กลุ่มพระชาวแคว้นอวันตี คือ กลุ่มพระที่เป็นชาวแคว้นอวันตีโดยกำเนิด มี ๒ รูป คือ พระมหากัจจายนะ และพระโสณกุฏิกัณณะ แต่ละรูปมีประวัติที่น่าศึกษา ดังนี้
วาจานุสรณ์
พระมหากัจจายนะ หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว พระพุทธเจ้าส่งท่านไปยังแคว้นอวันตี เพื่อโปรดพระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวแคว้นอวันตีแทนพระองค์ พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงมีพระอุปนิสัยดุร้าย ทรงนิยมฆ่าสัตว์บูชายัญ ทรงลงโทษผู้ต้องสงสัยโดยไม่ไต่สวน และทรงพิจารณาคดีความอย่างไม่ยุติธรรม
ในคืนก่อนวันรุ่งขึ้น อันเป็นวันจะได้พบพระมหากัจจายนะนั้น พระองค์ทรงพระสุบินว่า ได้พบพระเถระและได้ฟังธรรม ครั้นวันรุ่งขึ้น เมื่อพระองค์ได้พบพระเถระสมตามที่พระสุบิน และทันทีที่ได้พบกัน พระเถระก็แสดงธรรมโปรด โดยธรรมที่พระเถระแสดงถวายนั้น มีเนื้อความเป็นอย่างเดียวกับที่ทรงได้ยินในพระสุบิน ความว่า
ผู้มีปัญญา ไม่ควรแนะนำให้ผู้อื่นทำบาป
ตนเองก็ไม่ควรทำด้วย
เพราะสัตว์ทั้งหลายมีกรรมคอยผูกพัน
คำพูดของผู้อื่น ทำให้คนเป็นโจรหรือเป็นมุนีไปไม่ได้
ตัวเองรู้จักตัวเองอย่างใด
แม้ทวยเทพก็รู้จักตัวเองอย่างนั้น
คนที่ไม่รู้ว่าการทะเลาะทำให้ตนเองพินาศ
ก็ยังทะเลากันอยู่
ส่วนคนที่รู้ ก็จะเลิกทะเลาะกันไปเอง
คนมีปัญญาถึงจะไม่มีทรัพย์สินก็อยู่ได้
แต่คนมีทรัพย์สินถ้าไร้ปัญญาก็เป็นอยู่ไม่ได้แน่
หูมีไว้ฟังเสียงทุกเสียง ตามีไว้ดูรูปทุกประเภท
ผู้มีปัญญา ไม่ควรมองข้ามสิ่งที่ได้เห็นได้ยินไปเสีย
คนฉลาด ถึงมีตาดีก็ทำเหมือนคนตาบอด
ถึงมีหูดี ก็ทำเหมือนหูหนวก
ถึงมีปัญญา ก็ทำเหมือนคนใบ้
ถึงแข็งแรง ก็ทำเหมือนอ่อนแอ
แต่ถ้าประโยชน์เกิดขึ้น ถึงจะเจ็บป่วย นอนรอความตาย
ก็ยังทำประโยชน์
การแสดงธรรมของท่านครั้งนี้เอง มีผลทำให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตเปลี่ยนแปลงพระอุปนิสัยและบุคลิกภาพ กลายเป็นกษัตริย์ที่สุภาพ มีพระเมตตาต่อสรรพสัตว์
คราวหนึ่ง หลังจากกลับมาอยู่กับพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านเห็นพระจำนวนมากต่างละทิ้งการบำเพ็ญสมณธรรม หันมาทำงานต่างๆ อาทิ การก่อสร้างเสนาสนะบ้าง ต่างคลุกคลีด้วยหมู่คณะบ้าง ติดในรสอาหารบ้าง จึงกล่าวเตือนพระเหล่านั้นว่า
ภิกษุไม่ควรทำงานอื่น นอกเหนือ จากการบำเพ็ญสมณธรรมให้มาก
ควรหลีกเหลี่ยงคน (อันเป็นเหตุให้เกิดคลุกคลีด้วยหมู่คณะ)
ไม่ควรขวนขวาย (สงเคราะห์ชาวบ้านเพื่อหวังได้ลาภสักการะ)
(เพราะ) ภิกษุผู้ขวนขวาย (สงเคราะห์ชาวบ้านเพื่อหวังได้ลาภ ติดอยู่ในรสอาหารนั้น) ย่อมเสียประโยชน์ที่จะนำสุขมาให้
พระโสณกุฏิกัณณะ หลังจากบรรลุได้อรหัตผลแล้ว นั่งพิจารณาดูข้อปฏิบัติของตนเอง แล้วเกิดโสมนัสจึงเปล่งอุทานว่า
เราได้อุปสมบทแล้ว
บัดนี้ เราหลุดพ้น ไม่มีอาสวะ
เราได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว
และได้อยู่วิหารหลังเดียวกับพระองค์
ตอนกลางคืนพระพุทธเจ้าประทับอยู่กลางแจ้งเสียเป็นส่วนมาก
จากนั้นพระองค์จึงเสด็จเข้าสู่วิหาร
พระพุทธเจ้าทรงปูผ้าสังฆาฏิแล้ว
ทรงบรรทมอย่างไม่หวาดกลัว
คล้ายราชสีห์นอนอยู่ในถ้ำหิน
ต่อจากนั้น เราผู้ชื่อว่า โสณะ
ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
ได้กล่าวธรรมด้วยถ้อยคำไพเราะ
ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 134 กุมภาพันธ์ 2555 โดย ผศ.ร.ท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ)
วาจานุสรณ์
พระมหากัจจายนะ หลังจากบรรลุอรหัตผลแล้ว พระพุทธเจ้าส่งท่านไปยังแคว้นอวันตี เพื่อโปรดพระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวแคว้นอวันตีแทนพระองค์ พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงมีพระอุปนิสัยดุร้าย ทรงนิยมฆ่าสัตว์บูชายัญ ทรงลงโทษผู้ต้องสงสัยโดยไม่ไต่สวน และทรงพิจารณาคดีความอย่างไม่ยุติธรรม
ในคืนก่อนวันรุ่งขึ้น อันเป็นวันจะได้พบพระมหากัจจายนะนั้น พระองค์ทรงพระสุบินว่า ได้พบพระเถระและได้ฟังธรรม ครั้นวันรุ่งขึ้น เมื่อพระองค์ได้พบพระเถระสมตามที่พระสุบิน และทันทีที่ได้พบกัน พระเถระก็แสดงธรรมโปรด โดยธรรมที่พระเถระแสดงถวายนั้น มีเนื้อความเป็นอย่างเดียวกับที่ทรงได้ยินในพระสุบิน ความว่า
ผู้มีปัญญา ไม่ควรแนะนำให้ผู้อื่นทำบาป
ตนเองก็ไม่ควรทำด้วย
เพราะสัตว์ทั้งหลายมีกรรมคอยผูกพัน
คำพูดของผู้อื่น ทำให้คนเป็นโจรหรือเป็นมุนีไปไม่ได้
ตัวเองรู้จักตัวเองอย่างใด
แม้ทวยเทพก็รู้จักตัวเองอย่างนั้น
คนที่ไม่รู้ว่าการทะเลาะทำให้ตนเองพินาศ
ก็ยังทะเลากันอยู่
ส่วนคนที่รู้ ก็จะเลิกทะเลาะกันไปเอง
คนมีปัญญาถึงจะไม่มีทรัพย์สินก็อยู่ได้
แต่คนมีทรัพย์สินถ้าไร้ปัญญาก็เป็นอยู่ไม่ได้แน่
หูมีไว้ฟังเสียงทุกเสียง ตามีไว้ดูรูปทุกประเภท
ผู้มีปัญญา ไม่ควรมองข้ามสิ่งที่ได้เห็นได้ยินไปเสีย
คนฉลาด ถึงมีตาดีก็ทำเหมือนคนตาบอด
ถึงมีหูดี ก็ทำเหมือนหูหนวก
ถึงมีปัญญา ก็ทำเหมือนคนใบ้
ถึงแข็งแรง ก็ทำเหมือนอ่อนแอ
แต่ถ้าประโยชน์เกิดขึ้น ถึงจะเจ็บป่วย นอนรอความตาย
ก็ยังทำประโยชน์
การแสดงธรรมของท่านครั้งนี้เอง มีผลทำให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตเปลี่ยนแปลงพระอุปนิสัยและบุคลิกภาพ กลายเป็นกษัตริย์ที่สุภาพ มีพระเมตตาต่อสรรพสัตว์
คราวหนึ่ง หลังจากกลับมาอยู่กับพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านเห็นพระจำนวนมากต่างละทิ้งการบำเพ็ญสมณธรรม หันมาทำงานต่างๆ อาทิ การก่อสร้างเสนาสนะบ้าง ต่างคลุกคลีด้วยหมู่คณะบ้าง ติดในรสอาหารบ้าง จึงกล่าวเตือนพระเหล่านั้นว่า
ภิกษุไม่ควรทำงานอื่น นอกเหนือ จากการบำเพ็ญสมณธรรมให้มาก
ควรหลีกเหลี่ยงคน (อันเป็นเหตุให้เกิดคลุกคลีด้วยหมู่คณะ)
ไม่ควรขวนขวาย (สงเคราะห์ชาวบ้านเพื่อหวังได้ลาภสักการะ)
(เพราะ) ภิกษุผู้ขวนขวาย (สงเคราะห์ชาวบ้านเพื่อหวังได้ลาภ ติดอยู่ในรสอาหารนั้น) ย่อมเสียประโยชน์ที่จะนำสุขมาให้
พระโสณกุฏิกัณณะ หลังจากบรรลุได้อรหัตผลแล้ว นั่งพิจารณาดูข้อปฏิบัติของตนเอง แล้วเกิดโสมนัสจึงเปล่งอุทานว่า
เราได้อุปสมบทแล้ว
บัดนี้ เราหลุดพ้น ไม่มีอาสวะ
เราได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว
และได้อยู่วิหารหลังเดียวกับพระองค์
ตอนกลางคืนพระพุทธเจ้าประทับอยู่กลางแจ้งเสียเป็นส่วนมาก
จากนั้นพระองค์จึงเสด็จเข้าสู่วิหาร
พระพุทธเจ้าทรงปูผ้าสังฆาฏิแล้ว
ทรงบรรทมอย่างไม่หวาดกลัว
คล้ายราชสีห์นอนอยู่ในถ้ำหิน
ต่อจากนั้น เราผู้ชื่อว่า โสณะ
ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
ได้กล่าวธรรมด้วยถ้อยคำไพเราะ
ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 134 กุมภาพันธ์ 2555 โดย ผศ.ร.ท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ)