ท่านผู้อ่านครับ ในพรรษาที่ 2 หลังจากตรัสรู้ พระพุทธองค์ทรงประทับที่วัดเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นที่นครไวสาลีเกิดทุพภิกขภัย ข้าวยาก หมากแพง ขาดแคลนอาหาร เกิดพยาธิภัย มีโรคระบาด เกิดอมนุสสภัย อมนุษย์เข้ามาเบียดเบียน ผู้คนเกิดความทุกข์ยาก ต้องล้มตายกันเป็นจำนวนมาก
เจ้าลิจฉวีผู้ปกครองนครไวสาลี จึงเดินทางมานิมนต์พระพุทธเจ้า ให้ช่วยปัดเป่าภัยทั้งสามอย่างในเมือง เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึง ทรงให้พระอานนท์ใช้บาตรตักน้ำในแม่น้ำคงคามา แล้วทรงสอนให้สวด “รัตนสูตร” ว่าด้วยคุณของพระรัตนตรัย แล้วพรมน้ำมนต์ทั่วรอบกำแพงเมือง ด้วยอานุภาพของพระปริตร ภัยทั้งหลายก็หายไป (รัตนสูตร ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ)
ที่ยกมานี้เป็นเหตุการณ์สำคัญครั้งพุทธกาล ต่อมาในภายหลังเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เลวร้าย ชาวพุทธก็ถือปฏิบัติตามเมื่อครั้งพุทธกาล มีการนิมนต์พระมาสวดมนต์ เพื่อความสวัสดี เช่น เมื่อครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 2 เกิดอหิวาตกโรคระบาดในพระนคร มีคนตายประมาณสามหมื่นคน โดยนำซากศพมาทิ้งไว้ในป่าช้าวัดสระเกศ แต่ทว่าทางวัดเผาศพไม่ทัน แร้งจึงมาจิกกินซากศพมากมายที่กองไว้รอเผา ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ทรงนิมนต์พระราชาคณะ มาทำพิธีสวดรัตนสูตร หรือรัตนปริตร แล้วเอานำน้ำมนต์พรมทั่วรอบๆพระนคร โรคภัยก็สงบลง เป็นต้น
ในครั้งพุทธกาล ครั้งหนึ่งพระมหากัสสปะอาพาธ พระพุทธเจ้าเสด็จมาเยี่ยม ทรงแสดง “โพชฌงค์ 7 ประการ” พอแสดงจบ พระมหากัสสปะก็หายจากอาพาธ (ปฐมคิลานสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค)
ครั้งหนึ่งพระโมคคัลลานะอาพาธ พระพุทธองค์เสด็จมาเยี่ยม ทรงแสดงโพชฌงค์ 7ประการ พอทรงแสดงจบ พระโมคคัลลานะก็หายจากอาพาธ (ทุตติยคิลานสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค)
หรือเมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงอาพาธ ก็โปรดให้พระจุนทะ สวดโพชฌงค์ 7 ถวาย เมื่อสวดจบ ทรงสรรเสริญโพชฌงค์ 7 เป็นอันมาก ทรงหายจากอาการประชวร (ตติยคิลานสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค)
หรือกรณีของอายุวัฒนกุมาร บุตรของพราหมณ์ มีอายุสั้นอยู่ได้ 7 วันจะต้องตาย พราหมณ์บิดาจึงพาไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อขอให้ทรงช่วย พระพุทธองค์จึงทรงให้ทำพิธีสวดมนต์ 7 วัน 7 คืน บุตรของพราหมณ์ก็รอดพ้นจากความตาย อยู่ต่อมาจนอายุได้ 120 ปี (อรรถกถาธรรมบท)
เหล่านี้ก็เป็นเรื่องที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกในพุทธศาสนา เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ใจ ซึ่งยังมีอีกมากมาย เช่น กรณีของพระคิริมานนท์อาพาธ ท่านพระอนุรุทธอาพาธ ก็ใช้การสวดมนต์หรือการพิจารณาข้อธรรมต่างๆ อาพาธก็ทุเลาหรือหายไปได้
