นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ในประเทศไทย พบปัญหาโรคกระดูกและข้อเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมและสึกหรอของข้อต่อต่างๆในร่างกายหลังจากการใช้งานมานาน ภาวะข้อเสื่อมตามสภาพร่างกายนั้น จึงเกิดขึ้นกับทุกคนเมื่อมีอายุมากขึ้น
โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดถึงร้อยละ 50 ของจำนวนผู้ป่วยที่ไปพบแพทย์ด้วยอาการปวดข้อที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป บางรายพบตั้งแต่อายุ 30 ปี พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และมีอาการปวดรุนแรงมากกว่า ในจำนวนนี้พบว่าเป็นอาการของข้อเข่าเสื่อมและอักเสบถึงร้อยละ 28.34 เนื่องจากเป็นข้อที่รับนํ้าหนักและใช้งานมาก มีการเสื่อมสภาพของกระดูกข้อเข่า กระดูกอ่อน หมอนรองข้อเข่า เอ็นรอบๆข้อเข่า เยื่อบุข้อเข่า น้ำไขข้อน้อยลง เกิดได้จากปัจจัยเสี่ยงหลายสาเหตุ เช่น เสื่อมตามวัย อุบัติเหตุ ติดเชื้อ โรคเก๊าท์ โรครูมาตอยด์ และเกิดจากการทำงานที่ออกแรงใช้เข่ามาก มีการกระแทก หรืองอเข่าบ่อยๆ เช่น ต้องขึ้นบันไดแบกของหนัก เดินไกลๆ หรือลุกนั่งบ่อยๆ
นอกจากนี้ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากจะเป็นปัจจัยเสริมให้เป็นข้อเข่าเสื่อมได้เช่นกัน ซึ่งผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักมีอายุต่ำกว่า 45 ปี ข้อเข่าเสื่อมมักมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป อาการที่ปวดจะสัมพันธ์กับงานที่ทำ เมื่อพักการใช้งานเข่า และอยู่ในท่าที่สบาย มักจะไม่มีอาการปวดเข่า อาจมีอาการเข่าติด มีความรู้สึกว่าข้อขรุขระเวลาขยับข้อเข่า
แต่หากอาการปวดเข่านั้นเป็นมากแม้จะอยู่เฉยๆ รวมทั้งมีอาการปวดบวมแดงร้อน มีไข้ หรือมีอาการปวดตอนกลางคืนมาก จะไม่ใช่ข้อเข่าเสื่อมจากการทำงาน ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง
ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมควรได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม เพราะหากมีอาการมากขึ้น จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้การทำงานและคุณภาพชีวิตแย่ลง รวมทั้งสูญเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อยาแก้ปวดหรืออุปกรณ์ที่ไม่จำเป็น และเสียเวลาเดินทางไปรักษา
การรักษาข้อเข่าเสื่อมมีหลายวิธี ได้แก่
• การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การพักการใช้งานข้อเข่า
• การลดปวดด้วยการประคบร้อนหรือเย็น
• การปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน หลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่าง ได้แก่ การเดินขึ้นลงบันได นั่งพับเพียบ นั่งคุกเข่า นั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิ เป็นเวลานานๆ
• การออกกำลังกาย และการบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ด้วยการเดินช้าๆ การออกกำลังกายในน้ำ ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังชนิดที่มีแรงกระทำต่อข้อมากๆ คือ การวิ่ง การกระโดดเชือก หรือการเต้นแอโรบิกที่มีการกระโดด
• การใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยต่างๆ เช่น การใช้ไม้เท้าหรือร่ม เพื่อช่วยลดแรงกระทำต่อข้อ ในกรณีที่ปวดมากควรถือไม้เท้าหรือร่มในมือตรงข้ามกับข้างที่ปวด
• การใช้สนับเข่า การลดน้ำหนัก สามารถช่วยลดน้ำหนักที่เข่าต้องรับ การรักษาทางกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการเจ็บปวดและลดการอักเสบ
• การรักษาด้วยการใช้ยา เพื่อบรรเทาอาการปวด ทำให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวและใช้ข้อทำงานได้ดีขึ้น
• การรักษาด้วยการผ่าตัด เหมาะกับผู้ป่วยที่อาการไม่ทุเลาจากการรักษาแบบประคับประคองข้างต้น ซึ่งการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนั้น สามารถลดอาการปวดได้มาก เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมาก มีอาการข้อเข่าเสื่อมมากและไม่ได้ทำงานหนัก แต่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอายุน้อยและทำงานหนัก เนื่องจากข้อเข่าเทียมมีอายุการใช้งานจำกัด และไม่สามารถทนต่อการทำงานหนักๆได้
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 188 สิงหาคม 2559 โดย กองบรรณาธิการ)
โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดถึงร้อยละ 50 ของจำนวนผู้ป่วยที่ไปพบแพทย์ด้วยอาการปวดข้อที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป บางรายพบตั้งแต่อายุ 30 ปี พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และมีอาการปวดรุนแรงมากกว่า ในจำนวนนี้พบว่าเป็นอาการของข้อเข่าเสื่อมและอักเสบถึงร้อยละ 28.34 เนื่องจากเป็นข้อที่รับนํ้าหนักและใช้งานมาก มีการเสื่อมสภาพของกระดูกข้อเข่า กระดูกอ่อน หมอนรองข้อเข่า เอ็นรอบๆข้อเข่า เยื่อบุข้อเข่า น้ำไขข้อน้อยลง เกิดได้จากปัจจัยเสี่ยงหลายสาเหตุ เช่น เสื่อมตามวัย อุบัติเหตุ ติดเชื้อ โรคเก๊าท์ โรครูมาตอยด์ และเกิดจากการทำงานที่ออกแรงใช้เข่ามาก มีการกระแทก หรืองอเข่าบ่อยๆ เช่น ต้องขึ้นบันไดแบกของหนัก เดินไกลๆ หรือลุกนั่งบ่อยๆ
นอกจากนี้ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากจะเป็นปัจจัยเสริมให้เป็นข้อเข่าเสื่อมได้เช่นกัน ซึ่งผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักมีอายุต่ำกว่า 45 ปี ข้อเข่าเสื่อมมักมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป อาการที่ปวดจะสัมพันธ์กับงานที่ทำ เมื่อพักการใช้งานเข่า และอยู่ในท่าที่สบาย มักจะไม่มีอาการปวดเข่า อาจมีอาการเข่าติด มีความรู้สึกว่าข้อขรุขระเวลาขยับข้อเข่า
แต่หากอาการปวดเข่านั้นเป็นมากแม้จะอยู่เฉยๆ รวมทั้งมีอาการปวดบวมแดงร้อน มีไข้ หรือมีอาการปวดตอนกลางคืนมาก จะไม่ใช่ข้อเข่าเสื่อมจากการทำงาน ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง
ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมควรได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม เพราะหากมีอาการมากขึ้น จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้การทำงานและคุณภาพชีวิตแย่ลง รวมทั้งสูญเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อยาแก้ปวดหรืออุปกรณ์ที่ไม่จำเป็น และเสียเวลาเดินทางไปรักษา
การรักษาข้อเข่าเสื่อมมีหลายวิธี ได้แก่
• การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การพักการใช้งานข้อเข่า
• การลดปวดด้วยการประคบร้อนหรือเย็น
• การปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน หลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่าง ได้แก่ การเดินขึ้นลงบันได นั่งพับเพียบ นั่งคุกเข่า นั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิ เป็นเวลานานๆ
• การออกกำลังกาย และการบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ด้วยการเดินช้าๆ การออกกำลังกายในน้ำ ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังชนิดที่มีแรงกระทำต่อข้อมากๆ คือ การวิ่ง การกระโดดเชือก หรือการเต้นแอโรบิกที่มีการกระโดด
• การใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยต่างๆ เช่น การใช้ไม้เท้าหรือร่ม เพื่อช่วยลดแรงกระทำต่อข้อ ในกรณีที่ปวดมากควรถือไม้เท้าหรือร่มในมือตรงข้ามกับข้างที่ปวด
• การใช้สนับเข่า การลดน้ำหนัก สามารถช่วยลดน้ำหนักที่เข่าต้องรับ การรักษาทางกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการเจ็บปวดและลดการอักเสบ
• การรักษาด้วยการใช้ยา เพื่อบรรเทาอาการปวด ทำให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวและใช้ข้อทำงานได้ดีขึ้น
• การรักษาด้วยการผ่าตัด เหมาะกับผู้ป่วยที่อาการไม่ทุเลาจากการรักษาแบบประคับประคองข้างต้น ซึ่งการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนั้น สามารถลดอาการปวดได้มาก เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมาก มีอาการข้อเข่าเสื่อมมากและไม่ได้ทำงานหนัก แต่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอายุน้อยและทำงานหนัก เนื่องจากข้อเข่าเทียมมีอายุการใช้งานจำกัด และไม่สามารถทนต่อการทำงานหนักๆได้
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 188 สิงหาคม 2559 โดย กองบรรณาธิการ)