สำหรับท่านที่เคยอ่านคอลัมน์ "ก.ไก่ ข.เขียน" ในหัวข้อ "จุดใต้ตำตอ" มาแล้วและยังจำประโยค 3 ย่อหน้าแรกของงานเขียนชิ้นดังกล่าวได้ ผู้เขียนขอบอกว่าวันนี้มีเหตุจำเป็น(มากๆ)ที่จะต้องลงข้อความดังกล่าวซ้ำอีกครั้ง โดยท่านสามารถประหยัดเวลาอันมีค่าของท่านได้ (หากตัดสินใจที่คิดจะอ่านต่อ) ประมาณ 10-15 วินาที ด้วยการข้าม 3 ย่อหน้าด้านล่างจากนี้(ไม่นับรวมย่อหน้า...) แล้วอ่านย่อหน้าถัดไปได้เลยครับ
...
ปล.(ณ. ที่นี้คือคำย่อของคำว่า "ปฐมลิขิต" เป็นคำสมาสที่แปลว่า ข้อความ(ลิขิต) เริ่มต้น(ปฐม) : จากที่ไม่ค่อยจะมีสาระหรือแง่คิดอยู่แล้ว ต้องออกตัวกันเสียตั้งแต่ตรงนี้ก่อนเลยนะครับว่า คอลัมน์ "ก.ไก่ ข.เขียน" วันนี้ยิ่งแร้นแค้นสิ่งที่ว่าไปจากที่ผ่านมายิ่งขึ้นไปอีก
หากจะมีอะไรอยู่บ้าง ในความตั้งใจและเจตนาของผู้เขียนก็คือ อยากให้อ่านแล้วรู้สึกสนุก ซึ่งถ้าไปไม่ถึงจุดนั้นจริง ทั้งหมดก็เป็นความผิดอันมีสาเหตุมาจากความสามารถของผมแต่เพียงผู้เดียว
อย่าได้ไปกล่าวโทษตัวเองเป็นอันขาดนะครับ...ขอร้อง
...
ชื่อเรื่องวันนี้ต้องบอกก่อนนะครับว่า ไม่ได้ตั้งใจจะเขียนให้เข้ากับอากาศของบ้านเราที่ค่อนข้างจะเย็นอยู่แต่อย่างใด (แต่ถ้าท่านอยากจะคิดว่ามันเข้ากับบรรยากาศแล้วรู้สึกดี ก็คิดไปได้เลย) เพราะอวัยวะที่ว่าต่อให้มันจะเป็นหน้าร้อน หน้าฝน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูใบไม้ผลิ หรือฤดูอะไรมันก็แตกได้ครับ
ด้วยความที่เป็นเด็กบ้านนอกที่เกิดนอกบ้าน (ในโรงพยาบาล) มาตั้งแต่กำเนิด เพราะฉะนั้นโรคอย่างหนึ่งที่ติดตัวผม (รวมถึงเด็กในชนบทส่วนใหญ่) มาโดยตลอดในช่วงวัยเด็กก็คือ ความพะว้าพะวงและอาการตื่นเต้นกระทั่งลนลาน ไม่เป็นปกติทุกครั้งที่จะต้องนำชีวิตไปเจอะเจอกับสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่คุ้นเคยเป็นครั้งแรก
ไม่ว่าจะเป็นการได้สัมผัสกับรสชาติของน้ำอัดลม รับอากาศเย็นๆ ของแอร์ นั่งรถทัวร์ปรับอากาศ ขึ้น-ลงบันไดเลื่อน เข้าร้านเซเว่นฯ ซื้อของในห้างฯ กดเอทีเอ็ม ตีตั๋วเข้าโรงหนัง ฯลฯ
แม้อาการดังกล่าวจะค่อยๆ จืดจางหายตามวันเวลาประสบการณ์ที่เข้ามา แต่ก็ใช่ว่าจะหมดไปโดยสิ้นเชิง เฉพาะอย่างยิ่ง "บริการสาธารณะ" ที่ผู้ใช้บริการจะต้อง "พึ่งตนเอง" ซึ่งส่วนใหญ่จะมีระบบที่เป็นแบบออโตเมติก-อัตโนมัติ ทั้งหลาย ซึ่งผมมักจะเกร็งๆ อยู่เป็นประจำที่ต้องไปพานพบเจอ
ย้อนวันวานไปไกลราวๆ 12 ปีที่ผ่านมา ระหว่างที่ผมเรียนอยู่ที่คณะวารสารฯ ม.ธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 วันหนึ่งผมได้ไปรับจ้างหารายได้พิเศษด้วยการแจกใบปลิวบริเวณศูนย์การค้าสยามแสควร์ (สถานที่ซึ่งก่อนหน้านั้นในชีวิตผมแทบจะไม่เคยย่างกรายเข้าไป)
แจกคนบ้าง แจกตู้โทรศัพท์บ้าง แจกถังขยะบ้าง (2 สิ่งไม่มีชีวิตหลังน่าจะได้รับใบปลิวในปริมาณที่มากกว่าสิ่งมีชีวิตแรก) กระทั่งใบปลิวหมด ด้วยความเหนื่อยเพลียและกระหาย หลังรับเงินค่าจ้าง ผมจึงตัดสินใจจะให้รางวัลกับชีวิตเดินเข้าไปซื้อน้ำอัดลมในร้านๆ หนึ่งมาดื่ม
จำไม่ได้เหมือนกันครับว่ามันเป็นร้านขายไก่หรือขายโดนัทที่คนชอบกินกัน แต่ที่จำได้แน่ๆ ก็คือ ที่ใส่หลอดนั้นมันเป็นกล่องให้ลูกค้าเดิรไปกดเอาเอง ซึ่งเจ้าระบบกลไกของกล่องกดหลอดนี้ก็ไม่ได้สลับซ้อนอะไรหรอกครับ เพียงแต่ว่าตั้งแต่เกิดมาเพิ่งจะเคยเห็นนั่นเองที่ทำเอาผมเกิดอาการงงๆ ขึ้นมา
เดินโฉบไปหนึ่งรอบ ไม่รู้ว่าจะกดตรงไหน จึงแก้เขินด้วยการเอาแก้วไปวางที่โต๊ะไว้ก่อน ระหว่างนั้นตาก็พยายามจะสังเกตว่ามีใครเดินไปเอาหลอดที่เจ้ากล่องนั้นบ้าง
โชคร้ายเป็นของผม ไม่มีลูกค้าใครเดินเข้าไปเอาหลอดสักคน
รออยู่ครู่หนึ่ง ด้วยความกระหายผมจึงตัดสินใจเดินไปที่เจ้ากล่องนั้นอีกครั้ง พร้อมเดินแบบช้าๆ มองแบบผ่านๆ (เพื่อไม่ให้ใครสังเกตรู้ว่าผมมีปัญหากับการเอาหลอดออกมาจากเจ้ากล่องสีน้ำตาลเข้มนี้) ทันทีที่เห็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ PUSH สมองระดับ 070 (เกือบต่ำสุดในการสอบภาษาอังกฤษตอนปีหนึ่ง) ก็ทำหน้าที่ทันที
ในใจตอนนั้นคิดว่า โอ้โห...กรุงเทพ ทันสมัยโว้ย แค่ที่ใส่หลอดยังใช้ระบบไฟฟ้า
ผมเช็ดนิ้วหัวแม่มือให้แห้ง (เพราะกลัวระบบไฟฟ้ารวน) ก่อนบรรจงวางทาบลงไปบนตัวอักษรภาษาอังกฤษที่เขียนว่า PUSH ด้วยจินตนาการเป็นช็อตๆ ว่า จะมีไฟแดงขึ้นมาที่ตัวอักษรที่ว่า แล้วกลไกก็จะทำงาน จากนั้นหลอดก็จะไหลออกมา
เงียบฉี่...ไม่มีไฟ ไม่มีหลอด
ฉับพลันทันใดผมก็รู้แล้วว่าผมทำอะไรผิดพลาด ใจเริ่มเต้นเร็วขึ้น ลักษณะออกท่าทางเก้ๆ กังๆ นิดๆ จนคุณป้าท่านหนึ่งที่อยู่ด้านหลังเอ่ยถามผม
ผมตอบครับออกไปเบาๆ ก่อนจะรีบเดินกลับไปที่โต๊ะ หยิบแก้วน้ำแล้วเดินออกจากร้านทันที (ไม่ต้องใช้หลอดก็ได้ฟะ) โดยได้ยินเสียงจากคุณป้าหันไปแจ้งพนักงานในร้านแว่วๆ ตามหลังมาว่า...
