สมเด็จพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระศาสดาของเทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย พระองค์ประสูติ ตรัสรู้ แลเสด็จดับขันธปรินิพพาน รวม ๓ สมัยกาลนี้เป็นพิเศษ ก็แลวันเช่นนี้ เวียนมาครบรอบปีในวันนี้ สาธุชนพุทธบริษัทมาตามระลึกถึงพระพุทธคุณ ตบแต่งประทีปธูปเทียนดอกไม้ เพื่อบูชาพระพุทธปฏิมา ซึ่งประดิษฐานในพระอุโบสถ เป็นพยานแห่งจิตของผู้มีศรัทธาเคารพเลื่อมใส สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระคุณธรรมอันประเสริฐ ไม่มีผู้ใดจะเทียมถึง
บัดนี้จะแสดงพระธรรมิกถา เพื่อเป็นกุศลขันธ์อันยิ่งใหญ่ แม้พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วนานไกล แต่ความเลื่อมใสของสาธุชนพุทธบริษัทยังเต็มบริบูรณ์อยู่ภายในคือความเลื่อมใสเคารพ ภายนอกคือเครื่องสักการะ มีประทีปธูปเทียน เป็นต้น เมื่อถึงวันวิสาขปุรณมีเช่นนี้ ควรระลึกถึงพระพุทธคุณเป็นอารมณ์
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายนั้น เป็นพระ “พุทฺโธ” คือ ตื่นแล้ว ทรงตื่นขึ้นก่อนเทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย แลทรงเห็นโทษในสิ่งที่เป็นโทษ พระองค์ทรงสั่งสอนสัตว์ให้ตื่นขึ้นรู้ตามเห็นตามด้วย
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็น “ทนฺโต” ผู้ฝึกดัดพระองค์ก่อน ทรงทำพระองค์ให้ดีแล้ว จึ่งฝึกดัดสาวกให้ปฏิบัติตามด้วย เหมือนคนดัดลูกศรให้ตรง หรือเหมือนช่างไม้ พยายามดัดไม้ให้ตรง ฉะนั้น
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็น “สนฺโต” ผู้สงบ สงบทั้งพระกาย ทั้งพระวาจา ทั้งพระหฤทัย ไม่ทรงเบียดเบียนสัตว์อื่นๆ ให้เดือดร้อน ทรงสั่งสอนสาวกให้สงบกาย วาจา ใจ ด้วย
พระองค์เป็น “ติณฺโณ” ผู้ข้ามกิเลสได้แล้ว ทรงสั่งสอนประชาชนให้ข้ามกิเลสได้ด้วย ได้แก่ ข้ามโอฆะ
โอฆะแบ่งเป็น ๔ คือ กามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ วิชชาโอฆะ กิเลส ๔ อย่างนี้ ผู้ที่เกิดมาแล้ว เหมือนคนที่ตกอยู่ในน้ำ พระองค์ข้ามได้แล้ว ทรงสอนผู้อื่นให้ข้ามตามด้วย
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็น “มุตฺโต” ผู้พ้นจากกิเลสแล้ว ทรงสั่งสอนสาวกด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา คือให้มีศีล พ้นจากโทษอย่างหยาบที่ล่วงทางกาย และวาจา ให้มีสมาธิ พ้นจากโทษอย่างกลาง ที่เกิดทางใจ ให้มีปัญญา พ้นจากโทษอย่างละเอียด คือความไม่รู้ ความเห็นผิดด้วย
