โดย : อภินันท์ บุญเรืองพะเนา
มีบริบทแวดล้อมอย่างน้อย 2-3 ประการที่ทำให้เราเชื่อได้ว่า หนังผีอย่าง “โปรแกรมหน้า วิญญาณอาฆาต” มีแนวโน้มว่าจะเป็นหนังผีที่ทำเงินได้มากกว่าหนังในแนวเดียวกันทุกๆ เรื่องของปีนี้ ไม่ว่าจะเป็น สี่แพร่ง โลงต่อตาย ฯลฯ เพราะอย่างน้อยที่สุด การได้เปิดตัวฉายในวีคเอ็นด์ที่ปะเหมาะตรงกับช่วงเงินเดือนออกพอดีก็น่าจะหนุนส่งให้รายรับของหนังอยู่ในสภาพ “คล่อง” มากกว่าช่วงอื่นๆ (โดยเฉพาะช่วงกลางๆ เดือน)
นั่นยังไม่นับรวมถึงเทศกาลฮาโลวีนที่แม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกันเลยกับวัฒนธรรมไทยของเรา แต่ใครล่ะจะกล้าปฏิเสธว่า เทศกาลนี้ไม่ได้มีส่วนทำให้หนังผีขายได้ง่ายขึ้น จริงไหม?
อย่างไรก็ดี นอกเหนือไปจากบริบทเหล่านี้ สิ่งที่สร้างความน่าสนใจให้กับ “โปรแกรมหน้า วิญญาณอาฆาต” อย่างมากมายนั้นน่าจะอยู่ที่ยี่ห้อของจีทีเอช (GTH) ซึ่งกลายเป็นชื่อที่ “เรียกแขก” ได้ดีไปเรียบร้อยแล้ว และเหนืออื่นใด จุดขายที่แข็งแรงที่สุด (และได้ผลมากที่สุด) ของหนังเรื่องนี้ที่ผมและคุณทุกๆ คนคงมองเห็นเหมือนๆ กันก็คือ คำโฆษณาที่บอกว่า ผลงานกำกับจากผู้เขียนบท “ชัตเตอร์” และ “แฝด”
ขณะเดียวกัน สิ่งที่กลายเป็นตัว “ส่งเสริมการขาย” ให้กับหนังได้ดีอีกจุดหนึ่งก็คือ “พั้นช์-วรกาญจน์ โรจนวัชร” นักร้องสาวที่เข้ามารับงานแสดงเป็นเรื่องแรก ซึ่งก็น่าจะช่วยเรียกกลุ่มคนดูที่เป็นแฟนเพลงขาประจำของเธอได้เยอะพอสมควร และถึงแม้เราจะเข้าใจว่านี่เป็น “กลยุทธ์” ในการขายของอีกรูปแบบหนึ่งที่หนังหลายๆ เรื่องชอบทำ (คือการดึงเอาคนดังๆ มาใส่ไว้ในหนัง) แต่เมื่อประเมินฝีไม้ลายมือในการแสดงของคุณพั้นช์แล้ว ก็ต้องยอมรับว่า การขึ้นจอครั้งนี้ของเธอไม่ได้ “ด้อย” แต่อย่างใด (หรือถ้าจะพูดให้ชัดขึ้นอีกหน่อยก็คือ นักร้องสาวคนนี้เอาดีทางการแสดงได้)
แต่เอาล่ะ ไม่ว่าจะมี “เครื่องหมายการค้า” การันตีและดึงดูดความสนใจมากน้อยแค่ไหน แต่ในที่สุด “โปรแกรมหน้าวิญญาณอาฆาต” ก็ปล่อยผีออกอาละวาดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่ามกลางเสียงต่างๆ ที่จะตามมา ซึ่งย่อมมีทั้งส่วนที่ชื่นชมและติติง