กรณีของอุบาสกก็เช่นกัน เช่น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านธรรมิกอุบาสก ท่านมานทินคหบดี ท่านสิริวัฑฒนคหบดี ท่านเหล่านี้เวลาไม่สบายก็จะนิมนต์พระมาสวดมนต์ที่บ้าน ที่เจ็บป่วยไม่มาก ความป่วยไข้ก็หายไป ที่มีอาการหนักแล้วก็ตายไปตามสภาพ ท่านเหล่านี้ในเวลาใกล้ตาย มักทำใจให้นึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เวลาตายแล้วก็มักจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ท่านผู้อ่านครับ เมื่อวันเวลาผ่านไป คนรุ่นหลังก็สงสัยกันว่า การสวดมนต์นั้นมีอานุภาพทำให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บได้จริงหรือ เช่น ในสมัยพระเจ้ามิลินท์ ประมาณ 500 ปี หลังพุทธปรินิพพาน กษัตริย์นักปราชญ์ พวกไอโอเนียน กรีก ได้ตั้งคำถามพระนาคเสนผู้มีปัญญาว่า
พระเจ้ามิลินท์ : พระคุณเจ้านาคเสน คำที่ว่า “พระปริตร” อันบุคคลสาธยายอยู่ ย่อมป้องกันความตายได้นั้น จริงหรือ
พระนาคเสน : ขอถวายพระพร.. จริง
พระเจ้ามิลินท์ : ถ้าเช่นนั้น จะมิแย้งกับพุทธดำรัสที่ตรัสว่า บุคคลจะอยู่ในที่ใดๆก็ตาม ย่อมหนีความตายไปไม่พ้นนั้นไปหรือ
พระนาคเสน : ขอถวายพระพร ไม่แย้ง ที่มีพุทธดำรัสว่า การสวดพระปริตรย่อมป้องกันความตายได้นั้น พระพุทธองค์ทรงมุ่งหมายเฉพาะผู้ที่พอจะต่ออายุให้ยั่งยืนไปได้เท่านั้น หาได้ทรงหมายถึงว่าจะเป็นอุบายให้หนีความตายได้พ้นตลอดไปไม่ เพราะคนที่ถึงวาระที่จะต้องตายแล้ว ย่อมไม่มีอะไรจะป้องกัน แม้จะหนีไปอยู่ในอากาศหรือในมหาสมุทร หรือในซอกห้วยซอกเขา ก็หนีความตายไม่พ้น
พระเจ้ามิลินท์ : เธอจงเปรียบให้ฟัง
พระนาคเสน : ขอถวายพระพร คนที่ถึงวาระจะต้องตายเหมือนต้นไม้แก่ แม้จะมีคนพยายามเอาน้ำไปรด ก็ไม่กลับฟื้นขึ้นมาได้ ส่วนคนที่พอจะต่ออายุให้ยั่งยืนสืบไปได้ด้วยอำนาจการสวดพระปริตร เหมือนไม้ที่เฉาเพราะดินแห้ง เมื่อเอาน้ำไปรด ต้นไม้นั้นก็จะกลับฟื้นงามขึ้นอีกได้ฉะนั้น
พระเจ้ามิลินท์ : ดูก่อนพระนาคเสน การสวดพระปริตรจะต่ออายุคนได้อย่างไร
พระนาคเสน : ขอถวายพระพร การสวดพระปริตรเป็นหนึ่งยาหอมสำหรับชโลมหัวใจผู้ป่วยเจ็บให้ชุ่มชื่น เช่น สวดธชัคคปริตร ถ้าผู้เจ็บสามารถส่งใจไปตามแนวแห่งพระปริตร น้อมนึกถึงข้อความเหตุผลแห่งพระคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในบทนั้นๆ ที่สุดแม้แต่บทเดียวได้ ใจก็จะไม่ไปเกาะเกี่ยวอยู่ที่การป่วยเจ็บ ฟื้นจากความหดหู่ มารื่นเริงในพระคุณนั้นๆ ทันทีนั้นใจก็ชุ่มชื้นได้กำลังขึ้น เมื่อมีกำลังใจประคองร่างกายอยู่ กำลังกายก็ตั้งขึ้นได้ ขอถวายพระพร
