ทันทีที่มีข่าวออกมาว่าศาลฏีกาไม่รับฏีกาคดีที่หญิงสาวนามสกุลดังในวัยที่ยังไม่สามารถมีใบขับขี่ขับรถยนต์ไปชนรถตู้โดยสารกระทั่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตไปถึง 9 ศพเหตุเกิดเมื่อ 2 ปีที่แล้วบริเวณบนทางยกระดับโทลล์เวย์พลันเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างเซ็งแซ่ก็ดังขึ้นมาทันที
แน่นอนว่าเรื่องนี้ถ้ามองกันในแง่ของข้อกฏหมาย การที่ศาลไม่รับฎีกาที่จำเลยร้องขอมันย่อมหมายถึงชัยชนะของทางฝ่ายโจทก์ แถมการที่ศษลมีคำตัดสินที่เป็นที่สิ้นสุดออกมาอย่างรวดเร็วเช่นนี้ยังทำให้การฟ้องร้องคดีทางแพ่งที่ทางฝ่ายญาติของผู้เสียหายเรียกร้องไปยังพ่อ-แม่จำเลยเป็นจำนวนเงิน 120 ล้านบาทเดินหน้าต่อไปได้ทันทีหลังก่อนหน้าศาลแพ่งเองได้สั่งจำหน่ายคดีไว้ชั่วคราวเพราะต้องรอผลคดีทางอาญาก่อน
แต่กระนั้นก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่พากันตั้งคำถามว่าแล้วโทษของจำเลย ณ ตอนนี้ที่ว่าให้จำคุก 2 ปี(แต่ให้รอลงอาญาไว้ก่อน 4 ปี)/บำเพ็ญประโยชน์ 48 ชั่วโมงต่อปีเป็นเวลารวม 4 ปี และห้ามจำเลยขับรถยนต์จนกว่าจะมีอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์ทั้งหมดนี้มัน "สมน้ำสมเนื้อ" แล้วหรือกับความผิดของจำเลย
เพราะถึงแม้เรื่องของอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ใครๆ ไม่คาดคิดและไม่มีใครอยากจะให้เกิดและชีวิตเมื่อเสียไปแล้วจะเรียกร้องอย่างไรชีวิตนั้นก็ไม่มีวันกลับคืน แต่หลายคนก็มองว่าในเมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้วแถมยังมีการสูญเสียชีวิตที่มากมายถึงขนาดนี้ ขณะที่ตัวผู้กระทำผิดเองก็ดูท่าทีไร้ซึ่งสำนึกในสิ่งที่ทำลงไป (ตามคำให้สัมภาษณ์จากปากญาติของผู้เสียชีวิตที่ระบุว่าถึงตอนนี้ยังไม่ได้รับการเยียวยาใดๆ จากจำเลย ไร้การพูดคุยหรือโทรศัพท์มาหา) ดังนั้นบทลงโทษต่อความประมาทเลินเล่อครั้งนี้มันก็ควรจะสมน้ำสมเนื้อกันใช่หรือไม่?
"คุกมีไว้ขังหมากับคนจน..." ใครหลายคนต่างพากันนึกถึงประโยคนี้ขึ้นมาทันทีภายหลังรับรู้ถึงบทสรุป(ทางอาญา)ของคดีนี้ ก่อนจะถูกบางส่วนสวนกลับด้วยคำถามที่ว่าแล้วมันผิดด้วยหรือที่เขามีเงินประกันตัว เขามีเงินเสียค่าปรับ เขามีเงินเยียวยาและเขาสามารถเจรจากับผู้เสียหายได้ ก็ในเมื่อกฏหมายเองก็ระบุเอาไว้เช่นนั้น
พร้อมตั้งคำถามที่น่าสนใจด้วยว่าถ้าตัวเรา ญาติ หรือคนในครอบครัวต้องมาประสบอุบัติเหตุถูกรถขับเฉี่ยวชนจนต้องเสียเงินค่ารักษาด้วยราคาค่างวดที่เราเองไม่มีปัญญาจ่าย หากเลือกได้ระหว่างคู่กรณีซึ่งเป็นคนรวยที่มาพร้อมน้ำเสียงที่ไม่เป็นมิตรว่า..."เท่าไหร่ลื้อว่ามา เรื่องจะได้จบๆ" กับคนจนที่ตัวสั่นงันงกบอกด้วยน้ำเสียงรู้สึกผิดจริงๆ ว่า..."อย่าเอาเรื่องผมเลย ขืนเอาเรื่องผมต้องติดคุกแน่ๆ" เป็นเรา เราจะเลือกถูกใครชน?
คำถามนี้ว่าจะว่าไปแล้วก็ไม่ต่างอะไรไปจากคำถามที่ว่าแท้ที่จริงแล้วเราๆ ท่านๆ นั้นมองเรื่องของกฏหมายและบทลงโทษในแง่มุมไหนกันแน่?
บางคนอาจจะคิดว่าเป็นสิ่งที่ควรให้ความเคารพอย่างสูงสุด ไม่ควรจะฝ่าฝืน หากพลาดพลั้งทำผิดไปแล้วก็ควรจะละอาย สำนึกในความผิด ยอมรับบทลงโทษ ขณะที่บางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องอะไรที่ควรจะหยืดหยุ่น ฝ่าฝืนได้ถ้าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ และไม่มีคนเห็น
หรือบางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องท้าทายน่าหาช่องโหว่หากช่องโหว่นั้นนำไปซึ่งผลประโยชน์จำนวนมหาศาล และในขณะที่บางคนอาจจะมองเห็นเป็นเรื่องวุ่นวาย น่ารำคาญ เลี่ยงได้เลี่ยง หลีกได้หลีก และเมื่อพลาดพลั้งทำผิดถูกจับได้ก็เพียรหาช่องทางหนี หาวิธีลดโทษ สุดท้ายเมื่อโดนลงโทษไปแล้วก็ถือว่าแล้วกันไป ไม่จำเป็นจะต้องไปสำนึกหรือรู้สึกถึงความผิดในสิ่งที่ได้กระทำ ฯ
จะคิดอย่างไร จะเลือกคำตอบแบบไหนก็ไม่ต้องซีเรียสครับ เพราะไม่มีฏหมายระบุไว้ว่าคิดแบบไหนถูก คิดแบบไหนผิด?
เขียนถึงตรงนี้ก็ให้นึกถึงไปถึงเรื่องราวในพงศาวดารเกี่ยวกับ "พันท้ายนรสิงห์" (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8)นายท้ายเรือของพระเจ้าเสือที่ทำหัวเรือพระที่นั่งเอกชัยหักบริเวณแถวๆ คลองโคกขามระหว่างที่พระเจ้าเสือจะเสด็จไปประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำท่าจีน เมืองสาครบุรี เนื่องจากคลองดังกล่าวเป็นคลองที่คดเคี้ยวและมีกระแสน้ำรุนแรงเชี่ยวกราก (ขณะที่บางแง่มุมก็ระบุว่าเป็นความตั้งใจของเจ้าตัวเองที่ต้องการทำให้หัวเรือหักเพราะรู้มาว่าข้างหน้ามีพวกกบฎซุ่มคอยทำร้ายพระเจ้าเสืออยู่)
ในการนั้นสมเด็จพระเจ้าเสือเองก็ไม่อยากที่จะเอาผิดอะไรกับพันท้ายนรสิงห์เนื่องจากทรงเห็นว่าอีกฝ่ายเป็นทหารคนสนิท (ในอดีตทั้งสองเคยแข่งมวยคาดเชือกกันมาโดยที่พันท้ายนรสิงห์ (ชื่อเดิมก่อนรับราชการคือ "สิน") ไม่รู้ว่าอีกฝ่ายเป็นพระเจ้าเสือปลอมตัวมา) แถมเรื่องที่เกิดขึ้นก็อุบัติเหตุที่สุดวิสัย ที่สำคัญทั้งตนเองรวมถึงคนอื่นๆ ก็ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บอะไร ทว่าพันท้ายนรสิงห์เองกลับให้พระเจ้าเสือลงโทษตนเองให้ได้ทั้งๆ ที่รู้ว่าตามกฏมณเฑียรบาลนั้นคนที่ทำหัวเรือพระที่นั่งหักจะต้องโทษถึงขั้นถูกประหาร
ทรงปฏิเสธที่จะลงโทษไปถึง 2 ครั้ง ขณะที่พันท้ายนรสิงห์ก็ยังคงยืนกรานที่จะให้ลงโทษตนเองให้ได้เพื่อไม่ให้ใครเอาเป็นเยี่ยงอย่าง สุดท้ายเมื่อไม่มีทางเลือกพระเจ้าเสือจึงจำใจต้องสั่งประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์พร้อมสั่งตั้งศาลเพื่อเชิดชูในความซื่อสัตย์ ยึดมั่นในกฏระเบียบของอีกฝ่าย
วันนี้จบดื้อๆ ด้วยเรื่องเล่าของพันท้ายนรสิงห์ตรงนี้ก็แล้วกันครับ...
ASTVผู้จัดการออนไลน์ เพิ่มหมวดข่าว “โต๊ะญี่ปุ่น” นำเสนอความเคลื่อนไหวของข้อมูลข่าวสาร ตอบสนองผู้อ่านที่สนใจในประเทศญี่ปุ่น รวมทั้ง สรรสาระ เกร็ดความรู้ต่างๆ ที่ผู้อ่านควรรู้ และ ต้องรู้อีกมากมาย ติดตามเราได้นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ติดตามรับชมช่อง “Super บันเทิง” ได้ที่ Super บันเทิง live
ข่าวบันเทิง, ถูกต้อง, รวดเร็วฉับไว ทั้งไทย และเทศ http://www.superent.co.th
ติดตามความเคลื่อนไหวอินสตาแกรมดาราทั้งไทยและเทศตลอด 24 ชั่วโมงได้ที่ ซูเปอร์สตาแกรม
แน่นอนว่าเรื่องนี้ถ้ามองกันในแง่ของข้อกฏหมาย การที่ศาลไม่รับฎีกาที่จำเลยร้องขอมันย่อมหมายถึงชัยชนะของทางฝ่ายโจทก์ แถมการที่ศษลมีคำตัดสินที่เป็นที่สิ้นสุดออกมาอย่างรวดเร็วเช่นนี้ยังทำให้การฟ้องร้องคดีทางแพ่งที่ทางฝ่ายญาติของผู้เสียหายเรียกร้องไปยังพ่อ-แม่จำเลยเป็นจำนวนเงิน 120 ล้านบาทเดินหน้าต่อไปได้ทันทีหลังก่อนหน้าศาลแพ่งเองได้สั่งจำหน่ายคดีไว้ชั่วคราวเพราะต้องรอผลคดีทางอาญาก่อน
แต่กระนั้นก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่พากันตั้งคำถามว่าแล้วโทษของจำเลย ณ ตอนนี้ที่ว่าให้จำคุก 2 ปี(แต่ให้รอลงอาญาไว้ก่อน 4 ปี)/บำเพ็ญประโยชน์ 48 ชั่วโมงต่อปีเป็นเวลารวม 4 ปี และห้ามจำเลยขับรถยนต์จนกว่าจะมีอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์ทั้งหมดนี้มัน "สมน้ำสมเนื้อ" แล้วหรือกับความผิดของจำเลย
เพราะถึงแม้เรื่องของอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ใครๆ ไม่คาดคิดและไม่มีใครอยากจะให้เกิดและชีวิตเมื่อเสียไปแล้วจะเรียกร้องอย่างไรชีวิตนั้นก็ไม่มีวันกลับคืน แต่หลายคนก็มองว่าในเมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้วแถมยังมีการสูญเสียชีวิตที่มากมายถึงขนาดนี้ ขณะที่ตัวผู้กระทำผิดเองก็ดูท่าทีไร้ซึ่งสำนึกในสิ่งที่ทำลงไป (ตามคำให้สัมภาษณ์จากปากญาติของผู้เสียชีวิตที่ระบุว่าถึงตอนนี้ยังไม่ได้รับการเยียวยาใดๆ จากจำเลย ไร้การพูดคุยหรือโทรศัพท์มาหา) ดังนั้นบทลงโทษต่อความประมาทเลินเล่อครั้งนี้มันก็ควรจะสมน้ำสมเนื้อกันใช่หรือไม่?
"คุกมีไว้ขังหมากับคนจน..." ใครหลายคนต่างพากันนึกถึงประโยคนี้ขึ้นมาทันทีภายหลังรับรู้ถึงบทสรุป(ทางอาญา)ของคดีนี้ ก่อนจะถูกบางส่วนสวนกลับด้วยคำถามที่ว่าแล้วมันผิดด้วยหรือที่เขามีเงินประกันตัว เขามีเงินเสียค่าปรับ เขามีเงินเยียวยาและเขาสามารถเจรจากับผู้เสียหายได้ ก็ในเมื่อกฏหมายเองก็ระบุเอาไว้เช่นนั้น
พร้อมตั้งคำถามที่น่าสนใจด้วยว่าถ้าตัวเรา ญาติ หรือคนในครอบครัวต้องมาประสบอุบัติเหตุถูกรถขับเฉี่ยวชนจนต้องเสียเงินค่ารักษาด้วยราคาค่างวดที่เราเองไม่มีปัญญาจ่าย หากเลือกได้ระหว่างคู่กรณีซึ่งเป็นคนรวยที่มาพร้อมน้ำเสียงที่ไม่เป็นมิตรว่า..."เท่าไหร่ลื้อว่ามา เรื่องจะได้จบๆ" กับคนจนที่ตัวสั่นงันงกบอกด้วยน้ำเสียงรู้สึกผิดจริงๆ ว่า..."อย่าเอาเรื่องผมเลย ขืนเอาเรื่องผมต้องติดคุกแน่ๆ" เป็นเรา เราจะเลือกถูกใครชน?
คำถามนี้ว่าจะว่าไปแล้วก็ไม่ต่างอะไรไปจากคำถามที่ว่าแท้ที่จริงแล้วเราๆ ท่านๆ นั้นมองเรื่องของกฏหมายและบทลงโทษในแง่มุมไหนกันแน่?
บางคนอาจจะคิดว่าเป็นสิ่งที่ควรให้ความเคารพอย่างสูงสุด ไม่ควรจะฝ่าฝืน หากพลาดพลั้งทำผิดไปแล้วก็ควรจะละอาย สำนึกในความผิด ยอมรับบทลงโทษ ขณะที่บางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องอะไรที่ควรจะหยืดหยุ่น ฝ่าฝืนได้ถ้าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ และไม่มีคนเห็น
หรือบางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องท้าทายน่าหาช่องโหว่หากช่องโหว่นั้นนำไปซึ่งผลประโยชน์จำนวนมหาศาล และในขณะที่บางคนอาจจะมองเห็นเป็นเรื่องวุ่นวาย น่ารำคาญ เลี่ยงได้เลี่ยง หลีกได้หลีก และเมื่อพลาดพลั้งทำผิดถูกจับได้ก็เพียรหาช่องทางหนี หาวิธีลดโทษ สุดท้ายเมื่อโดนลงโทษไปแล้วก็ถือว่าแล้วกันไป ไม่จำเป็นจะต้องไปสำนึกหรือรู้สึกถึงความผิดในสิ่งที่ได้กระทำ ฯ
จะคิดอย่างไร จะเลือกคำตอบแบบไหนก็ไม่ต้องซีเรียสครับ เพราะไม่มีฏหมายระบุไว้ว่าคิดแบบไหนถูก คิดแบบไหนผิด?
เขียนถึงตรงนี้ก็ให้นึกถึงไปถึงเรื่องราวในพงศาวดารเกี่ยวกับ "พันท้ายนรสิงห์" (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8)นายท้ายเรือของพระเจ้าเสือที่ทำหัวเรือพระที่นั่งเอกชัยหักบริเวณแถวๆ คลองโคกขามระหว่างที่พระเจ้าเสือจะเสด็จไปประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำท่าจีน เมืองสาครบุรี เนื่องจากคลองดังกล่าวเป็นคลองที่คดเคี้ยวและมีกระแสน้ำรุนแรงเชี่ยวกราก (ขณะที่บางแง่มุมก็ระบุว่าเป็นความตั้งใจของเจ้าตัวเองที่ต้องการทำให้หัวเรือหักเพราะรู้มาว่าข้างหน้ามีพวกกบฎซุ่มคอยทำร้ายพระเจ้าเสืออยู่)
ในการนั้นสมเด็จพระเจ้าเสือเองก็ไม่อยากที่จะเอาผิดอะไรกับพันท้ายนรสิงห์เนื่องจากทรงเห็นว่าอีกฝ่ายเป็นทหารคนสนิท (ในอดีตทั้งสองเคยแข่งมวยคาดเชือกกันมาโดยที่พันท้ายนรสิงห์ (ชื่อเดิมก่อนรับราชการคือ "สิน") ไม่รู้ว่าอีกฝ่ายเป็นพระเจ้าเสือปลอมตัวมา) แถมเรื่องที่เกิดขึ้นก็อุบัติเหตุที่สุดวิสัย ที่สำคัญทั้งตนเองรวมถึงคนอื่นๆ ก็ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บอะไร ทว่าพันท้ายนรสิงห์เองกลับให้พระเจ้าเสือลงโทษตนเองให้ได้ทั้งๆ ที่รู้ว่าตามกฏมณเฑียรบาลนั้นคนที่ทำหัวเรือพระที่นั่งหักจะต้องโทษถึงขั้นถูกประหาร
ทรงปฏิเสธที่จะลงโทษไปถึง 2 ครั้ง ขณะที่พันท้ายนรสิงห์ก็ยังคงยืนกรานที่จะให้ลงโทษตนเองให้ได้เพื่อไม่ให้ใครเอาเป็นเยี่ยงอย่าง สุดท้ายเมื่อไม่มีทางเลือกพระเจ้าเสือจึงจำใจต้องสั่งประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์พร้อมสั่งตั้งศาลเพื่อเชิดชูในความซื่อสัตย์ ยึดมั่นในกฏระเบียบของอีกฝ่าย
วันนี้จบดื้อๆ ด้วยเรื่องเล่าของพันท้ายนรสิงห์ตรงนี้ก็แล้วกันครับ...
ASTVผู้จัดการออนไลน์ เพิ่มหมวดข่าว “โต๊ะญี่ปุ่น” นำเสนอความเคลื่อนไหวของข้อมูลข่าวสาร ตอบสนองผู้อ่านที่สนใจในประเทศญี่ปุ่น รวมทั้ง สรรสาระ เกร็ดความรู้ต่างๆ ที่ผู้อ่านควรรู้ และ ต้องรู้อีกมากมาย ติดตามเราได้นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ติดตามรับชมช่อง “Super บันเทิง” ได้ที่ Super บันเทิง live
ข่าวบันเทิง, ถูกต้อง, รวดเร็วฉับไว ทั้งไทย และเทศ http://www.superent.co.th
ติดตามความเคลื่อนไหวอินสตาแกรมดาราทั้งไทยและเทศตลอด 24 ชั่วโมงได้ที่ ซูเปอร์สตาแกรม
เกาะติดข่าวบันเทิงและร่วมวงเมาท์ดารากับ “ซ้อ 7” ก่อนใคร ผ่าน SMS โทรศัพท์มือถือทุกเครือข่าย ระบบ dtac - เข้าเมนู write Message พิมพ์ R แล้วส่งไปที่หมายเลข 1951540 ระบบ AIS - กด *468200311 แล้วโทร.ออก ระบบ True Move เข้าเมนู write Message พิมพ์ ENT แล้วส่งไปที่หมายเลข 4682000 *ค่าบริการเพียง 29 บาท ต่อเดือน ทดลองใช้ฟรี 15 วัน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก |