“สิว” ถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับวัยหนุ่มสาว โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นที่มักจะประสบพบเจอกับเจ้าตัวปัญหานี้ ส่วนใหญ่แล้วอาการของสิวจะไม่รุนแรงนัก แต่สำหรับบางคนอาจจะรุนแรงและอักเสบมาก ที่สำคัญคือ บางคนเมื่อสิวหายไปแล้วก็ยังคงทิ้งรอย กลายเป็นแผลเป็น รอยดำ รอยบุ๋ม หรือรอยนูน ไว้ให้รำคาญใจ
• สาเหตุการเกิดสิว
การเกิดสิวมีอยู่หลายประการ โดยเฉพาะช่วงเข้าสู่วัยรุ่น เพราะเนื่องจากร่างกายมีการสร้างฮอร์โมนเพศมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนนี้จะไปกระตุ้นต่อมไขมันให้มีขนาดโต และผลิตไขมันได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ใบหน้าและหนังศีรษะเกิดความมันมาก อีกทั้งยังมีแบคทีเรียที่ชื่อว่า P.acne เพิ่มมากขึ้นในบริเวณรูขุมขน ในต่อมไขมันที่มีขนาดใหญ่ รวมทั้งยังกระตุ้นให้รูขุมขนบริเวณที่มีสิว สร้างเคราตินที่ผิดปกติ ทำให้เกิดการอุดตันที่บริเวณรูขุมขนนั้น และยังเป็นตัวกระตุ้นให้สิวอักเสบมากขึ้นได้
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆที่กระตุ้นให้สิวกำเริบ เช่น ความเครียด จะกระตุ้นให้ต่อมไขมันทำงานมากขึ้นการนวด ขัด ถู ใบหน้าแรงๆ การล้างหน้าด้วยสบู่บ่อยเกินไป การใช้ยาทาบางอย่าง เช่น สเตียรอยด์ เครื่องสำอางและสารเคมีบางอย่าง อาจจะกระตุ้นให้เกิดสิวได้ หรือกลุ่มคนที่มีอาชีพที่ต้องสัมผัสกับอากาศร้อน เหงื่อออกมาก หรือทำงานในโรงงานที่ต้องสัมผัสกับน้ำมัน ก็ล้วนทำให้เป็นสิวได้มากขึ้นเช่นกัน
การรักษาสิวจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะถือว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อย ซึ่งการเป็นสิวก็ต้องแยกก่อนว่าเกิดจากอะไร เพราะบางครั้งสิวไม่ได้เกิดแค่เฉพาะฮอร์โมนอย่างเดียว อาจเกิดจากการสะสมจากการล้างเครื่องสำอางออกไม่หมด เกิดจากการใช้ยาสเตียรอยด์ต่างๆ และเกิดจากเชื้อรา
โดยการวินิจฉัยโรค จะแยกโรคจากรูขุมขนอักเสบ และที่เกิดจากสเตียรอยด์ เพราะจะมีลักษณะเป็นตุ่มแดงๆ บริเวณรูขุมขน และจะเกิดหลังจากการใช้สารสเตียรอยด์ประมาณ 2 สัปดาห์
• อาการ
ลักษณะอาการทั่วไปของคนที่เป็นสิว มีดังนี้
- สิวอุดตัน มีลักษณะเป็นตุ่มนูน ซึ่งเป็นลักษณะของสิวหัวปิด แต่หากพบเป็นจุดดำที่ยอดของตุ่ม ก็จะเป็นลักษณะของสิวหัวเปิด ซึ่งปกติจะพบคละๆกัน
- สิวอักเสบ มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีแดง ตุ่มหนอง หรืออักเสบมากคล้ายถุงซีสต์ และมักจะพบบริเวณที่พบสิวมาก คือ ใบหน้า หน้าอก และหลัง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีต่อมไขมันอยู่เป็นจำนวนมาก
• การดูแลรักษา
การดูแลรักษาไม่ให้เกิดสิวนั้น ส่วนใหญ่จะใช้ยาทา และยารับประทาน
ยาทาที่นิยมใช้มีอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
- กลุ่มยาปฏิชีวนะ เช่น อิริโทมัยซินนามิก (Erythromycin), คลินดามัยซิน (Clindamycin) จะเป็นกลุ่มที่ช่วยลดปริมาณของ P.acnc ที่รูขุมขน และยังช่วยลดการอักเสบ
- กลุ่มเบนซอยล์เปอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) ก็ช่วยลดปริมาณของ P.acne ที่รูขุมขน และช่วยลดการอักเสบ
- กลุ่มยาทากลุ่มกรดวิตามินเอ จะช่วยละลายหัวสิว ใช้ได้ดีในสิวชนิดไม่อักเสบ
