โดย : บอน บอระเพ็ด (skbon109@hotmail.com)
ไม่ใช่วงป็อบ ไม่ได้ทำเพลงป็อบ แต่วงหน้าใหม่ น้องใหม่อย่าง “Mumford & Sons” กลับสามารถพาดนตรีที่ฟังไม่ป็อบ สวนกระแสนิยม แหกด่านมะขามเตี้ยขึ้นไปผงาดติด Top 5 บนชาร์ตเพลงป็อบทั้งในอังกฤษและอเมริกาได้อย่างน่ายกย่อง นับเป็นหนึ่งในวงที่เมื่อได้ฟังแล้ว ผมก็บรรจุพวกเขาไว้ในเม็มโมรี่หยักๆในหัวกบาลอย่างไม่รีรอ
“Mumford & Sons” เป็นวงจากลอนดอน อังกฤษ พวกเขารวมตัวกันก่อร่างสร้างวงในช่วงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007 กับแนวดนตรีโฟล์คร็อคอันเดอร์กราวน์ด มีสมาชิก 4 พะหน่อประกอบด้วย “มาร์คัส มัมฟอร์ด”(Marcus Mumford) : ร้องนำ-กีตาร์-แมนโดลิน-กลอง,“เบน โลเว็ทท์”(Ben Lovett) : คีย์บอร์ด-แอ๊คคอร์เดียน-กลอง-ร้อง, “วินสตัน มาร์แชล”(Winston Marshall) : แบนโจ-โดโบร-ร้อง “เท็ด ดเวน”(Ted Dwane) : ดับเบิ้ลเบส,กีตาร์,กลอง,ร้อง
ปี 2008 พวกเขามีอีพีชุดแรกในชื่อเดียวกับวงออกมา แล้วตามด้วยอีพีชุด “Love Your Ground” ในปลายปีเดียวกัน
ถัดมาปี 2009 ช่วงเดือนตุลาคม 4 หนุ่ม Mumford & Sons ช่วยกันทำคลอดอัลบั้มแรก “Sigh No More” ออกมา จากนั้นงานเพลงชุดนี้ได้ข้ามทวีปไปเป็นที่รู้จักในตลาดเพลงอเมริกาในเดือนกุมภาพันธ์ 2010
Mumford & Sons แม้จะเป็นวงน้องใหม่เพิ่งไปอำเภอแจ้งเกิดมาได้ไม่นาน แต่ด้วยดนตรีโฟล์คร็อคที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สวนกระแสตลาดเพลงป็อบร่วมสมัยที่พักหลังเพลงแนวป็อบ แด๊นซ์ ฮิฟฮอฟ เริ่มอิ่มตัว ทำให้อัลบั้มชุด Sigh No More เข้าตากรรมการ จนได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่ครั้งที่ 53 รวม 2 รางวัลด้วยกันคือ“ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม”กับรางวัล“เพลงร็อคยอดเยี่ยม”จากเพลง “Little Lion Man” ซึ่งแม้พวกเขาจะพลาดหวังไปทั้ง 2 รางวัล แต่การได้ขึ้นเวทีเล่นเป็นวงแบ็คอัพให้กับเทพเจ้าหัวฟู “บ็อบ ดีแล่น”(Bob Dylan) ในวันประกาศผลรางวัลแกรมมี่มันก็ช่วยเสริมสิริมงคล เอ๊ย!!! ช่วยเสริมเครดิตที่ดีอยู่แล้วของวงนี้ให้ดีเพิ่มยิ่งขึ้นไปอีก
ในขณะที่ทางฟากฝั่งอังกฤษบ้านเกิดนั้น Mumford & Sons ได้เข้าชิงรางวัล Brit Awards 2011 ถึง 3 รางวัล คือ ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม,วงดนตรียอดเยี่ยม และอัลบั้มแห่งปี ซึ่งพวกเขาสามารถนำ Sigh No More ซิวรางวัลอัลบั้มแห่งปีไปครองได้สำเร็จ
ใช่ว่าจะมีดีแค่กล่องเท่านั้น แต่ชื่อชั้นของวงนี้ก็ไปได้ดีไม่แพ้กัน เพราะหลังแจ้งเกิด Sigh No More ก็ค่อยๆเก็บแต้มสะสมชื่อเสียงจนสามารถขึ้นไปถึงอันดับ 2 ใน ชาร์ต UK อัลบั้ม ส่วนในบิลบอร์ดชาร์ตของมะกัน หลังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี่ ความนิยมของ Mumford & Sons ทะลึ่งพุ่งพรวด โดยเฉพาะในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา พวกเขาขึ้นไปอยู่ใน Top 10 ของบิลบอร์ดชาร์ตเพลงป็อบอยู่หลายสัปดาห์ด้วยกัน โดยพุ่งขึ้นไปสูงสุดถึงอันดับ 3 ส่วนในบิลบอร์ดชาร์ตเพลงโฟล์คนั้นยึดหัวหาดอันดับ 1 มาได้พักหนึ่งแล้ว
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีกล่อง มีชื่อ แต่ถ้ายอดขายไม่ดี นักดนตรีก็คงต้องกินแกลบแทนชีสแทนขนมปัง แต่นั่นไม่ใช่สำหรับวงดนตรีวงนี้ เพราะอัลบั้มแรกของพวกเขาสามารถทำยอดขายได้ทะลุเกิน 1 ล้านก็อปปี้ทั้งในอังกฤษและอเมริกา
นับเป็นสถิติที่สวยหรูอย่างยิ่งสำหรับวงดนตรีน้องใหม่ หน้าใหม่ ที่ไม่ได้ทำเพลงออกมาเป็นป็อบจ๋าตามกระแสตลาดนิยม หากแต่บทเพลงของ Mumford & Sons ในอัลบั้มแรก Sigh No More เป็นเพลงโฟล์คร่วมสมัยที่เจือความเป็นร็อค คันทรี บลูกราสส์ และเทรดิชั่น เข้าไว้ด้วยกันได้อย่างน่าฟัง
สำหรับผลงานเพลงชุดนี้ Mumford & Sons ได้ “มาร์คัส เดรฟส์”(Markus Dravs) ที่เคยฝากฝีไม้ลายมือกับ Coldplay และ Arcade Fire มาร่วมโปรดิวซ์งานร่วมกัน ในเนื้อหาเรื่องราวของเพลงโฟล์คของคนรุ่นใหม่ที่ผสมผสานระหว่างวิถีชนบทกับวิถีคนเมือง ซึ่งปรากฏการณ์ผสานวิถีชนบทกับวิถีเมืองแบบนี้เกิดขึ้นไปในทุกมุมโลกไม่เว้นแม้แต่ในบ้านเรา
Sigh No More เปิดฉากกันด้วยบทเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้มคือ “Sigh No More” ที่เปิดนำด้วยเสียงอะคูสติคกีตาร์ปิ๊กกิ้งใสปิ๊งนำมาบางๆ ก่อนเปิดพื้นที่ให้สมาชิกวงร่วมกันร้องประสานโดยมีเสียงของมาร์คัส มัมฟอร์ดเป็นพระเอกนำโด่งออกมา เผยให้ถึงทิศทางการทำเพลงของวงนี้ จากนั้นดนตรีเดินต่อในอารมณ์โฟล์คกร้านๆ มีกีตาร์ตีคอร์ดคุมไปพร้อมกับเสียงดับเบิ้ลเบสแน่นๆที่เล่นย้ำหัวตัวโน้ต แล้วจึงส่งต่อเข้าช่วงอารมณ์มันๆในช่วงท้ายที่พวกเล่นขโยกกันเต็มที่ ทั้งเบส กลอง กีตาร์ และที่ต้องเพ่งพินิจหูฟังก็คือ เสียงแบนโจเล่นขับควบได้อย่างโดดเด่น สนุกคึกคัก
เพลงถัดมาเป็น “The Cave” กีตาร์เล่นโน้ตในสำเนียงง่ายเจือความเป็นป็อบชวนให้ติดหู ตามด้วยเสียงร้องฟังซื่อๆแต่จริงใจ แล้วส่งต่อเข้าสู่โหมดสนุกๆที่ทางวงพร้อมใจกันควบโขยกพาตัวเพลงไปสู่จุดหมาย ก่อนตอกย้ำตัวโน้ตในท่วงทำนองหลักสลับอารมณ์กลับไปกลับมา
“Winter Winds” เพลงนี้มีสำเนียงพื้นบ้าน(ฝรั่ง) สำเนียงเทรดิชั่นค่อนข้างชัดเจน เสียงร้องนำออกเหน่อนิดๆ ฟังแล้วชวนให้หลงรักเหมือนไอ้หนุ่มบุญชูคนซื่อ ในขณะที่ภาคดนตรีนั้นฟังสวยงาม กีตาร์ แบนโจ เบส กลอง เล่นสวมสอดกันได้อย่างน่าฟัง โดยมีเสียงทรัมเป็ตเป่าเป็นฉากหลังประกอบจางๆ ก่อนที่จะแผดเด่นเป็นพระเอกในท่อนโซโลที่สดใส มีพลัง ฟังแล้วชวนให้รู้สึกว่าสายลมในฤดูหนาวมันช่างอบอุ่นไม่น้อยเลย
จากนั้นเป็น “Roll Away Your Stone”กับคันทรีโฟล์คสนุกๆ มีการสลับจังหวะโหมดอารมณ์เพลงให้หน่วงลงในช่วงท้าย ส่วน “White Blank Page” มาในอารมณ์หน่วงเนิบ เน้นเสียงร้องประสานกับดนตรีเจือกลิ่นอายชนบท แล้วตามต่อกันด้วย “I Gave You All” ที่เล่นนำมาด้วยบัลลาดช้าๆ ฟังหงอยเศร้า ก่อนจะเริ่มบีทเร้าอารมณ์ให้กระชับคึกคักขึ้น พร้อมกับภาคดนตรีที่เติมใส่เข้าไปอย่างหน้าแน่นในช่วงท้ายๆ
เพลงต่อมาเป็นถือเป็นอีกหนึ่งเพลงเอกประจำอัลบั้ม นั่นก็คือ “Little Lion Man” ที่ได้เข้าชิงแกรมมี่สาขาเพลงร็อกยอดเยี่ยม เพลงนี้มาด้วยเสียงตีคอร์ดกีตาร์มันๆของมันฟอร์ด ก่อนส่งเข้าเพลงที่มีการเล่นสลับอารมณ์ไม่ต่างจาก 2-3 เพลงที่ผ่านมา คือ มีท่อนร้องคู่ไปกับเสียงกีตาร์ตีคอร์ดแน่นๆคุมภาคดนตรี ก่อนส่งให้เครื่องดนตรีอื่นๆรับไม้ต่อแล้วโขยกควบไปพร้อมๆกันอย่างเร้าอารมณ์
ความคึกคักใน Little Lion Man ถูกเบรกลงในเพลง “Timshel” ที่เป็นคันทรี-โฟล์คในดนตรีเรียบง่ายไม่ซับซ้อน เน้นไปที่เสียงร้องประสานซึ่งเป็นทางถนัดของวง
จากนั้นต่อกันด้วย 3 เพลงรวดในอารมณ์คล้ายกันคือ ช่วงแรกมาในอารมณ์หน่วงๆเนิบๆ ก่อนเร่งจังหวะ เพิ่มดีกรีของภาคดนตรีให้เข้มข้นขึ้น แล้วไปจัดหนักกันในช่วงท้ายๆ สำหรับ 3 เพลงต่อเนื่องในโหมดนี้ ได้แก่ “Thistle & Weeds”, “Awake My Soul” และ “Dust Bowl Dance”
แล้วก็มาถึง “After the Storm” บทเพลงส่งท้ายที่มาในอารมณ์เศร้าหงอย เสียงร้องของมัมฟอร์ดฟังบาดลึกกินใจ แถมด้วยเสียงสไลด์โดโบรที่เล่นง่ายๆในทำนองหลักสอดประสานไปนั้น มันช่างฟังเย็นลึก ถือเป็นการปิดท้ายอารมณ์แบบเหงาๆแต่จับอารมณ์ไม่น้อย
และนั่นก็คือ 12 เพลงใน “Sigh No More” ที่แม้งานเพลงโดยรวมของพวกเขาจะไม่มีเพลงป็อบติดหูให้ฟัง แถมบางเพลงฟังเหมือนยังไม่เข้าที่เข้าทาง และแถมอีกหลายเพลงยังมากไปด้วยเพลงอารมณ์ช้าๆหน่วงเนิบสลับกับการเร่งเร้าจังหวะสนุกๆในช่วงท้ายๆ ซึ่งเมื่อฟังผ่านๆอาจให้ความรู้สึกคล้ายๆกัน และอาจรู้สึกน่าเบื่อสำหรับบางคนที่ไม่ได้นิยมในบทเพลงแนวนี้ หรืออาจจะฟังดูเชยในสายตาและรูหูของใครบางคน
แต่ทว่าเมื่อฟังซ้ำหลายๆครั้ง ฟังกันแบบพินิจจับในอารมณ์จะพบว่า Mumford & Sons เก่งมากในเรื่องของการสร้างอารมณ์เพลง การเล่นดนตรีประสานสอดรับกันเป็นทีมเวิร์ค การสร้างสรรพสำเนียงโฟล์คร่วมสมัยในแบบฉบับของคนรุ่นใหม่ที่มีแนวทางเฉพาะตัว รวมถึงเจ๋งในด้านการสอดแทรกสรรพเสียงต่างๆลงไปในตัวเพลง ไม่ว่าจะเป็น เสียงร้องประสาน เสียงเครื่องดนตรี อย่าง กีตาร์ แบนโจ โดโบร ทรัมเป็ต แอ๊คคอร์เดียน ฯ ที่รู้จักหยิบหยอดมาใช้ได้อย่างมีจังหวะจะโคน
นับเป็นได้ว่าเส้นทางตัวโน้ตดนตรีในอนาคตของวงน้องใหม่อย่าง “Mumford & Sons” วงโฟล์ครุ่นใหม่ที่มีรูปแบบลายเซ็นทางดนตรีที่โดดเด่น ฟังดูเท่ สด ฉีก และเก๋าเกินชื่อชั้นนั้น น่าจับตาและน่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง
****************************************
คลิกฟังเพลง "The Cave" ของ Mumford & Sons
****************************************
แกะกล่อง
ศิลปิน : Alison Krauss & Union Station
อัลบั้ม : Paper Airplane
ในยุคเพลงป็อบ แดนซ์ ยึดหัวหาดตลาดเพลงมะกัน การสามารถแหกด่านมะขามเตี้ยนำดนตรีโฟล์ค/บลูแกรสส์(ยุคใหม่)ในอัลบั้ม Paper Airplane ขึ้นไปติด Top 10 ตารางป็อบบิลล์บอร์ดชาร์จ นับว่าไม่ธรรมดาเลย สำหรับผลงานเพลงชุดนี้แม้ส่วนใหญ่จะพูดถึงความผิดหวัง ปวดร้าว พ่ายแพ้ในชีวิตและความรัก แต่ตัวบทเพลงกับมีความไพเราะน่าฟังยิ่ง โดยเฉพาะเสียงร้องของ อลิสัน เคร้าส์ ยังคงยอดเยี่ยมไม่สร่างซา เหมาะเจาะลงตัวกับวงยูเนี่ยน สเตชั่นที่มาเล่นแบ๊คอัพให้ Paper Airplane มีบทเพลงน่าสนใจอาทิ “Paper Airplain”,”Dimming Of The Day” และ “My Opening Farewell” ที่ได้ป๋า แจ๊คสัน บราวน์ มาช่วยแต่งเนื้อร้องอันคมคายให้
*****************************************
คอนเสิร์ต
“Brass from Boston”
วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย(TPO) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอคอนเสิร์ต “Brass from Boston” โดยมี Ron Barron โซโลอิสท์ ผู้มีตำแหน่งเป็น Principal Trombone วง Boston Symphony Orchestra มากว่า 33 ปี และเจ้าของรางวัลชนะเลิศในการแข่งขัน Munich International Competition เขาจะมาบรรเลงเพลง Palmetto Suite ของ Eric Ewazen
ร่วมด้วยบทเพลงชวนฟังอื่นๆ อาทิ Sinfonietta ของ Leos Jánácek เพลงไทย “หงส์ทอง เถา” และเพลง “Wschodni Wiatr” (East Wind) ผลงานประพันธ์เพลงใหม่ล่าสุดของ James J. Ogburn หัวหน้าสาขาการประพันธ์ดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล
คอนเสิร์ตครั้งนี้อำนวยเพลงโดย Gudni A. Emilsson จัดขึ้น ณ หอแสดงดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2 รอบ คือ วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2554 เวลา 19.00 น. และวันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน 2554 เวลา 16.00 น. บัตรราคา 500, 300 และ 100(นักเรียนนักศึกษา) บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือสำรองที่นั่งกรุณาโทร. 0 2800 2525 - 34 ต่อ 153-154 หรือ www.music.mahidol.ac.th, www.thailandphil.com
ไม่ใช่วงป็อบ ไม่ได้ทำเพลงป็อบ แต่วงหน้าใหม่ น้องใหม่อย่าง “Mumford & Sons” กลับสามารถพาดนตรีที่ฟังไม่ป็อบ สวนกระแสนิยม แหกด่านมะขามเตี้ยขึ้นไปผงาดติด Top 5 บนชาร์ตเพลงป็อบทั้งในอังกฤษและอเมริกาได้อย่างน่ายกย่อง นับเป็นหนึ่งในวงที่เมื่อได้ฟังแล้ว ผมก็บรรจุพวกเขาไว้ในเม็มโมรี่หยักๆในหัวกบาลอย่างไม่รีรอ
“Mumford & Sons” เป็นวงจากลอนดอน อังกฤษ พวกเขารวมตัวกันก่อร่างสร้างวงในช่วงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007 กับแนวดนตรีโฟล์คร็อคอันเดอร์กราวน์ด มีสมาชิก 4 พะหน่อประกอบด้วย “มาร์คัส มัมฟอร์ด”(Marcus Mumford) : ร้องนำ-กีตาร์-แมนโดลิน-กลอง,“เบน โลเว็ทท์”(Ben Lovett) : คีย์บอร์ด-แอ๊คคอร์เดียน-กลอง-ร้อง, “วินสตัน มาร์แชล”(Winston Marshall) : แบนโจ-โดโบร-ร้อง “เท็ด ดเวน”(Ted Dwane) : ดับเบิ้ลเบส,กีตาร์,กลอง,ร้อง
ปี 2008 พวกเขามีอีพีชุดแรกในชื่อเดียวกับวงออกมา แล้วตามด้วยอีพีชุด “Love Your Ground” ในปลายปีเดียวกัน
ถัดมาปี 2009 ช่วงเดือนตุลาคม 4 หนุ่ม Mumford & Sons ช่วยกันทำคลอดอัลบั้มแรก “Sigh No More” ออกมา จากนั้นงานเพลงชุดนี้ได้ข้ามทวีปไปเป็นที่รู้จักในตลาดเพลงอเมริกาในเดือนกุมภาพันธ์ 2010
Mumford & Sons แม้จะเป็นวงน้องใหม่เพิ่งไปอำเภอแจ้งเกิดมาได้ไม่นาน แต่ด้วยดนตรีโฟล์คร็อคที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สวนกระแสตลาดเพลงป็อบร่วมสมัยที่พักหลังเพลงแนวป็อบ แด๊นซ์ ฮิฟฮอฟ เริ่มอิ่มตัว ทำให้อัลบั้มชุด Sigh No More เข้าตากรรมการ จนได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่ครั้งที่ 53 รวม 2 รางวัลด้วยกันคือ“ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม”กับรางวัล“เพลงร็อคยอดเยี่ยม”จากเพลง “Little Lion Man” ซึ่งแม้พวกเขาจะพลาดหวังไปทั้ง 2 รางวัล แต่การได้ขึ้นเวทีเล่นเป็นวงแบ็คอัพให้กับเทพเจ้าหัวฟู “บ็อบ ดีแล่น”(Bob Dylan) ในวันประกาศผลรางวัลแกรมมี่มันก็ช่วยเสริมสิริมงคล เอ๊ย!!! ช่วยเสริมเครดิตที่ดีอยู่แล้วของวงนี้ให้ดีเพิ่มยิ่งขึ้นไปอีก
ในขณะที่ทางฟากฝั่งอังกฤษบ้านเกิดนั้น Mumford & Sons ได้เข้าชิงรางวัล Brit Awards 2011 ถึง 3 รางวัล คือ ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม,วงดนตรียอดเยี่ยม และอัลบั้มแห่งปี ซึ่งพวกเขาสามารถนำ Sigh No More ซิวรางวัลอัลบั้มแห่งปีไปครองได้สำเร็จ
ใช่ว่าจะมีดีแค่กล่องเท่านั้น แต่ชื่อชั้นของวงนี้ก็ไปได้ดีไม่แพ้กัน เพราะหลังแจ้งเกิด Sigh No More ก็ค่อยๆเก็บแต้มสะสมชื่อเสียงจนสามารถขึ้นไปถึงอันดับ 2 ใน ชาร์ต UK อัลบั้ม ส่วนในบิลบอร์ดชาร์ตของมะกัน หลังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี่ ความนิยมของ Mumford & Sons ทะลึ่งพุ่งพรวด โดยเฉพาะในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา พวกเขาขึ้นไปอยู่ใน Top 10 ของบิลบอร์ดชาร์ตเพลงป็อบอยู่หลายสัปดาห์ด้วยกัน โดยพุ่งขึ้นไปสูงสุดถึงอันดับ 3 ส่วนในบิลบอร์ดชาร์ตเพลงโฟล์คนั้นยึดหัวหาดอันดับ 1 มาได้พักหนึ่งแล้ว
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีกล่อง มีชื่อ แต่ถ้ายอดขายไม่ดี นักดนตรีก็คงต้องกินแกลบแทนชีสแทนขนมปัง แต่นั่นไม่ใช่สำหรับวงดนตรีวงนี้ เพราะอัลบั้มแรกของพวกเขาสามารถทำยอดขายได้ทะลุเกิน 1 ล้านก็อปปี้ทั้งในอังกฤษและอเมริกา
นับเป็นสถิติที่สวยหรูอย่างยิ่งสำหรับวงดนตรีน้องใหม่ หน้าใหม่ ที่ไม่ได้ทำเพลงออกมาเป็นป็อบจ๋าตามกระแสตลาดนิยม หากแต่บทเพลงของ Mumford & Sons ในอัลบั้มแรก Sigh No More เป็นเพลงโฟล์คร่วมสมัยที่เจือความเป็นร็อค คันทรี บลูกราสส์ และเทรดิชั่น เข้าไว้ด้วยกันได้อย่างน่าฟัง
สำหรับผลงานเพลงชุดนี้ Mumford & Sons ได้ “มาร์คัส เดรฟส์”(Markus Dravs) ที่เคยฝากฝีไม้ลายมือกับ Coldplay และ Arcade Fire มาร่วมโปรดิวซ์งานร่วมกัน ในเนื้อหาเรื่องราวของเพลงโฟล์คของคนรุ่นใหม่ที่ผสมผสานระหว่างวิถีชนบทกับวิถีคนเมือง ซึ่งปรากฏการณ์ผสานวิถีชนบทกับวิถีเมืองแบบนี้เกิดขึ้นไปในทุกมุมโลกไม่เว้นแม้แต่ในบ้านเรา
Sigh No More เปิดฉากกันด้วยบทเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้มคือ “Sigh No More” ที่เปิดนำด้วยเสียงอะคูสติคกีตาร์ปิ๊กกิ้งใสปิ๊งนำมาบางๆ ก่อนเปิดพื้นที่ให้สมาชิกวงร่วมกันร้องประสานโดยมีเสียงของมาร์คัส มัมฟอร์ดเป็นพระเอกนำโด่งออกมา เผยให้ถึงทิศทางการทำเพลงของวงนี้ จากนั้นดนตรีเดินต่อในอารมณ์โฟล์คกร้านๆ มีกีตาร์ตีคอร์ดคุมไปพร้อมกับเสียงดับเบิ้ลเบสแน่นๆที่เล่นย้ำหัวตัวโน้ต แล้วจึงส่งต่อเข้าช่วงอารมณ์มันๆในช่วงท้ายที่พวกเล่นขโยกกันเต็มที่ ทั้งเบส กลอง กีตาร์ และที่ต้องเพ่งพินิจหูฟังก็คือ เสียงแบนโจเล่นขับควบได้อย่างโดดเด่น สนุกคึกคัก
เพลงถัดมาเป็น “The Cave” กีตาร์เล่นโน้ตในสำเนียงง่ายเจือความเป็นป็อบชวนให้ติดหู ตามด้วยเสียงร้องฟังซื่อๆแต่จริงใจ แล้วส่งต่อเข้าสู่โหมดสนุกๆที่ทางวงพร้อมใจกันควบโขยกพาตัวเพลงไปสู่จุดหมาย ก่อนตอกย้ำตัวโน้ตในท่วงทำนองหลักสลับอารมณ์กลับไปกลับมา
“Winter Winds” เพลงนี้มีสำเนียงพื้นบ้าน(ฝรั่ง) สำเนียงเทรดิชั่นค่อนข้างชัดเจน เสียงร้องนำออกเหน่อนิดๆ ฟังแล้วชวนให้หลงรักเหมือนไอ้หนุ่มบุญชูคนซื่อ ในขณะที่ภาคดนตรีนั้นฟังสวยงาม กีตาร์ แบนโจ เบส กลอง เล่นสวมสอดกันได้อย่างน่าฟัง โดยมีเสียงทรัมเป็ตเป่าเป็นฉากหลังประกอบจางๆ ก่อนที่จะแผดเด่นเป็นพระเอกในท่อนโซโลที่สดใส มีพลัง ฟังแล้วชวนให้รู้สึกว่าสายลมในฤดูหนาวมันช่างอบอุ่นไม่น้อยเลย
จากนั้นเป็น “Roll Away Your Stone”กับคันทรีโฟล์คสนุกๆ มีการสลับจังหวะโหมดอารมณ์เพลงให้หน่วงลงในช่วงท้าย ส่วน “White Blank Page” มาในอารมณ์หน่วงเนิบ เน้นเสียงร้องประสานกับดนตรีเจือกลิ่นอายชนบท แล้วตามต่อกันด้วย “I Gave You All” ที่เล่นนำมาด้วยบัลลาดช้าๆ ฟังหงอยเศร้า ก่อนจะเริ่มบีทเร้าอารมณ์ให้กระชับคึกคักขึ้น พร้อมกับภาคดนตรีที่เติมใส่เข้าไปอย่างหน้าแน่นในช่วงท้ายๆ
เพลงต่อมาเป็นถือเป็นอีกหนึ่งเพลงเอกประจำอัลบั้ม นั่นก็คือ “Little Lion Man” ที่ได้เข้าชิงแกรมมี่สาขาเพลงร็อกยอดเยี่ยม เพลงนี้มาด้วยเสียงตีคอร์ดกีตาร์มันๆของมันฟอร์ด ก่อนส่งเข้าเพลงที่มีการเล่นสลับอารมณ์ไม่ต่างจาก 2-3 เพลงที่ผ่านมา คือ มีท่อนร้องคู่ไปกับเสียงกีตาร์ตีคอร์ดแน่นๆคุมภาคดนตรี ก่อนส่งให้เครื่องดนตรีอื่นๆรับไม้ต่อแล้วโขยกควบไปพร้อมๆกันอย่างเร้าอารมณ์
ความคึกคักใน Little Lion Man ถูกเบรกลงในเพลง “Timshel” ที่เป็นคันทรี-โฟล์คในดนตรีเรียบง่ายไม่ซับซ้อน เน้นไปที่เสียงร้องประสานซึ่งเป็นทางถนัดของวง
จากนั้นต่อกันด้วย 3 เพลงรวดในอารมณ์คล้ายกันคือ ช่วงแรกมาในอารมณ์หน่วงๆเนิบๆ ก่อนเร่งจังหวะ เพิ่มดีกรีของภาคดนตรีให้เข้มข้นขึ้น แล้วไปจัดหนักกันในช่วงท้ายๆ สำหรับ 3 เพลงต่อเนื่องในโหมดนี้ ได้แก่ “Thistle & Weeds”, “Awake My Soul” และ “Dust Bowl Dance”
แล้วก็มาถึง “After the Storm” บทเพลงส่งท้ายที่มาในอารมณ์เศร้าหงอย เสียงร้องของมัมฟอร์ดฟังบาดลึกกินใจ แถมด้วยเสียงสไลด์โดโบรที่เล่นง่ายๆในทำนองหลักสอดประสานไปนั้น มันช่างฟังเย็นลึก ถือเป็นการปิดท้ายอารมณ์แบบเหงาๆแต่จับอารมณ์ไม่น้อย
และนั่นก็คือ 12 เพลงใน “Sigh No More” ที่แม้งานเพลงโดยรวมของพวกเขาจะไม่มีเพลงป็อบติดหูให้ฟัง แถมบางเพลงฟังเหมือนยังไม่เข้าที่เข้าทาง และแถมอีกหลายเพลงยังมากไปด้วยเพลงอารมณ์ช้าๆหน่วงเนิบสลับกับการเร่งเร้าจังหวะสนุกๆในช่วงท้ายๆ ซึ่งเมื่อฟังผ่านๆอาจให้ความรู้สึกคล้ายๆกัน และอาจรู้สึกน่าเบื่อสำหรับบางคนที่ไม่ได้นิยมในบทเพลงแนวนี้ หรืออาจจะฟังดูเชยในสายตาและรูหูของใครบางคน
แต่ทว่าเมื่อฟังซ้ำหลายๆครั้ง ฟังกันแบบพินิจจับในอารมณ์จะพบว่า Mumford & Sons เก่งมากในเรื่องของการสร้างอารมณ์เพลง การเล่นดนตรีประสานสอดรับกันเป็นทีมเวิร์ค การสร้างสรรพสำเนียงโฟล์คร่วมสมัยในแบบฉบับของคนรุ่นใหม่ที่มีแนวทางเฉพาะตัว รวมถึงเจ๋งในด้านการสอดแทรกสรรพเสียงต่างๆลงไปในตัวเพลง ไม่ว่าจะเป็น เสียงร้องประสาน เสียงเครื่องดนตรี อย่าง กีตาร์ แบนโจ โดโบร ทรัมเป็ต แอ๊คคอร์เดียน ฯ ที่รู้จักหยิบหยอดมาใช้ได้อย่างมีจังหวะจะโคน
นับเป็นได้ว่าเส้นทางตัวโน้ตดนตรีในอนาคตของวงน้องใหม่อย่าง “Mumford & Sons” วงโฟล์ครุ่นใหม่ที่มีรูปแบบลายเซ็นทางดนตรีที่โดดเด่น ฟังดูเท่ สด ฉีก และเก๋าเกินชื่อชั้นนั้น น่าจับตาและน่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง
****************************************
คลิกฟังเพลง "The Cave" ของ Mumford & Sons
****************************************
แกะกล่อง
ศิลปิน : Alison Krauss & Union Station
อัลบั้ม : Paper Airplane
ในยุคเพลงป็อบ แดนซ์ ยึดหัวหาดตลาดเพลงมะกัน การสามารถแหกด่านมะขามเตี้ยนำดนตรีโฟล์ค/บลูแกรสส์(ยุคใหม่)ในอัลบั้ม Paper Airplane ขึ้นไปติด Top 10 ตารางป็อบบิลล์บอร์ดชาร์จ นับว่าไม่ธรรมดาเลย สำหรับผลงานเพลงชุดนี้แม้ส่วนใหญ่จะพูดถึงความผิดหวัง ปวดร้าว พ่ายแพ้ในชีวิตและความรัก แต่ตัวบทเพลงกับมีความไพเราะน่าฟังยิ่ง โดยเฉพาะเสียงร้องของ อลิสัน เคร้าส์ ยังคงยอดเยี่ยมไม่สร่างซา เหมาะเจาะลงตัวกับวงยูเนี่ยน สเตชั่นที่มาเล่นแบ๊คอัพให้ Paper Airplane มีบทเพลงน่าสนใจอาทิ “Paper Airplain”,”Dimming Of The Day” และ “My Opening Farewell” ที่ได้ป๋า แจ๊คสัน บราวน์ มาช่วยแต่งเนื้อร้องอันคมคายให้
*****************************************
คอนเสิร์ต
“Brass from Boston”
วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย(TPO) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอคอนเสิร์ต “Brass from Boston” โดยมี Ron Barron โซโลอิสท์ ผู้มีตำแหน่งเป็น Principal Trombone วง Boston Symphony Orchestra มากว่า 33 ปี และเจ้าของรางวัลชนะเลิศในการแข่งขัน Munich International Competition เขาจะมาบรรเลงเพลง Palmetto Suite ของ Eric Ewazen
ร่วมด้วยบทเพลงชวนฟังอื่นๆ อาทิ Sinfonietta ของ Leos Jánácek เพลงไทย “หงส์ทอง เถา” และเพลง “Wschodni Wiatr” (East Wind) ผลงานประพันธ์เพลงใหม่ล่าสุดของ James J. Ogburn หัวหน้าสาขาการประพันธ์ดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล
คอนเสิร์ตครั้งนี้อำนวยเพลงโดย Gudni A. Emilsson จัดขึ้น ณ หอแสดงดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2 รอบ คือ วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2554 เวลา 19.00 น. และวันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน 2554 เวลา 16.00 น. บัตรราคา 500, 300 และ 100(นักเรียนนักศึกษา) บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือสำรองที่นั่งกรุณาโทร. 0 2800 2525 - 34 ต่อ 153-154 หรือ www.music.mahidol.ac.th, www.thailandphil.com