ปุจฉา
จะปฏิบัติธรรม เจริญกรรมฐาน พิจารณามรณสติ ได้อย่างไร
วิสัชนา
บุคคลผู้ปรารถนาจะเจริญ มรณสติสพึงพิจารณาด้วยอาการ 8 อย่าง ดังนี้
01. สัตว์ทุกชนิด เมื่อมีชีวิตต้องรับทัณฑกรรม คือความ ตายในที่สุด พิจารณาให้รู้ชัดลงไปว่า สรรพชีวิตทุกชนิดเมื่อเกิด มาแล้ว ย่อมพาเอาความเสื่อม เก่าแก่ และตายมาด้วยอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ประดุจดังชีวิตที่เกิดอยู่ในแดนประหาร มีเพชฌฆาตถือมีดและปืนจ่อรออยู่ เมื่อถึงเวลาก็ลงมือประหารชีวิตนั้นโดยมิรีรอ ชีวิตเมื่อเกิดขึ้นแล้ว เหมือนดั่งพระอาทิตย์ที่ขึ้นทางทิศตะวันออก แล้วกำลังเดินทางไปสู่ทิศตะวันตกในที่สุด แสงนั้นก็ลับหายไปจากขอบฟ้า ไม่มีใ่ครสามารถเรียกให้พระอาทิตย์นั้นเดินทางย้อนกลับมาได้ มีแต่ว่าต้องรอให้ถึงวันใหม่ (นั่นคือการเกิดของอีกชีวิตหนึ่ง) ชีวิตนี้เหมือนดังก้อนหินใหญ่ตั้งอยู่บนยอดเขา แล้วกลิ้งลงมาสู่ตีนเขาเบื้องล่าง ไม่สามารถจะหยุดยั้งให้หยุดระหว่างกลางเขาได้ จนท้ายก็ต้องตกลงมากระทบพื้นเบื้องล่างแตกกระจาย น้ำค้างบนยอดหญ้า เมื่อกระทบ กับลมและแดด ย่อมเหือดแห้งไปฉันใด ชีวิตของสรรพสัตว์ เมื่ออุบัติขึ้นมาแล้ว ย่อมต้องตายไปฉันนั้น ชีวิตนี้เป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่เที่ยงในชีวิตคือความตาย
02. พิจารณาถึงความวิบัติแห่งสมบัติทั้งปวง อันมีทรัพย์สินเงินทอง ลาภสักการะเกียรติยศ ศักดิ์ศรีชื่อเสียงอำนาจวาสนา เรือกสวนไร่นา ข้าทาสบริวารหญิงชายทั้งหลายเหล่านี้ มีอันต้องวิบัติแตกสลายมลายสูญสิ้นไปในที่สุด แม้แต่องค์อินทร์ ยังเสื่อมจากทิพยสมบัติที่มีเมื่อถึงกาลที่ต้องวิบัติ สำหาอะไรกับเราท่านทั้งหลายจะรอดพ้นจากวิบัติได้กระนั้นหรือ
สมบัติทั้งหลายจักวิบัติได้ด้วยลักษณะ ดังนี้ วิบัติโดยความหมดไปสิ้นไปวิบัติโดยเวรภัยต่างๆ วิบัติโดยความเสื่อมเก่า คร่ำคร่า วิบัติโดยความแตกร้าว บุบสลาย ทำลายพินาศไป วิบัติโดยความสูญหาย วิบัติโดยหมดวาสนาบารมี
03. ระลึกถึงความตายของผู้อื่นแล้วน้อมเข้ามาเปรียบเทียบกับตน เช่น เวลาไปงานศพในที่ต่างๆ หรือฟังข่าวสารการมรณะของคนและสัตว์ ก็ให้น้อมมาระลึก ว่า โอ้หนอ... แม้แต่ท่านผู้มียศใหญ่ วาสนาดี มีบุญมาก ซ้ำยังประกอบไปด้วยความแข็งแรง มีกำลังวังชาประดุจดังพญาช้างสาร มีปัญญารอบรู้ เฉลียวฉลาด มีฤทธิ์ อำนาจมากมาย ยังต้องตาย สำหาอะไรกับเรา เป็นผู้ด้อยกว่าเขาด้วยประการทั้งปวง จะล่วงพ้นความตายไปได้กระนั้นหรือ
พิจารณาย้อนไปถึงอดีต แม้แต่พระอรหันต์ผู้เลิศฤทธิ์ พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เลิศญาณ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เลิศ ปัญญา ยังมิอาจพ้นจากความตายได้ ความตายนี้ช่างเป็นสาธารณะแก่คนและสัตว์ทั้งหลายเสียจริงๆ
