ตับเป็นอวัยวะขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของร่างกาย มีรูปร่างคล้ายสนามฟุตบอล ตั้งอยู่ซีกขวาของช่องท้องด้านบน ทำหน้าที่หลายประการเพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพดี ไม่ว่าจะกำจัดสารพิษในกระแสเลือด ผลิตน้ำดีเพื่อช่วยจับไขมันในอาหาร เป็นแหล่งเก็บน้ำตาลกลูโคส ซึ่งให้พลังงานแก่ร่างกาย
อาการตับบวม หรือที่เรียกว่า “ตับโต” แท้จริงไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการที่เกิดจากการดื่มสุราเรื้อรัง โรคไวรัสตับอักเสบ กระบวนการย่อยอาหารผิดปกติ โรคมะเร็ง นิ่วในถุงน้ำดี และโรคหัวใจบางชนิด
การจะดูว่า ตับของเราโตหรือไม่ ต้องสังเกตอาการต่างๆ ต่อไปนี้ หากมีอาการใดอาการหนึ่ง อย่ารอช้า รีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยทันที
1. ภาวะดีซ่าน
ดีซ่านเป็นภาวะซึ่งผิวหนัง เยื่อบุตาขาว และเยื่อบุต่างๆ มีสีเหลืองผิดปกติ จากการมีสารบิลิรูบิน เกินในกระแสเลือด ซึ่งตับที่ทำงานปกติจะขับสารนี้ออกจากร่างกาย แต่เมื่อตับมีปัญหา ภาวะตัวเหลือง ตาเหลือง จึงเกิดขึ้น
ภาวะดีซ่านมักปรากฏขึ้นเมื่อตับอ่อนแออย่างรุนแรง จึงควรไปพบแพทย์ทันที หากมีอาการดังกล่าว
2. ท้องบวมหรือโต
อาการท้องขยายใหญ่ หากไม่ได้เกิดจากการตั้งครรภ์ มักเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการสะสมของไขมัน ของเหลว หรืออุจจาระ ซึ่งการสะสมของสสารใดๆ เหล่านี้ ชี้ให้เห็นถึงปัญหาทางแพทย์ที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจทันที
ถ้าท้องโตเพราะมีของเหลวกักขังอยู่ มักเป็นภาวะท้องมาน ซึ่งเป็นอาการทั่วไปของภาวะตับโต อาการท้องบวมมักทำให้ความอยากอาหารลดลง เพราะคุณรู้สึกอิ่มเกินไปที่จะกิน ที่เรียกว่า อิ่มแปล้ หรือมันอาจทำให้รู้สึกไม่อยากทานเลย
บางครั้งอาจมีอาการขาบวมร่วมด้วย
3. มีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ น้ำหนักลด
มีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ และน้ำหนักลด เหล่านี้มิใช่อาการทั่วไปของภาวะตับโตเท่านั้น แต่มันอาจเป็นสัญญาณของโรคตับ ซึ่งหากเป็นรุนแรง เรื้อรัง หรือกะทันหัน จะทำให้ตับบวม
การเบื่ออาหารหรือไม่อยากรับประทาน อาจเป็นอาการร่วมของภาวะท้องบวมโตดังที่กล่าวมาข้างต้น และยังอาจเป็นอาการของโรคถุงน้ำดี เพราะการรับประทานอาหารจะกระตุ้นให้รู้สึกปวด นอกจากนี้ อาการเบื่ออาหารอาจเกิดจากโรคมะเร็งและโรคตับอักเสบได้ด้วย
โดยทั่วไป ภาวะน้ำหนักลดทางแพทย์ คือ เมื่อน้ำหนักลดลงมากกว่า 10% ของน้ำหนักตัว ถ้าหากน้ำหนักตัวคุณลดลงโดยไม่ได้มีสาเหตุจากการพยายามลดความอ้วนละก็ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย
เมื่อมีไข้ แสดงว่าเกิดการอักเสบในร่างกาย ซึ่งภาวะตับโตอาจเกิดจากการติดเชื้อ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจเมื่อมีไข้
