เข้าฉายไปแล้วสำหรับหนังไทยเรื่อง "เชือดก่อนชิม" ที่กำกับโดย "ทิวา เมยไธสง" โดยมี ใหม่ เจริญปุระ, ดวงตา ตุงคะมณี, รัตนบัลลังก์ โตสวัสดิ์, อณุวัฒน์ นิวาตวงศ์ ฯ แสดงนำ
ด้วยความที่เนื้อหาและภาพที่สื่อออกมาดูจะค่อนข้างรุนแรงนั่นเองทำให้ภาพยนตร์ไทยเรื่องนี้ต้องเผชิญกับการทำงานของกองเซ็นเซอร์ตั้งแต่ก่อนที่หนังจะเข้าฉาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของชื่อเดิม “ก๋วยเตี๋ยวเนื้อคน” ที่ต้องเปลี่ยนเป็น “เชือดก่อนชิม” ขณะที่ภาพและเนื้อหาในหนังหลายๆ ฉากก็ถูกกองเซ็นเซอร์ “เชือด” ออกไปไม่น้อยเช่นกัน
โดยเหตุผลทั่วๆ ไป ก็คือฉากเหล่านั้นดู “โหด” และ “รุนแรง” มากเกินไป
ทั้งนี้ผู้กำกับของภาพยนตร์เชือดก่อนชิม "ทิวา เมยไธสง" ได้เปิดเผยว่า แม้หนังของเขาจะต้องถูกสั่งให้เปลี่ยนชื่อเรื่องรวมไปถึงการถูกสั่งให้ต้องไปตัดต่อหนังใหม่เพื่อให้อารมณ์ของหนังเบาลง ทว่าโดยรวมเจ้าตัวก็ยังยอมรับได้ด้วยที่ว่าเนื้อหาสาระและสาระประเด็นที่ต้องการสื่ออกไปนั้นยังอยู่
"คือมันเหมือนกับว่า แต่แรกเลยเราต้องการเปิดเรื่องเพื่อให้คนดูนั้นมีอารมณ์แบบหนึ่งขึ้นมา เพราะฉะนั้นเราก็จะมีการวางจังหวะของหนังไว้ให้รู้สึกอย่างหนึ่งเรียบร้อย แต่พอกรรมการเขามาบอกว่ามันแรงไป ให้ไปตัดต่อใหม่เพื่อให้มันซอฟท์ลงไป ลดทอนความรู้สึกที่เราตั้งใจเอาไว้แต่แรก"
"เราก็ต้องมีการตัดต่อเล่าเรื่องใหม่เพื่อให้อารมณ์มันเป็นไปอย่างที่ทางกรรมการเขารับได้ ซึ่งทางเราเองก็ยอมรับได้ เพราะว่าสาร สาระ ยังอยู่ อะไรที่เราคิดว่ามันควรจะเป็นประเด็นให้พูดถึง จุดมุ่งหมายของการทำงานยังไม่ถูกทำลายไปก็ไม่มีปัญหาอะไร เพียงแต่ประเด็นทาการตลาดก็จะต้องเปลี่ยนแปลงไป"
อย่างไรก็ตามแม้เจ้าของหนังเองจะรับได้ แต่กับกรณีที่เกิดขึ้นกับ "เชือดก่อนชิม" นี้เองที่ทำให้หลายคนต้องมองย้อนกลับไปถึงหนังต่างประเทศที่เพิ่งจะเข้าฉายในบ้านเราไปได้ไม่นานอย่าง "Watchmen" (หรือแม้กระทั่งหนังอย่าง Saw) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการเซ็นเซอร์ รวมถึงการจัดเรตที่ดูจะสร้งความงุนงงให้กับคนในวงการไม่น้อย
เนื่องด้วยหนังทั้งสองเรื่องนี้ต่างก็มีฉากและเนื้อหาที่ว่ากันตรงๆ แล้วคือ ไม่เหมาะกับบุคคล "ทุกวัย" ที่จะสามารถตีตั๋วเข้าไปนั่งชม(อย่างที่สามารถทำได้ในตอนนี้) ทว่าสิ่งที่หนังทั้งสองเรื่องนี้ได้รับก็คือความแตกต่างในกลวิธีการจัดการ
