โดย : บอน บอระเพ็ด (skbon109@hotmail.com)
“...ถ้าฉันมียี่สิบตา อย่างทศกัณฐ์ ยี่สิบตาของฉัน จะมองเธอไม่เหลียว ยี่สิบแขนจะสวมสอด กอดเธอผู้เดียว ยี่สิบสีดาอย่ามาเกี้ยว ไม่แลเหลียวมอง...”
เพลง “เป็นไปไม่ได้” : วง “ดิอิมพอสสิเบิ้ลส์” (ชื่อวงอ้างอิงตัวสะกดจากหนังสือ “รวมบทเพลง The Impossibles” โดยปราจีน ทรงเผ่า)
กำเนิด ดิอิม
เป็นไปไม่ได้ ที่ผมจะโตทันยุค“ดิอิมพอสสิเบิ้ลส์”รุ่งเรือง(คล้ายกับจะบอกว่าตัวเองยังไม่แก่) แต่ด้วยความที่สมัยเป็นเด็กพี่ชายผมมักเปิดเพลงของดิอิม ให้ฟังอยู่เป็นประจำ จนบทเพลงของวงๆนี้มันได้ซึมลึก กลายเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำทางดนตรี ชนิดที่สามารถดำน้ำเพลงของวงดิอิม ได้อยู่หลายเพลงด้วยกัน
ดิอิมพอสสิเบิ้ลส์ หรือที่หลายคนมักเรียกสั้นๆว่า “ดิอิม” อาจไม่เป็นที่คุ้นหูของเด็กรุ่นใหม่ แต่นี่คือหนึ่งในวงดนตรีระดับตำนานที่มีคุณูปการต่อวงการเพลงไทยสมัยใหม่อย่างสูงล้น
ดิอิม เป็นวงดนตรีที่ถือกำเนิดและประสบความสำเร็จมาจากความสามารถและฝีไม้ลายมือเพียวๆ ไม่ได้มาจาก การตลาดหรือหน้าตาอย่างหลายๆวงในปัจจุบัน โดยก่อนที่จะเป็นวง ดิอิมพอสสิเบิ้ลส์ 4 หนุ่ม ซึ่งประกอบด้วย “วินัย พันธุรักษ์”(ต๋อย/แซกโซโฟน)-กีตาร์,”พิชัย ทองเนียม”(แดง)-เบส,”สุเมธ อินทรสูต”(ชื่อจริง)หรือ“สุเมธ แมนสรวง”-คีย์บอร์ด และ “อนุสรณ์ พัฒนกุล”(แตง)-กลอง ได้ฟอร์มวง “Holiday J-3” ขึ้นมาในปี พ.ศ. 2509
จากนั้น Holiday J-3 ได้ดึง “เศรษฐา ศิระฉายา”(ต้อย) มือกีตาร์และนักร้องผู้มีประสบการณ์โชกโชนที่สามารถเอนเตอร์เทนต์คนดูหน้าวงได้เป็นอย่างดี เข้ามาร่วมเป็นสมาชิกคนที่ 5 ของวง
ระหว่างนี้ 5 หนุ่ม นอกจากจะเล่นดนตรีประจำแล้ว ยังคร่ำเคร่งมุ่งมั่นซ้อมกันอย่างหนักเพื่อพัฒนาฝีมือตัวเอง พร้อมกับเปลี่ยนชื่อวงเป็น Joint Reaction แต่พวกเขารู้สึกว่าชื่อนี้มันยังไม่ใช่อยู่ดี จึงทำการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “The Impossibles” ซึ่งเป็นไอเดียของเศรษฐา มาจากชื่อหนังการ์ตูนยอดฮิตในยุคนั้น
สร้างชื่อ
ดิอิม เริ่มเป็นที่รู้จักจากการแสดงในบาร์แถวถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2512 ทางสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ได้จัดประกวดวงสตริงคอมโบชิงถ้วยพระราชทานขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย วงดิอิม โดยการชักชวนของครูเพลง นริศร์ ทรัพย์ประภา ได้เข้าร่วมแข่งขันด้วย พร้อมกับใช้ฝีมืออันยอดเยี่ยมคว้าถ้วยแชมป์ประเภทวงดนตรีอาชีพมาครองได้แบบไร้ก้อขังขา
ผลจากการคว้าแชมป์ถ้วยพระราชทาน วงดิอิมพอสสิเบิ้ลส์ โด่งดังขึ้นมาแบบฉับพลัน พร้อมกับได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำวงดนตรีประเภทสตริงคอมโบมาตั้งแต่นั้นมา นั่นจึงทำให้“เปี๊ยก โปสเตอร์”ผู้ผันตัวจากนักวาดใบปิดหนังมาเป็นผู้กำกับหนัง ได้ทาบทามให้ดิอิม มาทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องแรกของแก คือ “โทน”
การได้เข้ามาทำเพลงประกอบหนัง นับเป็นหนึ่งในจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของดิอิม เพราะมันเป็นตัวเร่งให้วงนี้โด่งดังเป็นพลุมากขึ้น และก็ทำให้วงดิอิม ได้รับงานเพลงประกอบภาพยนตร์อีกหลายเรื่องตามมา ซึ่งเอาไว้ถึงช่วงแนะนำเพลงประกอบภาพยนตร์ของวงดิอิมในตอนต่อไป ผมจะขยายความเรื่องนี้อีกที
ระหว่างนี้วงดิอิม มีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกวง เมื่อ สุเมธ แมนสรวง ขอลาออกไป เศรษฐาจึงดึง ปุ๊ : ปราจีน ทรงเผ่า มาเล่นคีย์บอร์ดแทนพร้อมกับรับตำแหน่งทรอมโบนควบคู่ไปด้วย และดึงสิทธิพร อมรพันธุ์(อู้ด) มาช่วยเสริมทัพเล่นกีตาร์อีกแรง