อย่างไรก็ดี สิ่งแรกที่น่าพูดถึงก่อนสิ่งอื่นๆ ก็คือ ผมเห็นว่า โปรแกรมหน้าฯ น่าจะเป็นที่ชื่นชอบมากถึงมากที่สุดสำหรับคนที่นิยมหนังผีแบบฮาร์ดคอร์ หรือพูดอีกอย่าง ถ้าคุณเชื่อว่าหนังผีที่ดีคือหนังที่สามารถทำให้คนดูตกใจกลัวได้ หนังเรื่องนี้ตอบสนองอารมณ์แบบนั้นให้คุณได้แน่นอน
นั่นหมายความว่า โปรแกรมหน้าฯ เหมือนหนังที่ “ตั้งใจมาหลอก” กันอย่างเป็นงานเป็นการ ซึ่งตรงจุดนี้ถือว่าแตกต่างอย่างมากกับผลงานก่อนหน้าอย่าง “ชัตเตอร์” เพราะในขณะที่ชัตเตอร์ดูเหมือนจะมีการตระเตรียมอารมณ์คนดูอย่างดีในการปล่อยผีออกมาแต่ละฉาก (หรืออาจจะไม่ปล่อยเลย ทิ้งให้คนดูอารมณ์ค้าง ซึ่งหนังก็ได้ประโยชน์ไป เพราะสามารถทำให้คนดูรู้สึกบีบคั้นและลุ้นระทึกได้โดยไม่จำเป็นต้อง “เปลืองผี”) แต่โปรแกรมหน้าฯ จะต่างออกไปอย่างเห็นได้ชัด จากการจัดวางจังหวะในการปล่อยผีที่แทบไม่ต้องมีพิธีรีตองหรือมีมาดอะไรมากมาย บทจะหลอกก็หลอกกันตรงนั้นเลย ไม่ต้องบิวท์อารมณ์มากให้เปลืองเวลา (เข้าทำนอง “ผีตุ้งแช่” หรืออะไรอื่นๆ ก็แล้วแต่จะเรียก)
อย่างไรก็ดี ในขณะที่มีส่วนต่าง เราจะมองเห็น “ริ้วรอย” และ “กระบวนท่า” บางอย่างที่อ้างอิงไปถึงผลงานก่อนหน้าอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฉากผีขี่คอนั้นเหมือนกันกับชัตเตอร์ราวพี่กับน้อง พร้อมๆ กันนั้น ประเด็นที่เกี่ยวกับ Illusion หรือ ภาพหลอน ซึ่งค่อนข้างมีบทบาทมากใน “แฝด” และ “ชัตเตอร์” ก็ส่งเสียงให้ยินเช่นกันในโปรแกรมหน้าฯ ผ่านตัวละครอย่าง “เชน” (เต๋อ-ฉันวิชช์ ธนะเสวี) ที่เคยเป็นคนติดยา และเราก็เห็นความพยายามเล็กๆ ของหนังที่พยายามจะโบ้ยความผิดในการมองเห็นผีของเชนว่าเป็นเรื่องของ Illusion (ที่เป็นผลมาจากการเสพยา) แต่หนังก็แตะประเด็นนี้เพียงผ่านๆ ไม่ให้ความสำคัญอะไรมากนัก
และเพราะเชื่อว่า เป้าหมายหลักๆ ของหนังผีทุกๆ เรื่องคือ ถ้าทำให้คนรู้สึกกลับหรือขวัญผวาได้ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว ผมจึงขออนุญาตข้ามส่วนที่เป็น “จุดบอดรูรั่ว” เกี่ยวกับความสมเหตุสมผลในหลายๆ จุดไป แต่สิ่งหนึ่งซึ่งผมค่อนข้างประหลาดใจก็คือ ผลงานของคุณโสภณ ศักดาพิศิษฏ์ ชิ้นนี้ (เขียนบทเอง กำกับเอง) ดูเหมือนจะขาดในสิ่งดีๆ ที่ “แฝด” และ “ชัตเตอร์” เคยมี อย่างเห็นได้ชัด
สิ่งดีๆ ที่ว่านี้คืออะไร?
