ก่อนจะมาดังคับโลกในฐานะผู้กำกับหนังไตรภาคฟอร์มยักษ์อย่าง The Lord of the Rings ในครึ่งทศวรรษแรกของการทำหนังเป็นอาชีพ ปีเตอร์ แจ็กสัน สร้างชื่อให้ตัวเองจากหนังเล็กๆ 3 เรื่อง คือ Bad Taste (1987), Meet the Feebles (1989) และ Dead Alive (1992)
ใน 3 เรื่องที่กล่าวมา ดิฉันพลาดดู Meet the Feebles ไปเรื่องเดียว แต่กับ Bad Taste และ Dead Alive (หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ Braindead) แล้ว กล่าวได้ว่า เป็นหนังที่อยู่คนละขั้ว คนละชนชั้น และคนละชาติพันธุ์ กับ The Lord of the Rings อย่างสิ้นเชิง
กล่าวคือ ในขณะที่ LOTR เป็นหนังแฟนตาซีฟอร์มมโหฬาร ใช้ทุนสร้างสูงมาก เต็มไปด้วยฉากรบพุ่งเอาจริงเอาจัง ทั้งยังเนี้ยบไปเสียทุกภาคส่วน Bad Taste กับ Dead Alive กลับเป็นหนังที่ใช้ทุนสร้างต่ำแสนต่ำ โปรดักชันกระป๋อง เพี้ยนบ๊องๆ แหวะขำๆ ปราศจากความเคร่งเครียดจริงจังไม่ว่าจะในส่วนของเนื้อหาหรือประเด็น
อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่า การที่ทั้ง Bad Taste และ Dead Alive ต่างก็ ‘ทำถึง’ ในทางของมัน –คือ แหวะจริง ขำจริง เพี้ยนจริง- ก็ส่งผลให้แจ็กสันได้รับความชื่นชมจากคนดูหนังที่นิยมโปรดปรานงานในกลุ่มนี้ไปไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาซึ่งกระแส ‘หนังคัลต์’ กำลังมาแรง ทั้งสองเรื่องก็ถูกขุดคุ้ยขึ้นมาพูดถึงและถามไถ่กันอยู่อย่างสม่ำเสมอ
ในบรรดาผู้ที่เป็นปลื้มชื่นชมผลงานระยะแรกของปีเตอร์ แจ็กสัน มี โจนาธาน คิง รวมอยู่ด้วยคนหนึ่ง
เดิมทีเดียว โจนาธาน คิงเป็นผู้กำกับมิวสิก วิดีโอ และหนังโฆษณาชาวนิวซีแลนด์ –บ้านเดียวกับแจ็กสัน- ทั้งยังเคยทำหนังสั้นเอามันมาบ้างประปราย จนกระทั่งในปี 2006 เขาจึงผันตัวมากำกับภาพยนตร์เรื่องยาวเป็นครั้งแรก และได้ให้สัมภาษณ์ไว้หลายครั้งหลายคราวว่า เขามีปีเตอร์ แจ็กสัน เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจสำคัญของหนังเรื่องนี้
Black Sheep คือหนังเรื่องที่ว่า มันมีโครงเรื่องเนื้อหาบ๊องๆ และมุขป่วงๆ ในแนวทางเดียวกับหนังสองเรื่องนั้นของแจ็กสันไม่มีผิด
ตัวเอกของ Black Sheep คือ เฮนรี หนุ่มลูกชาวไร่ปศุสัตว์ซึ่งเดินทางกลับบ้านเกิดในชนบทหลังจากห่างหายไปนานหลายปี หนังเล่าว่า พ่อของเฮนรีนั้น เป็นคนเลี้ยงแกะชั้นเซียน เขามีฟาร์มแกะขนาดใหญ่ แถมยังเป็นแชมป์ตัดขนแกะเร็วประจำเมืองอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม พ่อของเฮนรีเสียชีวิตในอุบัติเหตุตั้งแต่เขายังเล็ก และการเสียชีวิตของพ่อ ก็ส่งผลต่อเนื่องให้เฮนรีกลายเป็น ‘โรคกลัวแกะ’ นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา (เพราะพ่อขับรถตกเขาตายขณะต้อนแกะ)
ณ วันนี้ กิจการไร่ปศุสัตว์ของพ่อตกเป็นมรดกของเฮนรีกับ แองกัส ผู้เป็นพี่ชาย ทว่าเพราะโรคกลัวแกะที่รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หาย เฮนรีจึงตัดสินใจเดินทางกลับบ้านเพื่อขายหุ้นในส่วนของตนให้พี่ชายให้มันจบๆ ไป เพื่อที่ตัวเขาเองจะได้ไม่ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับฝูงแกะและไร่แห่งนั้นอีก
แน่นอนว่า ทุกอย่างไม่ได้ราบรื่นอย่างที่เฮนรีหวัง
ที่บ้าน เขาพบว่า แองกัส –ซึ่งหนังบอกเล่าไว้ตั้งแต่แรกว่า เป็นคนใจร้ายไม่น่าคบมาตั้งแต่เด็ก- ได้ก่อตั้งศูนย์การทดลองตัดต่อพันธุกรรมหวังพลิกโฉมหน้าการปศุสัตว์ของประเทศ อย่างไรก็ตาม ลงท้ายการทดลองกลับส่งผลไม่คาดฝัน กล่าวคือ มันทำให้แกะมีนิสัยดุดันโหดร้าย เที่ยวกัดทึ้งคนเป็นอาหาร หนำซ้ำ มันยังกลายเป็นแกะโคตรอึด ยิงฟันเท่าไหร่ก็ไม่ตาย
พูดง่ายๆ พวกมันกลายเป็นแกะซอมบี้ และเป้าหมายก็คือการไล่เขมือบมนุษย์เคราะห์ร้ายตาดำๆ ที่หลงเข้ามาในรัศมีทำลายล้างของมันนั่นเอง
เหตุการณ์ถัดจากนี้ไม่ได้ซับซ้อนเกินคาดเดา เฮนรีต้องพยายามสยบโรคกลัวแกะของตนเพื่อรับบทฮีโรจำเป็น เขาต้องร่วมมือกับ เอ๊กซ์พีเรียนส์ สาวนักอนุรักษ์ เอาชีวิตรอดจากคมเขี้ยวของแกะจอมโหด พร้อมกันนั้นก็ต้องหยุดแผนการร้ายของพี่ชายตน มิเช่นนั้น เชื้อร้ายอาจลุกลามแพร่กระจาย และทำให้แกะทั้งประเทศกลายเป็นซอมบี้กันเลยทีเดียว
แม้หนังจะมีเรื่องของแกะที่โหดเหี้ยมดุร้าย อีกทั้งพระเอกยังเป็นโรคกลัวแกะจับขั้วหัวใจ ทว่าโจนาธาน คิง –ซึ่งเขียนบทเองด้วย- ก็บอกว่า เขาไม่ได้เสกสรรปั้นแต่งเรื่องทำนองนี้ขึ้นเพราะมีทัศนคติทางลบต่อเจ้าขนฟูพวกนี้แต่อย่างใด มันเป็นแต่เพียงอารมณ์ขันส่วนตัวของเขา เนื่องจากเขามาจากประเทศที่ถูกใครๆ ล้อว่า มีประชากรแกะมากกว่าประชากรมนุษย์ (ข้อมูลจากปี 2006 ระบุว่า นิวซีแลนด์มีประชากรมนุษย์ราว 4 ล้านคน ส่วนประชากรแกะนั้นสูงถึง 40 ล้าน) และไหนๆ ก็ไหนๆ ทำหนังทั้งทีเขาก็ขอประกาศความเป็นนิวซีแลนด์ ด้วยการนำแกะมารับบทเด่นให้มันรู้แล้วรู้รอดซะเลย!
