• นักวิทย์ฯบุกวัดที่หิมาลัย พิสูจน์ชัด “ทำสมาธิ” ส่งผลดีต่อสมอง
แคนาดา : เว็บไซต์ medicalxpress.com รายงานว่า เป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว ที่บรรดานักวิทยาศาสตร์ได้นำพระสงฆ์และบุคคลทั่วไปเข้าไปในห้องแล็บ เพื่อตรวจวัดคลื่นสมองขณะกำลังทำสมาธิ แต่นี่เป็นครั้งแรกที่พวกเขาได้เดินทางไปยังแถบเทือกเขาหิมาลัยในประเทศเนปาล เพื่อตรวจวัดคลื่นสมองของลามะทิเบตที่กำลังทำสมาธิภายในวัด
งานวิจัยดังกล่าวทำขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2016 เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยวิกตอเรีย (UVic) และมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย วิทยาเขตโอคานากัน (UBCO) นำโดยโอลาฟคริโกลสัน นักประสาทวิทยาแห่ง UVic และกอร์ดอน บินสเต็ด คณบดีคณะพัฒนาสุขภาพและสังคมแห่ง UBCO
เป็นที่ทราบกันดีว่า การทำสมาธิหรือการเจริญสติช่วยให้เราเข้าถึงสภาวะสมองที่ก่อให้เกิดความสุข รู้จักไตร่ตรองและมีสมาธิ การทำสมาธิระดับลึกมีความสัมพันธ์กับความแตกต่างของคลื่นไฟฟ้าที่เซลล์ประสาทส่งออกมา แต่ยังไม่ทราบว่ามันทำงานอย่างไร
ทีมวิจัยจึงได้นำการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ที่ออกแบบเพื่องานวิจัยครั้งนี้ มาคาดศีรษะลามะ 27 รูป ซึ่งพำนักอยู่ภายในวัดนัมจิและวัดเต็งโบจิ ทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นขณะทำสมาธิ
ผลลัพธ์ที่ได้ สอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้า โดยเบื้องต้นพบว่ามีคลื่นไฟฟ้าในสมองเพิ่มมากขึ้นขณะทำสมาธิ ซึ่งตรงข้ามกับความคิดเดิมที่ว่ามันจะหยุดพัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคลื่นสมองระดับอัลฟา (เกี่ยวข้องกับการผ่อนคลาย) คลื่นสมองระดับเบต้า (เกี่ยวข้องกับสมาธิ) และคลื่นสมองระดับแกมม่า (เกี่ยวข้องกับการประสานกลมกลืน) และสิ่งที่ค้นพบใหม่คือ ปฏิกิริยาที่เซลล์ประสาทมีต่อสิ่งเร้าที่มองเห็นได้ มีเพิ่มขึ้นหลังการทำสมาธิ
บินสเต็ด กล่าวว่า “ผลวิจัยเบื้องต้นบอกเราว่า มีความเป็นไปได้ที่เทคนิคการฝึกสมอง เช่น การทำสมาธิ อาจส่งผลกระทบยาวนานต่อการทำงานของสมอง ซึ่งผลงานวิจัยนี้และในอนาคต อาจนำไปใช้ได้ในทุกๆเรื่อง จากกลยุทธ์ที่ครูใช้สอน ไปจนถึงการพัฒนาแอปฯทำสมาธิบนสมาร์ทโฟน”
ขณะที่คริโกลสันกล่าวว่า “เราแทบจะไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับสมอง เรารู้เพียงเล็กน้อยในเรื่องการเรียนรู้และการตัดสินใจของคนเรา งานวิจัยชิ้นนี้ออกแบบมาเพื่อสร้างภาพการทำงานของสมองในอนาคต ซึ่งปัจจุบันยังมีหลายส่วนที่ขาดหายไป”
• สิงคโปร์จัดฉายเทศกาลหนังพุทธ “THIS”
สิงคโปร์ : เว็บไซต์ The Buddhist Channel รายงานว่า เทศกาลภาพยนตร์พุทธศาสนา THIS Buddhist Film Festival (THIS) ครั้งที่ 4 ประจำปี 2016 จะเริ่มเปิดฉายที่โรงภาพยนตร์ ชอว์เธียเตอร์ส ลิโด ประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2016 เป็นต้นไป
โดยมีภาพยนตร์ที่กระตุ้นแนวความคิด 17 เรื่อง จาก 8 ประเทศ อาทิ จีน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ไทย และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมในเทศกาล
ทั้งนี้ ภาพยนตร์ที่เป็นไฮไลท์ของเทศกาลนี้คือ “Samsara” หรือ “วัฏสงสาร” ซึ่งเป็นภาพยนตร์สารคดีระบบฟิลม์ 70 มม. ที่ไม่มีบทพูดหรือคำบรรยาย โดยผู้สร้างคือ รอน ฟริคเก และมาร์ค มากอดสัน
เนื้อหาเป็นการสำรวจความลี้ลับของโลก จากเรื่องปกติธรรมดาไปจนถึงเรื่องมหัศจรรย์ มองเข้าไปยังเรื่องล้ำลึกด้านจิตวิญญาณ และประสบการณ์ของบุคคล รวมทั้งชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ แสดงให้เห็นว่าวงจรชีวิตของคนเรา สะท้อนถึงการหมุนเวียนเปลี่ยนไปของโลก
เทศกาลภาพยนตร์พุทธศาสนา “THIS” จัดขึ้นทุกๆ 2 ปี โดยบริษัท Dharma in Action (DIA) ในสิงคโปร์มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างความตระหนักรู้ถึงธรรมะที่ไม่มีวันตายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และนิกายต่างๆในพุทธศาสนา ผ่านภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษ
• ม.ชิคาโกใช้เครื่องสแกน 3 มิติ บูรณะหมู่ถ้ำวัดเทียนหลงซาน
จีน : เว็บไซต์ Buddhistdoor รายงานว่า ศูนย์ศิลปะเอเชียตะวันออก (CAEA) ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา ได้นำระบบดิจิตอลมาใช้ในการบูรณะพุทธศิลป์ภายในหมู่ถ้ำวัดเทียนหลงซาน ประเทศจีน อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบูรณะหมู่ถ้ำวัดเทียนหลงซานที่ริเริ่มในค.ศ. 2013
โดยในค.ศ. 2014 CAEA ได้ใช้เครื่องสแกน 3 มิติ สแกนรูปประติมากรรมและภาพวาดต่างๆภายในถ้ำ ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2016 มีการสร้างหุ่นจำลอง 3 มิติ ที่มีความคมชัดสูง จากชิ้นส่วนประติมากรรมราว 100 ชิ้น ที่เก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์และของสะสมกว่า 20 แห่งทั่วโลก
และในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 2016 CAEA จะทำงานร่วมกับโครงการของจีน เพื่อสแกนภายในหมู่ถ้ำ ซึ่งนอกเหนือจากหุ่นจำลอง 3 มิติแล้ว นักท่องเที่ยวสามารถดูภาพพุทธศิลป์ที่อยู่ภายในหมู่ถ้ำย้อนหลังไปในยุค ค.ศ. 1920 พร้อมๆกับภาพร่วมสมัยได้ โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ของ CAEA ซึ่งโครงการมีจุดมุ่งหมายในการเก็บบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของรูปประติมากรรมต่างๆ เพื่อดูแลรักษาพุทธศิลป์ภายในหมู่ถ้ำวัดเทียนหลงซานได้ดียิ่งขึ้น
อนึ่ง หมู่ถ้ำวัดเทียนหลงซาน ตั้งอยู่ในเมืองไท่หยวน มณฑลส่านซี เริ่มก่อสร้างในยุคราชวงค์ฉีเหนือ (ค.ศ. 550-577) ไปจนถึงราชวงค์ถัง (ค.ศ. 618-907) ประกอบด้วยถ้ำ 21 แห่ง ตั้งเรียงรายไปตามภูเขา 2 แห่ง ภายในถ้ำมีประติมากรรมพุทธศิลป์สำคัญๆหลายชิ้น อาทิ พระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ และเทพเจ้า
ในยุค ค.ศ. 1920 หมู่ถ้ำวัดเทียนหลงซานได้รับความสนใจจากนานาชาติ เมื่อมีการตีพิมพ์ภาพประติมากรรมล้ำค่าที่อยู่ภายในถ้ำเป็นครั้งแรก จึงมีการตัดภาพจากผนังถ้ำ และส่วนต่างๆของพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ นำไปขายในตลาดค้าศิลปะนานาชาติ
ด้วยทีมบูรณะที่มีฝีมือและเทคโนโลยีอันก้าวหน้า CAEA หวังว่าจะสามารถสร้างพุทธศิลป์อันล้ำค่าซึ่งครั้งหนึ่งเคยหายสาบสูญไป ขึ้นมาใหม่ได้
• วัดญี่ปุ่นเปิดวัดให้จับ “โปเกมอน” แถมชารต์มือถือฟรี
ญี่ปุ่น : เว็บไซต์ rocketnews24.com รายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ วัดไคเกนจิ เมืองฟุกุชิยะมะ จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ได้ประกาศเปิดวัดบางส่วนเป็นยิมใน “โปเกมอน โก” ซึ่งเป็นเกมบนมือถือที่ทั่วโลกกำลังคลั่งไคล้สุดขีด
โดยเจ้าหน้าที่วัดได้โพสต์ข้อความลงในเครือข่ายสังคมออนไลน์ว่า ยินดีต้อนรับเทรนเนอร์เกมโปเกมอน โก เลเวล 5 ให้มาตามหาและจับโปเกมอนภายในบริเวณวัดไคเกนจิ ซึ่งมีเนื้อที่กว้างขวาง พร้อมห้องน้ำและน้ำดื่มไว้บริการ รวมทั้งให้ชาร์ตแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนฟรี โดยติดตั้งไว้ตรงบันไดทางขึ้นวิหาร เพื่อมิให้รบกวนผู้ที่เข้ามาไหว้พระเป็นประจำ
ตั้งแต่ลงประกาศดังกล่าว ทางวัดมียอดไลค์และส่งต่อข้อความหลายพันครั้ง พร้อมข้อความแสดงความคิดเห็นต่างๆ เช่น “วิเศษจริงๆ” “ที่นี่มีธูปจริงๆเหมือนที่อยู่ในเกม” “การสนับสนุนเช่นนี้ แสดงถึงความเมตตาอย่างลึกซึ้ง”
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่วัดไคเกนจิเผยว่า ทางวัดถูกกำหนดให้เป็นสถานที่พักพิงแก่ชาวบ้านยามเกิดภัยพิบัติ ดังนั้น การซ้อมใช้สถานที่และไฟฟ้าจึงเป็นเรื่องที่ดี มันเป็นตัวอย่างอันงดงามของคนในชุมชน ที่มารวมตัวช่วยเหลือกันและกัน เพื่อไปให้ถึงจุดหมาย
• วัดโบราณญี่ปุ่น กลายเป็น “วัดนมสาว” มีเต้านมเต็มวัด
ญี่ปุ่น : เว็บไซต์ rocketnews24.com รายงานว่า วัดเจ้าแม่กวนอิมคะวะซะกิ ตั้งอยู่ในเมืองคะวะซะกิ จังหวัดยะมะงุชิ เป็นวัดที่คนนิยมเข้ามาสวดมนต์ขอพรให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่น สายตาไม่ดี แขนขาอัมพาต
อย่างไรก็ตาม วัดนี้ถูกเรียกขานอีกชื่อว่า “วัดนมสาว” เพราะเมื่อเดินขึ้นบันไดไปยังวิหาร จะเห็นพื้นที่ด้านข้างที่ใช้แขวนเอะมะ ซึ่งเป็นแผ่นไม้เล็กๆให้ผู้มาสักการะใช้เขียนคำขอพรและคำอธิษฐาน และนำไปแขวนไว้ ซึ่งปกติไม่มีในวัดพุทธ แต่พบเห็นได้ทั่วไปในศาลเจ้าชินโต
แต่ที่แปลกกว่านั้นก็คือ รูปลักษณ์ของเอะมะในวัดเจ้าแม่กวนอิม เป็นกล่องสี่เหลี่ยม ภายในบรรจุเต้านม ซึ่งแตกต่างจากเอะมะดั้งเดิมที่เป็นแผ่นไม้รูปสี่เหลี่ยมคางหมู
สาเหตุที่วัดเจ้าแม่กวนอิม คะวะซะกิ ทำเอะมะเป็นรูปเต้านมผู้หญิง เนื่องจากวัดแห่งนี้สร้างเมื่อ ค.ศ. 1185 ในยุคที่การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อทั้งแม่และลูกมากกว่าในปัจจุบัน ดังนั้น บรรดาหญิงตั้งครรภ์ในยุคนั้น จึงพากันมาที่วัดเพื่อสวดขอพรจากเจ้าแม่กวนอิม เพื่อให้คลอดง่าย ทารกแข็งแรงสมบูรณ์ เลี้ยงง่าย และให้มีน้ำนมจากเต้ามากพอที่จะเลี้ยงดูทารก
ด้วยเหตุผลข้อสุดท้ายนี่เอง เมื่อเวลาผ่านไป วัดเจ้าแม่กวนอิม คะวะซะกิ ก็ค่อยๆกลายเป็นสัญญลักษณ์ของทรวงอกผู้หญิง จึงทำให้มีอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดนมสาว” จวบจนปัจจุบัน
• ชาวไร่จีนหัวใสแกะสลักคำมงคลบนแตงโม ทำยอดขายพุ่ง
จีน : เว็บไซต์ scmp.com รายงานอ้างอิงข่าวในเว็บไซต์ Dahe.cn ว่า ชาวไร่จีนรายหนึ่ง ขายแตงโมน้ำหนัก 3,000 กก.ได้หมดภายใน 11 วัน ด้วยการแกะสลักคำมงคลลงบนเปลือกแตงโม
กู่ ซินเหลียง ชายวัย 56 ปี เจ้าของไร่แตง ในเมืองปิงดิงชาน มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน ค้นพบว่า ตัวอักษรที่เขาแกะสลักเล่นๆบนเปลือกแตงโม สามารถเพิ่มยอดขายได้เป็นประวัติการณ์ โดยแตงโม 2,000 กก. ซึ่งเขาเก็บเกี่ยวในเดือนกรกฎาคม 2016 และแกะสลักคำมงคล รวมถึงแคนตาลูป 1,000 กก.ที่ไม่ได้แกะสลัก ขายได้หมดในเวลาไม่ถึง 2 อาทิตย์
เจ้าของไร่แตงหัวใสเผยว่า ตามปกติจะขายได้เพียงวันละไม่กี่ลูก เนื่องจากแผงของเขาตั้งอยู่ห่างจากเส้นทางด่วน มีอยู่วันหนึ่ง เขาลองแกะสลักคำมงคลบนเปลือกแตงโม 2 ลูก ปรากฏว่าทั้ง 2 ลูกขายได้ภายใน 1 ชม. ลูกค้าคนแรกที่ซื้อไป บอกว่าตั้งใจซื้อเป็นของขวัญ เพื่อมอบให้แม่และยาย
ทั้งนี้ คำมงคลต่างๆที่กู่แกะสลักด้วยอักษรจีน อาทิ “ฝู” (ร่ำรวย มั่งคั่ง) และ “โซ่ว” (อายุยืน) นั้น ตอนแรกใช้เวลาเกือบครึ่งชม. แต่เมื่อขายดีขึ้น เขาใช้เวลาไม่ถึง 10 นาทีในการแกะสลักแตงโมแต่ละลูก โดยใช้เล็บตัวเองแกะสลัก ซึ่งควบคุมได้ง่ายกว่าใช้เครื่องมืออื่นๆที่จะทำให้เนื้อแตงโมเสียหาย
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 189 กันยายน 2559 โดย เภตรา)
แคนาดา : เว็บไซต์ medicalxpress.com รายงานว่า เป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว ที่บรรดานักวิทยาศาสตร์ได้นำพระสงฆ์และบุคคลทั่วไปเข้าไปในห้องแล็บ เพื่อตรวจวัดคลื่นสมองขณะกำลังทำสมาธิ แต่นี่เป็นครั้งแรกที่พวกเขาได้เดินทางไปยังแถบเทือกเขาหิมาลัยในประเทศเนปาล เพื่อตรวจวัดคลื่นสมองของลามะทิเบตที่กำลังทำสมาธิภายในวัด
งานวิจัยดังกล่าวทำขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2016 เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยวิกตอเรีย (UVic) และมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย วิทยาเขตโอคานากัน (UBCO) นำโดยโอลาฟคริโกลสัน นักประสาทวิทยาแห่ง UVic และกอร์ดอน บินสเต็ด คณบดีคณะพัฒนาสุขภาพและสังคมแห่ง UBCO
เป็นที่ทราบกันดีว่า การทำสมาธิหรือการเจริญสติช่วยให้เราเข้าถึงสภาวะสมองที่ก่อให้เกิดความสุข รู้จักไตร่ตรองและมีสมาธิ การทำสมาธิระดับลึกมีความสัมพันธ์กับความแตกต่างของคลื่นไฟฟ้าที่เซลล์ประสาทส่งออกมา แต่ยังไม่ทราบว่ามันทำงานอย่างไร
ทีมวิจัยจึงได้นำการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ที่ออกแบบเพื่องานวิจัยครั้งนี้ มาคาดศีรษะลามะ 27 รูป ซึ่งพำนักอยู่ภายในวัดนัมจิและวัดเต็งโบจิ ทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นขณะทำสมาธิ
ผลลัพธ์ที่ได้ สอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้า โดยเบื้องต้นพบว่ามีคลื่นไฟฟ้าในสมองเพิ่มมากขึ้นขณะทำสมาธิ ซึ่งตรงข้ามกับความคิดเดิมที่ว่ามันจะหยุดพัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคลื่นสมองระดับอัลฟา (เกี่ยวข้องกับการผ่อนคลาย) คลื่นสมองระดับเบต้า (เกี่ยวข้องกับสมาธิ) และคลื่นสมองระดับแกมม่า (เกี่ยวข้องกับการประสานกลมกลืน) และสิ่งที่ค้นพบใหม่คือ ปฏิกิริยาที่เซลล์ประสาทมีต่อสิ่งเร้าที่มองเห็นได้ มีเพิ่มขึ้นหลังการทำสมาธิ
บินสเต็ด กล่าวว่า “ผลวิจัยเบื้องต้นบอกเราว่า มีความเป็นไปได้ที่เทคนิคการฝึกสมอง เช่น การทำสมาธิ อาจส่งผลกระทบยาวนานต่อการทำงานของสมอง ซึ่งผลงานวิจัยนี้และในอนาคต อาจนำไปใช้ได้ในทุกๆเรื่อง จากกลยุทธ์ที่ครูใช้สอน ไปจนถึงการพัฒนาแอปฯทำสมาธิบนสมาร์ทโฟน”
ขณะที่คริโกลสันกล่าวว่า “เราแทบจะไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับสมอง เรารู้เพียงเล็กน้อยในเรื่องการเรียนรู้และการตัดสินใจของคนเรา งานวิจัยชิ้นนี้ออกแบบมาเพื่อสร้างภาพการทำงานของสมองในอนาคต ซึ่งปัจจุบันยังมีหลายส่วนที่ขาดหายไป”
• สิงคโปร์จัดฉายเทศกาลหนังพุทธ “THIS”
สิงคโปร์ : เว็บไซต์ The Buddhist Channel รายงานว่า เทศกาลภาพยนตร์พุทธศาสนา THIS Buddhist Film Festival (THIS) ครั้งที่ 4 ประจำปี 2016 จะเริ่มเปิดฉายที่โรงภาพยนตร์ ชอว์เธียเตอร์ส ลิโด ประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2016 เป็นต้นไป
โดยมีภาพยนตร์ที่กระตุ้นแนวความคิด 17 เรื่อง จาก 8 ประเทศ อาทิ จีน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ไทย และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมในเทศกาล
ทั้งนี้ ภาพยนตร์ที่เป็นไฮไลท์ของเทศกาลนี้คือ “Samsara” หรือ “วัฏสงสาร” ซึ่งเป็นภาพยนตร์สารคดีระบบฟิลม์ 70 มม. ที่ไม่มีบทพูดหรือคำบรรยาย โดยผู้สร้างคือ รอน ฟริคเก และมาร์ค มากอดสัน
เนื้อหาเป็นการสำรวจความลี้ลับของโลก จากเรื่องปกติธรรมดาไปจนถึงเรื่องมหัศจรรย์ มองเข้าไปยังเรื่องล้ำลึกด้านจิตวิญญาณ และประสบการณ์ของบุคคล รวมทั้งชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ แสดงให้เห็นว่าวงจรชีวิตของคนเรา สะท้อนถึงการหมุนเวียนเปลี่ยนไปของโลก
เทศกาลภาพยนตร์พุทธศาสนา “THIS” จัดขึ้นทุกๆ 2 ปี โดยบริษัท Dharma in Action (DIA) ในสิงคโปร์มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างความตระหนักรู้ถึงธรรมะที่ไม่มีวันตายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และนิกายต่างๆในพุทธศาสนา ผ่านภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษ
• ม.ชิคาโกใช้เครื่องสแกน 3 มิติ บูรณะหมู่ถ้ำวัดเทียนหลงซาน
จีน : เว็บไซต์ Buddhistdoor รายงานว่า ศูนย์ศิลปะเอเชียตะวันออก (CAEA) ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา ได้นำระบบดิจิตอลมาใช้ในการบูรณะพุทธศิลป์ภายในหมู่ถ้ำวัดเทียนหลงซาน ประเทศจีน อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบูรณะหมู่ถ้ำวัดเทียนหลงซานที่ริเริ่มในค.ศ. 2013
โดยในค.ศ. 2014 CAEA ได้ใช้เครื่องสแกน 3 มิติ สแกนรูปประติมากรรมและภาพวาดต่างๆภายในถ้ำ ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2016 มีการสร้างหุ่นจำลอง 3 มิติ ที่มีความคมชัดสูง จากชิ้นส่วนประติมากรรมราว 100 ชิ้น ที่เก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์และของสะสมกว่า 20 แห่งทั่วโลก
และในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 2016 CAEA จะทำงานร่วมกับโครงการของจีน เพื่อสแกนภายในหมู่ถ้ำ ซึ่งนอกเหนือจากหุ่นจำลอง 3 มิติแล้ว นักท่องเที่ยวสามารถดูภาพพุทธศิลป์ที่อยู่ภายในหมู่ถ้ำย้อนหลังไปในยุค ค.ศ. 1920 พร้อมๆกับภาพร่วมสมัยได้ โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ของ CAEA ซึ่งโครงการมีจุดมุ่งหมายในการเก็บบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของรูปประติมากรรมต่างๆ เพื่อดูแลรักษาพุทธศิลป์ภายในหมู่ถ้ำวัดเทียนหลงซานได้ดียิ่งขึ้น
อนึ่ง หมู่ถ้ำวัดเทียนหลงซาน ตั้งอยู่ในเมืองไท่หยวน มณฑลส่านซี เริ่มก่อสร้างในยุคราชวงค์ฉีเหนือ (ค.ศ. 550-577) ไปจนถึงราชวงค์ถัง (ค.ศ. 618-907) ประกอบด้วยถ้ำ 21 แห่ง ตั้งเรียงรายไปตามภูเขา 2 แห่ง ภายในถ้ำมีประติมากรรมพุทธศิลป์สำคัญๆหลายชิ้น อาทิ พระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ และเทพเจ้า
ในยุค ค.ศ. 1920 หมู่ถ้ำวัดเทียนหลงซานได้รับความสนใจจากนานาชาติ เมื่อมีการตีพิมพ์ภาพประติมากรรมล้ำค่าที่อยู่ภายในถ้ำเป็นครั้งแรก จึงมีการตัดภาพจากผนังถ้ำ และส่วนต่างๆของพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ นำไปขายในตลาดค้าศิลปะนานาชาติ
ด้วยทีมบูรณะที่มีฝีมือและเทคโนโลยีอันก้าวหน้า CAEA หวังว่าจะสามารถสร้างพุทธศิลป์อันล้ำค่าซึ่งครั้งหนึ่งเคยหายสาบสูญไป ขึ้นมาใหม่ได้
• วัดญี่ปุ่นเปิดวัดให้จับ “โปเกมอน” แถมชารต์มือถือฟรี
ญี่ปุ่น : เว็บไซต์ rocketnews24.com รายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ วัดไคเกนจิ เมืองฟุกุชิยะมะ จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ได้ประกาศเปิดวัดบางส่วนเป็นยิมใน “โปเกมอน โก” ซึ่งเป็นเกมบนมือถือที่ทั่วโลกกำลังคลั่งไคล้สุดขีด
โดยเจ้าหน้าที่วัดได้โพสต์ข้อความลงในเครือข่ายสังคมออนไลน์ว่า ยินดีต้อนรับเทรนเนอร์เกมโปเกมอน โก เลเวล 5 ให้มาตามหาและจับโปเกมอนภายในบริเวณวัดไคเกนจิ ซึ่งมีเนื้อที่กว้างขวาง พร้อมห้องน้ำและน้ำดื่มไว้บริการ รวมทั้งให้ชาร์ตแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนฟรี โดยติดตั้งไว้ตรงบันไดทางขึ้นวิหาร เพื่อมิให้รบกวนผู้ที่เข้ามาไหว้พระเป็นประจำ
ตั้งแต่ลงประกาศดังกล่าว ทางวัดมียอดไลค์และส่งต่อข้อความหลายพันครั้ง พร้อมข้อความแสดงความคิดเห็นต่างๆ เช่น “วิเศษจริงๆ” “ที่นี่มีธูปจริงๆเหมือนที่อยู่ในเกม” “การสนับสนุนเช่นนี้ แสดงถึงความเมตตาอย่างลึกซึ้ง”
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่วัดไคเกนจิเผยว่า ทางวัดถูกกำหนดให้เป็นสถานที่พักพิงแก่ชาวบ้านยามเกิดภัยพิบัติ ดังนั้น การซ้อมใช้สถานที่และไฟฟ้าจึงเป็นเรื่องที่ดี มันเป็นตัวอย่างอันงดงามของคนในชุมชน ที่มารวมตัวช่วยเหลือกันและกัน เพื่อไปให้ถึงจุดหมาย
• วัดโบราณญี่ปุ่น กลายเป็น “วัดนมสาว” มีเต้านมเต็มวัด
ญี่ปุ่น : เว็บไซต์ rocketnews24.com รายงานว่า วัดเจ้าแม่กวนอิมคะวะซะกิ ตั้งอยู่ในเมืองคะวะซะกิ จังหวัดยะมะงุชิ เป็นวัดที่คนนิยมเข้ามาสวดมนต์ขอพรให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่น สายตาไม่ดี แขนขาอัมพาต
อย่างไรก็ตาม วัดนี้ถูกเรียกขานอีกชื่อว่า “วัดนมสาว” เพราะเมื่อเดินขึ้นบันไดไปยังวิหาร จะเห็นพื้นที่ด้านข้างที่ใช้แขวนเอะมะ ซึ่งเป็นแผ่นไม้เล็กๆให้ผู้มาสักการะใช้เขียนคำขอพรและคำอธิษฐาน และนำไปแขวนไว้ ซึ่งปกติไม่มีในวัดพุทธ แต่พบเห็นได้ทั่วไปในศาลเจ้าชินโต
แต่ที่แปลกกว่านั้นก็คือ รูปลักษณ์ของเอะมะในวัดเจ้าแม่กวนอิม เป็นกล่องสี่เหลี่ยม ภายในบรรจุเต้านม ซึ่งแตกต่างจากเอะมะดั้งเดิมที่เป็นแผ่นไม้รูปสี่เหลี่ยมคางหมู
สาเหตุที่วัดเจ้าแม่กวนอิม คะวะซะกิ ทำเอะมะเป็นรูปเต้านมผู้หญิง เนื่องจากวัดแห่งนี้สร้างเมื่อ ค.ศ. 1185 ในยุคที่การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อทั้งแม่และลูกมากกว่าในปัจจุบัน ดังนั้น บรรดาหญิงตั้งครรภ์ในยุคนั้น จึงพากันมาที่วัดเพื่อสวดขอพรจากเจ้าแม่กวนอิม เพื่อให้คลอดง่าย ทารกแข็งแรงสมบูรณ์ เลี้ยงง่าย และให้มีน้ำนมจากเต้ามากพอที่จะเลี้ยงดูทารก
ด้วยเหตุผลข้อสุดท้ายนี่เอง เมื่อเวลาผ่านไป วัดเจ้าแม่กวนอิม คะวะซะกิ ก็ค่อยๆกลายเป็นสัญญลักษณ์ของทรวงอกผู้หญิง จึงทำให้มีอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดนมสาว” จวบจนปัจจุบัน
• ชาวไร่จีนหัวใสแกะสลักคำมงคลบนแตงโม ทำยอดขายพุ่ง
จีน : เว็บไซต์ scmp.com รายงานอ้างอิงข่าวในเว็บไซต์ Dahe.cn ว่า ชาวไร่จีนรายหนึ่ง ขายแตงโมน้ำหนัก 3,000 กก.ได้หมดภายใน 11 วัน ด้วยการแกะสลักคำมงคลลงบนเปลือกแตงโม
กู่ ซินเหลียง ชายวัย 56 ปี เจ้าของไร่แตง ในเมืองปิงดิงชาน มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน ค้นพบว่า ตัวอักษรที่เขาแกะสลักเล่นๆบนเปลือกแตงโม สามารถเพิ่มยอดขายได้เป็นประวัติการณ์ โดยแตงโม 2,000 กก. ซึ่งเขาเก็บเกี่ยวในเดือนกรกฎาคม 2016 และแกะสลักคำมงคล รวมถึงแคนตาลูป 1,000 กก.ที่ไม่ได้แกะสลัก ขายได้หมดในเวลาไม่ถึง 2 อาทิตย์
เจ้าของไร่แตงหัวใสเผยว่า ตามปกติจะขายได้เพียงวันละไม่กี่ลูก เนื่องจากแผงของเขาตั้งอยู่ห่างจากเส้นทางด่วน มีอยู่วันหนึ่ง เขาลองแกะสลักคำมงคลบนเปลือกแตงโม 2 ลูก ปรากฏว่าทั้ง 2 ลูกขายได้ภายใน 1 ชม. ลูกค้าคนแรกที่ซื้อไป บอกว่าตั้งใจซื้อเป็นของขวัญ เพื่อมอบให้แม่และยาย
ทั้งนี้ คำมงคลต่างๆที่กู่แกะสลักด้วยอักษรจีน อาทิ “ฝู” (ร่ำรวย มั่งคั่ง) และ “โซ่ว” (อายุยืน) นั้น ตอนแรกใช้เวลาเกือบครึ่งชม. แต่เมื่อขายดีขึ้น เขาใช้เวลาไม่ถึง 10 นาทีในการแกะสลักแตงโมแต่ละลูก โดยใช้เล็บตัวเองแกะสลัก ซึ่งควบคุมได้ง่ายกว่าใช้เครื่องมืออื่นๆที่จะทำให้เนื้อแตงโมเสียหาย
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 189 กันยายน 2559 โดย เภตรา)