แน่นอนครับว่า ถ้าใครเคยดู “แฝด” และ “ชัตเตอร์” มาก่อน เราจะเห็นว่าทั้งสองเรื่องต่างก็มีประเด็นที่เป็น Main Point หรืออย่างน้อยๆ เราก็จับต้องได้ว่า หนังต้องการจะสื่อสาร “เรื่องอะไร” อย่างในชัตเตอร์และแฝด เราจะรู้ว่า เหตุผลที่ผีออกมาหลอกหลอนใครต่อใครนั้น เพราะอะไร? มีที่มาที่ไปอย่างไร? หรือเพราะตัวละครเคยไปทำเรื่องไม่ดีแบบนี้ๆ ไว้ สุดท้าย จึงต้องถูกผีตามมาหลอก และผีก็ดูจะ “มีเหตุมีผล” รองรับว่าจะหลอกหรือไม่หลอกใคร
ขณะที่ในโปรแกรมหน้าฯ แม้ว่าช่วงต้นๆ เรื่อง ไอเดียของหนังเหมือนจะพยายามทำให้พวกก็อปแผ่นผีซีดีเถื่อนสะดุ้งสะเทือน (ด้วยการปล่อยผีออกมาหลอก) แต่เอาไปเอามา เมื่อหนังเดินทางไปถึงจุดหักมุมและคายความลับเกี่ยวกับที่มาที่ไปของผีชบา (สฤญรัตน์ โทมัส) การณ์กลับกลายเป็นว่า ผีตัวนี้ก็พร้อมจะหลอกคนได้ไม่เลือกหน้า ไม่เว้นแม้กระทั่งคนที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรด้วยเลย
และเพราะเหตุนี้ ผมจึงเห็นว่า นอกจากได้ตกใจ ได้กลัว (หรือได้กรี๊ด?) เป็นระยะๆ ตลอดทั้งเรื่องแล้ว โปรแกรมหน้าฯ ยังไม่มี “เนื้อหา” ที่หนักแน่นเพียงพอจะสั่นสะเทือนความรู้สึกของคนดู ซึ่งเมื่อเทียบกับ “แฝด” และ “ชัตเตอร์” แล้ว ทั้งสองเรื่องต่างก็มีปมเรื่องที่แข็งแรง ซึ่งหนังก็พยายามตะล่อมเรื่องราวให้อยู่ในปมดังกล่าวนั้น และเมื่อดูจบ เราจะได้ Concept ที่ชัดๆ ติดอยู่ในใจอย่างน้อยหนึ่งประเด็น (ความรัก แรงแค้น และบาปกรรม ใน “ชัตเตอร์” หรือความรักและความริษยาใน “แฝด”)
สรุปก็คือ โปรแกรมหน้าคล้ายมี “ปริศนา” อยู่ชุดหนึ่งซึ่งน่าสนใจน่าติดตามอยู่จริง แต่เมื่อดูไปจนจบ เราจะไม่พบเลยว่า ใน “ปริศนา” ชุดดังกล่าวนั้น หนังต้องการสื่อสาร “แนวคิดหลัก” อะไร? หรือไม่อย่างนั้น ถ้ามันจะมีแนวคิดบางแนวคิดที่พอจะสัมผัสได้บ้างก็น่าจะเป็นเรื่องของ “ผลกรรม” ที่ตัวละครสำคัญๆ ทุกตัวต่างก็ต้องได้รับจากผลพวงแห่งความผิดของตัวเองด้วยกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม แนวคิดแบบนี้ก็จะถูกแย้งด้วย “เนื้อเรื่อง” ของหนังเองที่ในท้ายที่สุด เราจะพบว่า ผีไม่ได้หลอกหรือฆ่าเฉพาะคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องบาปๆ เท่านั้น แต่กลับอาฆาตอาละวาดไปทั่วโดยไม่เลือกหน้า (ซึ่งก็ต่างกับแฝดและชัตเตอร์อีกเหมือนกัน เพราะในสองเรื่องนั้น ผีจะหลอกก็เฉพาะคนที่เกี่ยวข้อง และมันทำให้เราได้เห็นถึงผลแห่ง “การกระทำ” ซึ่งก็คือ “กรรม” อย่างชัดเจน)
แต่เอาล่ะ เมื่อคำนึงถึงว่า ปลายทางของหนังผีก็คือทำยังไงก็ได้ให้คนดูรู้สึกกลัว ตกใจ และจากคำให้สัมภาษณ์ของคุณโสภณ ศักดาพิศิษฏ์ เขาก็บอกเจตนาชัดเจนว่า ทำหนังเรื่องนี้ขึ้นมาด้วยมุ่งหวังจะทำให้คนกลัวโดยเฉพาะ (อย่างน้อยที่สุด การครีเอทเรื่องราวที่เกี่ยวกับผีในโรงหนังก็ดึงคนดูให้เกิดความรู้สึกใกล้ชิดและมีอารมณ์ร่วมได้ไม่ยาก) ดังนั้น ผมจึงอนุมานเอาจากถ้อยคำสัมภาษณ์นี้ว่า ผู้กำกับเขาคงไม่ค่อยห่วงเรื่อง “เนื้อเรื่อง” หรือ “ประเด็น” เท่าไรนัก
และที่สำคัญ ถึงแม้ว่าโปรแกรมหน้าฯ อาจจะดูด้อยกว่า “แฝด” และ “ชัตเตอร์” ในบางด้าน (บทหนังของชัตเตอร์แข็งแรงกว่า ขณะที่งานด้านโพรดักชั่นของแฝดก็เนี้ยบกว่า) แต่พูดกันอย่างถึงที่สุด ผมก็ยังเห็นว่า ผลงานชิ้นนี้ของค่ายจีทีเอชตอบโจทย์ของตัวเองสำเร็จในการเป็นหนังผี นั่นก็คือ สามารถทำให้คนดู “ตกใจ” ได้เป็นระยะๆ ตลอดทั้งเรื่อง แต่ถ้าถามว่า “หลอน” มากแค่ไหน คำตอบนั้นคงขึ้นอยู่กับแต่ละคน ไม่มีใครที่จะ “ตอบ” แทนใครได้...
