อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องทั้งหมด แต่ก็คงจะไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใดหากจะบอกว่าปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สถานีโทรทัศน์แต่ละช่องของบ้านเราได้รับความนิยมขึ้นมา ปัจจัยนั้นก็คือความยบันเทิงอย่าง "ละคร"
ไม่เว้นแม้แต่ทีวีดาวเทียม
และถ้าจะนับหนึ่งในโทรทัศน์ดาวเทียมที่มีการลงทุนลงแรงกับปัจจัยที่ว่านี้อย่างจริงๆ จังๆ ณ ชั่วโมงนี้คงต้องบอกว่า "ช่อง 8" ของ บมจ.อาร์เอส ภายใต้การดูแลของผู้ชายที่ชื่อ "โด่ง องอาจ สิงห์ลำพอง" นั้นต้องถือว่าไม่เป็นสองรองใคร
“ความรู้สึกแรกที่ต้องมาดูช่อง 8 รู้สึกว่าเป็นช่องที่ทำยาก เพราะว่าตอนนั้นยังไม่ค่อยเข้าใจนโยบายและมีคอนเทนต์เยอะแยะไปหมด ต้องตอบสนองกลุ่มคนที่กว้างมากและมีรายการเยอะ ประกอบกับเป็นโมเดลใหม่สำหรับธุรกิจแซทเทลไลท์ เลยไม่รู้ว่ามันจะออกมารูปแบบไหน เรารู้ว่าอยากจะทำอะไร แต่ไม่แน่ใจว่าพอทำจริงๆ แล้วหน้าตามันจะออกมาเป็นอย่างไร"
"แต่พอได้มาเริ่มทำจริงๆ เราก็เริ่มเข้าใจ ได้เรียนรู้ถึงกลยุทธ์ของช่องเอง และนโยบายไปพร้อมๆ กับทำงาน กว่าจะจับทางได้ก็เกือบปีเหมือนกัน รู้ว่ารูปแบบของช่องต้องเป็นแบบนี้ นโยบายของช่องต้องเป็นแบบนี้ นิ่งแล้วต้องเป็นแบบนี้ เหมือนลองผิดลองถูกไปด้วย แต่อยู่บนพื้นฐานที่เราศึกษามาพอสมควร จริงๆ ไม่มีใครรู้หรอกว่าคนที่จะดูเราอยากดูอะไร จนกว่าเขาจะสะท้อนกลับมา พอเขาได้เห็นของเรากลับมาเราก็จะรู้แล้วว่าอันนี้ใช่ อันนี้ไม่ใช่ ก็ต้องปรับจูนตามซึ่งก็ใช้เวลาเป็นปีเหมือนกัน”
พลิกดูประวัติย้อนหลังของผู้บริหารวัย 40 คนนี้ต้องถือว่าน่าสนใจทีเดียว ถ้ามองไปถึงอดีตของเขากับค่ายอาร์เอสนับตั้งแต่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ที่เริ่มต้นตั้งแต่การเป็นนักศึกษาฝึกงานฝ่ายมิวสิควีดิโอ ก่อนจะก้าวเข้าไปสู่แวดวงภาพยนตร์จากการชักชวนของ "ปรัชญา ปิ่นแก้ว" มีโอกาสได้ทำหนังทั้ง รองต๊ะแล่บแปล๊บ, ฝันติดไฟ หัวใจติดดิน, แตกสี่ รัก-โลภ-โกรธ-เลว, ชู้ ฯ จากนั้นก็ก้าวไปสู่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท อลาดิน เฮ้าส์ จำกัด และมาลงเอยที่ผู้อำนวยการสถานีช่อง 8
“ตอนมี่ทีช่อง 8 ภาพแรก อยากให้รู้สึกว่าถ้าคุณเปิดทีวีมาเจอเราแล้วแยกไม่ออก อะไรคือฟรีทีวี อะไรคือช่อง 8 อยากให้ความรู้สึกแบบนั้น ถามว่า ณ วันนี้มาซัก 70 % แล้ว แต่ที่ยังไม่ครบอาจจะเป็นเรื่องของการที่คอนเทนต์ของช่อง พยายามตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนดูเป็นหลัก เราเลยยังมีคอนเทนต์ที่ยังมีรีรันอยู่ เพราะเราพยายามครอบคลุมคนจริงๆ เราต้องยอมรับว่าคนต้องเลือกดูฟรีทีวีมาก่อน กดมาเรื่อยๆ อยู่ที่รีโมต แต่ว่ากว่าจะมาถึงช่องเราเขาก็คงผ่านพวกช่องของเขามาก่อน และเราน่าจะเป็นกลุ่มที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจริงๆ ในเรื่องของเวลา เลยทำให้เรายังมีคอนเทนต์รีรัน ยังไม่ 100% เหมือนที่คิดไว้ซักเท่าไหร่”
ถึงตอนนี้ช่อง 8 มาได้สักกี่เปอร์เซ็นต์กับสิ่งที่เราตั้งเป้าหมายเอาไว้ ทั้งในเรื่องของเนื้อหา/ผลประกอบการ?
“ในเรื่องของคอนเทนต์เราได้ซัก 70% แล้ว ส่วนผลประกอบการปีนี้ถามว่าได้ตามเป้ามั้ย ผมว่าได้สูงกว่าเป้านะ เพียงแต่มีบางอันซึ่งเรายังทำไม่เรียบร้อย ก็เลยทำให้มีฉุดมีดึงกันบ้าง แต่โดยรวมได้สูงกว่าที่คิดประเมินไว้ครับ”
คิดว่าอะไรที่ช่อง 8 ยังขาดอยู่?