ถ้ากำลังกายกำลังใจต่อสู้โรคได้แล้ว ก็เป็นอันว่าหนีความตายไปได้พ้นคราวหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีกำลังเช่นนั้นพอจะสู้โรคได้แล้ว ก็ย่อมหนีความตายไม่พ้น แม้ถึงเช่นนั้น การสวดพระปริตรก็ยังชื่อว่าไม่ไร้ผล เพราะผู้ตายด้วยอาการชุ่มชื่นเช่นนั้น ย่อมหวังสุคติได้
พระเจ้ามิลินท์ : ต่อได้จริง
(จากปัญหาพระยามิลินท์ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ)
ท่านผู้อ่านครับ “พระปริตร” แปลว่า เครื่องคุ้มครอง ป้องกันอันตรายจากภัยต่างๆ จากโรคภัยไข้เจ็บ ทำให้เกิดความสุข ความเจริญ พระโบราณาจารย์ท่านรวบรวมพระสูตรต่างๆที่ควรสวดไว้เป็นชุดๆ เช่น ชุดเล็ก เรียกว่า “เจ็ดตำนาน” มีพระสูตรอยู่ 7 บทด้วยกัน คือ มงคลปริตร รัตนปริตร เมตตปริตร ขันธปริตร โมรปริตร ธชัคคปริตร และอาฏานาฏิยปริตร
ส่วนชุดใหญ่ เรียกว่า “สิบสองตำนาน” ได้แก่ พระสูตรในชุดเล็ก และเพิ่ม วัฎฎกปริตร อังคุลิมาลปริตร โพชฌังคปริตร อภยปริตร และชัยปริตร ในโอกาสทำบุญงานมงคลต่างๆ เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญวันเกิด วันแต่งงาน วันเปิดร้าน เป็นต้น พระท่านก็จะสวดพระปริตรเหล่านี้ หรือเราจะสวดในชีวิตประจำวันด้วยตัวเองก็ได้
ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ได้มีการศึกษาวิจัยพบว่า ถ้าเราให้คนไข้สวดมนต์ตามบทสวดในศาสนาที่ตนนับถือ วันละ 20 นาที เช้าและก่อนนอน ทุกวัน พบว่า ทำให้ผู้สวดมีสมาธิ สามารถลดความดันลงได้ ทำให้การเต้นของหัวใจช้าลง คนไข้ที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ การเต้นจะเป็นจังหวะมากขึ้น ช่วยให้ภูมิต้านทานดีขึ้น สารอนุมูลอิสระในร่างกายลดลง ลดความเครียด อาการซึมเศร้าลงได้ ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น ทำให้โรคหอบหืด โรคลำไส้แปรปรวน โรคสะเก็ดเงินดีขึ้น (www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2802370.)
ศูนย์การแพทย์ผสมผสานและสุขภาพองค์รวม สหรัฐอเมริกา ได้ทำการสำรวจในประชากร 31,000 คน พบว่า ร้อยละ 36 มีการใช้วิธีการด้านการแพทย์ผสมผสานดูแลสุขภาพของตนเอง ร้อยละ 62 ใช้การสวดมนต์บำบัดโรคของตนเอง ร้อยละ 43 สวดมนต์เพื่อให้สุขภาพดี ร้อยละ 24 สวดมนต์ให้ผู้อื่น ร้อยละ 10 สวดมนต์เพื่อให้บุคคลที่ตนมุ่งหวังให้หายจากโรคที่ประสบอยู่
ท่านผู้อ่านครับ เราจะเห็นว่า การสวดพระปริตรมีประโยชน์อย่างมาก และฝึกได้ไม่ยาก มีให้ฟังใน youtube มากมาย ปัจจุบัน คนทั่วโลกทุกศาสนาต่างก็เรียนรู้ถึงประโยชน์ของการสวดมนต์ แล้วนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ท่านผู้อ่านอาจจะหาความรู้ได้จากเรื่องพลังแห่งการสวดมนต์ www.youtube.com พิมพ์คำว่า Larry Dossey on power of prayer 1-3 และเรื่องการสวดมนต์มีประโยชน์จริงหรือ? www.youtube.com พิมพ์คำว่า Is Prayer really usuful? (GDD 141 Master Sheng Yen)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 187 กรกฎาคม 2559 โดย นพ.แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ)
เจ้าลิจฉวีผู้ปกครองนครไวสาลี จึงเดินทางมานิมนต์พระพุทธเจ้า ให้ช่วยปัดเป่าภัยทั้งสามอย่างในเมือง เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึง ทรงให้พระอานนท์ใช้บาตรตักน้ำในแม่น้ำคงคามา แล้วทรงสอนให้สวด “รัตนสูตร” ว่าด้วยคุณของพระรัตนตรัย แล้วพรมน้ำมนต์ทั่วรอบกำแพงเมือง ด้วยอานุภาพของพระปริตร ภัยทั้งหลายก็หายไป (รัตนสูตร ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ)
ที่ยกมานี้เป็นเหตุการณ์สำคัญครั้งพุทธกาล ต่อมาในภายหลังเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เลวร้าย ชาวพุทธก็ถือปฏิบัติตามเมื่อครั้งพุทธกาล มีการนิมนต์พระมาสวดมนต์ เพื่อความสวัสดี เช่น เมื่อครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 2 เกิดอหิวาตกโรคระบาดในพระนคร มีคนตายประมาณสามหมื่นคน โดยนำซากศพมาทิ้งไว้ในป่าช้าวัดสระเกศ แต่ทว่าทางวัดเผาศพไม่ทัน แร้งจึงมาจิกกินซากศพมากมายที่กองไว้รอเผา ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ทรงนิมนต์พระราชาคณะ มาทำพิธีสวดรัตนสูตร หรือรัตนปริตร แล้วเอานำน้ำมนต์พรมทั่วรอบๆพระนคร โรคภัยก็สงบลง เป็นต้น
ในครั้งพุทธกาล ครั้งหนึ่งพระมหากัสสปะอาพาธ พระพุทธเจ้าเสด็จมาเยี่ยม ทรงแสดง “โพชฌงค์ 7 ประการ” พอแสดงจบ พระมหากัสสปะก็หายจากอาพาธ (ปฐมคิลานสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค)
ครั้งหนึ่งพระโมคคัลลานะอาพาธ พระพุทธองค์เสด็จมาเยี่ยม ทรงแสดงโพชฌงค์ 7ประการ พอทรงแสดงจบ พระโมคคัลลานะก็หายจากอาพาธ (ทุตติยคิลานสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค)
หรือเมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงอาพาธ ก็โปรดให้พระจุนทะ สวดโพชฌงค์ 7 ถวาย เมื่อสวดจบ ทรงสรรเสริญโพชฌงค์ 7 เป็นอันมาก ทรงหายจากอาการประชวร (ตติยคิลานสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค)
หรือกรณีของอายุวัฒนกุมาร บุตรของพราหมณ์ มีอายุสั้นอยู่ได้ 7 วันจะต้องตาย พราหมณ์บิดาจึงพาไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อขอให้ทรงช่วย พระพุทธองค์จึงทรงให้ทำพิธีสวดมนต์ 7 วัน 7 คืน บุตรของพราหมณ์ก็รอดพ้นจากความตาย อยู่ต่อมาจนอายุได้ 120 ปี (อรรถกถาธรรมบท)
เหล่านี้ก็เป็นเรื่องที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกในพุทธศาสนา เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ใจ ซึ่งยังมีอีกมากมาย เช่น กรณีของพระคิริมานนท์อาพาธ ท่านพระอนุรุทธอาพาธ ก็ใช้การสวดมนต์หรือการพิจารณาข้อธรรมต่างๆ อาพาธก็ทุเลาหรือหายไปได้