04. พิจารณาถึงกายนี้ ว่าเป็น รังของโรค เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ ที่เกาะกลุ่มกันจนกลายเป็นแผ่นหนังห่อหุ้มกายนี้ เมื่อเซลล์ผิวหนังเหล่านี้ตาย ก็จักบังเกิดเซลล์ตัวใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่แทน เซลล์เหล่านี้เกิด และมี ชีวิตอยู่ได้ด้วยน้ำเลือดที่ประกอบด้วยสารอาหารที่กายนี้ดื่มกินเข้าไป แล้วยังต้องอาศัยอากาศที่หมุนวนอยู่รอบๆ กาย น้ำที่ซึมซาบอยู่ในกายเป็นเครื่องอยู่ กายนี้นอกจากประกอบด้วย เซลล์ผิวหนัง เซลล์เนื้อ เซลล์ไขมัน เซลล์กระดูก เซลล์เยื่อกระดูก เซลล์ไขกระดูก แล้วยังมีเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ อันเป็นองค์ประกอบของอวัยวะทั้งหลายภายในกายนี้
สิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เล็กๆ เหล่านี้ ต่างพากันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วตายไป สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่เช่นนี้ จนกว่าเหตุปัจจัยของการ เกิดแห่งเซลล์ชีวิตเหล่านี้ จักหมดสิ้นอายุ และขาดตอนลง นอกจากกายนี้ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เป็นเซลล์ของร่างกายแล้ว กายนี้ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ อื่นอีกหลาย ชนิด ที่อิงอาศัยเกาะกินส่วนต่างๆ ของกายนี้ เช่น ถ้าสิ่งมีชีวิตเล็กๆ นั้น อาศัยอยู่ที่ผิวหนังก็จักเกาะกินเซลล์ ผิวหนัง อาศัยอยู่ที่เนื้อก็เกาะกินเซลล์เนื้อ อาศัยอยู่ที่พังผืดและเอ็นก็เกาะกินพังผืดและเอ็น อาศัยที่กระดูกก็เกาะกินกระดูก อาศัยอยู่ที่เยื่อกระดูก ก็เจาะกินเยื่อในกระดูกนั้น นอกจากจะเกาะกินเซลล์ต่างๆ ภายในกายนี้แล้ว มันยังขับถ่ายผสมพันธุ์ เกิด ตาย อยู่ในที่ที่มันอาศัยอยู่นั้นอีกด้วย
กายนี้จึงได้ชื่อว่า เป็นที่อาศัยสาธารณะของสิ่งมีชีวิต หรือเชื้อโรคเล็กๆ ทั้งหลายเป็นจำนวนมาก กายนี้เป็นที่ผสมพันธุ์ เป็นที่เกิดเป็นที่ถ่ายของเสียเป็นที่หมักหมมของโสโครก เป็นป่าช้า เป็นรังของโรคร้ายต่างๆ
นอกจากกายนี้เป็นป่าช้า คือ เป็นที่ตายของสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ทั้งหลายแล้วเป็นเหตุให้เกิดโรคร้ายแก่กายนี้แล้ว กายนี้ยังมีเหตุให้ถึงแก่ความตายอย่างง่ายดายจากภายนอกอีกนานัปการ เช่น โดนสัตว์มีพิษน้อยใหญ่ขบกัดตาย โดนอาวุธซัดตาย หกล้มตาย ตกจากที่สูงตาย ได้รับอุบัติภัยต่างๆ แล้วตาย เกิดลมกำเริบ ภายในแล้วตาย หิวตาย กระหายตาย อิ่มตาย ฯลฯ
พิจารณาให้เห็นว่า เหตุของ ความตายแห่งกายนี้มีมากมาย ง่ายดายเหลือเกิน ตายได้โดยมิเลือกเวลา นาที วันเดือนปี และสถานที่ พิจารณาให้เห็นว่ากายนี้มีความตายเป็นสาธารณะ
05. พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงว่า ชีวิตนี้เป็นภาระยิ่งนัก เป็นความรุงรัง ที่ต้องคอยบริหาร ชีวิตนี้เมื่ออุบัติขึ้นมาแล้ว ไม่มีคุณสมบัติที่จักดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง กายนี้จำต้องพึ่งพิงอิงอาศัยสรรพชีวิต สรรพสิ่งต่างๆ มากมาย เช่นเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ยังต้องอาศัยบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง อุปการะเลี้ยงดู ต้องอาศัยอากาศ หายใจ กายนี้ต้องอิงอาศัยดินน้ำลมไฟ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และปัจจัยต่างๆ อีกมากมาย
