สิ้นติดใจยินดี
ในเบื้องต้นนี้ ขอเชิญชวนให้ทุกๆ ท่าน ระลึกถึงความสงบอันเรียกว่า “อุปสมานุสสติ” ความระลึกถึงความสงบอันเรียกว่าอุปสมานุสสตินี้ ได้แสดงมาแล้วหลายครั้ง เพราะว่าอันความสงบนั้นจะต้องมีเหตุมีผล
ความสงบที่เป็นส่วนเหตุ อันได้แก่ความสงบสิ่งที่ทำให้เกิดความไม่สงบทั้งหลาย
ความสงบที่เป็นส่วนผล ก็ได้แก่ตัวความสงบจริงๆ อันมีลักษณะเป็นความเรียบร้อยเป็นความเยือกเย็นเป็นความสุข
ฉะนั้น ในการแสดงถึงความสงบ หรือระลึกถึงความสงบ ก็พึงระลึกถึงความสงบที่เป็นส่วนเหตุเป็นข้อสำคัญ เพราะเมื่อระลึกถึงความสงบข้อนี้ได้ ก็ย่อมจะทำให้ได้ทราบแนวปฏิบัติให้บรรลุถึงความสงบนั้น และเมื่อได้รับความสงบที่เป็นส่วนผล ก็ให้กำหนดระลึกอาการของความสงบข้อนี้ ซึ่งปรากฏบังเกิดมีขึ้นในจิตใจ ศึกษาให้ทราบแน่ชัด
เมื่อเป็นดังนี้แล้วก็ทำให้ได้พบกับความสงบทั้งที่เป็นส่วนเหตุและทั้งที่เป็นส่วนผล จึงได้แสดงเรื่องความสงบนี้มาหลายครั้ง และได้แสดงถึงความสงบ ที่เป็นส่วนเหตุคือสงบอะไร ด้วยอะไร ดังจะกล่าวสรุปอีกครั้งว่า
ความสงบความประพฤติที่เป็นภัยเป็นเวรทั้งหลาย ย่อมมีได้ด้วยศีล
ความสงบนิวรณ์คือเครื่องกลุ้มกลัดที่บังเกิดขึ้นในจิตใจ อันทำให้จิต ใจฟุ้งซ่าน เร่าร้อน ย่อมมีได้ด้วยสมาธิ
และความสงบความดิ้นรนปรารถนาของใจและความยึดถือทั้งหลาย หรือกล่าว อีกอย่างหนึ่งว่า สงบความรู้ความเห็นที่ผิด หรือว่าทิฏฐิมานะอันมีอยู่อย่างลึกซึ้งในจิตใจ ย่อมมีได้ด้วยปัญญา
และความสงบที่เป็นส่วนผลนั้นก็ได้แก่ความหลุดพ้นของใจ ตั้งต้นแต่จากภัยเวรจากเรื่องกลุ้มใจทั้งหลาย ตลอดจน ถึงทิฏฐิมานะ หรือความรู้ผิดเห็นผิด อันมีลักษณะเป็นความสร่างเมาหายเมา มีลักษณะเป็นความดับความกระหายของใจ มีลักษณะเป็นความถอนอาลัย มีลักษณะ เป็นความตัดวัฏฏะคือความวนเวียน มีลักษณะเป็นความสิ้นความดิ้นรนทะยานอยากของใจ
และในวันนี้จะแสดงอีกลักษณะหนึ่ง คือมีลักษณะเป็นความสิ้นติดใจยินดีเป็นการสำรอกเครื่องย้อมใจอันเรียกว่า “วิราคะ”
เครื่องย้อมใจ
คำว่า “วิราคะ” นี้ ตรงกันข้ามกับคำว่า “ราคะ”
คำว่า “ราคะ” นั้นแปลว่า ย้อม แปลว่า ติด เหมือนอย่างสีสำหรับย้อมผ้า ซึ่งเป็นเครื่องย้อม เครื่องย้อมหรือว่า การย้อมเรียกว่าราคะ และเมื่อย้อมแล้ว สีก็ติดผ้า การติดนี้ก็เรียกว่าราคะ ในที่นี้หมายถึงเครื่องย้อม การย้อม และการติดทางใจ
อันเครื่องย้อมนั้นก็ได้แก่ สิ่งที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลาย จะกล่าวว่ารูปที่ตาเห็น เสียงที่หูได้ยิน กลิ่นที่จมูกได้ดม รสที่ลิ้นได้ทราบ และสิ่งที่กายได้ถูกต้อง อันเป็นสิ่งที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลาย หรือจะกล่าวว่าโลกธรรม ธรรมสำหรับโลกอันเป็นฝ่ายอิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลาย อันได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ดังนี้ก็ได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องย้อมใจ และเมื่อเครื่องย้อมใจเหล่านี้เข้าไปทำการย้อมใจ ใจก็ติดสีคือติดเครื่องย้อมเหล่านี้
ฉะนั้น จึงมีแสดงอุปมาเปรียบเทียบสีของใจไว้ต่างๆ คือ เป็นสีดำก็มี เป็นสีเขียวก็มี เป็นสีแดงก็มี เป็นสีเหลืองก็มี เป็นสีขาวก็มี เป็นสีขาวอย่างยิ่งก็มี