เพราะในขณะที่เชือดก่อนชิมถูกให้ตัดตรงนี้ เปลี่ยนตรงนั้นมากมาย หนังอย่าง Watchmen กลับปล่อยฉากฆ่ากันเลือดสาด มีฉากร่วมเพศกันอย่างโจ๋งครึ่มชนิดเห็นหัวนมได้โดยไม่ต้องตัดออกหรือทำเบลอ ซึ่งจริงอยู่ที่ว่า Watchmen ได้มีการขึ้นข้อความเสมือนเป็นการจัดเรทคนดูว่าหนังเรื่องนี้ไม่เหมาะกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทว่ามันจะมีประโยชน์อะไรหากข้อความดังกล่าวมีขึ้นมาขณะที่หนังกำลังจะฉายอยู่รอมร่อ และมีคนชมภาพยนตร์ส่วนใหญ่เป็นพ่อ-แม่จำนวนมากที่พาลูกไปดูเพราะเชื่อคำโฆษณาที่ว่านี่คือหนังฮีไร่ รวมทั้งการไร้เสียงทักท้วงจากพนักงานขายตั๋วที่สมควรจะรู้ว่าเนื้อหาของหนังที่แท้จริงเป็นเช่นไร ถูกจัดให้เป็นหนังเรทระดับไหน?
จากปรากฏการณ์ของหนังทั้งสองเรื่องนี้จึงก่อให้เกิดคำถามที่ว่าตกลงแล้ว ทุกวันนี้บ้านเราใช้ระบบการจัดเรทหนังตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ.2551 หรือยังคงใช้ระบบการเซ็นเซอร์ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฉบับเดิมที่ใช้กันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 กันแน่
และอะไรคือมาตรฐานในการเซ็นเซอร์หนังไทยและหนังต่างประเทศ?
สำหรับคำถามแรกคำตอบก็คือ ปัจจุบันแม้บ้านเราจะมี พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฉบับใหม่ที่มีการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาโดยมีสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติรับผิดชอบดูแลแล้วก็ตาม ทว่าพ.ร.บ.ดังกล่าวก็ยังไม่สามารถใช้การได้เนื่องจากยังไม่มีการประกาศเป็นกฏกระทรวงหรือมีกฏหมายลูกรองรับ โดยมีการคาดเดากันว่าในเดือนมิถุนายนของปีนี้อาจจะมีการประกาศเป็นกฏกระทรวงออกมา
ทว่าในมุมมองของคนทำหนังเองแล้วส่วนใหญ่ต่างมองว่าเนื้อหาสาระจริงๆ มิได้ต่างไปจากของเดิมสักเท่าไหร่
"มันมีงานวิจัยรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ถ้าจำไม่ผิดของมหิดลนะที่เขาทำ แต่ว่าทางคนที่รับผิดชอบเขาไม่ได้เอาไปใช้ เขาไม่ได้ดูภาพรวมในส่วนที่จะเอามาวิเคราะห์ว่าหนังที่มีเนื้อเรื่องประมาณไหน ควรจะเป็นเรทไหน มีรายละเอียดอย่างไร แต่ไปยกเอามาเป็นก้อนๆ อีกอย่างอำนาจสิทธิ์ขาดต่างๆ ก็ยังอยู่ที่คนกลุ่มเดิมๆ" สุภาพ หริมเทพาธิป บก.นิตยสารไบโอสโคป แสดงความคิดเห็น
