ต่อนี้ไป โปรดตั้งสติสำรวม ชะลอจิตใจของเราที่มันวิ่งพล่านตามอารมณ์ต่างๆ โดยอาศัยสติเป็นเครื่องยับยั้ง เป็นเครื่องรักษา เป็นเครื่องที่ทำให้เราระลึกได้ และทำให้เรารู้ตัวด้วย เป็นเหตุให้ได้เจริญสัมปชัญญะ ความรู้ตัวไปในตัว
ความรู้ตัวเป็นสิ่งสำคัญมาก เรารู้อะไรหลายอย่างเท่าไหร่ก็ตาม ไม่เท่าความรู้ตัว เพราะฉะนั้น การภาวนาเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง มีประโยชน์เพราะเรามารู้ตัวนี้เอง
คำว่า “รู้ตัว” จะว่ารู้กายก็ได้ ที่มีอยู่ในตัวของเรานี้ จะรู้อารมณ์จิตก็ได้ จะรู้เวทนาก็ได้ จะรู้ธรรมที่อารมณ์เกิดขึ้นในจิตก็ได้
ให้สติระลึกอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วก็กำหนดระลึก ทำแล้วทำอีก ระลึกแล้วระลึกอีก เพื่อเป็นเครื่องรักษา และคุ้มครองจิตของเรา ไม่ให้ฟุ้งซ่านออกไปข้างนอก เพื่อจะได้ละอารมณ์ข้างนอก ส่งไปข้างนอก อันเป็นอดีตก็ตาม เป็นอนาคตก็ตาม เราเอาเฉพาะปัจจุบัน
เราต้องทำกำหนดไว้ในใจว่า เราจะนั่งรู้เฉพาะเดี๋ยวนี้ในปัจจุบันนี้ ทำใจให้สบายด้วย นั่งให้สบายด้วย เพราะเราต้องการความสบาย เราระลึกเปรียบเทียบว่า ความไม่สบายนั้นไม่ใช่เกิดขึ้นโดยลอยๆ เราต้องไปคิดไปนึกไปสัมผัสจึงเกิดขึ้นได้ ความไม่สบายจึงเกิดขึ้นในตัวของเรา
ทีนี้เราจะไม่เอาความไม่สบาย เราพยายามคิดนึกให้สบาย สัมผัสกับความสบายให้เกิดขึ้นแก่ตัวของเราจะไม่ได้หรือ อันนี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องพยายามสังเกต กำหนดในบริกรรมภาวนาอยู่ในนั้น ในเบื้องต้น เพื่อปรับปรุงจิตใจของเราให้เข้าใจ
ถ้าไม่อย่างนั้น มันก็จะส่งไปภายนอกอยู่เรื่อยไป ปรุงแต่งอยู่เรื่อยไป ไม่เข้าอยู่ในร่องในรอยในหนทาง เราก็พยายามให้อยู่ในร่องในรอยในหนทาง
ต้องพยายามเข้าใจว่า หนทางที่เรากำลังปฏิบัตินี้ เป็นทางอันประเสริฐ เป็นทางที่สำคัญยิ่ง
ถ้าเรามองไม่เห็นความสำคัญแล้ว การกระทำของเราก็ไม่ได้ตั้งใจอย่างจริงจัง ถ้าเราพยายามที่จะสอดส่องด้วยเห็นความสำคัญ เราก็จะได้ตั้งมั่น ประกอบไปด้วยความเพียรและความพยายาม
ถ้าเรามีความเพียรดี ความพยายามดี ตั้งใจดีแล้ว ความดีก็ต้องเกิดขึ้น เพราะอาศัยจิตใจดีเป็นพื้นฐาน ความรู้ดีเป็นพื้นฐาน เป็นเหตุให้จิตของเรามีความดีอันตั้งมั่นแน่วแน่
เมื่อความดีของเราตั้งมั่นแน่วแน่แล้ว สิ่งใดที่ไม่ดีเกิดขึ้นเราก็รู้ ส่วนที่เราไม่ต้องการ เราก็ละทิ้งไป ส่วนไหนที่เป็นมรรค เป็นทาง เป็นประโยชน์ที่จะให้เกิดสติสมบูรณ์ เกิดจิตตั้งมั่น เราก็รู้อีก เราก็กำหนดสิ่งเหล่านั้นไว้ เพราะเป็นธรรมมีอุปการะ อาศัยกันและกัน ช่วยอุดหนุนกัน ให้จิตตั้งมั่นให้มั่นคง
เพราะฉะนั้น เราพยายามระลึกถึงความดี ระลึกถึงประโยชน์ที่เรากำลังปฏิบัติอยู่ เพื่อจิตของเราจะได้มีกำลังด้วยความศรัทธา