โดยรวม Black Sheep ถือเป็นหนังที่ดูสนุกใช้ได้ แม้มันจะไปไม่ถึงสุดทางของมันอย่างที่ปีเตอร์ แจ็กสัน เคยทำไว้กับ Bad Taste และ Dead Alive ทว่าหนังก็เต็มไปด้วยรายละเอียดปลีกย่อยเพี้ยนๆ พิลึกพิลั่น และ ‘ช่างคิด’ ชนิดที่ผู้นิยมชมชอบหนังประเภทนี้อยู่แล้ว น่าจะเพลิดเพลินสนุกสนานไปกับมันได้ไม่ยากนัก (เกิดมาดิฉันเพิ่งเคยเห็น ‘แกะตด’ เป็นครั้งแรกก็จากหนังเรื่องนี้ แถมการตดของมันยังมีประโยชน์ต่อเรื่องด้วยอีกต่างหาก)
เท่าที่ทราบ หนังใช้ทุนสร้างไม่มากนัก ดิฉันไม่พบข้อมูลแน่ชัดว่ามันใช้เงินไปเท่าไหร่ ทราบแต่เพียงว่า เงินทุนส่วนหนึ่งได้มาจากรัฐบาลนิวซีแลนด์ และอีกส่วนเป็นเงินส่วนตัวของผู้กำกับ แน่นอนว่า นั่นทำให้ไม่อาจคาดหวังว่าจะพบโปรดักชันตระการตาหรือสเปเชียล เอฟเฟกต์สแจ่มๆ มหัศจรรย์ในหนังเรื่องนี้ (ผู้รับผิดชอบงานสเปเชียล เอฟเฟกต์สคือทีมงานบริษัท Weta เจ้าเดียวกับที่ทำ The Lord of the Rings)
อย่างไรก็ตาม ความกระป๋องและทุนน้อย กลับไม่ได้ส่งผลเสียหายต่อหนัง ตรงข้าม สเปเชียล เอฟเฟกต์สที่งัดเอาเทคนิคบุร่ำบุราณมาใช้ อาทิ ฉากแกะซอมบี้กัดคน หนังใช้วิธีสร้างหุ่นแกะขึ้นมา และเมื่อถึงเวลาถ่าย ก็ให้ทีมงานเป็นผู้เชิดหุ่นแล้วทำฮึ่มแฮ่ใส่นักแสดงที่เล่นเป็นเหยื่อ แล้วใช้การถ่ายภาพระยะใกล้เพื่อหลอกตาผู้ชม หรือฉากแกะกัดกระชากเนื้อคน ทีมงานก็ใช้วัสดุคล้ายยางมาทำเนื้อปลอม เวลากัดแล้วดึงมันจะเหนียวยืด ดูเหมือนหมากฝรั่งมากกว่าเนื้อคนจริงๆ ฯลฯ
เทคนิคเหล่านี้เข้ากับแนวทางของหนังแบบนี้ได้เป็นอย่างดี มันอาจไม่ได้ทำให้ผู้ชมเชื่อถือเป็นจริงเป็นจัง ทว่าในฐานะการประกาศตัวว่าเป็นหนังเกรดบี เน้นดิบ เน้นมัน ไม่เน้นเนี้ยบ มันทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์
เหนืออื่นใด แม้รูปลักษณ์หน้าตาจะชวนให้คิดว่าเป็นแค่หนังวายป่วงทำเอามัน ทว่าในความเป็นจริงแล้ว เนื้อในของ Black Sheep กลับไม่ได้กลวงโบ๋ว่างเปล่าแต่อย่างใด สิ่งที่ถูกสอดแทรกไว้ในเนื้อเรื่องบ้าๆ บวมๆ ก็คือ สาระในการปลุกจิตสำนึกผู้ชมให้ลุกขึ้นมาตั้งคำถามกับตัวเองอย่างจริงจังเสียทีว่า ทุกวันนี้ เราปฏิบัติต่อสิ่งมีชีวิตร่วมโลกอย่างไรกันบ้าง
การจับแกะมาดัดแปลงพันธุกรรมจนมัน ‘เสียแกะ’ เป็นตัวอย่างหนึ่ง (ถ้าดิฉันเข้าใจไม่ผิด สิ่งที่แองกัส พี่ชายเฮนรี ต้องการทำ ก็คือ การทำให้แกะขนเกรียน จะเพื่อการปฏิวัติวงการปศุสัตว์หรือเพื่ออวดโอ่ความปราดเปรื่องทางเทคโนโลยีก็ตามแต่) พ้นจากนั้นแล้ว หนังยังแสดงให้เห็นภาพสัตว์ที่ถูกมนุษย์กระทำอย่างจงใจ
เช่น ครั้งหนึ่งแองกัสในวัยเด็กสังหารแกะอย่างโหดเหี้ยม แล้วถลกหนังโชกเลือดของมันมาห่มคลุมร่างตน เพียงเพื่อความสนุกสนานบันเทิงส่วนตัวเท่านั้น หรืออีกครั้ง แม่บ้านเก่าแก่ของเฮนรีกำลังทำอาหารที่ต้องใช้เนื้อกระต่าย และหนังจับภาพขณะซากไส้และอวัยวะภายในของเจ้าหูยาวถูกควักอย่างจะแจ้ง จนผู้ชมรู้สึกราวกับนั่นเป็นการทารุณกรรม มากกว่าจะเป็นแค่ขั้นตอนประกอบอาหาร
จะเป็นการคิดมากเกินกว่าเหตุหรือเปล่าไม่ทราบ แต่ทั้งหมดนั้นก็ชวนให้ดิฉันคิดว่า การที่แกะลุกฮือขึ้นมาแทะทึ้งมนุษย์ ที่สุดแล้วจึงไม่ได้เป็นเพียงเพราะมันถูกกระตุ้นโดยเชื้อร้ายที่หลุดรอดออกมาจากห้องทดลองแต่อย่างใด
แต่นัยหนึ่ง มันคือการบอกว่า วันใดที่เราย่ำยีเพื่อนร่วมโลกจนถึงจุดที่มันทนรับต่อไปไม่ไหว เราจะได้รับการตอบโต้ล้างแค้นที่สมสม สยดสยอง และน่าสะพรึงกลัว
ใน 3 เรื่องที่กล่าวมา ดิฉันพลาดดู Meet the Feebles ไปเรื่องเดียว แต่กับ Bad Taste และ Dead Alive (หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ Braindead) แล้ว กล่าวได้ว่า เป็นหนังที่อยู่คนละขั้ว คนละชนชั้น และคนละชาติพันธุ์ กับ The Lord of the Rings อย่างสิ้นเชิง
กล่าวคือ ในขณะที่ LOTR เป็นหนังแฟนตาซีฟอร์มมโหฬาร ใช้ทุนสร้างสูงมาก เต็มไปด้วยฉากรบพุ่งเอาจริงเอาจัง ทั้งยังเนี้ยบไปเสียทุกภาคส่วน Bad Taste กับ Dead Alive กลับเป็นหนังที่ใช้ทุนสร้างต่ำแสนต่ำ โปรดักชันกระป๋อง เพี้ยนบ๊องๆ แหวะขำๆ ปราศจากความเคร่งเครียดจริงจังไม่ว่าจะในส่วนของเนื้อหาหรือประเด็น
อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่า การที่ทั้ง Bad Taste และ Dead Alive ต่างก็ ‘ทำถึง’ ในทางของมัน –คือ แหวะจริง ขำจริง เพี้ยนจริง- ก็ส่งผลให้แจ็กสันได้รับความชื่นชมจากคนดูหนังที่นิยมโปรดปรานงานในกลุ่มนี้ไปไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาซึ่งกระแส ‘หนังคัลต์’ กำลังมาแรง ทั้งสองเรื่องก็ถูกขุดคุ้ยขึ้นมาพูดถึงและถามไถ่กันอยู่อย่างสม่ำเสมอ
ในบรรดาผู้ที่เป็นปลื้มชื่นชมผลงานระยะแรกของปีเตอร์ แจ็กสัน มี โจนาธาน คิง รวมอยู่ด้วยคนหนึ่ง
เดิมทีเดียว โจนาธาน คิงเป็นผู้กำกับมิวสิก วิดีโอ และหนังโฆษณาชาวนิวซีแลนด์ –บ้านเดียวกับแจ็กสัน- ทั้งยังเคยทำหนังสั้นเอามันมาบ้างประปราย จนกระทั่งในปี 2006 เขาจึงผันตัวมากำกับภาพยนตร์เรื่องยาวเป็นครั้งแรก และได้ให้สัมภาษณ์ไว้หลายครั้งหลายคราวว่า เขามีปีเตอร์ แจ็กสัน เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจสำคัญของหนังเรื่องนี้
Black Sheep คือหนังเรื่องที่ว่า มันมีโครงเรื่องเนื้อหาบ๊องๆ และมุขป่วงๆ ในแนวทางเดียวกับหนังสองเรื่องนั้นของแจ็กสันไม่มีผิด
ตัวเอกของ Black Sheep คือ เฮนรี หนุ่มลูกชาวไร่ปศุสัตว์ซึ่งเดินทางกลับบ้านเกิดในชนบทหลังจากห่างหายไปนานหลายปี หนังเล่าว่า พ่อของเฮนรีนั้น เป็นคนเลี้ยงแกะชั้นเซียน เขามีฟาร์มแกะขนาดใหญ่ แถมยังเป็นแชมป์ตัดขนแกะเร็วประจำเมืองอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม พ่อของเฮนรีเสียชีวิตในอุบัติเหตุตั้งแต่เขายังเล็ก และการเสียชีวิตของพ่อ ก็ส่งผลต่อเนื่องให้เฮนรีกลายเป็น ‘โรคกลัวแกะ’ นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา (เพราะพ่อขับรถตกเขาตายขณะต้อนแกะ)
ณ วันนี้ กิจการไร่ปศุสัตว์ของพ่อตกเป็นมรดกของเฮนรีกับ แองกัส ผู้เป็นพี่ชาย ทว่าเพราะโรคกลัวแกะที่รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หาย เฮนรีจึงตัดสินใจเดินทางกลับบ้านเพื่อขายหุ้นในส่วนของตนให้พี่ชายให้มันจบๆ ไป เพื่อที่ตัวเขาเองจะได้ไม่ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับฝูงแกะและไร่แห่งนั้นอีก
แน่นอนว่า ทุกอย่างไม่ได้ราบรื่นอย่างที่เฮนรีหวัง
ที่บ้าน เขาพบว่า แองกัส –ซึ่งหนังบอกเล่าไว้ตั้งแต่แรกว่า เป็นคนใจร้ายไม่น่าคบมาตั้งแต่เด็ก- ได้ก่อตั้งศูนย์การทดลองตัดต่อพันธุกรรมหวังพลิกโฉมหน้าการปศุสัตว์ของประเทศ อย่างไรก็ตาม ลงท้ายการทดลองกลับส่งผลไม่คาดฝัน กล่าวคือ มันทำให้แกะมีนิสัยดุดันโหดร้าย เที่ยวกัดทึ้งคนเป็นอาหาร หนำซ้ำ มันยังกลายเป็นแกะโคตรอึด ยิงฟันเท่าไหร่ก็ไม่ตาย
พูดง่ายๆ พวกมันกลายเป็นแกะซอมบี้ และเป้าหมายก็คือการไล่เขมือบมนุษย์เคราะห์ร้ายตาดำๆ ที่หลงเข้ามาในรัศมีทำลายล้างของมันนั่นเอง
เหตุการณ์ถัดจากนี้ไม่ได้ซับซ้อนเกินคาดเดา เฮนรีต้องพยายามสยบโรคกลัวแกะของตนเพื่อรับบทฮีโรจำเป็น เขาต้องร่วมมือกับ เอ๊กซ์พีเรียนส์ สาวนักอนุรักษ์ เอาชีวิตรอดจากคมเขี้ยวของแกะจอมโหด พร้อมกันนั้นก็ต้องหยุดแผนการร้ายของพี่ชายตน มิเช่นนั้น เชื้อร้ายอาจลุกลามแพร่กระจาย และทำให้แกะทั้งประเทศกลายเป็นซอมบี้กันเลยทีเดียว
แม้หนังจะมีเรื่องของแกะที่โหดเหี้ยมดุร้าย อีกทั้งพระเอกยังเป็นโรคกลัวแกะจับขั้วหัวใจ ทว่าโจนาธาน คิง –ซึ่งเขียนบทเองด้วย- ก็บอกว่า เขาไม่ได้เสกสรรปั้นแต่งเรื่องทำนองนี้ขึ้นเพราะมีทัศนคติทางลบต่อเจ้าขนฟูพวกนี้แต่อย่างใด มันเป็นแต่เพียงอารมณ์ขันส่วนตัวของเขา เนื่องจากเขามาจากประเทศที่ถูกใครๆ ล้อว่า มีประชากรแกะมากกว่าประชากรมนุษย์ (ข้อมูลจากปี 2006 ระบุว่า นิวซีแลนด์มีประชากรมนุษย์ราว 4 ล้านคน ส่วนประชากรแกะนั้นสูงถึง 40 ล้าน) และไหนๆ ก็ไหนๆ ทำหนังทั้งทีเขาก็ขอประกาศความเป็นนิวซีแลนด์ ด้วยการนำแกะมารับบทเด่นให้มันรู้แล้วรู้รอดซะเลย!
โดยรวม Black Sheep ถือเป็นหนังที่ดูสนุกใช้ได้ แม้มันจะไปไม่ถึงสุดทางของมันอย่างที่ปีเตอร์ แจ็กสัน เคยทำไว้กับ Bad Taste และ Dead Alive ทว่าหนังก็เต็มไปด้วยรายละเอียดปลีกย่อยเพี้ยนๆ พิลึกพิลั่น และ ‘ช่างคิด’ ชนิดที่ผู้นิยมชมชอบหนังประเภทนี้อยู่แล้ว น่าจะเพลิดเพลินสนุกสนานไปกับมันได้ไม่ยากนัก (เกิดมาดิฉันเพิ่งเคยเห็น ‘แกะตด’ เป็นครั้งแรกก็จากหนังเรื่องนี้ แถมการตดของมันยังมีประโยชน์ต่อเรื่องด้วยอีกต่างหาก)
เท่าที่ทราบ หนังใช้ทุนสร้างไม่มากนัก ดิฉันไม่พบข้อมูลแน่ชัดว่ามันใช้เงินไปเท่าไหร่ ทราบแต่เพียงว่า เงินทุนส่วนหนึ่งได้มาจากรัฐบาลนิวซีแลนด์ และอีกส่วนเป็นเงินส่วนตัวของผู้กำกับ แน่นอนว่า นั่นทำให้ไม่อาจคาดหวังว่าจะพบโปรดักชันตระการตาหรือสเปเชียล เอฟเฟกต์สแจ่มๆ มหัศจรรย์ในหนังเรื่องนี้ (ผู้รับผิดชอบงานสเปเชียล เอฟเฟกต์สคือทีมงานบริษัท Weta เจ้าเดียวกับที่ทำ The Lord of the Rings)
อย่างไรก็ตาม ความกระป๋องและทุนน้อย กลับไม่ได้ส่งผลเสียหายต่อหนัง ตรงข้าม สเปเชียล เอฟเฟกต์สที่งัดเอาเทคนิคบุร่ำบุราณมาใช้ อาทิ ฉากแกะซอมบี้กัดคน หนังใช้วิธีสร้างหุ่นแกะขึ้นมา และเมื่อถึงเวลาถ่าย ก็ให้ทีมงานเป็นผู้เชิดหุ่นแล้วทำฮึ่มแฮ่ใส่นักแสดงที่เล่นเป็นเหยื่อ แล้วใช้การถ่ายภาพระยะใกล้เพื่อหลอกตาผู้ชม หรือฉากแกะกัดกระชากเนื้อคน ทีมงานก็ใช้วัสดุคล้ายยางมาทำเนื้อปลอม เวลากัดแล้วดึงมันจะเหนียวยืด ดูเหมือนหมากฝรั่งมากกว่าเนื้อคนจริงๆ ฯลฯ
เทคนิคเหล่านี้เข้ากับแนวทางของหนังแบบนี้ได้เป็นอย่างดี มันอาจไม่ได้ทำให้ผู้ชมเชื่อถือเป็นจริงเป็นจัง ทว่าในฐานะการประกาศตัวว่าเป็นหนังเกรดบี เน้นดิบ เน้นมัน ไม่เน้นเนี้ยบ มันทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์
เหนืออื่นใด แม้รูปลักษณ์หน้าตาจะชวนให้คิดว่าเป็นแค่หนังวายป่วงทำเอามัน ทว่าในความเป็นจริงแล้ว เนื้อในของ Black Sheep กลับไม่ได้กลวงโบ๋ว่างเปล่าแต่อย่างใด สิ่งที่ถูกสอดแทรกไว้ในเนื้อเรื่องบ้าๆ บวมๆ ก็คือ สาระในการปลุกจิตสำนึกผู้ชมให้ลุกขึ้นมาตั้งคำถามกับตัวเองอย่างจริงจังเสียทีว่า ทุกวันนี้ เราปฏิบัติต่อสิ่งมีชีวิตร่วมโลกอย่างไรกันบ้าง
การจับแกะมาดัดแปลงพันธุกรรมจนมัน ‘เสียแกะ’ เป็นตัวอย่างหนึ่ง (ถ้าดิฉันเข้าใจไม่ผิด สิ่งที่แองกัส พี่ชายเฮนรี ต้องการทำ ก็คือ การทำให้แกะขนเกรียน จะเพื่อการปฏิวัติวงการปศุสัตว์หรือเพื่ออวดโอ่ความปราดเปรื่องทางเทคโนโลยีก็ตามแต่) พ้นจากนั้นแล้ว หนังยังแสดงให้เห็นภาพสัตว์ที่ถูกมนุษย์กระทำอย่างจงใจ
เช่น ครั้งหนึ่งแองกัสในวัยเด็กสังหารแกะอย่างโหดเหี้ยม แล้วถลกหนังโชกเลือดของมันมาห่มคลุมร่างตน เพียงเพื่อความสนุกสนานบันเทิงส่วนตัวเท่านั้น หรืออีกครั้ง แม่บ้านเก่าแก่ของเฮนรีกำลังทำอาหารที่ต้องใช้เนื้อกระต่าย และหนังจับภาพขณะซากไส้และอวัยวะภายในของเจ้าหูยาวถูกควักอย่างจะแจ้ง จนผู้ชมรู้สึกราวกับนั่นเป็นการทารุณกรรม มากกว่าจะเป็นแค่ขั้นตอนประกอบอาหาร
จะเป็นการคิดมากเกินกว่าเหตุหรือเปล่าไม่ทราบ แต่ทั้งหมดนั้นก็ชวนให้ดิฉันคิดว่า การที่แกะลุกฮือขึ้นมาแทะทึ้งมนุษย์ ที่สุดแล้วจึงไม่ได้เป็นเพียงเพราะมันถูกกระตุ้นโดยเชื้อร้ายที่หลุดรอดออกมาจากห้องทดลองแต่อย่างใด
แต่นัยหนึ่ง มันคือการบอกว่า วันใดที่เราย่ำยีเพื่อนร่วมโลกจนถึงจุดที่มันทนรับต่อไปไม่ไหว เราจะได้รับการตอบโต้ล้างแค้นที่สมสม สยดสยอง และน่าสะพรึงกลัว