4. อ่อนเพลีย
ความอ่อนเพลียเป็นอาการเหน็ดเหนื่อยที่เรารู้สึกได้หลังการออกแรงเพียงเล็กน้อย ซึ่งมันอาจมีสาเหตุจากการที่ตับขาดสารอาหาร ร่างกายจึงต้องดึงสารอาหารจากกล้ามเนื้อมาใช้แทน
อาการอ่อนเพลียจึงอาจเป็นสัญญาณชี้ว่า ตับกำลังมีปัญหา และอาจเกิดอาการบวมร่วมด้วย โรคไวรัสตับอักเสบและโรคมะเร็งก็อาจเป็นสาเหตุของการอ่อนเพลียได้เช่นกัน
5. คันตามตัวมากขึ้น
เมื่อตับป่วย อาจทำให้เกิดอาการคันตามร่างกาย ซึ่งอาจคันเฉพาะที่หรือทั่วตัว เนื่องจากท่อน้ำดีอุดตัน ส่งผลให้เกลือน้ำดีถูกขับเข้าสู่กระแสเลือดและสะสมอยู่ตามผิวหนัง เป็นสาเหตุของอาการคัน
การรักษาอาการคัน ควรให้แพทย์วินิจฉัยสาเหตุที่แน่ชัด เพื่อจ่ายยาให้ถูกต้องและตรงกับระดับความรุนแรงของอาการคัน
6. มีไฝแดงแมงมุม
ไฝแดงแมงมุม คือหลอดเลือดที่ขยายตัวจากจุดแดงตรงกลาง ดูเหมือนใยแมงมุม พบบ่อยบนใบหน้า คอ มือ และหน้าอกส่วนบน ซึ่งเป็นอาการพื้นฐานของโรคตับและโรคไวรัสตับอักเสบ
การมีไฝแดงแมงมุมเพียงจุดเดียว ไม่ใช่สิ่งที่ต้องเป็นกังวล อย่างไรก็ดี หากมีอาการอื่นๆร่วมด้วย อาทิ เฉื่อยชา อ่อนเพลีย บวม หรือดีซ่าน ควรไปพบแพทย์ เพราะมันอาจเป็นสัญญาณของตับที่มีปัญหา รวมถึงการมีไฝแดงแมงมุมเป็นหย่อมๆ กระจายไปทั่ว ที่ชี้ว่าตับผิดปกติ
ไฝแดงแมงมุมอาจมีขนาดความยาวเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 5 มม. หากใช้นิ้วมือกดเบาๆ บนจุดแดงตรงกลาง สีแดงจะหายไปภายใน 1-2 วินาที และจะกลายเป็นสีซีดขาว เนื่องจากเลือดถูกขับออกจากจุดนั้น
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 181 มกราคม 2559 โดย พิสุทธิ์)
อาการตับบวม หรือที่เรียกว่า “ตับโต” แท้จริงไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการที่เกิดจากการดื่มสุราเรื้อรัง โรคไวรัสตับอักเสบ กระบวนการย่อยอาหารผิดปกติ โรคมะเร็ง นิ่วในถุงน้ำดี และโรคหัวใจบางชนิด
การจะดูว่า ตับของเราโตหรือไม่ ต้องสังเกตอาการต่างๆ ต่อไปนี้ หากมีอาการใดอาการหนึ่ง อย่ารอช้า รีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยทันที
1. ภาวะดีซ่าน
ดีซ่านเป็นภาวะซึ่งผิวหนัง เยื่อบุตาขาว และเยื่อบุต่างๆ มีสีเหลืองผิดปกติ จากการมีสารบิลิรูบิน เกินในกระแสเลือด ซึ่งตับที่ทำงานปกติจะขับสารนี้ออกจากร่างกาย แต่เมื่อตับมีปัญหา ภาวะตัวเหลือง ตาเหลือง จึงเกิดขึ้น
ภาวะดีซ่านมักปรากฏขึ้นเมื่อตับอ่อนแออย่างรุนแรง จึงควรไปพบแพทย์ทันที หากมีอาการดังกล่าว
2. ท้องบวมหรือโต
อาการท้องขยายใหญ่ หากไม่ได้เกิดจากการตั้งครรภ์ มักเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการสะสมของไขมัน ของเหลว หรืออุจจาระ ซึ่งการสะสมของสสารใดๆ เหล่านี้ ชี้ให้เห็นถึงปัญหาทางแพทย์ที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจทันที
ถ้าท้องโตเพราะมีของเหลวกักขังอยู่ มักเป็นภาวะท้องมาน ซึ่งเป็นอาการทั่วไปของภาวะตับโต อาการท้องบวมมักทำให้ความอยากอาหารลดลง เพราะคุณรู้สึกอิ่มเกินไปที่จะกิน ที่เรียกว่า อิ่มแปล้ หรือมันอาจทำให้รู้สึกไม่อยากทานเลย
บางครั้งอาจมีอาการขาบวมร่วมด้วย
3. มีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ น้ำหนักลด
มีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ และน้ำหนักลด เหล่านี้มิใช่อาการทั่วไปของภาวะตับโตเท่านั้น แต่มันอาจเป็นสัญญาณของโรคตับ ซึ่งหากเป็นรุนแรง เรื้อรัง หรือกะทันหัน จะทำให้ตับบวม
การเบื่ออาหารหรือไม่อยากรับประทาน อาจเป็นอาการร่วมของภาวะท้องบวมโตดังที่กล่าวมาข้างต้น และยังอาจเป็นอาการของโรคถุงน้ำดี เพราะการรับประทานอาหารจะกระตุ้นให้รู้สึกปวด นอกจากนี้ อาการเบื่ออาหารอาจเกิดจากโรคมะเร็งและโรคตับอักเสบได้ด้วย
โดยทั่วไป ภาวะน้ำหนักลดทางแพทย์ คือ เมื่อน้ำหนักลดลงมากกว่า 10% ของน้ำหนักตัว ถ้าหากน้ำหนักตัวคุณลดลงโดยไม่ได้มีสาเหตุจากการพยายามลดความอ้วนละก็ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย
เมื่อมีไข้ แสดงว่าเกิดการอักเสบในร่างกาย ซึ่งภาวะตับโตอาจเกิดจากการติดเชื้อ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจเมื่อมีไข้
4. อ่อนเพลีย
ความอ่อนเพลียเป็นอาการเหน็ดเหนื่อยที่เรารู้สึกได้หลังการออกแรงเพียงเล็กน้อย ซึ่งมันอาจมีสาเหตุจากการที่ตับขาดสารอาหาร ร่างกายจึงต้องดึงสารอาหารจากกล้ามเนื้อมาใช้แทน
อาการอ่อนเพลียจึงอาจเป็นสัญญาณชี้ว่า ตับกำลังมีปัญหา และอาจเกิดอาการบวมร่วมด้วย โรคไวรัสตับอักเสบและโรคมะเร็งก็อาจเป็นสาเหตุของการอ่อนเพลียได้เช่นกัน
5. คันตามตัวมากขึ้น
เมื่อตับป่วย อาจทำให้เกิดอาการคันตามร่างกาย ซึ่งอาจคันเฉพาะที่หรือทั่วตัว เนื่องจากท่อน้ำดีอุดตัน ส่งผลให้เกลือน้ำดีถูกขับเข้าสู่กระแสเลือดและสะสมอยู่ตามผิวหนัง เป็นสาเหตุของอาการคัน
การรักษาอาการคัน ควรให้แพทย์วินิจฉัยสาเหตุที่แน่ชัด เพื่อจ่ายยาให้ถูกต้องและตรงกับระดับความรุนแรงของอาการคัน
6. มีไฝแดงแมงมุม
ไฝแดงแมงมุม คือหลอดเลือดที่ขยายตัวจากจุดแดงตรงกลาง ดูเหมือนใยแมงมุม พบบ่อยบนใบหน้า คอ มือ และหน้าอกส่วนบน ซึ่งเป็นอาการพื้นฐานของโรคตับและโรคไวรัสตับอักเสบ
การมีไฝแดงแมงมุมเพียงจุดเดียว ไม่ใช่สิ่งที่ต้องเป็นกังวล อย่างไรก็ดี หากมีอาการอื่นๆร่วมด้วย อาทิ เฉื่อยชา อ่อนเพลีย บวม หรือดีซ่าน ควรไปพบแพทย์ เพราะมันอาจเป็นสัญญาณของตับที่มีปัญหา รวมถึงการมีไฝแดงแมงมุมเป็นหย่อมๆ กระจายไปทั่ว ที่ชี้ว่าตับผิดปกติ
ไฝแดงแมงมุมอาจมีขนาดความยาวเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 5 มม. หากใช้นิ้วมือกดเบาๆ บนจุดแดงตรงกลาง สีแดงจะหายไปภายใน 1-2 วินาที และจะกลายเป็นสีซีดขาว เนื่องจากเลือดถูกขับออกจากจุดนั้น
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 181 มกราคม 2559 โดย พิสุทธิ์)