ประเทศไทยเพี้ยนไปแล้ว...
ท่านผู้อ่านเคยมีความรู้สึกเช่นนี้ขึ้นมาบ้างมั้ยครับ?
สำหรับผม ทั้งที่ไม่พยายามจะคิดอะไร แต่ระยะหลังมานี้ค่อนข้างจะถี่ทีเดียวกับการอดไม่ได้ที่จะเกิดความรู้สึกที่ว่า จนบางครั้งบางคราก็ให้นึกไปว่าตัวเองเป็นโรคประสาท ตัวเองเป็นคนที่มองโลกในแง่ร้าย หรือว่าเป็นคนที่เอาแต่ใจจนมากเกินไปหรือเปล่า
แต่เมื่อมองไปยังหลายๆ เรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมแล้ว บอกตรงๆ ครับว่ามันอดที่จะคิดขึ้นมาไม่ได้จริงๆ
แปลกมั้ยล่ะครับที่คนส่วนใหญ่ของบ้านเรามีความกล้าที่จะกรอกแบบสอบถามเพื่อแสดงให้เห็นว่า ตนพร้อมที่จะยอมรับ กราบกราน และนับถือคนทำชั่ว คนโกงได้อย่างไม่เคอะเขิน หากคนชั่ว คนโกงที่ว่าโยนแบ่งเศษเงิน ผลประโยชน์มาให้
แปลกมั้ยล่ะครับที่ตำรวจบ้านเราพากันแห่ไปอารักขาต้อนรับขับสู้ถึงขนาดที่บางคนแทบจะคลานเข้าไปกราบคนที่มีหมายจับในคดีความที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ของชาติให้กับธุรกิจของตนเองและพวกพร้อง
แปลกมั้ยล่ะครับ ที่เราได้นักการเมือง(ทุกคน)ที่บอกว่าตนเป็นคนดี อาสาเข้ามาทำงานเพื่อชาติ จะพัฒนาไอ้นั่นอย่างนี้ ไอ้นี่อย่างนั้นตั้งแต่เมื่อ 20 กว่าปีที่ผ่านมา แต่ทุกวันนี้อีสานก็ยังคงแล้งและคนก็ยังจนอยู่ ส่วนนักการเมืองก็ยังคงเป็นอาชีพที่ถูกมองว่ามีการโกง การคอร์รัปชั่นมากที่สุด
แปลกมั้ยล่ะครับที่เรามีรัฐบาลซึ่งแก้ปัญหาเรื่องที่ผิดกฏหมาย ด้วยการแก้กฏหมายทำเรื่องสีดำที่ว่าให้กลายเป็นสีขาวที่ถูกต้องตามกฏหมาย
แปลกมั้ยล่ะครับที่เรามีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุขที่แสดงออกมาให้เห็นถึงความห่วงใยต่อเรื่องตัวเลขรายได้ทางด้านการเงินมากกว่าดัชนีทางสุขภาพ ชีวิตและความรู้สึกของคน
เรามีกลุ่มคนบางกลุ่มที่ประกาศว่าตนเป็นชาวพุทธและปรารถนาอยากจะให้มีการบรรจุลงไปในรัฐธรรมนูญว่าศาสนานี้คือศาสนาประจำชาติ แต่แปลกมั้ยล่ะครับที่พอรัฐบาลบอกว่าประเทศเราน่าจะมีคาสิโน(ได้แล้ว) เรากลับไม่ได้ยินเสียงจากคนกลุ่มเดียวกันนี้ในการที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้าน หรือต่อต้านกันสักแอะ
ซ้ำร้ายไปยิ่งกว่านั้น พระบางรูปผู้เป็นนักบวชที่อยู่ในศีล ในธรรม กลับออกมาพูดในลักษณะทำนองที่เห็นด้วยกับกิจกรรมของรัฐฯ ที่มีส่วนส่งเสริมให้คนสะสมอบายมุข เพิ่มกิเลสเช่นนี้ ฯลฯ
...
จะว่าไปแล้วไม่ใช่เรื่องใหญ่ๆ อย่างที่ยกตัวอย่างมาหรอกครับที่ทำให้อดไม่ได้ที่จะรู้สึกว่าประเทศไทยของเราเพี้ยน เพราะเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ผมเองก็มีอารมณ์เข้าข่ายความรู้สึกที่ว่านี้ทั้งนั้น อาทิ หลังคาป้ายรถเมล์ที่ไม่ได้มีประโยชน์อะไรมากไปกว่าการถูกสร้างเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นหลังคาซึ่งไม่เคยมีการคำณวนเรื่องของการกันฝันกันแดด, มีถังทิ้งขยะแยกสีแยกประเภท (ทั่วไป, ขยะเปียก, ขยะสารพิษ) แต่ขยะที่อยู่ภายในไม่เคยถูกแยกประเภท, มีการจ้างผู้รับเหมาในราคาแพงๆ มาสร้างทางเดินเท้าเอาไว้เพื่อวางของขาย เช่นเดียวกับการสร้างถนน(บางเส้น)ที่มีเลนซ้าย - ขวาสุดไว้สำหรับจอดรถ ฯ
ย้อนอดีตไปยังวันแรกๆ ที่ผมเดินทางเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพ เชื่อมั้ยครับว่าอย่างหนึ่งที่ผมรู้สึกแปลกใจและรู้สึกว่าคนกรุงเพี้ยนจริงๆ (นอกจากเรื่องการใช้กระดาษทิชชู่เพราะที่บ้านผมใช้แต่ผ้าขี้ริ้ว) ก็คือเรื่องที่คนที่นี่ต้องเสียเงินซื้อน้ำดื่ม!
เหตุที่แปลกใจก็เพราะบ้านนอกที่ผมอยู่ เรารองน้ำฝนไว้ดื่ม
แต่ก่อนคุณธรรมชาติค่อนข้างจะเป็นคนที่ตรงต่อเวลาครับ ถึงเดือนน้ำหลาก น้ำก็มา ถึงเดือนแล้ง แล้งก็มา รอบปีในการใช้ชีวิตของชาวบ้านจึงค่อนข้างเป็นไปอย่างแน่นอนและอิงแอบอยู่กับธรรมชาติ (ผิดกับปัจจุบันที่คุณธรรมชาติรู้สึกว่าจะถูก(ห)ม(า)นุษย์อย่างเราๆ ทำลายเสียจนสมองเบลอ มาผิดเวลาเป็นประจำ หรือบางทีก็ไม่มาเลย) ซึ่งพอใกล้ช่วงที่ฝนจะมา สิ่งที่ผม แม่แก่ แม่ รวมถึงคนบ้านอื่นๆ ต้องทำก็คือ สำรวจรางน้ำ ล้างโอ่งแล้วเอาผ้าขาวบางปิดปากเอาไว้ แล้วก็รอให้ฝนตก
แต่กว่าจะรองได้ก็ต้องรอฝนที่ 3 ที่ 4 ก่อนนะครับ
"มึงบ้าเปล่าวะ แหกตาดูอากาศในกรุงเทพเสียก่อน โน่น แล้วมึงดูรอบๆ มันมีบ้านสักกี่หลังวะที่จะมีหลังคารองน้ำฝนได้ แล้วมึงลองดูสีหลังคาหลังนั้นถ้าลองมึงจะกล้ากินมั้ยวะ..." เสียงเพื่อนร่ายยาวจนผมดึงความคิดกลับมาจากบ้านนอกแทบไม่ทัน
เห็นด้วยและก็จริงด้วยครับที่ว่าสภาพบรรยากาศของเมืองหลวงแห่งนี้มันไม่เอื้ออำนวยเอาเสียเลยต่อการรองน้ำฝนดื่มกิน หากแต่เหนือสิ่งอื่นใดผมว่าคนส่วนใหญ่ไม่เคยคิดอยู่แล้วว่าเรื่องดื่มน้ำฝน(ฟรี)นี้มันจะเป็นประเด็นหรือสำคัญถึงขนาดที่จะต้องไปใส่ใจ ซึ่งก็คงจะคล้ายๆ กับการที่เราไม่เคยคิดว่าเรื่องการทิ้งขยะนอกจากจะต้องให้ลงถังแล้วยังต้องให้ถูกประเภทของถังด้วยเป็นสิ่งที่ควรจะต้องทำ
เราไม่เคยคิดกันว่าไฟเหลืองคือสัญลักษณ์ที่ให้รถชลอแต่กลับคิดว่ามันคือสัญญาณให้เร่งเครื่อง และเราก็ไม่เคยคิดว่าการทำของใหญ่ๆ เพื่อให้ได้ติดอันดับโลกนั้นไม่ใช่สิ่งที่เราควรจะภาคภูมิใจหากของใหญ่ที่ว่านั้นคุณภาพห่วยแตกหรือแม้กระทั่งไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามหน้าที่ของมันได้จริง
ละเลยหรือไม่ใส่ใจเรื่องทำนองนี้ก็ไม่เท่าไหร่หรอกครับ แต่การที่ทุกวันนี้ดูเหมือนว่าคนส่วนใหญ่ทั้งรุ่นเก่ารุ่นใหม่ต่างก็ตั้งเป้าหมายแห่งความสำเร็จในการมีชีวิตของตนเองอยู่กับเรื่องของอำนาจ ชื่อเสียง และจำนวนทรัพย์สินเป็นเรื่องสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดแม้กระทั่งวิธีการที่ให้ได้มา ตรงนี้สิน่าห่วงมากๆ
ผมมาลองนึกดูเล่นๆ นะครับว่าหากรัฐฯ หันมาสนใจเรื่องน้ำฝนดื่มได้(มากกว่าเรื่องทำคาสิโน) มันจะเกิดอะไรตามมา?
