คอลัมน์เพลงวาน โดย : บอน บอระเพ็ด (skbon109@hotmail.com)
นรกเป็นฉันใด คนที่เคยไปเท่านั้นถึงจะรู้ แต่กับผลงานเพลงชุด “Kill 'Em All” ที่ 4 หนุ่มหัวขบถ วง “เมทัลลิก้า”(Metallica) ส่งออกมาเขย่ายุทธจักรดนตรีในปี ค.ศ. 1983(พ.ศ.2526) คนหัวเก่า เหล่านักอนุรักษ์นิยมต่างบอกว่านี่เป็นดนตรีจากนรก พร้อมกับตีตราให้วงนี้เป็นดังปีศาจ เป็นดังซาตาน ที่นรกส่งมาเกิด
แต่ 4 หนุ่มเมทัลลิก้า อันได้แก่ “เจมส์ เฮทฟิลด์”(James Hetfield) - แหกปากร้องนำ(และสำรอกในหลายเพลง) ริทึ่มกีตาร์, “ลาร์ส อุลริช”(Lars Ulrich) - หวดกระหน่ำฟาดกลอง, “เคิร์ก แฮมเม็ตต์”(Kirk Hammett) -ขยี้ กระชากเส้นลวด 6 สาย ลีด โซโลกีตาร์/ร้องประสาน และ “คลิฟฟ์ เบอร์ตัน”(Cliff Burton) ที่ตะปบ ทึ้งเบส และร้องประสานนั้น หาได้ยี่หระไม่
เนื่องเพราะอีกด้านหนึ่ง เขาได้รับการตอบรับจากแฟนเพลงเป็นอย่างดี ที่สำคัญคืองานเพลงชุดนี้มันสามารถการแจ้งเกิดแบบไม่ต้องไปอำเภอให้กับวงนี้ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งนี่ยังถือเป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญของวงการเพลงร็อก เพราะมันนำไปสู่การเปิดประวัติศาสตร์ของดนตรี(โคตร)หนักกะโหลกที่ช่วงแรกๆนิยมเรียกว่า“สปีดเมทัล”(Speed Metal) ก่อนที่จะตกผลึกเรียกขานเป็น “แธรชเมทัล”(Thrash Metal) ในภายหลัง (จากนั้นแธรช เมทัลได้แตกหน่อปีศาจออกไปเป็น “เดธ เมทัล”(Death Metal)ในเวลาต่อมา)
อย่างไรก็ดี แม้ “Kill 'Em All” (อัลบั้มที่ชื่อเหมาะกับนักการเมืองชั้นเลวของบ้านเรามาก) จะไปได้สวย แต่ดูเหมือนเมทัลลิก้ายังไม่พบซาวนด์ที่เป็นตัวตนของตัวเอง(งานเพลงชุดนี้ยังมีเงาของเฮฟวี่ เมทัลหนักๆปรากฏอยู่อย่างเด่นชัด)
จนกระทั่งผลงานลำดับที่สอง “Ride the Lightning”(1984) เมทัลลิก้าได้ค้นพบซาวนด์และแนวทางอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองทั้งภาคดนตรีและเสียงร้องนำ ทำให้เมทัลลิก้าก้าวขึ้นมาเป็นหัวหอกของวงแธรชชั้นนำแบบไม่มีข้อกังขา แถมยังส่งอิทธิพลต่อวงแธรชรุ่นต่อๆมา ซึ่งหลายต่อมาหลายวงต่างยึดแนวทางนี้เป็นสรณะ
หลังออก Ride the Lightning มาวงเมทัลลิก้าว่างเว้นไป 1 ปี ก่อนกลับมาเขย่าวงการเพลงอีกครั้งกับผลงานเพลงชุด “Master of Puppets”(1986) หนึ่งในสุดยอดอัลบั้มของวง ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับจากแฟนเพลง นักวิจารณ์ และสำนักทางดนตรีหลายสำนักว่า นี่คืออัลบั้มแธรชเมทัลที่ดีที่สุดในโลกนับตั้งแต่มีแนวเพลงนี้อุบัติขึ้นมาในบรรณพิภพ (สำหรับใครที่มีอัลบั้มแธรชเมทัลในดวงใจ และคิดว่านั่นคืออัลบั้มแธรชที่ดีที่สุดโลกก็ถือเป็นความชอบส่วนบุคคล แต่บทความนี้ขออ้างอิงจากการยกย่องตามกระแสหมู่มากเป็นหลัก)
อัลบั้ม Master of Puppets สามารถนำบทเพลงอันเดอร์กราวน์เดินขึ้นสู่บนดินเข้าสู่กระแสเมนสตรีม โดยสามารถไต่ชาร์ตบิลบอร์ด 200 ขึ้นไปถึงอันดับที่ 29 และอยู่ในชาร์ตนานถึง 72 สัปดาห์ ส่งผลให้พวกเขาได้รับรางวัล Gold เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 1986 และได้รับรางวัล Platinum อีกถึง 6 ครั้ง ซึ่งถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมากทั้งรางวัลและยอดขาย