“ถ้าเรามองในคอนเทนต์หลักๆ อย่างละคร เราก็ดำเนินการได้ใกล้จะครบตามที่คิด น่าจะขาดพวกคอนเทนต์ของข่าว คือเราอยากให้คนดูอยู่กับช่องไปตลอดวัน คิดว่ามันต้องมีคอนเทนต์ที่ครบจริงๆ แบบที่ฟรีทีวีทั่วไปมี เรามองว่าข่าวก็เป็นสิ่งที่คนดูทั่วไปสนใจในวันนี้ การนำเสนอข่าวมันเปลี่ยนไปแล้ว ไม่ดูเป็นทางการมากๆ ข่าวมันก็เป็นรายการบันเทิงในรูปแบบหนึ่ง แต่ว่าบันเทิงแบบให้สาระ มันก็จะเป็นเพื่อนคนดูได้เหมือนกัน คิดว่าช่อง 8 ต้องมีตัวนี้ ซึ่งโดยนโยบายคงน่าจะมีภายในกลางปีหน้า (2556) ก็พยายามจะทำให้ครบ”
ถือว่าเป็นเจ้าแรกที่มีการผลิตละครโดยเฉพาะ...
“ถ้าคนรู้จักเรามากที่สุดคงเป็นเรื่องของละคร คงเป็นจุดซึ่งคนอื่นก็ยังไม่ค่อยมีคนทำในเรื่องละครเฟิร์สรันซักเท่าไหร่ ในตลาดเรายังมองไม่ค่อยเห็น คือถ้าทำเฟิร์สรันแล้วลงทุนแบบฟรีทีวีคิดว่ามีเราเจ้าเดียว แต่ก็มีคนคิดจะทำละครนะ แต่คิดว่าเม็ดเงินในการลงทุนยังไงก็ไม่เท่าเรา เราใช้เม็ดเงินลงทุนไม่ต่างจากฟรีทีวีเลย วันนี้เรากล้าพูดได้ว่าเราเพิ่มเงินทุนกับงานละครเยอะ ดูจากงานของเราเริ่มสะท้อนให้เห็น คนดูจะรู้ว่าเราจะใช้ดารา นักแสดง ไม่หนีจากฟรีทีวี อย่างค่าตัวเราก็ให้ตามเรตตามปกติ เราแทบจะไม่เคยต่อรอง เหมือนเราซื้อของในตลาด เราก็ซื้อตามราคาตลาด เรารู้ว่าดารา นักแสดง เขามีเรตมาตรฐานของเขาอยู่ เขาก็ต้องรักษามาตรฐานของตัวเอง การที่เราเรียกเขามา ต่างคนก็ต่างให้เกียรติกันและกัน มันเป็นกฎ กติกาในการจ้างคนอยู่แล้ว เราจึงไม่มีการต่อรองค่าตัว”
พูดถึงละคร ทำไมละครไทยส่วนใหญ่ถึงไม่สามารถหลีกออกไปจากเนื้อหาเดิมๆ ประเภทพาฝัน - ชิงรักหักสวาท แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ได้สักที มันเป็นเพราะเพราะคนดูส่วนใหญ่ต้องการดู? หรือเพราะคนสร้างไม่กล้าที่จะฉีก? หรือว่าอยากฉีกแต่ความสามารถไม่ถึง?
“ผมว่ามันเริ่มมาจากคนทำงานเขาจะทำไปเรื่อยๆ โดยที่คนดูยังไม่ตอบสนอง จนวันหนึ่งคนดูจะตอบสนองความต้องการของเขา ว่าเขาอยากจะดูอะไร สุดท้ายคนทำทุกคนก็จะทำตามที่คนดูต้องการ จะมีส่วนซัก 10-20% ที่พยายามจะฉีก ถ้าฉีกสำเร็จคนดูรับได้ มันก็จะเป็นหนทางใหม่ให้กับคนดู แต่ถ้าคนดูไม่รับไอ้สิ่งที่ฉีกไปมันก็จะกลายเป็นความล้มเหลว สุดท้ายมันก็จะกลับมาเท่าที่คนดูต้องการอยู่ดี ดีมานด์-ซัพพลายมันจะสะท้อนว่าคนทำต้องการอะไร คนดูต้องการอะไร สุดท้ายคนที่ฟันธงก็คือคนดู”
ช่อง 8 เคยฉีกแนวบ้างไหม?
“คือแต่ละช่องจะมีลายเซ็นของตัวเอง อย่างเราหลับตาแล้วลืมตาขึ้นมาเจอละคร เราจะรู้ทันทีว่าละครเรื่องนี้เป็นของช่องอะไร ช่อง 8 เองก็เหมือนกัน ผมว่าแรกๆ ทุกช่องพยายามหาลายเซ็นของตัวเอง ช่อง 8 เองก็เคยลองผิดลองถูก วันนี้เรารู้แล้วว่าลายเซ็นของช่องคืออะไร คือคนอยากดูเรื่องที่แปลก ใหม่ สะท้อนสังคม แต่ของความแรง สะท้อนแบบแรง สนุกก็สนุกแรง คนดูอยากดูอะไรที่เว่อร์กว่าปกติ ชอบดูอารมณ์แรงๆ รักแรง เกลียดแรง ริษยาแรง เพราะเขารู้สึกว่าช่อง 8 น่าจะเป็นช่องซึ่งมีอิสระทางความคิดกว้างกว่าฟรีทีวี เรื่องที่จะติดขัดกับกระบวนการอะไรก็แล้วแต่ วันนี้เราเจอจุดของตัวเองแล้ว”
มีคนบอกว่าคนทำละครไทยส่วนหนึ่งก็เหมือนกับการสร้างบาปให้สังคม เพราะส่วนใหญละครไทยจะมีเนื้อหาที่ดูเหมือนต้องการจะมอมเมาคนดูมากกว่าที่จะให้แรงบันดาลใจ ให้แง่คิด ตรงนี้รู้สึกอย่างไร?
