อธิบดีกรมการแพทย์ เผยความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะไตวาย แนะวิธีปฏิบัติตนเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตด้วยอาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์แจ่มใส จะทำให้ห่างไกลโรค
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ทุกวันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปี สมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลก กำหนดให้เป็นวันความดันโลหิตสูงโลก เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตื่นตัว ในการป้องกันโรคดังกล่าว
เนื่องจากสถิติองค์การอนามัยโลก พบผู้ที่มีความดันโลหิตสูงถึง 1,000 ล้านคน ทำให้เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของคนทั่วโลก สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย พบอัตราการป่วยและเข้ารับการรักษาในสถานบริการสาธารณสุขด้วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สิ่งที่น่ากังวล คือ จำนวนผู้ที่มีความดันโลหิตสูงร้อยละ 60 ในเพศชาย และร้อยละ 40 ในเพศหญิง ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อน เนื่องจากไม่ทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตสูง เพราะโรคนี้จะไม่ปรากฏอาการชัดเจนในช่วงแรก แต่จะมีภาวะระดับความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
ซึ่งค่าความดันปกติ ถือเอาค่าตัวบนน้อยกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท และค่าตัวล่างน้อยกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท หากค่าดังกล่าวสูงเกินกำหนดต่อเนื่อง และไม่ได้รับการรักษา แรงดันในหลอดเลือดที่สูงจะไปทำลายผนังหลอดเลือดและอวัยวะที่สำคัญทั่วร่างกาย ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่ออวัยวะในร่างกาย ทำให้เส้นเลือดแดงแข็ง ลดความเร็วการไหลเวียนเลือดและออกซิเจนไปสู่หัวใจ เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหัวใจวาย เส้นเลือดในสมองอุดตัน/แตก (Stroke) ทำให้เกิดความพิการหรืออัมพาตได้ นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบทำให้การทำงานของไตล้มเหลวหรือที่เรียกว่าภาวะไตวาย
อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมหรือป้องกันให้อยู่ในภาวะปกติได้ ด้วยการ
- ควบคุมอาหารที่มีผลต่อความดันโลหิต ซึ่งอาหารที่มีเกลือ(โซเดียม)สูง เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง จึงควรลดการรับประทานอาหารผ่านกระบวนการ อาหารสำเร็จรูป อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง และอาหารขยะ (junk food) ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ขนมถุง แฮมเบอร์เกอร์ ไก่ทอด ไส้กรอก เป็นต้น
- ลดอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง
- เพิ่มการบริโภคผักและผลไม้ที่หวานน้อย เช่น พืชตระกูลถั่ว กล้วย ส้ม แตงโม
- ควรลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และงดการสูบบุหรี่
- ทำอารมณ์ให้แจ่มใส ไม่เครียด
- การออกกำลังกายโดยการใช้แรงในชีวิตประจำวัน เช่น การขึ้นบันไดแทนลิฟท์ การเดินไปตลาด ทำงานบ้าน ปลูกต้นไม้ ทำสวน ฯลฯ
ก็จะสามารถช่วยลดระดับความดันโลหิตได้ดี ในกรณีผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเกิดความดันโลหิตสูง คือ ผู้ที่บริโภคอาหารไม่ได้สัดส่วน กินของหวาน มัน เค็มจัด รับประทานผักและผลไม้น้อย ภาวะอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และมีภาวะเครียด รวมทั้งอายุที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น จึงควรได้รับการตรวจคัดกรองอยู่เสมอ ด้วยการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
สำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่แล้ว ต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนวัดความดันโลหิตเป็นประจำ พร้อมจดบันทึก และใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นคนปกติ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 186 มิถุนายน 2559 โดย กองบรรณาธิการ)
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ทุกวันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปี สมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลก กำหนดให้เป็นวันความดันโลหิตสูงโลก เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตื่นตัว ในการป้องกันโรคดังกล่าว
เนื่องจากสถิติองค์การอนามัยโลก พบผู้ที่มีความดันโลหิตสูงถึง 1,000 ล้านคน ทำให้เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของคนทั่วโลก สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย พบอัตราการป่วยและเข้ารับการรักษาในสถานบริการสาธารณสุขด้วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สิ่งที่น่ากังวล คือ จำนวนผู้ที่มีความดันโลหิตสูงร้อยละ 60 ในเพศชาย และร้อยละ 40 ในเพศหญิง ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อน เนื่องจากไม่ทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตสูง เพราะโรคนี้จะไม่ปรากฏอาการชัดเจนในช่วงแรก แต่จะมีภาวะระดับความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
ซึ่งค่าความดันปกติ ถือเอาค่าตัวบนน้อยกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท และค่าตัวล่างน้อยกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท หากค่าดังกล่าวสูงเกินกำหนดต่อเนื่อง และไม่ได้รับการรักษา แรงดันในหลอดเลือดที่สูงจะไปทำลายผนังหลอดเลือดและอวัยวะที่สำคัญทั่วร่างกาย ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่ออวัยวะในร่างกาย ทำให้เส้นเลือดแดงแข็ง ลดความเร็วการไหลเวียนเลือดและออกซิเจนไปสู่หัวใจ เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหัวใจวาย เส้นเลือดในสมองอุดตัน/แตก (Stroke) ทำให้เกิดความพิการหรืออัมพาตได้ นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบทำให้การทำงานของไตล้มเหลวหรือที่เรียกว่าภาวะไตวาย
อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมหรือป้องกันให้อยู่ในภาวะปกติได้ ด้วยการ
- ควบคุมอาหารที่มีผลต่อความดันโลหิต ซึ่งอาหารที่มีเกลือ(โซเดียม)สูง เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง จึงควรลดการรับประทานอาหารผ่านกระบวนการ อาหารสำเร็จรูป อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง และอาหารขยะ (junk food) ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ขนมถุง แฮมเบอร์เกอร์ ไก่ทอด ไส้กรอก เป็นต้น
- ลดอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง
- เพิ่มการบริโภคผักและผลไม้ที่หวานน้อย เช่น พืชตระกูลถั่ว กล้วย ส้ม แตงโม
- ควรลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และงดการสูบบุหรี่
- ทำอารมณ์ให้แจ่มใส ไม่เครียด
- การออกกำลังกายโดยการใช้แรงในชีวิตประจำวัน เช่น การขึ้นบันไดแทนลิฟท์ การเดินไปตลาด ทำงานบ้าน ปลูกต้นไม้ ทำสวน ฯลฯ
ก็จะสามารถช่วยลดระดับความดันโลหิตได้ดี ในกรณีผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเกิดความดันโลหิตสูง คือ ผู้ที่บริโภคอาหารไม่ได้สัดส่วน กินของหวาน มัน เค็มจัด รับประทานผักและผลไม้น้อย ภาวะอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และมีภาวะเครียด รวมทั้งอายุที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น จึงควรได้รับการตรวจคัดกรองอยู่เสมอ ด้วยการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
สำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่แล้ว ต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนวัดความดันโลหิตเป็นประจำ พร้อมจดบันทึก และใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นคนปกติ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 186 มิถุนายน 2559 โดย กองบรรณาธิการ)