ปี พ.ศ. 2513 วงดิอิม เข้าประกวดวงสตริงคอมโบอีกครั้ง และก็คว้ารางวัลชนะเลิศมาครองอีกตามเคย ส่วนปีถัดมา 2514 สถานการณ์วุ่นวายทางการเมืองทำให้ต้องงดการประกวดไป ก่อนจะกลับมาจัดประกวดอีกครั้งในปี 2515
ผลก็คือการประกวดในปีนี้ วงดิอิม ซิวแชมป์มาครองเหมือนเดิม นับเป็นแชมป์ 3 ปีซ้อน จนได้รับถ้วยพระราชทานมาครอบครองเป็นกรรมสิทธิ์ของทางวงอย่างถาวร
จากนั้นช่วงกลางปี 2515 วงดิอิม หลังจากจากทำเพลงประกอบภาพยนตร์มามากมาย ได้เดินหน้าเข้าห้องอัด ทำคลอดผลงานเพลงชุดแรกออกมาคือ “เป็นไปไม่ได้” โดยมีพยงค์มุกดา เป็นผู้จัดทำ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอย่างดี สมัยนั้นยังไม่มีการทำเพลงออกเป็นเทปคลาสเซ็ท “เป็นไปไม่ได้”ถูกผลิตออกมาในรูปแบบแผ่นเสียง ลองเพลย์ สปีด 33 ซึ่งเมื่อเวลาผ่านมาถึงยุคเทปคลาสเซ็ท เพลงต่างๆของดิอิม ก็ถูกทำออกมาเป็นเทปผีกันเพียบเลย
ช่วงนี้วงดิอิมพอสสิเบิ้ลส์ ถือเป็นผู้นำในการสร้างดนตรีไทยสากลด้วยแนวทางอิทธิพลของดนตรีตะวันตกอย่างแท้จริง พวกเขาเล่นทั้งร็อค โซล แจ๊ซ-ร็อค ลาติน-ร็อค ป็อบ โฟล์ค ควบคู่ไปกับการใช้เครื่องเป่ามาผสมผสาน นับเป็นความหวือหวาแปลกใหม่ที่มาพร้อมกับการเขียนเพลงอันเหนือชั้น ซึ่งมีทั้งท่วงทำนองอันงดงาม ภาษาสละสลวย และเนื้อหาโดนใจ โดยผู้เขียนเพลงหลักๆนั้นจัดอยู่ในประเภทครูเพลงฝีมือสุดยอดของเมืองไทยทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น สง่า อารัมภีร,ประสิทธิ์ พะยอมยงค์,สุรพล โทณะวณิก
นับว่าดิอิม เป็นผู้นำของวงดนตรีแห่งยุคสมัยอย่างแท้จริง
โกอินเตอร์
หลังคว้าแชมป์ถวยพระราชทาน 3 ปีซ้อน และมีชื่อเสียงโด่งดังระเบิดระเบ้อ เมืองไทยดูจะแคบไปสำหรับวงดนตรีวงนี้เสียแล้ว นั่นจึงทำให้ดิอิม เดินหน้าต่อไปอีกขั้นด้วยการเดินทางไปเล่นที่ต่างประเทศ นับเป็นการ“โกอินเตอร์” ที่มาก่อนกาลของวงการเพลงไทยในช่วงกลางปี 2515 พร้อมๆกับที่ทางวงได้เพิ่มสมาชิกเข้ามาอีกหนึ่งคนคือ ยงยุทธ มีแสง(เล็ก)ในตำแหน่งทรัมเป็ต เพื่อร่วมขับเคลื่อนวงดนตรีวงนี้มีสีสันมากขึ้น ก่อนจะบินบินลัดฟ้าไปเล่นที่คลับฮาวายเอี้ยนฮัท ในโรงแรมอลาโมอานา รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของวงนี้
ช่วงที่เล่นที่ฮาวาย ดิอิมพอสสิเบิ้ลส์ ประสบความสำเร็จอย่างสูง ถือเป็นวงดนตรีวงแรกที่ทำสถิติยอดขายต่อคืนสูงสุดของคลับฮาวายเอี้ยนฮัท นับตั้งแต่มีการเปิดคลับนี้มา แต่ทางวงก็ดันเกิดปัญหาขึ้นเมื่อ แดง พิชัย มือเบส ขอลาออกเนื่องจากขัดแย้งกับสมาชิกบางคนภายในวง ซึ่งความคาใจที่สะสมเรื้อรังมา ผสมกับการไปอยู่ห่างบ้านต่างเมือง ทำให้วันขาดกันมาถึง
ทางวงจึงต้องโยกน้าต้อย เศรษฐา ไปเล่นเบสแทนเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า พร้อมกับดึง น้าเต๋อ : เรวัต พุทธินันทน์ นักดนตรีผู้มากฝีมือจากวงเดอะแธ้งค์ ที่เคยเล่นสลับกับ วงดิอิม ที่อิมพอสสิเบิ้ลส์คาเฟ่ในเมืองไทย มาทำเป็นนักร้องนำของวง เพื่อช่วยให้เศรษฐาเล่นเบสคล่องตัวขึ้น
พร้อมกับนี้ทางวงยังได้ยกระดับการเล่นเพลงด้วยการเน้นเสียงเครื่องเป่าที่จัดจ้านและเข้มข้นขึ้น เพื่อตอบสนองนักฟังต่างชาติที่นิยมฟังเพลงรูปแบบนี้ รวมถึงทางวงยังได้พัฒนาแนวทางดนตรีของวงอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากได้ไอเดียและประสบการณ์มาจากการชมวงดนตรีดังๆในต่างแดน โดยน้าต้อย เศรษฐา ได้(เคย)ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ไว้ในหนังสือฉบับหนึ่งว่า
...การไปเล่นในต่างแดน เรา(ดิอิม) ได้พบเห็นอะไรที่แปลกใหม่มากมาย ทั้งเทคนิค การเล่น รวมถึงประสบการณ์อื่นๆ...