“ผมว่าศาสตร์ของละครมันจำเพาะอยู่อย่างคือ ความสนุกของละคร ถ้าจะให้ความสนุกก็อันนึง ให้สาระอันนึง ต้องแยกออกจากกัน เชื่อว่าไม่มีใครที่อยากจะดูอะไรที่มันเป็นสาระมานั่งสอนๆ กัน มันไม่ใช่ทางของคำว่าละครโทรทัศน์ คือละครโทรทัศน์ด้วยความที่มันเกิดมาจากคำว่าละครน้ำเน่า Soap Opera มันมาจากเมืองนอก สูตรมันเป็นอย่างนั้น จะไปดัดแปลงอย่างไร"
"วิธีการนำเสนอมันจะน้ำเน่า สิ่งที่คุณจะสอดแทรกเข้าไปต่างหาก ไม่ว่าจะเป็นอุดมการณ์ ความคิดที่ดี แต่เวลาที่คนเห็นห่อมันไปเห็นห่อความน้ำเน่าก่อน แต่ความจริงผู้สร้างทุกคนพยายามสอดแทรกเข้าไปอยู่แล้ว ไม่มีใครหรอกที่จะบอกให้เดินซ้ายแล้วคุณต้องเดินซ้าย ยิ่งปัจจุบันคนดูมีความคิดเป็นของตัวเองเยอะ สุดท้ายให้คนดูซึมซับแล้วเก็บไปใช้เองดีกว่าจะมาบอกเขาว่าให้เขาทำอย่างโน้นอย่างนี้อย่างนั้น เมื่อเขาได้ซึมซับ ได้เห็นตัวอย่าง เห็นผลสะท้อนมาจากละคร สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ได้ออกมาเป็นรูปธรรม แต่มันจะค่อยๆ ซึมไปอยู่ในตัวเขา"
"สิ่งเหล่านี้คือสิ่งละครมันจะทำ แต่เราจะไม่ได้เห็นว่ามันทำ เพราะมันไม่ใช่การไปกวาด ถู เช็ด แต่มันจะทำให้คนสำนึก คนเลยอาจจะมองว่าละครมันไม่สร้างสรรค์สังคม จริงๆ แล้วไม่ใช่ มันอยู่ที่ภาวะของคนดูมากกว่าว่าคนดูจะสามารถเก็บได้มาก-น้อย อยู่ที่ประสบการณ์ความคิด วุฒิภาวะของคนดูที่จะสามารถเก็บเกี่ยวได้มาก-น้อยแค่ไหน”
ละครไทย ถ้าเนื้อหาไม่แรง ไม่มีฉากด่าทอ ตบกัน ไม่แย่งผู้ชาย ไม่อิจฉาไม่ริษยา จะมีโอกาสเป็นที่ได้รับความสนใจ หรือเป็นที่นิยมบ้างมั้ย?
“ผมว่าคนดูมันถูกทำให้เรียนรู้ มันแรงขึ้นเรื่อยๆ เหมือนคนดูดื้อยา ต้องฉีดเพิ่มอัตราความแรงขึ้นเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งสังคมมันทำให้เขาเฉยชา ความแรงในสังคมในข่าวมันเยอะ พอมันเยอะ พอคนทำละครเบากว่าความแรงในสังคม คนดูจะรู้สึกว่าทำไมเชย เอาท์ขนาดนี้ เรื่องปัจจุบันไปถึงไหนแล้ว พอเป็นแบบนั้นปุ๊บ คนทำเหมือนต้องทำให้แรงกว่าเดิม เพราะคนดูต้องการอะไรที่เพิ่มขึ้นๆ"
"พอยิ่งได้รับข้อมูลข่าวสารมากเท่าไหร่ คนทำต้องดักข้างหน้ามากขึ้นเท่านั้น ไมต้องสงสัยว่าทำไมละครไทยถึงได้แรงขึ้นทุกวันในเรื่องของศีลธรรม จรรยา เป็นเพราะสังคมมันแรงขึ้นทุกวัน ถามว่าทำให้น้อยลงได้มั้ยก็จะไม่มีใครดู เพราะมันไม่สนองความต้องการของเขาอีกต่อไป ละครมันถึงแรงขึ้นๆ หาแง่มุมแปลกใหม่ มันก็คือการทำมาร์เกตติ้ง ทำให้ตัวละครมันเกิด ถามว่าอาศัยความแรงมั้ย ปัจจุบันคงต้องพึ่งไปเรื่อยๆ ก่อน จนกว่าสังคมจะสงบ”
จากคุณสมบัติของละครไทย(ส่วนใหญ่) ตรงนี้มองอีกแง่มุมหนึ่งมันคือเสน่ห์หรือจะเรียกว่าเป็นเอกลักษณ์ของละครไทยได้หรือไม่?
