xs
xsm
sm
md
lg

รายงานพิเศษ : "ในหลวง" พระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2554 พล.อ.อ.กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี ประธานกรรมการโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ได้เป็นประธานในพิธีถวายทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ประจำปี2554 ณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) อ.ศาลายา จ.นครปฐม

นายอินทร์จันทร์ บุราพันธ์ กรรมการและเลขานุการโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ได้กล่าวรายงานเกี่ยวกับโครงการทุนเล่าเรียนหลวงฯ ว่า

ในปีนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงแด่พระสงฆ์ไทย จำนวน 1,419 ทุน เป็นเงิน 9,169,000 บาท โดยแบ่งเป็นแต่ละประเภทดังนี้

1. ทุนเล่าเรียนหลวงภายใต้กำกับดูแลของกองบาลีสนามหลวง จำนวน 81 ทุน รวมเป็นเงิน 852,000 บาท ประกอบด้วย ทุนเพื่อเข้าสอบป.ธ.6 ทุนละ 6,000 บาท 21 ทุน ทุนเพื่อเข้าสอบป.ธ.7 ทุนละ 8,000 บาท 31 ทุน ทุนเพื่อเข้าสอบป.ธ.8 ทุนละ 12,000บาท 14 ทุน ทุนเพื่อเข้าสอบป.ธ.9 ทุนละ 16,000บาท 10 ทุน ทุนเพื่อมอบให้สำนักเรียนและสำนักศาสนศึกษา ทุนละ 30,000 บาท 5 ทุน

2. ทุนเล่าเรียนหลวงภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) 226 ทุน รวมเป็นเงิน 1,739,000 บาท ประกอบด้วย ปริญญาตรี ปี 1 ทุนละ 7,000 บาท 44 ทุน ปี 2 ทุนละ 7,000 บาท 49 ทุน ปี 3 ทุนละ 7,000 บาท 58 ทุน ปี 4 ทุนละ 7,000 บาท 61 ทุน ปริญญาโท ปี 1 ทุนละ 15,000 บาท 7 ทุน ปี 2 ทุนละ 15,000 บาท 4 ทุน ปริญญาเอก ปี 1 ทุนละ 30,000 บาท 1 ทุน ปี 2 ทุนละ 30,000 บาท 1 ทุน ปี 3 ทุนละ 30,000 บาท จำนวน 1 ทุน

3. ทุนเล่าเรียนหลวงภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย(มมร.) 63 ทุน รวมเป็นเงิน 598,000 บาท ประกอบด้วย ปริญญาตรี ปี 1 ทุนละ 7,000 บาท 19 ทุน ปี 2 ทุนละ 7,000บาท 14 ทุน ปี 3 ทุนละ 7,000 บาท 9 ทุน ปี 4 ทุนละ7,000 บาท 7 ทุน ปริญญาโท ปี 1 ทุนละ 15,000 บาท 4 ทุน ปี 2 ทุนละ 15,000 บาท 7 ทุน ปริญญาเอก ปี 1 ทุนละ 30,000 บาท 1 ทุน ปี 2 ทุนละ 30,000 บาท 1 ทุน ปี 3 ทุนละ 30,000 บาท 1 ทุน

4. ทุนเล่าเรียนหลวงภายใต้การดูแลของกองงานพระธรรมทูต 9 ทุน รวมเป็นเงิน 180,000บาท ดังนี้ ทุนเล่าเรียนหลวงพระธรรมทูตดีเด่น ทุนละ 20,000 บาท จำนวน 9 ทุน

5. ทุนพระวิปัสสนาจารย์ เป็นทุนสนับสนุนคณะสงฆ์ในการผลิตบุคลากรด้านวิปัสสนาจารย์ ระดับประกาศนียบัตรและระดับปริญญาโท สาขาวิปัสสนาภาวนาหรือเทียบเท่า โดยถวายฯ ผ่านคณะกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน 1,000 ทุน เป็นจำนวนเงิน 5,000,000 บาท ประกอบด้วย ทุนการศึกษาพระวิปัสสนาจารย์ระดับประกาศนียบัตรสาขาวิปัสสนาภาวนาหรือเทียบเท่า เพื่อปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสำนักปฏิบัติธรรมทุกแห่งทั่วประเทศ รูปละ 5,000 บาท โดยมีเป้าหมาย 3,000 รูป ภายในเวลา 5 ปี คิดเป็นเงิน 15,000,000 บาท สำหรับปี 2554 ถวายฯ 1,000 ทุน เป็นเงิน 5,000,000 บาท

6.โครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์เฉลิมพระเกียรติ เป็นทุนสนับสนุนฝึกอบรมพระนักเทศน์ ระดับวิทยากรแม่แบบ จำนวน 40 ทุน เป็นเงิน 800,000 บาท กำกับดูแลโดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) 35 ทุน เป็นเงิน 700,000 บาท กำกับดูแลโดยมหาวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย(มมร.) 5 ทุน เป็นเงิน 100,000 บาท

ทั้งนี้ ประธานในพิธีได้ถวายตาลปัตรและย่ามโครงการฯ แด่พระภิกษุและสามเณรผู้ได้รับทุนและสอบได้ เปรียญธรรม 9, 8, 7, 6 ประโยค พร้อมด้วย ฯพณฯ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ได้ถวายย่ามโครงการฯ แด่พระภิกษุและสามเณรผู้ได้รับทุนซึ่งสำเร็จการศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

สำหรับผู้มีจิตศรัทธาจะทูลเกล้าฯ ถวายทุนทรัพย์ เพื่อโดยเสด็จพระราชกุศลในโครงการฯ นี้ ติดต่อได้ที่ทำเนียบองคมนตรี สำนักราชเลขาธิการ เขตพระนคร กทม. 10200 สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0-2220-7400 ต่อ 4117


ความเป็นมาโครงการทุนเล่าเรียนหลวงฯ

วันที่ 5 ก.พ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ในมหามงคลวโรกาสเจริญพระชนมายุ 76 พรรษา 5 ธันวาคม 2546 ต่อมาวันที่ 21 พ.ค. 2547 ได้พระราชทานทุนปฐมฤกษ์ให้โครงการฯ เพื่อสนับสนุนพระภิกษุและสามเรณ ให้มีโอกาสศึกษาพระพุทธศาสนาชั้นสูงจากสถาบันพุทธศาสนาในประเทศ จากนั้นวันที่ 14 ก.ย. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับเป็นนายกกิตติมศักดิ์ในโครงการฯ และพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระมหามงกุฎประกอบเป็นตราโครงการฯ

พิธีถวายทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย จัดขึ้นทุกปี โดยเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2547 จนถึงปี 2554 เป็นจำนวน 8,558 ทุน เป็นเงินทั้งสิ้น 44,889,000 บาท

(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 129 สิงหาคม 2554 โดย กองบรรณาธิการ)





กำลังโหลดความคิดเห็น