ยาแต่ละชนิดมีหลายความเข้มข้น ความเข้มข้นที่สูงจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย หากทายาต่อเนื่อง 2-4 สัปดาห์อาการยังไม่ดีขึ้น ควรใช้ยารับประทานร่วมด้วย
สำหรับยารับประทานจะเป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่ม เตตตร้าไซคลิน (Tetracycline) หรือดอกซีไซคลิน (Doxycycline) หรือถ้าเป็นสิวเรื้อรัง รุนแรง ควรใช้ยาในกลุ่มกรดไวตามินเอ (13-Cis Retinoic Acid) ซึ่งควรจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง เนื่องจากยาชนิดนี้จะมีผลต่อการตั้งครรภ์ การทำงานของตับและไขมันในเลือด โดยสิวที่มีอาการไม่รุนแรงจะสามารถหายได้เอง หรือเมื่อรักษาต่อเนื่อง อาการจะดีขึ้นเรื่อยๆ ในระยะเวลาเพียง 2-4 สัปดาห์ หากเป็นสิวที่รุนแรงมักใช้เวลาหลายเดือน อาการอักเสบจึงจะทุเลาลง
นอกจากการรักษาด้วยวิธีการรับประทานยา และยาทาแล้ว การใช้แสงเลเซอร์ การฉายแสงสีฟ้า และแสงสีแดง จะช่วยเสริมผลการรักษาสิวให้หายเร็วขึ้นด้วย
การรักษาสิวไม่ใช่แค่เฉพาะรักษาบนใบหน้าเท่านั้น แต่ต้องดูแลทั้งร่างกาย โดยเฉพาะเรื่องฮอร์โมน ซึ่งในต่างประเทศมีการวิเคราะห์ว่า สิวที่เกิดจากฮอร์โมนจะมีความแตกต่างจากสิววัยรุ่น โดยสิวจะมีการกระจายขึ้นรอบคาง รอบปาก และเกิดจากเครื่องสำอาง อาทิ คลีนซิ่ง ซันครีม ไนท์ครีม เซรั่ม มากกว่าพวกที่ทำให้เกิดสิวบนใบหน้า
ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่กระตุ้นให้เกิดสิวด้วย ไม่ว่าจะเป็นการล้างและถูหน้าแรงๆ หรือนวดหน้า รวมถึงการบีบและแกะสิว ภาวะความเครียด และการนอนดึก ซึ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวทั้งสิ้น
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 189 กันยายน 2559 โดย รศ.นพ.นภดล นพคุณ นายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย)
• สาเหตุการเกิดสิว
การเกิดสิวมีอยู่หลายประการ โดยเฉพาะช่วงเข้าสู่วัยรุ่น เพราะเนื่องจากร่างกายมีการสร้างฮอร์โมนเพศมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนนี้จะไปกระตุ้นต่อมไขมันให้มีขนาดโต และผลิตไขมันได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ใบหน้าและหนังศีรษะเกิดความมันมาก อีกทั้งยังมีแบคทีเรียที่ชื่อว่า P.acne เพิ่มมากขึ้นในบริเวณรูขุมขน ในต่อมไขมันที่มีขนาดใหญ่ รวมทั้งยังกระตุ้นให้รูขุมขนบริเวณที่มีสิว สร้างเคราตินที่ผิดปกติ ทำให้เกิดการอุดตันที่บริเวณรูขุมขนนั้น และยังเป็นตัวกระตุ้นให้สิวอักเสบมากขึ้นได้
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆที่กระตุ้นให้สิวกำเริบ เช่น ความเครียด จะกระตุ้นให้ต่อมไขมันทำงานมากขึ้นการนวด ขัด ถู ใบหน้าแรงๆ การล้างหน้าด้วยสบู่บ่อยเกินไป การใช้ยาทาบางอย่าง เช่น สเตียรอยด์ เครื่องสำอางและสารเคมีบางอย่าง อาจจะกระตุ้นให้เกิดสิวได้ หรือกลุ่มคนที่มีอาชีพที่ต้องสัมผัสกับอากาศร้อน เหงื่อออกมาก หรือทำงานในโรงงานที่ต้องสัมผัสกับน้ำมัน ก็ล้วนทำให้เป็นสิวได้มากขึ้นเช่นกัน
การรักษาสิวจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะถือว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อย ซึ่งการเป็นสิวก็ต้องแยกก่อนว่าเกิดจากอะไร เพราะบางครั้งสิวไม่ได้เกิดแค่เฉพาะฮอร์โมนอย่างเดียว อาจเกิดจากการสะสมจากการล้างเครื่องสำอางออกไม่หมด เกิดจากการใช้ยาสเตียรอยด์ต่างๆ และเกิดจากเชื้อรา
