ทุกครั้งที่เริ่มต้นปีใหม่ คนทั่วไปมักจะอวยพรกันว่า “ขอให้มีความสุข” หรือ “Happy New Year” ซึ่งฟังแล้วก็รู้สึกดี และมีความสุขทุกครั้งที่ได้ฟัง
แต่จะสุขยิ่งกว่านั้น ถ้าเราหมั่นสร้างความสุขให้กับตัวเอง และ 10 สิ่งต่อไปนี้ เป็นกลวิธีที่ถือเป็นของขวัญปีใหม่ที่อยากมอบให้ผู้อ่านทุกท่าน สำหรับสร้างความสุขอย่างแท้จริง
“Happy New Year to You”
1. ยิ้ม..ยิ้ม..ยิ้ม
รอยยิ้มบ่งบอกถึงความสุข คนมีความสุขมักจะมีรอยยิ้มบนใบหน้าเสมอ และหาก “ยิ้มได้เมื่อภัยมา” ก็เท่ากับว่ารอยยิ้มนั้นได้ขับไล่ความทุกข์ออกไปเกือบหมดแล้ว
การที่เรายิ้มรับกับทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ โลกก็จะยิ้มไปกับเราด้วย ยิ่งรอยยิ้มของเราสดใสมากเท่าไหร่ โลกจะก็แลดูสดใสมากยิ่งขึ้นเท่านั้น และที่สำคัญ ใบหน้าที่มีแต่รอยยิ้มเป็นใบหน้าที่ชวนมองมิรู้เบื่อจริงๆ
2. พอใจในสิ่งที่มี
ความสุขที่แท้จริง มิใช่เกิดจากการได้ครอบครองสิ่งที่ปรารถนา แต่เกิดจากความพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ หากคุณไม่เคยพอใจในสิ่งที่ตนมี ชีวิตจะเต็มไปด้วยความอยากความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด และเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ คุณก็จะกลายเป็นคนที่มีแต่ความทุกข์ ไร้สุขโดยสิ้นเชิง
3. อย่าจมอยู่กับอดีต
อดีตที่ผ่านมา เป็นเพียงเรื่องราวส่วนหนึ่งของชีวิต ซึ่งมีทั้งความสุขและความทุกข์ การจมอยู่กับอดีตไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ ไม่ได้ทำให้ชีวิตในปัจจุบันดีขึ้นเป็นสุขขึ้น เพราะว่าเรื่องราวในอดีตได้ผ่านพ้นไปแล้ว ไม่อาจหวนคืนมาได้อีก และควรใช้เป็นบทเรียนสอนใจ เพื่อทำปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้น เมื่อปัจจุบันดีแล้ว อนาคตก็ดีตาม แล้วความสุขก็ตามมาอย่างแน่นอน
4. พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
มหาตมะ คานธี มหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของโลก กล่าวว่า “จงใช้ชีวิตราวกับคุณต้องตายวันพรุ่งนี้ จงเรียนรู้ราวกับคุณต้องมีชีวิตนิรันดร์”
เราทุกคนมีความแตกต่างกัน และหนทางการพัฒนาตนเองก็ไม่มีรูปแบบตายตัว หัวใจสำคัญอยู่ที่ว่า อย่าหยุดพัฒนาตัวเอง และต้องทำให้ดีที่สุด การได้เห็นพัฒนาการของชีวิตไปในทางที่ดี แน่นอนว่าเราย่อมมีความสุข
5. อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น
มีคำกล่าวว่า “ความสุขที่แท้จริง คือการได้ใช้ชีวิตในแบบที่เราต้องการ โดยไม่ต้องรอให้ใครมาบงการ”
เพราะชีวิตเป็นเรื่องของใครของมัน มีความแตกต่างกันทุกก้าวย่าง เปรียบเสมือนดอกไม้หลากชนิดและสีสัน ที่แลดูสวยงาม มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำกัน เราจึงไม่ควรเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น
ยิ่งเปิดใจยอมรับความแตกต่างระหว่างตัวเองกับคนอื่นได้มากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น และการได้อยู่ในหมู่คนที่ยอมรับตัวตนที่แท้จริงของเรา โดยไม่พยายามเปลี่ยนแปลง เราจะมีความสุขอย่างแท้จริง
6. ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
“ไตรลักษณ์” เป็นธรรมะของพระพุทธเจ้าที่กล่าวถึงลักษณะ 3 ประการ ที่แสดงความไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันเป็นกฎธรรมชาติของสรรพสิ่งทั้งปวง ที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเรา เช่น ฤดูกาลที่หมุนเวียนเปลี่ยนไป การเกิด แก่ เจ็บ ตาย อันเป็นวัฏจักรไม่สิ้นสุด
เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว จะช่วยให้เรามองเห็นความงดงามที่ผ่านเข้ามาในชีวิต เปิดใจรับโอกาสใหม่ๆ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่มิอาจควบคุมได้ แล้วชีวิตก็จะเป็นสุข
7. ต้องมีสติตลอดเวลา
สติ หมายถึง ความระลึกได้ ความไม่เผลอ ไม่ประมาท การมีสติทำให้เราตื่นตัวอยู่เสมอ ช่วยให้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส และการสัมผัส ทำหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง
คนที่มีสติมักทำอะไรไม่ผิดพลาด คนที่มีสติมักมีความคิดที่เป็นระบบ คนที่มีสติมักไม่โอนเอนไปกับอารมณ์ใดๆจนเกินพอดี
แต่การจะทำให้มีสติรู้ตัวตลอดเวลานั้น จำเป็นต้องฝึกฝนจิตใจด้วยวิธีต่างๆ เช่น การเจริญภาวนา เป็นต้น แล้วเราจะรู้ว่าชีวิตที่มีสติคอยประคับประคองอยู่ตลอดเวลานั้น มีความสุขมากแค่ไหน
8. มองโลกแง่บวก
คนที่มักมองโลกในแง่ลบหรือแง่ร้าย เป็นคนที่มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ ส่วนคนที่มองโลกในแง่บวกอยู่เสมอ ถือว่าเป็นคนโชคดี เพราะเป็นคนที่มีความสุขตลอดกาล
เพราะเมื่อเกิดปัญหาในชีวิต คนมองโลกแง่ร้ายจะมัวแต่กลุ้มอกกลุ้มใจ ขณะที่คนมองโลกแง่บวกจะบอกว่า “ปัญหามีไว้แก้ ไม่ได้มีไว้กลุ้ม” แล้วก็ลงมือแก้ไขจนสำเร็จ
9. สุขได้ด้วยตัวเอง
บางคนเชื่อว่าการมีความสุข ต้องอาศัยปัจจัยภายนอก เช่น สิ่งของ เครื่องใช้ หรือแม้แต่ผู้คนอื่นๆ จนต้องแย่งชิงไขว่คว้ามาเป็นเจ้าของ โดยหารู้ไม่ว่า ความสุขที่แท้จริงนั้น เกิดจากภายในจิตใจของเราเอง
เพราะฉะนั้น เพียงทำใจให้สงบ ผ่อนคลาย เบาสบาย ด้วยกิจกรรมง่ายๆ เช่น สวดมนต์ เดินเล่นชมดอกไม้ ฟังเพลง อ่านหนังสือ แค่นี้ชีวิตก็เป็นสุขแล้ว
10. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ร่างกายของเรามีค่ายิ่ง มันเป็นพาหนะนำเราไปสู่นิพพาน จงดูแลรักษามันให้ดี”
จิตที่เป็นสุขอย่างแท้จริง จะอยู่ในร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์เท่านั้น จึงไม่ควรทำร้ายร่างกายด้วยการกินอาหารไม่มีประโยชน์ เสพของมึนเมา ไม่ออกกำลังกาย นอนหลับไม่เพียงพอ หรือทำงานหนักเกินไป เพราะจะทำให้โรคภัยไข้เจ็บมาเยือนได้ง่ายๆ
สิ่งที่ควรทำคือดูแลร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ เมื่อกายสบาย ใจก็พลอยสบายไปด้วย
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 181 มกราคม 2559 โดย ประกายรุ้ง)
แต่จะสุขยิ่งกว่านั้น ถ้าเราหมั่นสร้างความสุขให้กับตัวเอง และ 10 สิ่งต่อไปนี้ เป็นกลวิธีที่ถือเป็นของขวัญปีใหม่ที่อยากมอบให้ผู้อ่านทุกท่าน สำหรับสร้างความสุขอย่างแท้จริง
“Happy New Year to You”
1. ยิ้ม..ยิ้ม..ยิ้ม
รอยยิ้มบ่งบอกถึงความสุข คนมีความสุขมักจะมีรอยยิ้มบนใบหน้าเสมอ และหาก “ยิ้มได้เมื่อภัยมา” ก็เท่ากับว่ารอยยิ้มนั้นได้ขับไล่ความทุกข์ออกไปเกือบหมดแล้ว
การที่เรายิ้มรับกับทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ โลกก็จะยิ้มไปกับเราด้วย ยิ่งรอยยิ้มของเราสดใสมากเท่าไหร่ โลกจะก็แลดูสดใสมากยิ่งขึ้นเท่านั้น และที่สำคัญ ใบหน้าที่มีแต่รอยยิ้มเป็นใบหน้าที่ชวนมองมิรู้เบื่อจริงๆ
2. พอใจในสิ่งที่มี
ความสุขที่แท้จริง มิใช่เกิดจากการได้ครอบครองสิ่งที่ปรารถนา แต่เกิดจากความพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ หากคุณไม่เคยพอใจในสิ่งที่ตนมี ชีวิตจะเต็มไปด้วยความอยากความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด และเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ คุณก็จะกลายเป็นคนที่มีแต่ความทุกข์ ไร้สุขโดยสิ้นเชิง
3. อย่าจมอยู่กับอดีต
อดีตที่ผ่านมา เป็นเพียงเรื่องราวส่วนหนึ่งของชีวิต ซึ่งมีทั้งความสุขและความทุกข์ การจมอยู่กับอดีตไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ ไม่ได้ทำให้ชีวิตในปัจจุบันดีขึ้นเป็นสุขขึ้น เพราะว่าเรื่องราวในอดีตได้ผ่านพ้นไปแล้ว ไม่อาจหวนคืนมาได้อีก และควรใช้เป็นบทเรียนสอนใจ เพื่อทำปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้น เมื่อปัจจุบันดีแล้ว อนาคตก็ดีตาม แล้วความสุขก็ตามมาอย่างแน่นอน
4. พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
มหาตมะ คานธี มหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของโลก กล่าวว่า “จงใช้ชีวิตราวกับคุณต้องตายวันพรุ่งนี้ จงเรียนรู้ราวกับคุณต้องมีชีวิตนิรันดร์”
เราทุกคนมีความแตกต่างกัน และหนทางการพัฒนาตนเองก็ไม่มีรูปแบบตายตัว หัวใจสำคัญอยู่ที่ว่า อย่าหยุดพัฒนาตัวเอง และต้องทำให้ดีที่สุด การได้เห็นพัฒนาการของชีวิตไปในทางที่ดี แน่นอนว่าเราย่อมมีความสุข
5. อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น
มีคำกล่าวว่า “ความสุขที่แท้จริง คือการได้ใช้ชีวิตในแบบที่เราต้องการ โดยไม่ต้องรอให้ใครมาบงการ”
เพราะชีวิตเป็นเรื่องของใครของมัน มีความแตกต่างกันทุกก้าวย่าง เปรียบเสมือนดอกไม้หลากชนิดและสีสัน ที่แลดูสวยงาม มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำกัน เราจึงไม่ควรเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น
ยิ่งเปิดใจยอมรับความแตกต่างระหว่างตัวเองกับคนอื่นได้มากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น และการได้อยู่ในหมู่คนที่ยอมรับตัวตนที่แท้จริงของเรา โดยไม่พยายามเปลี่ยนแปลง เราจะมีความสุขอย่างแท้จริง
6. ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
“ไตรลักษณ์” เป็นธรรมะของพระพุทธเจ้าที่กล่าวถึงลักษณะ 3 ประการ ที่แสดงความไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันเป็นกฎธรรมชาติของสรรพสิ่งทั้งปวง ที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเรา เช่น ฤดูกาลที่หมุนเวียนเปลี่ยนไป การเกิด แก่ เจ็บ ตาย อันเป็นวัฏจักรไม่สิ้นสุด
เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว จะช่วยให้เรามองเห็นความงดงามที่ผ่านเข้ามาในชีวิต เปิดใจรับโอกาสใหม่ๆ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่มิอาจควบคุมได้ แล้วชีวิตก็จะเป็นสุข
7. ต้องมีสติตลอดเวลา
สติ หมายถึง ความระลึกได้ ความไม่เผลอ ไม่ประมาท การมีสติทำให้เราตื่นตัวอยู่เสมอ ช่วยให้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส และการสัมผัส ทำหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง
คนที่มีสติมักทำอะไรไม่ผิดพลาด คนที่มีสติมักมีความคิดที่เป็นระบบ คนที่มีสติมักไม่โอนเอนไปกับอารมณ์ใดๆจนเกินพอดี
แต่การจะทำให้มีสติรู้ตัวตลอดเวลานั้น จำเป็นต้องฝึกฝนจิตใจด้วยวิธีต่างๆ เช่น การเจริญภาวนา เป็นต้น แล้วเราจะรู้ว่าชีวิตที่มีสติคอยประคับประคองอยู่ตลอดเวลานั้น มีความสุขมากแค่ไหน
8. มองโลกแง่บวก
คนที่มักมองโลกในแง่ลบหรือแง่ร้าย เป็นคนที่มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ ส่วนคนที่มองโลกในแง่บวกอยู่เสมอ ถือว่าเป็นคนโชคดี เพราะเป็นคนที่มีความสุขตลอดกาล
เพราะเมื่อเกิดปัญหาในชีวิต คนมองโลกแง่ร้ายจะมัวแต่กลุ้มอกกลุ้มใจ ขณะที่คนมองโลกแง่บวกจะบอกว่า “ปัญหามีไว้แก้ ไม่ได้มีไว้กลุ้ม” แล้วก็ลงมือแก้ไขจนสำเร็จ
9. สุขได้ด้วยตัวเอง
บางคนเชื่อว่าการมีความสุข ต้องอาศัยปัจจัยภายนอก เช่น สิ่งของ เครื่องใช้ หรือแม้แต่ผู้คนอื่นๆ จนต้องแย่งชิงไขว่คว้ามาเป็นเจ้าของ โดยหารู้ไม่ว่า ความสุขที่แท้จริงนั้น เกิดจากภายในจิตใจของเราเอง
เพราะฉะนั้น เพียงทำใจให้สงบ ผ่อนคลาย เบาสบาย ด้วยกิจกรรมง่ายๆ เช่น สวดมนต์ เดินเล่นชมดอกไม้ ฟังเพลง อ่านหนังสือ แค่นี้ชีวิตก็เป็นสุขแล้ว
10. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ร่างกายของเรามีค่ายิ่ง มันเป็นพาหนะนำเราไปสู่นิพพาน จงดูแลรักษามันให้ดี”
จิตที่เป็นสุขอย่างแท้จริง จะอยู่ในร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์เท่านั้น จึงไม่ควรทำร้ายร่างกายด้วยการกินอาหารไม่มีประโยชน์ เสพของมึนเมา ไม่ออกกำลังกาย นอนหลับไม่เพียงพอ หรือทำงานหนักเกินไป เพราะจะทำให้โรคภัยไข้เจ็บมาเยือนได้ง่ายๆ
สิ่งที่ควรทำคือดูแลร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ เมื่อกายสบาย ใจก็พลอยสบายไปด้วย
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 181 มกราคม 2559 โดย ประกายรุ้ง)