กรณีของอุบาสกก็เช่นกัน เช่น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านธรรมิกอุบาสก ท่านมานทินคหบดี ท่านสิริวัฑฒนคหบดี ท่านเหล่านี้เวลาไม่สบายก็จะนิมนต์พระมาสวดมนต์ที่บ้าน ที่เจ็บป่วยไม่มาก ความป่วยไข้ก็หายไป ที่มีอาการหนักแล้วก็ตายไปตามสภาพ ท่านเหล่านี้ในเวลาใกล้ตาย มักทำใจให้นึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เวลาตายแล้วก็มักจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ท่านผู้อ่านครับ เมื่อวันเวลาผ่านไป คนรุ่นหลังก็สงสัยกันว่า การสวดมนต์นั้นมีอานุภาพทำให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บได้จริงหรือ เช่น ในสมัยพระเจ้ามิลินท์ ประมาณ 500 ปี หลังพุทธปรินิพพาน กษัตริย์นักปราชญ์ พวกไอโอเนียน กรีก ได้ตั้งคำถามพระนาคเสนผู้มีปัญญาว่า
พระเจ้ามิลินท์ : พระคุณเจ้านาคเสน คำที่ว่า “พระปริตร” อันบุคคลสาธยายอยู่ ย่อมป้องกันความตายได้นั้น จริงหรือ
พระนาคเสน : ขอถวายพระพร.. จริง
พระเจ้ามิลินท์ : ถ้าเช่นนั้น จะมิแย้งกับพุทธดำรัสที่ตรัสว่า บุคคลจะอยู่ในที่ใดๆก็ตาม ย่อมหนีความตายไปไม่พ้นนั้นไปหรือ
พระนาคเสน : ขอถวายพระพร ไม่แย้ง ที่มีพุทธดำรัสว่า การสวดพระปริตรย่อมป้องกันความตายได้นั้น พระพุทธองค์ทรงมุ่งหมายเฉพาะผู้ที่พอจะต่ออายุให้ยั่งยืนไปได้เท่านั้น หาได้ทรงหมายถึงว่าจะเป็นอุบายให้หนีความตายได้พ้นตลอดไปไม่ เพราะคนที่ถึงวาระที่จะต้องตายแล้ว ย่อมไม่มีอะไรจะป้องกัน แม้จะหนีไปอยู่ในอากาศหรือในมหาสมุทร หรือในซอกห้วยซอกเขา ก็หนีความตายไม่พ้น
พระเจ้ามิลินท์ : เธอจงเปรียบให้ฟัง
พระนาคเสน : ขอถวายพระพร คนที่ถึงวาระจะต้องตายเหมือนต้นไม้แก่ แม้จะมีคนพยายามเอาน้ำไปรด ก็ไม่กลับฟื้นขึ้นมาได้ ส่วนคนที่พอจะต่ออายุให้ยั่งยืนสืบไปได้ด้วยอำนาจการสวดพระปริตร เหมือนไม้ที่เฉาเพราะดินแห้ง เมื่อเอาน้ำไปรด ต้นไม้นั้นก็จะกลับฟื้นงามขึ้นอีกได้ฉะนั้น
พระเจ้ามิลินท์ : ดูก่อนพระนาคเสน การสวดพระปริตรจะต่ออายุคนได้อย่างไร
พระนาคเสน : ขอถวายพระพร การสวดพระปริตรเป็นหนึ่งยาหอมสำหรับชโลมหัวใจผู้ป่วยเจ็บให้ชุ่มชื่น เช่น สวดธชัคคปริตร ถ้าผู้เจ็บสามารถส่งใจไปตามแนวแห่งพระปริตร น้อมนึกถึงข้อความเหตุผลแห่งพระคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในบทนั้นๆ ที่สุดแม้แต่บทเดียวได้ ใจก็จะไม่ไปเกาะเกี่ยวอยู่ที่การป่วยเจ็บ ฟื้นจากความหดหู่ มารื่นเริงในพระคุณนั้นๆ ทันทีนั้นใจก็ชุ่มชื้นได้กำลังขึ้น เมื่อมีกำลังใจประคองร่างกายอยู่ กำลังกายก็ตั้งขึ้นได้ ขอถวายพระพร
ถ้ากำลังกายกำลังใจต่อสู้โรคได้แล้ว ก็เป็นอันว่าหนีความตายไปได้พ้นคราวหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีกำลังเช่นนั้นพอจะสู้โรคได้แล้ว ก็ย่อมหนีความตายไม่พ้น แม้ถึงเช่นนั้น การสวดพระปริตรก็ยังชื่อว่าไม่ไร้ผล เพราะผู้ตายด้วยอาการชุ่มชื่นเช่นนั้น ย่อมหวังสุคติได้
