โดย : บอน บอระเพ็ด (skbon109@hotmail.com)
โลกไร้พรมแดน...แต่ประเทศมีพรมแดน
ประเทศมีพรมแดน...แต่ดนตรีไร้พรมแดน
นั่นจึงทำให้ที่ผ่านมาเกิดการผสมผสานของดนตรีข้ามสายพันธุ์ในหลากหลายแนวทางขึ้น แถมการผสมหลายสูตรยังก่อให้เกิดการแตกแขนงเป็นดนตรีสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมา
นอกจากนี้ดนตรีไร้พรมแดนยังก่อให้เกิดการเดินทางข้ามสายพันธุ์ทางดนตรี หรือการครอสโอเวอร์(Crossover)ขึ้น
“ครอสโอเวอร์” คำๆนี้ “รอย ชูเกอร์”(Roy Shuker) ได้อธิบายไว้ในหนังสือ “Key Concepts in Popular Music” ซึ่งผมคัดลอกมาจากข้อเขียนของคุณดุสิต จรูญพงษ์ศักดิ์อีกที ว่า
“การเคลื่อนย้ายของนักดนตรีจากแนวดนตรีหนึ่งที่ประสบความสำเร็จไปสู่แนวดนตรีอื่น ซึ่งโดยปกติจะทำให้มีผู้ฟังดนตรีกระแสหลักนั้นๆเพิ่มมากขึ้น”
และก็จริงดังที่รอยว่าไว้ เพราะวันนี้ดนตรีข้ามสายพันธุ์หรือดนตรีครอสโอเวอร์ ได้รับความนิยมไม่น้อยในยุทธจักรดนตรี ก่อเกิดเป็นกระแส“Crossover wave”ที่มาแรงเอาเรื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มนักร้องนักดนตรีคลาสสิคที่ต่างสบช่อง พกพาความสามารถอันเอกอุในทางคลาสสิคและหัวทางการตลาดอันยอดเยี่ยม(ของทีมงาน) เดินทางข้ามสายพันธุ์มาร้องเล่นเพลง”ป็อบ”(Pop)กันเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น Andrea Bocelli,Josh Groban,Yo - Yo Ma, Il Divo,Sarah Brightman,Charlotte Church, Katherine Jenkins,David Garrett และ ฯลฯ
คนดนตรีคลาสสิคเหล่านี้ ได้สร้างสีสันและสรรพเสียงใหม่ๆให้กับวงการเพลง โดยเฉพาะพวกนักร้องโอเปร่าที่หันมาร้องเพลงป็อบนั้น พวกเขาสามารถสร้างสรรค์การร้องเพลงแบบใหม่ สไตล์"Popera"(ป๊อป + โอเปร่า)ขึ้นมาประดับวงการ ซึ่งนอกจากจะไปรุ่งพุ่งสวย ได้รับการตอบรับจากแฟนเพลงเป็นอย่างดีแล้ว ยังเป็นตัวช่วยเพิ่มชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักของแฟนเพลงกว้างขวางขึ้น จากกลุ่มนักดนตรีฐานใหม่(ฐานป็อบ) ส่งผลให้ยอดขายดีขึ้น มีงานแสดงมากขึ้น รวมถึงยังเป็นตัวช่วยดึงหนุ่มสาวคนรุ่นใหม่ที่วันนี้ พ.ศ.นี้ยังไงๆก็หนีไม่พ้นจากโลกของวัฒนธรรมป็อบ(Pop Culture) ให้หันมาสนใจในดนตรีคลาสสิค(Classical Music)มากขึ้น
อีกทั้งนี่ยังเป็นหนึ่งในหนทางหนีตายของกลุ่มคนดนตรีคลาสสิค เพราะนับเวลาเป็นสิบๆปีแล้วที่วงการเพลงคลาสสิคตกอยู่ในสภาวะขาลงและลงไปเรื่อยๆ ล่าสุด “วงฟิลาเดลเฟีย ออร์เคสตร้า” วงดนตรีชื่อดังของอเมริกา ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 111 ปี เพิ่งประกาศล้มละลายไป เพราะจำนวนผู้ชมหดหายลงไปมากจนรายได้ไม่พอกับรายจ่าย
เรียกว่าโลกดนตรีคลาสสิควันนี้ กำลังรอการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่หรือไม่ก็รอให้ให้เทพแห่งคลาสสิค(ในร่างคน)องค์ใหม่มาจุติ แล้วปลุกกระแสเพลงคลาสสิคให้กลับมาเบ่งบานอีกครั้ง สวนทางกับกระแสครอสโอเวอร์ที่ยังแรงดีไม่มีตก แม้ว่านี่ดูเหมือนจะเป็นที่ขัดใจ(อย่างแรง)ต่อบรรดาแฟนพันธุ์แท้เพลงคลาสสิค ทั้งกลุ่มอนุรักษ์นิยมและกลุ่มเข้มข้นที่ต้องฟังแบบเพียวๆก็ตามที
อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงการครอสโอเวอร์แล้ว ที่ผ่านมาไม่เพียงแต่คนสายคลายสิคเท่านั้นที่ข้ามไปเล่นในสายป็อบหรือสายอื่น แต่คนสายอื่นที่นิยมความแปลกใหม่ต่างก็เคยเดินทางข้ามไปเล่นในทางคลาสสิคกันเป็นจำนวนไม่น้อย ที่เด่นมากก็เห็นจะเป็นบรรดามือกีตาร์ฮีโร่เฮฟวี่เมทัลในยุค 80’s-90’s ที่นำเอาสรรพสำเนียงดนตรีคลาสสิคมาเล่นใหม่ในสไตล์เมทัลร็อคอันดุดัน จนเกิดเป็นสายพันธุ์ดนตรีนีโอ-คลาสสิคเมทัลร็อคขึ้นมา