ใจที่มีสีดำ เพราะติดเครื่องย้อมที่เป็นสีดำนั้น ปรากฏเป็นใจที่มีลักษณะโหดร้าย มีความโลภจัด มีความโกรธจัด มีความหลงจัด ปราศจากความรู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ มี ลักษณะดังที่เรียกว่า อันธพาล คือเป็นคนเขลาเป็นคนโง่ เหมือนดังเป็นผู้บอด ดั่งนี้ ก็เป็นใจที่มีสีดำ
ส่วนใจที่มีสีเขียวนั้น เป็นใจที่ดีขึ้นมาหน่อยหนึ่ง คือรู้จักที่ถูกที่ผิด รู้จักให้ความยุติธรรม มีการพิจารณาปฏิบัติตามผิดตามถูก
ใจที่มีสีแดงก็เป็นใจที่ดีขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง รู้จักมุ่งหาการกระทำความดีอันเป็นบุญเป็นกุศลต่างๆ
ใจที่มีสีเหลืองก็เป็นใจที่ดีขึ้นมาอีก รู้จักที่จะประพฤติธรรมสูงขึ้น
ใจที่มีสีขาวก็เป็นใจที่สูงขึ้นมาอีกมาก ใกล้จะถึงความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง จนถึงขั้นรู้จักออกบวช เป็นฤาษี เป็นโยคี ปฏิบัติธรรมอันเป็นนักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา หรือว่าเป็นภิกษุ สามเณรในพระพุทธศาสนา
ส่วนใจที่มีสีขาวอย่างยิ่งนั้น กล่าวอีก อย่างหนึ่งว่าเป็นใจที่สำรอกสีออกได้โดยสิ้นเชิง เป็นใจที่บริสุทธิ์อย่างยิ่ง ไม่มีสี ได้แก่ ท่านผู้บรรลุถึงความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง คือพระพุทธเจ้าและอรหันตสาวกทั้งหลาย
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 134 กุมภาพันธ์ 2555 โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
ในเบื้องต้นนี้ ขอเชิญชวนให้ทุกๆ ท่าน ระลึกถึงความสงบอันเรียกว่า “อุปสมานุสสติ” ความระลึกถึงความสงบอันเรียกว่าอุปสมานุสสตินี้ ได้แสดงมาแล้วหลายครั้ง เพราะว่าอันความสงบนั้นจะต้องมีเหตุมีผล
ความสงบที่เป็นส่วนเหตุ อันได้แก่ความสงบสิ่งที่ทำให้เกิดความไม่สงบทั้งหลาย
ความสงบที่เป็นส่วนผล ก็ได้แก่ตัวความสงบจริงๆ อันมีลักษณะเป็นความเรียบร้อยเป็นความเยือกเย็นเป็นความสุข
ฉะนั้น ในการแสดงถึงความสงบ หรือระลึกถึงความสงบ ก็พึงระลึกถึงความสงบที่เป็นส่วนเหตุเป็นข้อสำคัญ เพราะเมื่อระลึกถึงความสงบข้อนี้ได้ ก็ย่อมจะทำให้ได้ทราบแนวปฏิบัติให้บรรลุถึงความสงบนั้น และเมื่อได้รับความสงบที่เป็นส่วนผล ก็ให้กำหนดระลึกอาการของความสงบข้อนี้ ซึ่งปรากฏบังเกิดมีขึ้นในจิตใจ ศึกษาให้ทราบแน่ชัด
เมื่อเป็นดังนี้แล้วก็ทำให้ได้พบกับความสงบทั้งที่เป็นส่วนเหตุและทั้งที่เป็นส่วนผล จึงได้แสดงเรื่องความสงบนี้มาหลายครั้ง และได้แสดงถึงความสงบ ที่เป็นส่วนเหตุคือสงบอะไร ด้วยอะไร ดังจะกล่าวสรุปอีกครั้งว่า
ความสงบความประพฤติที่เป็นภัยเป็นเวรทั้งหลาย ย่อมมีได้ด้วยศีล
ความสงบนิวรณ์คือเครื่องกลุ้มกลัดที่บังเกิดขึ้นในจิตใจ อันทำให้จิต ใจฟุ้งซ่าน เร่าร้อน ย่อมมีได้ด้วยสมาธิ
และความสงบความดิ้นรนปรารถนาของใจและความยึดถือทั้งหลาย หรือกล่าว อีกอย่างหนึ่งว่า สงบความรู้ความเห็นที่ผิด หรือว่าทิฏฐิมานะอันมีอยู่อย่างลึกซึ้งในจิตใจ ย่อมมีได้ด้วยปัญญา
