำอย่างไรให้ภาคเกษตรมีน้ำใช้ตลอดฤดูแล้ง และน้ำไม่ท่วมในฤดูน้ำหลาก ต้องมีการจัดการระบบน้ำที่ดี ฉันไม่ได้หมายถึงการสร้างเขื่อนด้วยการตัดป่าไม้ที่เป็นเสมือนเขื่อนธรรมชาติเพิ่มขึ้นหรอกนะ "ฝาย" ต่างหากที่ฉันกำลังหมายถึง เมื่อมีน้ำและคนดูแลต้นไม้แล้ว ป่าจะฟื้นฟูได้เอง เรียกว่าการปลูกป่าแบบไม่ปลูก เช่นดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วต้นไม้ที่เราจะไปช่วยกันปลูกเสริมเพิ่มเติมก็จะไม่สูญเปล่าเมื่อมีคนดูแล ทีนี้มาถึงเรื่องสำคัญ พวกเราจะช่วยอะไรได้? ขอแค่เรามีใจ มีจิตสำนึกที่จะช่วยแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง และไม่เห็นแก่ตัวเอง เราจะช่วยกันคิดหาทางแก้ไขเรื่องนี้กันได้อย่างเต็มกำลังความสามารถตามที่แต่ละคนมี...ฉันเชื่ออย่างนั้นนะ เพียงแค่ต้องแก้ให้ตรงจุดเท่านั้นเอง สิ่งหนึ่งที่เราควรทำคือ วางแผนการจัดการร่วมกันกับคนในพื้นที่ เพราะเขาเหล่านั้นรู้ดีที่สุดว่าอะไรเหมาะไม่เหมาะกับพื้นที่ที่เขาอาศัยอยู่ ไม่จำเป็นต้องทำแค่ที่จังหวัดน่านหรอก ที่ไหนก็ได้ที่เป็นป่าต้นน้ำของไทย หรืออย่างน้อยที่สุด...ขอแค่ช่วยกันประหยัดและตระหนักถึงคุณค่าทรัพยากรที่เราบริโภคทุกวัน ว่าคือหยาดเหงื่อ น้ำตา ชีวิต และอนาคตของพวกเราชาวไทยทุกคนรวมถึงลูกหลานของเราด้วย ช่วยกันนะคะ...ก่อนที่จะสายเกินไป.

รูปภาพที่โพสต์โดย @cherrykhemupsorn เมื่อ




ที่ที่ฉันยืนอยู่นี้เคยเป็นภูเขาหัวโล้น...นี่คือเรื่องจริง! ฉันได้เดินทางไปหลายหมู่บ้านในพื้นที่สูงของจังหวัดน่าน ได้พบเจอ "ปราชญ์บนดอย" หลายต่อหลายท่าน ที่เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ชีวิตจริงและลงมือทำด้วยความเชื่อความมุ่งมั่น จนช่วยกันพลิกฟื้นพื้นที่เขาหัวโล้นให้กลับกลายเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ขึ้นมาได้อีกครั้ง ด้วยการทำให้คนบนดอยสร้างรายได้เพื่อเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว พร้อมทั้งมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการแบ่งพื้นที่ป่าออกเป็น พื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าเศรษฐกิจ ป่าใช้สอยและพื้นที่ทำกิน ซึ่งพื้นที่ป่าอนุรักษ์มีมากถึง 60% คนในชุมชนจะช่วยกันดูแล ไม่ว่าจะเป็นการเฝ้าระวังไฟป่า สร้างแนวกันไฟ การสร้างระบบการเผาวัชพืชอย่างมีวัฒนธรรม ช่วยกันสร้างฝายจำนวนมากที่ทำให้มีน้ำพอใช้ภายในชุมชนและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง เฝ้าระวังไม่ให้มีผู้ลักลอบตัดไม้ เหล่านี้เป็นต้น ภาระมากมายขนาดนี้ ถ้าไม่มีความรัก ความผูกพันและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน...คุณคิดว่ายังไง? ป่าต้นน้ำมีความสำคัญในการหล่อเลี้ยงชีวิต เกษตรกรอย่างพวกเขา ตลอดจนยังช่วยป้องกันน้ำท่วมน้ำแล้งมาจนถึงคนปลายน้ำอย่างพวกเรา ซ้ำยังต้องฝากชีวิตไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำ อากาศ และปากท้องไว้กับพวกเขาอีกด้วย คุณยังจำเหตุการณ์น้ำท่วมปี '54 กันได้อยู่ใช่มั้ย อย่ารอให้เหตุการณ์ต้องเลวร้ายขนาดนั้นเลย ฉันอยากให้พวกเราทุกคนช่วยกันคิดลงมือทำอะไรซักอย่าง แม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดี ฉันยังเชื่อในความมีน้ำใจของคนไทยเสมอ. #เกิดอะไรขึ้นที่น่าน #คนยืนได้ไม้ยืนต้น #phenomeNAN #growingtogether #มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง #บ้านน้ำช้าง #ขุนน่าน #อำเภอเฉลิมพระเกียรติ #จังหวัดน่าน

รูปภาพที่โพสต์โดย @cherrykhemupsorn เมื่อ






กำลังโหลดความคิดเห็น