ในขณะที่การข้ามสายของกลุ่มคนดนตรีแจ๊ซไปเล่นคลาสสิคนั้น แม้ไม่เป็นที่นิยมเท่า แต่ก็มีให้ได้ฟังกันอย่างต่อเนื่อง ไล่มาตั้งแต่หัวหอกผู้บุกเบิกการนำเพลงคลาสสิคมาเล่นเป็นแจ๊ซ อย่าง Jacques Loussier นักเปียโนชาวฝรั่งเศส,Barney Kessel ยอดมือกีตาร์ที่เคยนำมหาอุปรากร Carmen มาเล่นในสไตล์โมเดิร์นแจ๊ซรุ่มรวยเครื่องเป่า หรือเป็นวงอย่าง The Classical Jazz Quartet ที่นำเพลงของ บาค(Bach) ไชคอฟสกี้(Tchaikovsky) และ รัคมานินอฟ(Rachmaninov) มาเล่นในแบบแจ๊ซอันรื่นไหล ทรงเสน่ห์น่าฟังยิ่งนัก
เช่นเดียวกับวง “ยูโรเปี้ยน แจ๊ซ ทริโอ”(European Jazz Trio : EJT)ที่ผมจะพูดถึงในครั้งนี้ ก็นับเป็นอีกหนึ่งในวงที่สามารถข้ามสายพันธุ์นำดนตรีคลาสสิคมาเล่นในสไตล์แจ๊ซได้อย่างแยบยล มีชั้นเชิง มีลีลาน่าฟัง
ยูโรเปี้ยน แจ๊ซ ทริโอ เป็นวงแจ๊ซจากเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วย March van Roon : หัวหน้าวง : เปียโน, Frans van der Hoeven : ดับเบิ้ลเบส และ Roy Dackus : กลอง
ทั้ง 3 พะหน่อ มีฝีมือจัดอยู่ในระดับเขี้ยวลากดิน พวกเขาเติบโตมากับดนตรียุค 70’s-80’s ที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย ทั้ง ป็อบ แจ๊ซ ร็อค คลาสสิค ฟิวชั่น และอื่นๆ ซึ่ง March กล่าวว่า การเป็นนักดนตรีอาชีพก็เหมือนก้อนฟองน้ำที่ซึมซับสิ่งที่อยู่รอบตัวตลอดเวลาแล้วเรียนรู้ที่จะใช้มันในเวลาอันเหมาะสม โดยเฉพาะกับดนตรีคลาสสิคที่พวกเขาใกล้ชิดคุ้นเคย
ด้วยความหลากหลายทางดนตรีที่ซึมซับมาแต่เยาวัย ทำให้ EJT มีความเชี่ยวชาญและรอบตัดต่อการเล่นแบบครอสโอเวอร์ โดยเฉพาะกับการนำดนตรีคลาสสิคมาเล่นในแบบแจ๊ซที่มีหัวใจหลักอยู่ที่การ Improvisation หรือการด้นสดในภาษาบ้านเรา ซึ่งมันได้ก่อให้เกิดสรรพเสียงใหม่ๆขึ้นมา
“ความชำนาญของวงเราคือการพยายามแสวงหาเนื้อหาดนตรีที่แปลกใหม่ เป็นความแปลกใหม่หรือไม่คุ้นเคยที่มีอยู่ในรูปของแจ๊ซ และเรียบเรียงมันให้เข้ากับวงทริโอแบบเรา เพราะคุณสามารถสร้างสรรค์วิธีการใหม่และให้กำเนิดเสียงดนตรีใหม่ๆ หรือแม้กระทั่งนำบทเพลงเดิมๆที่คุ้นหูของคนทั่วไปและนำมาถ่ายทอดในลักษณะที่แตกต่างออกไป” มาร์ชบอกกล่าวเพิ่มเติม
EJT ผ่านการเล่นดนตรีมาอย่างโชกโชน มีอัลบั้มออกมามากกว่า 26 อัลบั้ม พวกเขาไม่ได้เก่งเฉพาะการข้ามสายพันธุ์ทางดนตรีเท่านั้น แต่ยังเก่งต่อการข้ามไปดังในต่างทวีป เพราะนอกจากจะเป็นที่นิยมในยุโรปแล้ว EJT ยังเป็นที่โด่งดังในญี่ปุ่นและเกาหลีอีกด้วย ขณะที่ในบ้านเรา ซุ่มเสียงตัวโน้ตดนตรีของ EJT ได้เดินทางข้ามประเทศเข้ามาในปีที่แล้ว ผ่านทางค่าย “Hitman Jazz” ค่ายทางเลือกของคนรักแจ๊ซ กับ 2 อัลบั้ม The Best อันน่าสนใจ ได้แก่
“Best of Standards”(2008) ที่เป็นการข้ามสายไปนำเพลงฮิตในอดีต เพลง American Songbook มานำเสนอในแบบแจ๊ซสมัยใหม่ อาทิ Don’t Know Why(Jesse Harris)ที่สร้างชื่อให้กับสาวเสียงสวย Norah Jone,Dancing Queen (ABBA), Europa (Santana), Endless Love (Diana Ross & Lionel Richie เคยขับร้องคู่กัน),Summertime(George Gershwin) เป็นต้น
ส่วนอีกหนึ่งเป็น “Best of Classics” ที่ทางวง EJT ทำออกมาในปี 2006 เพื่อร่วมฉลองการครบรอบวันเกิด 250 ปีของโมสาร์ท(Mozart : ค.ศ. 1756 - 1791)
Best of Classics แม้จะทำมาเพื่อสดุดีต่อโมสาร์ท แต่ทางวง EJT ไม่ได้นำมาเฉพาะเพลงของโมสาร์ทคนเดียว แต่พวกเขาได้คัดเพลงคลาสสิคอมตะยอดนิยมระดับขึ้นหิ้งของสุดยอดนักประพันธ์โลกไม่ลืม อาทิ โมสาร์ท(Mozart),บาค(Bach),บีโธเฟน(Beethoven),โชแปง(Chopin),บราห์ม(Brahms),ชูเบิร์ต(Schubert),ไชคอฟสกี้(Tchaikovsky),ปากานินี่(Paganini) และ ฯลฯ มานำเสนอแบบจัดเต็มถึง 31 บทเพลง ใน 2 แผ่นซีดี(แผ่นแรก 16 เพลง แผ่นสอง 15 เพลง) ด้วยระบบเสียง Hight Quality CD(HQCD) เสียงที่ออกมาจึงเฉียบคม มีมิติ ชัดเจน
ใครที่เห็น EJT นำเพลงคลาสสิคมากถึง 31 เพลงมาเล่นก็อย่าเพิ่งตกใจ กลัวว่ามันจะยืดยาวเฟื้อยเหมือนการอภิปรายของ ส.ส.ในสภา จนต้องชิงหลับเสียก่อน เพราะพวกเขาเลือกเล่นแต่ละเพลงกันแบบสั้นๆ เพลงไหนที่มันยาวๆมีหลายมูฟเม้นต์ก็เลือกหยิบมาเฉพาะมูฟเม้นต์ที่ติดหู คุ้นหู ทำให้ไม่ยากต่อการรับฟังด้วยประการทั้งปวง
บทเพลงต่างๆใน Best of Classics มาในแนวทางโมเดิร์นแจ๊ซผสมกลิ่นอายคลาสสิคที่มีความเข้มข้นในเนื้อหาดนตรีสูงเอาเรื่อง หลายเพลงแสดงให้เห็นถึงฝีมือในการเรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิง มีลีลารื่นรสอารมณ์เพลง โดยไม่ลืมที่จะเปิดพื้นที่ให้ทางวงอิมโพรไวซ์กันอย่างอิสระ แต่ไม่หลุดกรอบและก็ไม่ได้เน้นโชว์เทพ โชว์หวือหวาซับซ้อน ไม่ได้ฉีกโครงสร้าง ระเบิดตัวโน้ตดั้งเดิมให้กระจุยกระจายไป จนไม่เหลือรสคลาสสิคดั้งเดิม
ขณะเดียวกันสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามในหลายๆบทเพลงก็คือไอเดียที่แอบแฝงซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นโน้ต เล่นคอร์ด เล่นริทึ่ม ตั้งต้นขึ้นมาในช่วงเปิดเพลง ซึ่งชวนติดตามว่า จะส่งต่อเข้าเพลงในจังหวะและลีลาแบบไหน และเมื่อเข้าเพลงเล่นโน้ตหลักในท่วงทำนองดั้งเดิมแล้ว จะฉีกจะส่งนำเข้าสู่การอิมโพรไวซ์อย่างไร จะด้นกันแบบแจ๊ซจ๋า หรือจะใส่ลีลาสำนวนแบบคลาสสิคเจือลงไปด้วย นับเป็นเสน่ห์ที่ชวนค้นหายิ่ง
อัลบั้มนี้แม้จะเล่นดนตรีกันแค่ 3 ชิ้น แต่ว่าดนตรีแน่นเกินตัว พระเอกของวงอย่างเปียโนฝีมือมาร์ช นอกจากจะเล่นนำครอบคลุมทั้งเมโลดี้ ฮาร์โมนี คอร์ด ริทึ่มแล้ว ยังเป็นตัวนำตัวชงสำคัญในการแตกไลน์เข้าสู่ท่อนอิมโพรไวซ์ ในขณะที่ส่วนของเบสและกลอง งานนี้ไม่ได้มาเล่นแค่ริทึ่มคุมจังหวะ แล้วปล่อยให้เปียโนโชว์เดี่ยวคนเดียว แต่ทั้งคู่ยังเป็นตัวช่วยรับ สอด ส่ง สร้างสีสันให้เพลงมีมิติมากขึ้น โดยเฉพาะลีลาการเล่นเบสของฟรานส์นั้นรอบจัดมาก ไลน์เบสของเขาสวยงาม มีลูกเล่น และเป็นตัวช่วยย้ำในการเปลี่ยนพาร์ทอารมณ์เพลงได้เป็นอย่างดี
สำหรับบทเพลงน่าสนใจใน Best of Classics เริ่มจากแผ่นแรก นำโดย“Turkish March”(Sonata No.11 3rd movement Rondo/K.331)/Mozart เพลงเปิดอัลบั้มที่เปียโน เบส กลอง ตั้งทางดนตรีของตัวเองนำมาก่อนส่งเข้าสู่ท่วงทำนองหลักอันสุดแสนจะคุ้นหู จากนั้นเปียโนได้ใช้ทำนองหลักแตกไลน์ด้นไปในอารมณ์สนุกกระชับ
Adagio(2nd movement from Piano Concerto No.23/K.488)/Mozart และ Ouverture No.3 BWV.1068/Bach มาในอารมณ์เหงาเศร้าทั้งคู่ ในเพลงแรกท่อนกลางเปิดพื้นที่ให้เบสโซโลกันแบบพองาม เพลงหลัง ในช่วงแตกไลน์อิมโพรไวซ์ EJT สามารถส่งอารมณ์คลาสสิคเข้าสู่อารมณ์แจ๊ซได้อย่างนุ่มเนียน ฟังไม่มีสะดุด แถมทางอิมโพรไวซ์ยังหวานเพราะพริ้งอีกต่างหาก
ส่วน Habanera(Carmen)/Bizet มาในกลิ่นลาตินแจ๊ซ แบ่งเป็น 2 พาร์ทช้า-เร็ว ซึ่งทางวงสามารถเชื่อมต่ออารมณ์กันได้อย่างกลมกลืน
Hungarian Dance No.5/Brahms เพลงนี้ทางวงตั้งทางดนตรีของตัวเองขึ้นมาก่อน จากนั้นจึงส่งเข้าท่วงทำนองคุ้นเคยของฮังการเรียนแดนซ์ แล้วตามต่อด้วยสวิงแจ๊ซกันแบบเร็วกระชับ เปิดช่วงให้อิมโพรไวซ์รับ ส่ง กันอย่างเร้าอารมณ์
Jesus,Joy of Man’s Desiring/Bach โทนโดยรวมของเพลงนี้ ฟังสบาย ตัวโน้ตในท่อนอิมโพรไวซ์กระเดียดข้ามไปทางป็อบ ฟังติดหูง่าย
ข้ามมาฟังเพลงเด่นในแผ่นที่ 2 กันบ้าง เริ่มด้วย Valse des feurs(The Nut-eracker)/Tchaikovsky) เป็นแจ๊ซสนุกๆ ไลน์เบสเพลงนี้โดดเด่นอุ้มส่งเพลงให้มีสีสันมากขึ้น
Symphony N0.40 1st movement Allegro Molto(K.550)/Mozart อีกหนึ่งเพลงสุดฮิตของโมสาร์ท ซึ่งมาถึงเปียโนก็เล่นตัวโน้ตบันลือโลกของเพลงนี้ทันที โดยมีเบสเล่นโน้ตตัวสูงคุมจังหวะและเสริมสีสันคลอไป แล้วจึงถึงคิวของการด้นสด ที่มาร์ชมือเปียโนนำโครงสร้างในทำนองหลักอันสุดฮิตมาแตกแขนง ควบคู่ไปกับการสอดรับ ประสานของเบส กลอง อย่างมีชีวิตชีวา ได้ทั้งรสคลาสสิค รสแจ๊ซ และรสป็อบ นับเป็นเพลง 3 รส ที่กลมกล่อมชวนฟัง
The Swan Lake/Tchaikovsky หงส์งามในเพลงนี้แม้ไม่สง่าอลังการเทียบเท่าต้นฉบับ แต่ก็ได้ในรสอารมณ์ของตัวโน้ตที่พลิ้วไหว มีอิสระเข้ามาแทนที่
ส่วน Für Elise/Beethoven เมโลดี้ในเพลงนี้ทางวงเล่นอย่างลื่นไหลฉีกหนีซุ่มเสียงในแบบบีโธเฟนไปได้พอสมควร ก่อนที่จะตบกลับเข้าสู่การไล่ตัวโน้ตครึ่งเสียงส่งท้ายเพลง
The Jewels of the Madona-Intermezzo/Wolf-Ferrari เพลงนี้เสียงเปียโนของมาร์ชมีความเป็นคลาสสิคสูงต่างไปจากเพลงอื่นๆ แต่ยังไงก็ไม่ไร้ซึ่งความเป็นแจ๊ซ เพราะทางกลองและไลน์เบสที่เดินคู่กันมานั้น มันให้รสแจ๊ซดีๆนี่เอง
และนั่นก็เป็นตัวอย่างเพลงเด่นๆจาก Best of Classics อัลบั้มที่เป็นเหมือนการพบกันของดนตรีต่างขั้ว 2 แนวทาง อย่างคลาสสิคและแจ๊ซ ซึ่งไม่ยากต่อการรับฟังทั้งผู้ที่ไม่ค่อยนิยมเพลงคลาสสิคและไม่ค่อยพิสมัยในเพลงแจ๊ซ เพราะเพลงส่วนใหญ่มีความคุ้นหูในท่วงทำนองเป็นอย่างดี และดนตรีที่นำเสนอออกมาก็ไม่ได้ยืดยาว ซับซ้อน เกินหูมนุษย์ทั่วไป
ขณะเดียวกันสำหรับผู้ที่พิสมัยในบทเพลงคลาสสิค หรือชื่นชอบในเพลงแจ๊ซเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อัลบั้มชุดนี้ถือเป็นสีสันซุ่มเสียงใหม่ที่ฉีกไปจากรสอารมณ์เดิม
อย่างไรก็ดี งานเพลงชุดนี้อาจเป็นที่ไม่สบอารมณ์ผู้นิยมเพลงคลาสสิคแท้ๆ หรือไม่ถูกใจคนชอบแจ๊ซเพียวๆ แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไป อะไรๆมันก็เปลี่ยนตาม
แม้แต่ดนตรีก็ไม่มีข้อยกเว้น
*****************************************
คลิกฟังตัวอย่างเพลงวง EJT ที่http://www.youtube.com/watch?v=lZaWmpHl8SA
สำหรับผู้ชื่นชอบหรือสนใจในดนตรีแจ๊ซ ดนตรีแนว Contemporary, Easy Listening, Bossa Nova จากฟากฝั่งยุโรป สามารถเข้าไปติดตามข่าวสารแล้วเข้าร่วมเป็นชุมชนคนรักดนตรีแนวนี้ได้ที่ http://www.facebook.com/hitmanjazz
*****************************************
แกะกล่อง
งานเพลงชุด“Serenade”(ค่ายใบชาซอง) ของวงลีลาวดี ควอเต็ท เป็นนำเสนอ 12 บทเพลงบรรเลงอันหลากหลาย มีไวโอลินเป็นพระเอก จากฝีมือของ “มิสเตอร์ไวโอลิน” สุวรรณ มโนษร(หัวหน้าวง) ผู้ฝากมีไม้ลายมืออันยอดเยี่ยมของเสียงไวโอลินไว้ให้กับศิลปินไทยมากมาย พร้อมเสริมทัพสร้างสีสันกันด้วยวิโอล่า เชลโล และแมนโดลิน
Serenade มีบทเพลงน่าสนใจอาทิ เพลงฝรั่งที่เราคุ้นหูกันดีอย่าง La paloma,Somewhere my love และการนำบทเพลงไทยเดิมคุ้นหูกับมาอะเร้นจ์ใหม่ ได้แก่ เพลงช้าง,ค้างคาวกินกล้วย และลาวดวงเดือน นับเป็นผลงานเพลงบรรเลงฟังสบาย ที่ให้สรรพเสียงอารมณ์ของเพลงไทยเดิมแตกต่างไปจากของเดิมพอสมควร
โลกไร้พรมแดน...แต่ประเทศมีพรมแดน
ประเทศมีพรมแดน...แต่ดนตรีไร้พรมแดน
นั่นจึงทำให้ที่ผ่านมาเกิดการผสมผสานของดนตรีข้ามสายพันธุ์ในหลากหลายแนวทางขึ้น แถมการผสมหลายสูตรยังก่อให้เกิดการแตกแขนงเป็นดนตรีสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมา
นอกจากนี้ดนตรีไร้พรมแดนยังก่อให้เกิดการเดินทางข้ามสายพันธุ์ทางดนตรี หรือการครอสโอเวอร์(Crossover)ขึ้น
“ครอสโอเวอร์” คำๆนี้ “รอย ชูเกอร์”(Roy Shuker) ได้อธิบายไว้ในหนังสือ “Key Concepts in Popular Music” ซึ่งผมคัดลอกมาจากข้อเขียนของคุณดุสิต จรูญพงษ์ศักดิ์อีกที ว่า
“การเคลื่อนย้ายของนักดนตรีจากแนวดนตรีหนึ่งที่ประสบความสำเร็จไปสู่แนวดนตรีอื่น ซึ่งโดยปกติจะทำให้มีผู้ฟังดนตรีกระแสหลักนั้นๆเพิ่มมากขึ้น”
และก็จริงดังที่รอยว่าไว้ เพราะวันนี้ดนตรีข้ามสายพันธุ์หรือดนตรีครอสโอเวอร์ ได้รับความนิยมไม่น้อยในยุทธจักรดนตรี ก่อเกิดเป็นกระแส“Crossover wave”ที่มาแรงเอาเรื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มนักร้องนักดนตรีคลาสสิคที่ต่างสบช่อง พกพาความสามารถอันเอกอุในทางคลาสสิคและหัวทางการตลาดอันยอดเยี่ยม(ของทีมงาน) เดินทางข้ามสายพันธุ์มาร้องเล่นเพลง”ป็อบ”(Pop)กันเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น Andrea Bocelli,Josh Groban,Yo - Yo Ma, Il Divo,Sarah Brightman,Charlotte Church, Katherine Jenkins,David Garrett และ ฯลฯ
คนดนตรีคลาสสิคเหล่านี้ ได้สร้างสีสันและสรรพเสียงใหม่ๆให้กับวงการเพลง โดยเฉพาะพวกนักร้องโอเปร่าที่หันมาร้องเพลงป็อบนั้น พวกเขาสามารถสร้างสรรค์การร้องเพลงแบบใหม่ สไตล์"Popera"(ป๊อป + โอเปร่า)ขึ้นมาประดับวงการ ซึ่งนอกจากจะไปรุ่งพุ่งสวย ได้รับการตอบรับจากแฟนเพลงเป็นอย่างดีแล้ว ยังเป็นตัวช่วยเพิ่มชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักของแฟนเพลงกว้างขวางขึ้น จากกลุ่มนักดนตรีฐานใหม่(ฐานป็อบ) ส่งผลให้ยอดขายดีขึ้น มีงานแสดงมากขึ้น รวมถึงยังเป็นตัวช่วยดึงหนุ่มสาวคนรุ่นใหม่ที่วันนี้ พ.ศ.นี้ยังไงๆก็หนีไม่พ้นจากโลกของวัฒนธรรมป็อบ(Pop Culture) ให้หันมาสนใจในดนตรีคลาสสิค(Classical Music)มากขึ้น
อีกทั้งนี่ยังเป็นหนึ่งในหนทางหนีตายของกลุ่มคนดนตรีคลาสสิค เพราะนับเวลาเป็นสิบๆปีแล้วที่วงการเพลงคลาสสิคตกอยู่ในสภาวะขาลงและลงไปเรื่อยๆ ล่าสุด “วงฟิลาเดลเฟีย ออร์เคสตร้า” วงดนตรีชื่อดังของอเมริกา ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 111 ปี เพิ่งประกาศล้มละลายไป เพราะจำนวนผู้ชมหดหายลงไปมากจนรายได้ไม่พอกับรายจ่าย
เรียกว่าโลกดนตรีคลาสสิควันนี้ กำลังรอการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่หรือไม่ก็รอให้ให้เทพแห่งคลาสสิค(ในร่างคน)องค์ใหม่มาจุติ แล้วปลุกกระแสเพลงคลาสสิคให้กลับมาเบ่งบานอีกครั้ง สวนทางกับกระแสครอสโอเวอร์ที่ยังแรงดีไม่มีตก แม้ว่านี่ดูเหมือนจะเป็นที่ขัดใจ(อย่างแรง)ต่อบรรดาแฟนพันธุ์แท้เพลงคลาสสิค ทั้งกลุ่มอนุรักษ์นิยมและกลุ่มเข้มข้นที่ต้องฟังแบบเพียวๆก็ตามที
อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงการครอสโอเวอร์แล้ว ที่ผ่านมาไม่เพียงแต่คนสายคลายสิคเท่านั้นที่ข้ามไปเล่นในสายป็อบหรือสายอื่น แต่คนสายอื่นที่นิยมความแปลกใหม่ต่างก็เคยเดินทางข้ามไปเล่นในทางคลาสสิคกันเป็นจำนวนไม่น้อย ที่เด่นมากก็เห็นจะเป็นบรรดามือกีตาร์ฮีโร่เฮฟวี่เมทัลในยุค 80’s-90’s ที่นำเอาสรรพสำเนียงดนตรีคลาสสิคมาเล่นใหม่ในสไตล์เมทัลร็อคอันดุดัน จนเกิดเป็นสายพันธุ์ดนตรีนีโอ-คลาสสิคเมทัลร็อคขึ้นมา
ในขณะที่การข้ามสายของกลุ่มคนดนตรีแจ๊ซไปเล่นคลาสสิคนั้น แม้ไม่เป็นที่นิยมเท่า แต่ก็มีให้ได้ฟังกันอย่างต่อเนื่อง ไล่มาตั้งแต่หัวหอกผู้บุกเบิกการนำเพลงคลาสสิคมาเล่นเป็นแจ๊ซ อย่าง Jacques Loussier นักเปียโนชาวฝรั่งเศส,Barney Kessel ยอดมือกีตาร์ที่เคยนำมหาอุปรากร Carmen มาเล่นในสไตล์โมเดิร์นแจ๊ซรุ่มรวยเครื่องเป่า หรือเป็นวงอย่าง The Classical Jazz Quartet ที่นำเพลงของ บาค(Bach) ไชคอฟสกี้(Tchaikovsky) และ รัคมานินอฟ(Rachmaninov) มาเล่นในแบบแจ๊ซอันรื่นไหล ทรงเสน่ห์น่าฟังยิ่งนัก
เช่นเดียวกับวง “ยูโรเปี้ยน แจ๊ซ ทริโอ”(European Jazz Trio : EJT)ที่ผมจะพูดถึงในครั้งนี้ ก็นับเป็นอีกหนึ่งในวงที่สามารถข้ามสายพันธุ์นำดนตรีคลาสสิคมาเล่นในสไตล์แจ๊ซได้อย่างแยบยล มีชั้นเชิง มีลีลาน่าฟัง
ยูโรเปี้ยน แจ๊ซ ทริโอ เป็นวงแจ๊ซจากเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วย March van Roon : หัวหน้าวง : เปียโน, Frans van der Hoeven : ดับเบิ้ลเบส และ Roy Dackus : กลอง
ทั้ง 3 พะหน่อ มีฝีมือจัดอยู่ในระดับเขี้ยวลากดิน พวกเขาเติบโตมากับดนตรียุค 70’s-80’s ที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย ทั้ง ป็อบ แจ๊ซ ร็อค คลาสสิค ฟิวชั่น และอื่นๆ ซึ่ง March กล่าวว่า การเป็นนักดนตรีอาชีพก็เหมือนก้อนฟองน้ำที่ซึมซับสิ่งที่อยู่รอบตัวตลอดเวลาแล้วเรียนรู้ที่จะใช้มันในเวลาอันเหมาะสม โดยเฉพาะกับดนตรีคลาสสิคที่พวกเขาใกล้ชิดคุ้นเคย
ด้วยความหลากหลายทางดนตรีที่ซึมซับมาแต่เยาวัย ทำให้ EJT มีความเชี่ยวชาญและรอบตัดต่อการเล่นแบบครอสโอเวอร์ โดยเฉพาะกับการนำดนตรีคลาสสิคมาเล่นในแบบแจ๊ซที่มีหัวใจหลักอยู่ที่การ Improvisation หรือการด้นสดในภาษาบ้านเรา ซึ่งมันได้ก่อให้เกิดสรรพเสียงใหม่ๆขึ้นมา
“ความชำนาญของวงเราคือการพยายามแสวงหาเนื้อหาดนตรีที่แปลกใหม่ เป็นความแปลกใหม่หรือไม่คุ้นเคยที่มีอยู่ในรูปของแจ๊ซ และเรียบเรียงมันให้เข้ากับวงทริโอแบบเรา เพราะคุณสามารถสร้างสรรค์วิธีการใหม่และให้กำเนิดเสียงดนตรีใหม่ๆ หรือแม้กระทั่งนำบทเพลงเดิมๆที่คุ้นหูของคนทั่วไปและนำมาถ่ายทอดในลักษณะที่แตกต่างออกไป” มาร์ชบอกกล่าวเพิ่มเติม
EJT ผ่านการเล่นดนตรีมาอย่างโชกโชน มีอัลบั้มออกมามากกว่า 26 อัลบั้ม พวกเขาไม่ได้เก่งเฉพาะการข้ามสายพันธุ์ทางดนตรีเท่านั้น แต่ยังเก่งต่อการข้ามไปดังในต่างทวีป เพราะนอกจากจะเป็นที่นิยมในยุโรปแล้ว EJT ยังเป็นที่โด่งดังในญี่ปุ่นและเกาหลีอีกด้วย ขณะที่ในบ้านเรา ซุ่มเสียงตัวโน้ตดนตรีของ EJT ได้เดินทางข้ามประเทศเข้ามาในปีที่แล้ว ผ่านทางค่าย “Hitman Jazz” ค่ายทางเลือกของคนรักแจ๊ซ กับ 2 อัลบั้ม The Best อันน่าสนใจ ได้แก่
“Best of Standards”(2008) ที่เป็นการข้ามสายไปนำเพลงฮิตในอดีต เพลง American Songbook มานำเสนอในแบบแจ๊ซสมัยใหม่ อาทิ Don’t Know Why(Jesse Harris)ที่สร้างชื่อให้กับสาวเสียงสวย Norah Jone,Dancing Queen (ABBA), Europa (Santana), Endless Love (Diana Ross & Lionel Richie เคยขับร้องคู่กัน),Summertime(George Gershwin) เป็นต้น
ส่วนอีกหนึ่งเป็น “Best of Classics” ที่ทางวง EJT ทำออกมาในปี 2006 เพื่อร่วมฉลองการครบรอบวันเกิด 250 ปีของโมสาร์ท(Mozart : ค.ศ. 1756 - 1791)
Best of Classics แม้จะทำมาเพื่อสดุดีต่อโมสาร์ท แต่ทางวง EJT ไม่ได้นำมาเฉพาะเพลงของโมสาร์ทคนเดียว แต่พวกเขาได้คัดเพลงคลาสสิคอมตะยอดนิยมระดับขึ้นหิ้งของสุดยอดนักประพันธ์โลกไม่ลืม อาทิ โมสาร์ท(Mozart),บาค(Bach),บีโธเฟน(Beethoven),โชแปง(Chopin),บราห์ม(Brahms),ชูเบิร์ต(Schubert),ไชคอฟสกี้(Tchaikovsky),ปากานินี่(Paganini) และ ฯลฯ มานำเสนอแบบจัดเต็มถึง 31 บทเพลง ใน 2 แผ่นซีดี(แผ่นแรก 16 เพลง แผ่นสอง 15 เพลง) ด้วยระบบเสียง Hight Quality CD(HQCD) เสียงที่ออกมาจึงเฉียบคม มีมิติ ชัดเจน
ใครที่เห็น EJT นำเพลงคลาสสิคมากถึง 31 เพลงมาเล่นก็อย่าเพิ่งตกใจ กลัวว่ามันจะยืดยาวเฟื้อยเหมือนการอภิปรายของ ส.ส.ในสภา จนต้องชิงหลับเสียก่อน เพราะพวกเขาเลือกเล่นแต่ละเพลงกันแบบสั้นๆ เพลงไหนที่มันยาวๆมีหลายมูฟเม้นต์ก็เลือกหยิบมาเฉพาะมูฟเม้นต์ที่ติดหู คุ้นหู ทำให้ไม่ยากต่อการรับฟังด้วยประการทั้งปวง
บทเพลงต่างๆใน Best of Classics มาในแนวทางโมเดิร์นแจ๊ซผสมกลิ่นอายคลาสสิคที่มีความเข้มข้นในเนื้อหาดนตรีสูงเอาเรื่อง หลายเพลงแสดงให้เห็นถึงฝีมือในการเรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิง มีลีลารื่นรสอารมณ์เพลง โดยไม่ลืมที่จะเปิดพื้นที่ให้ทางวงอิมโพรไวซ์กันอย่างอิสระ แต่ไม่หลุดกรอบและก็ไม่ได้เน้นโชว์เทพ โชว์หวือหวาซับซ้อน ไม่ได้ฉีกโครงสร้าง ระเบิดตัวโน้ตดั้งเดิมให้กระจุยกระจายไป จนไม่เหลือรสคลาสสิคดั้งเดิม
ขณะเดียวกันสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามในหลายๆบทเพลงก็คือไอเดียที่แอบแฝงซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นโน้ต เล่นคอร์ด เล่นริทึ่ม ตั้งต้นขึ้นมาในช่วงเปิดเพลง ซึ่งชวนติดตามว่า จะส่งต่อเข้าเพลงในจังหวะและลีลาแบบไหน และเมื่อเข้าเพลงเล่นโน้ตหลักในท่วงทำนองดั้งเดิมแล้ว จะฉีกจะส่งนำเข้าสู่การอิมโพรไวซ์อย่างไร จะด้นกันแบบแจ๊ซจ๋า หรือจะใส่ลีลาสำนวนแบบคลาสสิคเจือลงไปด้วย นับเป็นเสน่ห์ที่ชวนค้นหายิ่ง
อัลบั้มนี้แม้จะเล่นดนตรีกันแค่ 3 ชิ้น แต่ว่าดนตรีแน่นเกินตัว พระเอกของวงอย่างเปียโนฝีมือมาร์ช นอกจากจะเล่นนำครอบคลุมทั้งเมโลดี้ ฮาร์โมนี คอร์ด ริทึ่มแล้ว ยังเป็นตัวนำตัวชงสำคัญในการแตกไลน์เข้าสู่ท่อนอิมโพรไวซ์ ในขณะที่ส่วนของเบสและกลอง งานนี้ไม่ได้มาเล่นแค่ริทึ่มคุมจังหวะ แล้วปล่อยให้เปียโนโชว์เดี่ยวคนเดียว แต่ทั้งคู่ยังเป็นตัวช่วยรับ สอด ส่ง สร้างสีสันให้เพลงมีมิติมากขึ้น โดยเฉพาะลีลาการเล่นเบสของฟรานส์นั้นรอบจัดมาก ไลน์เบสของเขาสวยงาม มีลูกเล่น และเป็นตัวช่วยย้ำในการเปลี่ยนพาร์ทอารมณ์เพลงได้เป็นอย่างดี
สำหรับบทเพลงน่าสนใจใน Best of Classics เริ่มจากแผ่นแรก นำโดย“Turkish March”(Sonata No.11 3rd movement Rondo/K.331)/Mozart เพลงเปิดอัลบั้มที่เปียโน เบส กลอง ตั้งทางดนตรีของตัวเองนำมาก่อนส่งเข้าสู่ท่วงทำนองหลักอันสุดแสนจะคุ้นหู จากนั้นเปียโนได้ใช้ทำนองหลักแตกไลน์ด้นไปในอารมณ์สนุกกระชับ
Adagio(2nd movement from Piano Concerto No.23/K.488)/Mozart และ Ouverture No.3 BWV.1068/Bach มาในอารมณ์เหงาเศร้าทั้งคู่ ในเพลงแรกท่อนกลางเปิดพื้นที่ให้เบสโซโลกันแบบพองาม เพลงหลัง ในช่วงแตกไลน์อิมโพรไวซ์ EJT สามารถส่งอารมณ์คลาสสิคเข้าสู่อารมณ์แจ๊ซได้อย่างนุ่มเนียน ฟังไม่มีสะดุด แถมทางอิมโพรไวซ์ยังหวานเพราะพริ้งอีกต่างหาก
ส่วน Habanera(Carmen)/Bizet มาในกลิ่นลาตินแจ๊ซ แบ่งเป็น 2 พาร์ทช้า-เร็ว ซึ่งทางวงสามารถเชื่อมต่ออารมณ์กันได้อย่างกลมกลืน
Hungarian Dance No.5/Brahms เพลงนี้ทางวงตั้งทางดนตรีของตัวเองขึ้นมาก่อน จากนั้นจึงส่งเข้าท่วงทำนองคุ้นเคยของฮังการเรียนแดนซ์ แล้วตามต่อด้วยสวิงแจ๊ซกันแบบเร็วกระชับ เปิดช่วงให้อิมโพรไวซ์รับ ส่ง กันอย่างเร้าอารมณ์
Jesus,Joy of Man’s Desiring/Bach โทนโดยรวมของเพลงนี้ ฟังสบาย ตัวโน้ตในท่อนอิมโพรไวซ์กระเดียดข้ามไปทางป็อบ ฟังติดหูง่าย
ข้ามมาฟังเพลงเด่นในแผ่นที่ 2 กันบ้าง เริ่มด้วย Valse des feurs(The Nut-eracker)/Tchaikovsky) เป็นแจ๊ซสนุกๆ ไลน์เบสเพลงนี้โดดเด่นอุ้มส่งเพลงให้มีสีสันมากขึ้น
Symphony N0.40 1st movement Allegro Molto(K.550)/Mozart อีกหนึ่งเพลงสุดฮิตของโมสาร์ท ซึ่งมาถึงเปียโนก็เล่นตัวโน้ตบันลือโลกของเพลงนี้ทันที โดยมีเบสเล่นโน้ตตัวสูงคุมจังหวะและเสริมสีสันคลอไป แล้วจึงถึงคิวของการด้นสด ที่มาร์ชมือเปียโนนำโครงสร้างในทำนองหลักอันสุดฮิตมาแตกแขนง ควบคู่ไปกับการสอดรับ ประสานของเบส กลอง อย่างมีชีวิตชีวา ได้ทั้งรสคลาสสิค รสแจ๊ซ และรสป็อบ นับเป็นเพลง 3 รส ที่กลมกล่อมชวนฟัง
The Swan Lake/Tchaikovsky หงส์งามในเพลงนี้แม้ไม่สง่าอลังการเทียบเท่าต้นฉบับ แต่ก็ได้ในรสอารมณ์ของตัวโน้ตที่พลิ้วไหว มีอิสระเข้ามาแทนที่
ส่วน Für Elise/Beethoven เมโลดี้ในเพลงนี้ทางวงเล่นอย่างลื่นไหลฉีกหนีซุ่มเสียงในแบบบีโธเฟนไปได้พอสมควร ก่อนที่จะตบกลับเข้าสู่การไล่ตัวโน้ตครึ่งเสียงส่งท้ายเพลง
The Jewels of the Madona-Intermezzo/Wolf-Ferrari เพลงนี้เสียงเปียโนของมาร์ชมีความเป็นคลาสสิคสูงต่างไปจากเพลงอื่นๆ แต่ยังไงก็ไม่ไร้ซึ่งความเป็นแจ๊ซ เพราะทางกลองและไลน์เบสที่เดินคู่กันมานั้น มันให้รสแจ๊ซดีๆนี่เอง
และนั่นก็เป็นตัวอย่างเพลงเด่นๆจาก Best of Classics อัลบั้มที่เป็นเหมือนการพบกันของดนตรีต่างขั้ว 2 แนวทาง อย่างคลาสสิคและแจ๊ซ ซึ่งไม่ยากต่อการรับฟังทั้งผู้ที่ไม่ค่อยนิยมเพลงคลาสสิคและไม่ค่อยพิสมัยในเพลงแจ๊ซ เพราะเพลงส่วนใหญ่มีความคุ้นหูในท่วงทำนองเป็นอย่างดี และดนตรีที่นำเสนอออกมาก็ไม่ได้ยืดยาว ซับซ้อน เกินหูมนุษย์ทั่วไป
ขณะเดียวกันสำหรับผู้ที่พิสมัยในบทเพลงคลาสสิค หรือชื่นชอบในเพลงแจ๊ซเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อัลบั้มชุดนี้ถือเป็นสีสันซุ่มเสียงใหม่ที่ฉีกไปจากรสอารมณ์เดิม
อย่างไรก็ดี งานเพลงชุดนี้อาจเป็นที่ไม่สบอารมณ์ผู้นิยมเพลงคลาสสิคแท้ๆ หรือไม่ถูกใจคนชอบแจ๊ซเพียวๆ แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไป อะไรๆมันก็เปลี่ยนตาม
แม้แต่ดนตรีก็ไม่มีข้อยกเว้น
*****************************************
คลิกฟังตัวอย่างเพลงวง EJT ที่http://www.youtube.com/watch?v=lZaWmpHl8SA
สำหรับผู้ชื่นชอบหรือสนใจในดนตรีแจ๊ซ ดนตรีแนว Contemporary, Easy Listening, Bossa Nova จากฟากฝั่งยุโรป สามารถเข้าไปติดตามข่าวสารแล้วเข้าร่วมเป็นชุมชนคนรักดนตรีแนวนี้ได้ที่ http://www.facebook.com/hitmanjazz
*****************************************
แกะกล่อง
งานเพลงชุด“Serenade”(ค่ายใบชาซอง) ของวงลีลาวดี ควอเต็ท เป็นนำเสนอ 12 บทเพลงบรรเลงอันหลากหลาย มีไวโอลินเป็นพระเอก จากฝีมือของ “มิสเตอร์ไวโอลิน” สุวรรณ มโนษร(หัวหน้าวง) ผู้ฝากมีไม้ลายมืออันยอดเยี่ยมของเสียงไวโอลินไว้ให้กับศิลปินไทยมากมาย พร้อมเสริมทัพสร้างสีสันกันด้วยวิโอล่า เชลโล และแมนโดลิน
Serenade มีบทเพลงน่าสนใจอาทิ เพลงฝรั่งที่เราคุ้นหูกันดีอย่าง La paloma,Somewhere my love และการนำบทเพลงไทยเดิมคุ้นหูกับมาอะเร้นจ์ใหม่ ได้แก่ เพลงช้าง,ค้างคาวกินกล้วย และลาวดวงเดือน นับเป็นผลงานเพลงบรรเลงฟังสบาย ที่ให้สรรพเสียงอารมณ์ของเพลงไทยเดิมแตกต่างไปจากของเดิมพอสมควร