พระเจ้ามิลินท์ : ต่อได้จริง
(จากปัญหาพระยามิลินท์ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ)
ท่านผู้อ่านครับ “พระปริตร” แปลว่า เครื่องคุ้มครอง ป้องกันอันตรายจากภัยต่างๆ จากโรคภัยไข้เจ็บ ทำให้เกิดความสุข ความเจริญ พระโบราณาจารย์ท่านรวบรวมพระสูตรต่างๆที่ควรสวดไว้เป็นชุดๆ เช่น ชุดเล็ก เรียกว่า “เจ็ดตำนาน” มีพระสูตรอยู่ 7 บทด้วยกัน คือ มงคลปริตร รัตนปริตร เมตตปริตร ขันธปริตร โมรปริตร ธชัคคปริตร และอาฏานาฏิยปริตร
ส่วนชุดใหญ่ เรียกว่า “สิบสองตำนาน” ได้แก่ พระสูตรในชุดเล็ก และเพิ่ม วัฎฎกปริตร อังคุลิมาลปริตร โพชฌังคปริตร อภยปริตร และชัยปริตร ในโอกาสทำบุญงานมงคลต่างๆ เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญวันเกิด วันแต่งงาน วันเปิดร้าน เป็นต้น พระท่านก็จะสวดพระปริตรเหล่านี้ หรือเราจะสวดในชีวิตประจำวันด้วยตัวเองก็ได้
ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ได้มีการศึกษาวิจัยพบว่า ถ้าเราให้คนไข้สวดมนต์ตามบทสวดในศาสนาที่ตนนับถือ วันละ 20 นาที เช้าและก่อนนอน ทุกวัน พบว่า ทำให้ผู้สวดมีสมาธิ สามารถลดความดันลงได้ ทำให้การเต้นของหัวใจช้าลง คนไข้ที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ การเต้นจะเป็นจังหวะมากขึ้น ช่วยให้ภูมิต้านทานดีขึ้น สารอนุมูลอิสระในร่างกายลดลง ลดความเครียด อาการซึมเศร้าลงได้ ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น ทำให้โรคหอบหืด โรคลำไส้แปรปรวน โรคสะเก็ดเงินดีขึ้น (www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2802370.)
ศูนย์การแพทย์ผสมผสานและสุขภาพองค์รวม สหรัฐอเมริกา ได้ทำการสำรวจในประชากร 31,000 คน พบว่า ร้อยละ 36 มีการใช้วิธีการด้านการแพทย์ผสมผสานดูแลสุขภาพของตนเอง ร้อยละ 62 ใช้การสวดมนต์บำบัดโรคของตนเอง ร้อยละ 43 สวดมนต์เพื่อให้สุขภาพดี ร้อยละ 24 สวดมนต์ให้ผู้อื่น ร้อยละ 10 สวดมนต์เพื่อให้บุคคลที่ตนมุ่งหวังให้หายจากโรคที่ประสบอยู่
ท่านผู้อ่านครับ เราจะเห็นว่า การสวดพระปริตรมีประโยชน์อย่างมาก และฝึกได้ไม่ยาก มีให้ฟังใน youtube มากมาย ปัจจุบัน คนทั่วโลกทุกศาสนาต่างก็เรียนรู้ถึงประโยชน์ของการสวดมนต์ แล้วนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ท่านผู้อ่านอาจจะหาความรู้ได้จากเรื่องพลังแห่งการสวดมนต์ www.youtube.com พิมพ์คำว่า Larry Dossey on power of prayer 1-3 และเรื่องการสวดมนต์มีประโยชน์จริงหรือ? www.youtube.com พิมพ์คำว่า Is Prayer really usuful? (GDD 141 Master Sheng Yen)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 187 กรกฎาคม 2559 โดย นพ.แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ)