โดย : บอน บอระเพ็ด (skbon109@hotmail.com)
วิกฤติน้ำท่วมใหญ่ปีนี้ แม้ปัจจัยหลัก ดาบแรกจะมาจากธรรมชาติของฝนฟ้าที่ตกลงมาแบบถล่มทลาย แต่ถ้าย้อนไปดูต้นเหตุที่มาที่ไป สาเหตุสำคัญมันก็มาจากผลพวงการกระทำของมนุษย์นั่นเอง ที่ตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำ ทำลายธรรมชาติจนพินาศย่อยยับ เกิดเป็นสภาวะโลกร้อน ฤดูกาลผันแปร ฝนฟ้าแปรปรวน อากาศวิปริตสร้างความเดือดร้อนไปทั่วโลก
อย่างไรก็ดี วิกฤตน้ำท่วมไทยครั้งนี้ก็ยังมีปัจจัยรอง ดาบสองมาจากความไร้สมรรถภาพและขาดสติปัญญาในการบริหารจัดการน้ำของผู้นำปูนิ่มยิ่งเละ รัฐบาลโจ๊ก และศปภ.
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยร่วม ดาบซ้ำมาจากนักการเมืองห่วยแตกที่เน้นเล่นเกมการเมืองกันไม่หยุดหย่อน ไม่เว้นแม้ยามที่ประเทศชาติบอบช้ำ ประชาชนทนทุกข์นองน้ำตาจากวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ที่รุมเร้า ซึ่งผลเดือดร้อนสุดท้ายแล้วมันตกกับประชาชนโดยรวมและประเทศชาติอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง จนผมอดมิได้ที่จะต้องไว้อาลัยความริยำของพวกนี้ด้วยการ กดชักโครกให้ 3 ทีแบบไม่มีอั้น
ไหนๆเมื่อสุดเอือมกับพฤติกรรมน้ำเน่าซ้ำซากของนักการเมืองที่เป็นตัวเหตุทำให้ปัญหาบานทะโร่ ชนิดที่บ้านผมซึ่งอยู่ในเขตบางพลัดถูกสายน้ำไหลท่วมสูงถึงหัวไหล่ งานนี้ผมเลยขอเปลี่ยนบรรยากาศจากบทเพลงน้ำท่วมต่างๆอันแสนเศร้า หดหู่(ผสมเครียด)ที่ปรากฏผ่านจอทีวีในแทบทุกวัน หันมาผ่อนคลายกับบทเพลงที่พรรณนาถึงความสวยงามของสายน้ำ โดยคัดเลือกบทเพลงในระดับมาสเตอร์พีชขึ้นหิ้ง ที่คนส่วนใหญ่คุ้นกันเป็นอย่างดีมาแนะนำกัน 5 บทเพลงด้วยกัน
เรือนแพ
เพลงนี้ไม่ได้พูดถึงความงามของสายน้ำโดยตรง แต่ว่าพรรณนาถึงวิถีเรือนแพที่ใช้ชีวิตบนสายน้ำได้อย่างสุดคลาสสิคและเห็นภาพ ภาษาที่ใช้สละสลวยสัมผัสสวยงาม ท่วงทำนองเรียบง่ายแต่ไพเราะเพราะพริ้งจับใจ
นอกจากนี้ทางผู้แต่งยังไม่ลืมที่จะสอดใส่ความรู้สึกลงไปในเพลงไดอย่างกลมกลืนและกลมกล่อม ไม่ว่าจะเป็นในท่อน “หลับอยู่ในความรัก และความชื่น ชั่ววันและคืนเช่นนี้”,”เรือนแพ ล่องลอย คอยความรักนานมา” โดยเฉพาะท่อนท่อนจบนั้นสุดยอดมาก แม้จะอ้างว้างเหลือใจแต่ก็ไม่วายที่จะแฝงปรัชญาชีวิตพื้นฐานของมนุษย์ลงไป ด้วยวลีสุดคลาสสิค “หิวหรืออิ่มก็ยิ้มพอกัน ชีวิตกลางน้ำสุขสันต์...โอ้สวรรค์ ในเรือนแพ”
เพลงเรือนแพแต่งคำร้องโดย “ครูชาลี อินทรวิจิตร” ทำนองโดย “ครูสง่า อารัมภีร” เป็นเพลงเอกในภาพยนตร์เรื่อง “เรือนแพ” ขับร้องครั้งแรกในปี พ.ศ. 2504 โดย“ชรินทร์ นันทนาคร” ที่นอกจากจะทำให้เพลงนี้กลายเป็นเพลงอมตะแล้ว เรือนแพยังกลายเป็นลายเซ็นประจำตัวของชรินทร์มาจนทุกวันนี้ ซึ่งไม่ว่ารุ่นน้อง รุ่นหลัง รุ่นลูก หรือรุ่นไหนก็แล้วแต่จะนำเพลงนี้มาร้องใหม่หลายต่อหลายครั้ง แต่ยังไงผมก็ยกให้เพลงเรือนแพที่ขับร้องโดยชรินทร์ นันทนาคร คือเบอร์หนึ่งที่คงความคลาสสิกอยู่มิเสื่อมคลาย
แทบทุกครั้งที่ฟังเพลงเรือนแพ ภาพวิถีชีวิตคนไทยในอดีตที่แอบอิงผูกพันกับสายน้ำรวมไปถึงภาพของวิถีเรือนแพร่วมสมัย อย่างที่อุทัยธานี พิษณุโลก หรืออีกหลากหลายที่มักจะผุดแวบขึ้นมาในหัวสมองของผม
แต่ในปีนี้ พ.ศ.นี้ เรือนแพในหลายๆที่ถูกพิษน้ำท่วมกลายเป็น “เรือนพัง” ที่กว่าจะฟื้นคงต้องใช้เวลาอีกนานโข
บัวขาว
เพลงบัวขาว เขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2480 โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล เป็นผู้นิพนธ์คำร้อง และหม่อมหลวงพวงร้อย สนิทเป็นผู้ประพันธ์ทำนอง เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง“ถ่านไฟเก่า” ขับร้องครั้งแรกโดย แนบ เนตรานนท์ ก่อนที่จะมีนักร้อง นักดนตรี นำมาขับร้องและบรรเลงอีกมากมาย
นอกจากเวอร์ชั่นต้นฉบับของแนบแล้ว เพลงนี้ยังมีผลงานขึ้นหิ้งอีกหลายเวอร์ชั่น ไม่ว่าจะเป็นเสียงใสเย็นของ “พูนศรี เจริญพงษ์”(ร้องคู่),“รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส”(ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานในปี พ.ศ. 2514)
ส่วนถ้าจะให้ร่วมสมัยหน่อยก็ต้องของ“อรวี สัจจานนท์”,“รัดเกล้า อามระดิษ” หรือเวอร์ชั่นที่มีเสียงขลุ่ยโหยหวนเป็นตัวร่วมดำเนินเรื่องไปกับเสียงร้องของ อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ก็น่าฟังมาก รวมไปถึงเวอร์ชั่นเสียงแปร่งๆของ "ฟรานซิส ยิป" นักร้องยอดนิยมชาวฮ่องกง ที่นำเพลงนี้ไปขับร้องบันทึกแผ่นเสียง ในปี 2522 ในฐานะที่เพลงบัวขาวได้รับรางวัลจากยูเนสโกยกให้เป็นหนึ่งใน “บทเพลงแห่งเอเชีย” ซึ่งเป็นการการันตีความยอดเยี่ยมของเพลงนี้ได้เป็นอย่างดี
บัวขาวเป็นบทเพลงสั้นๆที่แม้จะไม่ได้พรรณนาถึงความงามของสายน้ำโดยตรง แต่หากเป็นการหยิบภาพของดอกบัวขาวที่พราวอยู่ในบึงใหญ่มาพรรณนาในความงาม พร้อมสอดแทรกสภาพธรรมชาติอันงดงามของบึงน้ำแห่งนั้นออกมาได้อย่างเห็นภาพชัดแจ๋วมาก เพราะผู้แต่งคัดสรรแง่งามของภาษาไทยถ่ายทอดออกมาได้อย่างหมดจดจับใจ ควบคู่ไปกับท่วงทำนองอันไพเราะเพราะพริ้ง และคงความอมตะมาจนถึงทุกวันนี้
สายชล
สายชลเป็นอีกหนึ่งเพลงที่นำวิถีของสายน้ำมาผูกโยงกับวิถีแห่งความรักได้อย่างแยบยล และเศร้าอยู่ในที
เนื้อเพลงเปิดนำมาด้วยการนำเสนอภาพของวิถีแห่งสายน้ำที่ผู้แต่งเนื้อ เหม่อมองแล้วชวนให้นึกถึงความรักที่บินจากไป ก่อนที่บทเพลงจะนำเสนอแง่มุมขัดแย้งว่า แม้ใจจะเจ็บ แต่ยังเก็บมาคิด และมิเคยลืมเธอ
เพลงนี้แต่งเนื้อร้องโดย “จันทนีย์ อูนากูล” แต่งทำนองโดย “ไชย ณ ศีลวันต์” ขับร้องเป็นครั้งแรกในอัลบั้ม “สายชล” ในอัลบั้ม “สายชล” ที่ออกมาในปี พ.ศ. 2524 โดยผู้แต่งเองคือจันทนีย์ กับเสียงหวานซึ้งแต่แฝงไปด้วยความรันทด เศร้าสร้อย
เพลงสายชลหลังออกมา โด่งดังและประสบความสำเร็จอย่างสูง จนได้รับแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ในฐานะอัลบั้มที่ทำยอดขายสูงสุดประจำปี พ.ศ. 2525
ครั้นเมื่อกาลเวลาผ่านมาร่วม 30 ปีแล้ว เพลงนี้ก็ยังไพเราะไม่สร่าง ทำให้มีศิลปินรุ่นหลังๆนำเพลงสายชลมาขับร้องใหม่อีกมากมายกว่า 20 เวอร์ชั่น แต่ไม่ว่าจะฟังเวอร์ชั่นไหน ไม่ว่าหญิงหรือชายขับร้อง สำหรับผมแล้วยังไงๆก็เทียบไม่ได้กับบทเพลงต้นฉบับอันสุดแสนจะคลาสสิก อ้อ!?! นอกจากนี้สายชลยังมีเวอร์ชั่นของลิซ่า โอโนะ นักร้องเพลงบอสซ่าแจ๊ซชื่อดังแห่งเอเชียนำเพลงนี้ไปร้องในสไตล์ของเธอ ซึ่งก็ทำให้เพลงนี้โด่งดังไปในระดับอินเตอร์เลยทีเดียว
ครวญ
เพลงครวญเป็นหนึ่งในเพลงที่ถูกขอร้องในคาราโอเกะเป็นจำนวนมาก เพลงนี้แต่งเนื้อร้องโดย ครูชาลี อินทรวิจิตร ทำนองโดย ครูสมาน กาญจนะผลิน เป็นการหยิบแง่งามของสายน้ำมาผสานกับความเศร้าอาลัย ค่ำครวญหาคนรักจนน้ำตาหลั่ง
ทำนองเพลงนี้ฟังดูมีรากของทำนองเพลงไทยเดิมอยู่ไม่น้อย ฟังเรียบง่ายแต่มีความเป็นป็อบที่ไพเราะ ฟังติดหู และโดนใจได้อย่างไม่ยากเย็น ในขณะที่เนื้อหาของเพลงนั้นแม้จะเขียนด้วยภาษาอันเรียบง่าย แต่ว่าฟังแล้วเห็นภาพ สามารถดึงอารมณ์ให้ร่วมไปจมจ่อมอยู่กับความเศร้าคร่ำครวญของบทเพลงได้อย่างไม่ยากเย็น
แต่ถ้าตัดเรื่องของความเศร้าออกไปจะพบว่าเพลงนี้บรรยายบรรยากาศริมสายน้ำยามเย็น(ที่ไหนสักแห่งหนึ่งในเมืองไทย)ได้อย่างเห็นภาพและถึงอารมณ์ โดยเฉพาะในท่อนจบ “ตะวันใกล้จมแผ่นน้ำ สายชลงามดังกำมะหยี่ โอ้ว่าดาว ว่าดาวดวงนี้ แสงพลันริบหรี่คงริบหรี่เช่นเรา”นั้น ผมถือเป็นความสวยงามท่ามกลางความเศร้าสร้อยที่จับใจนัก
สำหรับเพลงครวญในแบบเพลงลูกกรุงที่ร้องโดยสุเทพ วงศ์กำแหง ถือเป็นเวอร์ชั่นคลาสสิกขึ้นหิ้ง แต่สำหรับผมที่โตมากับเพลงในยุค 80’s เพลงครวญที่ร้องโดยวงซิกเซนท์(ร้องโดยแซม)ถือเป็นเวอร์ชั่นที่ผมคุ้นหูและชื่นชอบมากที่สุด
ลุ่มเจ้าพระยา
“ลุ่มเจ้าพระยา” เป็นเพลงจากละครและภาพยนตร์ เรื่อง“ลุ่มเจ้าพระยา” ประพันธ์เนื้อร้องโดย “ครูแก้ว อัจฉริยะกุล” ประพันธ์ทำนองโดย “ครูนารถ ถาวรบุตร” ขับร้อง บันทึกเสียงครั้งแรกเป็นเพลงคู่ในปี พ.ศ. 2494 โดย “สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์” พระเอกชื่อดังแห่งยุค และ “ประชุม พุ่มศิริ”
เพลงลุ่มเจ้าพระยามีศิลปินนำมาขับร้องใหม่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น สุเทพ วงศ์กำแหง,ชรินทร์ นันทนาคร,กุ้ง-กิตติคุณ เชียรสงค์,สุนารี ราชสีมา,ก๊อต จักรพรรณ์,นนทิยา จิวบางป่า และ ฯลฯ โดยหนึ่งในเวอร์ชั่นที่ได้รับการยอมรับว่าเพราะมากและสุดคลาสสิกก็คือลุ่มเจ้าพระยาที่ขับร้องโดย จินตนา สุขสถิต ศิลปินแห่งชาติ ปี 2547
เนื้อเพลงลุ่มเจ้าพระยาใช้ภาษาสละสลวยกินใจ ไพเราะกลมกลืนไปกับทำนองอันสวยงาม เนื้อหาของเพลงมีการพูดถึงวิถีของสายน้ำเจ้าพระยาแค่ในช่วงต้นที่ร้องว่า “ลุ่มเจ้าพระยา เห็นสายธาราไหลล่อง....” ส่วนที่เหลือเป็นเนื้อหาแฝงปรัชญาและข้อควรคิดว่าคนเราควรรักกันอย่างแตกแยกกัน
โดยในส่วนของเนื้อหาที่สะทกสะท้อนถึงเรื่องราวความแตกแยกนั้น มีข้อสันนิษฐานว่าครูแก้ว ผู้เขียนเนื้อเพลง น่าจะแต่งขึ้นเพื่อเตือนใจสองผู้ยิ่งใหญ่ในวงการเพลงไทยสากลแห่งยุคนั้น คือ ครูเอื้อ สุนทรสนาน กับ ครูนารถ ถาวรบุตร ที่มีเรื่องบาดหมางผิดใจกัน
อย่างไรก็ดีในพักหลังๆ ทำให้มีคนมักนำเพลงนี้ไปเปรียบเทียบกับสถานการณ์บ้านเมืองไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิกฤติน้ำท่วมครั้งนี้ที่มีนักการเมืองเลวๆบางคน พยายามตอกลิ่มให้บ้านเมืองแตกแยกหนักยิ่งขึ้นไปอีก
และนี่ก็คือ 5 บทเพลงแห่งสายน้ำในดวงใจของผม ที่ผมเลือกหยิบยกขึ้นมาผ่อนคลายความเครียดจากวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ ซึ่งอาจจะตรงหรือไม่ตรง โดนหรือไม่โดนใจใครบางคน หรือใครบางคนจะมองว่านี่คือการประชดก็ย่อมได้ แต่จะว่าไปการประชดแบบนี้ยังไงๆก็ย่อมดีกว่าการประชดนักการเมืองเป็นไหนๆ เพราะคนพวกนี้ต่อให้พวกเราส่งสาร ประชด ด่าทอ สาปส่ง ในพฤติกรรมชั้นเลวของพวกเขา(หลายๆคน)ไปเต็มแบบสุดตรีน แต่คนพวกนี้ก็ไม่รู้สึกรู้สา เนื่องจากพวกเขาเป็นกลุ่มสายพันธุ์พิเศษที่แม้แต่นรกยังไม่ต้องการ นั่นเลยทำให้เกิดเหตุการณ์ฝนตกขี้หมูไหลครั้งใหญ่ แล้วคนอะไรก็โคจรมาพบกัน
“อ้าว !?! แล้วพวกเขาคือสายพันธุ์อะไรล่ะ” สหายสุราบางคนปุจฉา
“อ๋อ ก็สายพันธุ์หนักแผ่นดินนั่นไง หนักแผ่นดินจนบ้านเมืองเกิดน้ำท่วมใหญ่เดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า” สหายสุราอีกคนที่ถูกผิดน้ำท่วมเล่นงานวิสัชนาแทนผม ซึ่งแหมมันช่างตรงใจดีแท้ พับผ่าสิ!?!
***********************************************************
คลิกฟังเพลง เรือนแพ
คลิกฟังเพลง บัวขาว
คลิกฟังเพลง สายชล
คลิกฟังเพลง ครวญ
คลิกฟังเพลง ลุ่มเจ้าพระยา
วิกฤติน้ำท่วมใหญ่ปีนี้ แม้ปัจจัยหลัก ดาบแรกจะมาจากธรรมชาติของฝนฟ้าที่ตกลงมาแบบถล่มทลาย แต่ถ้าย้อนไปดูต้นเหตุที่มาที่ไป สาเหตุสำคัญมันก็มาจากผลพวงการกระทำของมนุษย์นั่นเอง ที่ตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำ ทำลายธรรมชาติจนพินาศย่อยยับ เกิดเป็นสภาวะโลกร้อน ฤดูกาลผันแปร ฝนฟ้าแปรปรวน อากาศวิปริตสร้างความเดือดร้อนไปทั่วโลก
อย่างไรก็ดี วิกฤตน้ำท่วมไทยครั้งนี้ก็ยังมีปัจจัยรอง ดาบสองมาจากความไร้สมรรถภาพและขาดสติปัญญาในการบริหารจัดการน้ำของผู้นำปูนิ่มยิ่งเละ รัฐบาลโจ๊ก และศปภ.
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยร่วม ดาบซ้ำมาจากนักการเมืองห่วยแตกที่เน้นเล่นเกมการเมืองกันไม่หยุดหย่อน ไม่เว้นแม้ยามที่ประเทศชาติบอบช้ำ ประชาชนทนทุกข์นองน้ำตาจากวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ที่รุมเร้า ซึ่งผลเดือดร้อนสุดท้ายแล้วมันตกกับประชาชนโดยรวมและประเทศชาติอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง จนผมอดมิได้ที่จะต้องไว้อาลัยความริยำของพวกนี้ด้วยการ กดชักโครกให้ 3 ทีแบบไม่มีอั้น
ไหนๆเมื่อสุดเอือมกับพฤติกรรมน้ำเน่าซ้ำซากของนักการเมืองที่เป็นตัวเหตุทำให้ปัญหาบานทะโร่ ชนิดที่บ้านผมซึ่งอยู่ในเขตบางพลัดถูกสายน้ำไหลท่วมสูงถึงหัวไหล่ งานนี้ผมเลยขอเปลี่ยนบรรยากาศจากบทเพลงน้ำท่วมต่างๆอันแสนเศร้า หดหู่(ผสมเครียด)ที่ปรากฏผ่านจอทีวีในแทบทุกวัน หันมาผ่อนคลายกับบทเพลงที่พรรณนาถึงความสวยงามของสายน้ำ โดยคัดเลือกบทเพลงในระดับมาสเตอร์พีชขึ้นหิ้ง ที่คนส่วนใหญ่คุ้นกันเป็นอย่างดีมาแนะนำกัน 5 บทเพลงด้วยกัน
เรือนแพ
เพลงนี้ไม่ได้พูดถึงความงามของสายน้ำโดยตรง แต่ว่าพรรณนาถึงวิถีเรือนแพที่ใช้ชีวิตบนสายน้ำได้อย่างสุดคลาสสิคและเห็นภาพ ภาษาที่ใช้สละสลวยสัมผัสสวยงาม ท่วงทำนองเรียบง่ายแต่ไพเราะเพราะพริ้งจับใจ
นอกจากนี้ทางผู้แต่งยังไม่ลืมที่จะสอดใส่ความรู้สึกลงไปในเพลงไดอย่างกลมกลืนและกลมกล่อม ไม่ว่าจะเป็นในท่อน “หลับอยู่ในความรัก และความชื่น ชั่ววันและคืนเช่นนี้”,”เรือนแพ ล่องลอย คอยความรักนานมา” โดยเฉพาะท่อนท่อนจบนั้นสุดยอดมาก แม้จะอ้างว้างเหลือใจแต่ก็ไม่วายที่จะแฝงปรัชญาชีวิตพื้นฐานของมนุษย์ลงไป ด้วยวลีสุดคลาสสิค “หิวหรืออิ่มก็ยิ้มพอกัน ชีวิตกลางน้ำสุขสันต์...โอ้สวรรค์ ในเรือนแพ”
เพลงเรือนแพแต่งคำร้องโดย “ครูชาลี อินทรวิจิตร” ทำนองโดย “ครูสง่า อารัมภีร” เป็นเพลงเอกในภาพยนตร์เรื่อง “เรือนแพ” ขับร้องครั้งแรกในปี พ.ศ. 2504 โดย“ชรินทร์ นันทนาคร” ที่นอกจากจะทำให้เพลงนี้กลายเป็นเพลงอมตะแล้ว เรือนแพยังกลายเป็นลายเซ็นประจำตัวของชรินทร์มาจนทุกวันนี้ ซึ่งไม่ว่ารุ่นน้อง รุ่นหลัง รุ่นลูก หรือรุ่นไหนก็แล้วแต่จะนำเพลงนี้มาร้องใหม่หลายต่อหลายครั้ง แต่ยังไงผมก็ยกให้เพลงเรือนแพที่ขับร้องโดยชรินทร์ นันทนาคร คือเบอร์หนึ่งที่คงความคลาสสิกอยู่มิเสื่อมคลาย
แทบทุกครั้งที่ฟังเพลงเรือนแพ ภาพวิถีชีวิตคนไทยในอดีตที่แอบอิงผูกพันกับสายน้ำรวมไปถึงภาพของวิถีเรือนแพร่วมสมัย อย่างที่อุทัยธานี พิษณุโลก หรืออีกหลากหลายที่มักจะผุดแวบขึ้นมาในหัวสมองของผม
แต่ในปีนี้ พ.ศ.นี้ เรือนแพในหลายๆที่ถูกพิษน้ำท่วมกลายเป็น “เรือนพัง” ที่กว่าจะฟื้นคงต้องใช้เวลาอีกนานโข
บัวขาว
เพลงบัวขาว เขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2480 โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล เป็นผู้นิพนธ์คำร้อง และหม่อมหลวงพวงร้อย สนิทเป็นผู้ประพันธ์ทำนอง เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง“ถ่านไฟเก่า” ขับร้องครั้งแรกโดย แนบ เนตรานนท์ ก่อนที่จะมีนักร้อง นักดนตรี นำมาขับร้องและบรรเลงอีกมากมาย
นอกจากเวอร์ชั่นต้นฉบับของแนบแล้ว เพลงนี้ยังมีผลงานขึ้นหิ้งอีกหลายเวอร์ชั่น ไม่ว่าจะเป็นเสียงใสเย็นของ “พูนศรี เจริญพงษ์”(ร้องคู่),“รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส”(ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานในปี พ.ศ. 2514)
ส่วนถ้าจะให้ร่วมสมัยหน่อยก็ต้องของ“อรวี สัจจานนท์”,“รัดเกล้า อามระดิษ” หรือเวอร์ชั่นที่มีเสียงขลุ่ยโหยหวนเป็นตัวร่วมดำเนินเรื่องไปกับเสียงร้องของ อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ก็น่าฟังมาก รวมไปถึงเวอร์ชั่นเสียงแปร่งๆของ "ฟรานซิส ยิป" นักร้องยอดนิยมชาวฮ่องกง ที่นำเพลงนี้ไปขับร้องบันทึกแผ่นเสียง ในปี 2522 ในฐานะที่เพลงบัวขาวได้รับรางวัลจากยูเนสโกยกให้เป็นหนึ่งใน “บทเพลงแห่งเอเชีย” ซึ่งเป็นการการันตีความยอดเยี่ยมของเพลงนี้ได้เป็นอย่างดี
บัวขาวเป็นบทเพลงสั้นๆที่แม้จะไม่ได้พรรณนาถึงความงามของสายน้ำโดยตรง แต่หากเป็นการหยิบภาพของดอกบัวขาวที่พราวอยู่ในบึงใหญ่มาพรรณนาในความงาม พร้อมสอดแทรกสภาพธรรมชาติอันงดงามของบึงน้ำแห่งนั้นออกมาได้อย่างเห็นภาพชัดแจ๋วมาก เพราะผู้แต่งคัดสรรแง่งามของภาษาไทยถ่ายทอดออกมาได้อย่างหมดจดจับใจ ควบคู่ไปกับท่วงทำนองอันไพเราะเพราะพริ้ง และคงความอมตะมาจนถึงทุกวันนี้
สายชล
สายชลเป็นอีกหนึ่งเพลงที่นำวิถีของสายน้ำมาผูกโยงกับวิถีแห่งความรักได้อย่างแยบยล และเศร้าอยู่ในที
เนื้อเพลงเปิดนำมาด้วยการนำเสนอภาพของวิถีแห่งสายน้ำที่ผู้แต่งเนื้อ เหม่อมองแล้วชวนให้นึกถึงความรักที่บินจากไป ก่อนที่บทเพลงจะนำเสนอแง่มุมขัดแย้งว่า แม้ใจจะเจ็บ แต่ยังเก็บมาคิด และมิเคยลืมเธอ
เพลงนี้แต่งเนื้อร้องโดย “จันทนีย์ อูนากูล” แต่งทำนองโดย “ไชย ณ ศีลวันต์” ขับร้องเป็นครั้งแรกในอัลบั้ม “สายชล” ในอัลบั้ม “สายชล” ที่ออกมาในปี พ.ศ. 2524 โดยผู้แต่งเองคือจันทนีย์ กับเสียงหวานซึ้งแต่แฝงไปด้วยความรันทด เศร้าสร้อย
เพลงสายชลหลังออกมา โด่งดังและประสบความสำเร็จอย่างสูง จนได้รับแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ในฐานะอัลบั้มที่ทำยอดขายสูงสุดประจำปี พ.ศ. 2525
ครั้นเมื่อกาลเวลาผ่านมาร่วม 30 ปีแล้ว เพลงนี้ก็ยังไพเราะไม่สร่าง ทำให้มีศิลปินรุ่นหลังๆนำเพลงสายชลมาขับร้องใหม่อีกมากมายกว่า 20 เวอร์ชั่น แต่ไม่ว่าจะฟังเวอร์ชั่นไหน ไม่ว่าหญิงหรือชายขับร้อง สำหรับผมแล้วยังไงๆก็เทียบไม่ได้กับบทเพลงต้นฉบับอันสุดแสนจะคลาสสิก อ้อ!?! นอกจากนี้สายชลยังมีเวอร์ชั่นของลิซ่า โอโนะ นักร้องเพลงบอสซ่าแจ๊ซชื่อดังแห่งเอเชียนำเพลงนี้ไปร้องในสไตล์ของเธอ ซึ่งก็ทำให้เพลงนี้โด่งดังไปในระดับอินเตอร์เลยทีเดียว
ครวญ
เพลงครวญเป็นหนึ่งในเพลงที่ถูกขอร้องในคาราโอเกะเป็นจำนวนมาก เพลงนี้แต่งเนื้อร้องโดย ครูชาลี อินทรวิจิตร ทำนองโดย ครูสมาน กาญจนะผลิน เป็นการหยิบแง่งามของสายน้ำมาผสานกับความเศร้าอาลัย ค่ำครวญหาคนรักจนน้ำตาหลั่ง
ทำนองเพลงนี้ฟังดูมีรากของทำนองเพลงไทยเดิมอยู่ไม่น้อย ฟังเรียบง่ายแต่มีความเป็นป็อบที่ไพเราะ ฟังติดหู และโดนใจได้อย่างไม่ยากเย็น ในขณะที่เนื้อหาของเพลงนั้นแม้จะเขียนด้วยภาษาอันเรียบง่าย แต่ว่าฟังแล้วเห็นภาพ สามารถดึงอารมณ์ให้ร่วมไปจมจ่อมอยู่กับความเศร้าคร่ำครวญของบทเพลงได้อย่างไม่ยากเย็น
แต่ถ้าตัดเรื่องของความเศร้าออกไปจะพบว่าเพลงนี้บรรยายบรรยากาศริมสายน้ำยามเย็น(ที่ไหนสักแห่งหนึ่งในเมืองไทย)ได้อย่างเห็นภาพและถึงอารมณ์ โดยเฉพาะในท่อนจบ “ตะวันใกล้จมแผ่นน้ำ สายชลงามดังกำมะหยี่ โอ้ว่าดาว ว่าดาวดวงนี้ แสงพลันริบหรี่คงริบหรี่เช่นเรา”นั้น ผมถือเป็นความสวยงามท่ามกลางความเศร้าสร้อยที่จับใจนัก
สำหรับเพลงครวญในแบบเพลงลูกกรุงที่ร้องโดยสุเทพ วงศ์กำแหง ถือเป็นเวอร์ชั่นคลาสสิกขึ้นหิ้ง แต่สำหรับผมที่โตมากับเพลงในยุค 80’s เพลงครวญที่ร้องโดยวงซิกเซนท์(ร้องโดยแซม)ถือเป็นเวอร์ชั่นที่ผมคุ้นหูและชื่นชอบมากที่สุด
ลุ่มเจ้าพระยา
“ลุ่มเจ้าพระยา” เป็นเพลงจากละครและภาพยนตร์ เรื่อง“ลุ่มเจ้าพระยา” ประพันธ์เนื้อร้องโดย “ครูแก้ว อัจฉริยะกุล” ประพันธ์ทำนองโดย “ครูนารถ ถาวรบุตร” ขับร้อง บันทึกเสียงครั้งแรกเป็นเพลงคู่ในปี พ.ศ. 2494 โดย “สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์” พระเอกชื่อดังแห่งยุค และ “ประชุม พุ่มศิริ”
เพลงลุ่มเจ้าพระยามีศิลปินนำมาขับร้องใหม่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น สุเทพ วงศ์กำแหง,ชรินทร์ นันทนาคร,กุ้ง-กิตติคุณ เชียรสงค์,สุนารี ราชสีมา,ก๊อต จักรพรรณ์,นนทิยา จิวบางป่า และ ฯลฯ โดยหนึ่งในเวอร์ชั่นที่ได้รับการยอมรับว่าเพราะมากและสุดคลาสสิกก็คือลุ่มเจ้าพระยาที่ขับร้องโดย จินตนา สุขสถิต ศิลปินแห่งชาติ ปี 2547
เนื้อเพลงลุ่มเจ้าพระยาใช้ภาษาสละสลวยกินใจ ไพเราะกลมกลืนไปกับทำนองอันสวยงาม เนื้อหาของเพลงมีการพูดถึงวิถีของสายน้ำเจ้าพระยาแค่ในช่วงต้นที่ร้องว่า “ลุ่มเจ้าพระยา เห็นสายธาราไหลล่อง....” ส่วนที่เหลือเป็นเนื้อหาแฝงปรัชญาและข้อควรคิดว่าคนเราควรรักกันอย่างแตกแยกกัน
โดยในส่วนของเนื้อหาที่สะทกสะท้อนถึงเรื่องราวความแตกแยกนั้น มีข้อสันนิษฐานว่าครูแก้ว ผู้เขียนเนื้อเพลง น่าจะแต่งขึ้นเพื่อเตือนใจสองผู้ยิ่งใหญ่ในวงการเพลงไทยสากลแห่งยุคนั้น คือ ครูเอื้อ สุนทรสนาน กับ ครูนารถ ถาวรบุตร ที่มีเรื่องบาดหมางผิดใจกัน
อย่างไรก็ดีในพักหลังๆ ทำให้มีคนมักนำเพลงนี้ไปเปรียบเทียบกับสถานการณ์บ้านเมืองไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิกฤติน้ำท่วมครั้งนี้ที่มีนักการเมืองเลวๆบางคน พยายามตอกลิ่มให้บ้านเมืองแตกแยกหนักยิ่งขึ้นไปอีก
และนี่ก็คือ 5 บทเพลงแห่งสายน้ำในดวงใจของผม ที่ผมเลือกหยิบยกขึ้นมาผ่อนคลายความเครียดจากวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ ซึ่งอาจจะตรงหรือไม่ตรง โดนหรือไม่โดนใจใครบางคน หรือใครบางคนจะมองว่านี่คือการประชดก็ย่อมได้ แต่จะว่าไปการประชดแบบนี้ยังไงๆก็ย่อมดีกว่าการประชดนักการเมืองเป็นไหนๆ เพราะคนพวกนี้ต่อให้พวกเราส่งสาร ประชด ด่าทอ สาปส่ง ในพฤติกรรมชั้นเลวของพวกเขา(หลายๆคน)ไปเต็มแบบสุดตรีน แต่คนพวกนี้ก็ไม่รู้สึกรู้สา เนื่องจากพวกเขาเป็นกลุ่มสายพันธุ์พิเศษที่แม้แต่นรกยังไม่ต้องการ นั่นเลยทำให้เกิดเหตุการณ์ฝนตกขี้หมูไหลครั้งใหญ่ แล้วคนอะไรก็โคจรมาพบกัน
“อ้าว !?! แล้วพวกเขาคือสายพันธุ์อะไรล่ะ” สหายสุราบางคนปุจฉา
“อ๋อ ก็สายพันธุ์หนักแผ่นดินนั่นไง หนักแผ่นดินจนบ้านเมืองเกิดน้ำท่วมใหญ่เดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า” สหายสุราอีกคนที่ถูกผิดน้ำท่วมเล่นงานวิสัชนาแทนผม ซึ่งแหมมันช่างตรงใจดีแท้ พับผ่าสิ!?!
***********************************************************
คลิกฟังเพลง เรือนแพ
คลิกฟังเพลง บัวขาว
คลิกฟังเพลง สายชล
คลิกฟังเพลง ครวญ
คลิกฟังเพลง ลุ่มเจ้าพระยา