ชีวิตและกายนี้ต้องอาศัยความพยายามที่จักมีการบริหารให้ อยู่ในอิริยาบถ 4 อย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ ยืนเดินนั่งนอน จักขาดอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งมิได้ และจักมีอิริยาบถใดมากเกินไปก็เจ็บปวดเป็นทุกข์ทรมาน จนบางครั้งบางท่านถึงขนาดล้มป่วย และตายลงในที่สุด
กายนี้ นอกจากจะไม่มีเอกภาพในความดำรงอยู่ด้วยตัวเองแล้ว กายนี้ยังประกอบไปด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ดินน้ำลมไฟ ที่ต้องอิงอาศัยการบริหารจัดการดูแลรักษาให้ธาตุทั้ง 4 ภายในภายนี้ ดำรงสมดุลต่อกันและกัน มิเช่นนั้นก็จะกลายเป็นสิ่งที่ทุพพลภาพ พร่องอยู่ตลอดเวลา เราทั้งหลายจึงต้องมีงานอันหนัก ตั้งแต่เกิดจนตาย
06. ชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายไม่มีเครื่องหมายว่าจักตายในขณะใด บางพวกอาจตายเสียก่อนตั้งแต่ยังเป็นดวงจิตวิญญาณที่ล่องลอยไปตามอำนาจกรรมก็มี บางพวกอาจจักตายในขณะที่เป็นเปรตเสียก็มี บางพวกก็ตายในขณะที่เป็นก้อนเนื้ออยู่ในครรภ์มารดาก็มี บางพวกก็ตายหลังจากออกมาจากครรภ์มารดาแล้วก็มี
ชีวิตและกายนี้ไม่แน่ว่าจักตายในขณะใด เวลาไหน ด้วยโรคอะไร ด้วยอาการเช่นไร ณ สถานที่ไหน ความตายเป็นของไม่แน่ แต่ที่แน่ๆ ทุกคนต้องตาย เมื่อตายแล้วก็ไม่แน่ว่า จักไปเกิดในที่ใด แล้วแต่บุญทำกรรมส่ง
07. มองให้เห็นตามเป็นจริงว่า เวลาแห่งชีวิตนี้น้อยนัก อายุขัยของชีวิตนี้เปรียบดังฟองน้ำที่ปรากฏบนผิวน้ำ สะบัดเดี๋ยวก็แตกกระจาย ชีวิตและร่างกายนี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วต่างมีเวลาและวาสนาในการดำรงชีวิตอยู่ไม่เท่ากัน เหมือนดังฟองน้ำบนผิวน้ำที่ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง และในที่สุดก็จักต้องแตกดับลงอย่าง รวดเร็ว อายุขัย ของชีวิตนี้เปรียบเหมือนรอยไม้ ที่ขีดลงบนพื้น ผิวน้ำปรากฏ ประเดี๋ยวเดียว ก็หายไป ดูว่าชีวิตช่างไม่มีอะไรเที่ยงแท้ เสียจริงๆ แม้แต่สรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิต เมื่อปรากฏ ขึ้นแล้ว ก็มิได้มีอะไรคงทนถาวร ตลอดกาลตลอดสมัยเหมือนน้ำตกที่ไหลจากที่สูง มีแต่จักไหลลงไปสู่เบื้องล่างแต่ถ่ายเดียว ชีวิตไม่ว่าจักเริ่มต้นจากสูงต่ำปานกลาง ยาวสั้นเล็กใหญ่ประการใด สุดท้ายก็ต้องตกลงไปสู่ความตายในที่สุด ไม่มีผู้ใดจะปฏิเสธได้ เหมือนดังน้ำที่ไหล ลงสู่ที่ต่ำเสมอมิมีใครห้ามได้ ความเป็นไปของชีวิตนี้ ไม่ว่าจักมั่งมีมากมายหรือจนยากลำบากทั้งหลาย เลวดี หรือมีสุขทุกข์อย่างไร ถ้าชีวิตตั้งอยู่บนความประมาทขาดปัญญา ที่สุดตน ก็ต้องรับโทษทุกข์ภัย ทรมานกายใจ ทั้งโลกนี้และโลกหน้า เหมือนกับโคที่เขาเลี้ยงเอาไว้เพื่อฆ่า นับวันก็ยิ่งใกล้วันโดนฆ่าเข้าไปทุกที ความประมาท มัวเมาในกามคุณทั้งหลายโดยไม่คำนึงถึงความตายคงไม่ต่างอะไรกับโคที่เห็นหญ้าอ่อนแล้วตรงรี่เข้าไปหาเพื่อแทะเล็ม เคี้ยวกินให้อิ่มและอ้วนพี โดยมิได้สำนึกเลยว่าความอยากตะกรุมตะกรามตะกละของตนที่พยายามกินให้อ้วนนั้น คือ การเร่งให้คนฆ่า โคนำตนไปฆ่าให้เร็วขึ้น มีคำกล่าวว่า อายุขัยของ มนุษย์ทั้งหลาย นั้นน้อยนัก คนมีปัญญาอย่าพึงดูหมิ่นพึงประพฤติดังคนที่มีไฟไหม้อยู่บนศีรษะเถิด อย่าคิดว่าความตายจะยังไม่มาถึงเรา