"...หนูเอ๊ย หลอดหมด..."
(แหม ใครจะยอมหน้าแตกแบบไม่มีฟอร์มกันง่ายๆ ล่ะครับ)
...
หลังไม่ได้ใช้บริการรถไฟฟ้ามาร่วม 3-4 ปี ไม่นานมานี้ก็มีเหตุให้ผมต้องใช้บริการอีกครั้งในค่ำวันหนึ่งของเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา โดยขึ้นจากสถานีอ่อนนุชมาลงยังสถานีสยามฯ
ด้วยความที่เคยใช้บริการมาก่อน ครั้งนี้แม้จะรู้สึกตื่นเต้นแต่ก็ไม่มากเพราะจากประสบการณ์การขึ้น-ลงในอดีตทำให้ผมพอจะรู้ถึงบรรยากาศและทราบถึงขั้นตอนดีว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง
หลังตรวจสอบดูว่าสถานีที่จะลงหมายเลขอะไร ต้องเสียค่าบริการเท่าไหร่ ผมก็เดินอาดๆ ไปที่เครื่องขายตั๋วหยอดเหรียญทันที
แก๊งๆๆ...เสียงเหรียญกระทบโลหะในช่องคืนเงินติดๆ แต่ไม่มีตั๋วออกมา
"สงสัยเครื่องจะเสีย..." ในใจนึกเช่นนั้น (แบบไม่มั่นใจนัก) พลางเดินไปยังเครื่องขายตั๋วอีกเครื่องหนึ่ง
แก๊งๆๆ...เหรียญตกลงไปโดยที่เครื่องไม่มีการแสดงปฏิกิริยาใดๆ ตอบรับเหมือนเดิม คราวนี้จากที่ไม่มั่นใจก็มั่นใจขึ้นมาทันทีแล้วครับว่า ไม่ใช่ "เครื่อง" หรอกครับที่เสีย หากเป็น "ใจ" ของผมเองต่างหาก
ตั้งสติว่าทำอะไรผิดพลาด ก่อนจะเหลือบไปเห็นข้อความวิธีการใช้ จึงถึงบางอ้อ (โดยที่ไม่ต้องเดินทางไป)
ผมไม่ได้กดเลขหมายของสถานีปลายทางก่อนครับ
แม้จะคิดอย่างเข้าข้างตัวเองว่า ณ. เวลานั้นมีเพียงนักศึกษาหญิง 2 คน เจ้าหน้าที่แลกเหรียญ 2 คน รวมถึงเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอีกคนที่อาจจะมองเห็นการกระทำของผม รวมถึงความพยายามหาเหตุผลแบบเอาทั้งตัวเข้าไถโดยยกเอา "จา พนม" เป็นแบบอย่างแห่งความภาคภูมิใจในคอนเซ็ปต์ "เล่นจริง-(หน้า)แตกจริง"
แต่ ณ. สถานการณ์ตอนนั้นผมอยากให้มีสลิงค์มาโหนหนี หรือมีแสตนด์อินมาเล่นแทนเสียมากกว่า
...
ปล. : แรกๆ ผมมักจะเล่าเรื่องราวทำนองนี้ด้วยความรู้สึกถึงความน่ารักในความเชยของตนเอง ทว่าระยะหลังๆ ยิ่งเล่าไปผมเองก็เริ่มรู้สึกว่ามันไม่ใช่ความเชยที่แสดงถึงความน่ารักแต่อย่างใดแล้ว หากแต่เป็นความเปิ่นที่แสดงถึงโง่ของตนเองมากกว่า
...
ปล.(ณ. ที่นี้คือคำย่อของคำว่า "ปฐมลิขิต" เป็นคำสมาสที่แปลว่า ข้อความ(ลิขิต) เริ่มต้น(ปฐม) : จากที่ไม่ค่อยจะมีสาระหรือแง่คิดอยู่แล้ว ต้องออกตัวกันเสียตั้งแต่ตรงนี้ก่อนเลยนะครับว่า คอลัมน์ "ก.ไก่ ข.เขียน" วันนี้ยิ่งแร้นแค้นสิ่งที่ว่าไปจากที่ผ่านมายิ่งขึ้นไปอีก
หากจะมีอะไรอยู่บ้าง ในความตั้งใจและเจตนาของผู้เขียนก็คือ อยากให้อ่านแล้วรู้สึกสนุก ซึ่งถ้าไปไม่ถึงจุดนั้นจริง ทั้งหมดก็เป็นความผิดอันมีสาเหตุมาจากความสามารถของผมแต่เพียงผู้เดียว
อย่าได้ไปกล่าวโทษตัวเองเป็นอันขาดนะครับ...ขอร้อง
...
ชื่อเรื่องวันนี้ต้องบอกก่อนนะครับว่า ไม่ได้ตั้งใจจะเขียนให้เข้ากับอากาศของบ้านเราที่ค่อนข้างจะเย็นอยู่แต่อย่างใด (แต่ถ้าท่านอยากจะคิดว่ามันเข้ากับบรรยากาศแล้วรู้สึกดี ก็คิดไปได้เลย) เพราะอวัยวะที่ว่าต่อให้มันจะเป็นหน้าร้อน หน้าฝน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูใบไม้ผลิ หรือฤดูอะไรมันก็แตกได้ครับ
ด้วยความที่เป็นเด็กบ้านนอกที่เกิดนอกบ้าน (ในโรงพยาบาล) มาตั้งแต่กำเนิด เพราะฉะนั้นโรคอย่างหนึ่งที่ติดตัวผม (รวมถึงเด็กในชนบทส่วนใหญ่) มาโดยตลอดในช่วงวัยเด็กก็คือ ความพะว้าพะวงและอาการตื่นเต้นกระทั่งลนลาน ไม่เป็นปกติทุกครั้งที่จะต้องนำชีวิตไปเจอะเจอกับสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่คุ้นเคยเป็นครั้งแรก
ไม่ว่าจะเป็นการได้สัมผัสกับรสชาติของน้ำอัดลม รับอากาศเย็นๆ ของแอร์ นั่งรถทัวร์ปรับอากาศ ขึ้น-ลงบันไดเลื่อน เข้าร้านเซเว่นฯ ซื้อของในห้างฯ กดเอทีเอ็ม ตีตั๋วเข้าโรงหนัง ฯลฯ
แม้อาการดังกล่าวจะค่อยๆ จืดจางหายตามวันเวลาประสบการณ์ที่เข้ามา แต่ก็ใช่ว่าจะหมดไปโดยสิ้นเชิง เฉพาะอย่างยิ่ง "บริการสาธารณะ" ที่ผู้ใช้บริการจะต้อง "พึ่งตนเอง" ซึ่งส่วนใหญ่จะมีระบบที่เป็นแบบออโตเมติก-อัตโนมัติ ทั้งหลาย ซึ่งผมมักจะเกร็งๆ อยู่เป็นประจำที่ต้องไปพานพบเจอ
ย้อนวันวานไปไกลราวๆ 12 ปีที่ผ่านมา ระหว่างที่ผมเรียนอยู่ที่คณะวารสารฯ ม.ธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 วันหนึ่งผมได้ไปรับจ้างหารายได้พิเศษด้วยการแจกใบปลิวบริเวณศูนย์การค้าสยามแสควร์ (สถานที่ซึ่งก่อนหน้านั้นในชีวิตผมแทบจะไม่เคยย่างกรายเข้าไป)
แจกคนบ้าง แจกตู้โทรศัพท์บ้าง แจกถังขยะบ้าง (2 สิ่งไม่มีชีวิตหลังน่าจะได้รับใบปลิวในปริมาณที่มากกว่าสิ่งมีชีวิตแรก) กระทั่งใบปลิวหมด ด้วยความเหนื่อยเพลียและกระหาย หลังรับเงินค่าจ้าง ผมจึงตัดสินใจจะให้รางวัลกับชีวิตเดินเข้าไปซื้อน้ำอัดลมในร้านๆ หนึ่งมาดื่ม
จำไม่ได้เหมือนกันครับว่ามันเป็นร้านขายไก่หรือขายโดนัทที่คนชอบกินกัน แต่ที่จำได้แน่ๆ ก็คือ ที่ใส่หลอดนั้นมันเป็นกล่องให้ลูกค้าเดิรไปกดเอาเอง ซึ่งเจ้าระบบกลไกของกล่องกดหลอดนี้ก็ไม่ได้สลับซ้อนอะไรหรอกครับ เพียงแต่ว่าตั้งแต่เกิดมาเพิ่งจะเคยเห็นนั่นเองที่ทำเอาผมเกิดอาการงงๆ ขึ้นมา
เดินโฉบไปหนึ่งรอบ ไม่รู้ว่าจะกดตรงไหน จึงแก้เขินด้วยการเอาแก้วไปวางที่โต๊ะไว้ก่อน ระหว่างนั้นตาก็พยายามจะสังเกตว่ามีใครเดินไปเอาหลอดที่เจ้ากล่องนั้นบ้าง
โชคร้ายเป็นของผม ไม่มีลูกค้าใครเดินเข้าไปเอาหลอดสักคน
รออยู่ครู่หนึ่ง ด้วยความกระหายผมจึงตัดสินใจเดินไปที่เจ้ากล่องนั้นอีกครั้ง พร้อมเดินแบบช้าๆ มองแบบผ่านๆ (เพื่อไม่ให้ใครสังเกตรู้ว่าผมมีปัญหากับการเอาหลอดออกมาจากเจ้ากล่องสีน้ำตาลเข้มนี้) ทันทีที่เห็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ PUSH สมองระดับ 070 (เกือบต่ำสุดในการสอบภาษาอังกฤษตอนปีหนึ่ง) ก็ทำหน้าที่ทันที
ในใจตอนนั้นคิดว่า โอ้โห...กรุงเทพ ทันสมัยโว้ย แค่ที่ใส่หลอดยังใช้ระบบไฟฟ้า
ผมเช็ดนิ้วหัวแม่มือให้แห้ง (เพราะกลัวระบบไฟฟ้ารวน) ก่อนบรรจงวางทาบลงไปบนตัวอักษรภาษาอังกฤษที่เขียนว่า PUSH ด้วยจินตนาการเป็นช็อตๆ ว่า จะมีไฟแดงขึ้นมาที่ตัวอักษรที่ว่า แล้วกลไกก็จะทำงาน จากนั้นหลอดก็จะไหลออกมา
เงียบฉี่...ไม่มีไฟ ไม่มีหลอด
ฉับพลันทันใดผมก็รู้แล้วว่าผมทำอะไรผิดพลาด ใจเริ่มเต้นเร็วขึ้น ลักษณะออกท่าทางเก้ๆ กังๆ นิดๆ จนคุณป้าท่านหนึ่งที่อยู่ด้านหลังเอ่ยถามผม
ผมตอบครับออกไปเบาๆ ก่อนจะรีบเดินกลับไปที่โต๊ะ หยิบแก้วน้ำแล้วเดินออกจากร้านทันที (ไม่ต้องใช้หลอดก็ได้ฟะ) โดยได้ยินเสียงจากคุณป้าหันไปแจ้งพนักงานในร้านแว่วๆ ตามหลังมาว่า...
"...หนูเอ๊ย หลอดหมด..."
(แหม ใครจะยอมหน้าแตกแบบไม่มีฟอร์มกันง่ายๆ ล่ะครับ)
...
หลังไม่ได้ใช้บริการรถไฟฟ้ามาร่วม 3-4 ปี ไม่นานมานี้ก็มีเหตุให้ผมต้องใช้บริการอีกครั้งในค่ำวันหนึ่งของเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา โดยขึ้นจากสถานีอ่อนนุชมาลงยังสถานีสยามฯ
ด้วยความที่เคยใช้บริการมาก่อน ครั้งนี้แม้จะรู้สึกตื่นเต้นแต่ก็ไม่มากเพราะจากประสบการณ์การขึ้น-ลงในอดีตทำให้ผมพอจะรู้ถึงบรรยากาศและทราบถึงขั้นตอนดีว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง
หลังตรวจสอบดูว่าสถานีที่จะลงหมายเลขอะไร ต้องเสียค่าบริการเท่าไหร่ ผมก็เดินอาดๆ ไปที่เครื่องขายตั๋วหยอดเหรียญทันที
แก๊งๆๆ...เสียงเหรียญกระทบโลหะในช่องคืนเงินติดๆ แต่ไม่มีตั๋วออกมา
"สงสัยเครื่องจะเสีย..." ในใจนึกเช่นนั้น (แบบไม่มั่นใจนัก) พลางเดินไปยังเครื่องขายตั๋วอีกเครื่องหนึ่ง
แก๊งๆๆ...เหรียญตกลงไปโดยที่เครื่องไม่มีการแสดงปฏิกิริยาใดๆ ตอบรับเหมือนเดิม คราวนี้จากที่ไม่มั่นใจก็มั่นใจขึ้นมาทันทีแล้วครับว่า ไม่ใช่ "เครื่อง" หรอกครับที่เสีย หากเป็น "ใจ" ของผมเองต่างหาก
ตั้งสติว่าทำอะไรผิดพลาด ก่อนจะเหลือบไปเห็นข้อความวิธีการใช้ จึงถึงบางอ้อ (โดยที่ไม่ต้องเดินทางไป)
ผมไม่ได้กดเลขหมายของสถานีปลายทางก่อนครับ
แม้จะคิดอย่างเข้าข้างตัวเองว่า ณ. เวลานั้นมีเพียงนักศึกษาหญิง 2 คน เจ้าหน้าที่แลกเหรียญ 2 คน รวมถึงเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอีกคนที่อาจจะมองเห็นการกระทำของผม รวมถึงความพยายามหาเหตุผลแบบเอาทั้งตัวเข้าไถโดยยกเอา "จา พนม" เป็นแบบอย่างแห่งความภาคภูมิใจในคอนเซ็ปต์ "เล่นจริง-(หน้า)แตกจริง"
แต่ ณ. สถานการณ์ตอนนั้นผมอยากให้มีสลิงค์มาโหนหนี หรือมีแสตนด์อินมาเล่นแทนเสียมากกว่า
...
ปล. : แรกๆ ผมมักจะเล่าเรื่องราวทำนองนี้ด้วยความรู้สึกถึงความน่ารักในความเชยของตนเอง ทว่าระยะหลังๆ ยิ่งเล่าไปผมเองก็เริ่มรู้สึกว่ามันไม่ใช่ความเชยที่แสดงถึงความน่ารักแต่อย่างใดแล้ว หากแต่เป็นความเปิ่นที่แสดงถึงโง่ของตนเองมากกว่า