และความสงบที่เป็นส่วนผลนั้นก็ได้แก่ความหลุดพ้นของใจ ตั้งต้นแต่จากภัยเวรจากเรื่องกลุ้มใจทั้งหลาย ตลอดจน ถึงทิฏฐิมานะ หรือความรู้ผิดเห็นผิด อันมีลักษณะเป็นความสร่างเมาหายเมา มีลักษณะเป็นความดับความกระหายของใจ มีลักษณะเป็นความถอนอาลัย มีลักษณะ เป็นความตัดวัฏฏะคือความวนเวียน มีลักษณะเป็นความสิ้นความดิ้นรนทะยานอยากของใจ
และในวันนี้จะแสดงอีกลักษณะหนึ่ง คือมีลักษณะเป็นความสิ้นติดใจยินดีเป็นการสำรอกเครื่องย้อมใจอันเรียกว่า “วิราคะ”
เครื่องย้อมใจ
คำว่า “วิราคะ” นี้ ตรงกันข้ามกับคำว่า “ราคะ”
คำว่า “ราคะ” นั้นแปลว่า ย้อม แปลว่า ติด เหมือนอย่างสีสำหรับย้อมผ้า ซึ่งเป็นเครื่องย้อม เครื่องย้อมหรือว่า การย้อมเรียกว่าราคะ และเมื่อย้อมแล้ว สีก็ติดผ้า การติดนี้ก็เรียกว่าราคะ ในที่นี้หมายถึงเครื่องย้อม การย้อม และการติดทางใจ
อันเครื่องย้อมนั้นก็ได้แก่ สิ่งที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลาย จะกล่าวว่ารูปที่ตาเห็น เสียงที่หูได้ยิน กลิ่นที่จมูกได้ดม รสที่ลิ้นได้ทราบ และสิ่งที่กายได้ถูกต้อง อันเป็นสิ่งที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลาย หรือจะกล่าวว่าโลกธรรม ธรรมสำหรับโลกอันเป็นฝ่ายอิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลาย อันได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ดังนี้ก็ได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องย้อมใจ และเมื่อเครื่องย้อมใจเหล่านี้เข้าไปทำการย้อมใจ ใจก็ติดสีคือติดเครื่องย้อมเหล่านี้
ฉะนั้น จึงมีแสดงอุปมาเปรียบเทียบสีของใจไว้ต่างๆ คือ เป็นสีดำก็มี เป็นสีเขียวก็มี เป็นสีแดงก็มี เป็นสีเหลืองก็มี เป็นสีขาวก็มี เป็นสีขาวอย่างยิ่งก็มี
ใจที่มีสีดำ เพราะติดเครื่องย้อมที่เป็นสีดำนั้น ปรากฏเป็นใจที่มีลักษณะโหดร้าย มีความโลภจัด มีความโกรธจัด มีความหลงจัด ปราศจากความรู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ มี ลักษณะดังที่เรียกว่า อันธพาล คือเป็นคนเขลาเป็นคนโง่ เหมือนดังเป็นผู้บอด ดั่งนี้ ก็เป็นใจที่มีสีดำ
ส่วนใจที่มีสีเขียวนั้น เป็นใจที่ดีขึ้นมาหน่อยหนึ่ง คือรู้จักที่ถูกที่ผิด รู้จักให้ความยุติธรรม มีการพิจารณาปฏิบัติตามผิดตามถูก
ใจที่มีสีแดงก็เป็นใจที่ดีขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง รู้จักมุ่งหาการกระทำความดีอันเป็นบุญเป็นกุศลต่างๆ
ใจที่มีสีเหลืองก็เป็นใจที่ดีขึ้นมาอีก รู้จักที่จะประพฤติธรรมสูงขึ้น
ใจที่มีสีขาวก็เป็นใจที่สูงขึ้นมาอีกมาก ใกล้จะถึงความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง จนถึงขั้นรู้จักออกบวช เป็นฤาษี เป็นโยคี ปฏิบัติธรรมอันเป็นนักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา หรือว่าเป็นภิกษุ สามเณรในพระพุทธศาสนา
ส่วนใจที่มีสีขาวอย่างยิ่งนั้น กล่าวอีก อย่างหนึ่งว่าเป็นใจที่สำรอกสีออกได้โดยสิ้นเชิง เป็นใจที่บริสุทธิ์อย่างยิ่ง ไม่มีสี ได้แก่ ท่านผู้บรรลุถึงความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง คือพระพุทธเจ้าและอรหันตสาวกทั้งหลาย
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 134 กุมภาพันธ์ 2555 โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)