08. จงพิจารณาถึงมรณสติว่า มีอยู่ทุกขณะจิตที่เกิดดับ จิตดวงหนึ่งเมื่อเกิดชื่อว่าชีวิตหนึี่งก็เกิดตาม จิตดวงนั้นดับ ชื่อว่าชีวิตนั้นดับตาม แต่เพราะกายนี้ประกอบด้วยจิตที่เกิดดับจนหาประมาณมิได้ บวกกับความเร็วของที่จิตที่เกิดดับ และความสืบเนื่องกันอย่างถี่ยิบ สัตว์ทั้งหลายจึงมองไม่เห็นชีวิตที่เกิดตายอยู่ทุกขณะจิตที่เกิดดับ
จิตที่ดับไปแล้วเรียกว่า อดีตจิต จิตและชีวิตสัตว์นั้นจึงไม่ชื่อว่าดำรงอยู่ ไม่ชื่อว่ากำลังดำรงอยู่ ไม่ชื่อว่าจักดำรงต่อไป ส่วนจิตที่ยังมิได้เกิดเรียกว่า อนาคตจิต ชีวิตและจิตของสัตว์นั้นก็ไม่มีชีวิต ไม่ชื่อว่ามีจิต ไม่ชื่อว่าสัตว์ ไม่ชื่อว่าเป็นจิตและสัตว์แล้ว แต่ได้ชื่อว่ากำลังจะเป็นจิตและสัตว์ต่อไป
ชีวิต อัตภาพ สุขทุกข์ ทั้งมวลของสัตว์นี้ เป็นไปเพียงแค่ชั่วขณะ จิตเดียว แต่ที่เห็นว่ายืนยาวเพราะสันตติ ระบบความสืบต่อ ความปรุงแต่งและยึดถือจึงทำให้สัตว์นั้น มองเห็นชีวิต อัตภาพสุขทุกข์ที่มีอยู่ยืนยาว ชีวิตนี้เมื่อขาดความปรุงแต่ง ความสืบต่อ ชีวิตนี้จึงดูสั้นนัก
ท่านผู้เจริญทั้งหลายเมื่อจักเจริญมรณสติอาจเจริญพิจารณาข้อใดข้อหนึ่งใน 8 ข้อหรือเจริญทุกข้อก็ได้ แต่ขอให้หมั่นเจริญ พิจารณาอยู่ทุกขณะของลมหายใจ จนจิตสลดปลดจากกามคุณเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย สติก็จะมั่นอยู่ในการพิจารณาความตายเป็นอารมณ์จิตก็จักปลอดจากนิวรณ์เครื่องครอบจิต องค์คุณแห่งอุปจารฌานก็จักบังเกิดขึ้น
สัตว์ทั้งหลายที่มิได้เจริญมรณสติ ย่อมมีชีวิตอยู่อย่างประมาทมัวเมา เมาในภพ เมาในชาติ เมาในวัย เมาในชีวิตความเป็นอยู่ เมาในรูป รส กลิ่น เสียง เมาในสัมผัส เมาในอำนาจวาสนา เมาในทรัพย์สมบัติ เรือกสวนไร่นา เมาในราคะ โทสะ โมหะ
เมื่อเป็นผู้เมาก็คือขาดสติ เมื่อขาดสติก็เป็นเหตุให้ทำกรรมชั่ว คิดชั่ว พูดชั่ว หรือทำผิด พูดผิด คิดผิด เมื่อชีวิตมีแต่เรื่องผิดและชั่ว ก็เป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทั้งหลับและตื่น กลางวันและกลางคืน ก็เป็นเหตุ ให้หวาดกลัว กลัวไปต่างๆ นานา แล้วแต่จิตจะพาไปด้วยอำนาจของความเศร้าหมอง พาให้วิตก กังวล ฟุ้งซ่านด้วยใจเศร้าหมอง วิตกหวาดกลัว
ครั้นเมื่อถึงเวลาตาย ย่อมหวาดผวาไม่กล้าที่จะเผชิญกับความจริง แสดงกิริยาอาการกระวนกระวายเป็นทุกข์เดือดร้อน เศร้าโศก ร่ำไรรำพัน พอตายเข้าจริงๆ จิตนี้ก็ไปบังเกิดในภพภูมิ ที่ไม่น่าปรารถนา ต้องได้รับทุกข์ยาก เดือดร้อนสุดจะพรรณนา
สำหรับท่านผู้เจริญมรณสติภาวนา ย่อมไม่ประมาทมัวเมา ในภพชาติ และลาภสักการะทั้งหลาย มีชีวิตอยู่เพื่อจะสร้างสรรสาระให้โตอย่างรู้ตัว เจียมตัว และกล้าพร้อมที่จะเผชิญกับความตายอย่าง มีสติ ไม่หวั่นหวาด ไม่ขลาดกลัว เหตุเพราะได้เห็นความเป็นจริงของจิต ชีวิต โลก ว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นธรรมดา มิมีใครจะพ้นจากกติกา นี้ไปได้ จิตก็จะสงบสงัดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งปวงพอตาย ภพ ชาติ ที่ตนปรารถนา ก็จักบังเกิดขึ้นแก่ตน
เรียกว่า ผู้เจริญมรณสติภาวนา จักสามารถเลือกภพชาติ ของตนที่จักไปเกิดได้ดังใจปรารถนา
จะปฏิบัติธรรม เจริญกรรมฐาน พิจารณามรณสติ ได้อย่างไร
วิสัชนา
บุคคลผู้ปรารถนาจะเจริญ มรณสติสพึงพิจารณาด้วยอาการ 8 อย่าง ดังนี้
01. สัตว์ทุกชนิด เมื่อมีชีวิตต้องรับทัณฑกรรม คือความ ตายในที่สุด พิจารณาให้รู้ชัดลงไปว่า สรรพชีวิตทุกชนิดเมื่อเกิด มาแล้ว ย่อมพาเอาความเสื่อม เก่าแก่ และตายมาด้วยอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ประดุจดังชีวิตที่เกิดอยู่ในแดนประหาร มีเพชฌฆาตถือมีดและปืนจ่อรออยู่ เมื่อถึงเวลาก็ลงมือประหารชีวิตนั้นโดยมิรีรอ ชีวิตเมื่อเกิดขึ้นแล้ว เหมือนดั่งพระอาทิตย์ที่ขึ้นทางทิศตะวันออก แล้วกำลังเดินทางไปสู่ทิศตะวันตกในที่สุด แสงนั้นก็ลับหายไปจากขอบฟ้า ไม่มีใ่ครสามารถเรียกให้พระอาทิตย์นั้นเดินทางย้อนกลับมาได้ มีแต่ว่าต้องรอให้ถึงวันใหม่ (นั่นคือการเกิดของอีกชีวิตหนึ่ง) ชีวิตนี้เหมือนดังก้อนหินใหญ่ตั้งอยู่บนยอดเขา แล้วกลิ้งลงมาสู่ตีนเขาเบื้องล่าง ไม่สามารถจะหยุดยั้งให้หยุดระหว่างกลางเขาได้ จนท้ายก็ต้องตกลงมากระทบพื้นเบื้องล่างแตกกระจาย น้ำค้างบนยอดหญ้า เมื่อกระทบ กับลมและแดด ย่อมเหือดแห้งไปฉันใด ชีวิตของสรรพสัตว์ เมื่ออุบัติขึ้นมาแล้ว ย่อมต้องตายไปฉันนั้น ชีวิตนี้เป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่เที่ยงในชีวิตคือความตาย
02. พิจารณาถึงความวิบัติแห่งสมบัติทั้งปวง อันมีทรัพย์สินเงินทอง ลาภสักการะเกียรติยศ ศักดิ์ศรีชื่อเสียงอำนาจวาสนา เรือกสวนไร่นา ข้าทาสบริวารหญิงชายทั้งหลายเหล่านี้ มีอันต้องวิบัติแตกสลายมลายสูญสิ้นไปในที่สุด แม้แต่องค์อินทร์ ยังเสื่อมจากทิพยสมบัติที่มีเมื่อถึงกาลที่ต้องวิบัติ สำหาอะไรกับเราท่านทั้งหลายจะรอดพ้นจากวิบัติได้กระนั้นหรือ
สมบัติทั้งหลายจักวิบัติได้ด้วยลักษณะ ดังนี้ วิบัติโดยความหมดไปสิ้นไปวิบัติโดยเวรภัยต่างๆ วิบัติโดยความเสื่อมเก่า คร่ำคร่า วิบัติโดยความแตกร้าว บุบสลาย ทำลายพินาศไป วิบัติโดยความสูญหาย วิบัติโดยหมดวาสนาบารมี
03. ระลึกถึงความตายของผู้อื่นแล้วน้อมเข้ามาเปรียบเทียบกับตน เช่น เวลาไปงานศพในที่ต่างๆ หรือฟังข่าวสารการมรณะของคนและสัตว์ ก็ให้น้อมมาระลึก ว่า โอ้หนอ... แม้แต่ท่านผู้มียศใหญ่ วาสนาดี มีบุญมาก ซ้ำยังประกอบไปด้วยความแข็งแรง มีกำลังวังชาประดุจดังพญาช้างสาร มีปัญญารอบรู้ เฉลียวฉลาด มีฤทธิ์ อำนาจมากมาย ยังต้องตาย สำหาอะไรกับเรา เป็นผู้ด้อยกว่าเขาด้วยประการทั้งปวง จะล่วงพ้นความตายไปได้กระนั้นหรือ
พิจารณาย้อนไปถึงอดีต แม้แต่พระอรหันต์ผู้เลิศฤทธิ์ พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เลิศญาณ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เลิศ ปัญญา ยังมิอาจพ้นจากความตายได้ ความตายนี้ช่างเป็นสาธารณะแก่คนและสัตว์ทั้งหลายเสียจริงๆ
04. พิจารณาถึงกายนี้ ว่าเป็น รังของโรค เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ ที่เกาะกลุ่มกันจนกลายเป็นแผ่นหนังห่อหุ้มกายนี้ เมื่อเซลล์ผิวหนังเหล่านี้ตาย ก็จักบังเกิดเซลล์ตัวใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่แทน เซลล์เหล่านี้เกิด และมี ชีวิตอยู่ได้ด้วยน้ำเลือดที่ประกอบด้วยสารอาหารที่กายนี้ดื่มกินเข้าไป แล้วยังต้องอาศัยอากาศที่หมุนวนอยู่รอบๆ กาย น้ำที่ซึมซาบอยู่ในกายเป็นเครื่องอยู่ กายนี้นอกจากประกอบด้วย เซลล์ผิวหนัง เซลล์เนื้อ เซลล์ไขมัน เซลล์กระดูก เซลล์เยื่อกระดูก เซลล์ไขกระดูก แล้วยังมีเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ อันเป็นองค์ประกอบของอวัยวะทั้งหลายภายในกายนี้
สิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เล็กๆ เหล่านี้ ต่างพากันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วตายไป สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่เช่นนี้ จนกว่าเหตุปัจจัยของการ เกิดแห่งเซลล์ชีวิตเหล่านี้ จักหมดสิ้นอายุ และขาดตอนลง นอกจากกายนี้ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เป็นเซลล์ของร่างกายแล้ว กายนี้ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ อื่นอีกหลาย ชนิด ที่อิงอาศัยเกาะกินส่วนต่างๆ ของกายนี้ เช่น ถ้าสิ่งมีชีวิตเล็กๆ นั้น อาศัยอยู่ที่ผิวหนังก็จักเกาะกินเซลล์ ผิวหนัง อาศัยอยู่ที่เนื้อก็เกาะกินเซลล์เนื้อ อาศัยอยู่ที่พังผืดและเอ็นก็เกาะกินพังผืดและเอ็น อาศัยที่กระดูกก็เกาะกินกระดูก อาศัยอยู่ที่เยื่อกระดูก ก็เจาะกินเยื่อในกระดูกนั้น นอกจากจะเกาะกินเซลล์ต่างๆ ภายในกายนี้แล้ว มันยังขับถ่ายผสมพันธุ์ เกิด ตาย อยู่ในที่ที่มันอาศัยอยู่นั้นอีกด้วย
กายนี้จึงได้ชื่อว่า เป็นที่อาศัยสาธารณะของสิ่งมีชีวิต หรือเชื้อโรคเล็กๆ ทั้งหลายเป็นจำนวนมาก กายนี้เป็นที่ผสมพันธุ์ เป็นที่เกิดเป็นที่ถ่ายของเสียเป็นที่หมักหมมของโสโครก เป็นป่าช้า เป็นรังของโรคร้ายต่างๆ
นอกจากกายนี้เป็นป่าช้า คือ เป็นที่ตายของสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ทั้งหลายแล้วเป็นเหตุให้เกิดโรคร้ายแก่กายนี้แล้ว กายนี้ยังมีเหตุให้ถึงแก่ความตายอย่างง่ายดายจากภายนอกอีกนานัปการ เช่น โดนสัตว์มีพิษน้อยใหญ่ขบกัดตาย โดนอาวุธซัดตาย หกล้มตาย ตกจากที่สูงตาย ได้รับอุบัติภัยต่างๆ แล้วตาย เกิดลมกำเริบ ภายในแล้วตาย หิวตาย กระหายตาย อิ่มตาย ฯลฯ
พิจารณาให้เห็นว่า เหตุของ ความตายแห่งกายนี้มีมากมาย ง่ายดายเหลือเกิน ตายได้โดยมิเลือกเวลา นาที วันเดือนปี และสถานที่ พิจารณาให้เห็นว่ากายนี้มีความตายเป็นสาธารณะ
05. พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงว่า ชีวิตนี้เป็นภาระยิ่งนัก เป็นความรุงรัง ที่ต้องคอยบริหาร ชีวิตนี้เมื่ออุบัติขึ้นมาแล้ว ไม่มีคุณสมบัติที่จักดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง กายนี้จำต้องพึ่งพิงอิงอาศัยสรรพชีวิต สรรพสิ่งต่างๆ มากมาย เช่นเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ยังต้องอาศัยบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง อุปการะเลี้ยงดู ต้องอาศัยอากาศ หายใจ กายนี้ต้องอิงอาศัยดินน้ำลมไฟ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และปัจจัยต่างๆ อีกมากมาย