ทว่าช่วงเวลาในต่างแดนของ ดิอิม นั้นช่างสั้นนัก เพราะเพียงแค่ปีกว่าๆเท่านั้นสัญญาจ้างเล่นในฮาวายก็หมดลง พวกเราเดินทางกลับมาเมืองไทยในช่วงเดือนสิงหาคม 2516 โดยมีผู้จัดการวงคนใหม่ คือ จรัล นันทสุนานนท์(ดร.พุทธจรัลในปัจุบัน)
หลังกลับมาเมืองไทยดิอิม นำประสบการณ์จากเมืองนอก มาสร้างระบบใหม่ในการแสดงคือ มีการเก็บตั๋วค่าเข้าชมก่อนเข้าไปดูวงดนตรีเล่นในไนต์คลับ นับเป็นครั้งแรกในเมืองไทยและของวงดนตรีไทยเลยทีเดียว
นอกจากนี้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2516 วงดิอิม ยังได้ทำอัลบั้มชุดที่สองออกมา(แผ่นลองเพลย์ สปีด 33) ในชื่อชุด “หมื่นไมล์แค่ใจเอื้อม” โดยมีประดิษฐ์ อุตตะมัง เป็นผู้จัดทำ และออกงานเพลงแผ่นเล็ก สปีด 45 ที่มีเพียง 4 เพลงออกมา(มีวิมล จงวิไล เป็นผู้จัดทำ)ในเดือนธันวาคม 2516
อิ่มตัว
กลับมาเมืองไทยได้ไม่นาน ดิอิม มีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกวงอีกครั้ง เมื่อ แตง : อนุสรณ์ มือกลองในยุคก่อตั้งขอลาออกไป ทางวงจึงนำ ปรีดิ์เทพ มาลากุล ณ อยุธยา(เปี๊ยก) มือกลองวงสตรีท ที่เคยเล่นที่ฮาวายต่อจากวงดิอิม เข้ามาตีกลองแทน ส่วนตำแหน่งมือได้ปึ๊ด : สมชาย กฤษณเศรณี มาทึ้งเบส แล้วโยกเศรษฐากลับมาเป็นนักร้องนำตามเดิม ด้านน้าเต๋อเรวัตนั้นรับหน้าที่เล่นคีย์บอร์ดและช่วยร้องนำร่วมกับเศรษฐา
หลังเซ็ททีมเซ็ทวงเข้าที่เข้าทาง ในช่วงปี 2517-2518 ดิ อิม โกอินเตอร์อีกครั้ง เดินทางไปเล่นในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย อาทิ สวีเดน ฟินแลนด์ และนอร์เวย์ ช่วงนี้ปึ๊ดสมชายที่เพ่งเข้ามาได้ขอลาออก ทำให้ทางวงดึงไพฑูรย์ วาทยะกร(หลานพระเจนดุริยางค์) มาเล่นเบสแทน
ระหว่างทัวร์ยุโรป ดิอิม ยกระดับการโก อินเตอร์ ไปอีกขั้น ด้วยการ ออกอัลบั้มเพลงสากลเป็นครั้งแรกของวงในชื่อชุด “Hot Pepper”(ปี 2518) แต่งานเพลงชุดนี้ล้มเหลวทั้งเมืองนอกและเมืองไทย
จบจากทัวร์ยุโรป ดิอิม กลับมาเล่นที่เมืองไทย ที่โรงแรมมณเฑียร ช่วงนี้เป็นช่วงปลายของวง ซึ่งแม้ชื่อเสียงของดิอิมพอสสิเบิ้ลส์ ยังคงหอมฟุ้งอยู่ แต่สุดท้ายทางวงก็ได้ทำในสิ่งที่ใครหลายคนคิดว่าเป็นไปไม่ได้ด้วยการ ประกาศยุบวงอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนเมษายน 2519 ก่อนที่ทางวงจะทำการเล่นต่อไปอีกพักหนึ่ง แล้วจึงยุติการแสดงอย่างถาวรในราวเดือน ตุลาคม 2519 โดยสมาชิกแต่ละคนต่างแยกย้ายไปตามเส้นทางของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น
น้าต้อย เศรษฐาไปได้ดีกับการเป็นนักร้องเดี่ยว นักแสดง และพิธีกร อีกทั้งยังเป็นไอดอลของนักร้องหลายๆคน ซึ่งปัจจุบันน้าต้อยยังคงโลดแล่นอยู่ในวงการบันเทิง พร้อมกับมีงานคอนเสิร์ตออกมาอยู่เรื่อยๆให้แฟนเพลงดิอิม ได้พอหายคิดถึงกันบ้าง
น้าต๋อย วินัย ออกไปทำงานเบื้องหลัง เป็นครูสอนดนตรี และเป็นนายกสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน
อาปราจีน(ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ไปทำงานเบื้องหลัง ทำเพลงให้กับหน่วยงานราชการ สาธารณกุศล และทำงานเพลงประกอบภาพยนตร์ได้รับรางวัลมากมาย
น้าเต๋อ เรวัต(ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ออกไปโลดแล่นในเส้นทางสายดนตรี เป็นทั้ง นักร้อง นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ มีอัลบั้มเดี่ยวเต๋ออันโด่งดังของตัวเอง พร้อมกับไปบุกเบิกสร้างค่ายแกรมมี่ขึ้นมา
ถือเป็นอีกประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของวงการเพลงไทย ที่น่าเสียดายว่าทางผู้บริหารรุ่นหลังไม่ได้มีมุมมองและวิสัยทัศน์แบบน้าเต๋อ ทำให้บทเพลงของแกรมมี่ในยุคหลังๆเปลี่ยนแปลงไปจากยุคแรกเริ่มมาก พร้อมๆกับเจตนารมย์ทางดนตรีที่เปลี่ยนไปอย่างมากมายด้วยเช่นกัน
ในขณะที่สมาชิกวงคนที่เหลือส่วนหนึ่งไปประกอบอาชีพตามที่ตนเองถนัด แต่อีกส่วนหนึ่งก็ยังคงโลดแล่นอยู่ในแวดวงดนตรี มีความสุขตามอัตภาพกับชีวิตที่ผ่านพ้นจุดสูงสุดของชีวิตทางดนตรีมาแล้ว
ตำนาน
แม้ดิอิมพอสสิเบิ้ลส์จะปิดตำนานของตัวเองลงไปช้านานแล้ว
แต่ตำนานที่พวกเขาสร้างไว้ยังคง และยังคงอยู่ตลอดไป ซึ่งมัน“เป็นไปไม่ได้”ที่หากพูดถึงตำนานเพลงไทยแล้ว ไม่มีชื่อ
“ดิอิมพอสสิเบิ้ลส์”
*****************************************
หมายเหตุ : ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
-หลังยุบวงดิอิมมีผลงานอัลบั้มชุด“ผมไม่วุ่น”(ชื่อนี้มาจากการจัดจำหน่ายครั้งหลัง) ออกมาใน ปี พ.ศ. 2521 และอัลบั้ม“กลับมาแล้ว”(บันทึกเสียงใหม่) ในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งวงดิอิมกลับมารวมตัวเป็นการเฉพาะกิจอีกครั้ง
-เรื่องราวของ“ดิ อิมพอสสิเบิ้ลส์”ยังไม่จบง่ายๆเพียงแค่นี้ ตอนต่อไปผมจะนำผลงานเพลงดังๆทั้งเพลงประกอบภาพยนตร์และผลงานอัลบั้มที่น่าสนใจของวงนี้ มาเล่าสู่กันฟัง
-ข้อมูลส่วนหนึ่งในบทความนี้อางอิงจากหนังสือ รวมบทเพลง The Impossibles โดยปราจีน ทรงเผ่า