อาจจะเป็นเรื่องของการจัดผังเมืองเสียใหม่ - เพื่อให้กรุงเทพมีบ้านที่มีหลังคามากขึ้น, การจัดการเรื่องของอากาศด้วยการจำกัดจำนวนรถแต่เพิ่มการปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น - เพื่อให้ฝนตกเป็นฤดูและได้น้ำฝนที่สะอาดพอที่จะใช้ดื่มกิน ฯลฯ เช่นนี้แล้วกรุงเทพก็อาจจะเต็มไปด้วยต้นไม้ อากาศที่เย็นสบายจนอาคารบ้านเรือนหอพักไม่ต้องติดแอร์, ฝนที่ตกต้องตามฤดูกาลทำให้ห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ เอาพื้นที่บางส่วนมาปลูกผัก ทำไร่ ทำนา ทำสวน, มองออกไปนอกกระจกของรถไฟลอยฟ้าจะเห็นนกกระจิบตัวเล็กๆ จู๋จี๋อี๋อ๋อกันอยู่บนต้นไม้ ฯลฯ
เขียนไปเขียนมาประเทศไทยคงจะไม่ได้เพี้ยนแล้วหรอกครับ แต่น่าจะเป็นผมเองมากกว่า
ท่านผู้อ่านเคยมีความรู้สึกเช่นนี้ขึ้นมาบ้างมั้ยครับ?
สำหรับผม ทั้งที่ไม่พยายามจะคิดอะไร แต่ระยะหลังมานี้ค่อนข้างจะถี่ทีเดียวกับการอดไม่ได้ที่จะเกิดความรู้สึกที่ว่า จนบางครั้งบางคราก็ให้นึกไปว่าตัวเองเป็นโรคประสาท ตัวเองเป็นคนที่มองโลกในแง่ร้าย หรือว่าเป็นคนที่เอาแต่ใจจนมากเกินไปหรือเปล่า
แต่เมื่อมองไปยังหลายๆ เรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมแล้ว บอกตรงๆ ครับว่ามันอดที่จะคิดขึ้นมาไม่ได้จริงๆ
แปลกมั้ยล่ะครับที่คนส่วนใหญ่ของบ้านเรามีความกล้าที่จะกรอกแบบสอบถามเพื่อแสดงให้เห็นว่า ตนพร้อมที่จะยอมรับ กราบกราน และนับถือคนทำชั่ว คนโกงได้อย่างไม่เคอะเขิน หากคนชั่ว คนโกงที่ว่าโยนแบ่งเศษเงิน ผลประโยชน์มาให้
แปลกมั้ยล่ะครับที่ตำรวจบ้านเราพากันแห่ไปอารักขาต้อนรับขับสู้ถึงขนาดที่บางคนแทบจะคลานเข้าไปกราบคนที่มีหมายจับในคดีความที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ของชาติให้กับธุรกิจของตนเองและพวกพร้อง
แปลกมั้ยล่ะครับ ที่เราได้นักการเมือง(ทุกคน)ที่บอกว่าตนเป็นคนดี อาสาเข้ามาทำงานเพื่อชาติ จะพัฒนาไอ้นั่นอย่างนี้ ไอ้นี่อย่างนั้นตั้งแต่เมื่อ 20 กว่าปีที่ผ่านมา แต่ทุกวันนี้อีสานก็ยังคงแล้งและคนก็ยังจนอยู่ ส่วนนักการเมืองก็ยังคงเป็นอาชีพที่ถูกมองว่ามีการโกง การคอร์รัปชั่นมากที่สุด
แปลกมั้ยล่ะครับที่เรามีรัฐบาลซึ่งแก้ปัญหาเรื่องที่ผิดกฏหมาย ด้วยการแก้กฏหมายทำเรื่องสีดำที่ว่าให้กลายเป็นสีขาวที่ถูกต้องตามกฏหมาย
แปลกมั้ยล่ะครับที่เรามีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุขที่แสดงออกมาให้เห็นถึงความห่วงใยต่อเรื่องตัวเลขรายได้ทางด้านการเงินมากกว่าดัชนีทางสุขภาพ ชีวิตและความรู้สึกของคน
เรามีกลุ่มคนบางกลุ่มที่ประกาศว่าตนเป็นชาวพุทธและปรารถนาอยากจะให้มีการบรรจุลงไปในรัฐธรรมนูญว่าศาสนานี้คือศาสนาประจำชาติ แต่แปลกมั้ยล่ะครับที่พอรัฐบาลบอกว่าประเทศเราน่าจะมีคาสิโน(ได้แล้ว) เรากลับไม่ได้ยินเสียงจากคนกลุ่มเดียวกันนี้ในการที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้าน หรือต่อต้านกันสักแอะ
ซ้ำร้ายไปยิ่งกว่านั้น พระบางรูปผู้เป็นนักบวชที่อยู่ในศีล ในธรรม กลับออกมาพูดในลักษณะทำนองที่เห็นด้วยกับกิจกรรมของรัฐฯ ที่มีส่วนส่งเสริมให้คนสะสมอบายมุข เพิ่มกิเลสเช่นนี้ ฯลฯ
...
จะว่าไปแล้วไม่ใช่เรื่องใหญ่ๆ อย่างที่ยกตัวอย่างมาหรอกครับที่ทำให้อดไม่ได้ที่จะรู้สึกว่าประเทศไทยของเราเพี้ยน เพราะเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ผมเองก็มีอารมณ์เข้าข่ายความรู้สึกที่ว่านี้ทั้งนั้น อาทิ หลังคาป้ายรถเมล์ที่ไม่ได้มีประโยชน์อะไรมากไปกว่าการถูกสร้างเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นหลังคาซึ่งไม่เคยมีการคำณวนเรื่องของการกันฝันกันแดด, มีถังทิ้งขยะแยกสีแยกประเภท (ทั่วไป, ขยะเปียก, ขยะสารพิษ) แต่ขยะที่อยู่ภายในไม่เคยถูกแยกประเภท, มีการจ้างผู้รับเหมาในราคาแพงๆ มาสร้างทางเดินเท้าเอาไว้เพื่อวางของขาย เช่นเดียวกับการสร้างถนน(บางเส้น)ที่มีเลนซ้าย - ขวาสุดไว้สำหรับจอดรถ ฯ
ย้อนอดีตไปยังวันแรกๆ ที่ผมเดินทางเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพ เชื่อมั้ยครับว่าอย่างหนึ่งที่ผมรู้สึกแปลกใจและรู้สึกว่าคนกรุงเพี้ยนจริงๆ (นอกจากเรื่องการใช้กระดาษทิชชู่เพราะที่บ้านผมใช้แต่ผ้าขี้ริ้ว) ก็คือเรื่องที่คนที่นี่ต้องเสียเงินซื้อน้ำดื่ม!
เหตุที่แปลกใจก็เพราะบ้านนอกที่ผมอยู่ เรารองน้ำฝนไว้ดื่ม
แต่ก่อนคุณธรรมชาติค่อนข้างจะเป็นคนที่ตรงต่อเวลาครับ ถึงเดือนน้ำหลาก น้ำก็มา ถึงเดือนแล้ง แล้งก็มา รอบปีในการใช้ชีวิตของชาวบ้านจึงค่อนข้างเป็นไปอย่างแน่นอนและอิงแอบอยู่กับธรรมชาติ (ผิดกับปัจจุบันที่คุณธรรมชาติรู้สึกว่าจะถูก(ห)ม(า)นุษย์อย่างเราๆ ทำลายเสียจนสมองเบลอ มาผิดเวลาเป็นประจำ หรือบางทีก็ไม่มาเลย) ซึ่งพอใกล้ช่วงที่ฝนจะมา สิ่งที่ผม แม่แก่ แม่ รวมถึงคนบ้านอื่นๆ ต้องทำก็คือ สำรวจรางน้ำ ล้างโอ่งแล้วเอาผ้าขาวบางปิดปากเอาไว้ แล้วก็รอให้ฝนตก
แต่กว่าจะรองได้ก็ต้องรอฝนที่ 3 ที่ 4 ก่อนนะครับ
"มึงบ้าเปล่าวะ แหกตาดูอากาศในกรุงเทพเสียก่อน โน่น แล้วมึงดูรอบๆ มันมีบ้านสักกี่หลังวะที่จะมีหลังคารองน้ำฝนได้ แล้วมึงลองดูสีหลังคาหลังนั้นถ้าลองมึงจะกล้ากินมั้ยวะ..." เสียงเพื่อนร่ายยาวจนผมดึงความคิดกลับมาจากบ้านนอกแทบไม่ทัน
เห็นด้วยและก็จริงด้วยครับที่ว่าสภาพบรรยากาศของเมืองหลวงแห่งนี้มันไม่เอื้ออำนวยเอาเสียเลยต่อการรองน้ำฝนดื่มกิน หากแต่เหนือสิ่งอื่นใดผมว่าคนส่วนใหญ่ไม่เคยคิดอยู่แล้วว่าเรื่องดื่มน้ำฝน(ฟรี)นี้มันจะเป็นประเด็นหรือสำคัญถึงขนาดที่จะต้องไปใส่ใจ ซึ่งก็คงจะคล้ายๆ กับการที่เราไม่เคยคิดว่าเรื่องการทิ้งขยะนอกจากจะต้องให้ลงถังแล้วยังต้องให้ถูกประเภทของถังด้วยเป็นสิ่งที่ควรจะต้องทำ
เราไม่เคยคิดกันว่าไฟเหลืองคือสัญลักษณ์ที่ให้รถชลอแต่กลับคิดว่ามันคือสัญญาณให้เร่งเครื่อง และเราก็ไม่เคยคิดว่าการทำของใหญ่ๆ เพื่อให้ได้ติดอันดับโลกนั้นไม่ใช่สิ่งที่เราควรจะภาคภูมิใจหากของใหญ่ที่ว่านั้นคุณภาพห่วยแตกหรือแม้กระทั่งไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามหน้าที่ของมันได้จริง
ละเลยหรือไม่ใส่ใจเรื่องทำนองนี้ก็ไม่เท่าไหร่หรอกครับ แต่การที่ทุกวันนี้ดูเหมือนว่าคนส่วนใหญ่ทั้งรุ่นเก่ารุ่นใหม่ต่างก็ตั้งเป้าหมายแห่งความสำเร็จในการมีชีวิตของตนเองอยู่กับเรื่องของอำนาจ ชื่อเสียง และจำนวนทรัพย์สินเป็นเรื่องสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดแม้กระทั่งวิธีการที่ให้ได้มา ตรงนี้สิน่าห่วงมากๆ
ผมมาลองนึกดูเล่นๆ นะครับว่าหากรัฐฯ หันมาสนใจเรื่องน้ำฝนดื่มได้(มากกว่าเรื่องทำคาสิโน) มันจะเกิดอะไรตามมา?
อาจจะเป็นเรื่องของการจัดผังเมืองเสียใหม่ - เพื่อให้กรุงเทพมีบ้านที่มีหลังคามากขึ้น, การจัดการเรื่องของอากาศด้วยการจำกัดจำนวนรถแต่เพิ่มการปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น - เพื่อให้ฝนตกเป็นฤดูและได้น้ำฝนที่สะอาดพอที่จะใช้ดื่มกิน ฯลฯ เช่นนี้แล้วกรุงเทพก็อาจจะเต็มไปด้วยต้นไม้ อากาศที่เย็นสบายจนอาคารบ้านเรือนหอพักไม่ต้องติดแอร์, ฝนที่ตกต้องตามฤดูกาลทำให้ห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ เอาพื้นที่บางส่วนมาปลูกผัก ทำไร่ ทำนา ทำสวน, มองออกไปนอกกระจกของรถไฟลอยฟ้าจะเห็นนกกระจิบตัวเล็กๆ จู๋จี๋อี๋อ๋อกันอยู่บนต้นไม้ ฯลฯ
เขียนไปเขียนมาประเทศไทยคงจะไม่ได้เพี้ยนแล้วหรอกครับ แต่น่าจะเป็นผมเองมากกว่า