“สังเกตดูว่าละครที่แรงๆ ก็จะประสบความสำเร็จทุกครั้ง แต่สิ่งทีประสบความสำเร็จ ผมว่าหลายคนพยายามสร้างและมีแง่คิดในละคร แต่ที่เราปฏิเสธไม่ได้คือความต้องการของคนเยอะขึ้น สิ่งหนึ่งที่ทำได้ในขณะที่รู้ว่ามันเยอะ คนสร้างก็พยายามสอดแทรกให้มันชัด พอเราดูปุ๊บกับสิ่งที่พยายามสอดแทรกบางทีมันอาจจะดูมากไป แต่มันก็เป็นความต้องการของคนทำที่ต้องการให้เกิดผลดีบ้าง"
"อย่างน้อยเขาทำละครให้คนเห็นตัวอย่าง และพยายามสอน ในความแรงทุกคนก็พยายามทำให้กลับมาในจุดที่มันบาลานซ์ได้ คือเรื่องของให้คนเห็นถึงแง่คิด ยิ่งแรงเท่าไหร่เขาก็พยายามดึงคนกลับมา แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องทำแรงไว้ก่อน ข้อดีของมันก็มี ถ้าเราทำให้แรง คนดูได้รับสิ่งที่คนสร้างพยายามจะสอดแทรกให้แง่คิด ดีกว่าทำแล้วคนไม่ดู สุดท้ายคนก็ไม่ได้อะไรกลับไปเลย แต่ถ้าแรงแล้วทำให้เนียนไปกับละคร นั่นก็น่าจะเป็นจุดหนึ่งที่ละครสามารถสอนคนดูได้”
ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน มีละครไทยเรื่องไหนที่คิดว่าชอบมากๆ
“ส่วนใหญ่ผมจะชอบละครที่สร้างมาจากวรรณกรรม ที่ชอบมากที่สุดคือ คู่กรรม ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนๆ ก็ชอบหมด เพราะรู้สึกว่ามันอิงความเป็นจริงในสังคมในยุคสมัย ให้เรียนรู้ มีวัฒนธรรมให้เรียนรู้ มันสวยงาม ความรักไม่มีพรมแดน แต่คนในสังคมมันทำให้รักกันไม่ได้ ละครที่ทำมาจากวรรณกรรมมันมีคุณค่าในตัวเอง ไม่ว่าจะทำกี่ยุคกี่สมัยก็ยังคงมีเสน่ห์ ส่วนละครปัจจุบันไม่ใช่ว่าไม่ดี ก็ดีนะ แต่ว่ามันดูแล้วก็จบและผ่านไป มันเป็นความสนุกแบบฉาบฉวย จะไม่เหมือนงานวรรณกรรมเก่าๆ ที่มันมีความเป็นอมตะ”
หลายคนอาจจะรู้จัก โด่ง องอาจ นี้ในฐานะของผู้บริหาร ผู้กำกับฯ แต่สำหรับคนในแวดวงธุรกิจแล้วเขาคนนี้ถือเป็นนักเก็งกำไรคนหนึ่ง โดยเฉพาะในธุรกิจอสังหาฯ และ ทองคำ
“ผมว่างานบริหารช่องยากกว่านะ เพราะทุกอย่างมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับเรา บางอย่างการตัดสินใจของเรามันกระเทือนหลายส่วน ทั้งคู่แข่ง ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน ทุกครั้งที่เรามีการตัดสินใจทำอะไรลงไป ในขณะที่เราทำธุรกิจของเราเอง มันพึ่งปัจจัยอื่น เป็นการขึ้น-ลงของตลาดแต่มันมีเหตุและผล ที่พอจะเข้าใจได้ สุดท้ายที่เราตัดสินใจจะซื้อ-ขาย ผิด-ถูก สุดท้ายมันอยู่ที่เรา ไม่กระเทือนใคร เรารับได้เราขายถ้าเราพอใจ แต่ธุรกิจทีวี มันต้องคำนวณหลายอย่าง คู่แข่ง การทำงาน ธุรกิจซึ่งในฐานะคนบริหาร มันเป็นเรื่องเม็ดเงินของบริษัท มันไม่ใช่เรื่องของเรา”
ตอนนี้เก็บทองไว้เก็งกำไรเยอะมั้ย?
“(หัวเราะ) เราศึกษาตลาดระดับหนึ่ง แต่การเล่นทองมันอยู่ที่ใจ มันต้องเป็นนักพนันด้วย ความสนุกอยู่ที่สิ่งที่เราคาดไว้ถูกหรือผิด อยู่ที่ใจถึงหรือเปล่า มันไม่ใช่การ่ลงทุน เป็นการวัดใจตัวเอง บทเรียนทุกครั้งมันไม่จบมันอยู่บนความไม่แน่นอน มันก็ยังเป็นธุรกิจซึ่งเข้าใจยาก แต่ท้าทาย เก็บไว้ไม่เยอะ ร้อยกว่าบาท เพราะตอนนี้มันทรงๆ ขึ้น-ลง จนเหนื่อย ไม่ลงทุนเพิ่ม ซื้อเป็นทองแท่งเก็บ จริงๆ อยากขายรายวัน แต่พอพลาดเราก็ต้องเก็บ ตัดสินใจพลาด มันต้องรออย่างเดียว คนเล่นทองต้องมีเงินเย็น ไม่มีเงินเย็นเล่นไม่ได้ สำหรับผมครึ่งปีก็เคยรอ แค่ตัดสินใจพลาดแค่วันเดียว รอเป็นครึ่งปี ถึงปีก็เคย แนะนำว่าถ้าใครเล่นต้องมีเงินเย็น”
แล้วที่ผ่านมาได้หรือเสียมากกว่า?
“ส่วนใหญ่ได้นะ (หัวเราะ) แต่จะได้ช้าหรือเร็ว เพราะเราไม่ยอมขาดทุน พอรู้ว่าขาดทุนเราต้องนิ่งเก็บไว้รอจนกว่าจะกำไร ช้าหรือเร็ว ได้เยอะหรือน้อย แต่สุดท้ายก็ได้ ไม่เหมือนการลงทุนอสังหาริมทรัพย์พวกคอนโด คอนโดข้อดีของมันคือ มันเป็นทรัพย์ แต่ข้อเสีย ถ้าคุณไม่มีเงินเย็น ขายไม่ได้ก็จะขาดทุน เราเงินเย็นขายไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แต่แนะนำว่าถ้าคุณจะทำคุณต้องชัดว่าคุณจะทำเพื่อให้เช่าหรือขายเก็งกำไร เพราะว่ามูลค่ามันต่างกัน ถ้าให้คนเช่ามันเป็นมือสอง ราคามันจะไม่ได้เท่าคอนโดมือหนึ่ง มันต้องวางแผนเลยว่าหวังเก็งกำไรในรูปแบบไหน คิดต่างกันเล็กน้อยในเรื่องรายละเอียด อย่าคิดว่าซื้อมาก่อนค่อยทำ วิธีการคิดมันจะไม่เหมือนกัน”
ไม่เว้นแม้แต่ทีวีดาวเทียม
และถ้าจะนับหนึ่งในโทรทัศน์ดาวเทียมที่มีการลงทุนลงแรงกับปัจจัยที่ว่านี้อย่างจริงๆ จังๆ ณ ชั่วโมงนี้คงต้องบอกว่า "ช่อง 8" ของ บมจ.อาร์เอส ภายใต้การดูแลของผู้ชายที่ชื่อ "โด่ง องอาจ สิงห์ลำพอง" นั้นต้องถือว่าไม่เป็นสองรองใคร
“ความรู้สึกแรกที่ต้องมาดูช่อง 8 รู้สึกว่าเป็นช่องที่ทำยาก เพราะว่าตอนนั้นยังไม่ค่อยเข้าใจนโยบายและมีคอนเทนต์เยอะแยะไปหมด ต้องตอบสนองกลุ่มคนที่กว้างมากและมีรายการเยอะ ประกอบกับเป็นโมเดลใหม่สำหรับธุรกิจแซทเทลไลท์ เลยไม่รู้ว่ามันจะออกมารูปแบบไหน เรารู้ว่าอยากจะทำอะไร แต่ไม่แน่ใจว่าพอทำจริงๆ แล้วหน้าตามันจะออกมาเป็นอย่างไร"
"แต่พอได้มาเริ่มทำจริงๆ เราก็เริ่มเข้าใจ ได้เรียนรู้ถึงกลยุทธ์ของช่องเอง และนโยบายไปพร้อมๆ กับทำงาน กว่าจะจับทางได้ก็เกือบปีเหมือนกัน รู้ว่ารูปแบบของช่องต้องเป็นแบบนี้ นโยบายของช่องต้องเป็นแบบนี้ นิ่งแล้วต้องเป็นแบบนี้ เหมือนลองผิดลองถูกไปด้วย แต่อยู่บนพื้นฐานที่เราศึกษามาพอสมควร จริงๆ ไม่มีใครรู้หรอกว่าคนที่จะดูเราอยากดูอะไร จนกว่าเขาจะสะท้อนกลับมา พอเขาได้เห็นของเรากลับมาเราก็จะรู้แล้วว่าอันนี้ใช่ อันนี้ไม่ใช่ ก็ต้องปรับจูนตามซึ่งก็ใช้เวลาเป็นปีเหมือนกัน”
พลิกดูประวัติย้อนหลังของผู้บริหารวัย 40 คนนี้ต้องถือว่าน่าสนใจทีเดียว ถ้ามองไปถึงอดีตของเขากับค่ายอาร์เอสนับตั้งแต่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ที่เริ่มต้นตั้งแต่การเป็นนักศึกษาฝึกงานฝ่ายมิวสิควีดิโอ ก่อนจะก้าวเข้าไปสู่แวดวงภาพยนตร์จากการชักชวนของ "ปรัชญา ปิ่นแก้ว" มีโอกาสได้ทำหนังทั้ง รองต๊ะแล่บแปล๊บ, ฝันติดไฟ หัวใจติดดิน, แตกสี่ รัก-โลภ-โกรธ-เลว, ชู้ ฯ จากนั้นก็ก้าวไปสู่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท อลาดิน เฮ้าส์ จำกัด และมาลงเอยที่ผู้อำนวยการสถานีช่อง 8
“ตอนมี่ทีช่อง 8 ภาพแรก อยากให้รู้สึกว่าถ้าคุณเปิดทีวีมาเจอเราแล้วแยกไม่ออก อะไรคือฟรีทีวี อะไรคือช่อง 8 อยากให้ความรู้สึกแบบนั้น ถามว่า ณ วันนี้มาซัก 70 % แล้ว แต่ที่ยังไม่ครบอาจจะเป็นเรื่องของการที่คอนเทนต์ของช่อง พยายามตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนดูเป็นหลัก เราเลยยังมีคอนเทนต์ที่ยังมีรีรันอยู่ เพราะเราพยายามครอบคลุมคนจริงๆ เราต้องยอมรับว่าคนต้องเลือกดูฟรีทีวีมาก่อน กดมาเรื่อยๆ อยู่ที่รีโมต แต่ว่ากว่าจะมาถึงช่องเราเขาก็คงผ่านพวกช่องของเขามาก่อน และเราน่าจะเป็นกลุ่มที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจริงๆ ในเรื่องของเวลา เลยทำให้เรายังมีคอนเทนต์รีรัน ยังไม่ 100% เหมือนที่คิดไว้ซักเท่าไหร่”
ถึงตอนนี้ช่อง 8 มาได้สักกี่เปอร์เซ็นต์กับสิ่งที่เราตั้งเป้าหมายเอาไว้ ทั้งในเรื่องของเนื้อหา/ผลประกอบการ?
“ในเรื่องของคอนเทนต์เราได้ซัก 70% แล้ว ส่วนผลประกอบการปีนี้ถามว่าได้ตามเป้ามั้ย ผมว่าได้สูงกว่าเป้านะ เพียงแต่มีบางอันซึ่งเรายังทำไม่เรียบร้อย ก็เลยทำให้มีฉุดมีดึงกันบ้าง แต่โดยรวมได้สูงกว่าที่คิดประเมินไว้ครับ”
คิดว่าอะไรที่ช่อง 8 ยังขาดอยู่?
“ถ้าเรามองในคอนเทนต์หลักๆ อย่างละคร เราก็ดำเนินการได้ใกล้จะครบตามที่คิด น่าจะขาดพวกคอนเทนต์ของข่าว คือเราอยากให้คนดูอยู่กับช่องไปตลอดวัน คิดว่ามันต้องมีคอนเทนต์ที่ครบจริงๆ แบบที่ฟรีทีวีทั่วไปมี เรามองว่าข่าวก็เป็นสิ่งที่คนดูทั่วไปสนใจในวันนี้ การนำเสนอข่าวมันเปลี่ยนไปแล้ว ไม่ดูเป็นทางการมากๆ ข่าวมันก็เป็นรายการบันเทิงในรูปแบบหนึ่ง แต่ว่าบันเทิงแบบให้สาระ มันก็จะเป็นเพื่อนคนดูได้เหมือนกัน คิดว่าช่อง 8 ต้องมีตัวนี้ ซึ่งโดยนโยบายคงน่าจะมีภายในกลางปีหน้า (2556) ก็พยายามจะทำให้ครบ”
ถือว่าเป็นเจ้าแรกที่มีการผลิตละครโดยเฉพาะ...
“ถ้าคนรู้จักเรามากที่สุดคงเป็นเรื่องของละคร คงเป็นจุดซึ่งคนอื่นก็ยังไม่ค่อยมีคนทำในเรื่องละครเฟิร์สรันซักเท่าไหร่ ในตลาดเรายังมองไม่ค่อยเห็น คือถ้าทำเฟิร์สรันแล้วลงทุนแบบฟรีทีวีคิดว่ามีเราเจ้าเดียว แต่ก็มีคนคิดจะทำละครนะ แต่คิดว่าเม็ดเงินในการลงทุนยังไงก็ไม่เท่าเรา เราใช้เม็ดเงินลงทุนไม่ต่างจากฟรีทีวีเลย วันนี้เรากล้าพูดได้ว่าเราเพิ่มเงินทุนกับงานละครเยอะ ดูจากงานของเราเริ่มสะท้อนให้เห็น คนดูจะรู้ว่าเราจะใช้ดารา นักแสดง ไม่หนีจากฟรีทีวี อย่างค่าตัวเราก็ให้ตามเรตตามปกติ เราแทบจะไม่เคยต่อรอง เหมือนเราซื้อของในตลาด เราก็ซื้อตามราคาตลาด เรารู้ว่าดารา นักแสดง เขามีเรตมาตรฐานของเขาอยู่ เขาก็ต้องรักษามาตรฐานของตัวเอง การที่เราเรียกเขามา ต่างคนก็ต่างให้เกียรติกันและกัน มันเป็นกฎ กติกาในการจ้างคนอยู่แล้ว เราจึงไม่มีการต่อรองค่าตัว”
พูดถึงละคร ทำไมละครไทยส่วนใหญ่ถึงไม่สามารถหลีกออกไปจากเนื้อหาเดิมๆ ประเภทพาฝัน - ชิงรักหักสวาท แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ได้สักที มันเป็นเพราะเพราะคนดูส่วนใหญ่ต้องการดู? หรือเพราะคนสร้างไม่กล้าที่จะฉีก? หรือว่าอยากฉีกแต่ความสามารถไม่ถึง?
“ผมว่ามันเริ่มมาจากคนทำงานเขาจะทำไปเรื่อยๆ โดยที่คนดูยังไม่ตอบสนอง จนวันหนึ่งคนดูจะตอบสนองความต้องการของเขา ว่าเขาอยากจะดูอะไร สุดท้ายคนทำทุกคนก็จะทำตามที่คนดูต้องการ จะมีส่วนซัก 10-20% ที่พยายามจะฉีก ถ้าฉีกสำเร็จคนดูรับได้ มันก็จะเป็นหนทางใหม่ให้กับคนดู แต่ถ้าคนดูไม่รับไอ้สิ่งที่ฉีกไปมันก็จะกลายเป็นความล้มเหลว สุดท้ายมันก็จะกลับมาเท่าที่คนดูต้องการอยู่ดี ดีมานด์-ซัพพลายมันจะสะท้อนว่าคนทำต้องการอะไร คนดูต้องการอะไร สุดท้ายคนที่ฟันธงก็คือคนดู”
ช่อง 8 เคยฉีกแนวบ้างไหม?
“คือแต่ละช่องจะมีลายเซ็นของตัวเอง อย่างเราหลับตาแล้วลืมตาขึ้นมาเจอละคร เราจะรู้ทันทีว่าละครเรื่องนี้เป็นของช่องอะไร ช่อง 8 เองก็เหมือนกัน ผมว่าแรกๆ ทุกช่องพยายามหาลายเซ็นของตัวเอง ช่อง 8 เองก็เคยลองผิดลองถูก วันนี้เรารู้แล้วว่าลายเซ็นของช่องคืออะไร คือคนอยากดูเรื่องที่แปลก ใหม่ สะท้อนสังคม แต่ของความแรง สะท้อนแบบแรง สนุกก็สนุกแรง คนดูอยากดูอะไรที่เว่อร์กว่าปกติ ชอบดูอารมณ์แรงๆ รักแรง เกลียดแรง ริษยาแรง เพราะเขารู้สึกว่าช่อง 8 น่าจะเป็นช่องซึ่งมีอิสระทางความคิดกว้างกว่าฟรีทีวี เรื่องที่จะติดขัดกับกระบวนการอะไรก็แล้วแต่ วันนี้เราเจอจุดของตัวเองแล้ว”
มีคนบอกว่าคนทำละครไทยส่วนหนึ่งก็เหมือนกับการสร้างบาปให้สังคม เพราะส่วนใหญละครไทยจะมีเนื้อหาที่ดูเหมือนต้องการจะมอมเมาคนดูมากกว่าที่จะให้แรงบันดาลใจ ให้แง่คิด ตรงนี้รู้สึกอย่างไร?
“ผมว่าศาสตร์ของละครมันจำเพาะอยู่อย่างคือ ความสนุกของละคร ถ้าจะให้ความสนุกก็อันนึง ให้สาระอันนึง ต้องแยกออกจากกัน เชื่อว่าไม่มีใครที่อยากจะดูอะไรที่มันเป็นสาระมานั่งสอนๆ กัน มันไม่ใช่ทางของคำว่าละครโทรทัศน์ คือละครโทรทัศน์ด้วยความที่มันเกิดมาจากคำว่าละครน้ำเน่า Soap Opera มันมาจากเมืองนอก สูตรมันเป็นอย่างนั้น จะไปดัดแปลงอย่างไร"
"วิธีการนำเสนอมันจะน้ำเน่า สิ่งที่คุณจะสอดแทรกเข้าไปต่างหาก ไม่ว่าจะเป็นอุดมการณ์ ความคิดที่ดี แต่เวลาที่คนเห็นห่อมันไปเห็นห่อความน้ำเน่าก่อน แต่ความจริงผู้สร้างทุกคนพยายามสอดแทรกเข้าไปอยู่แล้ว ไม่มีใครหรอกที่จะบอกให้เดินซ้ายแล้วคุณต้องเดินซ้าย ยิ่งปัจจุบันคนดูมีความคิดเป็นของตัวเองเยอะ สุดท้ายให้คนดูซึมซับแล้วเก็บไปใช้เองดีกว่าจะมาบอกเขาว่าให้เขาทำอย่างโน้นอย่างนี้อย่างนั้น เมื่อเขาได้ซึมซับ ได้เห็นตัวอย่าง เห็นผลสะท้อนมาจากละคร สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ได้ออกมาเป็นรูปธรรม แต่มันจะค่อยๆ ซึมไปอยู่ในตัวเขา"
"สิ่งเหล่านี้คือสิ่งละครมันจะทำ แต่เราจะไม่ได้เห็นว่ามันทำ เพราะมันไม่ใช่การไปกวาด ถู เช็ด แต่มันจะทำให้คนสำนึก คนเลยอาจจะมองว่าละครมันไม่สร้างสรรค์สังคม จริงๆ แล้วไม่ใช่ มันอยู่ที่ภาวะของคนดูมากกว่าว่าคนดูจะสามารถเก็บได้มาก-น้อย อยู่ที่ประสบการณ์ความคิด วุฒิภาวะของคนดูที่จะสามารถเก็บเกี่ยวได้มาก-น้อยแค่ไหน”
ละครไทย ถ้าเนื้อหาไม่แรง ไม่มีฉากด่าทอ ตบกัน ไม่แย่งผู้ชาย ไม่อิจฉาไม่ริษยา จะมีโอกาสเป็นที่ได้รับความสนใจ หรือเป็นที่นิยมบ้างมั้ย?
“ผมว่าคนดูมันถูกทำให้เรียนรู้ มันแรงขึ้นเรื่อยๆ เหมือนคนดูดื้อยา ต้องฉีดเพิ่มอัตราความแรงขึ้นเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งสังคมมันทำให้เขาเฉยชา ความแรงในสังคมในข่าวมันเยอะ พอมันเยอะ พอคนทำละครเบากว่าความแรงในสังคม คนดูจะรู้สึกว่าทำไมเชย เอาท์ขนาดนี้ เรื่องปัจจุบันไปถึงไหนแล้ว พอเป็นแบบนั้นปุ๊บ คนทำเหมือนต้องทำให้แรงกว่าเดิม เพราะคนดูต้องการอะไรที่เพิ่มขึ้นๆ"
"พอยิ่งได้รับข้อมูลข่าวสารมากเท่าไหร่ คนทำต้องดักข้างหน้ามากขึ้นเท่านั้น ไมต้องสงสัยว่าทำไมละครไทยถึงได้แรงขึ้นทุกวันในเรื่องของศีลธรรม จรรยา เป็นเพราะสังคมมันแรงขึ้นทุกวัน ถามว่าทำให้น้อยลงได้มั้ยก็จะไม่มีใครดู เพราะมันไม่สนองความต้องการของเขาอีกต่อไป ละครมันถึงแรงขึ้นๆ หาแง่มุมแปลกใหม่ มันก็คือการทำมาร์เกตติ้ง ทำให้ตัวละครมันเกิด ถามว่าอาศัยความแรงมั้ย ปัจจุบันคงต้องพึ่งไปเรื่อยๆ ก่อน จนกว่าสังคมจะสงบ”
จากคุณสมบัติของละครไทย(ส่วนใหญ่) ตรงนี้มองอีกแง่มุมหนึ่งมันคือเสน่ห์หรือจะเรียกว่าเป็นเอกลักษณ์ของละครไทยได้หรือไม่?
“สังเกตดูว่าละครที่แรงๆ ก็จะประสบความสำเร็จทุกครั้ง แต่สิ่งทีประสบความสำเร็จ ผมว่าหลายคนพยายามสร้างและมีแง่คิดในละคร แต่ที่เราปฏิเสธไม่ได้คือความต้องการของคนเยอะขึ้น สิ่งหนึ่งที่ทำได้ในขณะที่รู้ว่ามันเยอะ คนสร้างก็พยายามสอดแทรกให้มันชัด พอเราดูปุ๊บกับสิ่งที่พยายามสอดแทรกบางทีมันอาจจะดูมากไป แต่มันก็เป็นความต้องการของคนทำที่ต้องการให้เกิดผลดีบ้าง"
"อย่างน้อยเขาทำละครให้คนเห็นตัวอย่าง และพยายามสอน ในความแรงทุกคนก็พยายามทำให้กลับมาในจุดที่มันบาลานซ์ได้ คือเรื่องของให้คนเห็นถึงแง่คิด ยิ่งแรงเท่าไหร่เขาก็พยายามดึงคนกลับมา แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องทำแรงไว้ก่อน ข้อดีของมันก็มี ถ้าเราทำให้แรง คนดูได้รับสิ่งที่คนสร้างพยายามจะสอดแทรกให้แง่คิด ดีกว่าทำแล้วคนไม่ดู สุดท้ายคนก็ไม่ได้อะไรกลับไปเลย แต่ถ้าแรงแล้วทำให้เนียนไปกับละคร นั่นก็น่าจะเป็นจุดหนึ่งที่ละครสามารถสอนคนดูได้”
ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน มีละครไทยเรื่องไหนที่คิดว่าชอบมากๆ
“ส่วนใหญ่ผมจะชอบละครที่สร้างมาจากวรรณกรรม ที่ชอบมากที่สุดคือ คู่กรรม ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนๆ ก็ชอบหมด เพราะรู้สึกว่ามันอิงความเป็นจริงในสังคมในยุคสมัย ให้เรียนรู้ มีวัฒนธรรมให้เรียนรู้ มันสวยงาม ความรักไม่มีพรมแดน แต่คนในสังคมมันทำให้รักกันไม่ได้ ละครที่ทำมาจากวรรณกรรมมันมีคุณค่าในตัวเอง ไม่ว่าจะทำกี่ยุคกี่สมัยก็ยังคงมีเสน่ห์ ส่วนละครปัจจุบันไม่ใช่ว่าไม่ดี ก็ดีนะ แต่ว่ามันดูแล้วก็จบและผ่านไป มันเป็นความสนุกแบบฉาบฉวย จะไม่เหมือนงานวรรณกรรมเก่าๆ ที่มันมีความเป็นอมตะ”
หลายคนอาจจะรู้จัก โด่ง องอาจ นี้ในฐานะของผู้บริหาร ผู้กำกับฯ แต่สำหรับคนในแวดวงธุรกิจแล้วเขาคนนี้ถือเป็นนักเก็งกำไรคนหนึ่ง โดยเฉพาะในธุรกิจอสังหาฯ และ ทองคำ
“ผมว่างานบริหารช่องยากกว่านะ เพราะทุกอย่างมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับเรา บางอย่างการตัดสินใจของเรามันกระเทือนหลายส่วน ทั้งคู่แข่ง ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน ทุกครั้งที่เรามีการตัดสินใจทำอะไรลงไป ในขณะที่เราทำธุรกิจของเราเอง มันพึ่งปัจจัยอื่น เป็นการขึ้น-ลงของตลาดแต่มันมีเหตุและผล ที่พอจะเข้าใจได้ สุดท้ายที่เราตัดสินใจจะซื้อ-ขาย ผิด-ถูก สุดท้ายมันอยู่ที่เรา ไม่กระเทือนใคร เรารับได้เราขายถ้าเราพอใจ แต่ธุรกิจทีวี มันต้องคำนวณหลายอย่าง คู่แข่ง การทำงาน ธุรกิจซึ่งในฐานะคนบริหาร มันเป็นเรื่องเม็ดเงินของบริษัท มันไม่ใช่เรื่องของเรา”
ตอนนี้เก็บทองไว้เก็งกำไรเยอะมั้ย?
“(หัวเราะ) เราศึกษาตลาดระดับหนึ่ง แต่การเล่นทองมันอยู่ที่ใจ มันต้องเป็นนักพนันด้วย ความสนุกอยู่ที่สิ่งที่เราคาดไว้ถูกหรือผิด อยู่ที่ใจถึงหรือเปล่า มันไม่ใช่การ่ลงทุน เป็นการวัดใจตัวเอง บทเรียนทุกครั้งมันไม่จบมันอยู่บนความไม่แน่นอน มันก็ยังเป็นธุรกิจซึ่งเข้าใจยาก แต่ท้าทาย เก็บไว้ไม่เยอะ ร้อยกว่าบาท เพราะตอนนี้มันทรงๆ ขึ้น-ลง จนเหนื่อย ไม่ลงทุนเพิ่ม ซื้อเป็นทองแท่งเก็บ จริงๆ อยากขายรายวัน แต่พอพลาดเราก็ต้องเก็บ ตัดสินใจพลาด มันต้องรออย่างเดียว คนเล่นทองต้องมีเงินเย็น ไม่มีเงินเย็นเล่นไม่ได้ สำหรับผมครึ่งปีก็เคยรอ แค่ตัดสินใจพลาดแค่วันเดียว รอเป็นครึ่งปี ถึงปีก็เคย แนะนำว่าถ้าใครเล่นต้องมีเงินเย็น”
แล้วที่ผ่านมาได้หรือเสียมากกว่า?
“ส่วนใหญ่ได้นะ (หัวเราะ) แต่จะได้ช้าหรือเร็ว เพราะเราไม่ยอมขาดทุน พอรู้ว่าขาดทุนเราต้องนิ่งเก็บไว้รอจนกว่าจะกำไร ช้าหรือเร็ว ได้เยอะหรือน้อย แต่สุดท้ายก็ได้ ไม่เหมือนการลงทุนอสังหาริมทรัพย์พวกคอนโด คอนโดข้อดีของมันคือ มันเป็นทรัพย์ แต่ข้อเสีย ถ้าคุณไม่มีเงินเย็น ขายไม่ได้ก็จะขาดทุน เราเงินเย็นขายไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แต่แนะนำว่าถ้าคุณจะทำคุณต้องชัดว่าคุณจะทำเพื่อให้เช่าหรือขายเก็งกำไร เพราะว่ามูลค่ามันต่างกัน ถ้าให้คนเช่ามันเป็นมือสอง ราคามันจะไม่ได้เท่าคอนโดมือหนึ่ง มันต้องวางแผนเลยว่าหวังเก็งกำไรในรูปแบบไหน คิดต่างกันเล็กน้อยในเรื่องรายละเอียด อย่าคิดว่าซื้อมาก่อนค่อยทำ วิธีการคิดมันจะไม่เหมือนกัน”