ถ้านิยามความหมายของคำว่า “ปาฏิหาริย์” เราจะได้ความว่า “ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ หรือการกระทำในสิ่งที่ปกติทำไม่ได้”
สำหรับภาพยนตร์เรื่อง “Sully” ซึ่งตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า “ปาฏิหาริย์ที่แม่น้ำฮัดสัน” ได้สร้างมาจากเหตุการณ์จริงเมื่อราว 8 ปีก่อน เมื่อเครื่องบินของสายการบิน U.S. Airways เที่ยวบิน 1549 มีเหตุฉุกเฉินต้องลงจอดกลางแม่น้ำฮัดสัน แม่น้ำสายสำคัญในรัฐนิวยอร์ก แต่ทว่าผลจากเหตุการณ์สุดระทึกขวัญดังกล่าว กลับไม่มีผู้โดยสารหรือลูกเรือรายใด ได้รับอันตรายร้ายแรงถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิต
แน่นอนว่า วีรกรรมของกัปตันเชสลีย์ บี “ซัลลี” ซัลเลนเบอร์เกอร์ ผู้ขับเครื่องบิน ควรค่าแก่การใช้คำว่าปาฏิหาริย์ได้ไม่ผิดแต่อย่างใด เพราะดังที่เราเห็นตามข่าวโศกนาฏกรรมทางอากาศ ว่ามักไม่มีใครรอดชีวิตด้วยซ้ำ การลงจอดในแม่น้ำโดยปราศจากอันตราย จึงไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์ทั่วไปจะทำได้ง่ายๆ
อย่างไรก็ดี ภาพยนตร์จากเหตุการณ์จริงเรื่องนี้ สามารถหยิบโยงเข้ากับหลักพุทธศาสนาได้ ทั้งยังเป็นการค้นหาคำตอบว่า ปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นนั้น มีที่มาที่ไป และสัมพันธ์กับหลักพุทธศาสนาเช่นไร
เริ่มที่เนื้อหา เปิดเรื่องด้วยภาพความฝันของกัปตันเชสลีย์ หรือกัปตันซัลลี ที่ฝันถึงเหตุการณ์เครื่องบินตก ซึ่งมาจากความกังวลใจที่อยู่ในความคิด หลังจากเพิ่งผ่านเหตุการณ์ครั้งสำคัญในชีวิต
แม้สื่อมวลชนจะนำเสนอภาพของกัปตันซัลลีเป็นดั่งฮีโร่ ที่นำผู้โดยสารทุกคนปลอดภัยจากอุบัติเหตุ รวมทั้งผู้คนที่เห็นเขาจากรายงานข่าว ก็ล้วนแต่ชื่นชม ทว่ากัปตันซัลลี รวมทั้งนักบินผู้ช่วย “เจฟฟรี สไคลส์” ก็ยังไม่ได้กลับบ้าน เพราะถูกหน่วยงานด้านมาตรฐานการบิน กักตัวให้พักในโรงแรม เพื่อสอบสวสาเหตุที่เครื่องบินตกในแม่น้ำ
เหตุที่นักบินทั้งคู่โดนเรียกตัวสอบสวน ก็เพราะไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีนักสำหรับบริษัทสายการบิน ที่จู่ๆมีเหตุการณ์เครื่องตก รวมถึงบริษัทประกันภัยที่รอผลสืบสวนแบบละเอียดยิบ เพื่อหาหลักฐานจากเหตุที่เกิดขึ้น ว่ามาจากความบกพร่องของเครื่องยนต์กลไก หรือการตัดสินใจที่ผิดพลาดของมนุษย์
ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงนำเสนอแบบตัดสลับไปมา ระหว่างเหตุการณ์น่าตื่นเต้นที่เกิดขึ้น กับการทิ้งปมให้ผู้ชมสงสัยแกมตั้งคำถามไปพร้อมกับหน่วยงานสืบสวนว่า แท้จริงแล้ว ซัลลีตัดสินใจถูกต้องหรือเปล่า ที่เสี่ยงนำเครื่องลงจอดในแม่น้ำ แทนการจอดในสนามบินใกล้ๆ เป็นไปได้ไหมว่า เขาคือต้นเหตุความผิดพลาดเสียเอง
