ชื่ออรายการ “ธรรมาภิวัตน์” ซึ่งมีความหมายว่า “การแพร่หลายแห่งธรรม” นั้น พระมหาวุฒิชัย หรือท่าน ว.วชิรเมธี เป็นผู้มีเมตตาตั้งให้ และปีนี้เป็นปีที่ 7 ของการออกอากาศแล้ว ทางสถานีโทรทัศน์ ASTV ช่อง News 1 ทุกวันเสาร์ เวลา 11.00-12.00 น.
การแพร่หลายแห่งธรรม เป็นนามธรรมของธรรมะที่บ่งบอกว่า ธรรมะคือธรรมชาติ และธรรมะนั้นมีอยู่ในทุกที่ เกี่ยวพันกับทุกขณะชีวิตของทุกสรรพสิ่ง
ดังนั้น รายการธรรมาภิวัตน์จึงต้องทำหน้าที่นำเสนอ “ธรรม” ที่ดำรงอยู่ในทุกซอกส่วนของสังคม ซึ่งที่ผ่านมานอกเหนือจากการสนทนาธรรมกับพระสงฆ์ ผู้มีบารมีธรรม สนทนากับครูบาอาจารย์ผู้ปราดเปรื่องเรื่องธรรมะ และยังเคยนำเสนอเรื่องธรรมะในงานศิลปะ ธรรมะกับครอบครัว ธรรมะกับลมหายใจ แม้แต่การ ขับเครื่องบินบนฟ้าก็ต้องอาศัยธรรมะในการครองตน ซึ่งทางรายการได้เคยนำเสนอไปแล้ว และเตรียมจะนำเสนอการแพร่หลายแห่งธรรมในแง่มุมต่างๆ ผ่านทางรายการต่อไป
........
ในช่วงสถานการณ์มหาอุทกภัยเมื่อ ปีที่แล้ว นอกจากความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินแล้ว สภาพจิตใจที่ย่ำแย่ก็เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมเช่นกัน
มวลน้ำได้ท่วมใจคนไทยให้จมดิ่งสู่ความทุกข์ทรมาน ขณะที่การช่วยเหลือเยียวยาจากภาคส่วนต่างๆ ก็ยังทำได้ไม่ดีนัก มิหนำซ้ำยังละเลยการเยียวยาทางด้านจิตใจของผู้ประสบภัยที่อยู่ในภาวะน้ำท่วมใจอยู่
ภาพข่าวที่ปรากฏด้านศาสนาว่า วัดวาอาราม โบราณสถานต่างๆ ภายในวัดถูกน้ำท่วมเสียหายหนัก ภาพฆราวาสแย่งถุงยังชีพจากพระ ชาวบ้านต้องช่วยตนเองให้อยู่รอดก่อนการช่วยเหลือพระเณร ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือก็ไม่สามารถเข้าไปถึงยังวัดที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล วัดที่อยู่ท้ายซอยท้ายหมู่บ้าน สำนัก สงฆ์ที่ตั้งอยู่ในป่า จนอาจจะต้องเรียกว่า นี่คือวิกฤติของศาสนาที่มาพร้อมกับมวลน้ำ
ในช่วงน้ำท่วม 4-5 เดือนที่ผ่านมา พระดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย (ศากยะ) ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ลงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือพระสงฆ์ในวัดต่างๆ เป็นการเดินตามรอยพระจริยวัตรของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เมื่อเวลาบ้านเมืองประสบทุกข์ภัย ดังเช่นอุทกภัย สมเด็จพระสังฆราชก็มิได้ทรงอยู่นิ่งเฉย ในฐานะที่ทรงเป็นองค์สังฆบิดร พระองค์ทรงให้ความช่วยเหลือมากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ในเรื่องพระมหากรุณาธิคุณที่พระพุทธองค์ทรงมีต่อมวลมนุษยชาติ
พระดร.อนิลมาน อรรถาธิบายเพิ่มเติมว่า เมื่อประมาณ 2,500 ปีที่แล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้เขียนไว้ในหลักศิลาจารึก ที่ 5 ระบุว่า ไม่มีงานใดยิ่งใหญ่ไปกว่าการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ มหากรุณาธิคุณจึงเป็นหน้าที่หนึ่งที่ชาวพุทธควรกระทำ ตามความสามารถที่จะกระทำได้
ในทางพุทธศาสนาพูดถึงภัยที่น่ากลัวไว้ 4 ประการคือ ราชภัย โจรภัย อุทกภัยและอัคคีภัย อุทกภัยที่คนไทยกำลังประสบอยู่ ถือว่าเป็นภัยอย่างหนึ่ง ที่น่ากลัว
ในฐานะพระอาจารย์ผู้ สอนวิชามานุษยวิทยา พระดร.อนิลมาน อธิบายความหมายของความเป็นมนุษย์ในทางมานุษยวิทยาว่า
