เรามิได้อยู่คณะละครสัตว์ จึงไม่ต้องแสดงให้คนดู เราไม่ได้เป็นปลาเลี้ยงสวยงามในตู้ จึงไม่จําเป็นต้องอยู่ภายใต้อํานาจใคร
แต่เราเป็นมนุษย์ที่มีพลังความดี และอํานาจในการเลือกได้ เราจึงควรน้อมนำพลังความดี และอํานาจในการเลือกนั้น มาใช้ในทางบําเพ็ญกุศล ทําความดี เจริญสติปัญญา ด้วยหลักปฏิบัติง่ายๆ ๓ ข้อ คือ ทาน ศีล สมาธิ
มนุษย์ทุกคนมีอิสระในการเลือกทางเดินของตัวเอง มันเป็นอํานาจในการเลือกได้ที่ธรรมชาติมอบให้ทุกคน ฉะนั้น เราควรตระหนักว่า “ตนเองมีอำนาจในการเลือกได้” และจงเลือกตัดสินใจด้วยตัวเองว่าจะดําเนินชีวิตอย่างมีสติ
อย่ายอมให้ใครมายัดเยียดชีวิตในแบบไม่ใช่!! ให้เรากลายเป็นเพียงสัตว์เลี้ยงสวยงามเหมือนปลาตู้ หรืออย่าปล่อยให้ใครทํากับเรา เหมือนสัตว์ในคณะละครเร่
พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ นับเป็นโอกาสที่หาได้ยากแสนยาก เปรียบเหมือนเต่าตาบอดในมหาสมุทร ที่มีคนโยนห่วงยางลงไปในทะเล ลมทะเลพัดมาทั้งสี่ทิศ คลื่นก็ซัดสาดไปมา ทําให้ห่วงยางลอยไปทางนั้นทีทางนี้ที ในเวลาร้อยปีเต่าตาบอดตัวหนึ่งจะโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำสักครั้ง โอกาสที่เต่าตาบอดจะเอาคอสวมเข้าไปในห่วงยางนั้น จึงแสนยากนักหนา แต่พระพุทธองค์ก็ยังตรัสว่า “โอกาสในการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ยังยากแสนยากยิ่งกว่า”
เราทุกคนก็ไม่ต่างจากเต่าตาบอด เพียงแต่เป็นเต่าตาบอดโชคดี ที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำแล้วเอาคอสวมเข้าไปในห่วงยางได้
แต่อย่าหยุดอยู่แค่เป็นเต่าตาบอด ที่เข้ามาอยู่ในห่วงยางได้เท่านั้น เพราะเรามีสิทธิ์ มีอํานาจในการเลือกได้อย่างเต็มที่ เป็นอํานาจในการเลือกพัฒนาศักยภาพตนเองให้กลายมาเป็น “เต่าตาดี” มองเห็นสิ่งต่างๆ ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ตามความเป็นจริง โดยที่ใครๆ ก็ไม่อาจลวง หรือจูงเราไปตกอยู่ในอํานาจของเขา
ดังนั้น การมีชีวิต ได้ครองอัตภาพความเป็นมนุษย์ ที่มีอํานาจในการเลือกกระทําได้อย่างเสรี จึงเป็นสิ่งดี เป็นพลัง และเป็นอํานาจที่ธรรมชาติส่งมอบให้ เราจึงคู่ควรกับสิ่งดีๆ คนดีๆ เพื่อมีชีวิตอยู่ส่งมอบสิ่งดีๆ ให้กับโลกใบนี้
เพราะคนดีไม่เห็นแก่ตัว และความไม่เห็นแก่ตัวนี่แหละ คือการเสียสละ เป็นโอกาสของการให้ ที่สละออกมาจากภายในอย่างแท้จริง “ให้หมด ย่อมได้หมด” ได้หมดในที่นี้หมายถึง ได้มาซึ่งความสุข สงบ สําเร็จ และมั่งคั่ง
คําแนะนําส่วนใหญ่จากท่านผู้รู้ที่ประสบความสำเร็จ ล้วนเน้นไปที่การขยันทํางาน ต้องมีเป้าหมาย คิดใหญ่ วางแผนทางการเงิน และอื่นๆอีกมากมาย แน่นอน..เหล่านี้คือคําแนะนําที่ดี แต่มันเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินชีวิตในเบื้องต้นเท่านั้น
เราทุกคนต่างรู้ดีว่า ในทางปฏิบัติจริง ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่เหมือนกัน ทั้งๆที่ทําตามหลักการต่างๆที่แนะนําไว้เป๊ะ! ทั้งๆ ที่จบจากสถาบันเดียวกัน ใช้หลักปฏิบัติแบบเดียวกัน ประกอบอาชีพทําธุรกิจคล้ายๆกัน แต่ทําไมผลลัพธ์ที่ได้ไม่เหมือน?
บางคนหยิบจับอะไร ก็ดูจะรุ่งโรจน์ ประสบความสําเร็จไปซะทุกอย่าง ราวกับมีไม้วิเศษอยู่ในมือ แล้วเสกเนรมิตได้ตามใจชอบ ขณะที่อีกคนหยิบจับอะไรก็พลาดเสียทุกเรื่อง ทําอะไรก็ไปไม่รอด ต้องปิดกิจการ ธุรกิจล้มเหลวพังไม่เป็นท่า
แล้วอะไรคือตัวแปรที่ทําให้เกิดความแตกต่างแบบนี้ มันยังมี “กฎ” หรือพลังงานอะไรบางอย่างซ่อนอยู่เบื้องหลังความสําเร็จ ที่โรงเรียนไม่ได้สอนหรือเปล่า?
ถ้ามี มันเป็นพลังงานอะไรล่ะ ที่คอยผลักดัน หนุนนําชีวิต ทวีคูณความสําเร็จ ดึงดูดผู้คนและเป้าหมายดีๆเข้ามา ทําให้ชีวิตประสบความสุข สะดวกสบายอย่างคาดไม่ถึง
เรื่องราวใน “สุมนสูตร” พระไตรปิฎกเล่ม ๒๒ กล่าวไว้ว่า ราชธิดาองค์หนึ่งนามว่าสุมนา เข้ามาทูลถามพระพุทธเจ้า เรื่องข้อสงสัยในความแตกต่างระหว่าง “ผู้ให้” กับ “ผู้ที่ไม่ให้” ซึ่งคนทั้งสองมีข้อปฏิบัติเหมือนกันคือ มีศีล มีศรัทธา และมีปัญญาเสมอกัน โดยตั้งเงื่อนไขว่า หากทั้งคู่ไปเกิดเป็นเทวดา หรือลงมาเกิดเป็นมนุษย์ หรือแม้แต่มาบวชเป็นพระ คนทั้งสองนั้นจะมีเหตุปัจจัยที่ทําให้ฐานะของแต่ละคนแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร?
พระพุทธองค์ตรัสสรุปเป็นใจความยืนยันว่า “ถึงอย่างไรคนทั้งสองก็ยังมีฐานะแตกต่างกันอยู่ ไม่ว่าเขาจะไปเกิดเป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์ หรือแม้แต่บวชเป็นพระก็ตาม เพราะ “ผู้ให้” ย่อมเหนือกว่า “ผู้ที่ไม่ให้” ด้วยฐานะ ๕ ประการคือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และโภคทรัพย์” (ยกเว้นพระอรหันต์)
เมื่อราชธิดาสุมนา หมดข้อกังขาแล้ว พระพุทธองค์จึงตรัสคาถาภาษิตประพันธ์ต่อไปว่า
“ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรอยู่ในอากาศธาตุ ย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวในโลกทั้งปวงด้วยรัศมี ฉันใด บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศรัทธา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมรุ่งเรืองกว่าผู้ตระหนี่ทั้งหมดในโลกด้วยจาคะ (แบ่งปัน)
เมฆที่ลอยไปในนภากาศ มีสายฟ้าแลบแปลบปลาบ มียอดตั้งร้อย ยังฝนให้ตกรดแผ่นดินเติมเต็มที่ดอนและที่ลุ่ม ฉันใด สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ เป็นบัณฑิต ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมข่มผู้ตระหนี่ได้ด้วยเหตุ ๕ ประการคือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และโภคทรัพย์ เมื่อเขาลาจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์”
นี่คือกฎหรือพลังแห่งการแบ่งปันที่โรงเรียนไม่ได้สอน แต่มันมีอยู่จริง เป็นพลังความดีที่สามารถเนรมิต หรือเป็นตัวเร่งทวีคูณความสําเร็จเข้ามาสู่ชีวิต ที่เราเรียกกันว่า “บุญ” พลังบุญนี่เองทํางานอยู่เบื้องหลังความสําเร็จ เป็นเหตุปัจจัยที่ทําให้คนเรามีฐานะต่างกัน
ดังนั้น เราต้องให้ออกไป ให้ออกไปก่อน มันถึงจะกลับมา ตามกฎของการให้ “เรายิ้มให้เขา เขาก็ยิ้มตอบ เราดีกับเขา เขาก็ดีตอบ”
อย่างเช่นพลทหารคนหนึ่งบอกกับเพื่อนว่า “ท่านนายพลที่กําลังเดินอยู่เนี่ยะจะต้องแสดงความเคารพข้า”
เพื่อนทหารได้ยินก็ขําก้ากบอก “เอ็งนี่มันบ้าไปแล้วแน่ๆ นายพลที่ไหนจะมาลดตัวแสดงความเคารพพลทหารอย่างเอ็งวะ!”
“ไม่เชื่อคอยดู” พลทหารต้นคิดยืนยัน
เมื่อนายพลเดินเข้ามาใกล้ พลทหารก้าวออกไปยืนข้างหน้า ยกมือทําวันทยาหัตถ์แสดงความเคารพต่อนายพลตามธรรมเนียมทหาร ท่านนายพลรีบยกมือทําวันทยาหัตถ์ตอบกลับทันทีก่อนเดินจากไป
“เห็นไหมๆ ท่านนายพลแสดงความเคารพข้าแล้ว” พลทหารต้นคิดยักคิ้วหลิ่วตาบอกเพื่อน
“ก็เอ็งไปทําความเคารพท่านก่อน ท่านก็ต้องยกมือขึ้นรับสิวะ!”
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า อยากได้รับเกียรติ ก็ต้องรู้จักให้เกียรติคนอื่นก่อนดังนั้น อยากได้อะไร เราก็ต้องให้ออกไปก่อน มันจึงจะกลับมา เหมือนที่หลวงพ่อคูณบอกไว้
“ยิ่งเอามันยิ่งอด ยิ่งสละให้หมดมันยิ่งได้”
นั่นเพราะการให้เป็นพลังความดี เป็นพลังงานบวกฝ่ายกุศล ที่จักรวาลส่งคืนมาให้ในรูปแบบ “ธรรมะจัดสรร” หรือ “พลังบุญ” กลายเป็นอํานาจเนรมิตสิ่งต่างๆ ได้ดังใจต้องการ เราจะสมปรารถนาได้อย่างน่าอัศจรรย์
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 188 สิงหาคม 2559 โดย ทาสโพธิญาณ)
แต่เราเป็นมนุษย์ที่มีพลังความดี และอํานาจในการเลือกได้ เราจึงควรน้อมนำพลังความดี และอํานาจในการเลือกนั้น มาใช้ในทางบําเพ็ญกุศล ทําความดี เจริญสติปัญญา ด้วยหลักปฏิบัติง่ายๆ ๓ ข้อ คือ ทาน ศีล สมาธิ
มนุษย์ทุกคนมีอิสระในการเลือกทางเดินของตัวเอง มันเป็นอํานาจในการเลือกได้ที่ธรรมชาติมอบให้ทุกคน ฉะนั้น เราควรตระหนักว่า “ตนเองมีอำนาจในการเลือกได้” และจงเลือกตัดสินใจด้วยตัวเองว่าจะดําเนินชีวิตอย่างมีสติ
อย่ายอมให้ใครมายัดเยียดชีวิตในแบบไม่ใช่!! ให้เรากลายเป็นเพียงสัตว์เลี้ยงสวยงามเหมือนปลาตู้ หรืออย่าปล่อยให้ใครทํากับเรา เหมือนสัตว์ในคณะละครเร่
พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ นับเป็นโอกาสที่หาได้ยากแสนยาก เปรียบเหมือนเต่าตาบอดในมหาสมุทร ที่มีคนโยนห่วงยางลงไปในทะเล ลมทะเลพัดมาทั้งสี่ทิศ คลื่นก็ซัดสาดไปมา ทําให้ห่วงยางลอยไปทางนั้นทีทางนี้ที ในเวลาร้อยปีเต่าตาบอดตัวหนึ่งจะโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำสักครั้ง โอกาสที่เต่าตาบอดจะเอาคอสวมเข้าไปในห่วงยางนั้น จึงแสนยากนักหนา แต่พระพุทธองค์ก็ยังตรัสว่า “โอกาสในการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ยังยากแสนยากยิ่งกว่า”
เราทุกคนก็ไม่ต่างจากเต่าตาบอด เพียงแต่เป็นเต่าตาบอดโชคดี ที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำแล้วเอาคอสวมเข้าไปในห่วงยางได้
แต่อย่าหยุดอยู่แค่เป็นเต่าตาบอด ที่เข้ามาอยู่ในห่วงยางได้เท่านั้น เพราะเรามีสิทธิ์ มีอํานาจในการเลือกได้อย่างเต็มที่ เป็นอํานาจในการเลือกพัฒนาศักยภาพตนเองให้กลายมาเป็น “เต่าตาดี” มองเห็นสิ่งต่างๆ ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ตามความเป็นจริง โดยที่ใครๆ ก็ไม่อาจลวง หรือจูงเราไปตกอยู่ในอํานาจของเขา
ดังนั้น การมีชีวิต ได้ครองอัตภาพความเป็นมนุษย์ ที่มีอํานาจในการเลือกกระทําได้อย่างเสรี จึงเป็นสิ่งดี เป็นพลัง และเป็นอํานาจที่ธรรมชาติส่งมอบให้ เราจึงคู่ควรกับสิ่งดีๆ คนดีๆ เพื่อมีชีวิตอยู่ส่งมอบสิ่งดีๆ ให้กับโลกใบนี้
เพราะคนดีไม่เห็นแก่ตัว และความไม่เห็นแก่ตัวนี่แหละ คือการเสียสละ เป็นโอกาสของการให้ ที่สละออกมาจากภายในอย่างแท้จริง “ให้หมด ย่อมได้หมด” ได้หมดในที่นี้หมายถึง ได้มาซึ่งความสุข สงบ สําเร็จ และมั่งคั่ง
คําแนะนําส่วนใหญ่จากท่านผู้รู้ที่ประสบความสำเร็จ ล้วนเน้นไปที่การขยันทํางาน ต้องมีเป้าหมาย คิดใหญ่ วางแผนทางการเงิน และอื่นๆอีกมากมาย แน่นอน..เหล่านี้คือคําแนะนําที่ดี แต่มันเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินชีวิตในเบื้องต้นเท่านั้น
เราทุกคนต่างรู้ดีว่า ในทางปฏิบัติจริง ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่เหมือนกัน ทั้งๆที่ทําตามหลักการต่างๆที่แนะนําไว้เป๊ะ! ทั้งๆ ที่จบจากสถาบันเดียวกัน ใช้หลักปฏิบัติแบบเดียวกัน ประกอบอาชีพทําธุรกิจคล้ายๆกัน แต่ทําไมผลลัพธ์ที่ได้ไม่เหมือน?
บางคนหยิบจับอะไร ก็ดูจะรุ่งโรจน์ ประสบความสําเร็จไปซะทุกอย่าง ราวกับมีไม้วิเศษอยู่ในมือ แล้วเสกเนรมิตได้ตามใจชอบ ขณะที่อีกคนหยิบจับอะไรก็พลาดเสียทุกเรื่อง ทําอะไรก็ไปไม่รอด ต้องปิดกิจการ ธุรกิจล้มเหลวพังไม่เป็นท่า
แล้วอะไรคือตัวแปรที่ทําให้เกิดความแตกต่างแบบนี้ มันยังมี “กฎ” หรือพลังงานอะไรบางอย่างซ่อนอยู่เบื้องหลังความสําเร็จ ที่โรงเรียนไม่ได้สอนหรือเปล่า?
ถ้ามี มันเป็นพลังงานอะไรล่ะ ที่คอยผลักดัน หนุนนําชีวิต ทวีคูณความสําเร็จ ดึงดูดผู้คนและเป้าหมายดีๆเข้ามา ทําให้ชีวิตประสบความสุข สะดวกสบายอย่างคาดไม่ถึง
เรื่องราวใน “สุมนสูตร” พระไตรปิฎกเล่ม ๒๒ กล่าวไว้ว่า ราชธิดาองค์หนึ่งนามว่าสุมนา เข้ามาทูลถามพระพุทธเจ้า เรื่องข้อสงสัยในความแตกต่างระหว่าง “ผู้ให้” กับ “ผู้ที่ไม่ให้” ซึ่งคนทั้งสองมีข้อปฏิบัติเหมือนกันคือ มีศีล มีศรัทธา และมีปัญญาเสมอกัน โดยตั้งเงื่อนไขว่า หากทั้งคู่ไปเกิดเป็นเทวดา หรือลงมาเกิดเป็นมนุษย์ หรือแม้แต่มาบวชเป็นพระ คนทั้งสองนั้นจะมีเหตุปัจจัยที่ทําให้ฐานะของแต่ละคนแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร?
พระพุทธองค์ตรัสสรุปเป็นใจความยืนยันว่า “ถึงอย่างไรคนทั้งสองก็ยังมีฐานะแตกต่างกันอยู่ ไม่ว่าเขาจะไปเกิดเป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์ หรือแม้แต่บวชเป็นพระก็ตาม เพราะ “ผู้ให้” ย่อมเหนือกว่า “ผู้ที่ไม่ให้” ด้วยฐานะ ๕ ประการคือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และโภคทรัพย์” (ยกเว้นพระอรหันต์)
เมื่อราชธิดาสุมนา หมดข้อกังขาแล้ว พระพุทธองค์จึงตรัสคาถาภาษิตประพันธ์ต่อไปว่า
“ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรอยู่ในอากาศธาตุ ย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวในโลกทั้งปวงด้วยรัศมี ฉันใด บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศรัทธา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมรุ่งเรืองกว่าผู้ตระหนี่ทั้งหมดในโลกด้วยจาคะ (แบ่งปัน)
เมฆที่ลอยไปในนภากาศ มีสายฟ้าแลบแปลบปลาบ มียอดตั้งร้อย ยังฝนให้ตกรดแผ่นดินเติมเต็มที่ดอนและที่ลุ่ม ฉันใด สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ เป็นบัณฑิต ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมข่มผู้ตระหนี่ได้ด้วยเหตุ ๕ ประการคือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และโภคทรัพย์ เมื่อเขาลาจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์”
นี่คือกฎหรือพลังแห่งการแบ่งปันที่โรงเรียนไม่ได้สอน แต่มันมีอยู่จริง เป็นพลังความดีที่สามารถเนรมิต หรือเป็นตัวเร่งทวีคูณความสําเร็จเข้ามาสู่ชีวิต ที่เราเรียกกันว่า “บุญ” พลังบุญนี่เองทํางานอยู่เบื้องหลังความสําเร็จ เป็นเหตุปัจจัยที่ทําให้คนเรามีฐานะต่างกัน
ดังนั้น เราต้องให้ออกไป ให้ออกไปก่อน มันถึงจะกลับมา ตามกฎของการให้ “เรายิ้มให้เขา เขาก็ยิ้มตอบ เราดีกับเขา เขาก็ดีตอบ”
อย่างเช่นพลทหารคนหนึ่งบอกกับเพื่อนว่า “ท่านนายพลที่กําลังเดินอยู่เนี่ยะจะต้องแสดงความเคารพข้า”
เพื่อนทหารได้ยินก็ขําก้ากบอก “เอ็งนี่มันบ้าไปแล้วแน่ๆ นายพลที่ไหนจะมาลดตัวแสดงความเคารพพลทหารอย่างเอ็งวะ!”
“ไม่เชื่อคอยดู” พลทหารต้นคิดยืนยัน
เมื่อนายพลเดินเข้ามาใกล้ พลทหารก้าวออกไปยืนข้างหน้า ยกมือทําวันทยาหัตถ์แสดงความเคารพต่อนายพลตามธรรมเนียมทหาร ท่านนายพลรีบยกมือทําวันทยาหัตถ์ตอบกลับทันทีก่อนเดินจากไป
“เห็นไหมๆ ท่านนายพลแสดงความเคารพข้าแล้ว” พลทหารต้นคิดยักคิ้วหลิ่วตาบอกเพื่อน
“ก็เอ็งไปทําความเคารพท่านก่อน ท่านก็ต้องยกมือขึ้นรับสิวะ!”
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า อยากได้รับเกียรติ ก็ต้องรู้จักให้เกียรติคนอื่นก่อนดังนั้น อยากได้อะไร เราก็ต้องให้ออกไปก่อน มันจึงจะกลับมา เหมือนที่หลวงพ่อคูณบอกไว้
“ยิ่งเอามันยิ่งอด ยิ่งสละให้หมดมันยิ่งได้”
นั่นเพราะการให้เป็นพลังความดี เป็นพลังงานบวกฝ่ายกุศล ที่จักรวาลส่งคืนมาให้ในรูปแบบ “ธรรมะจัดสรร” หรือ “พลังบุญ” กลายเป็นอํานาจเนรมิตสิ่งต่างๆ ได้ดังใจต้องการ เราจะสมปรารถนาได้อย่างน่าอัศจรรย์
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 188 สิงหาคม 2559 โดย ทาสโพธิญาณ)