ชีวิตและกายนี้ต้องอาศัยความพยายามที่จักมีการบริหารให้ อยู่ในอิริยาบถ 4 อย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ ยืนเดินนั่งนอน จักขาดอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งมิได้ และจักมีอิริยาบถใดมากเกินไปก็เจ็บปวดเป็นทุกข์ทรมาน จนบางครั้งบางท่านถึงขนาดล้มป่วย และตายลงในที่สุด
กายนี้ นอกจากจะไม่มีเอกภาพในความดำรงอยู่ด้วยตัวเองแล้ว กายนี้ยังประกอบไปด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ดินน้ำลมไฟ ที่ต้องอิงอาศัยการบริหารจัดการดูแลรักษาให้ธาตุทั้ง 4 ภายในภายนี้ ดำรงสมดุลต่อกันและกัน มิเช่นนั้นก็จะกลายเป็นสิ่งที่ทุพพลภาพ พร่องอยู่ตลอดเวลา เราทั้งหลายจึงต้องมีงานอันหนัก ตั้งแต่เกิดจนตาย
06. ชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายไม่มีเครื่องหมายว่าจักตายในขณะใด บางพวกอาจตายเสียก่อนตั้งแต่ยังเป็นดวงจิตวิญญาณที่ล่องลอยไปตามอำนาจกรรมก็มี บางพวกอาจจักตายในขณะที่เป็นเปรตเสียก็มี บางพวกก็ตายในขณะที่เป็นก้อนเนื้ออยู่ในครรภ์มารดาก็มี บางพวกก็ตายหลังจากออกมาจากครรภ์มารดาแล้วก็มี
ชีวิตและกายนี้ไม่แน่ว่าจักตายในขณะใด เวลาไหน ด้วยโรคอะไร ด้วยอาการเช่นไร ณ สถานที่ไหน ความตายเป็นของไม่แน่ แต่ที่แน่ๆ ทุกคนต้องตาย เมื่อตายแล้วก็ไม่แน่ว่า จักไปเกิดในที่ใด แล้วแต่บุญทำกรรมส่ง
07. มองให้เห็นตามเป็นจริงว่า เวลาแห่งชีวิตนี้น้อยนัก อายุขัยของชีวิตนี้เปรียบดังฟองน้ำที่ปรากฏบนผิวน้ำ สะบัดเดี๋ยวก็แตกกระจาย ชีวิตและร่างกายนี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วต่างมีเวลาและวาสนาในการดำรงชีวิตอยู่ไม่เท่ากัน เหมือนดังฟองน้ำบนผิวน้ำที่ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง และในที่สุดก็จักต้องแตกดับลงอย่าง รวดเร็ว อายุขัย ของชีวิตนี้เปรียบเหมือนรอยไม้ ที่ขีดลงบนพื้น ผิวน้ำปรากฏ ประเดี๋ยวเดียว ก็หายไป ดูว่าชีวิตช่างไม่มีอะไรเที่ยงแท้ เสียจริงๆ แม้แต่สรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิต เมื่อปรากฏ ขึ้นแล้ว ก็มิได้มีอะไรคงทนถาวร ตลอดกาลตลอดสมัยเหมือนน้ำตกที่ไหลจากที่สูง มีแต่จักไหลลงไปสู่เบื้องล่างแต่ถ่ายเดียว ชีวิตไม่ว่าจักเริ่มต้นจากสูงต่ำปานกลาง ยาวสั้นเล็กใหญ่ประการใด สุดท้ายก็ต้องตกลงไปสู่ความตายในที่สุด ไม่มีผู้ใดจะปฏิเสธได้ เหมือนดังน้ำที่ไหล ลงสู่ที่ต่ำเสมอมิมีใครห้ามได้ ความเป็นไปของชีวิตนี้ ไม่ว่าจักมั่งมีมากมายหรือจนยากลำบากทั้งหลาย เลวดี หรือมีสุขทุกข์อย่างไร ถ้าชีวิตตั้งอยู่บนความประมาทขาดปัญญา ที่สุดตน ก็ต้องรับโทษทุกข์ภัย ทรมานกายใจ ทั้งโลกนี้และโลกหน้า เหมือนกับโคที่เขาเลี้ยงเอาไว้เพื่อฆ่า นับวันก็ยิ่งใกล้วันโดนฆ่าเข้าไปทุกที ความประมาท มัวเมาในกามคุณทั้งหลายโดยไม่คำนึงถึงความตายคงไม่ต่างอะไรกับโคที่เห็นหญ้าอ่อนแล้วตรงรี่เข้าไปหาเพื่อแทะเล็ม เคี้ยวกินให้อิ่มและอ้วนพี โดยมิได้สำนึกเลยว่าความอยากตะกรุมตะกรามตะกละของตนที่พยายามกินให้อ้วนนั้น คือ การเร่งให้คนฆ่า โคนำตนไปฆ่าให้เร็วขึ้น มีคำกล่าวว่า อายุขัยของ มนุษย์ทั้งหลาย นั้นน้อยนัก คนมีปัญญาอย่าพึงดูหมิ่นพึงประพฤติดังคนที่มีไฟไหม้อยู่บนศีรษะเถิด อย่าคิดว่าความตายจะยังไม่มาถึงเรา
08. จงพิจารณาถึงมรณสติว่า มีอยู่ทุกขณะจิตที่เกิดดับ จิตดวงหนึ่งเมื่อเกิดชื่อว่าชีวิตหนึี่งก็เกิดตาม จิตดวงนั้นดับ ชื่อว่าชีวิตนั้นดับตาม แต่เพราะกายนี้ประกอบด้วยจิตที่เกิดดับจนหาประมาณมิได้ บวกกับความเร็วของที่จิตที่เกิดดับ และความสืบเนื่องกันอย่างถี่ยิบ สัตว์ทั้งหลายจึงมองไม่เห็นชีวิตที่เกิดตายอยู่ทุกขณะจิตที่เกิดดับ
จิตที่ดับไปแล้วเรียกว่า อดีตจิต จิตและชีวิตสัตว์นั้นจึงไม่ชื่อว่าดำรงอยู่ ไม่ชื่อว่ากำลังดำรงอยู่ ไม่ชื่อว่าจักดำรงต่อไป ส่วนจิตที่ยังมิได้เกิดเรียกว่า อนาคตจิต ชีวิตและจิตของสัตว์นั้นก็ไม่มีชีวิต ไม่ชื่อว่ามีจิต ไม่ชื่อว่าสัตว์ ไม่ชื่อว่าเป็นจิตและสัตว์แล้ว แต่ได้ชื่อว่ากำลังจะเป็นจิตและสัตว์ต่อไป
ชีวิต อัตภาพ สุขทุกข์ ทั้งมวลของสัตว์นี้ เป็นไปเพียงแค่ชั่วขณะ จิตเดียว แต่ที่เห็นว่ายืนยาวเพราะสันตติ ระบบความสืบต่อ ความปรุงแต่งและยึดถือจึงทำให้สัตว์นั้น มองเห็นชีวิต อัตภาพสุขทุกข์ที่มีอยู่ยืนยาว ชีวิตนี้เมื่อขาดความปรุงแต่ง ความสืบต่อ ชีวิตนี้จึงดูสั้นนัก
ท่านผู้เจริญทั้งหลายเมื่อจักเจริญมรณสติอาจเจริญพิจารณาข้อใดข้อหนึ่งใน 8 ข้อหรือเจริญทุกข้อก็ได้ แต่ขอให้หมั่นเจริญ พิจารณาอยู่ทุกขณะของลมหายใจ จนจิตสลดปลดจากกามคุณเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย สติก็จะมั่นอยู่ในการพิจารณาความตายเป็นอารมณ์จิตก็จักปลอดจากนิวรณ์เครื่องครอบจิต องค์คุณแห่งอุปจารฌานก็จักบังเกิดขึ้น
สัตว์ทั้งหลายที่มิได้เจริญมรณสติ ย่อมมีชีวิตอยู่อย่างประมาทมัวเมา เมาในภพ เมาในชาติ เมาในวัย เมาในชีวิตความเป็นอยู่ เมาในรูป รส กลิ่น เสียง เมาในสัมผัส เมาในอำนาจวาสนา เมาในทรัพย์สมบัติ เรือกสวนไร่นา เมาในราคะ โทสะ โมหะ
เมื่อเป็นผู้เมาก็คือขาดสติ เมื่อขาดสติก็เป็นเหตุให้ทำกรรมชั่ว คิดชั่ว พูดชั่ว หรือทำผิด พูดผิด คิดผิด เมื่อชีวิตมีแต่เรื่องผิดและชั่ว ก็เป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทั้งหลับและตื่น กลางวันและกลางคืน ก็เป็นเหตุ ให้หวาดกลัว กลัวไปต่างๆ นานา แล้วแต่จิตจะพาไปด้วยอำนาจของความเศร้าหมอง พาให้วิตก กังวล ฟุ้งซ่านด้วยใจเศร้าหมอง วิตกหวาดกลัว
ครั้นเมื่อถึงเวลาตาย ย่อมหวาดผวาไม่กล้าที่จะเผชิญกับความจริง แสดงกิริยาอาการกระวนกระวายเป็นทุกข์เดือดร้อน เศร้าโศก ร่ำไรรำพัน พอตายเข้าจริงๆ จิตนี้ก็ไปบังเกิดในภพภูมิ ที่ไม่น่าปรารถนา ต้องได้รับทุกข์ยาก เดือดร้อนสุดจะพรรณนา
สำหรับท่านผู้เจริญมรณสติภาวนา ย่อมไม่ประมาทมัวเมา ในภพชาติ และลาภสักการะทั้งหลาย มีชีวิตอยู่เพื่อจะสร้างสรรสาระให้โตอย่างรู้ตัว เจียมตัว และกล้าพร้อมที่จะเผชิญกับความตายอย่าง มีสติ ไม่หวั่นหวาด ไม่ขลาดกลัว เหตุเพราะได้เห็นความเป็นจริงของจิต ชีวิต โลก ว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นธรรมดา มิมีใครจะพ้นจากกติกา นี้ไปได้ จิตก็จะสงบสงัดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งปวงพอตาย ภพ ชาติ ที่ตนปรารถนา ก็จักบังเกิดขึ้นแก่ตน
เรียกว่า ผู้เจริญมรณสติภาวนา จักสามารถเลือกภพชาติ ของตนที่จักไปเกิดได้ดังใจปรารถนา