กรมการแพทย์เผย “อาการปวดหลัง” ปัญหาสุขภาพที่สร้างความทรมานและกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของหลายๆคน ปัจจุบันพบผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาอาการปวดหลัง เริ่มมีอายุเฉลี่ยน้อยลงเรื่อยๆ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตหักโหม ทำกิจกรรมซ้ำๆ เป็นเวลานาน ไม่รักษาสุขภาพ แนะควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ และพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาให้ถูกวิธี
นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปวดหลังเป็น
อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานหนักต้องก้มๆเงยๆอยู่เสมอ ผู้ใช้แรงงาน
ผู้สูงอายุ หรือหญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น
ปกติอาการปวดเมื่อยบริเวณแผ่นหลังโดยไม่มีไข้ จะหายได้เองใน 1 อาทิตย์ แต่ควรลดกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวด เช่น ยกของหนัก เล่นกีฬา หากมีอาการปวดหลังติดต่อกันมากกว่า 1 อาทิตย์ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาที่ถูกต้อง เพราะอาการปวดหลังที่หลายคนคิดว่าเป็นเพียงปวดหลังธรรมดา อาจเป็นโรคร้ายแรง เช่น ติดเชื้อบริเวณกระดูกสันหลัง หรือมะเร็งกระดูก และอาจทำให้เสียชีวิตได้
• การปวดหลังมีอาการแตกต่างกันดังนี้
* อาการปวดหลังอย่างเดียว ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังจากการก้มยกของหนักหรือการทำกิจวัตรประจำวันหนักมากเกินไป เช่น นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือขับรถเป็นเวลานานๆ โดยไม่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ อาการเหล่านี้มักเกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็นยึด และหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน หรือได้รับการกระทบกระเทือน
* การปวดหลังร่วมกับการปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง มักปวดร้าวบริเวณต้นขาด้านหน้าหรือ
ด้านหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังมานานและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนอาจทำให้ท่านั่งท่าเดินผิดปกติไปจากเดิม และเวลาไอ จาม อาการปวดจะกำเริบขึ้น ซึ่งเกี่ยวกับเส้นประสาทหรือรากประสาทถูกกดทับ หรือการระคายเคืองจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนตัว
* การปวดหลังร่วมกับอาการอ่อนแรง หรืออาการปวดร้าวลงขาเป็นระยะ เพียงแค่เดินระยะใกล้ๆ ก็มีอาการปวดจนต้องนั่งพักก่อน จึงจะเดินต่อไปได้ อาการเหล่านี้มักพบในผู้สูงอายุ หากไม่รับการรักษาอาจรุนแรงมากขึ้น จนไม่สามารถกลั้นปัสสาวะ อุจจาระได้
อาการปวดหลังสามารถป้องกันได้ ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดหลัง เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หากต้องนั่งนานๆ ควรหาโอกาสเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ หมั่นบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดหดตัว เลือดจึงไปหล่อเลี้ยงเซลล์ได้ไม่ดี ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง
นายแพทย์ณรงค์กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคปวดหลังสะท้อนวิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน ที่ทำงานหนักจนละเลยการดูแลสุขภาพ
ดังนั้น ควรใจใส่สุขภาพ เริ่มจากการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ปราศจากสารพิษ เลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส หรือบรรดาสารสีต่างๆ เพราะเป็นตัวบั่นทอนความแข็งแรงของกระดูก ไม่ทำงานหนักเกินไป ไม่ควรซื้อยากินเอง ควรกินยาตามแพทย์สั่ง ไม่เครียด ทำจิตใจให้แจ่มใส และพักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคได้
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 184 เมษายน 2559 โดย กองบรรณาธิการ)
นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปวดหลังเป็น
อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานหนักต้องก้มๆเงยๆอยู่เสมอ ผู้ใช้แรงงาน
ผู้สูงอายุ หรือหญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น
ปกติอาการปวดเมื่อยบริเวณแผ่นหลังโดยไม่มีไข้ จะหายได้เองใน 1 อาทิตย์ แต่ควรลดกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวด เช่น ยกของหนัก เล่นกีฬา หากมีอาการปวดหลังติดต่อกันมากกว่า 1 อาทิตย์ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาที่ถูกต้อง เพราะอาการปวดหลังที่หลายคนคิดว่าเป็นเพียงปวดหลังธรรมดา อาจเป็นโรคร้ายแรง เช่น ติดเชื้อบริเวณกระดูกสันหลัง หรือมะเร็งกระดูก และอาจทำให้เสียชีวิตได้
• การปวดหลังมีอาการแตกต่างกันดังนี้
* อาการปวดหลังอย่างเดียว ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังจากการก้มยกของหนักหรือการทำกิจวัตรประจำวันหนักมากเกินไป เช่น นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือขับรถเป็นเวลานานๆ โดยไม่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ อาการเหล่านี้มักเกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็นยึด และหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน หรือได้รับการกระทบกระเทือน
* การปวดหลังร่วมกับการปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง มักปวดร้าวบริเวณต้นขาด้านหน้าหรือ
ด้านหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังมานานและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนอาจทำให้ท่านั่งท่าเดินผิดปกติไปจากเดิม และเวลาไอ จาม อาการปวดจะกำเริบขึ้น ซึ่งเกี่ยวกับเส้นประสาทหรือรากประสาทถูกกดทับ หรือการระคายเคืองจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนตัว
* การปวดหลังร่วมกับอาการอ่อนแรง หรืออาการปวดร้าวลงขาเป็นระยะ เพียงแค่เดินระยะใกล้ๆ ก็มีอาการปวดจนต้องนั่งพักก่อน จึงจะเดินต่อไปได้ อาการเหล่านี้มักพบในผู้สูงอายุ หากไม่รับการรักษาอาจรุนแรงมากขึ้น จนไม่สามารถกลั้นปัสสาวะ อุจจาระได้
อาการปวดหลังสามารถป้องกันได้ ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดหลัง เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หากต้องนั่งนานๆ ควรหาโอกาสเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ หมั่นบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดหดตัว เลือดจึงไปหล่อเลี้ยงเซลล์ได้ไม่ดี ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง
นายแพทย์ณรงค์กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคปวดหลังสะท้อนวิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน ที่ทำงานหนักจนละเลยการดูแลสุขภาพ
ดังนั้น ควรใจใส่สุขภาพ เริ่มจากการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ปราศจากสารพิษ เลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส หรือบรรดาสารสีต่างๆ เพราะเป็นตัวบั่นทอนความแข็งแรงของกระดูก ไม่ทำงานหนักเกินไป ไม่ควรซื้อยากินเอง ควรกินยาตามแพทย์สั่ง ไม่เครียด ทำจิตใจให้แจ่มใส และพักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคได้
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 184 เมษายน 2559 โดย กองบรรณาธิการ)