อัลบั้มนี้สมาชิกทั้ง 4 ที่เคยร่วมงานกันมาตังแต่ชุดแรกยังอยู่กันเหนียวแน่น ขณะที่โปรดิวเซอร์ก็ยังคงเป็น“เฟลมมิ่ง ราสมุสเซ่น”(Flemming Rasmussen) ที่เคยร่วมงานและกำหนดทิศทางอันชัดเจนของวงมาตั้งแต่ชุดที่แล้ว(Ride the Lightning)
Master of Puppets มีทั้งหมด 8 เพลงเหมือน Ride the Lightning เปิดตัวด้วยเพลง“Battery” ที่ขึ้นอินโทรนำมาด้วยเสียงใสๆของกีตาร์ในซุ่มเสียงอะคูสติก(เช่นเดียวกับเพลง Fight Fire With Fire ในชุดที่แล้ว) เล่นซ้อนไลน์ย้ำตัวโน้ตไล่กันมา 3-4 เที่ยว ก่อนจัดหนักใส่มากับการกระชากคอร์ดเสียงแตกพร่า ไลน์โซโลไลน์ใช้โน้ตชุดเดียวกับอินโทรแต่เปลี่ยนจากเสียงอะคูสติกมาเป็นเล่นผ่านดิสทรอชั่นแทน
จากนั้นก็เป็นการกระหน่ำสับคอร์ดกระจุย กลองหวดไม่ยั้ง น้าเจมส์ตะโกนแหกปากอย่างสุดมัน มีการเปิดพื้นที่ให้ส่วนป๋าเคิร์กโซโลเร็วจี๋บ้างในวรรคสั้นๆเป็นการเรียกน้ำย่อย ก่อนที่จะเปลี่ยนพาร์ทดึงจังหวะหน่วงลงมาเบรกอารมณ์ แล้วก็หันไประดมใส่ความมันกันอีกครั้ง นำโดยกีตาร์โซโลเร็วปานพายุบุแคมจากลูกนิ้วของป๋าเคิร์ก แล้วต่อด้วยลูกกระหน่ำสับคอร์ดไม่ยั้งจากมือกีตาร์ทั้งสอง โดยไม่ลืมเปิดพื้นที่ให้น้าลาร์ส(เดี่ยว)โซโลกระหน่ำกลองโชว์สั้นพอเหม็นปากเหม็นคอ เพื่อดึงกลับเข้าสู่ท่อนร้องอีกครั้ง
Battery ไม่ได้เป็นเพลงโฆษณาแบตเตอรี่หรือชวนไปตีแบตเตอรี่ หากแต่เป็นเพลงที่เนื้อหาหนักเหมือนภาคดนตรีว่าด้วยสงครามเป็นหลัก
แทรคต่อไปเป็น “Master of Puppets” บทเพลงชื่อเดียวกับชื่ออัลบั้ม(เหมือนกับอัลบั้มชุดที่แล้ว ที่บทเพลงในแทรคที่สองใช้ชื่อเดียวกับชื่ออัลบั้ม คือ Ride the Lightning) Master of Puppets เป็นบทเพลงแธรชเมทัลสุดคลาสสิค ขึ้นอินโทรมาแบบหนักหน่วง อัดสปีดใส่ไม่ยั้งกับลูกริทึ่มที่สับกระหน่ำ แต่ก็มีลีลาและจังหวะจะโคนอยู่ในตัว
พอเข้าท่อนร้องเจมส์แหกปากกึ่งสำรอกพูดถึงเรื่องราวของยาเสพติดได้อย่างดุดัน เพลงนี้หากวางโครงสร้างไว้แค่แพทเทิร์นเดียว คือสับคอร์ดกระชากอย่างเดียวคงไม่ได้รับการยกย่อง แต่พอเล่นมาถึงช่วงกลางเพลงมีการเปลี่ยนพาร์ทแบบฉับพลันด้วยการทิ้งช่วงเว้นว่างให้เงียบไว้ชั่วอึดใจหนึ่ง ก่อนสร้างอารมณ์เพลงขึ้นมาใหม่กับลูกเกากีตาร์เสียงใสๆ ลูกโซโลอมหวาน ติดอ้อยสร้อย เป็นลูกโซโลหวาน 1 ใน ไม่กี่เพลงของเมทัลลิก้า จากนั้นดนตรีได้ทวีความหนักหน่วงขึ้นแบบไม่หักโหม คือกลอง เบส กีตาร์ พร้อมใจกันหนุนส่ง เข้าสู่ท่อนร้องในอารมณ์เดิม และช่วงโซโลกีตาร์ ช่วงกระหน่ำสับคอร์ดอันดุดันและรวดเร็ว
เพลง Master of Puppets แม้มีความยาวถึง 8 นาทีกว่า ทว่ากลับฟังไม่น่าเบื่อ เพราะเมทัลลิก้ามีการจัดพาร์ทจัดวางจังหวะ โครงสร้างเพลงอย่างเหมาะสม ลงตัว สมกับเป็นบทเพลงแธรชเมทัลสุดคลาสสิค
ต่อกันด้วย “The Thing That Should” จังหวะหน่วงลงมาหน่อย แต่ยังคงหนักแน่น ดุดัน อีกทั้งยังฟังหม่นมัว โดยเฉพาะเสียงอะคูสติกกีตาร์เล่นโน้ตซ้ำ ย้ำ ไปตลอดนั้นมันฟังหม่น วังเวง เป็นบ้า
“Welcome Home (Sanitarium)” นี่เป็นอีกหนึ่งเพลงดังของวง เป็นเพาเวอร์ บัลลาดที่ทางวงมักใช้เล่นสลับอารมณ์ในคอนเสิร์ตอยู่บ่อยครั้ง
เพลงนี้ขึ้นอินโทรมานุ่มๆกับลูกปิ๊กกิ้งกีตาร์ในเสียงอะคูสติก แล้วตามด้วยการเติมความเข้มเข้ามาของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นนำโดยเสียงโซโลกีตาร์หวานแต่หนักแน่นของเคิร์ก ตัวเพลงเดินไปตามทางเดียวกับ “Fade To Black” ในชุดที่แล้ว คือจากนุ่มหวานนำไปสู่กับหนัก ดุ แบบพอเป็นพิธีในท่อนแรก จากนั้นดึงอารมณ์กลับมาสู่ความนุ่มหวานอีกครั้ง แล้วเดินไปตามแพทเทิร์นเดิม แต่กล่าวนี้ไปไกลกว่านั้น คือพาออกไปสู่ความหนักหน่วง ดุดัน แบบจัดเต็มชนิดที่ฟังท่อนแรกกับท่อนหลังต่างกันราวฟ้ากับเหว ก่อนที่จะไปเปลี่ยนพาร์ทกันอีกครั้งในท่อนจบอย่างสุดมัน
แทรคที่ 5 “Disposable Heroes” อีกหนึ่งเพลงที่พูดถึงสงคราม ว่าด้วยเรื่องราวของทหารที่ผ่านสมรภูมิมาอย่างโชกโชน ดนตรียังคงหนักแน่น กีตาร์สับคอร์ดไม่ยั้ง กลองตีลูกขัดได้อย่างน่าฟัง ท่อนโซโลกีตาร์มีการสร้างวรรคที่โดดเด่นถึง 4-5 วรรค
“Leper Messiah” เพลงนี้เมทัลลิก้าแต่งอัดนักบวชหัวโบราณอย่างแสบสันต์ เพราะช่วงนั้นนักบวชกลุ่มหนึ่งได้ตั้งองค์กรพิเศษขึ้นมาเพื่อจัดการกับดนตรี เฮฟวี่ แธรช เมทัล เพราะพวกเขามองว่านี่เป็นอันตรายต่อเยาวชนและผู้ฟัง นี่ถือเป็นเรื่องราวที่มีมาหลายยุค หลายสมัย ไม่เว้นแม้แต่สมัยนี้ ที่บทเพลงบางแนว การทำเพลงของหลายๆวงถูกมองว่าเป็นอันตรายต่อชนชั้นนำ และพวกหัวอนุรักษ์นิยมทั้งหลาย
แทรครองสุดท้ายเป็น “Orion” เพลงบรรเลงสุดมัน เพลงนี้วางโครงสร้างปูพื้นด้วยการสับคอร์ดหนักๆดำเนินเรื่องมา ก่อนสลับพาร์ทเปลี่ยนไปมาระหว่างภาคริทึ่มกับภาคโซโล แล้วเว้นวรรคเงียบหายไปชั่วขณะก่อนตั้งต้นดำเนินเรื่องกันใหม่กับกีตาร์คู่เล่น 2 ไลน์ประสานสอดรับกันมา โดยมีเสียงเบสเล่นโน้ตสวนทางเด่นขึ้นมาฟังโคตรเจ๋ง
Orion แม้จะยาวกว่า 8 นาทีแต่เมทัลลิก้าทำออกมาได้รื่นไหลไม่น่าเบื่อ ตัวเพลงมีจังหวะจะโคน มีเร็ว มีช้า มีหนัก มีเบา มีผ่อนอารมณ์เร่งอารมณ์ จนเพลงนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นบทเพลงบรรเลงในแนวแธรชเมทัลอันดับต้นๆ ซึ่งเครดิตอันนี้ทางวงยกให้กับ คลิฟฟ์ เบอร์ตัน บือเบส ปลิดวิญญาณ ที่เป็นผู้วางโครงสร้างของเพลงนี้
ส่งท้ายความมันแบบเต็มเหนี่ยวกับแทรคสุดท้าย “Damage, Inc.” ที่ฟังแล้วบอกได้คำเดียวสั้นๆว่าโคตรมัน แถมมีลูกเล่น ลีลา แอบแฝงอยู่ไม่น้อย
และนั่นก็เป็น 8 บทเพลงแธรชชั้นยอดจากยอดอัลบั้ม Master of Puppets ซึ่งชุดนี้จะว่าไปมีหลายส่วนที่คล้ายกับชุดที่ 2 คือ Ride the Lightning ไม่ว่าจะเป็นการเรียงลำดับเพลง การวางโครงสร้างเพลง หรือแม้กระทั่งการกำหนดจำนวนเพลงที่มี 8 เพลงเท่ากัน
อย่างไรก็ดีหากเปรียบผลงานเพลงทั้ง 2 ชุด Ride the Lightning เป็นดังการค้นพบตัวเองของเมทัลลิก้า งานเพลงจึงออกมา สดใหม่ ขณะที่ Master of Puppets เป็นดังการตกผลึกพัฒนาความเป็นตัวตนของวงๆนี้ งานเพลงชุดนี้จึงออกมาลงตัวยอดเยี่ยม
นอกจากนี้ฝีมือของทั้ง 4 ก็จัดอยู่ในช่วงกำลังขึ้นหม้อ เป็นการเล่นที่มีทีมเวิร์คอันยอดเยี่ยม ลาร์สตีกลองได้อย่างหนักแน่น ดุดัน แต่รื่นไหล รับส่ง มีลูกหยอด ลูกขัด อันโดดเด่น ซึ่งหลังจากนั้นมาเขาได้ขึ้นทำเนียบมือยอดมือกลองสายร็อกในอันดับต้นๆของโลก ส่วนคลิฟฟ์ถือเป็นยอดมือเบสอีกคนหนึ่งที่นอกจากจะวางไลน์เบสเท่ๆ หาช่องว่างให้ไลน์เบสฟังเด่นขึ้นมา มีลูกรัวเร็วเบสปานนรกแล้ว เขายังมีส่วนร่วมในการแต่งเพลง และวางโครงสร้างให้กับหลายๆเพลง
ขณะที่เคิร์กนั้นมีสำเนียงกีตาร์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ยามหวานก็เล่นได้หวานพลิ้วแฝงหนักแน่น ส่วนยามดุดัน ยามรวดเร็ว นั้นก็ทำได้อย่างยอดเยี่ยม จนได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในมือกีตาร์ร็อกยอดเยี่ยมของโลก ด้านเจมส์ การแต่งเพลงของเขายอดเยี่ยมกระเทียมเจียว เสียงร้องของเขาทรงพลัง สำรอกได้อยากสะใจพระเดชพระคุณ แถมเจมส์ยังเป็นมือกีตาร์ริทึ่มที่โลกยกย่อง ที่สำคัญคือสามารถเล่นไปร้องไปได้อย่างเนียนไม่มีที่ติ โดยเฉพาะกับลีลาก้มหัวสำรอกใส่ไมค์นั้นเป็นดังลายเซ็นต์ของเจมส์ที่มีบางวงเลียนแบบ
ที่สำคัญคือทั้งเจมส์และเคิร์กได้รับการยกย่องว่าเป็นคู่มือกีตาร์ที่หาตัวจับยาก ลีลาการสับคอร์ดเล่นริทึ่มคู่กันของทั้งสองคน ถือเป็นแม่แบบในการเล่นกีตาร์คู่ของหลายๆวง เพราะแม้จะเล่นคอร์ดเดียวกัน แต่ทั้งคู่จับโน้ตคนละตัวกัน คนหนึ่งจะจับโน้ต G,B ส่วนอีกคนจับโน้ต G,D ซึ่งเมื่อเล่นพร้อมกันแล้วจะออกมาเป็นคอร์ด G ที่กลมกลืน โดยเหตุที่ทั้งคู่ใช้วิธีจับโน้ตคนละตัวในคอร์ดเดียวกันแบบนี้ เหตุผลหลักก็คือด้วยสปีดที่เร็วจี๋ของเพลง การจับคอร์ด เปลี่ยนคอร์ด ด้วยวิธีการจับแบบนี้มันจะรื่นไหลง่ายกว่า อีกทั้งกับซาวนด์กีตาร์ที่เล่นผ่านเอฟเฟคแตกพร่าระยับนั้น การเล่นริทึ่มของกีตาร์คู่แบบนี้มันฟังเคลียร์ชัดกว่า
และด้วยความลงตัวของ Master of Puppets ทั้งภาคดนตรี เนื้อร้อง การตกผลึกในแนวทางของตัวเอง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ รวมไปถึงงานเพลงที่ออกมาลงตัวจากทีมเวิร์คอันยอดเยี่ยม(งานนี้ต้องให้เครดิตโปรดิวเซอร์อย่างเฟลมมิ่งด้วย) ทำให้อัลบั้มนี้ได้รับการยกย่องจากหลายทิศทางให้เป็นอัลบั้มแธรชเมทัลที่ดีที่สุดในบรรณพิภพ ซึ่ง ณ วันนี้ ยังคงไม่มีผลงานเพลงชุดใดมาโค่นตำแหน่งอัลบั้มที่ดีที่สุดในโลกจาก Master of Puppets ลงไปได้
*****************************************
แกะกล่อง
ศิลปิน : Santana
อัลบั้ม : Ultimate Santana
ผ่านพ้นไปสำหรับคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบอีกครั้งของ “ซานตาน่า” สำหรับผู้ที่พลาดคอนเสิร์ตหรือชมคอนเสิร์ตแล้ว เสียงกีตาร์อันเป็นเอกลักษณ์ของ “คาร์ลอส ซานตาน่า” มันบาดลึกกินใจจนอยากจะหาผลงานเพลงของซานตาน่ามาฟังและเก็บไว้ในคอลเลคชั่น
อัลบั้ม “Ultimate Santana” เป็นทางเลือกที่จะตอบโจทย์ความเป็นซานตาน่าได้เป็นอย่างดี เพราะนี่คือ ผลงานรวมเพลงที่ดีที่สุดจากทุกยุคของวงดนตรีวงนี้ มีทั้งหมด 17 เพลง 18 แทรค มีบทเพลงดังๆมากมาย อาทิ “Black Magic Woman”, “Smooth”, “The Game of Love” และ “Samba Pa Ti” เป็นต้น
นรกเป็นฉันใด คนที่เคยไปเท่านั้นถึงจะรู้ แต่กับผลงานเพลงชุด “Kill 'Em All” ที่ 4 หนุ่มหัวขบถ วง “เมทัลลิก้า”(Metallica) ส่งออกมาเขย่ายุทธจักรดนตรีในปี ค.ศ. 1983(พ.ศ.2526) คนหัวเก่า เหล่านักอนุรักษ์นิยมต่างบอกว่านี่เป็นดนตรีจากนรก พร้อมกับตีตราให้วงนี้เป็นดังปีศาจ เป็นดังซาตาน ที่นรกส่งมาเกิด
แต่ 4 หนุ่มเมทัลลิก้า อันได้แก่ “เจมส์ เฮทฟิลด์”(James Hetfield) - แหกปากร้องนำ(และสำรอกในหลายเพลง) ริทึ่มกีตาร์, “ลาร์ส อุลริช”(Lars Ulrich) - หวดกระหน่ำฟาดกลอง, “เคิร์ก แฮมเม็ตต์”(Kirk Hammett) -ขยี้ กระชากเส้นลวด 6 สาย ลีด โซโลกีตาร์/ร้องประสาน และ “คลิฟฟ์ เบอร์ตัน”(Cliff Burton) ที่ตะปบ ทึ้งเบส และร้องประสานนั้น หาได้ยี่หระไม่
เนื่องเพราะอีกด้านหนึ่ง เขาได้รับการตอบรับจากแฟนเพลงเป็นอย่างดี ที่สำคัญคืองานเพลงชุดนี้มันสามารถการแจ้งเกิดแบบไม่ต้องไปอำเภอให้กับวงนี้ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งนี่ยังถือเป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญของวงการเพลงร็อก เพราะมันนำไปสู่การเปิดประวัติศาสตร์ของดนตรี(โคตร)หนักกะโหลกที่ช่วงแรกๆนิยมเรียกว่า“สปีดเมทัล”(Speed Metal) ก่อนที่จะตกผลึกเรียกขานเป็น “แธรชเมทัล”(Thrash Metal) ในภายหลัง (จากนั้นแธรช เมทัลได้แตกหน่อปีศาจออกไปเป็น “เดธ เมทัล”(Death Metal)ในเวลาต่อมา)
อย่างไรก็ดี แม้ “Kill 'Em All” (อัลบั้มที่ชื่อเหมาะกับนักการเมืองชั้นเลวของบ้านเรามาก) จะไปได้สวย แต่ดูเหมือนเมทัลลิก้ายังไม่พบซาวนด์ที่เป็นตัวตนของตัวเอง(งานเพลงชุดนี้ยังมีเงาของเฮฟวี่ เมทัลหนักๆปรากฏอยู่อย่างเด่นชัด)
จนกระทั่งผลงานลำดับที่สอง “Ride the Lightning”(1984) เมทัลลิก้าได้ค้นพบซาวนด์และแนวทางอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองทั้งภาคดนตรีและเสียงร้องนำ ทำให้เมทัลลิก้าก้าวขึ้นมาเป็นหัวหอกของวงแธรชชั้นนำแบบไม่มีข้อกังขา แถมยังส่งอิทธิพลต่อวงแธรชรุ่นต่อๆมา ซึ่งหลายต่อมาหลายวงต่างยึดแนวทางนี้เป็นสรณะ
หลังออก Ride the Lightning มาวงเมทัลลิก้าว่างเว้นไป 1 ปี ก่อนกลับมาเขย่าวงการเพลงอีกครั้งกับผลงานเพลงชุด “Master of Puppets”(1986) หนึ่งในสุดยอดอัลบั้มของวง ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับจากแฟนเพลง นักวิจารณ์ และสำนักทางดนตรีหลายสำนักว่า นี่คืออัลบั้มแธรชเมทัลที่ดีที่สุดในโลกนับตั้งแต่มีแนวเพลงนี้อุบัติขึ้นมาในบรรณพิภพ (สำหรับใครที่มีอัลบั้มแธรชเมทัลในดวงใจ และคิดว่านั่นคืออัลบั้มแธรชที่ดีที่สุดโลกก็ถือเป็นความชอบส่วนบุคคล แต่บทความนี้ขออ้างอิงจากการยกย่องตามกระแสหมู่มากเป็นหลัก)
อัลบั้ม Master of Puppets สามารถนำบทเพลงอันเดอร์กราวน์เดินขึ้นสู่บนดินเข้าสู่กระแสเมนสตรีม โดยสามารถไต่ชาร์ตบิลบอร์ด 200 ขึ้นไปถึงอันดับที่ 29 และอยู่ในชาร์ตนานถึง 72 สัปดาห์ ส่งผลให้พวกเขาได้รับรางวัล Gold เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 1986 และได้รับรางวัล Platinum อีกถึง 6 ครั้ง ซึ่งถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมากทั้งรางวัลและยอดขาย
อัลบั้มนี้สมาชิกทั้ง 4 ที่เคยร่วมงานกันมาตังแต่ชุดแรกยังอยู่กันเหนียวแน่น ขณะที่โปรดิวเซอร์ก็ยังคงเป็น“เฟลมมิ่ง ราสมุสเซ่น”(Flemming Rasmussen) ที่เคยร่วมงานและกำหนดทิศทางอันชัดเจนของวงมาตั้งแต่ชุดที่แล้ว(Ride the Lightning)
Master of Puppets มีทั้งหมด 8 เพลงเหมือน Ride the Lightning เปิดตัวด้วยเพลง“Battery” ที่ขึ้นอินโทรนำมาด้วยเสียงใสๆของกีตาร์ในซุ่มเสียงอะคูสติก(เช่นเดียวกับเพลง Fight Fire With Fire ในชุดที่แล้ว) เล่นซ้อนไลน์ย้ำตัวโน้ตไล่กันมา 3-4 เที่ยว ก่อนจัดหนักใส่มากับการกระชากคอร์ดเสียงแตกพร่า ไลน์โซโลไลน์ใช้โน้ตชุดเดียวกับอินโทรแต่เปลี่ยนจากเสียงอะคูสติกมาเป็นเล่นผ่านดิสทรอชั่นแทน
จากนั้นก็เป็นการกระหน่ำสับคอร์ดกระจุย กลองหวดไม่ยั้ง น้าเจมส์ตะโกนแหกปากอย่างสุดมัน มีการเปิดพื้นที่ให้ส่วนป๋าเคิร์กโซโลเร็วจี๋บ้างในวรรคสั้นๆเป็นการเรียกน้ำย่อย ก่อนที่จะเปลี่ยนพาร์ทดึงจังหวะหน่วงลงมาเบรกอารมณ์ แล้วก็หันไประดมใส่ความมันกันอีกครั้ง นำโดยกีตาร์โซโลเร็วปานพายุบุแคมจากลูกนิ้วของป๋าเคิร์ก แล้วต่อด้วยลูกกระหน่ำสับคอร์ดไม่ยั้งจากมือกีตาร์ทั้งสอง โดยไม่ลืมเปิดพื้นที่ให้น้าลาร์ส(เดี่ยว)โซโลกระหน่ำกลองโชว์สั้นพอเหม็นปากเหม็นคอ เพื่อดึงกลับเข้าสู่ท่อนร้องอีกครั้ง
Battery ไม่ได้เป็นเพลงโฆษณาแบตเตอรี่หรือชวนไปตีแบตเตอรี่ หากแต่เป็นเพลงที่เนื้อหาหนักเหมือนภาคดนตรีว่าด้วยสงครามเป็นหลัก
แทรคต่อไปเป็น “Master of Puppets” บทเพลงชื่อเดียวกับชื่ออัลบั้ม(เหมือนกับอัลบั้มชุดที่แล้ว ที่บทเพลงในแทรคที่สองใช้ชื่อเดียวกับชื่ออัลบั้ม คือ Ride the Lightning) Master of Puppets เป็นบทเพลงแธรชเมทัลสุดคลาสสิค ขึ้นอินโทรมาแบบหนักหน่วง อัดสปีดใส่ไม่ยั้งกับลูกริทึ่มที่สับกระหน่ำ แต่ก็มีลีลาและจังหวะจะโคนอยู่ในตัว
พอเข้าท่อนร้องเจมส์แหกปากกึ่งสำรอกพูดถึงเรื่องราวของยาเสพติดได้อย่างดุดัน เพลงนี้หากวางโครงสร้างไว้แค่แพทเทิร์นเดียว คือสับคอร์ดกระชากอย่างเดียวคงไม่ได้รับการยกย่อง แต่พอเล่นมาถึงช่วงกลางเพลงมีการเปลี่ยนพาร์ทแบบฉับพลันด้วยการทิ้งช่วงเว้นว่างให้เงียบไว้ชั่วอึดใจหนึ่ง ก่อนสร้างอารมณ์เพลงขึ้นมาใหม่กับลูกเกากีตาร์เสียงใสๆ ลูกโซโลอมหวาน ติดอ้อยสร้อย เป็นลูกโซโลหวาน 1 ใน ไม่กี่เพลงของเมทัลลิก้า จากนั้นดนตรีได้ทวีความหนักหน่วงขึ้นแบบไม่หักโหม คือกลอง เบส กีตาร์ พร้อมใจกันหนุนส่ง เข้าสู่ท่อนร้องในอารมณ์เดิม และช่วงโซโลกีตาร์ ช่วงกระหน่ำสับคอร์ดอันดุดันและรวดเร็ว
เพลง Master of Puppets แม้มีความยาวถึง 8 นาทีกว่า ทว่ากลับฟังไม่น่าเบื่อ เพราะเมทัลลิก้ามีการจัดพาร์ทจัดวางจังหวะ โครงสร้างเพลงอย่างเหมาะสม ลงตัว สมกับเป็นบทเพลงแธรชเมทัลสุดคลาสสิค
ต่อกันด้วย “The Thing That Should” จังหวะหน่วงลงมาหน่อย แต่ยังคงหนักแน่น ดุดัน อีกทั้งยังฟังหม่นมัว โดยเฉพาะเสียงอะคูสติกกีตาร์เล่นโน้ตซ้ำ ย้ำ ไปตลอดนั้นมันฟังหม่น วังเวง เป็นบ้า
“Welcome Home (Sanitarium)” นี่เป็นอีกหนึ่งเพลงดังของวง เป็นเพาเวอร์ บัลลาดที่ทางวงมักใช้เล่นสลับอารมณ์ในคอนเสิร์ตอยู่บ่อยครั้ง
เพลงนี้ขึ้นอินโทรมานุ่มๆกับลูกปิ๊กกิ้งกีตาร์ในเสียงอะคูสติก แล้วตามด้วยการเติมความเข้มเข้ามาของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นนำโดยเสียงโซโลกีตาร์หวานแต่หนักแน่นของเคิร์ก ตัวเพลงเดินไปตามทางเดียวกับ “Fade To Black” ในชุดที่แล้ว คือจากนุ่มหวานนำไปสู่กับหนัก ดุ แบบพอเป็นพิธีในท่อนแรก จากนั้นดึงอารมณ์กลับมาสู่ความนุ่มหวานอีกครั้ง แล้วเดินไปตามแพทเทิร์นเดิม แต่กล่าวนี้ไปไกลกว่านั้น คือพาออกไปสู่ความหนักหน่วง ดุดัน แบบจัดเต็มชนิดที่ฟังท่อนแรกกับท่อนหลังต่างกันราวฟ้ากับเหว ก่อนที่จะไปเปลี่ยนพาร์ทกันอีกครั้งในท่อนจบอย่างสุดมัน
แทรคที่ 5 “Disposable Heroes” อีกหนึ่งเพลงที่พูดถึงสงคราม ว่าด้วยเรื่องราวของทหารที่ผ่านสมรภูมิมาอย่างโชกโชน ดนตรียังคงหนักแน่น กีตาร์สับคอร์ดไม่ยั้ง กลองตีลูกขัดได้อย่างน่าฟัง ท่อนโซโลกีตาร์มีการสร้างวรรคที่โดดเด่นถึง 4-5 วรรค
“Leper Messiah” เพลงนี้เมทัลลิก้าแต่งอัดนักบวชหัวโบราณอย่างแสบสันต์ เพราะช่วงนั้นนักบวชกลุ่มหนึ่งได้ตั้งองค์กรพิเศษขึ้นมาเพื่อจัดการกับดนตรี เฮฟวี่ แธรช เมทัล เพราะพวกเขามองว่านี่เป็นอันตรายต่อเยาวชนและผู้ฟัง นี่ถือเป็นเรื่องราวที่มีมาหลายยุค หลายสมัย ไม่เว้นแม้แต่สมัยนี้ ที่บทเพลงบางแนว การทำเพลงของหลายๆวงถูกมองว่าเป็นอันตรายต่อชนชั้นนำ และพวกหัวอนุรักษ์นิยมทั้งหลาย
แทรครองสุดท้ายเป็น “Orion” เพลงบรรเลงสุดมัน เพลงนี้วางโครงสร้างปูพื้นด้วยการสับคอร์ดหนักๆดำเนินเรื่องมา ก่อนสลับพาร์ทเปลี่ยนไปมาระหว่างภาคริทึ่มกับภาคโซโล แล้วเว้นวรรคเงียบหายไปชั่วขณะก่อนตั้งต้นดำเนินเรื่องกันใหม่กับกีตาร์คู่เล่น 2 ไลน์ประสานสอดรับกันมา โดยมีเสียงเบสเล่นโน้ตสวนทางเด่นขึ้นมาฟังโคตรเจ๋ง
Orion แม้จะยาวกว่า 8 นาทีแต่เมทัลลิก้าทำออกมาได้รื่นไหลไม่น่าเบื่อ ตัวเพลงมีจังหวะจะโคน มีเร็ว มีช้า มีหนัก มีเบา มีผ่อนอารมณ์เร่งอารมณ์ จนเพลงนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นบทเพลงบรรเลงในแนวแธรชเมทัลอันดับต้นๆ ซึ่งเครดิตอันนี้ทางวงยกให้กับ คลิฟฟ์ เบอร์ตัน บือเบส ปลิดวิญญาณ ที่เป็นผู้วางโครงสร้างของเพลงนี้
ส่งท้ายความมันแบบเต็มเหนี่ยวกับแทรคสุดท้าย “Damage, Inc.” ที่ฟังแล้วบอกได้คำเดียวสั้นๆว่าโคตรมัน แถมมีลูกเล่น ลีลา แอบแฝงอยู่ไม่น้อย
และนั่นก็เป็น 8 บทเพลงแธรชชั้นยอดจากยอดอัลบั้ม Master of Puppets ซึ่งชุดนี้จะว่าไปมีหลายส่วนที่คล้ายกับชุดที่ 2 คือ Ride the Lightning ไม่ว่าจะเป็นการเรียงลำดับเพลง การวางโครงสร้างเพลง หรือแม้กระทั่งการกำหนดจำนวนเพลงที่มี 8 เพลงเท่ากัน
อย่างไรก็ดีหากเปรียบผลงานเพลงทั้ง 2 ชุด Ride the Lightning เป็นดังการค้นพบตัวเองของเมทัลลิก้า งานเพลงจึงออกมา สดใหม่ ขณะที่ Master of Puppets เป็นดังการตกผลึกพัฒนาความเป็นตัวตนของวงๆนี้ งานเพลงชุดนี้จึงออกมาลงตัวยอดเยี่ยม
นอกจากนี้ฝีมือของทั้ง 4 ก็จัดอยู่ในช่วงกำลังขึ้นหม้อ เป็นการเล่นที่มีทีมเวิร์คอันยอดเยี่ยม ลาร์สตีกลองได้อย่างหนักแน่น ดุดัน แต่รื่นไหล รับส่ง มีลูกหยอด ลูกขัด อันโดดเด่น ซึ่งหลังจากนั้นมาเขาได้ขึ้นทำเนียบมือยอดมือกลองสายร็อกในอันดับต้นๆของโลก ส่วนคลิฟฟ์ถือเป็นยอดมือเบสอีกคนหนึ่งที่นอกจากจะวางไลน์เบสเท่ๆ หาช่องว่างให้ไลน์เบสฟังเด่นขึ้นมา มีลูกรัวเร็วเบสปานนรกแล้ว เขายังมีส่วนร่วมในการแต่งเพลง และวางโครงสร้างให้กับหลายๆเพลง
ขณะที่เคิร์กนั้นมีสำเนียงกีตาร์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ยามหวานก็เล่นได้หวานพลิ้วแฝงหนักแน่น ส่วนยามดุดัน ยามรวดเร็ว นั้นก็ทำได้อย่างยอดเยี่ยม จนได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในมือกีตาร์ร็อกยอดเยี่ยมของโลก ด้านเจมส์ การแต่งเพลงของเขายอดเยี่ยมกระเทียมเจียว เสียงร้องของเขาทรงพลัง สำรอกได้อยากสะใจพระเดชพระคุณ แถมเจมส์ยังเป็นมือกีตาร์ริทึ่มที่โลกยกย่อง ที่สำคัญคือสามารถเล่นไปร้องไปได้อย่างเนียนไม่มีที่ติ โดยเฉพาะกับลีลาก้มหัวสำรอกใส่ไมค์นั้นเป็นดังลายเซ็นต์ของเจมส์ที่มีบางวงเลียนแบบ
ที่สำคัญคือทั้งเจมส์และเคิร์กได้รับการยกย่องว่าเป็นคู่มือกีตาร์ที่หาตัวจับยาก ลีลาการสับคอร์ดเล่นริทึ่มคู่กันของทั้งสองคน ถือเป็นแม่แบบในการเล่นกีตาร์คู่ของหลายๆวง เพราะแม้จะเล่นคอร์ดเดียวกัน แต่ทั้งคู่จับโน้ตคนละตัวกัน คนหนึ่งจะจับโน้ต G,B ส่วนอีกคนจับโน้ต G,D ซึ่งเมื่อเล่นพร้อมกันแล้วจะออกมาเป็นคอร์ด G ที่กลมกลืน โดยเหตุที่ทั้งคู่ใช้วิธีจับโน้ตคนละตัวในคอร์ดเดียวกันแบบนี้ เหตุผลหลักก็คือด้วยสปีดที่เร็วจี๋ของเพลง การจับคอร์ด เปลี่ยนคอร์ด ด้วยวิธีการจับแบบนี้มันจะรื่นไหลง่ายกว่า อีกทั้งกับซาวนด์กีตาร์ที่เล่นผ่านเอฟเฟคแตกพร่าระยับนั้น การเล่นริทึ่มของกีตาร์คู่แบบนี้มันฟังเคลียร์ชัดกว่า
และด้วยความลงตัวของ Master of Puppets ทั้งภาคดนตรี เนื้อร้อง การตกผลึกในแนวทางของตัวเอง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ รวมไปถึงงานเพลงที่ออกมาลงตัวจากทีมเวิร์คอันยอดเยี่ยม(งานนี้ต้องให้เครดิตโปรดิวเซอร์อย่างเฟลมมิ่งด้วย) ทำให้อัลบั้มนี้ได้รับการยกย่องจากหลายทิศทางให้เป็นอัลบั้มแธรชเมทัลที่ดีที่สุดในบรรณพิภพ ซึ่ง ณ วันนี้ ยังคงไม่มีผลงานเพลงชุดใดมาโค่นตำแหน่งอัลบั้มที่ดีที่สุดในโลกจาก Master of Puppets ลงไปได้
*****************************************
แกะกล่อง
ศิลปิน : Santana
อัลบั้ม : Ultimate Santana
ผ่านพ้นไปสำหรับคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบอีกครั้งของ “ซานตาน่า” สำหรับผู้ที่พลาดคอนเสิร์ตหรือชมคอนเสิร์ตแล้ว เสียงกีตาร์อันเป็นเอกลักษณ์ของ “คาร์ลอส ซานตาน่า” มันบาดลึกกินใจจนอยากจะหาผลงานเพลงของซานตาน่ามาฟังและเก็บไว้ในคอลเลคชั่น
อัลบั้ม “Ultimate Santana” เป็นทางเลือกที่จะตอบโจทย์ความเป็นซานตาน่าได้เป็นอย่างดี เพราะนี่คือ ผลงานรวมเพลงที่ดีที่สุดจากทุกยุคของวงดนตรีวงนี้ มีทั้งหมด 17 เพลง 18 แทรค มีบทเพลงดังๆมากมาย อาทิ “Black Magic Woman”, “Smooth”, “The Game of Love” และ “Samba Pa Ti” เป็นต้น