ณ ชายป่าแห่งหนึ่ง ไม้ไผ่เห็นไม้สักยืนต้นตรงสูงใหญ่ จึงเอ่ยขึ้นว่า
“เกิดเป็นไม้สักนี่ช่างดีจังเลยนะ ลำต้นก็สูงใหญ่สง่างาม ใครๆก็นิยมนำมาสร้างบ้าน ทำเครื่องเรือนต่างๆ เพราะปลวกมอดไม่กินเนื้อไม้ แต่ฉันซิ..ลำต้นก็ไม่สูงใหญ่ ไม่ค่อยมีใครเอาไปทำบ้าน เพราะปลวกมอดชอบกินเนื้อไม้อย่างฉัน”
ไม้สักได้ยินไม้ไผ่พูดดังนั้น ก็ตอบไปว่า “ถึงฉันจะลำต้นสูงใหญ่ แต่ฉันก็เติบโตได้ช้า และกว่าที่คนจะนำฉันไปใช้ได้ ก็หลายปีทีเดียว สู้เจ้าก็ไม่ได้ เติบโตแตกหน่อออกกอ กันอย่างรวดเร็ว ไม่นานก็ใช้ได้แล้ว”
“ก็จริงของท่านนะ” ไม้ไผ่พูด
ไม้สักจึงย้ำว่า “จริงๆแล้วท่านมีประโยชน์มากกว่าฉันเสียอีก ท่านให้หน่อไม้เป็นอาหารแก่คนและสัตว์ ใบของท่านก็นำมาห่อขนมได้ ส่วนลำต้นของท่านก็นำมาปลูกเรือน ทำเครื่องใช้ต่างๆ หรือทำกระบอกตักน้ำก็ได้ ใช้กระบอกหุงข้าวก็ได้ หรือทำเป็นไม้เท้าก็ได้ เห็นมั้ยล่ะว่า เจ้าน่ะมีประโยชน์มากมายแค่ไหน”
ไม้ไผ่จึงตอบไปว่า “แต่ท่านก็ยังเป็นไม้ที่ดูดีมีราคามากกว่าฉันนัก ใครๆก็อยากได้ท่านกันทั้งนั้น”
“ไม่จริงเสมอไปหรอก” ไม้สักกล่าว
ขณะที่ทั้งสองกำลังพูดคุยกันอยู่นั้น ก็มีชาวบ้าน 2-3 คนเดินเข้ามาหาไม้ไผ่ เพื่อนำไปผูกทำแพล่องแม่น้ำ ชายคนหนึ่งเอ่ยขึ้นว่า
“โอ้โฮ..ไม้ไผ่ลำนี้สวยจริงๆ ฉันว่าต้นขนาดนี้ก็ใช้ผูกทำแพได้ จริงมั้ยเพื่อน”
“สวยจริงๆด้วย ฉันว่าแค่ 30 ต้นก็พอ” ชายอีกคนหนึ่งพูด แล้วทั้งสามก็ช่วยกันตัดไม้ไผ่จนครบที่ต้องการ แถมยังขุดหน่อไผ่ออกไปเป็นอาหารด้วย
ไม้สักจึงพูดกับไม้ไผ่ว่า “เห็นหรือยังล่ะ ว่าเจ้าก็ดูดีเหมือนกัน แล้วก็มีคนที่ต้องการเจ้ามากกว่าฉันซะอีก ขนาดฉันอยู่ใกล้ๆ เขายังไม่สนใจเลย เพราะถ้าพวกเขาเอาฉันไปทำเรือ เขาก็ต้องหาลำต้นที่ใหญ่กว่านี้ เพื่อนำไปขุดเป็นเรือ ซึ่งต้องใช้เวลานานมาก กว่าจะขุดได้เรือสักลำ แต่สำหรับเจ้า เขาใช้เวลาแค่วันเดียวก็ทำแพล่องแม่น้ำได้แล้ว”
“อืมมมม..จริงซินะ ทำไมฉันถึงไม่ค่อยเห็นคุณค่าของตัวเองเลย” ไม้ไผ่รำพึง
ไม้สักจึงบอกว่า “ก็เจ้ามัวแต่ดูคนอื่น แล้วมาเปรียบเทียบกับตัวเอง อย่างนี้จะเห็นสิ่ง ดีๆที่มีอยู่ในตัวเองได้อย่างไร เจ้าต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ และลองค้นหาดูซิว่า ยังมีอะไรในตัวเองอีกบ้าง ที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทั้งกับตนเองและผู้อื่น”
......
มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ใด ย่อมมีคุณค่าในตัวเอง ขึ้นอยู่กับว่าผู้นั้นจะมองเห็นคุณค่าของตัวเองได้แค่ไหน คนที่เห็นคุณค่าของตัวเอง คือเห็นคุณค่าของการได้มาเกิดเป็นมนุษย์ ซึ่งกว่าจะได้มาก็แสนยาก ก็ย่อมจะกระทำแต่ความดีงาม ดังที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ว่า “จงทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำใจให้ผ่องใส” หากทำได้เช่นนี้ นี่แหละคือคุณค่าอันแท้จริงในการเกิดมาเป็นมนุษย์
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 123 กุมภาพันธ์ 2554 โดย ไม้หอม)
“เกิดเป็นไม้สักนี่ช่างดีจังเลยนะ ลำต้นก็สูงใหญ่สง่างาม ใครๆก็นิยมนำมาสร้างบ้าน ทำเครื่องเรือนต่างๆ เพราะปลวกมอดไม่กินเนื้อไม้ แต่ฉันซิ..ลำต้นก็ไม่สูงใหญ่ ไม่ค่อยมีใครเอาไปทำบ้าน เพราะปลวกมอดชอบกินเนื้อไม้อย่างฉัน”
ไม้สักได้ยินไม้ไผ่พูดดังนั้น ก็ตอบไปว่า “ถึงฉันจะลำต้นสูงใหญ่ แต่ฉันก็เติบโตได้ช้า และกว่าที่คนจะนำฉันไปใช้ได้ ก็หลายปีทีเดียว สู้เจ้าก็ไม่ได้ เติบโตแตกหน่อออกกอ กันอย่างรวดเร็ว ไม่นานก็ใช้ได้แล้ว”
“ก็จริงของท่านนะ” ไม้ไผ่พูด
ไม้สักจึงย้ำว่า “จริงๆแล้วท่านมีประโยชน์มากกว่าฉันเสียอีก ท่านให้หน่อไม้เป็นอาหารแก่คนและสัตว์ ใบของท่านก็นำมาห่อขนมได้ ส่วนลำต้นของท่านก็นำมาปลูกเรือน ทำเครื่องใช้ต่างๆ หรือทำกระบอกตักน้ำก็ได้ ใช้กระบอกหุงข้าวก็ได้ หรือทำเป็นไม้เท้าก็ได้ เห็นมั้ยล่ะว่า เจ้าน่ะมีประโยชน์มากมายแค่ไหน”
ไม้ไผ่จึงตอบไปว่า “แต่ท่านก็ยังเป็นไม้ที่ดูดีมีราคามากกว่าฉันนัก ใครๆก็อยากได้ท่านกันทั้งนั้น”
“ไม่จริงเสมอไปหรอก” ไม้สักกล่าว
ขณะที่ทั้งสองกำลังพูดคุยกันอยู่นั้น ก็มีชาวบ้าน 2-3 คนเดินเข้ามาหาไม้ไผ่ เพื่อนำไปผูกทำแพล่องแม่น้ำ ชายคนหนึ่งเอ่ยขึ้นว่า
“โอ้โฮ..ไม้ไผ่ลำนี้สวยจริงๆ ฉันว่าต้นขนาดนี้ก็ใช้ผูกทำแพได้ จริงมั้ยเพื่อน”
“สวยจริงๆด้วย ฉันว่าแค่ 30 ต้นก็พอ” ชายอีกคนหนึ่งพูด แล้วทั้งสามก็ช่วยกันตัดไม้ไผ่จนครบที่ต้องการ แถมยังขุดหน่อไผ่ออกไปเป็นอาหารด้วย
ไม้สักจึงพูดกับไม้ไผ่ว่า “เห็นหรือยังล่ะ ว่าเจ้าก็ดูดีเหมือนกัน แล้วก็มีคนที่ต้องการเจ้ามากกว่าฉันซะอีก ขนาดฉันอยู่ใกล้ๆ เขายังไม่สนใจเลย เพราะถ้าพวกเขาเอาฉันไปทำเรือ เขาก็ต้องหาลำต้นที่ใหญ่กว่านี้ เพื่อนำไปขุดเป็นเรือ ซึ่งต้องใช้เวลานานมาก กว่าจะขุดได้เรือสักลำ แต่สำหรับเจ้า เขาใช้เวลาแค่วันเดียวก็ทำแพล่องแม่น้ำได้แล้ว”
“อืมมมม..จริงซินะ ทำไมฉันถึงไม่ค่อยเห็นคุณค่าของตัวเองเลย” ไม้ไผ่รำพึง
ไม้สักจึงบอกว่า “ก็เจ้ามัวแต่ดูคนอื่น แล้วมาเปรียบเทียบกับตัวเอง อย่างนี้จะเห็นสิ่ง ดีๆที่มีอยู่ในตัวเองได้อย่างไร เจ้าต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ และลองค้นหาดูซิว่า ยังมีอะไรในตัวเองอีกบ้าง ที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทั้งกับตนเองและผู้อื่น”
......
มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ใด ย่อมมีคุณค่าในตัวเอง ขึ้นอยู่กับว่าผู้นั้นจะมองเห็นคุณค่าของตัวเองได้แค่ไหน คนที่เห็นคุณค่าของตัวเอง คือเห็นคุณค่าของการได้มาเกิดเป็นมนุษย์ ซึ่งกว่าจะได้มาก็แสนยาก ก็ย่อมจะกระทำแต่ความดีงาม ดังที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ว่า “จงทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำใจให้ผ่องใส” หากทำได้เช่นนี้ นี่แหละคือคุณค่าอันแท้จริงในการเกิดมาเป็นมนุษย์
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 123 กุมภาพันธ์ 2554 โดย ไม้หอม)