*****************************************
บทความแนะนำเพลงน่าสนใจย้อนยุค จะนำเสนอสัปดาห์เว้นสัปดาห์ สลับกับบทความแนะนำเพลงน่าสนใจในสมัยนิยม
*****************************************
คอนเสิร์ต
*****************************************
คอนเสิร์ต แคทเธอลีน เจนกินส์ “International Crossover Superstar”
แคทเธอลีน เจนกินส์ นักร้องสาวสวยซุปเปอร์สตาร์ชื่อดังที่สุดของอังกฤษ จะมาแสดงคอนเสิร์ตออร์เคสตร้าป็อป ร่วมกับวง BSO ในรายการ “International Crossover Superstar” ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย วันพุธที่ 23 มีนาคม ศกนี้
แคทเธอลีน เจนกินส์ (Katherine Jenkins) นักร้องสาวสวยซุปเปอร์สตาร์จากอังกฤษ ซึ่งกำลังมาแรง มีชื่อเสียงและได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุดคนหนึ่งในแนวเพลงครอสโอเวอร์คลาสสิกของอังกฤษ จะมาแสดงคอนเสิร์ตกับวง BSO นักดนตรี 70 ชิ้น ในรายการ “International Crossover Superstar” ร่วมด้วย แอนโทนี อิงกลิส (Anthony Inglis)ผู้อำนวยเพลงรับเชิญ ชาวอังกฤษ กำหนดแสดงในวันพุธที่ 23 มีนาคมนี้ เวลาสองทุ่ม ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒธธรรมแห่งประเทศไทย จัดโดยมูลนิธิ BSO สนับสนุนโดย บี.กริม และเครดิต สวิส เอจี เป็นอีกหนึ่งในรายการคอนเสิร์ตซีรีส์ “Great Artists of the World 2011” ซึ่งมูลนิธิฯ จัดขึ้นตลอดทั้งปี
คอนเสิร์ตครั้งนี้มีความหลากหลายสไตล์ ทั้งเพลงร้องแนวป๊อป เพลงจากภาพยนตร์ ละครบรอดเวย์ และคลาสสิกแบบครอสโอเวอร์ (crossover) ชึ่งเป็นการนำเพลงร้องคลาสสิกที่คุ้นหู ฟังสบายๆ มาร้องผสมผสานกับเพลงในสไตล์อื่นๆได้อย่างลงตัว คลอด้วยซาวด์แนวสตริงของออร์เคสตร้าที่เรียบเรียงขึ้นใหม่ได้อย่างงดงาม เป็นคอนเสิร์ตที่ออกแนวหวานๆ โรแมนติก ฟังกันได้สบายทุกระดับรสนิยม
รายการเพลงเป็นเพลงร้องที่ได้รับความนิยมจากอัลบั้มต่างๆ ของเธอ อาทิ “Love Never Dies” เพลงเอกจากละครเพลงซึ่งเป็นผลงานล่าสุดของ แอนดรูว์ ลอยด์ เว็บเบอร์ “La Ve En Rose” เพลงดังอมตะของ อีดิท เพี๊ยช “Till There Was You" เพลงของเดอะ บิทเทิลส์ “Bring Me To Live” เพลงป็อปของ Evanescence วงร็อคชื่อดังอเมริกัน “Speak Softly Love Me” เพลงเอกจากภาพยนตร์อมตะ “The Godfather”, “Habanera” จากอุปรากร Carmen ชึ่งมีทำนองไพเราะคุ้นหู รวมทั้ง “Angel” และ I Believe” เพลงป็อปดังรุ่นเก่าที่อยู่ในอัลบั้มล่าสุดของเธอเมื่อปลายปีที่แล้ว ชึ่งมี David Foster นักแต่งเพลงชื่อดังชาวอเมริกันเป็น โปรดิวเชอร์เป็นเพลงที่ติดอันดับบิลบอร์ด ได้รับความนิยมสูงสุดจนปัจจุบัน
แคทเธอลีน เจนกินส์ เป็นนักร้องเพลงคลาสสิคระดับคุณภาพที่มีเสียงหวาน ทุ้ม ไพเราะ จนสามารถสะกดผู้ฟังได้ทันที และยังร้องเพลงในสไตล์อื่นๆ ทั้งแนวบรอดเวย์ และเพลงป็อปต่างๆ ได้ดีอีกด้วย พรสวรรค์และความสามารถพิเศษที่หลากหลายนี้ เป็นสิ่งที่หาได้ยากในศิลปินคนเดียวกัน อีกทั้งยังเป็นสาวสวยที่ทันสมัย ทำให้เธอได้เซ็นต์สัญญาออกอัลบั้มเดี่ยวครั้งแรกเมื่ออายุเพียง 20 ปี มีชื่อเสียงกลายเป็นกระแสอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียง 5-6 ปีที่ผ่านมา โด่งดังเช่นเดียวกับสองนักร้องรุ่นพี่คือ ซาร่า ไบร์แมน ชาร์ลอท เชิร์ท ปัจจุบันเธอออกอัลบั้มรวม 7 ชุด มียอดขายหลายล้านแผ่น ติดอันดับนำของบิลบอร์ดทั้งในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
แคทเธอลีนได้ออกแสดงคอนเสิร์ตทั่วโลกร่วมกับวงป็อปและวงออร์เคสตร้า เช่น London Symphony, National Symphony Orchestra ณ โรงคอนเสิร์ตที่สำคัญ อาทิ Royal Albert Hall, Sydney Opera House แสดงคอนเสิร์ตกลางแจ้งที่ Hyde Park มีผู้ชมหลายหมื่นคนแสดงหน้าพระพักตร์สมเด็จพระราชินีอังกฤษ ได้รับเชิญร้องเดี่ยวในงานระดับชาติที่มีเกียรติ อาทิ Noble Peace Prize Concert พิธีปิดการแข่งขันฟุตบอลรอบชิงชนะเลิศ FA Cup รายการโชว์สำคัญๆ ทางสถาณีโทรทัศน์ BBC และ ITV ถ่ายทอดสดไปทั่วโลก ได้ร้องคู่กับศิลปินระดับโลกหลายคน อาทิ Placido Domingo, Andrea Bocelli ศิลปินดังที่ร่วมบันทึกเสียงในอัลบั้มของเธอ อาทิ Jullian Lloyd Webber, Andre Rieu, Chris Botti และ David Foster
นิตยสาร Hello ของอังกฤษได้กล่าวไว้ว่า “เพียงแค่ได้ยินเสียงร้องจากโน้ตตัวแรกของเธอ ก็สามารถสะกดให้คนฟังสัมผัสได้ทันทีถึงความไพเราะ และความงามในน้ำเสียงที่มีเสน่ห์”
สำหรับคอนเสิร์ตครั้งนี้ มีการจำหน่ายบัตรราคาบัตร : 1000, 1,600, 2,400, 3200 และ 4,000 บาท ผู้สนใจติดต่อจองบัตรได้ที่ ThaiTicketmajor โทร. 0-2262-3456 หรือwww.thaiticketmajor.com หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-255-6617-8 หรือ www.bangkoksymphony.org
“...ถ้าฉันมียี่สิบตา อย่างทศกัณฐ์ ยี่สิบตาของฉัน จะมองเธอไม่เหลียว ยี่สิบแขนจะสวมสอด กอดเธอผู้เดียว ยี่สิบสีดาอย่ามาเกี้ยว ไม่แลเหลียวมอง...”
เพลง “เป็นไปไม่ได้” : วง “ดิอิมพอสสิเบิ้ลส์” (ชื่อวงอ้างอิงตัวสะกดจากหนังสือ “รวมบทเพลง The Impossibles” โดยปราจีน ทรงเผ่า)
กำเนิด ดิอิม
เป็นไปไม่ได้ ที่ผมจะโตทันยุค“ดิอิมพอสสิเบิ้ลส์”รุ่งเรือง(คล้ายกับจะบอกว่าตัวเองยังไม่แก่) แต่ด้วยความที่สมัยเป็นเด็กพี่ชายผมมักเปิดเพลงของดิอิม ให้ฟังอยู่เป็นประจำ จนบทเพลงของวงๆนี้มันได้ซึมลึก กลายเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำทางดนตรี ชนิดที่สามารถดำน้ำเพลงของวงดิอิม ได้อยู่หลายเพลงด้วยกัน
ดิอิมพอสสิเบิ้ลส์ หรือที่หลายคนมักเรียกสั้นๆว่า “ดิอิม” อาจไม่เป็นที่คุ้นหูของเด็กรุ่นใหม่ แต่นี่คือหนึ่งในวงดนตรีระดับตำนานที่มีคุณูปการต่อวงการเพลงไทยสมัยใหม่อย่างสูงล้น
ดิอิม เป็นวงดนตรีที่ถือกำเนิดและประสบความสำเร็จมาจากความสามารถและฝีไม้ลายมือเพียวๆ ไม่ได้มาจาก การตลาดหรือหน้าตาอย่างหลายๆวงในปัจจุบัน โดยก่อนที่จะเป็นวง ดิอิมพอสสิเบิ้ลส์ 4 หนุ่ม ซึ่งประกอบด้วย “วินัย พันธุรักษ์”(ต๋อย/แซกโซโฟน)-กีตาร์,”พิชัย ทองเนียม”(แดง)-เบส,”สุเมธ อินทรสูต”(ชื่อจริง)หรือ“สุเมธ แมนสรวง”-คีย์บอร์ด และ “อนุสรณ์ พัฒนกุล”(แตง)-กลอง ได้ฟอร์มวง “Holiday J-3” ขึ้นมาในปี พ.ศ. 2509
จากนั้น Holiday J-3 ได้ดึง “เศรษฐา ศิระฉายา”(ต้อย) มือกีตาร์และนักร้องผู้มีประสบการณ์โชกโชนที่สามารถเอนเตอร์เทนต์คนดูหน้าวงได้เป็นอย่างดี เข้ามาร่วมเป็นสมาชิกคนที่ 5 ของวง
ระหว่างนี้ 5 หนุ่ม นอกจากจะเล่นดนตรีประจำแล้ว ยังคร่ำเคร่งมุ่งมั่นซ้อมกันอย่างหนักเพื่อพัฒนาฝีมือตัวเอง พร้อมกับเปลี่ยนชื่อวงเป็น Joint Reaction แต่พวกเขารู้สึกว่าชื่อนี้มันยังไม่ใช่อยู่ดี จึงทำการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “The Impossibles” ซึ่งเป็นไอเดียของเศรษฐา มาจากชื่อหนังการ์ตูนยอดฮิตในยุคนั้น
สร้างชื่อ
ดิอิม เริ่มเป็นที่รู้จักจากการแสดงในบาร์แถวถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2512 ทางสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ได้จัดประกวดวงสตริงคอมโบชิงถ้วยพระราชทานขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย วงดิอิม โดยการชักชวนของครูเพลง นริศร์ ทรัพย์ประภา ได้เข้าร่วมแข่งขันด้วย พร้อมกับใช้ฝีมืออันยอดเยี่ยมคว้าถ้วยแชมป์ประเภทวงดนตรีอาชีพมาครองได้แบบไร้ก้อขังขา
ผลจากการคว้าแชมป์ถ้วยพระราชทาน วงดิอิมพอสสิเบิ้ลส์ โด่งดังขึ้นมาแบบฉับพลัน พร้อมกับได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำวงดนตรีประเภทสตริงคอมโบมาตั้งแต่นั้นมา นั่นจึงทำให้“เปี๊ยก โปสเตอร์”ผู้ผันตัวจากนักวาดใบปิดหนังมาเป็นผู้กำกับหนัง ได้ทาบทามให้ดิอิม มาทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องแรกของแก คือ “โทน”
การได้เข้ามาทำเพลงประกอบหนัง นับเป็นหนึ่งในจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของดิอิม เพราะมันเป็นตัวเร่งให้วงนี้โด่งดังเป็นพลุมากขึ้น และก็ทำให้วงดิอิม ได้รับงานเพลงประกอบภาพยนตร์อีกหลายเรื่องตามมา ซึ่งเอาไว้ถึงช่วงแนะนำเพลงประกอบภาพยนตร์ของวงดิอิมในตอนต่อไป ผมจะขยายความเรื่องนี้อีกที
ระหว่างนี้วงดิอิม มีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกวง เมื่อ สุเมธ แมนสรวง ขอลาออกไป เศรษฐาจึงดึง ปุ๊ : ปราจีน ทรงเผ่า มาเล่นคีย์บอร์ดแทนพร้อมกับรับตำแหน่งทรอมโบนควบคู่ไปด้วย และดึงสิทธิพร อมรพันธุ์(อู้ด) มาช่วยเสริมทัพเล่นกีตาร์อีกแรง
ปี พ.ศ. 2513 วงดิอิม เข้าประกวดวงสตริงคอมโบอีกครั้ง และก็คว้ารางวัลชนะเลิศมาครองอีกตามเคย ส่วนปีถัดมา 2514 สถานการณ์วุ่นวายทางการเมืองทำให้ต้องงดการประกวดไป ก่อนจะกลับมาจัดประกวดอีกครั้งในปี 2515
ผลก็คือการประกวดในปีนี้ วงดิอิม ซิวแชมป์มาครองเหมือนเดิม นับเป็นแชมป์ 3 ปีซ้อน จนได้รับถ้วยพระราชทานมาครอบครองเป็นกรรมสิทธิ์ของทางวงอย่างถาวร
จากนั้นช่วงกลางปี 2515 วงดิอิม หลังจากจากทำเพลงประกอบภาพยนตร์มามากมาย ได้เดินหน้าเข้าห้องอัด ทำคลอดผลงานเพลงชุดแรกออกมาคือ “เป็นไปไม่ได้” โดยมีพยงค์มุกดา เป็นผู้จัดทำ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอย่างดี สมัยนั้นยังไม่มีการทำเพลงออกเป็นเทปคลาสเซ็ท “เป็นไปไม่ได้”ถูกผลิตออกมาในรูปแบบแผ่นเสียง ลองเพลย์ สปีด 33 ซึ่งเมื่อเวลาผ่านมาถึงยุคเทปคลาสเซ็ท เพลงต่างๆของดิอิม ก็ถูกทำออกมาเป็นเทปผีกันเพียบเลย
ช่วงนี้วงดิอิมพอสสิเบิ้ลส์ ถือเป็นผู้นำในการสร้างดนตรีไทยสากลด้วยแนวทางอิทธิพลของดนตรีตะวันตกอย่างแท้จริง พวกเขาเล่นทั้งร็อค โซล แจ๊ซ-ร็อค ลาติน-ร็อค ป็อบ โฟล์ค ควบคู่ไปกับการใช้เครื่องเป่ามาผสมผสาน นับเป็นความหวือหวาแปลกใหม่ที่มาพร้อมกับการเขียนเพลงอันเหนือชั้น ซึ่งมีทั้งท่วงทำนองอันงดงาม ภาษาสละสลวย และเนื้อหาโดนใจ โดยผู้เขียนเพลงหลักๆนั้นจัดอยู่ในประเภทครูเพลงฝีมือสุดยอดของเมืองไทยทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น สง่า อารัมภีร,ประสิทธิ์ พะยอมยงค์,สุรพล โทณะวณิก
นับว่าดิอิม เป็นผู้นำของวงดนตรีแห่งยุคสมัยอย่างแท้จริง
โกอินเตอร์
หลังคว้าแชมป์ถวยพระราชทาน 3 ปีซ้อน และมีชื่อเสียงโด่งดังระเบิดระเบ้อ เมืองไทยดูจะแคบไปสำหรับวงดนตรีวงนี้เสียแล้ว นั่นจึงทำให้ดิอิม เดินหน้าต่อไปอีกขั้นด้วยการเดินทางไปเล่นที่ต่างประเทศ นับเป็นการ“โกอินเตอร์” ที่มาก่อนกาลของวงการเพลงไทยในช่วงกลางปี 2515 พร้อมๆกับที่ทางวงได้เพิ่มสมาชิกเข้ามาอีกหนึ่งคนคือ ยงยุทธ มีแสง(เล็ก)ในตำแหน่งทรัมเป็ต เพื่อร่วมขับเคลื่อนวงดนตรีวงนี้มีสีสันมากขึ้น ก่อนจะบินบินลัดฟ้าไปเล่นที่คลับฮาวายเอี้ยนฮัท ในโรงแรมอลาโมอานา รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของวงนี้
ช่วงที่เล่นที่ฮาวาย ดิอิมพอสสิเบิ้ลส์ ประสบความสำเร็จอย่างสูง ถือเป็นวงดนตรีวงแรกที่ทำสถิติยอดขายต่อคืนสูงสุดของคลับฮาวายเอี้ยนฮัท นับตั้งแต่มีการเปิดคลับนี้มา แต่ทางวงก็ดันเกิดปัญหาขึ้นเมื่อ แดง พิชัย มือเบส ขอลาออกเนื่องจากขัดแย้งกับสมาชิกบางคนภายในวง ซึ่งความคาใจที่สะสมเรื้อรังมา ผสมกับการไปอยู่ห่างบ้านต่างเมือง ทำให้วันขาดกันมาถึง
ทางวงจึงต้องโยกน้าต้อย เศรษฐา ไปเล่นเบสแทนเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า พร้อมกับดึง น้าเต๋อ : เรวัต พุทธินันทน์ นักดนตรีผู้มากฝีมือจากวงเดอะแธ้งค์ ที่เคยเล่นสลับกับ วงดิอิม ที่อิมพอสสิเบิ้ลส์คาเฟ่ในเมืองไทย มาทำเป็นนักร้องนำของวง เพื่อช่วยให้เศรษฐาเล่นเบสคล่องตัวขึ้น
พร้อมกับนี้ทางวงยังได้ยกระดับการเล่นเพลงด้วยการเน้นเสียงเครื่องเป่าที่จัดจ้านและเข้มข้นขึ้น เพื่อตอบสนองนักฟังต่างชาติที่นิยมฟังเพลงรูปแบบนี้ รวมถึงทางวงยังได้พัฒนาแนวทางดนตรีของวงอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากได้ไอเดียและประสบการณ์มาจากการชมวงดนตรีดังๆในต่างแดน โดยน้าต้อย เศรษฐา ได้(เคย)ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ไว้ในหนังสือฉบับหนึ่งว่า
...การไปเล่นในต่างแดน เรา(ดิอิม) ได้พบเห็นอะไรที่แปลกใหม่มากมาย ทั้งเทคนิค การเล่น รวมถึงประสบการณ์อื่นๆ...
