“...การแก้ปัญหานั้น ถ้าไม่ทำให้ถูกเหตุถูกทางด้วยความรอบคอบระมัดระวัง มักกลายเป็นการเพิ่มปัญหาให้มากและยุ่งยากขึ้น แต่ละฝ่ายจึงควรจะตั้งใจพยาามทำความคิดความเห็นให้กระจ่างและเที่ยงตรง เพื่อจักได้สามารถเข้าใจปัญหาและเข้าใจกันและกันได้อย่างถูกต้อง...”
“...การกระทำที่สร้างสรรค์นั้น คือการกระทำที่ได้ผลเป็นประโยชน์แก่ทุกๆฝ่ายได้เต็มเปี่ยมตรงตามจุดประสงค์ ไม่มีการสูญเสียเปล่าหรือหากจะเสีย ก็เสียน้อยที่สุด การที่จะกระทำให้ได้เช่นนั้น บุคคลจำเป็นต้องอาศัยความมีสติพิจารณาให้เห็นถึงเหตุผลที่แท้ คือแก่นแท้หรือหลักการของเรื่องต่างๆ...”
“...คนที่มีการศึกษาที่เรียกว่าเป็นผู้มีปัญญา ควรจะสามารถวินิจฉัยได้ว่าแก้ไขอะไร อย่างไร ข้อสำคัญควรจะต้องรอบคอบและระมัดระวังที่จะพิจารณาเรื่องต่างๆให้กระจ่างแจ้งทุกแง่ทุกมุม แล้วจัดการให้ถูกจุด ถูกขั้นตอน ถูกเหตุผล ข้อที่พึงระมัดระวัง คือการแก้ปัญหาโดยรีบเร่ง...”
“...ความเคร่งครัด หมายถึง ความระมัดระวังมั่นคงที่จะปฏิบัติการให้เที่ยงตรงครบถ้วนตามแบบแผนและหลักเกณฑ์ที่ได้วางไว้ แบบแผนและหลักเกณฑ์นั้นย่อมต้องมีเหตุผลเป็นพื้นฐาน และเหตุผลที่จะทำให้พื้นฐานมั่นคงไม่สั่นสะเทือนได้ ก็ต้องเป็นเหตุผลตามความจริงแท้ที่ได้พิสูจน์เห็นจริงแล้วด้วยความละเอียดรอบคอบ ปราศจากความลำเอียง และความหลงผิดตามอารมณ์...”
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 153 กันยายน 2556)