โดย : บอน บอระเพ็ด (skbon109@hotmail.com)
แม้ดนตรีคลาสสิก(Classical Music) จะเป็นรากฐานของตัวโน้ตดนตรีสากลในบรรณพิภพ เป็นรากฐานของดนตรีแขนงต่างๆมากมายในยุคต่อๆมาหลังการถือกำเนิดขึ้นมาของดนตรีแขนงนี้
แต่สำหรับคนไทยจำนวนมาก ดนตรีคลาสสิกกลับเป็นดังของ“แสลง” ที่พอได้ยินคำว่าเพลงคลาสสิกคราใด มักเกิดอาการหน้าปั้นยาก หัวร่อมิได้ ร่ำไห้มิออก ด้วยยังติดในมายาคติว่าเพลงคลาสสิก “เป็นของสูง” “ฟังโค-ตะ-ระ ยาก” “เพลงอะไรไม่รู้ยืดยาว(มาก)” “ฟังแล้วง่วง” “ฟังแล้วหลับ” และ “ต้องปีนกระไดฟัง”
นั่นจึงทำให้ใครและใครหลายคนเดินหนี ทั้งๆที่ซุ่มเสียงของเพลงคลาสสิกเป็นที่คุ้นเคยและคุ้นหูคนไทยกันดีพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นในริงโทนมือถือ(ในช่วงก่อนยุคดาวน์โหลด) ในภาพยนตร์ ทีวี วิทยุ ในโฆษณา ในงานรื่นเริง งานแต่งงาน หรือแม้กระทั่งในนาฬิกาปลุกหลายเครื่อง ต่างมีสรรพเสียงของดนตรีคลาสสิกปะปนอยู่บ้างพอหอมปากหอมคอ
สำหรับผมครั้งหนึ่งก็เคยเดินหนีเพลงคลาสสิกมาก่อน เพราะช่วงนั้นรู้สึกว่า ฟังแล้วมันไม่ติดหูเหมือนเพลงป็อบ ไม่มันสะใจเหมือนเพลงร็อค ไม่สนุกไม่โจ๊ะ เหมือนเพลง 3 ช่า เพื่อชีวิต
กระทั่งเมื่อมีโอกาสได้ทำงานที่เกี่ยวข้องด้านดนตรี ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะกับกูรูเพลง กับผู้พิสมัยในดนตรีคลาสสิก ความสนใจในดนตรีคลาสสิกจึงค่อยๆสะสมบ่มเพาะ กลับกลายแปรเปลี่ยนจากการเดินหนีมาเป็นเดินหน้าเข้าใส่
ทว่า...ช่วงแรกของการฟังเพลงคลาสสิกนั้น ผมมีปัญหาอยู่ที่ว่า ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน จะจับจุดอย่างไร
เรียกว่าแค่เริ่มก้าว ที่ยังไม่ต้องก้าวไปไกลถึงการพยายามทำความเข้าใจในตัวเพลง เข้าใจอารมณ์เพลง และก้าวไกลไปไกลกว่าถึงขั้นเข้าใจในสิ่งที่ศิลปินนักประพันธ์ถ่ายทอดออกมา ผมก็มึนตึ๊บแล้ว แต่งานนี้ผมโชคดีที่ได้เพื่อนผู้นิยมเพลงคลาสสิก ช่วยแนะนำให้ไปหาเพลงของคนโน้นคนนี้มาฟังและแนะนำผมให้ไปหาหนังสือบางเล่มมาอ่านประกอบ
แต่ทั้งเพลง(ซีดี)และหนังสือ หัวเด็ดตีนหลุดเพื่อนมันไม่ยอมให้ผมยืม เพราะมันบอกว่ามัน “กลัวผมยืมแล้วยืมเลย”
จบข่าว !
อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วผมก็ไม่ละความพยายาม หาเพลงมาฟังและหนังสือมาอ่านจนได้ ซึ่งทั้ง 2 ประสานจากการฟังและการอ่านก็ช่วยเปิดโลกดนตรีคลาสสิกให้ใกล้ตัวผมมากขึ้น ทำลายกระไดให้หายไป ทำให้ผมเพลิดเพลิน สนุก ไปกับเพลงคลาสสิก และช่วยให้พอเข้าใจในเพลงขนานนี้แบบงูๆปลาๆขึ้นมาบ้างในระดับหนึ่ง แบบฟังแล้วไม่เกิดความรู้สึกว่าอยากเอาซีดี ดีวีดี เพลงคลาสสิกที่ซื้อมาไปบริจาคให้กับช้างเร่ร่อน หรือไม่เกิดอาการเข้าไปนั่งหลับในคอนเสิร์ตคลาสสิก ยกเว้นในวันที่ง่วงจัดและวันที่แฮงก์หนักแต่จำเป็นต้องไปดูคอนเสิร์ตเพราะเสียดายเงินค่าตั๋วที่จองล่วงหน้า
อนึ่งการท่องไปสวนอักษร คุณาณุคุณของมันสำหรับผมเปรียบดังมอเตอร์เวย์ ที่ช่วยให้เราสามารถโลดแล่นไปบนโลกของดนตรีคลาสสิกได้อย่างมีหลัก มีทาง ช่วยให้การรับรสเพลงคลาสสิกอร่อยขึ้นมามากโข ผิดจากเดิมที่อาศัยการฟังแบบใช้จินตนาการลอยๆ อาศัยความ“ชอบ” หรือ“ไม่ชอบ” มาเป็นเครื่องตัดสินในตัวเพลงแต่เพียงถ่ายเดียว
พูดถึงหนังสือที่เกี่ยวกับดนตรีคลาสสิกในบ้านเรานั้นถือว่ามีอยู่ไม่น้อย ทั้งที่เป็นวิชาการ กึ่งวิชาการ และเพื่อความเพลิดเพลินบันเทิงอารมณ์(แต่ไม่ไร้หลักการ)
งานนี้ผมจึงขอหยิบเล่มที่นอกจากจะชื่นชอบเป็นการส่วนตัวแล้ว ยังเป็นหนังสือที่มีความเก่า เก๋า และขลัง เพราะเขียนมาร่วม 50 ปีแล้ว แต่วันนี้ยังคงได้รับการยอมรับจากแฟนานุแฟนและมีคนตามหาอ่านกันอยู่ไม่ขาด อีกทั้งเป็นหนังสือที่ผู้นิยมเพลงคลาสสิกต่างยกให้เป็นหนังสุดคลาสสิกเล่มหนึ่งแห่งสยามประเทศ
สำหรับหนังสือที่ว่านั้นก็คือ “บรรเลงรมย์” ที่เขียนโดย“จิ๋ว บางซื่อ”(นามปากกา) หนึ่งในผู้สุดแจ่มแจ๋วแห่งวงการวิจารณ์เมืองไทย
หนังสือเล่มนี้เป็นการรวม(เล่ม)บทความจากคอลัมน์ “กลางกรุง” ในนิตยสาร“ชาวกรุง”ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 - 2522 อาทิ ซิมโฟนีแห่งท้องทุ่ง, ซิมโฟนีจากโลกใหม่,อุปรากรแห่งความเสน่หา,โชแป็งแห่งซีกโลกเหนือ ฯลฯ
ครูจิ๋วเรียกงานเขียนคอลัมน์ของตัวเองว่า“หัสสารคดี” เริ่มเขียนครั้งแรก เดือน พ.ย. ปี 2495 จากนั้นก็เขียนเรื่อยมา จนมีการร่วมเล่มเป็น“บรรเลงรมย์”(เล่มแรก)ในปี 2503 ที่ตั้งชื่อตามนามของ พระสนิท บรรเลงรมย์ นักดนตรีที่ จิ๋ว บางซื่อ เคารพบูชายิ่ง ก่อนที่จะมี บรรเลงรมย์ เล่ม 2 และ 3 พิมพ์ตามมาในเวลาต่อมา
บรรเลงรมย์ บรรเลงรสดนตรีคลาสสิกได้อย่างครบเครื่อง ทั้ง เรื่องราวน่าสนใจของนักดนตรีเอก องค์ความรู้ทางด้านดนตรีคลาสสิก และการแนะนำ วิจารณ์ดนตรีคลาสสิก ไม่ว่าจะเป็น เพลงต่างๆ ซิมโฟนี คอนแชร์โต โอเปร่า บัลเล่ย์ ที่ถือเป็นพระเอกของหนังสือเล่มนี้
บรรเลงรมย์ บรรเลงเรื่องได้อย่างรื่นรมย์ ครูจิ๋วแกหยิบโน่น หยอดนี่ ยกนั่น มาผสมกันอย่างกลืน แล้วเขียนเล่านำเสนอออกมาอย่างง่ายๆ ในลีลาภาษาชาวบ้าน ออกลูกทุ่งนิดๆ ทำให้อ่านง่าย อ่านมัน สนุก ได้อรรถรส ขณะเดียวกันข้อมูลที่ครูจิ๋วนำเสนอมาก็แน่นไปด้วยสาระ ถูกต้อง แม่นยำ อีกทั้งยังมีเกร็ดๆต่างแถมพกเพื่อความบินเทิงเริงรื่น สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงจากวันนั้นมาจนถึงวันนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งผมขอยกตัวอย่าง บทความตอนหนึ่งที่พูดถึงโมสาร์ท(หนังสือเล่มนี้เรียกว่า“มทสาร์ท”)ว่า
...อัจฉริยบุรุษผู้นี้ไม่แต่จะมีพรสวรรค์ในทางดนตรีเป็นเลิศ รูปร่าวของเขายังงดงามสามโลกไม่มีเหมือน
“รอยรูปอินทร์อินทร์หยาดฟ้ามาอ่าองค์ในหน้า” จริงเชียวคุณ
ขนาดผมซึ่งเพื่อนฝูงเขาว่าหน้าตาไม่เลวนัก พอจะเป็นพระเอกกะเขาได้ แถมเป็นคนรุ่นใหม่ในยุคปรมาณูคนหนึ่งด้วยซ้ำยังหล่อไม่เท่าเลย...
ในขณะที่ยามอธิบายอารมณ์เพลงก็เขียนออกมาได้อย่างเห็นภาพ ดังตัวอย่าง ท่อนที่ 4(ท่อนสุดท้าย) Allegro ใน Symphony No.39 in E Flat Major ของโมสาร์ท
...ท่อนสุดท้ายกลับมีจังหวะเร็วและเริงร่า ฟังดูคล้ายเสียงน้ำในห้วยละหานที่ไหลแรงถะถั่ง
พอเอ่ยถึงบึงห้วย ผมก็ชักจะเย็นกายเย็นใจขึ้นมาทีเดียว ความรู้สึกในเวลาฟังเพลงของมทสาร์ทก็เป็นยังนี้แหละครับ คือชุ่มชื่นเหมือนได้ลงไปสรงสนานอยู่ในลำธารให้สายน้ำใสเย็นซึมซาบไปทั่วทุกขุมขน...
โอ...ครูจิ๋วแกบรรยายชนิดถ้าโมสาร์ทมีโอกาสได้รับรู้ บางทีอาจจะแต่งซิมโฟนีขนาดจิ๋วให้ก็เป็นได้
เห็นสำนวนภาษา ลีลาการเขียน แรกที่ยังไม่รู้จักตัวจริง ผมเดาว่าจิ๋ว บางซื่อ น่าจะเป็นผู้ชายกร้านโลก อารมณ์ดี ขี้เล่น และปากจัด แต่ประทานโทษ!!! เมื่อได้รู้ตัวจริงของของจิ๋ว บางซื่อ แล้วถึงกับอึ้งกิมกี่
เพราะจิ๋ว บางซื่อ เป็นนามปากกาของผู้หญิง คือ“แพทย์หญิงโชติศรี ท่าราบ” ผู้มีศักดิ์เป็นน้าแท้ๆของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี
ด้วยฝีมือการวิจารณ์ทั้งดนตรี ภาพยนตร์ ศิลปะ อันยอดเยี่ยมที่ท่านได้ฝากผลงานไว้มากมาย ทางชมรมวิจารณ์บันเทิงได้มอบ“รางวัลเกียรติคุณแห่งความสำเร็จ”ให้กับ พ.ญ.โชติศรี ในปี 2549 ในขณะที่ ”ขรรค์ชัย บุนปาน” ผู้เรียกขาน พ.ญ.โชติศรีเป็น “แม่หมอจิ๋ว” ได้ยกให้ผลงานบรรเลงรมย์ เป็นดัง“เครื่องช่วยเสริมจินตนาการบรรเจิดเพริศพริ้งสมจริงโดยนัยแห่งศิลปะ” สมศักดิ์ศรีหนังสือที่ได้รับการยกย่องจากผู้สันทัดกรณีในวงการว่า เป็นหนังสือดนตรีคลาสสิกที่คลาสสิกที่สุดเล่มหนึ่งในเมืองไทย
ที่สำคัญหนังสือเล่มนี้อ่านสนุก อ่านง่ายและไม่ต้องปีนกระไดอ่าน แต่น่าเสียดายตรงนี้หนังสือเล่มนี้หาศื้อ หาอ่านยากไปหน่อย อย่างตัวผมเองยังหาซื้อไม่ได้ ต้องใช้วิธีให้น้องที่เรียนปริญญาโทยืมหนังสือเล่มนี้จากห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอามาให้อ่าน แล้วถ่ายเอกสารเก็บไว้เป็นข้อมูลอ้างอิงด้านดนตรีคลาสสิก
นอกจากบรรเลงรมย์แล้ว บ้านเรายังมีหนังสือเกี่ยวกับดนตรีคลาสสิกที่ชวนอ่านอีกหลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็น
“จากดวงใจ” โดย “คีตกร จ.มงคลขจร สาทิส”(ดร.สาทิส อินทรกำแหง) งานเขียนแนวโรแมนติกดรามา ด้วยวิธีเล่าเรื่องแบบเขียนจดหมายถึงบุคคลอันเป็นที่รัก(น้อยที่รัก) สะท้อนให้เห็นรสนิยมของยุคสมัย ที่เด็กสมัยนี้ไม่คุ้นเคยกับงานเขียนสไตล์นี้(เพราะเด็กยุคนี้เลิกเขียนจดหมายกันแล้ว) เนื้อหาในจากดวงใจแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ อัตชีวประวัติของนักดนตรีเอก กับองค์ความรู้ด้านดนตรี เสริมด้วยการแนะนำเพลงคลาสสิกชนฟังสำหรับผู้เริ่มต้น และข้อคิดข้อเตือนใจในชีวิต
"คัมภีร์เพลงคลาสสิก" โดย อ.สดับพิณ รัตนเรือง ว่าด้วยเรื่องราวหลากหลายเกี่ยวกับดนตรีคลาสสิก เป็นหนังสือวิชาการที่อ่านไม่ยากและไม่น่าเบื่อ
"ดนตรีแห่งชีวิต แรงบันดาลใจแห่งผลงานอมตะ" โดย สุรพงษ์ บุนนาค หนังสือชีวิตย่อของยอดนักดนตรีคลาสสิกที่รวบรวมไว้มากถึง 63 คน นับว่ามากที่สุดในเมืองไทย ดนตรีแห่งชีวิต อ่านเพลิน แถมให้แรงบันดาลใจอีกต่างหาก
“เพลงเพลินใจ” โดย พิชัย วาสนาส่ง เล่มนี้อ่านเพลินใจสมชื่อหนังสือ เป็นการนำเสนอประวัตินักดนตรี แล้วแตกแขนงเข้าสู่เรื่องทางดนตรี พร้อมแนะนำเพลงชวนฟัง สอดแทรกเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย และบอกเล่าประสบการณ์ที่ผู้เขียนได้ไปลุยฟังเพลงคลาสสิกถึงแหล่งมาอย่างน่าอิจฉายิ่งนัก
"ก...ข...ค... คลาสสิก"(3 เล่ม) โดย ต่อพงษ์ เศวตามร์ เป็นการนำเสนอเรื่องราวของดนตรีคลาสสิกด้วยภาษาดิบๆตรงๆที่ออกมาจากความรู้สึก ทำให้นักอ่านเข้ารสดนตรีคลาสสิกได้ไม่ยาก แถมยังอ่านง่าย อ่านสนุก ทั้งเรื่องราวน่าสนใจของนักดนตรีเอก ศิลปะการปะพันธ์ การแนะนำบทเพลงคลาสสิกในสไตล์เฉพาะตัว บางเรื่องนำเสนอในประเด็นที่ แตกต่างจากทั่วไป อาทิ “เสริมชะตากับเพลงคลาสสิก” ที่แนะนำการฟังเพลงคลาสสิกตามธาตุ ตามราศีเกิด “เริ่มต้นฟังเพลงคลาสสิก กับ ดิ โอฬาร” ที่ใครอยากรู้ว่าวงเฮฟวี่เมทัล(ไทย)อย่างดิ โอฬาร มันเหมาะแก่การเริ่มตนฟังเพลงคลาสสิกอย่างไร คงต้องไปตามหาอ่านกัน
“คลาสสิค สังวาส”(คำว่า“คลาสสิค” สะกดตามชื่อหนังสือ) โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล เปรียบดังกับแกล้มที่ช่วยเพิ่มอรรถรสทางดนตรีคลาสสิก เพราะเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเพิ่มเติมที่น่าสนใจ อาทิ อาหารจานโปรดของนักดนตรี ที่ทำให้รู้ว่า “บีโธเฟน” ชอบกินซุปข้นๆ กินปลาเทร้าส์ “บราห์ม” ชอบกินซุปไก่ เป็นต้น หรือเรื่อง “นักร้องชายที่ถูกตอน” ที่ว่าด้วยเรื่องนักร้องชายเสียงสูงๆสมัยก่อนว่านอกจากจะต้องฝึกฝนการร้องอย่างหนักหน่วงแล้ว หลายคนยังถูกจับตอนอีกด้วย ตามความเชื่อที่ว่าจะทำให้ผู้ชายมีเสียงที่ไพเราะไม่ต่างจากระดับเสียงสูงของผู้หญิง ซึ่งเมื่ออ่านแล้วทำให้ผมอดนึกถึงการตอนตัวเองเพื่อให้เป็นจ้าวยุทธภพใน"กระบี่เย้ยยุทธจักร"ไม่ได้
และนี่ก็คือหนังสือดนตรีคลาสสิกส่วนหนึ่งในยุทธจักรวงการหนังสือดนตรีเพลงคลาสสิกบ้านเราที่นำมาบอกเล่าสู่กันฟัง โดยผมมุ่งเน้นไปที่หนังสือที่ให้รสการอ่านเพื่อความบันเทิงและความเพลิดเพลินเป็นหลัก ไม่ได้ต้องการให้ใครอ่านแล้วนำไปโอ่อวดยกตนข่มท่าน ต่อผู้ที่มีรสนิยมในการฟังเพลงที่แตกต่างจากเรา ซึ่งแม้นี่อาจจะเป็นการเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนสำหรับแฟนพันธุ์แท้เพลงคลาสสิกทั้งหลาย แต่มันน่าพอจะมีคุณประโยชน์อยู่บ้างไม่มากก็น้อยต่อผู้เริ่มต้นศึกษาดนตรีคลาสสิก หรือผู้สนใจอยากจะรับรส รับรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่ยังไม่รู้
สำหรับหนังสือเหล่านี้ ไม่ต้องปีนกระไดอ่านเหมือนกับเพลงคลาสสิกที่จริงๆแล้วไม่ต้องปีนกระไดหรือขึ้นลิฟต์ฟัง อย่างที่หลายๆคนกลัว
แต่ขอเพียงให้ เปิดใจรับฟัง เปิดใจรับรู้เป็นพอ
แม้ดนตรีคลาสสิก(Classical Music) จะเป็นรากฐานของตัวโน้ตดนตรีสากลในบรรณพิภพ เป็นรากฐานของดนตรีแขนงต่างๆมากมายในยุคต่อๆมาหลังการถือกำเนิดขึ้นมาของดนตรีแขนงนี้
แต่สำหรับคนไทยจำนวนมาก ดนตรีคลาสสิกกลับเป็นดังของ“แสลง” ที่พอได้ยินคำว่าเพลงคลาสสิกคราใด มักเกิดอาการหน้าปั้นยาก หัวร่อมิได้ ร่ำไห้มิออก ด้วยยังติดในมายาคติว่าเพลงคลาสสิก “เป็นของสูง” “ฟังโค-ตะ-ระ ยาก” “เพลงอะไรไม่รู้ยืดยาว(มาก)” “ฟังแล้วง่วง” “ฟังแล้วหลับ” และ “ต้องปีนกระไดฟัง”
นั่นจึงทำให้ใครและใครหลายคนเดินหนี ทั้งๆที่ซุ่มเสียงของเพลงคลาสสิกเป็นที่คุ้นเคยและคุ้นหูคนไทยกันดีพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นในริงโทนมือถือ(ในช่วงก่อนยุคดาวน์โหลด) ในภาพยนตร์ ทีวี วิทยุ ในโฆษณา ในงานรื่นเริง งานแต่งงาน หรือแม้กระทั่งในนาฬิกาปลุกหลายเครื่อง ต่างมีสรรพเสียงของดนตรีคลาสสิกปะปนอยู่บ้างพอหอมปากหอมคอ
สำหรับผมครั้งหนึ่งก็เคยเดินหนีเพลงคลาสสิกมาก่อน เพราะช่วงนั้นรู้สึกว่า ฟังแล้วมันไม่ติดหูเหมือนเพลงป็อบ ไม่มันสะใจเหมือนเพลงร็อค ไม่สนุกไม่โจ๊ะ เหมือนเพลง 3 ช่า เพื่อชีวิต
กระทั่งเมื่อมีโอกาสได้ทำงานที่เกี่ยวข้องด้านดนตรี ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะกับกูรูเพลง กับผู้พิสมัยในดนตรีคลาสสิก ความสนใจในดนตรีคลาสสิกจึงค่อยๆสะสมบ่มเพาะ กลับกลายแปรเปลี่ยนจากการเดินหนีมาเป็นเดินหน้าเข้าใส่
ทว่า...ช่วงแรกของการฟังเพลงคลาสสิกนั้น ผมมีปัญหาอยู่ที่ว่า ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน จะจับจุดอย่างไร
เรียกว่าแค่เริ่มก้าว ที่ยังไม่ต้องก้าวไปไกลถึงการพยายามทำความเข้าใจในตัวเพลง เข้าใจอารมณ์เพลง และก้าวไกลไปไกลกว่าถึงขั้นเข้าใจในสิ่งที่ศิลปินนักประพันธ์ถ่ายทอดออกมา ผมก็มึนตึ๊บแล้ว แต่งานนี้ผมโชคดีที่ได้เพื่อนผู้นิยมเพลงคลาสสิก ช่วยแนะนำให้ไปหาเพลงของคนโน้นคนนี้มาฟังและแนะนำผมให้ไปหาหนังสือบางเล่มมาอ่านประกอบ
แต่ทั้งเพลง(ซีดี)และหนังสือ หัวเด็ดตีนหลุดเพื่อนมันไม่ยอมให้ผมยืม เพราะมันบอกว่ามัน “กลัวผมยืมแล้วยืมเลย”
จบข่าว !
อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วผมก็ไม่ละความพยายาม หาเพลงมาฟังและหนังสือมาอ่านจนได้ ซึ่งทั้ง 2 ประสานจากการฟังและการอ่านก็ช่วยเปิดโลกดนตรีคลาสสิกให้ใกล้ตัวผมมากขึ้น ทำลายกระไดให้หายไป ทำให้ผมเพลิดเพลิน สนุก ไปกับเพลงคลาสสิก และช่วยให้พอเข้าใจในเพลงขนานนี้แบบงูๆปลาๆขึ้นมาบ้างในระดับหนึ่ง แบบฟังแล้วไม่เกิดความรู้สึกว่าอยากเอาซีดี ดีวีดี เพลงคลาสสิกที่ซื้อมาไปบริจาคให้กับช้างเร่ร่อน หรือไม่เกิดอาการเข้าไปนั่งหลับในคอนเสิร์ตคลาสสิก ยกเว้นในวันที่ง่วงจัดและวันที่แฮงก์หนักแต่จำเป็นต้องไปดูคอนเสิร์ตเพราะเสียดายเงินค่าตั๋วที่จองล่วงหน้า
อนึ่งการท่องไปสวนอักษร คุณาณุคุณของมันสำหรับผมเปรียบดังมอเตอร์เวย์ ที่ช่วยให้เราสามารถโลดแล่นไปบนโลกของดนตรีคลาสสิกได้อย่างมีหลัก มีทาง ช่วยให้การรับรสเพลงคลาสสิกอร่อยขึ้นมามากโข ผิดจากเดิมที่อาศัยการฟังแบบใช้จินตนาการลอยๆ อาศัยความ“ชอบ” หรือ“ไม่ชอบ” มาเป็นเครื่องตัดสินในตัวเพลงแต่เพียงถ่ายเดียว
พูดถึงหนังสือที่เกี่ยวกับดนตรีคลาสสิกในบ้านเรานั้นถือว่ามีอยู่ไม่น้อย ทั้งที่เป็นวิชาการ กึ่งวิชาการ และเพื่อความเพลิดเพลินบันเทิงอารมณ์(แต่ไม่ไร้หลักการ)
งานนี้ผมจึงขอหยิบเล่มที่นอกจากจะชื่นชอบเป็นการส่วนตัวแล้ว ยังเป็นหนังสือที่มีความเก่า เก๋า และขลัง เพราะเขียนมาร่วม 50 ปีแล้ว แต่วันนี้ยังคงได้รับการยอมรับจากแฟนานุแฟนและมีคนตามหาอ่านกันอยู่ไม่ขาด อีกทั้งเป็นหนังสือที่ผู้นิยมเพลงคลาสสิกต่างยกให้เป็นหนังสุดคลาสสิกเล่มหนึ่งแห่งสยามประเทศ
สำหรับหนังสือที่ว่านั้นก็คือ “บรรเลงรมย์” ที่เขียนโดย“จิ๋ว บางซื่อ”(นามปากกา) หนึ่งในผู้สุดแจ่มแจ๋วแห่งวงการวิจารณ์เมืองไทย
หนังสือเล่มนี้เป็นการรวม(เล่ม)บทความจากคอลัมน์ “กลางกรุง” ในนิตยสาร“ชาวกรุง”ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 - 2522 อาทิ ซิมโฟนีแห่งท้องทุ่ง, ซิมโฟนีจากโลกใหม่,อุปรากรแห่งความเสน่หา,โชแป็งแห่งซีกโลกเหนือ ฯลฯ
ครูจิ๋วเรียกงานเขียนคอลัมน์ของตัวเองว่า“หัสสารคดี” เริ่มเขียนครั้งแรก เดือน พ.ย. ปี 2495 จากนั้นก็เขียนเรื่อยมา จนมีการร่วมเล่มเป็น“บรรเลงรมย์”(เล่มแรก)ในปี 2503 ที่ตั้งชื่อตามนามของ พระสนิท บรรเลงรมย์ นักดนตรีที่ จิ๋ว บางซื่อ เคารพบูชายิ่ง ก่อนที่จะมี บรรเลงรมย์ เล่ม 2 และ 3 พิมพ์ตามมาในเวลาต่อมา
บรรเลงรมย์ บรรเลงรสดนตรีคลาสสิกได้อย่างครบเครื่อง ทั้ง เรื่องราวน่าสนใจของนักดนตรีเอก องค์ความรู้ทางด้านดนตรีคลาสสิก และการแนะนำ วิจารณ์ดนตรีคลาสสิก ไม่ว่าจะเป็น เพลงต่างๆ ซิมโฟนี คอนแชร์โต โอเปร่า บัลเล่ย์ ที่ถือเป็นพระเอกของหนังสือเล่มนี้
บรรเลงรมย์ บรรเลงเรื่องได้อย่างรื่นรมย์ ครูจิ๋วแกหยิบโน่น หยอดนี่ ยกนั่น มาผสมกันอย่างกลืน แล้วเขียนเล่านำเสนอออกมาอย่างง่ายๆ ในลีลาภาษาชาวบ้าน ออกลูกทุ่งนิดๆ ทำให้อ่านง่าย อ่านมัน สนุก ได้อรรถรส ขณะเดียวกันข้อมูลที่ครูจิ๋วนำเสนอมาก็แน่นไปด้วยสาระ ถูกต้อง แม่นยำ อีกทั้งยังมีเกร็ดๆต่างแถมพกเพื่อความบินเทิงเริงรื่น สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงจากวันนั้นมาจนถึงวันนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งผมขอยกตัวอย่าง บทความตอนหนึ่งที่พูดถึงโมสาร์ท(หนังสือเล่มนี้เรียกว่า“มทสาร์ท”)ว่า
...อัจฉริยบุรุษผู้นี้ไม่แต่จะมีพรสวรรค์ในทางดนตรีเป็นเลิศ รูปร่าวของเขายังงดงามสามโลกไม่มีเหมือน
“รอยรูปอินทร์อินทร์หยาดฟ้ามาอ่าองค์ในหน้า” จริงเชียวคุณ
ขนาดผมซึ่งเพื่อนฝูงเขาว่าหน้าตาไม่เลวนัก พอจะเป็นพระเอกกะเขาได้ แถมเป็นคนรุ่นใหม่ในยุคปรมาณูคนหนึ่งด้วยซ้ำยังหล่อไม่เท่าเลย...
ในขณะที่ยามอธิบายอารมณ์เพลงก็เขียนออกมาได้อย่างเห็นภาพ ดังตัวอย่าง ท่อนที่ 4(ท่อนสุดท้าย) Allegro ใน Symphony No.39 in E Flat Major ของโมสาร์ท
...ท่อนสุดท้ายกลับมีจังหวะเร็วและเริงร่า ฟังดูคล้ายเสียงน้ำในห้วยละหานที่ไหลแรงถะถั่ง
พอเอ่ยถึงบึงห้วย ผมก็ชักจะเย็นกายเย็นใจขึ้นมาทีเดียว ความรู้สึกในเวลาฟังเพลงของมทสาร์ทก็เป็นยังนี้แหละครับ คือชุ่มชื่นเหมือนได้ลงไปสรงสนานอยู่ในลำธารให้สายน้ำใสเย็นซึมซาบไปทั่วทุกขุมขน...
โอ...ครูจิ๋วแกบรรยายชนิดถ้าโมสาร์ทมีโอกาสได้รับรู้ บางทีอาจจะแต่งซิมโฟนีขนาดจิ๋วให้ก็เป็นได้
เห็นสำนวนภาษา ลีลาการเขียน แรกที่ยังไม่รู้จักตัวจริง ผมเดาว่าจิ๋ว บางซื่อ น่าจะเป็นผู้ชายกร้านโลก อารมณ์ดี ขี้เล่น และปากจัด แต่ประทานโทษ!!! เมื่อได้รู้ตัวจริงของของจิ๋ว บางซื่อ แล้วถึงกับอึ้งกิมกี่
เพราะจิ๋ว บางซื่อ เป็นนามปากกาของผู้หญิง คือ“แพทย์หญิงโชติศรี ท่าราบ” ผู้มีศักดิ์เป็นน้าแท้ๆของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี
ด้วยฝีมือการวิจารณ์ทั้งดนตรี ภาพยนตร์ ศิลปะ อันยอดเยี่ยมที่ท่านได้ฝากผลงานไว้มากมาย ทางชมรมวิจารณ์บันเทิงได้มอบ“รางวัลเกียรติคุณแห่งความสำเร็จ”ให้กับ พ.ญ.โชติศรี ในปี 2549 ในขณะที่ ”ขรรค์ชัย บุนปาน” ผู้เรียกขาน พ.ญ.โชติศรีเป็น “แม่หมอจิ๋ว” ได้ยกให้ผลงานบรรเลงรมย์ เป็นดัง“เครื่องช่วยเสริมจินตนาการบรรเจิดเพริศพริ้งสมจริงโดยนัยแห่งศิลปะ” สมศักดิ์ศรีหนังสือที่ได้รับการยกย่องจากผู้สันทัดกรณีในวงการว่า เป็นหนังสือดนตรีคลาสสิกที่คลาสสิกที่สุดเล่มหนึ่งในเมืองไทย
ที่สำคัญหนังสือเล่มนี้อ่านสนุก อ่านง่ายและไม่ต้องปีนกระไดอ่าน แต่น่าเสียดายตรงนี้หนังสือเล่มนี้หาศื้อ หาอ่านยากไปหน่อย อย่างตัวผมเองยังหาซื้อไม่ได้ ต้องใช้วิธีให้น้องที่เรียนปริญญาโทยืมหนังสือเล่มนี้จากห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอามาให้อ่าน แล้วถ่ายเอกสารเก็บไว้เป็นข้อมูลอ้างอิงด้านดนตรีคลาสสิก
นอกจากบรรเลงรมย์แล้ว บ้านเรายังมีหนังสือเกี่ยวกับดนตรีคลาสสิกที่ชวนอ่านอีกหลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็น
“จากดวงใจ” โดย “คีตกร จ.มงคลขจร สาทิส”(ดร.สาทิส อินทรกำแหง) งานเขียนแนวโรแมนติกดรามา ด้วยวิธีเล่าเรื่องแบบเขียนจดหมายถึงบุคคลอันเป็นที่รัก(น้อยที่รัก) สะท้อนให้เห็นรสนิยมของยุคสมัย ที่เด็กสมัยนี้ไม่คุ้นเคยกับงานเขียนสไตล์นี้(เพราะเด็กยุคนี้เลิกเขียนจดหมายกันแล้ว) เนื้อหาในจากดวงใจแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ อัตชีวประวัติของนักดนตรีเอก กับองค์ความรู้ด้านดนตรี เสริมด้วยการแนะนำเพลงคลาสสิกชนฟังสำหรับผู้เริ่มต้น และข้อคิดข้อเตือนใจในชีวิต
"คัมภีร์เพลงคลาสสิก" โดย อ.สดับพิณ รัตนเรือง ว่าด้วยเรื่องราวหลากหลายเกี่ยวกับดนตรีคลาสสิก เป็นหนังสือวิชาการที่อ่านไม่ยากและไม่น่าเบื่อ
"ดนตรีแห่งชีวิต แรงบันดาลใจแห่งผลงานอมตะ" โดย สุรพงษ์ บุนนาค หนังสือชีวิตย่อของยอดนักดนตรีคลาสสิกที่รวบรวมไว้มากถึง 63 คน นับว่ามากที่สุดในเมืองไทย ดนตรีแห่งชีวิต อ่านเพลิน แถมให้แรงบันดาลใจอีกต่างหาก
“เพลงเพลินใจ” โดย พิชัย วาสนาส่ง เล่มนี้อ่านเพลินใจสมชื่อหนังสือ เป็นการนำเสนอประวัตินักดนตรี แล้วแตกแขนงเข้าสู่เรื่องทางดนตรี พร้อมแนะนำเพลงชวนฟัง สอดแทรกเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย และบอกเล่าประสบการณ์ที่ผู้เขียนได้ไปลุยฟังเพลงคลาสสิกถึงแหล่งมาอย่างน่าอิจฉายิ่งนัก
"ก...ข...ค... คลาสสิก"(3 เล่ม) โดย ต่อพงษ์ เศวตามร์ เป็นการนำเสนอเรื่องราวของดนตรีคลาสสิกด้วยภาษาดิบๆตรงๆที่ออกมาจากความรู้สึก ทำให้นักอ่านเข้ารสดนตรีคลาสสิกได้ไม่ยาก แถมยังอ่านง่าย อ่านสนุก ทั้งเรื่องราวน่าสนใจของนักดนตรีเอก ศิลปะการปะพันธ์ การแนะนำบทเพลงคลาสสิกในสไตล์เฉพาะตัว บางเรื่องนำเสนอในประเด็นที่ แตกต่างจากทั่วไป อาทิ “เสริมชะตากับเพลงคลาสสิก” ที่แนะนำการฟังเพลงคลาสสิกตามธาตุ ตามราศีเกิด “เริ่มต้นฟังเพลงคลาสสิก กับ ดิ โอฬาร” ที่ใครอยากรู้ว่าวงเฮฟวี่เมทัล(ไทย)อย่างดิ โอฬาร มันเหมาะแก่การเริ่มตนฟังเพลงคลาสสิกอย่างไร คงต้องไปตามหาอ่านกัน
“คลาสสิค สังวาส”(คำว่า“คลาสสิค” สะกดตามชื่อหนังสือ) โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล เปรียบดังกับแกล้มที่ช่วยเพิ่มอรรถรสทางดนตรีคลาสสิก เพราะเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเพิ่มเติมที่น่าสนใจ อาทิ อาหารจานโปรดของนักดนตรี ที่ทำให้รู้ว่า “บีโธเฟน” ชอบกินซุปข้นๆ กินปลาเทร้าส์ “บราห์ม” ชอบกินซุปไก่ เป็นต้น หรือเรื่อง “นักร้องชายที่ถูกตอน” ที่ว่าด้วยเรื่องนักร้องชายเสียงสูงๆสมัยก่อนว่านอกจากจะต้องฝึกฝนการร้องอย่างหนักหน่วงแล้ว หลายคนยังถูกจับตอนอีกด้วย ตามความเชื่อที่ว่าจะทำให้ผู้ชายมีเสียงที่ไพเราะไม่ต่างจากระดับเสียงสูงของผู้หญิง ซึ่งเมื่ออ่านแล้วทำให้ผมอดนึกถึงการตอนตัวเองเพื่อให้เป็นจ้าวยุทธภพใน"กระบี่เย้ยยุทธจักร"ไม่ได้
และนี่ก็คือหนังสือดนตรีคลาสสิกส่วนหนึ่งในยุทธจักรวงการหนังสือดนตรีเพลงคลาสสิกบ้านเราที่นำมาบอกเล่าสู่กันฟัง โดยผมมุ่งเน้นไปที่หนังสือที่ให้รสการอ่านเพื่อความบันเทิงและความเพลิดเพลินเป็นหลัก ไม่ได้ต้องการให้ใครอ่านแล้วนำไปโอ่อวดยกตนข่มท่าน ต่อผู้ที่มีรสนิยมในการฟังเพลงที่แตกต่างจากเรา ซึ่งแม้นี่อาจจะเป็นการเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนสำหรับแฟนพันธุ์แท้เพลงคลาสสิกทั้งหลาย แต่มันน่าพอจะมีคุณประโยชน์อยู่บ้างไม่มากก็น้อยต่อผู้เริ่มต้นศึกษาดนตรีคลาสสิก หรือผู้สนใจอยากจะรับรส รับรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่ยังไม่รู้
สำหรับหนังสือเหล่านี้ ไม่ต้องปีนกระไดอ่านเหมือนกับเพลงคลาสสิกที่จริงๆแล้วไม่ต้องปีนกระไดหรือขึ้นลิฟต์ฟัง อย่างที่หลายๆคนกลัว
แต่ขอเพียงให้ เปิดใจรับฟัง เปิดใจรับรู้เป็นพอ