ทว่าช่วงเวลาในต่างแดนของ ดิอิม นั้นช่างสั้นนัก เพราะเพียงแค่ปีกว่าๆเท่านั้นสัญญาจ้างเล่นในฮาวายก็หมดลง พวกเราเดินทางกลับมาเมืองไทยในช่วงเดือนสิงหาคม 2516 โดยมีผู้จัดการวงคนใหม่ คือ จรัล นันทสุนานนท์(ดร.พุทธจรัลในปัจุบัน)
หลังกลับมาเมืองไทยดิอิม นำประสบการณ์จากเมืองนอก มาสร้างระบบใหม่ในการแสดงคือ มีการเก็บตั๋วค่าเข้าชมก่อนเข้าไปดูวงดนตรีเล่นในไนต์คลับ นับเป็นครั้งแรกในเมืองไทยและของวงดนตรีไทยเลยทีเดียว
นอกจากนี้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2516 วงดิอิม ยังได้ทำอัลบั้มชุดที่สองออกมา(แผ่นลองเพลย์ สปีด 33) ในชื่อชุด “หมื่นไมล์แค่ใจเอื้อม” โดยมีประดิษฐ์ อุตตะมัง เป็นผู้จัดทำ และออกงานเพลงแผ่นเล็ก สปีด 45 ที่มีเพียง 4 เพลงออกมา(มีวิมล จงวิไล เป็นผู้จัดทำ)ในเดือนธันวาคม 2516
อิ่มตัว
กลับมาเมืองไทยได้ไม่นาน ดิอิม มีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกวงอีกครั้ง เมื่อ แตง : อนุสรณ์ มือกลองในยุคก่อตั้งขอลาออกไป ทางวงจึงนำ ปรีดิ์เทพ มาลากุล ณ อยุธยา(เปี๊ยก) มือกลองวงสตรีท ที่เคยเล่นที่ฮาวายต่อจากวงดิอิม เข้ามาตีกลองแทน ส่วนตำแหน่งมือได้ปึ๊ด : สมชาย กฤษณเศรณี มาทึ้งเบส แล้วโยกเศรษฐากลับมาเป็นนักร้องนำตามเดิม ด้านน้าเต๋อเรวัตนั้นรับหน้าที่เล่นคีย์บอร์ดและช่วยร้องนำร่วมกับเศรษฐา
หลังเซ็ททีมเซ็ทวงเข้าที่เข้าทาง ในช่วงปี 2517-2518 ดิ อิม โกอินเตอร์อีกครั้ง เดินทางไปเล่นในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย อาทิ สวีเดน ฟินแลนด์ และนอร์เวย์ ช่วงนี้ปึ๊ดสมชายที่เพ่งเข้ามาได้ขอลาออก ทำให้ทางวงดึงไพฑูรย์ วาทยะกร(หลานพระเจนดุริยางค์) มาเล่นเบสแทน
ระหว่างทัวร์ยุโรป ดิอิม ยกระดับการโก อินเตอร์ ไปอีกขั้น ด้วยการ ออกอัลบั้มเพลงสากลเป็นครั้งแรกของวงในชื่อชุด “Hot Pepper”(ปี 2518) แต่งานเพลงชุดนี้ล้มเหลวทั้งเมืองนอกและเมืองไทย
จบจากทัวร์ยุโรป ดิอิม กลับมาเล่นที่เมืองไทย ที่โรงแรมมณเฑียร ช่วงนี้เป็นช่วงปลายของวง ซึ่งแม้ชื่อเสียงของดิอิมพอสสิเบิ้ลส์ ยังคงหอมฟุ้งอยู่ แต่สุดท้ายทางวงก็ได้ทำในสิ่งที่ใครหลายคนคิดว่าเป็นไปไม่ได้ด้วยการ ประกาศยุบวงอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนเมษายน 2519 ก่อนที่ทางวงจะทำการเล่นต่อไปอีกพักหนึ่ง แล้วจึงยุติการแสดงอย่างถาวรในราวเดือน ตุลาคม 2519 โดยสมาชิกแต่ละคนต่างแยกย้ายไปตามเส้นทางของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น
น้าต้อย เศรษฐาไปได้ดีกับการเป็นนักร้องเดี่ยว นักแสดง และพิธีกร อีกทั้งยังเป็นไอดอลของนักร้องหลายๆคน ซึ่งปัจจุบันน้าต้อยยังคงโลดแล่นอยู่ในวงการบันเทิง พร้อมกับมีงานคอนเสิร์ตออกมาอยู่เรื่อยๆให้แฟนเพลงดิอิม ได้พอหายคิดถึงกันบ้าง
น้าต๋อย วินัย ออกไปทำงานเบื้องหลัง เป็นครูสอนดนตรี และเป็นนายกสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน
อาปราจีน(ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ไปทำงานเบื้องหลัง ทำเพลงให้กับหน่วยงานราชการ สาธารณกุศล และทำงานเพลงประกอบภาพยนตร์ได้รับรางวัลมากมาย
น้าเต๋อ เรวัต(ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ออกไปโลดแล่นในเส้นทางสายดนตรี เป็นทั้ง นักร้อง นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ มีอัลบั้มเดี่ยวเต๋ออันโด่งดังของตัวเอง พร้อมกับไปบุกเบิกสร้างค่ายแกรมมี่ขึ้นมา
ถือเป็นอีกประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของวงการเพลงไทย ที่น่าเสียดายว่าทางผู้บริหารรุ่นหลังไม่ได้มีมุมมองและวิสัยทัศน์แบบน้าเต๋อ ทำให้บทเพลงของแกรมมี่ในยุคหลังๆเปลี่ยนแปลงไปจากยุคแรกเริ่มมาก พร้อมๆกับเจตนารมย์ทางดนตรีที่เปลี่ยนไปอย่างมากมายด้วยเช่นกัน
ในขณะที่สมาชิกวงคนที่เหลือส่วนหนึ่งไปประกอบอาชีพตามที่ตนเองถนัด แต่อีกส่วนหนึ่งก็ยังคงโลดแล่นอยู่ในแวดวงดนตรี มีความสุขตามอัตภาพกับชีวิตที่ผ่านพ้นจุดสูงสุดของชีวิตทางดนตรีมาแล้ว
ตำนาน
แม้ดิอิมพอสสิเบิ้ลส์จะปิดตำนานของตัวเองลงไปช้านานแล้ว
แต่ตำนานที่พวกเขาสร้างไว้ยังคง และยังคงอยู่ตลอดไป ซึ่งมัน“เป็นไปไม่ได้”ที่หากพูดถึงตำนานเพลงไทยแล้ว ไม่มีชื่อ
“ดิอิมพอสสิเบิ้ลส์”
*****************************************
หมายเหตุ : ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
-หลังยุบวงดิอิมมีผลงานอัลบั้มชุด“ผมไม่วุ่น”(ชื่อนี้มาจากการจัดจำหน่ายครั้งหลัง) ออกมาใน ปี พ.ศ. 2521 และอัลบั้ม“กลับมาแล้ว”(บันทึกเสียงใหม่) ในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งวงดิอิมกลับมารวมตัวเป็นการเฉพาะกิจอีกครั้ง
-เรื่องราวของ“ดิ อิมพอสสิเบิ้ลส์”ยังไม่จบง่ายๆเพียงแค่นี้ ตอนต่อไปผมจะนำผลงานเพลงดังๆทั้งเพลงประกอบภาพยนตร์และผลงานอัลบั้มที่น่าสนใจของวงนี้ มาเล่าสู่กันฟัง
-ข้อมูลส่วนหนึ่งในบทความนี้อางอิงจากหนังสือ รวมบทเพลง The Impossibles โดยปราจีน ทรงเผ่า
*****************************************
บทความแนะนำเพลงน่าสนใจย้อนยุค จะนำเสนอสัปดาห์เว้นสัปดาห์ สลับกับบทความแนะนำเพลงน่าสนใจในสมัยนิยม
*****************************************
คอนเสิร์ต
*****************************************
คอนเสิร์ต แคทเธอลีน เจนกินส์ “International Crossover Superstar”
แคทเธอลีน เจนกินส์ นักร้องสาวสวยซุปเปอร์สตาร์ชื่อดังที่สุดของอังกฤษ จะมาแสดงคอนเสิร์ตออร์เคสตร้าป็อป ร่วมกับวง BSO ในรายการ “International Crossover Superstar” ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย วันพุธที่ 23 มีนาคม ศกนี้
แคทเธอลีน เจนกินส์ (Katherine Jenkins) นักร้องสาวสวยซุปเปอร์สตาร์จากอังกฤษ ซึ่งกำลังมาแรง มีชื่อเสียงและได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุดคนหนึ่งในแนวเพลงครอสโอเวอร์คลาสสิกของอังกฤษ จะมาแสดงคอนเสิร์ตกับวง BSO นักดนตรี 70 ชิ้น ในรายการ “International Crossover Superstar” ร่วมด้วย แอนโทนี อิงกลิส (Anthony Inglis)ผู้อำนวยเพลงรับเชิญ ชาวอังกฤษ กำหนดแสดงในวันพุธที่ 23 มีนาคมนี้ เวลาสองทุ่ม ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒธธรรมแห่งประเทศไทย จัดโดยมูลนิธิ BSO สนับสนุนโดย บี.กริม และเครดิต สวิส เอจี เป็นอีกหนึ่งในรายการคอนเสิร์ตซีรีส์ “Great Artists of the World 2011” ซึ่งมูลนิธิฯ จัดขึ้นตลอดทั้งปี
คอนเสิร์ตครั้งนี้มีความหลากหลายสไตล์ ทั้งเพลงร้องแนวป๊อป เพลงจากภาพยนตร์ ละครบรอดเวย์ และคลาสสิกแบบครอสโอเวอร์ (crossover) ชึ่งเป็นการนำเพลงร้องคลาสสิกที่คุ้นหู ฟังสบายๆ มาร้องผสมผสานกับเพลงในสไตล์อื่นๆได้อย่างลงตัว คลอด้วยซาวด์แนวสตริงของออร์เคสตร้าที่เรียบเรียงขึ้นใหม่ได้อย่างงดงาม เป็นคอนเสิร์ตที่ออกแนวหวานๆ โรแมนติก ฟังกันได้สบายทุกระดับรสนิยม
รายการเพลงเป็นเพลงร้องที่ได้รับความนิยมจากอัลบั้มต่างๆ ของเธอ อาทิ “Love Never Dies” เพลงเอกจากละครเพลงซึ่งเป็นผลงานล่าสุดของ แอนดรูว์ ลอยด์ เว็บเบอร์ “La Ve En Rose” เพลงดังอมตะของ อีดิท เพี๊ยช “Till There Was You" เพลงของเดอะ บิทเทิลส์ “Bring Me To Live” เพลงป็อปของ Evanescence วงร็อคชื่อดังอเมริกัน “Speak Softly Love Me” เพลงเอกจากภาพยนตร์อมตะ “The Godfather”, “Habanera” จากอุปรากร Carmen ชึ่งมีทำนองไพเราะคุ้นหู รวมทั้ง “Angel” และ I Believe” เพลงป็อปดังรุ่นเก่าที่อยู่ในอัลบั้มล่าสุดของเธอเมื่อปลายปีที่แล้ว ชึ่งมี David Foster นักแต่งเพลงชื่อดังชาวอเมริกันเป็น โปรดิวเชอร์เป็นเพลงที่ติดอันดับบิลบอร์ด ได้รับความนิยมสูงสุดจนปัจจุบัน
แคทเธอลีน เจนกินส์ เป็นนักร้องเพลงคลาสสิคระดับคุณภาพที่มีเสียงหวาน ทุ้ม ไพเราะ จนสามารถสะกดผู้ฟังได้ทันที และยังร้องเพลงในสไตล์อื่นๆ ทั้งแนวบรอดเวย์ และเพลงป็อปต่างๆ ได้ดีอีกด้วย พรสวรรค์และความสามารถพิเศษที่หลากหลายนี้ เป็นสิ่งที่หาได้ยากในศิลปินคนเดียวกัน อีกทั้งยังเป็นสาวสวยที่ทันสมัย ทำให้เธอได้เซ็นต์สัญญาออกอัลบั้มเดี่ยวครั้งแรกเมื่ออายุเพียง 20 ปี มีชื่อเสียงกลายเป็นกระแสอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียง 5-6 ปีที่ผ่านมา โด่งดังเช่นเดียวกับสองนักร้องรุ่นพี่คือ ซาร่า ไบร์แมน ชาร์ลอท เชิร์ท ปัจจุบันเธอออกอัลบั้มรวม 7 ชุด มียอดขายหลายล้านแผ่น ติดอันดับนำของบิลบอร์ดทั้งในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
แคทเธอลีนได้ออกแสดงคอนเสิร์ตทั่วโลกร่วมกับวงป็อปและวงออร์เคสตร้า เช่น London Symphony, National Symphony Orchestra ณ โรงคอนเสิร์ตที่สำคัญ อาทิ Royal Albert Hall, Sydney Opera House แสดงคอนเสิร์ตกลางแจ้งที่ Hyde Park มีผู้ชมหลายหมื่นคนแสดงหน้าพระพักตร์สมเด็จพระราชินีอังกฤษ ได้รับเชิญร้องเดี่ยวในงานระดับชาติที่มีเกียรติ อาทิ Noble Peace Prize Concert พิธีปิดการแข่งขันฟุตบอลรอบชิงชนะเลิศ FA Cup รายการโชว์สำคัญๆ ทางสถาณีโทรทัศน์ BBC และ ITV ถ่ายทอดสดไปทั่วโลก ได้ร้องคู่กับศิลปินระดับโลกหลายคน อาทิ Placido Domingo, Andrea Bocelli ศิลปินดังที่ร่วมบันทึกเสียงในอัลบั้มของเธอ อาทิ Jullian Lloyd Webber, Andre Rieu, Chris Botti และ David Foster
นิตยสาร Hello ของอังกฤษได้กล่าวไว้ว่า “เพียงแค่ได้ยินเสียงร้องจากโน้ตตัวแรกของเธอ ก็สามารถสะกดให้คนฟังสัมผัสได้ทันทีถึงความไพเราะ และความงามในน้ำเสียงที่มีเสน่ห์”
สำหรับคอนเสิร์ตครั้งนี้ มีการจำหน่ายบัตรราคาบัตร : 1000, 1,600, 2,400, 3200 และ 4,000 บาท ผู้สนใจติดต่อจองบัตรได้ที่ ThaiTicketmajor โทร. 0-2262-3456 หรือwww.thaiticketmajor.com หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-255-6617-8 หรือ www.bangkoksymphony.org