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็น “ปรินิพฺพุโต” ผู้ดับรอบคอบแล้ว ทรงสั่งสอนสาวกให้ดับไฟกิเลสและกองทุกข์หมดรอบคอบด้วย ฯ
ครั้งเมื่อพระองค์จวนจะปรินิพพาน รับสั่งว่า “โย โว อานนฺท” เป็นต้น “ดูก่อน อานนท์ ธรรมวินัยใด ที่เราตถาคตแสดงและบัญญัติแล้ว แก่ท่านทั้งหลาย เมื่อเราตถาคตล่วงไปแล้ว ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาครูสั่งสอนของท่านทั้งหลาย ดั่งนี้”
เหตุฉะนั้น เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนานแล้ว พระธรรมพระวินัยยังอยู่ พระธรรมพระวินัยนั้นเป็นศาสดาครูสั่งสอนของเราทั้งหลาย เหมือนร่มใหญ่ ถ้าผู้ใดกางกั้น ก็กันแดดบังฝน กั้นน้ำค้างให้แก่ผู้นั้น ฉันใด พระธรรมวินัยนั้น ผู้ใดประพฤติปฏิบัติตาม ด้วยกาย วาจา ใจดี ผู้นั้นก็เป็นสุขกาย สบายใจ เหมือนอยู่ในร่มใหญ่ คุ้มแดดฝนน้ำค้างให้ ฉันนั้น แต่ถ้าไม่ปฏิบัติพระธรรม พระธรรมก็ไม่คุ้มครอง เหมือนมีร่มใหญ่ แต่ไม่กาง ก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง ฉะนั้น พระธรรมนั้น ผู้ใดประพฤติ ก็ให้ผลแก่ผู้นั้น จะทำแทนกันไม่ได้ ฯ
พระธรรมนั้นมีมาก ยากที่จะพรรณนาให้ทั่วถึงได้ จะพรรณนาเฉพาะธรรม ๔ คือ ปัญญา ๑ สติ ๑ วิริยะ ๑ ขันติ ๑ คนที่ไม่ปฏิบัติธรรม ไม่มีปัญญา ไม่มีสติ ไม่มีเพียร ไม่มีขันติความอดทน ทั้ง ๔ อย่างนี้ ก็จะได้รับแต่โทษทุกข์เดือดร้อนไม่สร่างซา คนที่ปฏิบัติธรรม ๔ อย่างนี้ ก็เหมือนอยู่ในร่มใหญ่ คุ้มได้ทั้งฝน ทั้งแดด ทั้งน้ำค้าง ฯ
ข้อ ๑ คนมีปัญญาแล้ว เหมือนมีดวงแก้ว ย่อมทำลายความไม่รู้ให้หายไป แสงสว่างอื่นๆ สู้ไม่ได้ทั้งนั้น เช่น แสงพระอาทิตย์ พระจันทร์ และแสงไฟ ไม่อาจส่องลงไปในเหวลึก หรือในเหตุผลอันละเอียดได้
ต้นเหตุของปัญญาที่จะเกิดนั้น ต้องอาศัย “สุตะ” การฟังมาก ๑ อาศัย “จินตา” ความนึกคิดตรึกตรอง ๑ อาศัย “ภาวนา” การอบรมฝึกหัดทำให้มีให้เป็นขึ้นในจิตใจ ๑ สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า “ปญฺญา เจนํ ปสาสติ ปัญญาย่อมปกครองนรชน” นั้น เมื่อผู้นั้นมีปัญญา ไปในทุกที่ทุกสถานก็เกิดสุข ฯ
ข้อ ๒ สติความเฉลียวนั้น ก่อนทำ ก่อนพูด ก่อนคิด ควรมีสติเฉลียวดูก่อน แม้กำลังทำ กำลังพูด กำลังคิด ก็ต้องมีสติตรวจตราดูเสียก่อน ลางคราวตั้งใจจะพูดให้ดี แต่พอพูดออกไป ก็ยังผิด เพราะสติมาไม่ทันกัน ต้องตั้งใจจำไว้ แม้ทำแล้ว พูดแล้ว คิดแล้ว ก็ต้องตรวจตราให้ดีอีก สติจะได้ทันกัน ฯ
ข้อ ๓ ความเพียรนั้น ต้องมีความเพียร ไม่ครั่นคร้ามต่ออุปสรรค ไม่ท้อถอยต่อความลำบาก ส่วนความไม่ดี ความชั่วที่กำลังทำอยู่ ก็เพียรละเลิก ส่วนความดีที่ยังไม่ได้ลงมือทำ ก็เพียรทำให้ได้และให้ดียิ่งๆขึ้น พระองค์ตรัสว่า “วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ สาธุชนพ้นทุกข์ได้ด้วยความเพียร ดั่งนี้ ฯ”
ข้อ ๔ คือ ขันติ คนที่ขี้เบื่อง่าย ทำอะไรซ้ำๆซากๆ ก็เบื่อ ถ้าเป็นความดี ถึงจะเบื่อหรือขี้เกียจทำ ก็ต้องใช้ขันติอดทนทำ สิ่งที่เป็นบาปกรรมความชั่ว ถึงไม่เบื่ออยากจะทำ ก็ต้องใช้ใจอดทน ไม่ทำเป็นอันขาด ถ้าพิจารณาอดทนได้ดั่งนี้ ก็ได้ชื่อว่ามีขันติ พระองค์ตรัสว่า “ขนิติ พลํ ว ยตินํ ขันติเป็นกำลังของผู้บำเพ็ญพรต ดั่งนี้ ฯ”
สาธุชนควรปฏิบัติธรรม ๔ ประการนี้ให้มีขึ้นในตน ก็เหมือนได้ร่มใหญ่ไว้กางกั้น กันแดดฝนแลน้ำค้าง ถ้าบุคคลมีแต่ปัญญามากเกินไป ก็มักล้นไป เขวไป ต้องอาศัยสามัคคีกับสติ สติก็ต้องสามัคคีกับวิริยะ แม้ทั้ง ๓ ข้อนี้ ถ้าไม่สามัคคีกับขันติก็ใช้ไม่ได้
ท่านจึงเปรียบปัญญาเหมือนมีด สติเหมือนด้าม วิริยะความเพียรเหมือนมือที่จับด้ามมีด ขันติความอดทนเหมือนกำลังที่ยกมือขึ้นจับด้ามมีด ถ้าไม่มีธรรมทั้ง ๔ อย่างนี้ ก็ไม่มีกำลังที่จะฆ่ากิเลสได้ ต้องอาศัยธรรม ๔ อย่างนี้สามัคคีกลมเกลียวกัน จึ่งจะตัดทอนกิเลสให้น้อย เบาบางลง ดังวิสัชนามา ด้วยประการฉะนี้ ฯ
(จากการแสดงธรรม ณ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ วิสาขะ พ.ศ. ๒๔๘๔)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 185 พฤษภาคม 2559 โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร กทม.)
บัดนี้จะแสดงพระธรรมิกถา เพื่อเป็นกุศลขันธ์อันยิ่งใหญ่ แม้พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วนานไกล แต่ความเลื่อมใสของสาธุชนพุทธบริษัทยังเต็มบริบูรณ์อยู่ภายในคือความเลื่อมใสเคารพ ภายนอกคือเครื่องสักการะ มีประทีปธูปเทียน เป็นต้น เมื่อถึงวันวิสาขปุรณมีเช่นนี้ ควรระลึกถึงพระพุทธคุณเป็นอารมณ์
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายนั้น เป็นพระ “พุทฺโธ” คือ ตื่นแล้ว ทรงตื่นขึ้นก่อนเทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย แลทรงเห็นโทษในสิ่งที่เป็นโทษ พระองค์ทรงสั่งสอนสัตว์ให้ตื่นขึ้นรู้ตามเห็นตามด้วย
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็น “ทนฺโต” ผู้ฝึกดัดพระองค์ก่อน ทรงทำพระองค์ให้ดีแล้ว จึ่งฝึกดัดสาวกให้ปฏิบัติตามด้วย เหมือนคนดัดลูกศรให้ตรง หรือเหมือนช่างไม้ พยายามดัดไม้ให้ตรง ฉะนั้น
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็น “สนฺโต” ผู้สงบ สงบทั้งพระกาย ทั้งพระวาจา ทั้งพระหฤทัย ไม่ทรงเบียดเบียนสัตว์อื่นๆ ให้เดือดร้อน ทรงสั่งสอนสาวกให้สงบกาย วาจา ใจ ด้วย
พระองค์เป็น “ติณฺโณ” ผู้ข้ามกิเลสได้แล้ว ทรงสั่งสอนประชาชนให้ข้ามกิเลสได้ด้วย ได้แก่ ข้ามโอฆะ
โอฆะแบ่งเป็น ๔ คือ กามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ วิชชาโอฆะ กิเลส ๔ อย่างนี้ ผู้ที่เกิดมาแล้ว เหมือนคนที่ตกอยู่ในน้ำ พระองค์ข้ามได้แล้ว ทรงสอนผู้อื่นให้ข้ามตามด้วย
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็น “มุตฺโต” ผู้พ้นจากกิเลสแล้ว ทรงสั่งสอนสาวกด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา คือให้มีศีล พ้นจากโทษอย่างหยาบที่ล่วงทางกาย และวาจา ให้มีสมาธิ พ้นจากโทษอย่างกลาง ที่เกิดทางใจ ให้มีปัญญา พ้นจากโทษอย่างละเอียด คือความไม่รู้ ความเห็นผิดด้วย
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็น “ปรินิพฺพุโต” ผู้ดับรอบคอบแล้ว ทรงสั่งสอนสาวกให้ดับไฟกิเลสและกองทุกข์หมดรอบคอบด้วย ฯ
ครั้งเมื่อพระองค์จวนจะปรินิพพาน รับสั่งว่า “โย โว อานนฺท” เป็นต้น “ดูก่อน อานนท์ ธรรมวินัยใด ที่เราตถาคตแสดงและบัญญัติแล้ว แก่ท่านทั้งหลาย เมื่อเราตถาคตล่วงไปแล้ว ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาครูสั่งสอนของท่านทั้งหลาย ดั่งนี้”
เหตุฉะนั้น เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนานแล้ว พระธรรมพระวินัยยังอยู่ พระธรรมพระวินัยนั้นเป็นศาสดาครูสั่งสอนของเราทั้งหลาย เหมือนร่มใหญ่ ถ้าผู้ใดกางกั้น ก็กันแดดบังฝน กั้นน้ำค้างให้แก่ผู้นั้น ฉันใด พระธรรมวินัยนั้น ผู้ใดประพฤติปฏิบัติตาม ด้วยกาย วาจา ใจดี ผู้นั้นก็เป็นสุขกาย สบายใจ เหมือนอยู่ในร่มใหญ่ คุ้มแดดฝนน้ำค้างให้ ฉันนั้น แต่ถ้าไม่ปฏิบัติพระธรรม พระธรรมก็ไม่คุ้มครอง เหมือนมีร่มใหญ่ แต่ไม่กาง ก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง ฉะนั้น พระธรรมนั้น ผู้ใดประพฤติ ก็ให้ผลแก่ผู้นั้น จะทำแทนกันไม่ได้ ฯ
พระธรรมนั้นมีมาก ยากที่จะพรรณนาให้ทั่วถึงได้ จะพรรณนาเฉพาะธรรม ๔ คือ ปัญญา ๑ สติ ๑ วิริยะ ๑ ขันติ ๑ คนที่ไม่ปฏิบัติธรรม ไม่มีปัญญา ไม่มีสติ ไม่มีเพียร ไม่มีขันติความอดทน ทั้ง ๔ อย่างนี้ ก็จะได้รับแต่โทษทุกข์เดือดร้อนไม่สร่างซา คนที่ปฏิบัติธรรม ๔ อย่างนี้ ก็เหมือนอยู่ในร่มใหญ่ คุ้มได้ทั้งฝน ทั้งแดด ทั้งน้ำค้าง ฯ
ข้อ ๑ คนมีปัญญาแล้ว เหมือนมีดวงแก้ว ย่อมทำลายความไม่รู้ให้หายไป แสงสว่างอื่นๆ สู้ไม่ได้ทั้งนั้น เช่น แสงพระอาทิตย์ พระจันทร์ และแสงไฟ ไม่อาจส่องลงไปในเหวลึก หรือในเหตุผลอันละเอียดได้
ต้นเหตุของปัญญาที่จะเกิดนั้น ต้องอาศัย “สุตะ” การฟังมาก ๑ อาศัย “จินตา” ความนึกคิดตรึกตรอง ๑ อาศัย “ภาวนา” การอบรมฝึกหัดทำให้มีให้เป็นขึ้นในจิตใจ ๑ สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า “ปญฺญา เจนํ ปสาสติ ปัญญาย่อมปกครองนรชน” นั้น เมื่อผู้นั้นมีปัญญา ไปในทุกที่ทุกสถานก็เกิดสุข ฯ
ข้อ ๒ สติความเฉลียวนั้น ก่อนทำ ก่อนพูด ก่อนคิด ควรมีสติเฉลียวดูก่อน แม้กำลังทำ กำลังพูด กำลังคิด ก็ต้องมีสติตรวจตราดูเสียก่อน ลางคราวตั้งใจจะพูดให้ดี แต่พอพูดออกไป ก็ยังผิด เพราะสติมาไม่ทันกัน ต้องตั้งใจจำไว้ แม้ทำแล้ว พูดแล้ว คิดแล้ว ก็ต้องตรวจตราให้ดีอีก สติจะได้ทันกัน ฯ
ข้อ ๓ ความเพียรนั้น ต้องมีความเพียร ไม่ครั่นคร้ามต่ออุปสรรค ไม่ท้อถอยต่อความลำบาก ส่วนความไม่ดี ความชั่วที่กำลังทำอยู่ ก็เพียรละเลิก ส่วนความดีที่ยังไม่ได้ลงมือทำ ก็เพียรทำให้ได้และให้ดียิ่งๆขึ้น พระองค์ตรัสว่า “วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ สาธุชนพ้นทุกข์ได้ด้วยความเพียร ดั่งนี้ ฯ”
ข้อ ๔ คือ ขันติ คนที่ขี้เบื่อง่าย ทำอะไรซ้ำๆซากๆ ก็เบื่อ ถ้าเป็นความดี ถึงจะเบื่อหรือขี้เกียจทำ ก็ต้องใช้ขันติอดทนทำ สิ่งที่เป็นบาปกรรมความชั่ว ถึงไม่เบื่ออยากจะทำ ก็ต้องใช้ใจอดทน ไม่ทำเป็นอันขาด ถ้าพิจารณาอดทนได้ดั่งนี้ ก็ได้ชื่อว่ามีขันติ พระองค์ตรัสว่า “ขนิติ พลํ ว ยตินํ ขันติเป็นกำลังของผู้บำเพ็ญพรต ดั่งนี้ ฯ”
สาธุชนควรปฏิบัติธรรม ๔ ประการนี้ให้มีขึ้นในตน ก็เหมือนได้ร่มใหญ่ไว้กางกั้น กันแดดฝนแลน้ำค้าง ถ้าบุคคลมีแต่ปัญญามากเกินไป ก็มักล้นไป เขวไป ต้องอาศัยสามัคคีกับสติ สติก็ต้องสามัคคีกับวิริยะ แม้ทั้ง ๓ ข้อนี้ ถ้าไม่สามัคคีกับขันติก็ใช้ไม่ได้
ท่านจึงเปรียบปัญญาเหมือนมีด สติเหมือนด้าม วิริยะความเพียรเหมือนมือที่จับด้ามมีด ขันติความอดทนเหมือนกำลังที่ยกมือขึ้นจับด้ามมีด ถ้าไม่มีธรรมทั้ง ๔ อย่างนี้ ก็ไม่มีกำลังที่จะฆ่ากิเลสได้ ต้องอาศัยธรรม ๔ อย่างนี้สามัคคีกลมเกลียวกัน จึ่งจะตัดทอนกิเลสให้น้อย เบาบางลง ดังวิสัชนามา ด้วยประการฉะนี้ ฯ
(จากการแสดงธรรม ณ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ วิสาขะ พ.ศ. ๒๔๘๔)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 185 พฤษภาคม 2559 โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร กทม.)