คำว่า “ศรัทธา” ความเลื่อมใส ความพอใจ ทำให้จิตของเราเลื่อม ทำให้จิตของเราใส เพราะเป็นความดี ไม่เหมือนสิ่งที่ไม่ดีทำจิตให้มัวหมอง ส่วนความดีทำให้จิตของเราเลื่อม ทำให้จิตของเราใส
คำว่าจิตเลื่อมจิตใส เปรียบเหมือนกับน้ำ เปรียบเหมือนกับวัตถุที่มันสะอาด ไม่อะไรไปจับเกาะเกี่ยว สิ่งเหล่านั้นย่อมใส สดใสผุดผ่อง เรียกว่าเลื่อมใส เป็นรูปเปรียบจิตของเราที่เต็มไปด้วยศรัทธาในการกระทำความดีของเรากำลังกระทำอยู่
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่เรามาสำรวมปฏิบัติฝึกหัดอบรม พยายามระลึกด้วยความดี แม้เราจะระลึกลมหายใจเข้าก็เข้าด้วยดี ออกก็ออกด้วยดี พยายามนั่งให้อยู่นานๆ ก็ได้ ไม่ต้องกำหนดเวลาเท่านั้นเท่านี้ ไม่ต้องกำหนดกลางคืนหรือกลางวัน ไม่ต้องเป็นห่วง
เพราะกลางคืนมันก็ผ่านไป เราเคยผ่านมาหลายคืนแล้ว วันก็เคยผ่านมาหลายวันแล้ว เราไม่ควรไปกังวล มันเป็นเอง สิ่งเหล่านั้นมันเป็นเอง มันมืดก็มืดเอง สว่างก็สว่างเอง ถึงเราไม่ได้เกี่ยวข้องมันก็ต้องหมุนเวียนอยู่อย่างนั้นเป็นปกติธรรมดา
เรามาตั้งใจรู้ตัวของเรา รู้กายรู้จิตของเรา รู้ธรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วยกาย ด้วยจิต แล้วกำหนด พยายามกำหนดระลึกรู้ด้วยดี
พุทโธ.. พุทโธ ระลึกไปเรื่อย รู้ตัวไปเรื่อย ความรู้นั่น ถ้ารวมลงละเอียดเท่าไหร่ยิ่งมีประโยชน์ อารมณ์ที่ละเอียดมากเท่าไหร่ ความสงบก็มากเท่านั้น ถ้าอารมณ์ละเอียดน้อย ความสงบก็น้อย เพราะความสงบกับความละเอียดเป็นของคู่กัน
ความสงบคือการปล่อยวางสิ่งที่หยาบ นี้ก็เป็นของคู่กัน ถ้าเรายึดมั่นไม่ปล่อยวาง จิตก็ไม่เข้าสู่ความละเอียดได้ ถ้าปล่อยวางจนหมดเนื้อหมดตัว จนลืมตัว ก็เหมือนกับเราไม่ได้อะไรเลย ไม่ได้ทำงาน
เพราะฉะนั้น เราต้องเข้าใจให้ถูกต้องในส่วนนี้ด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้หลับทั้งหมด หรือไม่ใช่ว่าจะยึดมั่นเคร่ง เครียดทั้งหมด เราเอาแต่เฉพาะสิ่งที่รู้ รู้อยู่นี่แหละ
เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้พยายามทำใจให้สบาย แล้วก็กำหนดบริกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เราเคยปฏิบัติมา ได้รับความสงบความสบาย เราไม่ต้องอยาก จิตจะหยาบ หน้าที่ของเราก็ทำงานอย่างเดียว ส่วนสงบหรือไม่สงบ เราไม่ต้องอยาก
หน้าที่ของเราก็คือรักษาให้มันมั่นคง จะเอาสิ่งใดก็เอาสิ่งนั้นไปตามลำดับ ถ้าเราทำต่อเนื่อง ติดต่อเนื่องกัน ไม่มีความเผลอ เราก็จะเห็นผล
ไม่มีสิ่งใดมาก่อกวน เราไม่หวั่นไหวในการที่ปรากฏความทุกข์เล็กๆ น้อยๆ ความเจ็บความปวดที่จะมาก่อกวน จิตใจของเราอันนี้เราก็เฉย ละไปผ่านไป ถ้าเราไปเกี่ยวข้อง กับสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราเดินช้า ทำให้เราหลงทางได้
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 129 สิงหาคม 2554 โดย หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ วัดป่าเขาน้อย จ.บุรีรัมย์)
ความรู้ตัวเป็นสิ่งสำคัญมาก เรารู้อะไรหลายอย่างเท่าไหร่ก็ตาม ไม่เท่าความรู้ตัว เพราะฉะนั้น การภาวนาเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง มีประโยชน์เพราะเรามารู้ตัวนี้เอง
คำว่า “รู้ตัว” จะว่ารู้กายก็ได้ ที่มีอยู่ในตัวของเรานี้ จะรู้อารมณ์จิตก็ได้ จะรู้เวทนาก็ได้ จะรู้ธรรมที่อารมณ์เกิดขึ้นในจิตก็ได้
ให้สติระลึกอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วก็กำหนดระลึก ทำแล้วทำอีก ระลึกแล้วระลึกอีก เพื่อเป็นเครื่องรักษา และคุ้มครองจิตของเรา ไม่ให้ฟุ้งซ่านออกไปข้างนอก เพื่อจะได้ละอารมณ์ข้างนอก ส่งไปข้างนอก อันเป็นอดีตก็ตาม เป็นอนาคตก็ตาม เราเอาเฉพาะปัจจุบัน
เราต้องทำกำหนดไว้ในใจว่า เราจะนั่งรู้เฉพาะเดี๋ยวนี้ในปัจจุบันนี้ ทำใจให้สบายด้วย นั่งให้สบายด้วย เพราะเราต้องการความสบาย เราระลึกเปรียบเทียบว่า ความไม่สบายนั้นไม่ใช่เกิดขึ้นโดยลอยๆ เราต้องไปคิดไปนึกไปสัมผัสจึงเกิดขึ้นได้ ความไม่สบายจึงเกิดขึ้นในตัวของเรา
ทีนี้เราจะไม่เอาความไม่สบาย เราพยายามคิดนึกให้สบาย สัมผัสกับความสบายให้เกิดขึ้นแก่ตัวของเราจะไม่ได้หรือ อันนี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องพยายามสังเกต กำหนดในบริกรรมภาวนาอยู่ในนั้น ในเบื้องต้น เพื่อปรับปรุงจิตใจของเราให้เข้าใจ
ถ้าไม่อย่างนั้น มันก็จะส่งไปภายนอกอยู่เรื่อยไป ปรุงแต่งอยู่เรื่อยไป ไม่เข้าอยู่ในร่องในรอยในหนทาง เราก็พยายามให้อยู่ในร่องในรอยในหนทาง
ต้องพยายามเข้าใจว่า หนทางที่เรากำลังปฏิบัตินี้ เป็นทางอันประเสริฐ เป็นทางที่สำคัญยิ่ง
ถ้าเรามองไม่เห็นความสำคัญแล้ว การกระทำของเราก็ไม่ได้ตั้งใจอย่างจริงจัง ถ้าเราพยายามที่จะสอดส่องด้วยเห็นความสำคัญ เราก็จะได้ตั้งมั่น ประกอบไปด้วยความเพียรและความพยายาม
ถ้าเรามีความเพียรดี ความพยายามดี ตั้งใจดีแล้ว ความดีก็ต้องเกิดขึ้น เพราะอาศัยจิตใจดีเป็นพื้นฐาน ความรู้ดีเป็นพื้นฐาน เป็นเหตุให้จิตของเรามีความดีอันตั้งมั่นแน่วแน่
เมื่อความดีของเราตั้งมั่นแน่วแน่แล้ว สิ่งใดที่ไม่ดีเกิดขึ้นเราก็รู้ ส่วนที่เราไม่ต้องการ เราก็ละทิ้งไป ส่วนไหนที่เป็นมรรค เป็นทาง เป็นประโยชน์ที่จะให้เกิดสติสมบูรณ์ เกิดจิตตั้งมั่น เราก็รู้อีก เราก็กำหนดสิ่งเหล่านั้นไว้ เพราะเป็นธรรมมีอุปการะ อาศัยกันและกัน ช่วยอุดหนุนกัน ให้จิตตั้งมั่นให้มั่นคง
เพราะฉะนั้น เราพยายามระลึกถึงความดี ระลึกถึงประโยชน์ที่เรากำลังปฏิบัติอยู่ เพื่อจิตของเราจะได้มีกำลังด้วยความศรัทธา
คำว่า “ศรัทธา” ความเลื่อมใส ความพอใจ ทำให้จิตของเราเลื่อม ทำให้จิตของเราใส เพราะเป็นความดี ไม่เหมือนสิ่งที่ไม่ดีทำจิตให้มัวหมอง ส่วนความดีทำให้จิตของเราเลื่อม ทำให้จิตของเราใส
คำว่าจิตเลื่อมจิตใส เปรียบเหมือนกับน้ำ เปรียบเหมือนกับวัตถุที่มันสะอาด ไม่อะไรไปจับเกาะเกี่ยว สิ่งเหล่านั้นย่อมใส สดใสผุดผ่อง เรียกว่าเลื่อมใส เป็นรูปเปรียบจิตของเราที่เต็มไปด้วยศรัทธาในการกระทำความดีของเรากำลังกระทำอยู่
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่เรามาสำรวมปฏิบัติฝึกหัดอบรม พยายามระลึกด้วยความดี แม้เราจะระลึกลมหายใจเข้าก็เข้าด้วยดี ออกก็ออกด้วยดี พยายามนั่งให้อยู่นานๆ ก็ได้ ไม่ต้องกำหนดเวลาเท่านั้นเท่านี้ ไม่ต้องกำหนดกลางคืนหรือกลางวัน ไม่ต้องเป็นห่วง
เพราะกลางคืนมันก็ผ่านไป เราเคยผ่านมาหลายคืนแล้ว วันก็เคยผ่านมาหลายวันแล้ว เราไม่ควรไปกังวล มันเป็นเอง สิ่งเหล่านั้นมันเป็นเอง มันมืดก็มืดเอง สว่างก็สว่างเอง ถึงเราไม่ได้เกี่ยวข้องมันก็ต้องหมุนเวียนอยู่อย่างนั้นเป็นปกติธรรมดา
เรามาตั้งใจรู้ตัวของเรา รู้กายรู้จิตของเรา รู้ธรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วยกาย ด้วยจิต แล้วกำหนด พยายามกำหนดระลึกรู้ด้วยดี
พุทโธ.. พุทโธ ระลึกไปเรื่อย รู้ตัวไปเรื่อย ความรู้นั่น ถ้ารวมลงละเอียดเท่าไหร่ยิ่งมีประโยชน์ อารมณ์ที่ละเอียดมากเท่าไหร่ ความสงบก็มากเท่านั้น ถ้าอารมณ์ละเอียดน้อย ความสงบก็น้อย เพราะความสงบกับความละเอียดเป็นของคู่กัน
ความสงบคือการปล่อยวางสิ่งที่หยาบ นี้ก็เป็นของคู่กัน ถ้าเรายึดมั่นไม่ปล่อยวาง จิตก็ไม่เข้าสู่ความละเอียดได้ ถ้าปล่อยวางจนหมดเนื้อหมดตัว จนลืมตัว ก็เหมือนกับเราไม่ได้อะไรเลย ไม่ได้ทำงาน
เพราะฉะนั้น เราต้องเข้าใจให้ถูกต้องในส่วนนี้ด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้หลับทั้งหมด หรือไม่ใช่ว่าจะยึดมั่นเคร่ง เครียดทั้งหมด เราเอาแต่เฉพาะสิ่งที่รู้ รู้อยู่นี่แหละ
เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้พยายามทำใจให้สบาย แล้วก็กำหนดบริกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เราเคยปฏิบัติมา ได้รับความสงบความสบาย เราไม่ต้องอยาก จิตจะหยาบ หน้าที่ของเราก็ทำงานอย่างเดียว ส่วนสงบหรือไม่สงบ เราไม่ต้องอยาก
หน้าที่ของเราก็คือรักษาให้มันมั่นคง จะเอาสิ่งใดก็เอาสิ่งนั้นไปตามลำดับ ถ้าเราทำต่อเนื่อง ติดต่อเนื่องกัน ไม่มีความเผลอ เราก็จะเห็นผล
ไม่มีสิ่งใดมาก่อกวน เราไม่หวั่นไหวในการที่ปรากฏความทุกข์เล็กๆ น้อยๆ ความเจ็บความปวดที่จะมาก่อกวน จิตใจของเราอันนี้เราก็เฉย ละไปผ่านไป ถ้าเราไปเกี่ยวข้อง กับสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราเดินช้า ทำให้เราหลงทางได้
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 129 สิงหาคม 2554 โดย หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ วัดป่าเขาน้อย จ.บุรีรัมย์)