วินาทีแรกที่คนทั้งโลกได้เห็นไมเคิล แจ็กสัน เลื่อนเท้าไถลถอยหลังเหมือนถูกลากด้วยเชือกล่องหนในเพลง Billie Jean ในปี พ.ศ. 2525 นั้น สมุดบันทึกประวัติศาสตร์ด้านดนตรีของโลกก็ได้จารึกชื่อของ ไมเคิล แจ๊กสันเอาไว้ที่หน้าหนึ่งทันที
ชื่อของไมเคิล แจ๊กสันถูกยกมาเอ่ยถึงด้วยเสียงชื่นชม เพลงของเขาถูกเปิดซ้ำแล้วซ้ำอีกในร้านขายซีดี มิวสิกวิดีโอของเขาถูกแพร่ภาพวันละหลายสิบครั้ง จากอัลบั้ม Thriller ที่ทำไมเคิล กลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกนั้น อีก 2 ปีต่อมาก็มีอัลบั้ม Farewell My Summer Love ส่วนในปี พ.ศ. 2530 ก็คลอดอัลบั้ม Bad ที่มีท่าโน้มตัวลงไปจนเกือบแตะพื้นในเพลง Smooth criminal ทำให้ผู้ชมจดจ้องตาไม่กระพริบไปอีกหนึ่งท่า
ไม่ใช่แค่ทั่วโลก แต่กระแส ‘ไมเคิล ฟีเวอร์’ ได้กินพื้นที่ซอกซอนไปทุกอาณาเขตที่สามารถเปิดรับสื่อจากตะวันตกได้ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยที่กระแสวัฒนธรรมอเมริกันกำลังเฟื่องฟูถึงขีดสุด
‘ตู้ ดิเรก’ หรือ ‘ดิเรก อมาตยกุล’ คือศิลปินไทยคนแรกที่ยึดไมเคิล แจ๊กสันเป็นแรงบันดาลใจ เขาผันตัวจากบทบาทนักร้องนำวงเพรสซิเด้นท์ มาเป็นศิลปินเดียว โดยยึดเอาการเต้นที่มีท่วงท่าลีลาที่คนทั่วไปเรียกขานว่า ไร้กระดูก และด้วยพื้นฐานการเต้นดังกล่าวนี้เอง เมื่อมาผนวกกับความโด่งดังของไมเคิล แจ๊กสันในช่วงที่เขากำลังทำงานเพลง ตู้ ดิเรก จึงนำท่าเต้น การแต่งกาย และคาแรกเตอร์อื่นๆ ของไมเคิลมาก๊อปปี้เรียกความสนใจจากคนฟังและสื่อได้เป็นอย่างดี
ถัดจากตู้ ดิเรก ก็มีนักแสดงตลกทั่วฟ้าเมืองไทยจำนวนไม่น้อยที่นิยมนำเอาการแต่งกาย และท่าเต้นของไมเคิล แจ๊กสันไปใช้ต่อบนเวที ซี่งแทบทุกครั้งที่ดาวตลกเดินออกมาจากหลังเวทีพร้อมชุดรัดรูปสีดำล้วน หมวกปีกกว้าง และผ้าพันฝ่ามือ นั้น เรียกความสนใจและรอยยิ้มจากผู้ชมที่อยู่ด้านล่างได้เป็นอย่างดี และยิ่งถ้านักแสดงตลกคนไหนสามารถเต้นท่าได้ใกล้เคียงกับไมเคิลมากเท่าไหร่ ผู้ชมก็จะยิ่งสนใจการแสดงของพวกเขามากขึ้นไปด้วย
และนั่นก็ทำให้ ยาว ลูกหยี นักแสดงตลกร่างสูงโปร่ง แม๊ค ชวนชื่น นักแสดงตลกรุ่นใหม่จากคณะชวนชื่น และตลกน้อยใหญ่ ทั้งที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และตลกปลายแถว ทั้งตลกรุ่นเก่า และตลกรุ่นใหม่ หรืแม้กระทั่ง เทพ โพธิ์งาม ก็เคยยึดเอาเป็นคาแรกเตอร์ถาวร และบุคลิกชั่วคราว หันมาสวมชุดคล้ายไมเคิล เต้นท่าของไมเคิล และทำอะไรเปิ่นเป๋อออกมาเรียกเสียงฮาในช่วงท้ายของการแสดงจนไม่สามารถนับด้วยนิ้วมือได้หมด
แต่ถ้าจะให้กล่าวถึงผู้ที่ได้ชื่อว่า ‘ไมเคิล ก็อปปี้’ ตัวพ่อ คงเป็นใครไม่ได้ถ้าไม่ใช่ เขาคนนี้
"ไมเคิล ตั๋ง" คือผู้ที่ได้ชื่อว่านำเอาบุคลิก ลักษณะ การเต้น การแต่งกาย และทุกสิ่งทุกอย่างของไมเคิล แจ๊กสันมาแสดงบนเวทีได้ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด การปรากฏตัวของเขาบนยกพื้น สร้างความประทับใจให้กับผู้ชม เพราะไม่ว่าไมเคิล แจ๊กสันจะเต้นท่าอะไร หรือเคลื่อนขยับร่างกายแบบไหน ไมเคิล ตั๋ง ผู้นี้ก็สามารถทำตามได้เสมอ
เลียนแบบ ลอกเลียน ก๊อปปี้ Cover ไม่ว่าจะเรียกสิ่งที่พวกเขากระทำว่าอะไร แต่สิ่งหนึ่งที่เราได้จากกรณีไมเคิล ก๊อปปี้ก็คือ แรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ซึ่งเกิดจากความสามารถของ ‘ตัวจริง’ จะไม่เสื่อมสลายไปตามสังขารของบุคคลต้นธารของแรงบันดาลใจนั้น
เพราะจะว่าไปแล้ว ถ้าเรามองผลงานของไมเคิล แจ๊กสันในฐานะของงานศิลปะชิ้นหนึ่งที่ชายจากรัฐอินดีแอนาผู้นี้สร้างสรรค์ขึ้นมาแล้วนั้น คำกล่าวของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่บอกว่า “ชีวิตสั้น แต่ศิลปะยืนยาว” ก็คงจะช่วยตอกย้ำความเป็นอมตะที่จะเกิดขึ้นกับผลงานของ King of Pop ผู้นี้ได้อย่างแน่นอน
...
เยือนเมืองไทย
ไมเคิล แจ็กสัน มาแสดงคอนเสิร์ตในประเทศไทย 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อกลางปี พ.ศ. 2536 ในการแสดงคอนเสิร์ต Dangerous World Tour มีกำหนดการแสดง 2 รอบ ในวันที่ 21 สิงหาคม และ 22 สิงหาคม ที่สนามศุภชลาศัย
คอนเสิร์ตในครั้งนี้เป็นคอนเสิร์ตที่ได้รับความสนใจอย่างท่วมท้นจากชาวไทย และกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอยู่ช่วงหนึ่ง ถึงความเหมาะสมของการจัดแสดง เพราะบางส่วนเห็นท่าเต้นลูบเป้าของไมเคิลไม่เหมาะสมต่อวัฒนธรรมไทย
คอนเสิร์ตวันแรกจบลงด้วยดี แต่ในวันที่ 22 สิงหาคม ไมเคิล อ้างว่าป่วยและขอเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 23 สิงหาคม แต่เมื่อมาถึงก็ขอเลื่อนไปอีก สร้างความไม่พอใจแก่แฟน ๆ จนเกิดเป็นจลาจลย่อย ๆ หน้าสนาม จึงต้องใช้เทปเสียงของเจ้าตัวเพื่อยืนยันว่าป่วยจริง และขอเลื่อนการแสดงไปเป็นวันที่ 24 สิงหาคมซึ่งก็สามารถจัดการแสดงได้และจบลงด้วยดี
คอนเสิร์ตของไมเคิล แจ๊คสันถือเป็นการแสดงคอนเสิร์ตใหญ่ของนักร้องชาวต่างประเทศระดับโลกครั้งแรกของไทย และต่อมาก็ได้มีศิลปิน นักร้องต่างประเทศทยอยเดินทางมาแสดงคอนเสิร์ตในประเทศไทยเรื่อยๆ
ครั้งที่ 2 คือ ในกลางปี พ.ศ. 2538 เป็นการโปรโมตอัลบั้ม History จัดแสดงที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี แสดง 2 รอบอีกเช่นเคย แต่ครั้งนี้ไม่ได้รับความสนใจเท่าครั้งแรก