ย้อนกลับไปที่เหตุการณ์เช้าวันนั้น หลังจากเครื่อง U.S. 1549 ทะยานขึ้นฟ้าได้เพียง 3 นาที ก็ประสบเหตุไม่คาดฝัน คือ ฝูงนก (ห่านแคนาดา) จำนวนมาก บินชนเข้ากับเครื่อง เป็นเหตุให้เครื่องยนต์หลักขัดข้องทันที ซัลลีแจ้งไปยังหอบังคับการบิน บอกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น คำแนะนำที่เขาได้รับ คือ เมื่อพิจารณาจากระยะแล้ว มีสนามบินใกล้ๆ 2 แห่ง ให้เขากลับลำ หรือเปลี่ยนเส้นทางไปลงจอดฉุกเฉินได้
แต่ทว่ากัปตันผู้มากประสบการณ์ กลับตัดสินใจในสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด เขาไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ และยังลดระดับเพดานบิน แล้วแลนด์ดิ้งไปบนผิวน้ำกลางแม่น้ำฮัดสัน อันหนาวเหน็บของเดือนมกราคม
เมื่อเป็นเช่นนี้ หน่วยงานสืบสวน จึงรวบรวมข้อมูล0kdการสัมภาษณ์ซัลลี คล้ายพยายามจี้จุดผิดพลาดว่า หอบังคับการบินแจ้งให้เขาลงจอดในสนามบินใกล้ๆ 2 แห่ง แต่เหตุใดเขาจึงไม่ปฏิบัติตาม
เรื่องราวในภาพยนตร์ เล่าประเด็นสืบสวนสอบสวนไปจนถึงวันชี้ขาด ซึ่งหน่วยงานมาตรฐานการบิน จัดประชุมใหญ่ พร้อมนำเสนอภาพจำลองการบินในรูปแบบ Simulator เสมือนจริง โดยให้นักบินรายอื่นทดสอบสถานการณ์เดียวกันว่า สามารถนำเครื่องลงจอดในสนามบินใกล้ๆได้หรือไม่ ผลปรากฏว่า สามารถนำเครื่องลงจอดที่สนามบินได้ทั้งหมด
ก่อนที่ทุกคนจะมองว่า กัปตันซัลลีตัดสินใจผิด เขาได้ร้องขอให้ทำการทดสอบใหม่ โดยให้เหตุผลว่า การทดสอบจากเครื่อง Simulator ที่เป็นระบบคอมพิวเตอร์นั้น มีตัวแปรบางอย่างที่นำมาเทียบเคียงกับสถานการณ์จริงไม่ได้
เพราะการจำลองสถานการณ์นั้น เป็นการกำหนดให้นักบินที่ทำการทดสอบ ตัดสินใจกลับลำไปหาสนามบินได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุปะทะกับฝูงนก แตกต่างจากเหตุการณ์จริงในเช้าวันนั้น ที่ซัลลีพยายามติดต่อกับหอบังคับการ และใช้เวลาตรวจสอบสภาพเครื่องอีกครู่หนึ่ง ก่อนตัดสินใจแลนด์ดิ้งลงผืนน้ำ
การทดสอบใหม่จึงเกิดขึ้นตามคำร้องขอ โดยระบบตั้งค่าให้เวลาผ่านไปอีก 30 นาที แล้วจึงให้นักบินทดสอบในเครื่อง Simulator อีกครั้ง ซึ่งคราวนี้ผลปรากฏว่า ไม่มีนักบินรายใดสามารถบังคับเครื่องไปลงจอดที่สนามบินไหนได้ทัน และจากสถานการณ์จำลอง เมื่่อยืดเวลาออกไปอีก 30 วินาทีนั้น เครื่องบินจะชนสิ่งกีดขวางทั้งหมดระหว่างการลงจอด
จากนั้นไม่นาน ผลการตรวจสอบของฝ่ายวิศวกรรมการบิน ก็ถูกนำมาเปิดเผยและพบว่า สถานการณ์ในเช้าวันนั้น เป็นไปตามที่ซัลลีกล่าวไว้ทั้งหมด เพราะเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อน เสียหายอย่างหนัก ไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งนั่น คือบทสรุปที่ทำให้ทุกคนในห้องประชุมรับรู้ว่า กัปตันซัลลีคือฮีโร่ตัวจริง และเป็นผู้สร้างปาฏิหาริย์ในครั้งนี้ได้
ซัลลีกล่าวสรุปไว้อย่างน่าสนใจ เขาบอกว่า เหตุการณ์วิกฤตครั้งนี้ผ่านพ้นไปได้ ไม่ใช่มีเพียงเขาคนเดียว แต่ยังรวมถึงลูกเรือคนอื่นๆ ผู้โดยสาร ตลอดจนหน่วยงานกู้ภัยต่างๆ ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที จนทำให้เที่ยวบิน U.S. Airways 1549 ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์การบินของโลก
เรื่องราวต่างๆในภาพยนตร์เรื่อง Sully ได้สอดแทรกชีวิตของซัลลี ในวัยเด็ก ว่าเขาเริ่มฝึกขับเครื่องบินเกษตรกรรมมาก่อน จนหลงรักงานนี้ แล้วออกไปรับใช้ชาติ ด้วยการเป็นทหารอากาศ ก่อนจะผันตัวมารับใช้ผู้โดยสารในฐานะกัปตันเครื่องบินพาณิชย์
และเมื่อเกิดภาวะวิกฤตขึ้น เขาได้ใช้ “สติ” ตัดสินใจภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ โดยสิ่งที่เป็นปัจจัยให้เขาผ่านพ้นอุปสรรคนี้ได้ก็คือ “อิทธิบาท 4” ทางแห่งความสำเร็จ ได้แก่
ฉันทะ - ความพอใจที่จะทำสิ่งนั้น เช่น การขับเครื่องบินที่เขาหลงใหลมาตั้งแต่วัยเยาว์
วิริยะ - ความเพียร ขยันอดทนต่อสิ่งนั้น เช่น การพากเพียรด้วยความรักความพอใจ จนได้เป็นทหารอากาศ
จิตตะ - ความเอาใจจดจ่อในสิ่งที่ทำอยู่ เช่น การนำพาผู้โดยสารไปถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย
วิมังสา - การไตร่ตรอง ใคร่ครวญหาเหตุผล เช่น การนำเครื่องลงจอดบนแม่น้ำ ก็ผ่านการใคร่ครวญแล้วว่า หากทำตามที่หอบังคับการแนะนำ อาจเกิดอันตรายเสียหายมากกว่า
อาชีพการงานที่เกี่ยวข้องกับการบินของซัลลี ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่าประกอบไปด้วยอิทธิบาท 4 อันเป็นรากฐานความสำเร็จของหน้าที่การงาน ดังนั้น เมื่อฐานทั้งสี่มีครบถ้วน ยามที่เกิดสิ่งไม่คาดฝัน “สติ” หรือ “การระลึกได้ การควบคุมจิตไว้ในกิจ” จึงถูกนำมาผสมผสานร่วมกัน จนกระทั่งสามารถช่วยเหลือผู้คนกว่าร้อยชีวิตให้รอดพ้นอันตรายได้
ขณะเดียวกัน หลักคิดเรื่อง “สติ” ยังถ่ายทอดผ่านลูกเรือ และผู้โดยสาร เพราะแม้อยู่ในสถานการณ์ความเป็นความตาย แอร์โฮสเตสแต่ละคนไม่แสดงอาการตื่นตระหนก แต่กลับทำหน้าที่ของตนได้อย่างดีเยี่ยม และคลี่คลายสถานการณ์ให้ผู้โดยสารสามารถเอาตัวรอด และทยอยออกจากเครื่องได้อย่างปลอดภัย เช่นเดียวกับผู้โดยสารที่คุมสติอยู่ ไม่แตกตื่นโกลาหล จึงทำให้ผ่านพ้นอุปสรรคตรงหน้าไปได้โดยง่าย
ดังนั้น เมื่อพิจารณาในภาพรวมของเหตุการณ์ทุกอย่างแล้ว สิ่งที่ก่อให้เกิด “ปาฏิหาริย์” ในชีวิต ก็ล้วนเป็นหลักคำสอนที่อยู่ในพุทธศาสนานั่นเอง
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 192 ธันวาคม 2559 โดย ชยวรรศ มานะศิริ)
สำหรับภาพยนตร์เรื่อง “Sully” ซึ่งตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า “ปาฏิหาริย์ที่แม่น้ำฮัดสัน” ได้สร้างมาจากเหตุการณ์จริงเมื่อราว 8 ปีก่อน เมื่อเครื่องบินของสายการบิน U.S. Airways เที่ยวบิน 1549 มีเหตุฉุกเฉินต้องลงจอดกลางแม่น้ำฮัดสัน แม่น้ำสายสำคัญในรัฐนิวยอร์ก แต่ทว่าผลจากเหตุการณ์สุดระทึกขวัญดังกล่าว กลับไม่มีผู้โดยสารหรือลูกเรือรายใด ได้รับอันตรายร้ายแรงถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิต
แน่นอนว่า วีรกรรมของกัปตันเชสลีย์ บี “ซัลลี” ซัลเลนเบอร์เกอร์ ผู้ขับเครื่องบิน ควรค่าแก่การใช้คำว่าปาฏิหาริย์ได้ไม่ผิดแต่อย่างใด เพราะดังที่เราเห็นตามข่าวโศกนาฏกรรมทางอากาศ ว่ามักไม่มีใครรอดชีวิตด้วยซ้ำ การลงจอดในแม่น้ำโดยปราศจากอันตราย จึงไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์ทั่วไปจะทำได้ง่ายๆ
อย่างไรก็ดี ภาพยนตร์จากเหตุการณ์จริงเรื่องนี้ สามารถหยิบโยงเข้ากับหลักพุทธศาสนาได้ ทั้งยังเป็นการค้นหาคำตอบว่า ปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นนั้น มีที่มาที่ไป และสัมพันธ์กับหลักพุทธศาสนาเช่นไร
เริ่มที่เนื้อหา เปิดเรื่องด้วยภาพความฝันของกัปตันเชสลีย์ หรือกัปตันซัลลี ที่ฝันถึงเหตุการณ์เครื่องบินตก ซึ่งมาจากความกังวลใจที่อยู่ในความคิด หลังจากเพิ่งผ่านเหตุการณ์ครั้งสำคัญในชีวิต
แม้สื่อมวลชนจะนำเสนอภาพของกัปตันซัลลีเป็นดั่งฮีโร่ ที่นำผู้โดยสารทุกคนปลอดภัยจากอุบัติเหตุ รวมทั้งผู้คนที่เห็นเขาจากรายงานข่าว ก็ล้วนแต่ชื่นชม ทว่ากัปตันซัลลี รวมทั้งนักบินผู้ช่วย “เจฟฟรี สไคลส์” ก็ยังไม่ได้กลับบ้าน เพราะถูกหน่วยงานด้านมาตรฐานการบิน กักตัวให้พักในโรงแรม เพื่อสอบสวสาเหตุที่เครื่องบินตกในแม่น้ำ
เหตุที่นักบินทั้งคู่โดนเรียกตัวสอบสวน ก็เพราะไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีนักสำหรับบริษัทสายการบิน ที่จู่ๆมีเหตุการณ์เครื่องตก รวมถึงบริษัทประกันภัยที่รอผลสืบสวนแบบละเอียดยิบ เพื่อหาหลักฐานจากเหตุที่เกิดขึ้น ว่ามาจากความบกพร่องของเครื่องยนต์กลไก หรือการตัดสินใจที่ผิดพลาดของมนุษย์
ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงนำเสนอแบบตัดสลับไปมา ระหว่างเหตุการณ์น่าตื่นเต้นที่เกิดขึ้น กับการทิ้งปมให้ผู้ชมสงสัยแกมตั้งคำถามไปพร้อมกับหน่วยงานสืบสวนว่า แท้จริงแล้ว ซัลลีตัดสินใจถูกต้องหรือเปล่า ที่เสี่ยงนำเครื่องลงจอดในแม่น้ำ แทนการจอดในสนามบินใกล้ๆ เป็นไปได้ไหมว่า เขาคือต้นเหตุความผิดพลาดเสียเอง
ย้อนกลับไปที่เหตุการณ์เช้าวันนั้น หลังจากเครื่อง U.S. 1549 ทะยานขึ้นฟ้าได้เพียง 3 นาที ก็ประสบเหตุไม่คาดฝัน คือ ฝูงนก (ห่านแคนาดา) จำนวนมาก บินชนเข้ากับเครื่อง เป็นเหตุให้เครื่องยนต์หลักขัดข้องทันที ซัลลีแจ้งไปยังหอบังคับการบิน บอกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น คำแนะนำที่เขาได้รับ คือ เมื่อพิจารณาจากระยะแล้ว มีสนามบินใกล้ๆ 2 แห่ง ให้เขากลับลำ หรือเปลี่ยนเส้นทางไปลงจอดฉุกเฉินได้
แต่ทว่ากัปตันผู้มากประสบการณ์ กลับตัดสินใจในสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด เขาไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ และยังลดระดับเพดานบิน แล้วแลนด์ดิ้งไปบนผิวน้ำกลางแม่น้ำฮัดสัน อันหนาวเหน็บของเดือนมกราคม
เมื่อเป็นเช่นนี้ หน่วยงานสืบสวน จึงรวบรวมข้อมูล0kdการสัมภาษณ์ซัลลี คล้ายพยายามจี้จุดผิดพลาดว่า หอบังคับการบินแจ้งให้เขาลงจอดในสนามบินใกล้ๆ 2 แห่ง แต่เหตุใดเขาจึงไม่ปฏิบัติตาม
เรื่องราวในภาพยนตร์ เล่าประเด็นสืบสวนสอบสวนไปจนถึงวันชี้ขาด ซึ่งหน่วยงานมาตรฐานการบิน จัดประชุมใหญ่ พร้อมนำเสนอภาพจำลองการบินในรูปแบบ Simulator เสมือนจริง โดยให้นักบินรายอื่นทดสอบสถานการณ์เดียวกันว่า สามารถนำเครื่องลงจอดในสนามบินใกล้ๆได้หรือไม่ ผลปรากฏว่า สามารถนำเครื่องลงจอดที่สนามบินได้ทั้งหมด
ก่อนที่ทุกคนจะมองว่า กัปตันซัลลีตัดสินใจผิด เขาได้ร้องขอให้ทำการทดสอบใหม่ โดยให้เหตุผลว่า การทดสอบจากเครื่อง Simulator ที่เป็นระบบคอมพิวเตอร์นั้น มีตัวแปรบางอย่างที่นำมาเทียบเคียงกับสถานการณ์จริงไม่ได้
เพราะการจำลองสถานการณ์นั้น เป็นการกำหนดให้นักบินที่ทำการทดสอบ ตัดสินใจกลับลำไปหาสนามบินได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุปะทะกับฝูงนก แตกต่างจากเหตุการณ์จริงในเช้าวันนั้น ที่ซัลลีพยายามติดต่อกับหอบังคับการ และใช้เวลาตรวจสอบสภาพเครื่องอีกครู่หนึ่ง ก่อนตัดสินใจแลนด์ดิ้งลงผืนน้ำ
การทดสอบใหม่จึงเกิดขึ้นตามคำร้องขอ โดยระบบตั้งค่าให้เวลาผ่านไปอีก 30 นาที แล้วจึงให้นักบินทดสอบในเครื่อง Simulator อีกครั้ง ซึ่งคราวนี้ผลปรากฏว่า ไม่มีนักบินรายใดสามารถบังคับเครื่องไปลงจอดที่สนามบินไหนได้ทัน และจากสถานการณ์จำลอง เมื่่อยืดเวลาออกไปอีก 30 วินาทีนั้น เครื่องบินจะชนสิ่งกีดขวางทั้งหมดระหว่างการลงจอด
จากนั้นไม่นาน ผลการตรวจสอบของฝ่ายวิศวกรรมการบิน ก็ถูกนำมาเปิดเผยและพบว่า สถานการณ์ในเช้าวันนั้น เป็นไปตามที่ซัลลีกล่าวไว้ทั้งหมด เพราะเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อน เสียหายอย่างหนัก ไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งนั่น คือบทสรุปที่ทำให้ทุกคนในห้องประชุมรับรู้ว่า กัปตันซัลลีคือฮีโร่ตัวจริง และเป็นผู้สร้างปาฏิหาริย์ในครั้งนี้ได้
ซัลลีกล่าวสรุปไว้อย่างน่าสนใจ เขาบอกว่า เหตุการณ์วิกฤตครั้งนี้ผ่านพ้นไปได้ ไม่ใช่มีเพียงเขาคนเดียว แต่ยังรวมถึงลูกเรือคนอื่นๆ ผู้โดยสาร ตลอดจนหน่วยงานกู้ภัยต่างๆ ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที จนทำให้เที่ยวบิน U.S. Airways 1549 ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์การบินของโลก
เรื่องราวต่างๆในภาพยนตร์เรื่อง Sully ได้สอดแทรกชีวิตของซัลลี ในวัยเด็ก ว่าเขาเริ่มฝึกขับเครื่องบินเกษตรกรรมมาก่อน จนหลงรักงานนี้ แล้วออกไปรับใช้ชาติ ด้วยการเป็นทหารอากาศ ก่อนจะผันตัวมารับใช้ผู้โดยสารในฐานะกัปตันเครื่องบินพาณิชย์
และเมื่อเกิดภาวะวิกฤตขึ้น เขาได้ใช้ “สติ” ตัดสินใจภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ โดยสิ่งที่เป็นปัจจัยให้เขาผ่านพ้นอุปสรรคนี้ได้ก็คือ “อิทธิบาท 4” ทางแห่งความสำเร็จ ได้แก่
ฉันทะ - ความพอใจที่จะทำสิ่งนั้น เช่น การขับเครื่องบินที่เขาหลงใหลมาตั้งแต่วัยเยาว์
วิริยะ - ความเพียร ขยันอดทนต่อสิ่งนั้น เช่น การพากเพียรด้วยความรักความพอใจ จนได้เป็นทหารอากาศ
จิตตะ - ความเอาใจจดจ่อในสิ่งที่ทำอยู่ เช่น การนำพาผู้โดยสารไปถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย
วิมังสา - การไตร่ตรอง ใคร่ครวญหาเหตุผล เช่น การนำเครื่องลงจอดบนแม่น้ำ ก็ผ่านการใคร่ครวญแล้วว่า หากทำตามที่หอบังคับการแนะนำ อาจเกิดอันตรายเสียหายมากกว่า
อาชีพการงานที่เกี่ยวข้องกับการบินของซัลลี ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่าประกอบไปด้วยอิทธิบาท 4 อันเป็นรากฐานความสำเร็จของหน้าที่การงาน ดังนั้น เมื่อฐานทั้งสี่มีครบถ้วน ยามที่เกิดสิ่งไม่คาดฝัน “สติ” หรือ “การระลึกได้ การควบคุมจิตไว้ในกิจ” จึงถูกนำมาผสมผสานร่วมกัน จนกระทั่งสามารถช่วยเหลือผู้คนกว่าร้อยชีวิตให้รอดพ้นอันตรายได้
ขณะเดียวกัน หลักคิดเรื่อง “สติ” ยังถ่ายทอดผ่านลูกเรือ และผู้โดยสาร เพราะแม้อยู่ในสถานการณ์ความเป็นความตาย แอร์โฮสเตสแต่ละคนไม่แสดงอาการตื่นตระหนก แต่กลับทำหน้าที่ของตนได้อย่างดีเยี่ยม และคลี่คลายสถานการณ์ให้ผู้โดยสารสามารถเอาตัวรอด และทยอยออกจากเครื่องได้อย่างปลอดภัย เช่นเดียวกับผู้โดยสารที่คุมสติอยู่ ไม่แตกตื่นโกลาหล จึงทำให้ผ่านพ้นอุปสรรคตรงหน้าไปได้โดยง่าย
ดังนั้น เมื่อพิจารณาในภาพรวมของเหตุการณ์ทุกอย่างแล้ว สิ่งที่ก่อให้เกิด “ปาฏิหาริย์” ในชีวิต ก็ล้วนเป็นหลักคำสอนที่อยู่ในพุทธศาสนานั่นเอง
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 192 ธันวาคม 2559 โดย ชยวรรศ มานะศิริ)