ความเป็นมนุษย์จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีปฏิกริยาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ทว่าในสถานการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา ส่งผลให้มนุษย์ไม่สามารถมีปฏิกริยาต่อกันได้ เนื่องจากถูกน้ำกั้นเอาไว้ มีเงินก็ไม่สามารถออกไปซื้อของได้ ผู้คนจำนวนมากไม่สามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้ เครื่องมือสื่อสารก็ใช้การไม่ได้ หรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิตในศูนย์อพยพที่อยู่ท่ามกลางผู้คนมากมาย แต่มนุษย์กลับรู้สึกโดดเดี่ยว เนื่องจากไม่สามารถเปิดใจ เปิดตัวเองไปรับกับสภาพสังคมขณะนั้นได้ เนื่องจากเครียดกับสถานการณ์เหล่านี้ คือตัวบั่นทอนความเป็นมนุษย์ทั้งสิ้น
ดังนั้น หลักเมตตา กรุณา ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน จึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งยวดในการพึงปฏิบัติต่อกันในยามเกิดวิกฤต เปรียบเสมือน “กุญแจ” ที่จะเปิดใจของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
ดังนั้น การออกไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในคราประสบความยากลำบากด้วยหลักกรุณาธรรม จึงเป็นเรื่องที่มวลมนุษยชาติพึงกระทำต่อกัน ใช้ทรัพยากรทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามี แบ่งปันความโชคดีจากผู้ที่ไม่ถูกน้ำท่วมไปยังผู้ประสบภัย
ทั้งนี้การแบ่งปันที่ดี มิควรเกิดจากความสมเพช หรือความสงสาร ทว่าควรเกิดจากการมองเห็นในความเดือดร้อนของเพื่อนมนุษย์ เพื่อให้เกิดสำนึกของความเมตตา กรุณา ซึ่งเป็นการทำหน้าที่ของมนุษยชาติเพื่อรักษาความเป็นมนุษย์ของเราเอาไว้
ตามความหมายของภาษาบาลีอธิบายรากศัพท์ของคำว่า ความกรุณา หมายถึง ธรรมชาติที่สร้างความสะเทือนใจแก่คนดีเมื่อผู้อื่นมีทุกข์ ธรรมชาติที่กั้นความสุขไว้
ดังนั้น การให้ความช่วยเหลือหรือความกรุณาที่มีต่อเพื่อนมนุษย์นั้น พระดร.อนิลมาน ระบุว่า “ความกรุณามี 2 นัยยะ นัยยะหนึ่งคือความกรุณาแท้จริงที่บริิสุทธิ์ อยากให้คนที่เดือดร้อนได้พ้นทุกข์ แต่อีกนัยยะหนึ่งคือการอ้างกรุณา อ้างการช่วยเหลือแต่กลับเป็นการกระทำเพื่อตนเอง ในลักษณะเจตนาดี ประสงค์ร้าย (Corrupted Compassion) ไม่ควร ใช้ความเดือดร้อนของผู้อื่นมาเป็นทุนในการสร้างชื่อเสียงให้ตนเอง ใช้น้ำท่วมเป็นเหตุในการสร้างกุศลให้กับตนเอง”
ประเทศไทยนับว่าโชคดีที่ผู้คนส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา และได้นำมาปรับใช้ในการมองความจริง ของโลกอย่างเข้าใจ โดยใช้หลักธรรมคำสอน
น้ำท่วมครานี้พุทธศาสนิกชนไทยมองว่า นี่เป็นเรื่องของกรรม เป็นอนิจจัง เป็นการฟาดเคราะห์ รู้จักการปลง ซึ่งในทางจิตวิทยาถือว่า มีส่วนช่วยทำให้คลายความยึดมั่นในความทุกข์เหล่านั้นลงไปได้บ้าง แม้จะเป็นความเชื่อที่ไม่ตรงตามหลัก ธรรมคำสอนนัก แต่ก็เป็นตัวช่วยที่ทำให้ความบอบ ช้ำอย่างรุนแรงในจิตใจของ พี่น้องคนไทยลดคลายลง
สิ่งสำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งในการตั้งรับกับความจริงที่ต้องเผชิญ ก็คือ “สติสัมปชัญญะ” เพราะจะเป็นประตูทางออกของปัญหา ดังที่พระ ดร.อนิลมาน กล่าวไว้ในตอนท้ายของการสนทนา ว่า
“เมื่อภัยมาถึงตัว พระพุทธศาสนาสอนให้พัฒนาสติและสัมปชัญญะให้มากที่สุด เพราะสติทำให้เรารู้เท่าทันเหตุการณ์ร้ายที่ประสบอยู่ ขณะเดียวกันสัมปชัญญะทำให้เรารู้จักปรับตัวแก้ปัญหา อย่างเฉลียวฉลาด ไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ ให้รู้ว่าอะไรสำคัญกว่ากันในชีวิต”