ผลงานการแสดง
1. Miss Cast Away (2004) .... Agent M.J.
2. Men in Black II (2002) .... Agent M
3. Ghosts (1997/I) .... Maestro/Mayor/Ghoul Mayor/Super Ghoul/Skeleton
... aka Michael Jackson's Ghosts
4. Captain EO (1986) .... Captain EO
5. The Wiz (1978) .... Scarecrow
6. Wiz on Down the Road (1978) .... Scarecrow
......
ลือแซด "ไมเคิล" อาจหัวใจวายเพราะติดยาแก้ปวด
แฟนเพลงร่วมอาลัย"ราชาเพลงป๊อป"ลาโลก
20 ภาพย้อนรอยทรงจำของ “ไมเคิล แจ็กสัน” ราชาเพลงป็อปผู้ลาลับ
ช็อกโลก! “ไมเคิล แจ็กสัน” หัวใจวาย เสียชีวิตแล้ว!
ช็อกโลก! สื่อมะกันรายงาน “ไมเคิล แจ็กสัน” ตายแล้ว
เผยภาพหูสุดช็อคของ"ไมเคิล แจ็กสัน"หลังเฉือนกระดูกอ่อนไปสร้างจมูกใหม่
"ไมเคิล แจ็กสัน"ยิ้มสู้แม้หมอยันเป็นมะเร็งผิวหนัง
"ราชาเพลงป็อป" ขอเดิมพันด้วยคอนเสิร์ตสุดท้ายที่ลอนดอน
"ไมเคิล แจ็กสัน"แย่อีกทำจมูกใหม่จนติดเชื้อ
ชื่อของไมเคิล แจ๊กสันถูกยกมาเอ่ยถึงด้วยเสียงชื่นชม เพลงของเขาถูกเปิดซ้ำแล้วซ้ำอีกในร้านขายซีดี มิวสิกวิดีโอของเขาถูกแพร่ภาพวันละหลายสิบครั้ง จากอัลบั้ม Thriller ที่ทำไมเคิล กลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกนั้น อีก 2 ปีต่อมาก็มีอัลบั้ม Farewell My Summer Love ส่วนในปี พ.ศ. 2530 ก็คลอดอัลบั้ม Bad ที่มีท่าโน้มตัวลงไปจนเกือบแตะพื้นในเพลง Smooth criminal ทำให้ผู้ชมจดจ้องตาไม่กระพริบไปอีกหนึ่งท่า
ไม่ใช่แค่ทั่วโลก แต่กระแส ‘ไมเคิล ฟีเวอร์’ ได้กินพื้นที่ซอกซอนไปทุกอาณาเขตที่สามารถเปิดรับสื่อจากตะวันตกได้ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยที่กระแสวัฒนธรรมอเมริกันกำลังเฟื่องฟูถึงขีดสุด
‘ตู้ ดิเรก’ หรือ ‘ดิเรก อมาตยกุล’ คือศิลปินไทยคนแรกที่ยึดไมเคิล แจ๊กสันเป็นแรงบันดาลใจ เขาผันตัวจากบทบาทนักร้องนำวงเพรสซิเด้นท์ มาเป็นศิลปินเดียว โดยยึดเอาการเต้นที่มีท่วงท่าลีลาที่คนทั่วไปเรียกขานว่า ไร้กระดูก และด้วยพื้นฐานการเต้นดังกล่าวนี้เอง เมื่อมาผนวกกับความโด่งดังของไมเคิล แจ๊กสันในช่วงที่เขากำลังทำงานเพลง ตู้ ดิเรก จึงนำท่าเต้น การแต่งกาย และคาแรกเตอร์อื่นๆ ของไมเคิลมาก๊อปปี้เรียกความสนใจจากคนฟังและสื่อได้เป็นอย่างดี
ถัดจากตู้ ดิเรก ก็มีนักแสดงตลกทั่วฟ้าเมืองไทยจำนวนไม่น้อยที่นิยมนำเอาการแต่งกาย และท่าเต้นของไมเคิล แจ๊กสันไปใช้ต่อบนเวที ซี่งแทบทุกครั้งที่ดาวตลกเดินออกมาจากหลังเวทีพร้อมชุดรัดรูปสีดำล้วน หมวกปีกกว้าง และผ้าพันฝ่ามือ นั้น เรียกความสนใจและรอยยิ้มจากผู้ชมที่อยู่ด้านล่างได้เป็นอย่างดี และยิ่งถ้านักแสดงตลกคนไหนสามารถเต้นท่าได้ใกล้เคียงกับไมเคิลมากเท่าไหร่ ผู้ชมก็จะยิ่งสนใจการแสดงของพวกเขามากขึ้นไปด้วย
และนั่นก็ทำให้ ยาว ลูกหยี นักแสดงตลกร่างสูงโปร่ง แม๊ค ชวนชื่น นักแสดงตลกรุ่นใหม่จากคณะชวนชื่น และตลกน้อยใหญ่ ทั้งที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และตลกปลายแถว ทั้งตลกรุ่นเก่า และตลกรุ่นใหม่ หรืแม้กระทั่ง เทพ โพธิ์งาม ก็เคยยึดเอาเป็นคาแรกเตอร์ถาวร และบุคลิกชั่วคราว หันมาสวมชุดคล้ายไมเคิล เต้นท่าของไมเคิล และทำอะไรเปิ่นเป๋อออกมาเรียกเสียงฮาในช่วงท้ายของการแสดงจนไม่สามารถนับด้วยนิ้วมือได้หมด
แต่ถ้าจะให้กล่าวถึงผู้ที่ได้ชื่อว่า ‘ไมเคิล ก็อปปี้’ ตัวพ่อ คงเป็นใครไม่ได้ถ้าไม่ใช่ เขาคนนี้
"ไมเคิล ตั๋ง" คือผู้ที่ได้ชื่อว่านำเอาบุคลิก ลักษณะ การเต้น การแต่งกาย และทุกสิ่งทุกอย่างของไมเคิล แจ๊กสันมาแสดงบนเวทีได้ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด การปรากฏตัวของเขาบนยกพื้น สร้างความประทับใจให้กับผู้ชม เพราะไม่ว่าไมเคิล แจ๊กสันจะเต้นท่าอะไร หรือเคลื่อนขยับร่างกายแบบไหน ไมเคิล ตั๋ง ผู้นี้ก็สามารถทำตามได้เสมอ
เลียนแบบ ลอกเลียน ก๊อปปี้ Cover ไม่ว่าจะเรียกสิ่งที่พวกเขากระทำว่าอะไร แต่สิ่งหนึ่งที่เราได้จากกรณีไมเคิล ก๊อปปี้ก็คือ แรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ซึ่งเกิดจากความสามารถของ ‘ตัวจริง’ จะไม่เสื่อมสลายไปตามสังขารของบุคคลต้นธารของแรงบันดาลใจนั้น
เพราะจะว่าไปแล้ว ถ้าเรามองผลงานของไมเคิล แจ๊กสันในฐานะของงานศิลปะชิ้นหนึ่งที่ชายจากรัฐอินดีแอนาผู้นี้สร้างสรรค์ขึ้นมาแล้วนั้น คำกล่าวของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่บอกว่า “ชีวิตสั้น แต่ศิลปะยืนยาว” ก็คงจะช่วยตอกย้ำความเป็นอมตะที่จะเกิดขึ้นกับผลงานของ King of Pop ผู้นี้ได้อย่างแน่นอน
...
เยือนเมืองไทย
ไมเคิล แจ็กสัน มาแสดงคอนเสิร์ตในประเทศไทย 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อกลางปี พ.ศ. 2536 ในการแสดงคอนเสิร์ต Dangerous World Tour มีกำหนดการแสดง 2 รอบ ในวันที่ 21 สิงหาคม และ 22 สิงหาคม ที่สนามศุภชลาศัย
คอนเสิร์ตในครั้งนี้เป็นคอนเสิร์ตที่ได้รับความสนใจอย่างท่วมท้นจากชาวไทย และกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอยู่ช่วงหนึ่ง ถึงความเหมาะสมของการจัดแสดง เพราะบางส่วนเห็นท่าเต้นลูบเป้าของไมเคิลไม่เหมาะสมต่อวัฒนธรรมไทย
คอนเสิร์ตวันแรกจบลงด้วยดี แต่ในวันที่ 22 สิงหาคม ไมเคิล อ้างว่าป่วยและขอเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 23 สิงหาคม แต่เมื่อมาถึงก็ขอเลื่อนไปอีก สร้างความไม่พอใจแก่แฟน ๆ จนเกิดเป็นจลาจลย่อย ๆ หน้าสนาม จึงต้องใช้เทปเสียงของเจ้าตัวเพื่อยืนยันว่าป่วยจริง และขอเลื่อนการแสดงไปเป็นวันที่ 24 สิงหาคมซึ่งก็สามารถจัดการแสดงได้และจบลงด้วยดี
คอนเสิร์ตของไมเคิล แจ๊คสันถือเป็นการแสดงคอนเสิร์ตใหญ่ของนักร้องชาวต่างประเทศระดับโลกครั้งแรกของไทย และต่อมาก็ได้มีศิลปิน นักร้องต่างประเทศทยอยเดินทางมาแสดงคอนเสิร์ตในประเทศไทยเรื่อยๆ
ครั้งที่ 2 คือ ในกลางปี พ.ศ. 2538 เป็นการโปรโมตอัลบั้ม History จัดแสดงที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี แสดง 2 รอบอีกเช่นเคย แต่ครั้งนี้ไม่ได้รับความสนใจเท่าครั้งแรก
ผลงานการแสดง
1. Miss Cast Away (2004) .... Agent M.J.
2. Men in Black II (2002) .... Agent M
3. Ghosts (1997/I) .... Maestro/Mayor/Ghoul Mayor/Super Ghoul/Skeleton
... aka Michael Jackson's Ghosts
4. Captain EO (1986) .... Captain EO
5. The Wiz (1978) .... Scarecrow
6. Wiz on Down the Road (1978) .... Scarecrow
......
ลือแซด "ไมเคิล" อาจหัวใจวายเพราะติดยาแก้ปวด
แฟนเพลงร่วมอาลัย"ราชาเพลงป๊อป"ลาโลก
20 ภาพย้อนรอยทรงจำของ “ไมเคิล แจ็กสัน” ราชาเพลงป็อปผู้ลาลับ
ช็อกโลก! “ไมเคิล แจ็กสัน” หัวใจวาย เสียชีวิตแล้ว!
ช็อกโลก! สื่อมะกันรายงาน “ไมเคิล แจ็กสัน” ตายแล้ว
เผยภาพหูสุดช็อคของ"ไมเคิล แจ็กสัน"หลังเฉือนกระดูกอ่อนไปสร้างจมูกใหม่
"ไมเคิล แจ็กสัน"ยิ้มสู้แม้หมอยันเป็นมะเร็งผิวหนัง
"ราชาเพลงป็อป" ขอเดิมพันด้วยคอนเสิร์ตสุดท้ายที่ลอนดอน
"ไมเคิล แจ็กสัน"แย่อีกทำจมูกใหม่จนติดเชื้อ