โดยการวินิจฉัยโรค จะแยกโรคจากรูขุมขนอักเสบ และที่เกิดจากสเตียรอยด์ เพราะจะมีลักษณะเป็นตุ่มแดงๆ บริเวณรูขุมขน และจะเกิดหลังจากการใช้สารสเตียรอยด์ประมาณ 2 สัปดาห์
• อาการ
ลักษณะอาการทั่วไปของคนที่เป็นสิว มีดังนี้
- สิวอุดตัน มีลักษณะเป็นตุ่มนูน ซึ่งเป็นลักษณะของสิวหัวปิด แต่หากพบเป็นจุดดำที่ยอดของตุ่ม ก็จะเป็นลักษณะของสิวหัวเปิด ซึ่งปกติจะพบคละๆกัน
- สิวอักเสบ มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีแดง ตุ่มหนอง หรืออักเสบมากคล้ายถุงซีสต์ และมักจะพบบริเวณที่พบสิวมาก คือ ใบหน้า หน้าอก และหลัง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีต่อมไขมันอยู่เป็นจำนวนมาก
• การดูแลรักษา
การดูแลรักษาไม่ให้เกิดสิวนั้น ส่วนใหญ่จะใช้ยาทา และยารับประทาน
ยาทาที่นิยมใช้มีอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
- กลุ่มยาปฏิชีวนะ เช่น อิริโทมัยซินนามิก (Erythromycin), คลินดามัยซิน (Clindamycin) จะเป็นกลุ่มที่ช่วยลดปริมาณของ P.acnc ที่รูขุมขน และยังช่วยลดการอักเสบ
- กลุ่มเบนซอยล์เปอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) ก็ช่วยลดปริมาณของ P.acne ที่รูขุมขน และช่วยลดการอักเสบ
- กลุ่มยาทากลุ่มกรดวิตามินเอ จะช่วยละลายหัวสิว ใช้ได้ดีในสิวชนิดไม่อักเสบ
ยาแต่ละชนิดมีหลายความเข้มข้น ความเข้มข้นที่สูงจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย หากทายาต่อเนื่อง 2-4 สัปดาห์อาการยังไม่ดีขึ้น ควรใช้ยารับประทานร่วมด้วย
สำหรับยารับประทานจะเป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่ม เตตตร้าไซคลิน (Tetracycline) หรือดอกซีไซคลิน (Doxycycline) หรือถ้าเป็นสิวเรื้อรัง รุนแรง ควรใช้ยาในกลุ่มกรดไวตามินเอ (13-Cis Retinoic Acid) ซึ่งควรจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง เนื่องจากยาชนิดนี้จะมีผลต่อการตั้งครรภ์ การทำงานของตับและไขมันในเลือด โดยสิวที่มีอาการไม่รุนแรงจะสามารถหายได้เอง หรือเมื่อรักษาต่อเนื่อง อาการจะดีขึ้นเรื่อยๆ ในระยะเวลาเพียง 2-4 สัปดาห์ หากเป็นสิวที่รุนแรงมักใช้เวลาหลายเดือน อาการอักเสบจึงจะทุเลาลง
นอกจากการรักษาด้วยวิธีการรับประทานยา และยาทาแล้ว การใช้แสงเลเซอร์ การฉายแสงสีฟ้า และแสงสีแดง จะช่วยเสริมผลการรักษาสิวให้หายเร็วขึ้นด้วย
การรักษาสิวไม่ใช่แค่เฉพาะรักษาบนใบหน้าเท่านั้น แต่ต้องดูแลทั้งร่างกาย โดยเฉพาะเรื่องฮอร์โมน ซึ่งในต่างประเทศมีการวิเคราะห์ว่า สิวที่เกิดจากฮอร์โมนจะมีความแตกต่างจากสิววัยรุ่น โดยสิวจะมีการกระจายขึ้นรอบคาง รอบปาก และเกิดจากเครื่องสำอาง อาทิ คลีนซิ่ง ซันครีม ไนท์ครีม เซรั่ม มากกว่าพวกที่ทำให้เกิดสิวบนใบหน้า
ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่กระตุ้นให้เกิดสิวด้วย ไม่ว่าจะเป็นการล้างและถูหน้าแรงๆ หรือนวดหน้า รวมถึงการบีบและแกะสิว ภาวะความเครียด และการนอนดึก ซึ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวทั้งสิ้น
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 189 กันยายน 2559 โดย รศ.นพ.นภดล นพคุณ นายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย)