• ยโสธรจัดแห่มาลัยข้าวตอก หนึ่งเดียวในโลก ถวายเป็นพุทธบูชา “วันมาฆบูชา”
นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ได้แถลงข่าวการจัดงานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก ปี 2559 ระหว่างวันที่ 19-21 กุมภาพันธ์ 2559 บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอมหาชนะชัย ว่า ประเพณีการแห่มาลัยข้าวตอก เป็นประเพณีเก่าแก่ในช่วงเทศกาลวันมาฆบูชา เป็นประเพณีซึ่งมีที่เดียวในโลก ที่ชาวชุมชนบ้านฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ได้สืบทอดรักษากันมายาวนาน โดยชาวบ้านจะพากันนำข้าวเหนียวเปลือกมาคั่วไฟอ่อนๆ ให้ร้อนเสมอกัน จนแตกออกเป็นข้าวตอกขาว แล้วจึงนำมาร้อยเป็นมาลัยสาย ซึ่งมีความยาวสูงนับสิบเมตร และประดับตกแต่งอย่างงดงามหลากหลายรูปแบบ
การร้อยข้าวตอกเป็นมาลัยสายยาว เป็นการสื่อความหมายแทน “ดอกมณฑารพ” ซึ่งเป็นดอกไม้ทิพย์แห่งสรวงสวรรค์ ที่มีความสวยงามและหอมเป็นพิเศษ โดยดอกมณฑารพจะบานและร่วงหล่นลงยังโลกมนุษย์ เฉพาะในวันที่มีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ได้แก่ วันประสูติ วันตรัสรู้ วันปรินิพพาน ฯลฯ
การแห่มาลัยข้าวตอกเป็นการถวายเป็นพุทธบูชา เนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา ดังคำว่า “ร้อยมาลัยข้าวตอก แทนดอกมณฑารพ นบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”
โดยภายในงานนักท่องเที่ยวจะได้ชมขบวนรถ ที่ถูกตกแต่งด้วยมาลัยข้าวตอกที่สวยงาม บรรยากาศการประดับมาลัยข้าวตอกตามบ้านเรือน และซุ้มมาลัยข้าวตอก การแสดง แสงสีเสียง ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่มาลัยข้าวตอกจากพระไตรปิฎก การประกวดพวงมาลัยข้าวตอก การสาธิตการทำมาลัยข้าวตอก การจำหน่ายสินค้าโอทอป ของชาวอำเภอมหาชนะชัย พร้อมทั้งร่วมทำบุญตักบาตร ถวายพวงมาลัยข้าวตอก เพื่อความเป็นสิริมงคลของตัวเอง
• สธ.เร่งเปิดคลินิกชะลอไตเสื่อม
ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เปิดเผยว่า ทั่วประเทศมีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังประมาณ 7.6 ล้านคน ในจำนวนนี้อยู่ในระยะสุดท้ายกว่า 70,000 คน ที่ต้องรับการฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้อง สาเหตุจากโรคเบาหวานร้อยละ 40.7 ความดันโลหิตสูงร้อยละ 27.3 สร้างความทุกข์ทรมานให้ผู้ป่วย และเสียค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากค่ารักษา เช่น ค่าเดินทาง การขาดรายได้จากการหยุดงาน โดยรัฐต้องรับผิดชอบค่ารักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ ปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท
ในปี 2559 สธ.ได้มีนโยบายเพิ่มการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อชะลอความเสื่อมของไตไม่ให้เข้าสู่ระยะสุดท้ายเร็วเกินไป โดยให้โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน เปิดคลินิกโรคไตเรื้อรัง เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น ในสถานบริการใกล้บ้าน
• วธ.เปิดตัว “เกมคุณธรรมแอนนิเมชั่นออนไลน์” สอนเด็กทำดี นั่งสมาธิ ไหว้พระ
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เนื่องในวันเด็กแห่งชาติปี 2559 ทางกระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา (ศน.) ได้จัดทำเกมคุณธรรมแอนนิเมชั่นออนไลน์ (Race for Good) ผ่าน mobile application บนระบบปฏิบัติการณ์แอนดรอย (Android OS) เนื่องจากเป็นสื่อที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่าย เพราะปัจจุบันมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตระบบปฏิบัติการณ์แอนดรอยกันอย่างแพร่หลาย อีกทั้งการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันมีความง่ายและสะดวก จึงเป็นช่องทางที่สำคัญอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาให้ไปสู่พุทธศาสนิกชน เด็กและเยาวชนอย่างทั่วถึง
สำหรับการติดตั้งตัวเกม สามารถดาวน์โหลดใน Play Store โดยทำการค้นหาด้วยการพิมพ์ Race for Good ลงในช่องค้นหา เมื่อกดตกลง รอสักครู่ ก็จะปรากฏตัวเกม จากนั้นจึงดาวน์โหลดได้ฟรี สอบถามรายละเอียดได้ที่กรมการศาสนา โทร. 0-2422-8781
• สธ.เตรียมเปิดคลินิกแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ครบวงจร ในโรงพยาบาลใหญ่
ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลส้ตยาทร ได้กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดนโยบายการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกสู่ภูมิภาค ว่า ปัจจุบันกระแสสังคมทั่วโลกมีความสนใจและฟื้นฟูใช้ประโยชน์จากการแพทย์ดั้งเดิม เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพที่การแพทย์สมัยใหม่ไม่สามารถตอบสนองได้ทั้งหมด กระทรวงสาธารณสุข จึงได้กำหนดให้เป็น 1 ใน 13 สาขาหลัก เร่งรัดพัฒนาให้เป็นทางเลือกของประชาชน และยังเป็น 1 ใน 5 เรื่องหลัก ที่เร่งรัดปฏิรูป เพื่อบรรลุระบบสุขภาพไทยที่พึงประสงค์ในอีก 20 ปีข้างหน้า สนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ด้านบริการสุขภาพ ยาและผลิตภัณฑ์ยาเพื่อสุขภาพ งานบริการวิชาการและงานวิจัย เพื่อสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีมูลค่ากว่าแสนล้านบาทต่อปี จึงได้บูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลักดันให้เกิดแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย พ.ศ. 2560-2564 ผลักดันการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพ เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพ เชื่อมโยงกับการแพทย์แผนปัจจุบัน เพิ่มทางเลือกให้ประชาชน ส่งเสริมการวิจัย และจัดตั้งกลุ่มงานการแพทย์แผนไทย ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นครั้งแรก เพื่อการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม โดยนำร่องใน 12 จังหวัด
ทั้งนี้มีเป้าหมายพัฒนาให้โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป จัดบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกแบบครบวงจร รักษาโรคทั่วไปและเฉพาะโรค เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต ไมเกรน ข้อเข่าเสื่อม ภูมิแพ้ อย่างน้อย 1 คลินิก ร้อยละ 80 ในปี 2559 และมีบริการการแพทย์แผนไทยคู่ขนานแผนกผู้ป่วยนอก ร้อยละ 70 โดยศาสตร์การรักษา ได้แก่ เวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย ผดุงครรภ์ไทย นวดไทย การฝังเข็มในแพทย์แผนจีน หรือการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ เช่นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย หรือการดูแลแบบประคับประคอง โดยสวดมนต์บำบัด สมาธิบำบัด กดจุดบำบัด การปรับสมดุลโครงสร้าง เป็นต้น
• “หลวงพ่อจรัญ” อริยสงฆ์ชื่อดังมรณภาพแล้ว
หลังการเข้ารับการรักษาอาการอาพาธในโรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2558 ด้วยอาการหอบเหนื่อยจากโรคปอดอักเสบ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน ต.พรหมบุรี อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี และที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 3 ก็ได้มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559 เวลา 08.37 น. สิริอายุ 87 ปี พรรษา 67
นายพนม ศรศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ ในวันที่ 26 มกราคม 2559 พร้อมด้วยเครื่องเกียรติยศประกอบศพ และโกศโถ ฉัตรเบญจา ตั้งประดับ และทรงรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ เป็นเวลา 7 วัน
ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า พระธรรมสิงหบุราจารย์ถือเป็นพระกัมมัฏฐานที่มีจริยวัตรงดงาม เป็นพระสุปฏิปันโน แสวงหาความรู้และประสบการณ์นำมาสอนสั่งญาติโยมให้รู้ซึ้งถึงกฎแห่งกรรม การปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ การบำเพ็ญภาวนา จนเป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศ อีกทั้งยังเป็นพระนักพัฒนา พระนักเทศน์ และพระวิปัสสนาจารย์ สืบสานเส้นทางธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) มีนามเดิมว่า จรัญ จรรยารักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมพ.ศ. 2471 ที่บ้านบางม่วงหมู่ ต.ม่วงหมู่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนทั้งหมด 11 คน ของนายแพและนางเจิม จรรยารักษ์ เมื่ออายุครบ 20 ปีจึงเข้าอุปสมบท เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 ณ วัดพรหมบุรี จ.สิงห์บุรี โดยมีพระพรหมนคราจารย์ วัดแจ้งพรหมนคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูถาวรวิริยคุณ วัดพุทธาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
หลวงพ่อจรัญได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัมพวันมาตั้งแต่ พ.ศ.2500 สำหรับสมณศักดิ์ที่ได้รับนั้น มีดังนี้
พ.ศ. 2511 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระครูภาวนาวิสุทธิ์
พ.ศ. 2531 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระภาวนาวิสุทธิคุณ
พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชสุทธิญาณมงคล
พ.ศ. 2544 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพสิงหบุราจารย์
พ.ศ. 2547 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมสิงหบุราจารย์
ความดีงามที่หลวงพ่อจรัญได้สร้างสมไว้ ทำให้ได้รับการยกย่องและถวายรางวัลต่างๆมากมาย ได้แก่ ได้รับโล่เกียรติคุณนักสังคมสงเคราะห์ดีเด่น สาขาสังคมสงเคราะห์อาสาสมัครฝ่ายกิจการพระศาสนา, ได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ด้านส่งเสริมชักชวนให้คนมาปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง, ได้รับมอบเข็มเกียรติคุณนักพัฒนาดีเด่นแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง จากพลเอกเปรม ติณสูลานนท์, มหาวิทยาลัยพะเยาถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, ได้รับรางวัลเสาอโศกผู้นำศีลธรรม จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เป็นต้น
ทั้งนี้ ก่อนมรณภาพ พระธรรมสิงหบุราจารย์ได้บริจาคเงินจำนวน 50 ล้านบาทให้โรงพยาบาลศิริราช เพื่อสมทบทุนสร้างอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา
โดยหลังพิธีในพระบรมราชานุเคราะห์ 7 วันแล้ว ทางวัดจะจัดให้มีการสวดพระอภิธรรมทุกวัน เวลา 19.00 น. ต่อเนื่อง 100 วัน จนถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2559 และจะเปิดให้ผู้เคารพศรัทธาได้เข้ากราบสรีรสังขารได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.30 - 22.00 น.
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 182 กุมภาพันธ์ 2559 โดย กองบรรณาธิการ)
นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ได้แถลงข่าวการจัดงานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก ปี 2559 ระหว่างวันที่ 19-21 กุมภาพันธ์ 2559 บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอมหาชนะชัย ว่า ประเพณีการแห่มาลัยข้าวตอก เป็นประเพณีเก่าแก่ในช่วงเทศกาลวันมาฆบูชา เป็นประเพณีซึ่งมีที่เดียวในโลก ที่ชาวชุมชนบ้านฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ได้สืบทอดรักษากันมายาวนาน โดยชาวบ้านจะพากันนำข้าวเหนียวเปลือกมาคั่วไฟอ่อนๆ ให้ร้อนเสมอกัน จนแตกออกเป็นข้าวตอกขาว แล้วจึงนำมาร้อยเป็นมาลัยสาย ซึ่งมีความยาวสูงนับสิบเมตร และประดับตกแต่งอย่างงดงามหลากหลายรูปแบบ
การร้อยข้าวตอกเป็นมาลัยสายยาว เป็นการสื่อความหมายแทน “ดอกมณฑารพ” ซึ่งเป็นดอกไม้ทิพย์แห่งสรวงสวรรค์ ที่มีความสวยงามและหอมเป็นพิเศษ โดยดอกมณฑารพจะบานและร่วงหล่นลงยังโลกมนุษย์ เฉพาะในวันที่มีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ได้แก่ วันประสูติ วันตรัสรู้ วันปรินิพพาน ฯลฯ
การแห่มาลัยข้าวตอกเป็นการถวายเป็นพุทธบูชา เนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา ดังคำว่า “ร้อยมาลัยข้าวตอก แทนดอกมณฑารพ นบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”
โดยภายในงานนักท่องเที่ยวจะได้ชมขบวนรถ ที่ถูกตกแต่งด้วยมาลัยข้าวตอกที่สวยงาม บรรยากาศการประดับมาลัยข้าวตอกตามบ้านเรือน และซุ้มมาลัยข้าวตอก การแสดง แสงสีเสียง ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่มาลัยข้าวตอกจากพระไตรปิฎก การประกวดพวงมาลัยข้าวตอก การสาธิตการทำมาลัยข้าวตอก การจำหน่ายสินค้าโอทอป ของชาวอำเภอมหาชนะชัย พร้อมทั้งร่วมทำบุญตักบาตร ถวายพวงมาลัยข้าวตอก เพื่อความเป็นสิริมงคลของตัวเอง
• สธ.เร่งเปิดคลินิกชะลอไตเสื่อม
ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เปิดเผยว่า ทั่วประเทศมีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังประมาณ 7.6 ล้านคน ในจำนวนนี้อยู่ในระยะสุดท้ายกว่า 70,000 คน ที่ต้องรับการฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้อง สาเหตุจากโรคเบาหวานร้อยละ 40.7 ความดันโลหิตสูงร้อยละ 27.3 สร้างความทุกข์ทรมานให้ผู้ป่วย และเสียค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากค่ารักษา เช่น ค่าเดินทาง การขาดรายได้จากการหยุดงาน โดยรัฐต้องรับผิดชอบค่ารักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ ปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท
ในปี 2559 สธ.ได้มีนโยบายเพิ่มการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อชะลอความเสื่อมของไตไม่ให้เข้าสู่ระยะสุดท้ายเร็วเกินไป โดยให้โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน เปิดคลินิกโรคไตเรื้อรัง เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น ในสถานบริการใกล้บ้าน
• วธ.เปิดตัว “เกมคุณธรรมแอนนิเมชั่นออนไลน์” สอนเด็กทำดี นั่งสมาธิ ไหว้พระ
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เนื่องในวันเด็กแห่งชาติปี 2559 ทางกระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา (ศน.) ได้จัดทำเกมคุณธรรมแอนนิเมชั่นออนไลน์ (Race for Good) ผ่าน mobile application บนระบบปฏิบัติการณ์แอนดรอย (Android OS) เนื่องจากเป็นสื่อที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่าย เพราะปัจจุบันมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตระบบปฏิบัติการณ์แอนดรอยกันอย่างแพร่หลาย อีกทั้งการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันมีความง่ายและสะดวก จึงเป็นช่องทางที่สำคัญอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาให้ไปสู่พุทธศาสนิกชน เด็กและเยาวชนอย่างทั่วถึง
สำหรับการติดตั้งตัวเกม สามารถดาวน์โหลดใน Play Store โดยทำการค้นหาด้วยการพิมพ์ Race for Good ลงในช่องค้นหา เมื่อกดตกลง รอสักครู่ ก็จะปรากฏตัวเกม จากนั้นจึงดาวน์โหลดได้ฟรี สอบถามรายละเอียดได้ที่กรมการศาสนา โทร. 0-2422-8781
• สธ.เตรียมเปิดคลินิกแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ครบวงจร ในโรงพยาบาลใหญ่
ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลส้ตยาทร ได้กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดนโยบายการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกสู่ภูมิภาค ว่า ปัจจุบันกระแสสังคมทั่วโลกมีความสนใจและฟื้นฟูใช้ประโยชน์จากการแพทย์ดั้งเดิม เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพที่การแพทย์สมัยใหม่ไม่สามารถตอบสนองได้ทั้งหมด กระทรวงสาธารณสุข จึงได้กำหนดให้เป็น 1 ใน 13 สาขาหลัก เร่งรัดพัฒนาให้เป็นทางเลือกของประชาชน และยังเป็น 1 ใน 5 เรื่องหลัก ที่เร่งรัดปฏิรูป เพื่อบรรลุระบบสุขภาพไทยที่พึงประสงค์ในอีก 20 ปีข้างหน้า สนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ด้านบริการสุขภาพ ยาและผลิตภัณฑ์ยาเพื่อสุขภาพ งานบริการวิชาการและงานวิจัย เพื่อสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีมูลค่ากว่าแสนล้านบาทต่อปี จึงได้บูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลักดันให้เกิดแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย พ.ศ. 2560-2564 ผลักดันการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพ เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพ เชื่อมโยงกับการแพทย์แผนปัจจุบัน เพิ่มทางเลือกให้ประชาชน ส่งเสริมการวิจัย และจัดตั้งกลุ่มงานการแพทย์แผนไทย ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นครั้งแรก เพื่อการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม โดยนำร่องใน 12 จังหวัด
ทั้งนี้มีเป้าหมายพัฒนาให้โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป จัดบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกแบบครบวงจร รักษาโรคทั่วไปและเฉพาะโรค เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต ไมเกรน ข้อเข่าเสื่อม ภูมิแพ้ อย่างน้อย 1 คลินิก ร้อยละ 80 ในปี 2559 และมีบริการการแพทย์แผนไทยคู่ขนานแผนกผู้ป่วยนอก ร้อยละ 70 โดยศาสตร์การรักษา ได้แก่ เวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย ผดุงครรภ์ไทย นวดไทย การฝังเข็มในแพทย์แผนจีน หรือการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ เช่นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย หรือการดูแลแบบประคับประคอง โดยสวดมนต์บำบัด สมาธิบำบัด กดจุดบำบัด การปรับสมดุลโครงสร้าง เป็นต้น
• “หลวงพ่อจรัญ” อริยสงฆ์ชื่อดังมรณภาพแล้ว
หลังการเข้ารับการรักษาอาการอาพาธในโรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2558 ด้วยอาการหอบเหนื่อยจากโรคปอดอักเสบ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน ต.พรหมบุรี อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี และที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 3 ก็ได้มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559 เวลา 08.37 น. สิริอายุ 87 ปี พรรษา 67
นายพนม ศรศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ ในวันที่ 26 มกราคม 2559 พร้อมด้วยเครื่องเกียรติยศประกอบศพ และโกศโถ ฉัตรเบญจา ตั้งประดับ และทรงรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ เป็นเวลา 7 วัน
ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า พระธรรมสิงหบุราจารย์ถือเป็นพระกัมมัฏฐานที่มีจริยวัตรงดงาม เป็นพระสุปฏิปันโน แสวงหาความรู้และประสบการณ์นำมาสอนสั่งญาติโยมให้รู้ซึ้งถึงกฎแห่งกรรม การปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ การบำเพ็ญภาวนา จนเป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศ อีกทั้งยังเป็นพระนักพัฒนา พระนักเทศน์ และพระวิปัสสนาจารย์ สืบสานเส้นทางธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) มีนามเดิมว่า จรัญ จรรยารักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมพ.ศ. 2471 ที่บ้านบางม่วงหมู่ ต.ม่วงหมู่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนทั้งหมด 11 คน ของนายแพและนางเจิม จรรยารักษ์ เมื่ออายุครบ 20 ปีจึงเข้าอุปสมบท เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 ณ วัดพรหมบุรี จ.สิงห์บุรี โดยมีพระพรหมนคราจารย์ วัดแจ้งพรหมนคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูถาวรวิริยคุณ วัดพุทธาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
หลวงพ่อจรัญได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัมพวันมาตั้งแต่ พ.ศ.2500 สำหรับสมณศักดิ์ที่ได้รับนั้น มีดังนี้
พ.ศ. 2511 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระครูภาวนาวิสุทธิ์
พ.ศ. 2531 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระภาวนาวิสุทธิคุณ
พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชสุทธิญาณมงคล
พ.ศ. 2544 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพสิงหบุราจารย์
พ.ศ. 2547 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมสิงหบุราจารย์
ความดีงามที่หลวงพ่อจรัญได้สร้างสมไว้ ทำให้ได้รับการยกย่องและถวายรางวัลต่างๆมากมาย ได้แก่ ได้รับโล่เกียรติคุณนักสังคมสงเคราะห์ดีเด่น สาขาสังคมสงเคราะห์อาสาสมัครฝ่ายกิจการพระศาสนา, ได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ด้านส่งเสริมชักชวนให้คนมาปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง, ได้รับมอบเข็มเกียรติคุณนักพัฒนาดีเด่นแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง จากพลเอกเปรม ติณสูลานนท์, มหาวิทยาลัยพะเยาถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, ได้รับรางวัลเสาอโศกผู้นำศีลธรรม จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เป็นต้น
ทั้งนี้ ก่อนมรณภาพ พระธรรมสิงหบุราจารย์ได้บริจาคเงินจำนวน 50 ล้านบาทให้โรงพยาบาลศิริราช เพื่อสมทบทุนสร้างอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา
โดยหลังพิธีในพระบรมราชานุเคราะห์ 7 วันแล้ว ทางวัดจะจัดให้มีการสวดพระอภิธรรมทุกวัน เวลา 19.00 น. ต่อเนื่อง 100 วัน จนถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2559 และจะเปิดให้ผู้เคารพศรัทธาได้เข้ากราบสรีรสังขารได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.30 - 22.00 น.
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 182 กุมภาพันธ์ 2559 โดย กองบรรณาธิการ)