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 134 กุมภาพันธ์ 2555 โดย กานต์ จอมอินคา)
การแพร่หลายแห่งธรรม เป็นนามธรรมของธรรมะที่บ่งบอกว่า ธรรมะคือธรรมชาติ และธรรมะนั้นมีอยู่ในทุกที่ เกี่ยวพันกับทุกขณะชีวิตของทุกสรรพสิ่ง
ดังนั้น รายการธรรมาภิวัตน์จึงต้องทำหน้าที่นำเสนอ “ธรรม” ที่ดำรงอยู่ในทุกซอกส่วนของสังคม ซึ่งที่ผ่านมานอกเหนือจากการสนทนาธรรมกับพระสงฆ์ ผู้มีบารมีธรรม สนทนากับครูบาอาจารย์ผู้ปราดเปรื่องเรื่องธรรมะ และยังเคยนำเสนอเรื่องธรรมะในงานศิลปะ ธรรมะกับครอบครัว ธรรมะกับลมหายใจ แม้แต่การ ขับเครื่องบินบนฟ้าก็ต้องอาศัยธรรมะในการครองตน ซึ่งทางรายการได้เคยนำเสนอไปแล้ว และเตรียมจะนำเสนอการแพร่หลายแห่งธรรมในแง่มุมต่างๆ ผ่านทางรายการต่อไป
........
ในช่วงสถานการณ์มหาอุทกภัยเมื่อ ปีที่แล้ว นอกจากความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินแล้ว สภาพจิตใจที่ย่ำแย่ก็เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมเช่นกัน
มวลน้ำได้ท่วมใจคนไทยให้จมดิ่งสู่ความทุกข์ทรมาน ขณะที่การช่วยเหลือเยียวยาจากภาคส่วนต่างๆ ก็ยังทำได้ไม่ดีนัก มิหนำซ้ำยังละเลยการเยียวยาทางด้านจิตใจของผู้ประสบภัยที่อยู่ในภาวะน้ำท่วมใจอยู่
ภาพข่าวที่ปรากฏด้านศาสนาว่า วัดวาอาราม โบราณสถานต่างๆ ภายในวัดถูกน้ำท่วมเสียหายหนัก ภาพฆราวาสแย่งถุงยังชีพจากพระ ชาวบ้านต้องช่วยตนเองให้อยู่รอดก่อนการช่วยเหลือพระเณร ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือก็ไม่สามารถเข้าไปถึงยังวัดที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล วัดที่อยู่ท้ายซอยท้ายหมู่บ้าน สำนัก สงฆ์ที่ตั้งอยู่ในป่า จนอาจจะต้องเรียกว่า นี่คือวิกฤติของศาสนาที่มาพร้อมกับมวลน้ำ
ในช่วงน้ำท่วม 4-5 เดือนที่ผ่านมา พระดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย (ศากยะ) ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ลงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือพระสงฆ์ในวัดต่างๆ เป็นการเดินตามรอยพระจริยวัตรของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เมื่อเวลาบ้านเมืองประสบทุกข์ภัย ดังเช่นอุทกภัย สมเด็จพระสังฆราชก็มิได้ทรงอยู่นิ่งเฉย ในฐานะที่ทรงเป็นองค์สังฆบิดร พระองค์ทรงให้ความช่วยเหลือมากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ในเรื่องพระมหากรุณาธิคุณที่พระพุทธองค์ทรงมีต่อมวลมนุษยชาติ
พระดร.อนิลมาน อรรถาธิบายเพิ่มเติมว่า เมื่อประมาณ 2,500 ปีที่แล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้เขียนไว้ในหลักศิลาจารึก ที่ 5 ระบุว่า ไม่มีงานใดยิ่งใหญ่ไปกว่าการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ มหากรุณาธิคุณจึงเป็นหน้าที่หนึ่งที่ชาวพุทธควรกระทำ ตามความสามารถที่จะกระทำได้
ในทางพุทธศาสนาพูดถึงภัยที่น่ากลัวไว้ 4 ประการคือ ราชภัย โจรภัย อุทกภัยและอัคคีภัย อุทกภัยที่คนไทยกำลังประสบอยู่ ถือว่าเป็นภัยอย่างหนึ่ง ที่น่ากลัว
ในฐานะพระอาจารย์ผู้ สอนวิชามานุษยวิทยา พระดร.อนิลมาน อธิบายความหมายของความเป็นมนุษย์ในทางมานุษยวิทยาว่า
ความเป็นมนุษย์จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีปฏิกริยาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ทว่าในสถานการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา ส่งผลให้มนุษย์ไม่สามารถมีปฏิกริยาต่อกันได้ เนื่องจากถูกน้ำกั้นเอาไว้ มีเงินก็ไม่สามารถออกไปซื้อของได้ ผู้คนจำนวนมากไม่สามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้ เครื่องมือสื่อสารก็ใช้การไม่ได้ หรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิตในศูนย์อพยพที่อยู่ท่ามกลางผู้คนมากมาย แต่มนุษย์กลับรู้สึกโดดเดี่ยว เนื่องจากไม่สามารถเปิดใจ เปิดตัวเองไปรับกับสภาพสังคมขณะนั้นได้ เนื่องจากเครียดกับสถานการณ์เหล่านี้ คือตัวบั่นทอนความเป็นมนุษย์ทั้งสิ้น
ดังนั้น หลักเมตตา กรุณา ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน จึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งยวดในการพึงปฏิบัติต่อกันในยามเกิดวิกฤต เปรียบเสมือน “กุญแจ” ที่จะเปิดใจของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
ดังนั้น การออกไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในคราประสบความยากลำบากด้วยหลักกรุณาธรรม จึงเป็นเรื่องที่มวลมนุษยชาติพึงกระทำต่อกัน ใช้ทรัพยากรทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามี แบ่งปันความโชคดีจากผู้ที่ไม่ถูกน้ำท่วมไปยังผู้ประสบภัย
ทั้งนี้การแบ่งปันที่ดี มิควรเกิดจากความสมเพช หรือความสงสาร ทว่าควรเกิดจากการมองเห็นในความเดือดร้อนของเพื่อนมนุษย์ เพื่อให้เกิดสำนึกของความเมตตา กรุณา ซึ่งเป็นการทำหน้าที่ของมนุษยชาติเพื่อรักษาความเป็นมนุษย์ของเราเอาไว้
ตามความหมายของภาษาบาลีอธิบายรากศัพท์ของคำว่า ความกรุณา หมายถึง ธรรมชาติที่สร้างความสะเทือนใจแก่คนดีเมื่อผู้อื่นมีทุกข์ ธรรมชาติที่กั้นความสุขไว้
ดังนั้น การให้ความช่วยเหลือหรือความกรุณาที่มีต่อเพื่อนมนุษย์นั้น พระดร.อนิลมาน ระบุว่า “ความกรุณามี 2 นัยยะ นัยยะหนึ่งคือความกรุณาแท้จริงที่บริิสุทธิ์ อยากให้คนที่เดือดร้อนได้พ้นทุกข์ แต่อีกนัยยะหนึ่งคือการอ้างกรุณา อ้างการช่วยเหลือแต่กลับเป็นการกระทำเพื่อตนเอง ในลักษณะเจตนาดี ประสงค์ร้าย (Corrupted Compassion) ไม่ควร ใช้ความเดือดร้อนของผู้อื่นมาเป็นทุนในการสร้างชื่อเสียงให้ตนเอง ใช้น้ำท่วมเป็นเหตุในการสร้างกุศลให้กับตนเอง”
ประเทศไทยนับว่าโชคดีที่ผู้คนส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา และได้นำมาปรับใช้ในการมองความจริง ของโลกอย่างเข้าใจ โดยใช้หลักธรรมคำสอน
น้ำท่วมครานี้พุทธศาสนิกชนไทยมองว่า นี่เป็นเรื่องของกรรม เป็นอนิจจัง เป็นการฟาดเคราะห์ รู้จักการปลง ซึ่งในทางจิตวิทยาถือว่า มีส่วนช่วยทำให้คลายความยึดมั่นในความทุกข์เหล่านั้นลงไปได้บ้าง แม้จะเป็นความเชื่อที่ไม่ตรงตามหลัก ธรรมคำสอนนัก แต่ก็เป็นตัวช่วยที่ทำให้ความบอบ ช้ำอย่างรุนแรงในจิตใจของ พี่น้องคนไทยลดคลายลง
สิ่งสำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งในการตั้งรับกับความจริงที่ต้องเผชิญ ก็คือ “สติสัมปชัญญะ” เพราะจะเป็นประตูทางออกของปัญหา ดังที่พระ ดร.อนิลมาน กล่าวไว้ในตอนท้ายของการสนทนา ว่า
“เมื่อภัยมาถึงตัว พระพุทธศาสนาสอนให้พัฒนาสติและสัมปชัญญะให้มากที่สุด เพราะสติทำให้เรารู้เท่าทันเหตุการณ์ร้ายที่ประสบอยู่ ขณะเดียวกันสัมปชัญญะทำให้เรารู้จักปรับตัวแก้ปัญหา อย่างเฉลียวฉลาด ไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ ให้รู้ว่าอะไรสำคัญกว่ากันในชีวิต”
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 134 กุมภาพันธ์ 2555 โดย กานต์ จอมอินคา)