xs
xsm
sm
md
lg

เปิดโรงละครคาบูกิสุดไฮเทค-อนุรักษ์ศิลปะแห่งชาติด้วยความทันสมัย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

โรงละครคาบูกิแห่งใหม่ล่าสุดของ คาบูกิสะ ที่กำลังจะเปิดให้ผู้คนได้เข้าไปชมการแสดงกันในเดือน เม.ย. นี้ ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโตเกียว ใน กินซ่า ย่านจับจ่ายใช้สอยชื่อดัง/AFP
เอเอฟพี - โรงละครใหม่แกะกล่องของ “คาบูกิสะ” ซึ่งนำเสนอศิลปะการแสดงประจำชาติของญี่ปุ่น ที่ดำเนินการมามากกว่าร้อยปี ได้รูดม่านขึ้นแล้ว พร้อมอุปกรณ์สุดไฮเทค ในอาคารซึ่งตั้งข้างๆ กับบรรดาตึกสำนักงานใจกลางกรุงโตเกียว

โรงละครแห่งนี้ตั้งอยู่ในกินซ่า ย่านจับจ่ายใช้สอยอันโด่งดังของญี่ปุ่น และจะเริ่มเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้ามาชมการแสดงกันในเดือนหน้า พร้อมนำเสนอเทคโนโลยีให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงการแสดงคาบูกิได้ง่ายขึ้น กับการมีหน้าจอพิเศษให้สำหรับทุกที่นั่ง ที่จะขึ้นซับไตเติลเพื่ออธิบายความซับซ้อนของการแสดงให้กับผู้ชมทุกเพศและวัย ที่แม้แต่ชาวญี่ปุ่นโดยทั่วไปก็ไม่ได้เข้าใจลึกซึ้งทั้งหมด

ในตอนแรกบริการซับไตเติลพิเศษนี้จะมีเฉพาะภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ในการพูดคุยกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ผู้จัดการของโรงละครได้ยืนยันถึงแผนการ ว่าในอนาคตจะมีการเพิ่มภาษาต่างชาติเข้าไปด้วย โดยจะเริ่มต้นจากภาษาอังกฤษก่อน ซึ่งน่าจะเสร็จเรียบร้อยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ไม่ใช่แค่ส่วนของผู้ชมเท่านั้น โรงละครยังมีความพิเศษในส่วนของการแสดงด้วย กับห้องลับใต้เวที ที่สร้างด้วยความลึกถึง 16.45 เมตร ถือว่าลึกกว่าโรงละครทั่วไปถึง 4 เท่า ทำให้ระหว่างการแสดงทั้งผู้แสดง, อุปกรณ์ต่างๆ, รวมถึงฉากที่ใหญ่โตเป็นพิเศษสามารถปรากฏขึ้นมาบนเวทีได้ด้วยกลไกของเวทีที่สร้างเอาไว้ในตึก

แม้จะเต็มไปด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ โรงละครแห่งนี้ยังคงรักษาองค์ประกอบดั้งเดิมของคาบูกิเอาไว้เช่นเดียวกัน นั่นรวมถึงภายนอกของโรงละครที่สร้างเลียนแบบปราสาทและวัดแบบญี่ปุ่นยุคกลาง รวมถึงหลังคาโค้ง และโคมกระดาษสีแดงที่ประดับอยู่ด้านใน

คาบูกิ ศิลปะประจำชาติที่มีอายุเก่าแก่มากกว่า 400 ปีเป็นศิลปะการแสดงที่ประกอบไปด้วยนักแสดงชายล้วน มาพร้อมกับเครื่องแต่งกายอันวิจิตรพิสดาร และการแต่งหน้าฉูดฉาดราวกับสวมหน้ากาก

สำหรับโรงละครคาบูกิสะ อันมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ที่เริ่มเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1889 ได้เผยโฉมโรงละครใหม่แห่งนี้ ที่ประกอบไปด้วยบริเวณที่นั่งของผู้ชมถึง 4 ชั้น และสามารถจุคนดูได้ 1,800 คน ถือเป็นโรงละครที่ออกแบบปลูกสร้างใหม่ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เป็นครั้งที่ 5 ในรอบมากกว่า 100 ปีของ คาบูกิสะ

หลังโรงละครดั้งเดิมที่ปลูกสร้างด้วยไม้ในปี 1889 ต้องถูกทำลายไปด้วยอัคคีภัยที่เกิดจากเหตุไฟฟ้าขัดข้อง คาบูกิสะ ได้สร้างโรงละครหลังที่ 2 ขึ้นในปี 1921 พร้อมออกแบบให้ป้องกันไฟได้ แต่ยังต้องรักษารูปแบบสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นเหมือนเดิม แม้จะมีการใช้วัสดุก่อสร้างจากฝั่งตะวันตกบ้างก็ตาม

โดยโรงละครล่าสุดก่อนหน้านี้ของทาง คาบูกิสะถูกสร้างขึ้นในปี 1951 เพื่อทดแทนแห่งเดิมที่เสียหายจากระเบิดในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และเพิ่งมีการบูรณะใหม่อีกครั้งในปี 2010 เพื่อปรับปรุงความสามารถในการต้านทานแรงแผ่นดินไหวให้ได้มากขึ้น

หลังการแสดงชุด คาบูกิสะ ซาโยนาระ โคเอน เพื่อเป็นการบอกอำลาให้กับโรงละครเดิมที่ใช้มาหลายปี การก่อสร้างโรงละครใหม่ได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่กลางปี 2010 จนกระทั่งมาเสร็จสมบูรณ์เอาในปี 2013 ถึงตอนนี้โรงละครได้ตั้งอยู่บนตึกใหญ่ที่มีความสูงถึง 143 เมตร และเป็นหนึ่งในตึกที่สูงที่สุดในย่านเลยทีเดียว



โรงละครคาบูกิแห่งใหม่ล่าสุดของ คาบูกิสะ ที่กำลังจะเปิดให้ผู้คนได้เข้าไปชมการแสดงกันในเดือน เม.ย.นี้ ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโตเกียว ใน กินซ่า ย่านจับจ่ายใช้สอยชื่อดัง/AFP



หน้าจอพิเศษสำหรับทุกที่นั่ง ที่จะขึ้นซับไตเติลเพื่ออธิบายความซับซ้อนของการแสดงให้กับผู้ชมทุกเพศและวัย ที่แม้แต่ชาวญี่ปุ่นโดยทั่วไปก็ไม่ได้เข้าใจลึกซึ้งทั้งหมด/AFP



โรงละครที่จุดผู้ชมได้ทั้งหมด 1,800 คน/AFP



โรงละครคาบูกิสุดไฮเทคนี้พร้อมจะเปิดบริการในเดือน เม.ย.นี้แล้วหลังใช้เวลาก่อสร้างมาร่วม 3 ปี/AFP



แม้จะเต็มไปด้วยความทันสมัย แต่โรงละครของคาบูกิสะ ยังคงเต็มไปด้วยเอกลักษณ์ความเป็นญี่ปุ่น



พนักงานจากร้านอาหารฝรั่งเศส Fauchon โชว์อาหารที่ใช้สีสัญลักษณ์ของคาบูกิจากร้านที่ตั้งอยู่บริเวณโถงใหญ่ของโรงละคร/AFP

ข่าวบันเทิง, ถูกต้อง, รวดเร็วฉับไว ทั้งไทย และเทศ http://www.superent.co.th

ติดตามความเคลื่อนไหวอินสตาแกรมดาราทั้งไทยและเทศตลอด 24 ชั่วโมงได้ที่ ซูเปอร์สตาแกรม

เกาะติดข่าวบันเทิงและร่วมวงเมาท์ดารากับ “ซ้อ 7” ก่อนใคร ผ่าน SMS โทรศัพท์มือถือทุกเครือข่าย
ระบบ dtac - เข้าเมนู write Message พิมพ์ R แล้วส่งไปที่หมายเลข 1951540
ระบบ AIS - กด *468200311 แล้วโทร.ออก
ระบบ True Move และ Hutch - เข้าเมนู write Message พิมพ์ ENT แล้วส่งไปที่หมายเลข 4682000
*ค่าบริการเพียง 29 บาท ต่อเดือน ทดลองใช้ฟรี 15 วัน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก

กำลังโหลดความคิดเห็น