ขณะที่ทางด้าน "ทิวา เมยไธวง" มองการนำพ.ร.บ.เรื่องนี้มาใช้ว่า..."พื้นฐานของใหม่ก็คือจะแบ่งเรทเป็น 6 เรทด้วยกัน แต่ว่าข้อที่ 7 ผมมองว่ามันเหมือนเดิมก็คือยังเซ็นเซอร์ ยังห้ามฉายได้ คือยังเหมือนเดิม ไม่ได้แตกต่าง อาจจะทำงานยากกว่าเดิมด้วยซ้ำ"
สำหรับในส่วนของคำถามที่ว่า ทุกวันนี้อะไรคือมาตรฐานในการเซ็นเซอร์หนังไทยและหนังต่างประเทศ? เรื่องนี้ผู้กำกับเชือดก่อนชิมที่เพิ่งจะได้รับประสบการณ์ในทำนองนี้มาหมาดๆ เล่าให้ฟังถึงเรื่องที่เขามีโอกาสได้พูดคุยกับกองเซ็นเซอร์ว่า
"เราก็อ้างอิงนะ อาทิอย่างเรื่องฉากรัก ฉากการมีเพศสัมพันธ์ แต่เราก็ได้รับคำตอบกลับมาว่า อันนั้นมันเป็นวัฒนธรรมของเมืองนอก ถ้าเป็นหนังไทยเขาจะใช้แบบนี้ เขาจะใช้มาตรฐานความคิดเห็นอีกแบบหนึ่ง อย่างชื่อเรื่องก๋วยเตี๋ยวเนื้อคน มันก็เคยมีหนังเรื่องซาละเปาเนื้อคนมาฉายในบ้านเรามาแล้ว ทำไมเราถึงตั้งไม่ได้ ทางนั้นเขาก็ให้เหตุผลว่าอันนั้นมันเป็นอารหารจีน"
"คือมันทำให้คิดว่าถึงพวกเราคนทำหนังจะหาเหตุผลอะไรมาอ้างสนับสนุความคิด เขาก็มีเหตุผลหักล้างกัน คือเราไม่สามารถที่จะชี้แจงอะไรได้เลย"
เป็นคำตอบที่ถือได้ว่าค่อนข้างจะให้ภาพที่ชัดเจนทีเดียวกับมาตรฐานการเซ็นเซอร์แบบไทยๆ
เชือดก่อนชิม เซ็นเซอร์ก่อนฉาย!!! (มันเป็นงึกๆ งักๆ)
ด้วยความที่เนื้อหาและภาพที่สื่อออกมาดูจะค่อนข้างรุนแรงนั่นเองทำให้ภาพยนตร์ไทยเรื่องนี้ต้องเผชิญกับการทำงานของกองเซ็นเซอร์ตั้งแต่ก่อนที่หนังจะเข้าฉาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของชื่อเดิม “ก๋วยเตี๋ยวเนื้อคน” ที่ต้องเปลี่ยนเป็น “เชือดก่อนชิม” ขณะที่ภาพและเนื้อหาในหนังหลายๆ ฉากก็ถูกกองเซ็นเซอร์ “เชือด” ออกไปไม่น้อยเช่นกัน
โดยเหตุผลทั่วๆ ไป ก็คือฉากเหล่านั้นดู “โหด” และ “รุนแรง” มากเกินไป
ทั้งนี้ผู้กำกับของภาพยนตร์เชือดก่อนชิม "ทิวา เมยไธสง" ได้เปิดเผยว่า แม้หนังของเขาจะต้องถูกสั่งให้เปลี่ยนชื่อเรื่องรวมไปถึงการถูกสั่งให้ต้องไปตัดต่อหนังใหม่เพื่อให้อารมณ์ของหนังเบาลง ทว่าโดยรวมเจ้าตัวก็ยังยอมรับได้ด้วยที่ว่าเนื้อหาสาระและสาระประเด็นที่ต้องการสื่ออกไปนั้นยังอยู่
"คือมันเหมือนกับว่า แต่แรกเลยเราต้องการเปิดเรื่องเพื่อให้คนดูนั้นมีอารมณ์แบบหนึ่งขึ้นมา เพราะฉะนั้นเราก็จะมีการวางจังหวะของหนังไว้ให้รู้สึกอย่างหนึ่งเรียบร้อย แต่พอกรรมการเขามาบอกว่ามันแรงไป ให้ไปตัดต่อใหม่เพื่อให้มันซอฟท์ลงไป ลดทอนความรู้สึกที่เราตั้งใจเอาไว้แต่แรก"
"เราก็ต้องมีการตัดต่อเล่าเรื่องใหม่เพื่อให้อารมณ์มันเป็นไปอย่างที่ทางกรรมการเขารับได้ ซึ่งทางเราเองก็ยอมรับได้ เพราะว่าสาร สาระ ยังอยู่ อะไรที่เราคิดว่ามันควรจะเป็นประเด็นให้พูดถึง จุดมุ่งหมายของการทำงานยังไม่ถูกทำลายไปก็ไม่มีปัญหาอะไร เพียงแต่ประเด็นทาการตลาดก็จะต้องเปลี่ยนแปลงไป"
อย่างไรก็ตามแม้เจ้าของหนังเองจะรับได้ แต่กับกรณีที่เกิดขึ้นกับ "เชือดก่อนชิม" นี้เองที่ทำให้หลายคนต้องมองย้อนกลับไปถึงหนังต่างประเทศที่เพิ่งจะเข้าฉายในบ้านเราไปได้ไม่นานอย่าง "Watchmen" (หรือแม้กระทั่งหนังอย่าง Saw) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการเซ็นเซอร์ รวมถึงการจัดเรตที่ดูจะสร้งความงุนงงให้กับคนในวงการไม่น้อย
เนื่องด้วยหนังทั้งสองเรื่องนี้ต่างก็มีฉากและเนื้อหาที่ว่ากันตรงๆ แล้วคือ ไม่เหมาะกับบุคคล "ทุกวัย" ที่จะสามารถตีตั๋วเข้าไปนั่งชม(อย่างที่สามารถทำได้ในตอนนี้) ทว่าสิ่งที่หนังทั้งสองเรื่องนี้ได้รับก็คือความแตกต่างในกลวิธีการจัดการ
เพราะในขณะที่เชือดก่อนชิมถูกให้ตัดตรงนี้ เปลี่ยนตรงนั้นมากมาย หนังอย่าง Watchmen กลับปล่อยฉากฆ่ากันเลือดสาด มีฉากร่วมเพศกันอย่างโจ๋งครึ่มชนิดเห็นหัวนมได้โดยไม่ต้องตัดออกหรือทำเบลอ ซึ่งจริงอยู่ที่ว่า Watchmen ได้มีการขึ้นข้อความเสมือนเป็นการจัดเรทคนดูว่าหนังเรื่องนี้ไม่เหมาะกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทว่ามันจะมีประโยชน์อะไรหากข้อความดังกล่าวมีขึ้นมาขณะที่หนังกำลังจะฉายอยู่รอมร่อ และมีคนชมภาพยนตร์ส่วนใหญ่เป็นพ่อ-แม่จำนวนมากที่พาลูกไปดูเพราะเชื่อคำโฆษณาที่ว่านี่คือหนังฮีไร่ รวมทั้งการไร้เสียงทักท้วงจากพนักงานขายตั๋วที่สมควรจะรู้ว่าเนื้อหาของหนังที่แท้จริงเป็นเช่นไร ถูกจัดให้เป็นหนังเรทระดับไหน?
จากปรากฏการณ์ของหนังทั้งสองเรื่องนี้จึงก่อให้เกิดคำถามที่ว่าตกลงแล้ว ทุกวันนี้บ้านเราใช้ระบบการจัดเรทหนังตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ.2551 หรือยังคงใช้ระบบการเซ็นเซอร์ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฉบับเดิมที่ใช้กันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 กันแน่
และอะไรคือมาตรฐานในการเซ็นเซอร์หนังไทยและหนังต่างประเทศ?
สำหรับคำถามแรกคำตอบก็คือ ปัจจุบันแม้บ้านเราจะมี พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฉบับใหม่ที่มีการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาโดยมีสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติรับผิดชอบดูแลแล้วก็ตาม ทว่าพ.ร.บ.ดังกล่าวก็ยังไม่สามารถใช้การได้เนื่องจากยังไม่มีการประกาศเป็นกฏกระทรวงหรือมีกฏหมายลูกรองรับ โดยมีการคาดเดากันว่าในเดือนมิถุนายนของปีนี้อาจจะมีการประกาศเป็นกฏกระทรวงออกมา
ทว่าในมุมมองของคนทำหนังเองแล้วส่วนใหญ่ต่างมองว่าเนื้อหาสาระจริงๆ มิได้ต่างไปจากของเดิมสักเท่าไหร่
"มันมีงานวิจัยรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ถ้าจำไม่ผิดของมหิดลนะที่เขาทำ แต่ว่าทางคนที่รับผิดชอบเขาไม่ได้เอาไปใช้ เขาไม่ได้ดูภาพรวมในส่วนที่จะเอามาวิเคราะห์ว่าหนังที่มีเนื้อเรื่องประมาณไหน ควรจะเป็นเรทไหน มีรายละเอียดอย่างไร แต่ไปยกเอามาเป็นก้อนๆ อีกอย่างอำนาจสิทธิ์ขาดต่างๆ ก็ยังอยู่ที่คนกลุ่มเดิมๆ" สุภาพ หริมเทพาธิป บก.นิตยสารไบโอสโคป แสดงความคิดเห็น
ขณะที่ทางด้าน "ทิวา เมยไธวง" มองการนำพ.ร.บ.เรื่องนี้มาใช้ว่า..."พื้นฐานของใหม่ก็คือจะแบ่งเรทเป็น 6 เรทด้วยกัน แต่ว่าข้อที่ 7 ผมมองว่ามันเหมือนเดิมก็คือยังเซ็นเซอร์ ยังห้ามฉายได้ คือยังเหมือนเดิม ไม่ได้แตกต่าง อาจจะทำงานยากกว่าเดิมด้วยซ้ำ"
สำหรับในส่วนของคำถามที่ว่า ทุกวันนี้อะไรคือมาตรฐานในการเซ็นเซอร์หนังไทยและหนังต่างประเทศ? เรื่องนี้ผู้กำกับเชือดก่อนชิมที่เพิ่งจะได้รับประสบการณ์ในทำนองนี้มาหมาดๆ เล่าให้ฟังถึงเรื่องที่เขามีโอกาสได้พูดคุยกับกองเซ็นเซอร์ว่า
"เราก็อ้างอิงนะ อาทิอย่างเรื่องฉากรัก ฉากการมีเพศสัมพันธ์ แต่เราก็ได้รับคำตอบกลับมาว่า อันนั้นมันเป็นวัฒนธรรมของเมืองนอก ถ้าเป็นหนังไทยเขาจะใช้แบบนี้ เขาจะใช้มาตรฐานความคิดเห็นอีกแบบหนึ่ง อย่างชื่อเรื่องก๋วยเตี๋ยวเนื้อคน มันก็เคยมีหนังเรื่องซาละเปาเนื้อคนมาฉายในบ้านเรามาแล้ว ทำไมเราถึงตั้งไม่ได้ ทางนั้นเขาก็ให้เหตุผลว่าอันนั้นมันเป็นอารหารจีน"
"คือมันทำให้คิดว่าถึงพวกเราคนทำหนังจะหาเหตุผลอะไรมาอ้างสนับสนุความคิด เขาก็มีเหตุผลหักล้างกัน คือเราไม่สามารถที่จะชี้แจงอะไรได้เลย"
เป็นคำตอบที่ถือได้ว่าค่อนข้างจะให้ภาพที่ชัดเจนทีเดียวกับมาตรฐานการเซ็นเซอร์แบบไทยๆ
เชือดก่อนชิม เซ็นเซอร์ก่อนฉาย!!! (มันเป็นงึกๆ งักๆ)