......ผู้กำกับหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรงคนหนึ่งไปเดินด้อมๆ มองๆ สังเกตการณ์ร้านแผ่นผีซีดีเถื่อนแถวๆ ย่านสะพานพุทธ และแล้ว เขาก็ต้องตกใจสุดขีด เมื่อเห็นผลงานของตัวเองถูกอัดเข้าแผ่นดีวีดีเรียบร้อยแล้ว ทั้งๆ ที่เพิ่งเข้าฉายในโรงได้แค่วันเดียว ผู้กำกับหนุ่มกัดฟันกรอดๆ พร้อมปล่อยเสียงเล็ดลอดจากไรฟัน...
“อยากเห็นกูเจ๊งกันนักใช่มั้ยยยย!!!” เขาคำรามเลียนแบบถ้อยคำของผีชบาด้วยความคับแค้น แต่ก็เป็นแค่การคำรามในใจ เพราะกลัวว่าเฮียเจ้าของร้านหนังก็อปจะได้ยิน (เหอๆ)......
มีบริบทแวดล้อมอย่างน้อย 2-3 ประการที่ทำให้เราเชื่อได้ว่า หนังผีอย่าง “โปรแกรมหน้า วิญญาณอาฆาต” มีแนวโน้มว่าจะเป็นหนังผีที่ทำเงินได้มากกว่าหนังในแนวเดียวกันทุกๆ เรื่องของปีนี้ ไม่ว่าจะเป็น สี่แพร่ง โลงต่อตาย ฯลฯ เพราะอย่างน้อยที่สุด การได้เปิดตัวฉายในวีคเอ็นด์ที่ปะเหมาะตรงกับช่วงเงินเดือนออกพอดีก็น่าจะหนุนส่งให้รายรับของหนังอยู่ในสภาพ “คล่อง” มากกว่าช่วงอื่นๆ (โดยเฉพาะช่วงกลางๆ เดือน)
นั่นยังไม่นับรวมถึงเทศกาลฮาโลวีนที่แม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกันเลยกับวัฒนธรรมไทยของเรา แต่ใครล่ะจะกล้าปฏิเสธว่า เทศกาลนี้ไม่ได้มีส่วนทำให้หนังผีขายได้ง่ายขึ้น จริงไหม?
อย่างไรก็ดี นอกเหนือไปจากบริบทเหล่านี้ สิ่งที่สร้างความน่าสนใจให้กับ “โปรแกรมหน้า วิญญาณอาฆาต” อย่างมากมายนั้นน่าจะอยู่ที่ยี่ห้อของจีทีเอช (GTH) ซึ่งกลายเป็นชื่อที่ “เรียกแขก” ได้ดีไปเรียบร้อยแล้ว และเหนืออื่นใด จุดขายที่แข็งแรงที่สุด (และได้ผลมากที่สุด) ของหนังเรื่องนี้ที่ผมและคุณทุกๆ คนคงมองเห็นเหมือนๆ กันก็คือ คำโฆษณาที่บอกว่า ผลงานกำกับจากผู้เขียนบท “ชัตเตอร์” และ “แฝด”
ขณะเดียวกัน สิ่งที่กลายเป็นตัว “ส่งเสริมการขาย” ให้กับหนังได้ดีอีกจุดหนึ่งก็คือ “พั้นช์-วรกาญจน์ โรจนวัชร” นักร้องสาวที่เข้ามารับงานแสดงเป็นเรื่องแรก ซึ่งก็น่าจะช่วยเรียกกลุ่มคนดูที่เป็นแฟนเพลงขาประจำของเธอได้เยอะพอสมควร และถึงแม้เราจะเข้าใจว่านี่เป็น “กลยุทธ์” ในการขายของอีกรูปแบบหนึ่งที่หนังหลายๆ เรื่องชอบทำ (คือการดึงเอาคนดังๆ มาใส่ไว้ในหนัง) แต่เมื่อประเมินฝีไม้ลายมือในการแสดงของคุณพั้นช์แล้ว ก็ต้องยอมรับว่า การขึ้นจอครั้งนี้ของเธอไม่ได้ “ด้อย” แต่อย่างใด (หรือถ้าจะพูดให้ชัดขึ้นอีกหน่อยก็คือ นักร้องสาวคนนี้เอาดีทางการแสดงได้)
แต่เอาล่ะ ไม่ว่าจะมี “เครื่องหมายการค้า” การันตีและดึงดูดความสนใจมากน้อยแค่ไหน แต่ในที่สุด “โปรแกรมหน้าวิญญาณอาฆาต” ก็ปล่อยผีออกอาละวาดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่ามกลางเสียงต่างๆ ที่จะตามมา ซึ่งย่อมมีทั้งส่วนที่ชื่นชมและติติง
อย่างไรก็ดี สิ่งแรกที่น่าพูดถึงก่อนสิ่งอื่นๆ ก็คือ ผมเห็นว่า โปรแกรมหน้าฯ น่าจะเป็นที่ชื่นชอบมากถึงมากที่สุดสำหรับคนที่นิยมหนังผีแบบฮาร์ดคอร์ หรือพูดอีกอย่าง ถ้าคุณเชื่อว่าหนังผีที่ดีคือหนังที่สามารถทำให้คนดูตกใจกลัวได้ หนังเรื่องนี้ตอบสนองอารมณ์แบบนั้นให้คุณได้แน่นอน
นั่นหมายความว่า โปรแกรมหน้าฯ เหมือนหนังที่ “ตั้งใจมาหลอก” กันอย่างเป็นงานเป็นการ ซึ่งตรงจุดนี้ถือว่าแตกต่างอย่างมากกับผลงานก่อนหน้าอย่าง “ชัตเตอร์” เพราะในขณะที่ชัตเตอร์ดูเหมือนจะมีการตระเตรียมอารมณ์คนดูอย่างดีในการปล่อยผีออกมาแต่ละฉาก (หรืออาจจะไม่ปล่อยเลย ทิ้งให้คนดูอารมณ์ค้าง ซึ่งหนังก็ได้ประโยชน์ไป เพราะสามารถทำให้คนดูรู้สึกบีบคั้นและลุ้นระทึกได้โดยไม่จำเป็นต้อง “เปลืองผี”) แต่โปรแกรมหน้าฯ จะต่างออกไปอย่างเห็นได้ชัด จากการจัดวางจังหวะในการปล่อยผีที่แทบไม่ต้องมีพิธีรีตองหรือมีมาดอะไรมากมาย บทจะหลอกก็หลอกกันตรงนั้นเลย ไม่ต้องบิวท์อารมณ์มากให้เปลืองเวลา (เข้าทำนอง “ผีตุ้งแช่” หรืออะไรอื่นๆ ก็แล้วแต่จะเรียก)
อย่างไรก็ดี ในขณะที่มีส่วนต่าง เราจะมองเห็น “ริ้วรอย” และ “กระบวนท่า” บางอย่างที่อ้างอิงไปถึงผลงานก่อนหน้าอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฉากผีขี่คอนั้นเหมือนกันกับชัตเตอร์ราวพี่กับน้อง พร้อมๆ กันนั้น ประเด็นที่เกี่ยวกับ Illusion หรือ ภาพหลอน ซึ่งค่อนข้างมีบทบาทมากใน “แฝด” และ “ชัตเตอร์” ก็ส่งเสียงให้ยินเช่นกันในโปรแกรมหน้าฯ ผ่านตัวละครอย่าง “เชน” (เต๋อ-ฉันวิชช์ ธนะเสวี) ที่เคยเป็นคนติดยา และเราก็เห็นความพยายามเล็กๆ ของหนังที่พยายามจะโบ้ยความผิดในการมองเห็นผีของเชนว่าเป็นเรื่องของ Illusion (ที่เป็นผลมาจากการเสพยา) แต่หนังก็แตะประเด็นนี้เพียงผ่านๆ ไม่ให้ความสำคัญอะไรมากนัก
และเพราะเชื่อว่า เป้าหมายหลักๆ ของหนังผีทุกๆ เรื่องคือ ถ้าทำให้คนรู้สึกกลับหรือขวัญผวาได้ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว ผมจึงขออนุญาตข้ามส่วนที่เป็น “จุดบอดรูรั่ว” เกี่ยวกับความสมเหตุสมผลในหลายๆ จุดไป แต่สิ่งหนึ่งซึ่งผมค่อนข้างประหลาดใจก็คือ ผลงานของคุณโสภณ ศักดาพิศิษฏ์ ชิ้นนี้ (เขียนบทเอง กำกับเอง) ดูเหมือนจะขาดในสิ่งดีๆ ที่ “แฝด” และ “ชัตเตอร์” เคยมี อย่างเห็นได้ชัด
สิ่งดีๆ ที่ว่านี้คืออะไร?
แน่นอนครับว่า ถ้าใครเคยดู “แฝด” และ “ชัตเตอร์” มาก่อน เราจะเห็นว่าทั้งสองเรื่องต่างก็มีประเด็นที่เป็น Main Point หรืออย่างน้อยๆ เราก็จับต้องได้ว่า หนังต้องการจะสื่อสาร “เรื่องอะไร” อย่างในชัตเตอร์และแฝด เราจะรู้ว่า เหตุผลที่ผีออกมาหลอกหลอนใครต่อใครนั้น เพราะอะไร? มีที่มาที่ไปอย่างไร? หรือเพราะตัวละครเคยไปทำเรื่องไม่ดีแบบนี้ๆ ไว้ สุดท้าย จึงต้องถูกผีตามมาหลอก และผีก็ดูจะ “มีเหตุมีผล” รองรับว่าจะหลอกหรือไม่หลอกใคร
ขณะที่ในโปรแกรมหน้าฯ แม้ว่าช่วงต้นๆ เรื่อง ไอเดียของหนังเหมือนจะพยายามทำให้พวกก็อปแผ่นผีซีดีเถื่อนสะดุ้งสะเทือน (ด้วยการปล่อยผีออกมาหลอก) แต่เอาไปเอามา เมื่อหนังเดินทางไปถึงจุดหักมุมและคายความลับเกี่ยวกับที่มาที่ไปของผีชบา (สฤญรัตน์ โทมัส) การณ์กลับกลายเป็นว่า ผีตัวนี้ก็พร้อมจะหลอกคนได้ไม่เลือกหน้า ไม่เว้นแม้กระทั่งคนที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรด้วยเลย
และเพราะเหตุนี้ ผมจึงเห็นว่า นอกจากได้ตกใจ ได้กลัว (หรือได้กรี๊ด?) เป็นระยะๆ ตลอดทั้งเรื่องแล้ว โปรแกรมหน้าฯ ยังไม่มี “เนื้อหา” ที่หนักแน่นเพียงพอจะสั่นสะเทือนความรู้สึกของคนดู ซึ่งเมื่อเทียบกับ “แฝด” และ “ชัตเตอร์” แล้ว ทั้งสองเรื่องต่างก็มีปมเรื่องที่แข็งแรง ซึ่งหนังก็พยายามตะล่อมเรื่องราวให้อยู่ในปมดังกล่าวนั้น และเมื่อดูจบ เราจะได้ Concept ที่ชัดๆ ติดอยู่ในใจอย่างน้อยหนึ่งประเด็น (ความรัก แรงแค้น และบาปกรรม ใน “ชัตเตอร์” หรือความรักและความริษยาใน “แฝด”)
สรุปก็คือ โปรแกรมหน้าคล้ายมี “ปริศนา” อยู่ชุดหนึ่งซึ่งน่าสนใจน่าติดตามอยู่จริง แต่เมื่อดูไปจนจบ เราจะไม่พบเลยว่า ใน “ปริศนา” ชุดดังกล่าวนั้น หนังต้องการสื่อสาร “แนวคิดหลัก” อะไร? หรือไม่อย่างนั้น ถ้ามันจะมีแนวคิดบางแนวคิดที่พอจะสัมผัสได้บ้างก็น่าจะเป็นเรื่องของ “ผลกรรม” ที่ตัวละครสำคัญๆ ทุกตัวต่างก็ต้องได้รับจากผลพวงแห่งความผิดของตัวเองด้วยกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม แนวคิดแบบนี้ก็จะถูกแย้งด้วย “เนื้อเรื่อง” ของหนังเองที่ในท้ายที่สุด เราจะพบว่า ผีไม่ได้หลอกหรือฆ่าเฉพาะคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องบาปๆ เท่านั้น แต่กลับอาฆาตอาละวาดไปทั่วโดยไม่เลือกหน้า (ซึ่งก็ต่างกับแฝดและชัตเตอร์อีกเหมือนกัน เพราะในสองเรื่องนั้น ผีจะหลอกก็เฉพาะคนที่เกี่ยวข้อง และมันทำให้เราได้เห็นถึงผลแห่ง “การกระทำ” ซึ่งก็คือ “กรรม” อย่างชัดเจน)
แต่เอาล่ะ เมื่อคำนึงถึงว่า ปลายทางของหนังผีก็คือทำยังไงก็ได้ให้คนดูรู้สึกกลัว ตกใจ และจากคำให้สัมภาษณ์ของคุณโสภณ ศักดาพิศิษฏ์ เขาก็บอกเจตนาชัดเจนว่า ทำหนังเรื่องนี้ขึ้นมาด้วยมุ่งหวังจะทำให้คนกลัวโดยเฉพาะ (อย่างน้อยที่สุด การครีเอทเรื่องราวที่เกี่ยวกับผีในโรงหนังก็ดึงคนดูให้เกิดความรู้สึกใกล้ชิดและมีอารมณ์ร่วมได้ไม่ยาก) ดังนั้น ผมจึงอนุมานเอาจากถ้อยคำสัมภาษณ์นี้ว่า ผู้กำกับเขาคงไม่ค่อยห่วงเรื่อง “เนื้อเรื่อง” หรือ “ประเด็น” เท่าไรนัก
และที่สำคัญ ถึงแม้ว่าโปรแกรมหน้าฯ อาจจะดูด้อยกว่า “แฝด” และ “ชัตเตอร์” ในบางด้าน (บทหนังของชัตเตอร์แข็งแรงกว่า ขณะที่งานด้านโพรดักชั่นของแฝดก็เนี้ยบกว่า) แต่พูดกันอย่างถึงที่สุด ผมก็ยังเห็นว่า ผลงานชิ้นนี้ของค่ายจีทีเอชตอบโจทย์ของตัวเองสำเร็จในการเป็นหนังผี นั่นก็คือ สามารถทำให้คนดู “ตกใจ” ได้เป็นระยะๆ ตลอดทั้งเรื่อง แต่ถ้าถามว่า “หลอน” มากแค่ไหน คำตอบนั้นคงขึ้นอยู่กับแต่ละคน ไม่มีใครที่จะ “ตอบ” แทนใครได้...
......ผู้กำกับหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรงคนหนึ่งไปเดินด้อมๆ มองๆ สังเกตการณ์ร้านแผ่นผีซีดีเถื่อนแถวๆ ย่านสะพานพุทธ และแล้ว เขาก็ต้องตกใจสุดขีด เมื่อเห็นผลงานของตัวเองถูกอัดเข้าแผ่นดีวีดีเรียบร้อยแล้ว ทั้งๆ ที่เพิ่งเข้าฉายในโรงได้แค่วันเดียว ผู้กำกับหนุ่มกัดฟันกรอดๆ พร้อมปล่อยเสียงเล็ดลอดจากไรฟัน...
“อยากเห็นกูเจ๊งกันนักใช่มั้ยยยย!!!” เขาคำรามเลียนแบบถ้อยคำของผีชบาด้วยความคับแค้น แต่ก็เป็นแค่การคำรามในใจ เพราะกลัวว่าเฮียเจ้าของร้านหนังก็อปจะได้ยิน (เหอๆ)......